นายกฯ "ทักษิณ"รับข้อเสนอภาคเอกชนโครงการสร้างรางรถไฟรางคู่สายขอนแก่น-กาฬสินธุ์-มุกดาหาร เชื่อจะช่วยหนุนส่งกิจกรรมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวใน EWEC เห็นรูปธรรมมากขึ้น พร้อมสั่งคมนาคมศึกษาให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน หากคุ้มค่าให้เดินหน้าทันที
น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับภาคเอกชนกลุ่มจังหวัดสนุก ประกอบด้วย จ.สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และกาฬสินธุ์ ที่โรงแรมโซฟิเทล ราชาออคิด จ.ขอนแก่น เมื่อวานนี้ (3 ก.ย.) โดยนายกฯเห็นชอบที่จะให้มีการพัฒนาโครงการต่างๆ ที่มีการนำเสนอในที่ประชุมทั้งหมด 4 โครงการคือ
1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การสร้างถนน 4 เลน และถนนสายต่างๆ ในพื้นที่ 4 จังหวัดกลุ่มสนุก ที่เชื่อมโครงข่ายการคมนาคมกับจังหวัดต่างๆ ในอีสานตอนบน และสามารถเชื่อมโยงกับโครงข่ายประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีบางเส้นทางที่นายกรัฐมนตรี ได้ให้กลับไปศึกษาความเป็นได้อีกครั้ง โดยดูว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนแค่ไหนและจะเกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจกี่มากน้อน
ขณะที่โครงการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อม จ.ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร และนครพนม ไปสู่ สปป.ลาว-เวียดนาม ให้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยหนุนส่งกิจกรรมทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้ ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
2. คือการพัฒนา 4 จังหวัด กลุ่มจังหวัดสนุก ให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การกระจายสินค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยให้ผวจ.มุกดาหาร ประสานกับท่าอากาศยานสุวรรณเขต เพื่อเข้ามาร่วมพัฒนาโครงการด้วย
3. ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์ SMEs เพื่อเป็นการส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการ และเป็นศูนย์แนะนำที่จะเกิดประโยชน์ ขยายประเภทธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อสร้างความมั่นคงและเข้มแข็งทางเศรษฐกิจต่อไป นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงการให้ความสำคัญกับการศึกษา ในกลุ่มนักเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสถานศึกษาที่สำคัญที่มีนักเรียน นักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาศึกษาปีละจำนวนไม่น้อย จึงเห็นว่าควรมีการจัดงบประมาณส่งเสริม มอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย
4 .การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้สามารถเป็นแหล่งสร้างรายได้ โดยนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปรียบเทียบกับภาคเหนือ และภาคใต้ ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างเม็ดเงินให้กับประเทศจำนวนมาก ในขณะที่ภาคอีสาน มีรายได้จากการท่องเที่ยวน้อยมาก จึงต้องการให้มีการเชื่อมโยงการท่องเที่ยว ทั้งในเชิงอนุรักษ์ และทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ดึงดูดนักท่องเที่ยว สร้างรายได้เข้าประเทศได้มากยิ่งขึ้น
ด้านนายนิมิตร งามยิ่งไพศาล ประธานหอการค้า จ.กาฬสินธุ์ เปิดเผยว่า การหารือร่วมกับนายกฯ และคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จมาก เพราะประเด็นหลักที่กลุ่มจังหวัดสนุก (สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และกาฬสินธุ์) นำเสนอในที่ประชุม คือโครงการสร้างทางรถไฟรางคู่ เส้นทางขอนแก่น-กาฬสินธุ์-มุกดาหาร ซึ่งนายกฯ เห็นชอบและได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคม ศึกษาความเป็นไปได้ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน หลังจากนั้นให้นัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากวิเคราะห์โครงการแล้วมีผลคุ้มค่าเศรษฐกิจชัดเจน ต้องใช้เวลาอีกราว 2 ปี เพื่อศึกษารายละเอียดเชิงวิศวกรรม และคาดว่าจะใช้เวลาในการก่อสร้าง ประมาณ 3 ปี โดยเส้นทางรถไฟสายนี้ จะมีระยะทางทั้งหมดประมาณ 200 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ เส้นทางรถไฟรางคู่สายดังกล่าวนายกฯ เห็นชอบ เนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงมากในการขนส่งคมนาคม และยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคอีสาน ที่จะเชื่อมโยงกับเส้นทางเศรษฐกิจใหม่ของภูมิภาคแนวตะวันตก-ออก (East West Economic Corridor: EWEC) รองรับกิจกรรมการค้าการขนส่งที่จะเกิดขึ้น ในอนาคตสินค้าที่จะส่งออกไปยังภูมิภาคอื่น ผ่านท่าเรือดานัง ประเทศเวียดนาม จะต้องอาศัยเส้นทางสายนี้เป็นหลัก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลงทุนสร้างเส้นทางขนส่งระบบรางรองรับ
