ในระยะหลังๆ มานี้ ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับนักการเมืองกำลังเข้าสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ในหลายๆ ลักษณะ กล่าวคือ นอกจากนักการเมืองจะฟ้องร้องสื่อบ่อยขึ้นแล้ว การฟ้องร้องเหล่านี้ยังเปิดมิติใหม่ๆ อย่างน้อยในสองด้านด้วยกัน นั่นก็คือ (1) มีการเรียกร้องค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนสูงๆ เป็นว่าเล่น เช่น 200 ล้านบาทบ้าง 400 ล้านบาทบ้าง 500 ล้านบาทบ้าง 1,000 ล้านบาทบ้าง 5,000 ล้านบาทบ้าง หรือแม้กระทั่ง 10,000 ล้านบาทก็มี และ (2) มีการยกประเด็นเรื่องการขอให้ศาลออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเพื่อให้สื่อที่เป็นคู่กรณีระงับการพาดพิงถึงผู้ร้องทุกข์ในระหว่างที่คดีอยู่ในชั้นศาล
ปัญหาในทำนองนี้ดูเหมือนจะทวีความรุนแรงมากถึงขนาดที่วงการสื่อกำลังพูดกันถึงการจัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการศึกษา ติดตาม และต่อสู้คดีต่างๆ ที่มีอยู่แล้วและอาจจะเกิดขึ้นอนาคต อันเป็นแนวโน้มที่ดี เพราะปัญหาเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและอิสรภาพของสื่อเป็นปัญหาส่วนรวมของวงการสื่อ ไม่ใช่ปัญหาของสื่อใดสื่อหนึ่งเท่านั่น เพราะเมื่อศาลมีคำพิพากษาเกี่ยวกับคดีใดคดีหนึ่งในประเภทนี้อย่างไร มันก็จะกลายเป็นคดีตัวอย่างที่ก่อรูปขึ้นจนเป็น "วัฒนธรรมทางกฎหมาย" ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับนักการเมืองต่อไปในอนาคตอีกนานแสนนาน
ด้วยประการฉะนี้ การร่วมมือกันในการจัดการกับปัญหาที่ว่านี้ร่วมกันอย่างมีเอกภาพจึงมีความสำคัญในระดับสูงสุดต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อ เพราะหากมาตรฐานทางกฎหมายใหม่ๆ จากคำพิพากษาในคดีที่กำลังอยู่ในชั้นศาลเหล่านี้เกิดมีอันเป็นไปในทางที่ส่งผลในทางลบต่อสิทธิเสรีภาพ และอิสรภาพของสื่อเสียแล้ว โดยในอนาคต บทบาทของสื่อในการติดตาม ตรวจสอบ เปิดเผย และวิพากษ์วิจารณ์นักการเมือง และนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลก็จะได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง
หากวงการสื่อไม่ช่วยกันปกป้องวิชาชีพให้ดีในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่ออันสำคัญนี้เสียแล้ว อำนาจในการนิยามทิศทางของวัฒนธรรมประชาธิปไตยของเราก็จะตกอยู่ในมือของนักการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็คงจะหมายความว่าไม่มีวัฒนธรรมประชาธิปไตยหลงเหลือที่จะให้พูดถึงแล้ว จะเหลือก็คงแต่ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นการเลือกตั้งแบบนานปีทีหน โดยที่ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรหลังจากการเลือกตั้งเท่านั้น
นั่นย่อมจะสวนทางกับแนวโน้มที่ก้าวหน้าของโลก ที่ให้ความสำคัญแก่บทบาทของสื่อในการสร้างธรรมาภิบาลทางการเมืองมากขึ้น เช่น ในการประชุมประจำปีของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเสรีภาพในการพูดขององค์การสหประชาชาติหลายต่อหลายครั้งนับตั้งแต่ ค.ศ. 1999 เป็นต้นมานั้น
ล้วนได้ยืนยันข้อเสนอแนะดั้งเดิมที่มีการเอ่ยถึงกันในกรอบขององค์การสหประชาชาติให้รัฐสมาชิกที่ล้าหลังหลายๆ รัฐยกเลิกกฎหมายที่อนุญาตให้นักการเมือง ในฐานะของ "บุคคลสาธารณะ" สามารถฟ้องร้องสื่อในคดีอาญาอย่างสิ้นเชิง ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่าเสรีภาพในการพูดเป็น "เสรีภาพเบื้องต้น" ของมนุษย์ ไม่ใช่อะไรที่สามารถจะถือได้ว่าเป็นความผิดทางอาญา
ความที่คดีความระหว่างสื่อกับนักการเมืองในเมืองไทยดูเหมือนว่ายังมีไม่ค่อยมากนัก อีกทั้งในอดีต หลายๆ คดีมักจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของนักการเมือง ไม่ใช่เรื่องราวเกี่ยวกับปัญหาเชิงนโยบายใหญ่ๆ จำนวนมาก ดังที่กำลังเกิดขึ้นในรัฐบาลประเภทคิดใหม่-ทำใหม่ปัจจุบัน
ในอดีต ความที่วัฒนธรรมน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าระหว่างสื่อกับนักการเมืองในรูปแบบง่ายๆ ยังคงดำรงอยู่ ความขัดแย้งระหว่างสื่อกับนักการเมืองจึงมักจะลงท้ายด้วยการประนีประนอมระหว่างคู่ความเอง คดีที่น่าสนใจจึงมักจะดำเนินไปไม่ถึงที่สุด ด้วยเหตุนี้ ประเพณีทางกฎหมายไทยที่ให้ความคุ้มครองแก่สื่อที่ปฏิบัติหน้าที่ในการวิพากษ์วิจารณ์บุคคลอื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ และเพื่อประโยชน์สาธารณะจึงยังคงมีตัวอย่างจริงๆ ให้เห็นไม่มาก หรือไม่เด่นชัดนัก
ฉะนั้น การสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายใหม่ๆ เกี่ยวกับการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างสื่อกับนักการเมืองคงจะอยู่ในอนาคตมากกว่าอดีต
ในเงื่อนไขเช่นนี้ ประสบการณ์และบทเรียนเกี่ยวกับเรื่องคล้ายๆ กันจากสังคมประชาธิปไตยอื่นๆ คงจะเป็นข้อพิจารณาประกอบที่คงจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย
