samr_rod@hotmail.com
คลิกที่ไอคอน Multimedia ด้านบนเพื่อฟังเสียงบทความนี้
“ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
“ความพอเพียง” หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญาและความรอบคอบเพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี.....”
ครับก็อย่างที่รับทราบกันเป็นอย่างดีว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสว่าด้วยเศรษฐกิจพอ เพียง มายาวนานกว่า 25 ปีแล้ว แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลทุกยุคทุกสมัยไม่ได้หยิบมาขับเน้น.. ด้านหนึ่ง
อาจจะเพราะประเทศเรายังไม่มีวิกฤตรุนแรงมาก อีกด้านหนึ่ง อาจเพราะผู้บริหารประเทศส่วนใหญ่ไม่เข้าใจหรือไม่เชื่อในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง...
กระทั่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ –ฟองสบู่แตกในปี 2540 ทุกฝ่ายเริ่มตระหนักและเห็นคุณค่าของคำว่า..เศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงๆ จัง ๆ ขึ้นมาบ้าง
ปี 2542 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ฯ ได้เชิญบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิกว่าครึ่งร้อย มานั่งกลั่นกรองค้นหาแก่นแกนของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากพระราชดำรัสครั้งแล้วครั้งเล่าของพระบาทสมแด็จพระเจ้าอยู่หัว..
เมื่อสรุปได้แล้วสภาพัฒน์ฯได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ขอพระบรมราชวินิจฉัยนิยามแห่ง “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งพระองค์ท่านได้ทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขและพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เผยแพร่ได้ ตั้งแต่วันที่ 21 พ.ย.2542 เป็นต้นมา...
ข้อความก็ดังที่ผมยกมาให้อ่านกันในตอนต้น...
สภาพัฒน์ฯยังได้ตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นประธาน และได้พบปะแลกเปลี่ยนกับสื่อมวลชนระดับต่างๆ ไปบ้างแล้ว...
ผมเพิ่งไปมาเมื่อวันที่ 6 ต.ค.2548 แม้จะยังไม่อิ่มในการรับฟัง –แลกเปลี่ยนเพราะใช้เวลาแค่ 2 ชั่วโมงเศษ แต่ก็พอจะทำให้ผมเดินทางกลับสำนักงานด้วยจินตนาการ คำถามและความหวังเล็กๆ...ในบางสิ่งบางอย่าง
อย่างน้อยๆ ก็น้ำเสียงของสื่อมวลชนรุ่นใหม่ ๆ ที่ขานรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง...ขอเพียงให้สภาพัฒน์ฯและรัฐบาลเอาจริงเอาจัง...สร้างความเข้าใจ สร้างรูปธรรมของคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงให้ปรากฏ...
อย่างน้อยๆ ยี่ห้อดร.จิรายุก็เชื่อได้ว่าก่อนจะถึงปี 2550 ที่ขีดเส้นภารกิจเอาไว้ จะสามารถ “ขับเคลื่อน” เศรษฐกิจพอ เพียงให้สังคมวงกว้างเข้าใจในทั้งปรัชญาและถึงขั้นแปลงปรัชญาเป็นรูปธรรม..
อย่างไรก็ตามถึงขณะนี้ดูเหมือนว่า....จากอดีตที่ภาพในความคิดของผู้คนที่พอเอ่ยคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง อาจจะนึกถึงกระต๊อบหรือบ้านหลังเล็กๆ หรือที่ดิน 15 ไร่..ฯลฯ..บัดนี้สังคมได้ยกระดับมาถึงขั้นที่เริ่มข้ามพ้นความไม่เข้าใจหรือความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงมาแล้วหลายประเด็น เช่น เคยเข้าใจว่าระบบเศรษฐกิจพอ เพียงร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีไม่ได้ ,ไม่ส่งเสริมการส่งออก, ไม่สามารถค้ากำไรได้, ไม่สามารถกู้เงินได้...ฯลฯ...
ระบบเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ปฏิเสธหรือ แปลกแยกกับสิ่งเหล่านี้...เพียงแต่มีเส้นกำกับอยู่ที่ความพอดีหรือพอ เพียง, ความมีคุณธรรม ไม่มากจนถึงขั้นเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น และมีการสร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเอง...
“...ฉะนั้นสามารถที่จะทำให้มีการส่งออกสิ่งของที่ทำด้วยวัตถุดิบในเมืองไทยและทำด้วยแรงงานของคนไทย.อันนี้เป็นการแก้ไขสถานการณ์วิกฤติเป็นอย่างดี...” (พระราชดำรัส วันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธ.ค.40)
“...เศรษฐกิจพอเพียงที่ก้าวหน้าไม่ใช่ปลูกแต่พอกิน อย่างนั้น มันต้องมีพอที่จะตั้งโรงเรียน แม้แต่ศิลปะเกิดขึ้น ประเทศชาติถือว่าประเทศไทยเจริญในทุกทาง ไม่หิว มีกิน มีอาหารใจหรืออะไรอื่นๆ ให้มาก ๆ ความสะดวกจะสามารถสร้างอะไรได้มาก นี่คือเศรษฐกิจพอเพียง สำคัญว่าต้องรู้จักขั้นตอน ถ้านึกจะทำอะไรให้เร็วเกินไปไม่พอเพียง ถ้าไม่เร็ว ช้าไปก็ไม่เพียงพอ ต้องให้รู้จักก้าวหน้า โดยไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน...” (พระราชดำรัส วันเฉลิมพระชนมพรรษา – 4 ธ.ค.46)
นอกจากนี้วันที่ผมไปร่วมรับฟัง-เสวนา ทั้งดร.จิรายุ และดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการสภาพัฒน์ฯ ยืนยันว่า “เศรษฐกิจพอ เพียง” ไม่ใช่เศรษฐกิจกระแสรอง ...แต่ก็ไม่ประกาศตัวว่าจะเป็นเศรษฐกิจกระแสหลัก เพราะมีทั้งแง่ที่แตกต่างและสอดคล้อง สามารถประยุกต์ผสมสานร่วมกันได้ แต่ต้องรักษากฎกติกาสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง..นั่นคือกฎ 3 บ่วง 2 เงื่อนไข...
3 บ่วง - - ความพอประมาณ, ความมีเหตุผล และ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี
2 เงื่อนไข - -เงื่อนไขความรู้ (รอบคอบ รอบรู้ และระมัดระวัง)
-- - เงื่อนไขคุณธรรม (ตระหนักในคุณธรรม,ซื่อสัตย์สุจริต,มีความอดทน พากเพียรและใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต)
สุดท้ายแล้ว...แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ที่จะมาถึงในอนาคตอันใกล้ น่าจะเป็นบทพิสูจน์อย่างหนึ่งว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” จะได้รับการยกฐานะให้สูงเด่นขึ้นสักแค่ไหน..
แต่ไม่ว่าจะอย่างไร...สำหรับผม...ต่อให้เศรษฐกิจพอเพียงจะจอดป้ายอยู่ที่เดิม ๆ หรือก้าวไปถึงขั้นไหนก็ตาม สิ่งที่งดงามในความรู้สึกตลอดไปก็คือ พระราชดำรัสหรือคำสอนของพระองค์ท่าน...ที่สอนให้จักความรู้จักความพอเพียง การสร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเอง...ฯลฯ..ตามปรัชญาดังว่ามา...
และแน่นอนในยามนี้ คือสิ่งที่ประเสริฐที่สุดที่ค่อยถ่วงรั้งหรือเป็นภาพเปรียบเทียบ..กับวิถีแห่
งการพัฒนาเศรษฐกิจ – สังคมที่กำลังมุ่งหน้าไปบนหนทางประชานิยมจ๋า...
“คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ่าทุกประเทศมีความคิด –อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ – มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลกอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข..”