นายนิมิตร กล่าวว่า แม้ในที่ประชุมจะไม่มีการกล่าวถึงเส้นทางรถไฟสาย บัวใหญ่-มุกดาหาร ซึ่งเป็นเส้นทางที่อยู่ในแผนพัฒนาของกระทรวงคมนาคมอยู่แล้ว แต่อย่างน้อยการศึกษาครั้งนี้ ก็จะทำให้มีข้อมูลแน่ชัดว่า การลงทุนเส้นทางไหนจะให้ผลคุ้มค่ามากกว่ากัน แต่ในความเห็นของภาคเอกชนกลุ่มสนุก ได้ข้อสรุปร่วมกันว่าโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบัวใหญ่ จะให้ประโยชน์คุ้มค่าน้อยกว่า สนองประโยชน์การใช้เส้นทางขนส่ง EWEC ได้น้อยกว่า ทั้งยังใช้งบประมาณก่อสร้างมากกว่าอีกด้วย
สำหรับโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบัวใหญ่ (จ.ขอนแก่น)-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทางรวม 368 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ในแผนการดำเนินงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย กำหนดระยะเวลาดำเนินการปี 2550-2557 วงเงินลงทุนรวมทั้งโครงการราว 16,100 ล้านบาท การรถไฟฯ ศึกษาความเหมาะสมฯแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2538 สถานะโครงการล่าสุดยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการสำรวจ ออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรมและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
"หากรัฐลงทุนสร้างทางรถไฟรางคู่เส้นนี้ไม่เพียงแต่กลุ่มจังหวัดสนุกเท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์ ยังครอบคลุมถึงกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสาร คือ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ซึ่ง ขอนแก่นเองก็มีโครงการสร้างไอซีดี จะช่วยให้การพัฒนาระบบลอจิสติกส์เชื่อมเป็นเครือข่ายสมบูรณ์มากขึ้น" นายนิมิตร กล่าว
ต่อมา เมื่อเวลา 14.00 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และครม. ให้การต้อนรับและเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นาย ชอกัต อาซิซ นายกรัฐมนตรีปากีสถาน พร้อมภริยา และคณะ ที่โรงแรมโซฟิเทล จ.ขอนแก่น ทั้งนี้ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการหารือร่วมกันว่า ได้มีข้อตกลงร่วมกัน 3 ข้อ คือ 1.เร่งรัดความร่วมมือด้านการจัดทำเขตการค้าเสรี(เอฟทีเอ)ระหว่างกัน 2.เรื่องสิทธิการบิน และ 3.และเรื่องสินค้าโอทอป ซึ่งนายกฯปากีสถานได้รับฟังข้อมูลโอทอปของไทยจากนายกฯ และคิดจะนำแนวทางโอทอปไปทำที่ปากีสถานด้วย
หลังจากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางด้วยเฮลิคคอปเตอร์ ไปยังที่ว่าการอ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ เพื่อเป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันเรือยาวประเพณี และการแข่งขันเส็งกองกิ่ง ชิงถ้วยพระราชทานพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ ประจำปี 2548 ก่อนจะเดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์วัดสักกะวัน อ.สหัสขันธุ์ จ.กาฬสินธุ์ เพื่อรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ และฟังสรุปโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำปาว ซึ่งนายกฯได้กล่าวถึงการดำนเนินการจัดทำพิพธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ว่า ควรทำให้มีความน่าสนใจ เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งมีค่า และเป็นอนาคตของประเทศในการสร้างรายได้ในการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรทำกิจกรรมเพื่อโปรโมตกิจกรรมเหล่านี้ โดยนักวิชาการด้านควรนำข้อมูลมาร่วมจัดทำ ตนเดินดูก็รู้ว่าเป็นโครงกระดูก แต่ไม่รู้ว่าเป็นกระดูกอะไร ดังนั้นควรทำสิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นแบบแอนนิเมชั้น ให้เคลื่อนไหวได้ เพื่อดึงดูดความสนใจ