ในแง่นี้ ข้อที่น่าสังเกตมากก็คือระบบยุติธรรมของเมืองไทยในปัจจุบัน เป็นระบบที่เปิดกว้างในการรับข้อพิจารณาจากประสบการณ์และบทเรียนเกี่ยวกับคดีระหว่างสื่อกับนักการเมืองเป็นอย่างมากทีเดียว ดังจะเห็นได้ว่าบุคคลจำนวนไม่น้อยที่ถูกเบิกความมาให้การในคดีระหว่าง น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์กับชินคอร์ปอเรชั่น (ซึ่งพาดพิงไปถึงนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันโดยตรงด้วย) นั้น ศาลได้อนุญาตให้ผู้ถูกกล่าวหาสามารถเชิญผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพสื่อจากต่างประเทศจำนวนหนึ่ง สามารถเข้ามามีส่วนในการนำเสนอข้อคิดเห็นและหลักฐานประกอบการพิจารณาด้วย
ปรากฏการณ์ที่ว่านี้คงจะเป็นปัจจัยใหม่อีกประการหนึ่งที่อาจจะมีส่วนในการช่วยให้การสร้างประเพณีในทางกฎหมายของเราในคดีความระหว่างสื่อกับนักการเมืองมีความเป็นสากลมากขึ้น ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลที่ดีมากว่าเรายังมีประสบการณ์และบทเรียนเกี่ยวกับอะไรเช่นนี้ไม่มากนัก และวัฒนธรรมประชาธิปไตยมีรากเหง้ามาจากโลกตะวันตก ซึ่งมีการพัฒนาองค์ความรู้ว่าด้วยคดีชนิดนี้มาเป็นเวลายาวนาน
ปริศนาสำคัญก็คือเมื่อสื่อในสังคมประชาธิปไตยเกิดต้องคดีหมิ่นประมาทจากนักการเมือง สื่อมีลู่ทางในการปกป้องตนเองได้อย่างไรบ้าง หลักเกณฑ์ชั้นต้นที่ใช้กันทั่วไปคือ
(1)การพิสูจน์ว่าสื่อได้กระทำไปตามข้อกำหนดที่อนุญาตไว้ในกฎหมายและขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งจำเป็นต้องมีการชักแม่น้ำทั้งห้ามาอธิบายให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่กล่าวถึงกับสิ่งที่สื่อได้กระทำให้ประจักษ์ จนกระทั่งเป็นที่ยอมรับแก่ศาลให้จงได้
และ (2) การยืนยันว่านักการเมืองที่เป็นตกเป็นเป้าหมายนั้นเป็นบุคคลสาธารณะ (public figure) อันหมายถึงบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตสาธารณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้อย่างน้อยสามระดับคือ (1) บุคคลที่อยู่ในข่ายเป็นบุคคลสาธารณะอย่างชัดเจน (obvious public figure) นั่นก็คือ บุคคลที่ตั้งใจเสาะแสวงหา หรืออาสาสมัครเข้ารับตำแหน่งเพื่อการจัดการประโยชน์สาธารณะในบางระดับ เช่น ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี วุฒิสมาชิก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น (2) บุคคลสาธารณะในความหมายจำกัด (limited-purpose public figure) นั่นก็คือ บุคคลที่อาสาสมัครเข้าร่วมในการอภิปรายเกี่ยวกับความขัดแย้งต่างๆ ในสังคม และบุคคลที่สามารถใช้สื่อเป็นกลไกในการเผยแพร่ความคิดเห็นของตน และ (2) บุคคลสาธารณะในความหมายจำกัดที่ไม่ได้อาสาสมัคร (involuntary limited-purpose public figure) เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมการจราจรทางอากาศ ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่โดยบังเอิญในระหว่างที่เครื่องบินประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น
โดยทั่วไปแล้ว ระดับของการเป็นบุคคลสาธารณะจะเกี่ยวกันไปถึงระดับแห่งสิทธิในการฟ้องร้องสื่อในคดีหมิ่นประมาทด้วย เช่น ในกรณีของสหรัฐอเมริกานั้น บุคคลสาธารณะอย่างประธานาธิบดีจะไม่คิดฟ้องสื่อในคดีที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ในตำแหน่งของตนเลย ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นเพราะรัฐธรรมนูญของประเทศนี้ถือว่าเสรีภาพในการพูดและการแสดงออกเป็นสิทธิขึ้นพื้นฐาน ประกอบกับในสหรัฐอเมริกานั้นมีความเชื่อในสมมติฐานที่ว่าบุคคลสาธารณะในระดับนี้ที่มีอำนาจและอิทธิพลอย่างมากมาย จนสามารถชี้เป็นชี้ตายกับอนาคตของประเทศ และประชาชนได้เป็นอย่างมาก อันจะส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนได้อย่างยาวนาน ไม่ว่าจะในปัจจุบันหรือในอนาคต ฉะนั้น เมื่อมีอำนาจและอิทธิพลล้นฟ้าขนาดนี้เขาจึงจะต้องยอมรับการถูกติดตาม ตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์โดยสื่อได้อย่างกว้างขวาง
โดยหลักการแล้ว เมื่อนักการเมืองเป็นบุคคลสาธารณะ ภาวะความเป็นบุคคลธรรมดาก็คงถือว่าสิ้นสุดลงจนกว่าจะก้าวลงจากตำแหน่ง ฉะนั้น เขาคงจะเป็นบุคคลทั้งสองประเภทในเวลาเดียวกันไม่ได้ ยกเว้นก็แต่ในเรื่องที่พิสูจน์ได้อย่างชัดเจนเท่านั้นว่าข้อขัดแย้งกับสื่อนั้นๆ เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเป็นบุคคลธรรมดาของเขาล้วนๆ ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการเป็นบุคคลสาธารณะใดๆ เลย
หากนักการเมืองอเมริกันต้องการที่จะฟ้องร้องสื่อเกี่ยวกับคดีชนิดนี้ ก็มักจะตกเป็นเบี้ยล่างของสื่อ เพราะบุคคลสาธารณะอย่างนักการเมืองไม่สามารถกล่าวหาสื่ออย่างง่ายๆ ได้ ทว่าจะต้องผ่านกระบวนการในอันที่จะต้องพิสูจน์อย่างละเอียดถื่ถ้วนว่าสื่อมีเจตนาร้ายกับตนเองอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นการพิสูจน์ที่ยากเย็นแสนเข็ญนัก เพราะต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อให้ได้ว่าข้อความที่เป็นปัญหานั้นถูกนำเสนอด้วยความรู้ว่าเป็นเรื่องไม่จริงอย่างชัดแจ้ง หรือถูกเผยแพร่โดยไม่คำนึงถึงความจริงอย่างแท้จริง (reckless disregard for the truth)
