xs
xsm
sm
md
lg

คนสนง.สถิติแฉกฤษฎิกาแก้กม.ให้รวมศูนย์ทำโพล

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ผู้จัดการรายวัน - ไอซีที แจง ครม.ยัน ร่าง กม.สถิติฯไม่ได้คุมโพลเอกชน และไม่ได้บังคับให้ประชาชนต้องตอบแบบสอบถาม จึงไม่ถือเป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพ ด้านวิปฝ่ายค้านเผยเจ้าหน้าที่สำนักงานสถิติแฉเอง เดิมแค่ แก้ไข เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ กก.สถิติ แต่กฤษฎิกาไปแก้ไข สร้างขอบเขตขยายอำนาจให้สำนักงานสถิติเป็นศูนย์รวมอำนาจในการทำงานวิจัย ฝ่ายค้านลงมติไม่รั้บกม. ลงมติ ไม่เอา ร่าง กม.สถิติฯ ยันขัด รธน.มาตรา 42 หวั่นเป็นเครื่องมือให้รัฐรวมศุนย์อำนาจ

น.พ.สุรพงษ์ สืบวงค์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุม ครม. ว่า ก่อนวาระการประชุม นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รมว. เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที)ได้ชี้แจงเกี่ยวกับ พ.ร.บ. สถิติแห่งชาติิ ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภามีความเข้าใจคลาดเคลื่อน โดยระบุว่า พ.ร.บ.ดังกล่าว ครม.ได้อนุม้ติในหลักการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2545 และส่งให้คณะกรรมการกฤษกีกา ตรวจพิจารณา เพื่อส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนฯ พิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนฯ

ซึ่งร่างที่ ครม.รับหลักการนั้น เพื่อปรับวิธีการทำงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ให้ความเห็นว่ากฎหมายเดิม ได้ใช้มาเป็นเวลานานแล้ว และมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับสภาวะการปัจจุบัน จึงควรให้ปรับปรุง

โดยกฤษฎีกาให้เหตุผล 5 ประการส คือ 1. การดำเนินงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติมีลักษณะเป็นหน่วยงานกลางด้านงานสถิติของรัฐ แต่อำนาจหน้าที่ และการบริหารงานยังไม่สอดคล้องกัน 2.การบริหารงานรูปแบบของคณะกรรมการ ไม่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูประบบราชการที่ประสงค์ให้การบริหารงาน เป็นไปด้วยความรวดเร็ว คล่องตัว และมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน

3.การกำหนดให้ หน่วยงานที่ประเมินสถิติตาม พ.ร.บ.สถิติ 2508 ส่งโครงการสถิติให้สำนักงานสถิติแห่งชาติพิจารณา และให้ความเห็นชอบก่อน ถือเป็นการใช้เวลาและเปลืองขั้นตอนในการดำเนินการ ฉะนั้นสมควรทบทวน ให้หน่วยงานที่จะเก็บข้อมูลสถิตินั้นมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำสถิติเอง สำนักงานสถิติแห่งชาติทำหน้าที่เพียงแค่กำหนดมาตรฐานสถิติเพื่อเป็นแนวทางให้ปฏิบัติและกำกับติดตาม ให้เป็นไปตามมาตรฐานสถิติเท่านั้น โดยกำหนดให้หน่วยงาน เพียงแค่แจ้งให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทราบเท่านั้น ในขณะที่กฎหมายเดิม ทุกหน่วยงานที่อยู่สังกัดของรัฐจะทำงานเรื่องสถิติต้องส่งให้สำนักงานสถิติ ให้ความเห็นชอบ แต่ตามร่างฉบับใหม่ให้แจ้งให้ทราบเท่านั้น ไม่ต้องให้ความเห็นชอบ

4.การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติด้วยวิธีการจัดทำสำมะโนหรือการสำรวจ โดยทำเป็นพระราชกฤษฎีกาอาจเกิดความไม่คล่องตัว เพราะต้องใช้เวลา และไม่สอดคล้องกับการบริหารงานด้านสถิติที่ต้องทำด้วยความรวดเร็วให้ทันต่อ สถานการณ์ ซึ่งจากเดิมการจัดทำสำมะโนหรือทำสำรวจ ต้องออกเป็นพระราชกฤษฏีกา ทุกครั้ง แต่ในร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ไม่ต้องออก