ทั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เข้าพักที่โรงแรมริมปาว อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ และเป็นสถานที่ในการประชุม ครม.ในวันนี้
น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับภาคเอกชนกลุ่มจังหวัดสนุก ประกอบด้วย จ.สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และกาฬสินธุ์ ที่โรงแรมโซฟิเทล ราชาออคิด จ.ขอนแก่น เมื่อวานนี้ (3 ก.ย.) โดยนายกฯเห็นชอบที่จะให้มีการพัฒนาโครงการต่างๆ ที่มีการนำเสนอในที่ประชุมทั้งหมด 4 โครงการคือ
1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การสร้างถนน 4 เลน และถนนสายต่างๆ ในพื้นที่ 4 จังหวัดกลุ่มสนุก ที่เชื่อมโครงข่ายการคมนาคมกับจังหวัดต่างๆ ในอีสานตอนบน และสามารถเชื่อมโยงกับโครงข่ายประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีบางเส้นทางที่นายกรัฐมนตรี ได้ให้กลับไปศึกษาความเป็นได้อีกครั้ง โดยดูว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนแค่ไหนและจะเกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจกี่มากน้อน
ขณะที่โครงการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อม จ.ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร และนครพนม ไปสู่ สปป.ลาว-เวียดนาม ให้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยหนุนส่งกิจกรรมทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้ ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
2. คือการพัฒนา 4 จังหวัด กลุ่มจังหวัดสนุก ให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การกระจายสินค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยให้ผวจ.มุกดาหาร ประสานกับท่าอากาศยานสุวรรณเขต เพื่อเข้ามาร่วมพัฒนาโครงการด้วย
3. ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์ SMEs เพื่อเป็นการส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการ และเป็นศูนย์แนะนำที่จะเกิดประโยชน์ ขยายประเภทธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อสร้างความมั่นคงและเข้มแข็งทางเศรษฐกิจต่อไป นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงการให้ความสำคัญกับการศึกษา ในกลุ่มนักเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสถานศึกษาที่สำคัญที่มีนักเรียน นักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาศึกษาปีละจำนวนไม่น้อย จึงเห็นว่าควรมีการจัดงบประมาณส่งเสริม มอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย
4 .การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้สามารถเป็นแหล่งสร้างรายได้ โดยนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปรียบเทียบกับภาคเหนือ และภาคใต้ ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างเม็ดเงินให้กับประเทศจำนวนมาก ในขณะที่ภาคอีสาน มีรายได้จากการท่องเที่ยวน้อยมาก จึงต้องการให้มีการเชื่อมโยงการท่องเที่ยว ทั้งในเชิงอนุรักษ์ และทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ดึงดูดนักท่องเที่ยว สร้างรายได้เข้าประเทศได้มากยิ่งขึ้น
ด้านนายนิมิตร งามยิ่งไพศาล ประธานหอการค้า จ.กาฬสินธุ์ เปิดเผยว่า การหารือร่วมกับนายกฯ และคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จมาก เพราะประเด็นหลักที่กลุ่มจังหวัดสนุก (สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และกาฬสินธุ์) นำเสนอในที่ประชุม คือโครงการสร้างทางรถไฟรางคู่ เส้นทางขอนแก่น-กาฬสินธุ์-มุกดาหาร ซึ่งนายกฯ เห็นชอบและได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคม ศึกษาความเป็นไปได้ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน หลังจากนั้นให้นัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากวิเคราะห์โครงการแล้วมีผลคุ้มค่าเศรษฐกิจชัดเจน ต้องใช้เวลาอีกราว 2 ปี เพื่อศึกษารายละเอียดเชิงวิศวกรรม และคาดว่าจะใช้เวลาในการก่อสร้าง ประมาณ 3 ปี โดยเส้นทางรถไฟสายนี้ จะมีระยะทางทั้งหมดประมาณ 200 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ เส้นทางรถไฟรางคู่สายดังกล่าวนายกฯ เห็นชอบ เนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงมากในการขนส่งคมนาคม และยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคอีสาน ที่จะเชื่อมโยงกับเส้นทางเศรษฐกิจใหม่ของภูมิภาคแนวตะวันตก-ออก (East West Economic Corridor: EWEC) รองรับกิจกรรมการค้าการขนส่งที่จะเกิดขึ้น ในอนาคตสินค้าที่จะส่งออกไปยังภูมิภาคอื่น ผ่านท่าเรือดานัง ประเทศเวียดนาม จะต้องอาศัยเส้นทางสายนี้เป็นหลัก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลงทุนสร้างเส้นทางขนส่งระบบรางรองรับ