จุดสำคัญก็คือบุคคลสาธารณะจะต้องแสดงให้ประจักษ์แจ้งจนไร้ข้อสงสัยว่าผู้ถูกกล่าวหาเอง "มีความสงสัยอย่างแท้จริงว่า (ข้อความ) ของเขาเป็นความจริงหรือไม่ หรือ (ผู้ถูกกล่าวหา) ได้กระทำการไปด้วยความตระหนักเป็นอย่างมากว่ามี....โอกาสแห่งความไม่ถูกต้อง"
เนื่องจากความเป็นบุคคลสาธารณะของนักการเมืองหมายความว่าเขามีอำนาจและอิทธิพลอย่างมากหาจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดของกระบวนการแห่งการใช้อำนาจและอิทธิพลดังกล่าวได้ยาก มาตรฐานแห่งการพิสูจน์ตามกฎดังกล่าวจึงค่อนข้างซับซ้อนและเข้มงวด ไม่สามารถอ้างเอาความรู้สึกเจ็บช้ำส่วนตัวง่ายๆ มาเป็นเป็นหลักในการต่อสู้คดีเสมือนบุคคลอื่นๆ เช่น ที่เป็นบุคคลสาธารณะที่ไม่มีอำนาจและอิทธิพล หรือบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ใช่บุคคลสาธารณะ ลงท้ายแล้ว ในกรณีของสหรัฐอเมริกา ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในการนำเสนอเรื่องราวของนักการเมือง สื่อจึงได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายเป็นอย่างสูง
หลักเกณฑ์ที่บุคคลสาธารณะในสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องพิสูจน์ให้ได้อย่างเป็นรูปธรรมว่าสื่อนั้นๆ มีเจตนาร้ายกับตนนั้นเกิดขึ้นจากคดีดังที่รู้จักกันว่า New York Times Co v. Sullivan เมื่อ ค.ศ. 1964 ซึ่งลงท้ายด้วยชัยชนะของสื่อ โดยนักกฎหมายอเมริกันจำนวนมากเชื่อว่าสิ่งที่รู้จักกันว่า "กฎเกณฑ์เจตนาร้ายที่แท้จริง" (Rule of Actual Malice) นั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการสร้างสมดุลยภาพระหว่างประโยชน์ของส่วนรวมคือการโต้แย้งเรื่องสาธารณะและการคุ้มครองชื่อเสียงของปัจเจกชน
ส่วนในอังกฤษ ถึงแม้ว่าเดิมทีรัฐจะไม่ค่อยให้ความไว้วางใจกับสื่อมากนัก นับตั้งแต่ ค.ศ. 1993 รัฐสภาของประเทศนั้นได้ประกาศว่าการดำรงรักษา "ประโยชน์สาธารณะ" นั้นเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐบาลจำเป็นต้องเปิดรับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่มีข้อจำกัด หรือแม้กระทั่งแต่การวิพากษ์วิจารณ์ด้วยความเข้าใจที่ผิดพลาด (wrong-headed criticism) สิทธิหน่วยงานของรัฐในการฟ้องร้องสื่อถูกยกเลิกทั้งหมด
ตกถึง ค.ศ. 1998 ด้วยความเชื่อที่ว่าสื่อมีหน้าที่ในการบอกเล่าให้ลูกค้าของตนได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง คณะตุลาการอุทธรณ์จึงได้กำหนดให้เกิด "อภิสิทธิ์อย่างมีเหตุผล" (qualified privilege) ในรูปแบบใหม่ที่อนุญาตให้สามารถโจมตี "บุคคล" ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการจัดการชีวิตสาธารณะของชุมชนตามหลักแห่งเหตุผลได้ อย่างไรก็ตาม คณะตุลาการศาลอุทธรณ์ก็ไม่ได้ปล่อยให้การโจมตีสามารถเกิดขึ้นจาก "ตลาดเสรีทางความคิด" ได้อย่างไม่มีขอบเขต ทว่าผู้ร้องทุกข์จะเป็นฝ่ายมีชัยก็ต่อเมื่อสามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้โจมตีตนเองได้กระทำเช่นนั้นไปด้วยความไม่บริสุทธ์ใจเท่านั้น
การริเริ่มดังกล่าวนี้ได้ส่งผลให้การกล่าวหาที่ผิดพลาดเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น อันนับว่าเป็นจุดท้าทายมาตรฐานทางวิชาชีพสื่อในอังกฤษในระดับที่สูงขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนว่า สื่อจะสามารถดำรงรักษาเกียรติภูมิทางวิชาชีพเอาไว้ได้หรือไม่เพียงใด
ทว่าเป้าหมายสูงสุดของคณะตุลาการศาลอุทธรณ์ก็คือ การสนับสนุนให้การพูดเพื่อประโยชน์สาธารณะ (public interest speech) สามารถประสบกับความรุ่งเรืองขึ้นได้โดยมีข้อจำกัดทางกฎหมายให้น้อยที่สุดนั่นเอง ทั้งนี้ ด้วยสมมติฐานที่ว่าหากระบบยุติธรรมเปิดโอกาสให้เกิด "พื้นที่สำหรับการหายใจ" (breathing space) มากขึ้น ก็จะเป็นการกระตุ้นให้สื่อมีความกล้าหาญที่จะต่อสู้เพื่อผลประโยชน์สาธารณะมากขึ้นกว่าที่เคยกระทำได้ในอดีต
จุดที่น่าสนใจมากก็คือ ทั้งๆ ที่อังกฤษเป็นดินแดนอันเก่าแก่ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งกฎหมายสมัยใหม่แห่งหนึ่งของโลก ในการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายดังกล่าวนี้ วงการกฎหมายของอังกฤษได้พากันอธิบายความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ว่า เป็นความก้าวหน้าที่สอดคล้องกับพัฒนาการใหม่ๆ ว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงออกที่กำลังรุ่งเรืองขึ้นไปทั่วทั้งโลก
นอกจากการอ้างอิงถึงหลักเกณฑ์ทางกฎหมายในระดับมหภาคดังที่เอ่ยถึงข้างต้นแล้ว ในการปกป้องตนเอง สื่ออาจจะต้องอาศัยหลักเกณฑ์ชั้นรองลงมาช่วยสนับสนุนการต่อสู้ของตนด้วย เช่น
แน่นนอน หลักการปกป้องตนเองที่สำคัญมากประการหนึ่งก็คือการยืนยันว่า คำพูด (หรือข้อเขียน) ของสื่อเป็น "ความจริง" (truth) อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างเช่นนี้จำเป็นจะต้องมีกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิสูจน์จนเป็นที่ประจักษ์และยอมรับแก่ศาลจนได้ เพราะ "ความจริง" ของคนคนหนึ่งกับของคนอีกคนหนึ่งนั้นสามารถแตกต่างกันได้ ประเด็นก็คือ "ความจริง" ของฝ่ายใดจะมีน้ำหนักมากกว่ากัน