และ 5. มาตรการคุ้มครองข้อมูลสถิติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ตามกฏหมายเดิมไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน ฉะนั้นจึงให้มีมาตราที่ว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลสถิติ ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลให้มากขึ้น

ส่วนประเด็นที่มีการถกเถียงกันว่าจะเป็นการควบคุมเรื่องการจัดทำโพลล์ สรุปความเห็นของประชาชนหรือไม่นั้น หากดูกฎหมายจะพบว่าคำว่า หน่วยงานที่จะต้องส่งเรื่องเกี่ยวกับการจัดทำสถิติให้สำนักงานสถิติทราบคือ เฉพาะส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานเอกชนที่จะจัดทำเรื่องการสำรวจ แต่อย่างใด

สำหรับมาตราที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำการสำรวจจะต้องให้สำนักงานสถิตประกาศให้ประชาชนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันนั้น ไม่ใช้บังคับกับการสำรวจ ที่ไม่ประสงค์จะกำหนดให้เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องตอบ หรือกรอกแบบ สอบถาม

ฉะนั้น พ.ร.บ.สถิติแห่งชาติไม่มีผลผูกขาด ที่ว่าสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นผู้สำรวจแต่เพียงผู้เดียว ไม่มีผลจำกัดสิทธิ์ในการทำแบบสอบถามความเห็นประชาชน ซึ่งเป็นความเห็นทั่วไปไม่เกี่ยวกับการทำสำมะโนประชากร

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วม ฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) แถลงภายหลังการประชุมว่า วิปฝ่ายค้านได้เชิญเจ้าหน้าที่ของ สำนักงานสถิติแห่งชาติมาชี้แจงถึงการที่รัฐบาลจะเสนอร่างพ.ร.บ.สถิติ เข้าสู่สภาในวันที่ 19 ต.ค.นี้ พบว่า ในเบื้องต้นเจตนรมย์ของสำนักงานสถิติมีเพียงต้องการ เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่กรรมการสถิติเท่านั้น แต่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกลับตัดเรื่องแล้วไปสร้างขอบเขตในการขยายอำนาจให้สำนักงานสถิติใหม่ที่ให้สำนักงานนี้เป็นศูนย์รวมอำนาจในเรื่องการทำงานวิจัยทั้งหมด

นายสาทิตย์กล่าวว่า จากการประชุมวิปฝ่ายค้านมีมติออกมาว่าไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เพราะน่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 42 เรื่องการให้เสรีภาพ ทางวิชาการ เนื่องจากในมาตรา 9 ของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวระบุว่า หากหน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่ระบุไว้ตาม พ.ร.บ. ต้องการสำรวจสถิติต้องส่งเรื่อง ให้สำนักงานสถิติ ตรวจสอบก่อน 5 วัน เท่ากับเป็นการพรีเซ็นเซอร์ และเป็นการให้สำนักงานสถิติเป็นศูนย์กลางในการควบคุมการสำรวจวิจัยทั้งหมด

“วิปฝ่ายค้านไม่แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่สำนักงานสถิติที่มีอยู่ 800 คน จะสามารถ ตรวจสอบได้ทันหรือไม่ เพราะในกฎหมายได้ให้อำนาจกับสำนักงานนี้ดูแลงานวิจัยครอบคลุมทุกกระทรวง ทบวง กรม จึงทำให้ในแต่ละเดือนน่าจะมีเรื่องที่ต้องส่งไปประมาณพันกว่าเรื่องต่อเดือนทั้งที่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานมีจำนวนน้อยมาก นอกจากนี้ การที่รัฐบาลเตรียมที่จะเสนอร่างพ.ร.บ.นี้ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลไม่เชื่อเสรีภาพทางวิชาการ โดยพยายามรวมศูนย์อำนาจทางสถิติ และวิจัย ถ้าปล่อยให้กฎหมายฉบับนี้ออกมา โดยไม่มีการแก้ไข หรือรัฐบาลไม่ยอมถอนร่างออกไป จะกลายเป็นการระดมอำนาจการรวมศูนย์ในที่สุด”
กำลังโหลดความคิดเห็น