นายนิมิตร กล่าวว่า แม้ในที่ประชุมจะไม่มีการกล่าวถึงเส้นทางรถไฟสาย บัวใหญ่-มุกดาหาร ซึ่งเป็นเส้นทางที่อยู่ในแผนพัฒนาของกระทรวงคมนาคมอยู่แล้ว แต่อย่างน้อยการศึกษาครั้งนี้ ก็จะทำให้มีข้อมูลแน่ชัดว่า การลงทุนเส้นทางไหนจะให้ผลคุ้มค่ามากกว่ากัน แต่ในความเห็นของภาคเอกชนกลุ่มสนุก ได้ข้อสรุปร่วมกันว่าโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบัวใหญ่ จะให้ประโยชน์คุ้มค่าน้อยกว่า สนองประโยชน์การใช้เส้นทางขนส่ง EWEC ได้น้อยกว่า ทั้งยังใช้งบประมาณก่อสร้างมากกว่าอีกด้วย
สำหรับโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบัวใหญ่ (จ.ขอนแก่น)-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทางรวม 368 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ในแผนการดำเนินงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย กำหนดระยะเวลาดำเนินการปี 2550-2557 วงเงินลงทุนรวมทั้งโครงการราว 16,100 ล้านบาท การรถไฟฯ ศึกษาความเหมาะสมฯแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2538 สถานะโครงการล่าสุดยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการสำรวจ ออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรมและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
"หากรัฐลงทุนสร้างทางรถไฟรางคู่เส้นนี้ไม่เพียงแต่กลุ่มจังหวัดสนุกเท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์ ยังครอบคลุมถึงกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสาร คือ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ซึ่ง ขอนแก่นเองก็มีโครงการสร้างไอซีดี จะช่วยให้การพัฒนาระบบลอจิสติกส์เชื่อมเป็นเครือข่ายสมบูรณ์มากขึ้น" นายนิมิตร กล่าว
ต่อมา เมื่อเวลา 14.00 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และครม. ให้การต้อนรับและเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นาย ชอกัต อาซิซ นายกรัฐมนตรีปากีสถาน พร้อมภริยา และคณะ ที่โรงแรมโซฟิเทล จ.ขอนแก่น ทั้งนี้ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการหารือร่วมกันว่า ได้มีข้อตกลงร่วมกัน 3 ข้อ คือ 1.เร่งรัดความร่วมมือด้านการจัดทำเขตการค้าเสรี(เอฟทีเอ)ระหว่างกัน 2.เรื่องสิทธิการบิน และ 3.และเรื่องสินค้าโอทอป ซึ่งนายกฯปากีสถานได้รับฟังข้อมูลโอทอปของไทยจากนายกฯ และคิดจะนำแนวทางโอทอปไปทำที่ปากีสถานด้วย
หลังจากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางด้วยเฮลิคคอปเตอร์ ไปยังที่ว่าการอ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ เพื่อเป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันเรือยาวประเพณี และการแข่งขันเส็งกองกิ่ง ชิงถ้วยพระราชทานพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ ประจำปี 2548 ก่อนจะเดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์วัดสักกะวัน อ.สหัสขันธุ์ จ.กาฬสินธุ์ เพื่อรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ และฟังสรุปโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำปาว ซึ่งนายกฯได้กล่าวถึงการดำนเนินการจัดทำพิพธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ว่า ควรทำให้มีความน่าสนใจ เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งมีค่า และเป็นอนาคตของประเทศในการสร้างรายได้ในการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรทำกิจกรรมเพื่อโปรโมตกิจกรรมเหล่านี้ โดยนักวิชาการด้านควรนำข้อมูลมาร่วมจัดทำ ตนเดินดูก็รู้ว่าเป็นโครงกระดูก แต่ไม่รู้ว่าเป็นกระดูกอะไร ดังนั้นควรทำสิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นแบบแอนนิเมชั้น ให้เคลื่อนไหวได้ เพื่อดึงดูดความสนใจ
ทั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เข้าพักที่โรงแรมริมปาว อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ และเป็นสถานที่ในการประชุม ครม.ในวันนี้