ประการที่สอง สื่อสามารถอาศัยการยืนยันว่าตนเองได้ทำการวิพากษ์วิจารณ์อย่างเป็นธรรม (fair comment) เกี่ยวกับเรื่องราวอันเป็นประโยชน์สาธารณะ (matter of public interest) หลักการนี้จะใช้ได้กับการนำเสนอ "ความคิดเห็น" (opinion) เท่านั้น ส่วน "ข้อเท็จจริง" (fact) นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ในกรณีนี้ สื่อจำเป็นจะต้องพิสูจน์ว่าตนเองได้แสดงความคิดเห็นนั้นออกไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะดำรงรักษาผลประโยชน์สาธารณะด้วย
ประการที่สาม สื่ออาจจะใช้หลักการที่ว่าตนเองมีหน้าที่ในการนำเสนอเรื่องราวนั้นๆ แก่สาธารณชน ฉะนั้น การทำหน้าที่ควรจะถือว่าเป็นกิจกรรมที่มีอภิสิทธิ์ในบางระดับ ทั้งนี้ ตามการตีความข้อกฎหมายหรือความเข้าใจด้านขนบธรรมเนียมประเพณี
และประการที่สี่ สื่ออาจจะอ้างอิงได้ว่าผู้กล่าวหามีกิตติศัพท์ไม่ดีจนเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป อันเป็นคำอธิบายที่ก่อให้เกิดข้อความของสื่อที่ถูกกล่าวหา ทั้งนี้ การต่อสู้คดีสามารถทำได้ด้วยการขอเบิกความจากพยานบุคคลที่รู้เรื่องดีเกี่ยวกับความตื้นลึกหนาบางของข้อกล่าวหานั้นๆ
ในความเป็นจริง สำหรับสังคมประชาธิปไตยที่ดี สื่อกับนักการเมืองมักจะเคารพบทบาทของกันและกันเพราะการติดตาม เปิดเผย ตรวจสอบ และวิพากษ์วิจารณ์นั้นเป็นหน้าที่ปกติของสื่ออยู่แล้ว ความขัดแย้งระหว่างสื่อกับนักการเมืองจนกระทั่งถึงโรงถึงศาลนั้นจึงน่าจะมีน้อยมาก
ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นเพราะสื่อกับนักการเมืองมักชอบที่จะมีความสัมพันธ์กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยมากกว่าการเผชิญหน้ากันแบบไม่เป็นมิตรแล้ว ก็เพราะว่าความขัดแย้งต่างๆ บางประเภทมักจะสามารถแก้ไขได้ด้วยกลไกอื่นๆ เช่น การเจรจาขอให้มีการเผยแพร่คำขอโทษในสื่อนั้นๆ การขอพื้นที่ในสื่อนั้นๆ เพื่อให้ฝ่ายนักการเมืองสามารถนำเสนอมุมมองของตนได้ หรือการใช้สื่ออื่นๆ ที่ฝ่ายนักการเมืองสามารถขอความร่วมมือได้มาเป็นอีกส่วนหนึ่งในการอธิบายมุมมองของตนเองที่แตกต่างจากของฝ่ายสื่อที่เป็นคู่กรณี เป็นต้น
หรือถ้าจะให้ดีกว่านั้น สื่อกับนักการเมืองที่เป็นคู่กรณีกันก็อาจจะเลือกที่จะนำเสนอมุมมอง และข้อมูลของฝ่ายตนในเรื่องที่ขัดแย้งกันในที่สาธารณะพร้อมๆ กัน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถรับรู้ความแตกต่างทั้งหลายเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันที่ดีขึ้น หรือไม่ก็ก่อให้เกิดการคิดถึงทางเลือกใหม่ๆ ที่ดีกว่าสำหรับประโยชน์สาธารณะ
การเผชิญหน้ากันอย่างตรงไปตรงมาดังกล่าวนี้เป็นการส่งสัญญาณว่านักการเมืองกับสื่อต่างก็ทำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะเหมือนกัน และพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนเป็นพยานในการแข่งขันกันว่ามุมมองและข้อมูลของฝ่ายใดจะเหนือกว่ากัน เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะมากกว่ากัน
ด้วยวิธีการที่เปิดเผยและโปร่งใสอย่างนี้ การอยู่ร่วมกันด้วยความเคารพในบทบาทของกันและกันระหว่างสื่อกับนักการเมืองก็จะดำเนินไปด้วยดีในระยะยาว แทนที่จะหันมาใช้กลไกทางกฎหมายเพื่อเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่ง รวมทั้งการตั้งตัวเลขเรียกร้องค่าเสียหายมากๆ ตามอำเภอใจ จนนักการเมืองที่ยังไม่มีคดีความกับสื่อก็คงจะชักสนใจหาเรื่องดีๆ มาทะเลาะกับสื่อกันขึ้นมาบ้างแล้ว บางรายอาจจะมีความสนใจที่จะวางแผนหลอกสื่อให้ตกหลุมพรางเพื่อมาทำคดีฟ้องร้องเอาค่าเสียหายจากสื่อเอาในภายหลัง เพราะใครๆ ก็สามารถตั้งตัวเลขขอ "ค่าตกใจ" จากสื่อเป็นจำนวนมากๆ ได้สุดแต่จะจินตนาการกันไป พอชนะแล้วก็รวยไปเลย ดีกว่ากว่าการขอขึ้นเงินเดือนให้ตนเอง แล้วก็โดนประชาชนด่าลับหลังแบบแรงๆ เป็นไหนๆ
หรือการขอคำสั่งศาล เพื่อให้สื่อระงับการพาดพิงถึงนักการเมืองที่เป็นคู่กรณีชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุดนั้น ก็ไม่น่าจะถูกต้องตามหลักการยุติธรรมเพราะหากอนุญาตให้กระทำได้ ก็เท่ากับเป็นการตัดสินคดีไปแล้วในระดับหนึ่ง
มิหนำซ้ำ หากกระทำได้ตามนี้จริง นักการเมืองก็คงจะสามารถฟ้องร้องสื่อต่างๆ ได้ตามความพอใจ แล้วก็ขอให้ศาลมีคำสั่งให้คู่กรณีหยุดพาดพิงถึงตนเองชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ถ้าใครว่างๆ อยากจะทำอย่างนี้กันแบบวันเว้นวัน เพียงไม่กี่วันก็จะไม่มีสื่อใดๆ หลงเหลือที่จะติดตาม เปิดเผย ตรวจสอบ และวิพากษ์วิจารณ์นักการเมืองเลยอย่างนั้นหรือ
ทำไปทำมา สื่อก็คงไม่มีทางเลือก คงต้องหันไปฟ้องนักการเมืองที่เป็นคู่กรณีของตนในเรื่องทำนองเดียวกันบ้าง เช่น การฟ้องกลับในทุกกรณีว่าข้อกล่าวหาของฝ่ายตรงกันข้ามนั้นไม่เป็นความจริง นอกจากจะเรียกร้องขอค่าเสียหายมากๆ บ้างแล้ว ก็คงต้องขอให้ศาลออกคำสั่งให้นักการเมืองนั้นๆ หยุดทำงานในฐานะนักการเมืองชั่วคราว นั่นก็คือ ไม่สามารถตัดสินใจในเรื่องที่ขัดแย้งกันอยู่กับสื่อในรูปแบบใดๆ จนกว่าคดีจะสิ้นสุดลง