(พระราชดำรัส ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธ.ค.41)
คลิกที่ไอคอน Multimedia ด้านบนเพื่อฟังเสียงบทความนี้
“ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
“ความพอเพียง” หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญาและความรอบคอบเพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี.....”
ครับก็อย่างที่รับทราบกันเป็นอย่างดีว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสว่าด้วยเศรษฐกิจพอ เพียง มายาวนานกว่า 25 ปีแล้ว แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลทุกยุคทุกสมัยไม่ได้หยิบมาขับเน้น.. ด้านหนึ่ง
อาจจะเพราะประเทศเรายังไม่มีวิกฤตรุนแรงมาก อีกด้านหนึ่ง อาจเพราะผู้บริหารประเทศส่วนใหญ่ไม่เข้าใจหรือไม่เชื่อในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง...
กระทั่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ –ฟองสบู่แตกในปี 2540 ทุกฝ่ายเริ่มตระหนักและเห็นคุณค่าของคำว่า..เศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงๆ จัง ๆ ขึ้นมาบ้าง
ปี 2542 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ฯ ได้เชิญบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิกว่าครึ่งร้อย มานั่งกลั่นกรองค้นหาแก่นแกนของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากพระราชดำรัสครั้งแล้วครั้งเล่าของพระบาทสมแด็จพระเจ้าอยู่หัว..
เมื่อสรุปได้แล้วสภาพัฒน์ฯได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ขอพระบรมราชวินิจฉัยนิยามแห่ง “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งพระองค์ท่านได้ทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขและพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เผยแพร่ได้ ตั้งแต่วันที่ 21 พ.ย.2542 เป็นต้นมา...
ข้อความก็ดังที่ผมยกมาให้อ่านกันในตอนต้น...
สภาพัฒน์ฯยังได้ตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นประธาน และได้พบปะแลกเปลี่ยนกับสื่อมวลชนระดับต่างๆ ไปบ้างแล้ว...
ผมเพิ่งไปมาเมื่อวันที่ 6 ต.ค.2548 แม้จะยังไม่อิ่มในการรับฟัง –แลกเปลี่ยนเพราะใช้เวลาแค่ 2 ชั่วโมงเศษ แต่ก็พอจะทำให้ผมเดินทางกลับสำนักงานด้วยจินตนาการ คำถามและความหวังเล็กๆ...ในบางสิ่งบางอย่าง
อย่างน้อยๆ ก็น้ำเสียงของสื่อมวลชนรุ่นใหม่ ๆ ที่ขานรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง...ขอเพียงให้สภาพัฒน์ฯและรัฐบาลเอาจริงเอาจัง...สร้างความเข้าใจ สร้างรูปธรรมของคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงให้ปรากฏ...
อย่างน้อยๆ ยี่ห้อดร.จิรายุก็เชื่อได้ว่าก่อนจะถึงปี 2550 ที่ขีดเส้นภารกิจเอาไว้ จะสามารถ “ขับเคลื่อน” เศรษฐกิจพอ เพียงให้สังคมวงกว้างเข้าใจในทั้งปรัชญาและถึงขั้นแปลงปรัชญาเป็นรูปธรรม..
อย่างไรก็ตามถึงขณะนี้ดูเหมือนว่า....จากอดีตที่ภาพในความคิดของผู้คนที่พอเอ่ยคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง อาจจะนึกถึงกระต๊อบหรือบ้านหลังเล็กๆ หรือที่ดิน 15 ไร่..ฯลฯ..บัดนี้สังคมได้ยกระดับมาถึงขั้นที่เริ่มข้ามพ้นความไม่เข้าใจหรือความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงมาแล้วหลายประเด็น เช่น เคยเข้าใจว่าระบบเศรษฐกิจพอ เพียงร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีไม่ได้ ,ไม่ส่งเสริมการส่งออก, ไม่สามารถค้ากำไรได้, ไม่สามารถกู้เงินได้...ฯลฯ...
ระบบเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ปฏิเสธหรือ แปลกแยกกับสิ่งเหล่านี้...เพียงแต่มีเส้นกำกับอยู่ที่ความพอดีหรือพอ เพียง, ความมีคุณธรรม ไม่มากจนถึงขั้นเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น และมีการสร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเอง...
“...ฉะนั้นสามารถที่จะทำให้มีการส่งออกสิ่งของที่ทำด้วยวัตถุดิบในเมืองไทยและทำด้วยแรงงานของคนไทย.อันนี้เป็นการแก้ไขสถานการณ์วิกฤติเป็นอย่างดี...” (พระราชดำรัส วันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธ.ค.40)
“...เศรษฐกิจพอเพียงที่ก้าวหน้าไม่ใช่ปลูกแต่พอกิน อย่างนั้น มันต้องมีพอที่จะตั้งโรงเรียน แม้แต่ศิลปะเกิดขึ้น ประเทศชาติถือว่าประเทศไทยเจริญในทุกทาง ไม่หิว มีกิน มีอาหารใจหรืออะไรอื่นๆ ให้มาก ๆ ความสะดวกจะสามารถสร้างอะไรได้มาก นี่คือเศรษฐกิจพอเพียง สำคัญว่าต้องรู้จักขั้นตอน ถ้านึกจะทำอะไรให้เร็วเกินไปไม่พอเพียง ถ้าไม่เร็ว ช้าไปก็ไม่เพียงพอ ต้องให้รู้จักก้าวหน้า โดยไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน...” (พระราชดำรัส วันเฉลิมพระชนมพรรษา – 4 ธ.ค.46)
นอกจากนี้วันที่ผมไปร่วมรับฟัง-เสวนา ทั้งดร.จิรายุ และดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการสภาพัฒน์ฯ ยืนยันว่า “เศรษฐกิจพอ เพียง” ไม่ใช่เศรษฐกิจกระแสรอง ...แต่ก็ไม่ประกาศตัวว่าจะเป็นเศรษฐกิจกระแสหลัก เพราะมีทั้งแง่ที่แตกต่างและสอดคล้อง สามารถประยุกต์ผสมสานร่วมกันได้ แต่ต้องรักษากฎกติกาสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง..นั่นคือกฎ 3 บ่วง 2 เงื่อนไข...
3 บ่วง - - ความพอประมาณ, ความมีเหตุผล และ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี
2 เงื่อนไข - -เงื่อนไขความรู้ (รอบคอบ รอบรู้ และระมัดระวัง)
-- - เงื่อนไขคุณธรรม (ตระหนักในคุณธรรม,ซื่อสัตย์สุจริต,มีความอดทน พากเพียรและใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต)
สุดท้ายแล้ว...แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ที่จะมาถึงในอนาคตอันใกล้ น่าจะเป็นบทพิสูจน์อย่างหนึ่งว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” จะได้รับการยกฐานะให้สูงเด่นขึ้นสักแค่ไหน..
แต่ไม่ว่าจะอย่างไร...สำหรับผม...ต่อให้เศรษฐกิจพอเพียงจะจอดป้ายอยู่ที่เดิม ๆ หรือก้าวไปถึงขั้นไหนก็ตาม สิ่งที่งดงามในความรู้สึกตลอดไปก็คือ พระราชดำรัสหรือคำสอนของพระองค์ท่าน...ที่สอนให้จักความรู้จักความพอเพียง การสร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเอง...ฯลฯ..ตามปรัชญาดังว่ามา...
และแน่นอนในยามนี้ คือสิ่งที่ประเสริฐที่สุดที่ค่อยถ่วงรั้งหรือเป็นภาพเปรียบเทียบ..กับวิถีแห่
งการพัฒนาเศรษฐกิจ – สังคมที่กำลังมุ่งหน้าไปบนหนทางประชานิยมจ๋า...
“คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ่าทุกประเทศมีความคิด –อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ – มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลกอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข..”
(พระราชดำรัส ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธ.ค.41)