ผมก็ไม่ทราบดอกนะว่าจะทำอย่างนี้ได้ไหม ถ้าทำกันได้แบบนี้จริงๆ ละก็ คงจะสนุกกันใหญ่ ไม่ช้าก็เร็ว เมืองไทยก็คงจะสามารถประกาศให้ทุกวันเป็นวันหยุดราชการทั่วประเทศ ไม่มีนักการเมืองคนใดสามารถตัดสินใจเรื่องอะไรได้เลย รัฐสภาก็ต้องหยุดการประชุม สื่อส่วนมากก็ปิดตายสักพัก จะมียกเว้นบ้างก็คงแต่สื่อประเภทบ้าใบ้ถือใยบัว ส่วนธุรกิจต่างๆ ก็ขายของกันไปโดยไม่ต้องมีการโฆษณาอะไร เพราะการแข่งขันจะน้อยลง ของต่างๆ จะได้ราคาถูกลง ซึ่งคงจะช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้นิดหน่อย
จะมีก็แต่ศาลเท่านั้นแหละที่จะต้องเหนื่อยกันสักหน่อย
ปัญหาในทำนองนี้ดูเหมือนจะทวีความรุนแรงมากถึงขนาดที่วงการสื่อกำลังพูดกันถึงการจัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการศึกษา ติดตาม และต่อสู้คดีต่างๆ ที่มีอยู่แล้วและอาจจะเกิดขึ้นอนาคต อันเป็นแนวโน้มที่ดี เพราะปัญหาเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและอิสรภาพของสื่อเป็นปัญหาส่วนรวมของวงการสื่อ ไม่ใช่ปัญหาของสื่อใดสื่อหนึ่งเท่านั่น เพราะเมื่อศาลมีคำพิพากษาเกี่ยวกับคดีใดคดีหนึ่งในประเภทนี้อย่างไร มันก็จะกลายเป็นคดีตัวอย่างที่ก่อรูปขึ้นจนเป็น "วัฒนธรรมทางกฎหมาย" ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับนักการเมืองต่อไปในอนาคตอีกนานแสนนาน
ด้วยประการฉะนี้ การร่วมมือกันในการจัดการกับปัญหาที่ว่านี้ร่วมกันอย่างมีเอกภาพจึงมีความสำคัญในระดับสูงสุดต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อ เพราะหากมาตรฐานทางกฎหมายใหม่ๆ จากคำพิพากษาในคดีที่กำลังอยู่ในชั้นศาลเหล่านี้เกิดมีอันเป็นไปในทางที่ส่งผลในทางลบต่อสิทธิเสรีภาพ และอิสรภาพของสื่อเสียแล้ว โดยในอนาคต บทบาทของสื่อในการติดตาม ตรวจสอบ เปิดเผย และวิพากษ์วิจารณ์นักการเมือง และนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลก็จะได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง
หากวงการสื่อไม่ช่วยกันปกป้องวิชาชีพให้ดีในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่ออันสำคัญนี้เสียแล้ว อำนาจในการนิยามทิศทางของวัฒนธรรมประชาธิปไตยของเราก็จะตกอยู่ในมือของนักการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็คงจะหมายความว่าไม่มีวัฒนธรรมประชาธิปไตยหลงเหลือที่จะให้พูดถึงแล้ว จะเหลือก็คงแต่ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นการเลือกตั้งแบบนานปีทีหน โดยที่ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรหลังจากการเลือกตั้งเท่านั้น
นั่นย่อมจะสวนทางกับแนวโน้มที่ก้าวหน้าของโลก ที่ให้ความสำคัญแก่บทบาทของสื่อในการสร้างธรรมาภิบาลทางการเมืองมากขึ้น เช่น ในการประชุมประจำปีของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเสรีภาพในการพูดขององค์การสหประชาชาติหลายต่อหลายครั้งนับตั้งแต่ ค.ศ. 1999 เป็นต้นมานั้น
ล้วนได้ยืนยันข้อเสนอแนะดั้งเดิมที่มีการเอ่ยถึงกันในกรอบขององค์การสหประชาชาติให้รัฐสมาชิกที่ล้าหลังหลายๆ รัฐยกเลิกกฎหมายที่อนุญาตให้นักการเมือง ในฐานะของ "บุคคลสาธารณะ" สามารถฟ้องร้องสื่อในคดีอาญาอย่างสิ้นเชิง ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่าเสรีภาพในการพูดเป็น "เสรีภาพเบื้องต้น" ของมนุษย์ ไม่ใช่อะไรที่สามารถจะถือได้ว่าเป็นความผิดทางอาญา
ความที่คดีความระหว่างสื่อกับนักการเมืองในเมืองไทยดูเหมือนว่ายังมีไม่ค่อยมากนัก อีกทั้งในอดีต หลายๆ คดีมักจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของนักการเมือง ไม่ใช่เรื่องราวเกี่ยวกับปัญหาเชิงนโยบายใหญ่ๆ จำนวนมาก ดังที่กำลังเกิดขึ้นในรัฐบาลประเภทคิดใหม่-ทำใหม่ปัจจุบัน
ในอดีต ความที่วัฒนธรรมน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าระหว่างสื่อกับนักการเมืองในรูปแบบง่ายๆ ยังคงดำรงอยู่ ความขัดแย้งระหว่างสื่อกับนักการเมืองจึงมักจะลงท้ายด้วยการประนีประนอมระหว่างคู่ความเอง คดีที่น่าสนใจจึงมักจะดำเนินไปไม่ถึงที่สุด ด้วยเหตุนี้ ประเพณีทางกฎหมายไทยที่ให้ความคุ้มครองแก่สื่อที่ปฏิบัติหน้าที่ในการวิพากษ์วิจารณ์บุคคลอื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ และเพื่อประโยชน์สาธารณะจึงยังคงมีตัวอย่างจริงๆ ให้เห็นไม่มาก หรือไม่เด่นชัดนัก
ฉะนั้น การสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายใหม่ๆ เกี่ยวกับการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างสื่อกับนักการเมืองคงจะอยู่ในอนาคตมากกว่าอดีต
ในเงื่อนไขเช่นนี้ ประสบการณ์และบทเรียนเกี่ยวกับเรื่องคล้ายๆ กันจากสังคมประชาธิปไตยอื่นๆ คงจะเป็นข้อพิจารณาประกอบที่คงจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย
ในแง่นี้ ข้อที่น่าสังเกตมากก็คือระบบยุติธรรมของเมืองไทยในปัจจุบัน เป็นระบบที่เปิดกว้างในการรับข้อพิจารณาจากประสบการณ์และบทเรียนเกี่ยวกับคดีระหว่างสื่อกับนักการเมืองเป็นอย่างมากทีเดียว ดังจะเห็นได้ว่าบุคคลจำนวนไม่น้อยที่ถูกเบิกความมาให้การในคดีระหว่าง น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์กับชินคอร์ปอเรชั่น (ซึ่งพาดพิงไปถึงนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันโดยตรงด้วย) นั้น ศาลได้อนุญาตให้ผู้ถูกกล่าวหาสามารถเชิญผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพสื่อจากต่างประเทศจำนวนหนึ่ง สามารถเข้ามามีส่วนในการนำเสนอข้อคิดเห็นและหลักฐานประกอบการพิจารณาด้วย
ปรากฏการณ์ที่ว่านี้คงจะเป็นปัจจัยใหม่อีกประการหนึ่งที่อาจจะมีส่วนในการช่วยให้การสร้างประเพณีในทางกฎหมายของเราในคดีความระหว่างสื่อกับนักการเมืองมีความเป็นสากลมากขึ้น ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลที่ดีมากว่าเรายังมีประสบการณ์และบทเรียนเกี่ยวกับอะไรเช่นนี้ไม่มากนัก และวัฒนธรรมประชาธิปไตยมีรากเหง้ามาจากโลกตะวันตก ซึ่งมีการพัฒนาองค์ความรู้ว่าด้วยคดีชนิดนี้มาเป็นเวลายาวนาน
ปริศนาสำคัญก็คือเมื่อสื่อในสังคมประชาธิปไตยเกิดต้องคดีหมิ่นประมาทจากนักการเมือง สื่อมีลู่ทางในการปกป้องตนเองได้อย่างไรบ้าง หลักเกณฑ์ชั้นต้นที่ใช้กันทั่วไปคือ
(1)การพิสูจน์ว่าสื่อได้กระทำไปตามข้อกำหนดที่อนุญาตไว้ในกฎหมายและขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งจำเป็นต้องมีการชักแม่น้ำทั้งห้ามาอธิบายให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่กล่าวถึงกับสิ่งที่สื่อได้กระทำให้ประจักษ์ จนกระทั่งเป็นที่ยอมรับแก่ศาลให้จงได้
และ (2) การยืนยันว่านักการเมืองที่เป็นตกเป็นเป้าหมายนั้นเป็นบุคคลสาธารณะ (public figure) อันหมายถึงบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตสาธารณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้อย่างน้อยสามระดับคือ (1) บุคคลที่อยู่ในข่ายเป็นบุคคลสาธารณะอย่างชัดเจน (obvious public figure) นั่นก็คือ บุคคลที่ตั้งใจเสาะแสวงหา หรืออาสาสมัครเข้ารับตำแหน่งเพื่อการจัดการประโยชน์สาธารณะในบางระดับ เช่น ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี วุฒิสมาชิก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น (2) บุคคลสาธารณะในความหมายจำกัด (limited-purpose public figure) นั่นก็คือ บุคคลที่อาสาสมัครเข้าร่วมในการอภิปรายเกี่ยวกับความขัดแย้งต่างๆ ในสังคม และบุคคลที่สามารถใช้สื่อเป็นกลไกในการเผยแพร่ความคิดเห็นของตน และ (2) บุคคลสาธารณะในความหมายจำกัดที่ไม่ได้อาสาสมัคร (involuntary limited-purpose public figure) เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมการจราจรทางอากาศ ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่โดยบังเอิญในระหว่างที่เครื่องบินประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น
โดยทั่วไปแล้ว ระดับของการเป็นบุคคลสาธารณะจะเกี่ยวกันไปถึงระดับแห่งสิทธิในการฟ้องร้องสื่อในคดีหมิ่นประมาทด้วย เช่น ในกรณีของสหรัฐอเมริกานั้น บุคคลสาธารณะอย่างประธานาธิบดีจะไม่คิดฟ้องสื่อในคดีที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ในตำแหน่งของตนเลย ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นเพราะรัฐธรรมนูญของประเทศนี้ถือว่าเสรีภาพในการพูดและการแสดงออกเป็นสิทธิขึ้นพื้นฐาน ประกอบกับในสหรัฐอเมริกานั้นมีความเชื่อในสมมติฐานที่ว่าบุคคลสาธารณะในระดับนี้ที่มีอำนาจและอิทธิพลอย่างมากมาย จนสามารถชี้เป็นชี้ตายกับอนาคตของประเทศ และประชาชนได้เป็นอย่างมาก อันจะส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนได้อย่างยาวนาน ไม่ว่าจะในปัจจุบันหรือในอนาคต ฉะนั้น เมื่อมีอำนาจและอิทธิพลล้นฟ้าขนาดนี้เขาจึงจะต้องยอมรับการถูกติดตาม ตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์โดยสื่อได้อย่างกว้างขวาง
โดยหลักการแล้ว เมื่อนักการเมืองเป็นบุคคลสาธารณะ ภาวะความเป็นบุคคลธรรมดาก็คงถือว่าสิ้นสุดลงจนกว่าจะก้าวลงจากตำแหน่ง ฉะนั้น เขาคงจะเป็นบุคคลทั้งสองประเภทในเวลาเดียวกันไม่ได้ ยกเว้นก็แต่ในเรื่องที่พิสูจน์ได้อย่างชัดเจนเท่านั้นว่าข้อขัดแย้งกับสื่อนั้นๆ เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเป็นบุคคลธรรมดาของเขาล้วนๆ ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการเป็นบุคคลสาธารณะใดๆ เลย
หากนักการเมืองอเมริกันต้องการที่จะฟ้องร้องสื่อเกี่ยวกับคดีชนิดนี้ ก็มักจะตกเป็นเบี้ยล่างของสื่อ เพราะบุคคลสาธารณะอย่างนักการเมืองไม่สามารถกล่าวหาสื่ออย่างง่ายๆ ได้ ทว่าจะต้องผ่านกระบวนการในอันที่จะต้องพิสูจน์อย่างละเอียดถื่ถ้วนว่าสื่อมีเจตนาร้ายกับตนเองอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นการพิสูจน์ที่ยากเย็นแสนเข็ญนัก เพราะต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อให้ได้ว่าข้อความที่เป็นปัญหานั้นถูกนำเสนอด้วยความรู้ว่าเป็นเรื่องไม่จริงอย่างชัดแจ้ง หรือถูกเผยแพร่โดยไม่คำนึงถึงความจริงอย่างแท้จริง (reckless disregard for the truth)
จุดสำคัญก็คือบุคคลสาธารณะจะต้องแสดงให้ประจักษ์แจ้งจนไร้ข้อสงสัยว่าผู้ถูกกล่าวหาเอง "มีความสงสัยอย่างแท้จริงว่า (ข้อความ) ของเขาเป็นความจริงหรือไม่ หรือ (ผู้ถูกกล่าวหา) ได้กระทำการไปด้วยความตระหนักเป็นอย่างมากว่ามี....โอกาสแห่งความไม่ถูกต้อง"
เนื่องจากความเป็นบุคคลสาธารณะของนักการเมืองหมายความว่าเขามีอำนาจและอิทธิพลอย่างมากหาจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดของกระบวนการแห่งการใช้อำนาจและอิทธิพลดังกล่าวได้ยาก มาตรฐานแห่งการพิสูจน์ตามกฎดังกล่าวจึงค่อนข้างซับซ้อนและเข้มงวด ไม่สามารถอ้างเอาความรู้สึกเจ็บช้ำส่วนตัวง่ายๆ มาเป็นเป็นหลักในการต่อสู้คดีเสมือนบุคคลอื่นๆ เช่น ที่เป็นบุคคลสาธารณะที่ไม่มีอำนาจและอิทธิพล หรือบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ใช่บุคคลสาธารณะ ลงท้ายแล้ว ในกรณีของสหรัฐอเมริกา ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในการนำเสนอเรื่องราวของนักการเมือง สื่อจึงได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายเป็นอย่างสูง
หลักเกณฑ์ที่บุคคลสาธารณะในสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องพิสูจน์ให้ได้อย่างเป็นรูปธรรมว่าสื่อนั้นๆ มีเจตนาร้ายกับตนนั้นเกิดขึ้นจากคดีดังที่รู้จักกันว่า New York Times Co v. Sullivan เมื่อ ค.ศ. 1964 ซึ่งลงท้ายด้วยชัยชนะของสื่อ โดยนักกฎหมายอเมริกันจำนวนมากเชื่อว่าสิ่งที่รู้จักกันว่า "กฎเกณฑ์เจตนาร้ายที่แท้จริง" (Rule of Actual Malice) นั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการสร้างสมดุลยภาพระหว่างประโยชน์ของส่วนรวมคือการโต้แย้งเรื่องสาธารณะและการคุ้มครองชื่อเสียงของปัจเจกชน
ส่วนในอังกฤษ ถึงแม้ว่าเดิมทีรัฐจะไม่ค่อยให้ความไว้วางใจกับสื่อมากนัก นับตั้งแต่ ค.ศ. 1993 รัฐสภาของประเทศนั้นได้ประกาศว่าการดำรงรักษา "ประโยชน์สาธารณะ" นั้นเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐบาลจำเป็นต้องเปิดรับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่มีข้อจำกัด หรือแม้กระทั่งแต่การวิพากษ์วิจารณ์ด้วยความเข้าใจที่ผิดพลาด (wrong-headed criticism) สิทธิหน่วยงานของรัฐในการฟ้องร้องสื่อถูกยกเลิกทั้งหมด
ตกถึง ค.ศ. 1998 ด้วยความเชื่อที่ว่าสื่อมีหน้าที่ในการบอกเล่าให้ลูกค้าของตนได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง คณะตุลาการอุทธรณ์จึงได้กำหนดให้เกิด "อภิสิทธิ์อย่างมีเหตุผล" (qualified privilege) ในรูปแบบใหม่ที่อนุญาตให้สามารถโจมตี "บุคคล" ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการจัดการชีวิตสาธารณะของชุมชนตามหลักแห่งเหตุผลได้ อย่างไรก็ตาม คณะตุลาการศาลอุทธรณ์ก็ไม่ได้ปล่อยให้การโจมตีสามารถเกิดขึ้นจาก "ตลาดเสรีทางความคิด" ได้อย่างไม่มีขอบเขต ทว่าผู้ร้องทุกข์จะเป็นฝ่ายมีชัยก็ต่อเมื่อสามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้โจมตีตนเองได้กระทำเช่นนั้นไปด้วยความไม่บริสุทธ์ใจเท่านั้น
การริเริ่มดังกล่าวนี้ได้ส่งผลให้การกล่าวหาที่ผิดพลาดเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น อันนับว่าเป็นจุดท้าทายมาตรฐานทางวิชาชีพสื่อในอังกฤษในระดับที่สูงขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนว่า สื่อจะสามารถดำรงรักษาเกียรติภูมิทางวิชาชีพเอาไว้ได้หรือไม่เพียงใด
ทว่าเป้าหมายสูงสุดของคณะตุลาการศาลอุทธรณ์ก็คือ การสนับสนุนให้การพูดเพื่อประโยชน์สาธารณะ (public interest speech) สามารถประสบกับความรุ่งเรืองขึ้นได้โดยมีข้อจำกัดทางกฎหมายให้น้อยที่สุดนั่นเอง ทั้งนี้ ด้วยสมมติฐานที่ว่าหากระบบยุติธรรมเปิดโอกาสให้เกิด "พื้นที่สำหรับการหายใจ" (breathing space) มากขึ้น ก็จะเป็นการกระตุ้นให้สื่อมีความกล้าหาญที่จะต่อสู้เพื่อผลประโยชน์สาธารณะมากขึ้นกว่าที่เคยกระทำได้ในอดีต
จุดที่น่าสนใจมากก็คือ ทั้งๆ ที่อังกฤษเป็นดินแดนอันเก่าแก่ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งกฎหมายสมัยใหม่แห่งหนึ่งของโลก ในการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายดังกล่าวนี้ วงการกฎหมายของอังกฤษได้พากันอธิบายความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ว่า เป็นความก้าวหน้าที่สอดคล้องกับพัฒนาการใหม่ๆ ว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงออกที่กำลังรุ่งเรืองขึ้นไปทั่วทั้งโลก
นอกจากการอ้างอิงถึงหลักเกณฑ์ทางกฎหมายในระดับมหภาคดังที่เอ่ยถึงข้างต้นแล้ว ในการปกป้องตนเอง สื่ออาจจะต้องอาศัยหลักเกณฑ์ชั้นรองลงมาช่วยสนับสนุนการต่อสู้ของตนด้วย เช่น
แน่นนอน หลักการปกป้องตนเองที่สำคัญมากประการหนึ่งก็คือการยืนยันว่า คำพูด (หรือข้อเขียน) ของสื่อเป็น "ความจริง" (truth) อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างเช่นนี้จำเป็นจะต้องมีกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิสูจน์จนเป็นที่ประจักษ์และยอมรับแก่ศาลจนได้ เพราะ "ความจริง" ของคนคนหนึ่งกับของคนอีกคนหนึ่งนั้นสามารถแตกต่างกันได้ ประเด็นก็คือ "ความจริง" ของฝ่ายใดจะมีน้ำหนักมากกว่ากัน
ประการที่สอง สื่อสามารถอาศัยการยืนยันว่าตนเองได้ทำการวิพากษ์วิจารณ์อย่างเป็นธรรม (fair comment) เกี่ยวกับเรื่องราวอันเป็นประโยชน์สาธารณะ (matter of public interest) หลักการนี้จะใช้ได้กับการนำเสนอ "ความคิดเห็น" (opinion) เท่านั้น ส่วน "ข้อเท็จจริง" (fact) นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ในกรณีนี้ สื่อจำเป็นจะต้องพิสูจน์ว่าตนเองได้แสดงความคิดเห็นนั้นออกไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะดำรงรักษาผลประโยชน์สาธารณะด้วย
ประการที่สาม สื่ออาจจะใช้หลักการที่ว่าตนเองมีหน้าที่ในการนำเสนอเรื่องราวนั้นๆ แก่สาธารณชน ฉะนั้น การทำหน้าที่ควรจะถือว่าเป็นกิจกรรมที่มีอภิสิทธิ์ในบางระดับ ทั้งนี้ ตามการตีความข้อกฎหมายหรือความเข้าใจด้านขนบธรรมเนียมประเพณี
และประการที่สี่ สื่ออาจจะอ้างอิงได้ว่าผู้กล่าวหามีกิตติศัพท์ไม่ดีจนเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป อันเป็นคำอธิบายที่ก่อให้เกิดข้อความของสื่อที่ถูกกล่าวหา ทั้งนี้ การต่อสู้คดีสามารถทำได้ด้วยการขอเบิกความจากพยานบุคคลที่รู้เรื่องดีเกี่ยวกับความตื้นลึกหนาบางของข้อกล่าวหานั้นๆ
ในความเป็นจริง สำหรับสังคมประชาธิปไตยที่ดี สื่อกับนักการเมืองมักจะเคารพบทบาทของกันและกันเพราะการติดตาม เปิดเผย ตรวจสอบ และวิพากษ์วิจารณ์นั้นเป็นหน้าที่ปกติของสื่ออยู่แล้ว ความขัดแย้งระหว่างสื่อกับนักการเมืองจนกระทั่งถึงโรงถึงศาลนั้นจึงน่าจะมีน้อยมาก
ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นเพราะสื่อกับนักการเมืองมักชอบที่จะมีความสัมพันธ์กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยมากกว่าการเผชิญหน้ากันแบบไม่เป็นมิตรแล้ว ก็เพราะว่าความขัดแย้งต่างๆ บางประเภทมักจะสามารถแก้ไขได้ด้วยกลไกอื่นๆ เช่น การเจรจาขอให้มีการเผยแพร่คำขอโทษในสื่อนั้นๆ การขอพื้นที่ในสื่อนั้นๆ เพื่อให้ฝ่ายนักการเมืองสามารถนำเสนอมุมมองของตนได้ หรือการใช้สื่ออื่นๆ ที่ฝ่ายนักการเมืองสามารถขอความร่วมมือได้มาเป็นอีกส่วนหนึ่งในการอธิบายมุมมองของตนเองที่แตกต่างจากของฝ่ายสื่อที่เป็นคู่กรณี เป็นต้น
หรือถ้าจะให้ดีกว่านั้น สื่อกับนักการเมืองที่เป็นคู่กรณีกันก็อาจจะเลือกที่จะนำเสนอมุมมอง และข้อมูลของฝ่ายตนในเรื่องที่ขัดแย้งกันในที่สาธารณะพร้อมๆ กัน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถรับรู้ความแตกต่างทั้งหลายเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันที่ดีขึ้น หรือไม่ก็ก่อให้เกิดการคิดถึงทางเลือกใหม่ๆ ที่ดีกว่าสำหรับประโยชน์สาธารณะ
การเผชิญหน้ากันอย่างตรงไปตรงมาดังกล่าวนี้เป็นการส่งสัญญาณว่านักการเมืองกับสื่อต่างก็ทำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะเหมือนกัน และพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนเป็นพยานในการแข่งขันกันว่ามุมมองและข้อมูลของฝ่ายใดจะเหนือกว่ากัน เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะมากกว่ากัน
ด้วยวิธีการที่เปิดเผยและโปร่งใสอย่างนี้ การอยู่ร่วมกันด้วยความเคารพในบทบาทของกันและกันระหว่างสื่อกับนักการเมืองก็จะดำเนินไปด้วยดีในระยะยาว แทนที่จะหันมาใช้กลไกทางกฎหมายเพื่อเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่ง รวมทั้งการตั้งตัวเลขเรียกร้องค่าเสียหายมากๆ ตามอำเภอใจ จนนักการเมืองที่ยังไม่มีคดีความกับสื่อก็คงจะชักสนใจหาเรื่องดีๆ มาทะเลาะกับสื่อกันขึ้นมาบ้างแล้ว บางรายอาจจะมีความสนใจที่จะวางแผนหลอกสื่อให้ตกหลุมพรางเพื่อมาทำคดีฟ้องร้องเอาค่าเสียหายจากสื่อเอาในภายหลัง เพราะใครๆ ก็สามารถตั้งตัวเลขขอ "ค่าตกใจ" จากสื่อเป็นจำนวนมากๆ ได้สุดแต่จะจินตนาการกันไป พอชนะแล้วก็รวยไปเลย ดีกว่ากว่าการขอขึ้นเงินเดือนให้ตนเอง แล้วก็โดนประชาชนด่าลับหลังแบบแรงๆ เป็นไหนๆ
หรือการขอคำสั่งศาล เพื่อให้สื่อระงับการพาดพิงถึงนักการเมืองที่เป็นคู่กรณีชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุดนั้น ก็ไม่น่าจะถูกต้องตามหลักการยุติธรรมเพราะหากอนุญาตให้กระทำได้ ก็เท่ากับเป็นการตัดสินคดีไปแล้วในระดับหนึ่ง
มิหนำซ้ำ หากกระทำได้ตามนี้จริง นักการเมืองก็คงจะสามารถฟ้องร้องสื่อต่างๆ ได้ตามความพอใจ แล้วก็ขอให้ศาลมีคำสั่งให้คู่กรณีหยุดพาดพิงถึงตนเองชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ถ้าใครว่างๆ อยากจะทำอย่างนี้กันแบบวันเว้นวัน เพียงไม่กี่วันก็จะไม่มีสื่อใดๆ หลงเหลือที่จะติดตาม เปิดเผย ตรวจสอบ และวิพากษ์วิจารณ์นักการเมืองเลยอย่างนั้นหรือ
ทำไปทำมา สื่อก็คงไม่มีทางเลือก คงต้องหันไปฟ้องนักการเมืองที่เป็นคู่กรณีของตนในเรื่องทำนองเดียวกันบ้าง เช่น การฟ้องกลับในทุกกรณีว่าข้อกล่าวหาของฝ่ายตรงกันข้ามนั้นไม่เป็นความจริง นอกจากจะเรียกร้องขอค่าเสียหายมากๆ บ้างแล้ว ก็คงต้องขอให้ศาลออกคำสั่งให้นักการเมืองนั้นๆ หยุดทำงานในฐานะนักการเมืองชั่วคราว นั่นก็คือ ไม่สามารถตัดสินใจในเรื่องที่ขัดแย้งกันอยู่กับสื่อในรูปแบบใดๆ จนกว่าคดีจะสิ้นสุดลง
ผมก็ไม่ทราบดอกนะว่าจะทำอย่างนี้ได้ไหม ถ้าทำกันได้แบบนี้จริงๆ ละก็ คงจะสนุกกันใหญ่ ไม่ช้าก็เร็ว เมืองไทยก็คงจะสามารถประกาศให้ทุกวันเป็นวันหยุดราชการทั่วประเทศ ไม่มีนักการเมืองคนใดสามารถตัดสินใจเรื่องอะไรได้เลย รัฐสภาก็ต้องหยุดการประชุม สื่อส่วนมากก็ปิดตายสักพัก จะมียกเว้นบ้างก็คงแต่สื่อประเภทบ้าใบ้ถือใยบัว ส่วนธุรกิจต่างๆ ก็ขายของกันไปโดยไม่ต้องมีการโฆษณาอะไร เพราะการแข่งขันจะน้อยลง ของต่างๆ จะได้ราคาถูกลง ซึ่งคงจะช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้นิดหน่อย
จะมีก็แต่ศาลเท่านั้นแหละที่จะต้องเหนื่อยกันสักหน่อย