นับตั้งแต่มีการปล้นอาวุธปืนที่ค่ายทหาร กองพันพัฒนา ที่อำเภอเจาะไอร้อง นราธิวาส เมื่อ 4 มกราคม 2547 เหตุการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รุนแรงติดต่อกันเรื่อยมาจนถึงวันนี้เป็นเวลาครบ 20 เดือนพอดีแล้ว
ในช่วงเวลาอันยาวนาน ได้มีเหตุการณ์ใหญ่เกิดขึ้น 3 ครั้ง ่ซึ่งได้ให้บทเรียนแก่เราในแง่มุมต่างๆกันทั้งสิ้น
เหตุการณ์แรก คือเหตุการณ์ที่มัสยิดกรือเซะ ปัตตานี ซึ่งเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547
เหตุการณ์ครั้งนี้ ให้บทเรียนที่แสดงให้เห็นถึงผลการใช้ความรุนแรง เข้าปราบปรามผู้ก่อเหตุร้ายครั้งนี้ ซึ่งปรากฏว่าส่วนใหญ่เป็นเด็กหนุ่ม มีอาวุธเป็นปืนไม่กี่กระบอก นอกนั้นก็มีอาวุธเป็นมีดเป็นไม้จนกระทั่งสนับมือ แต่ฝ่ายเจ้าหน้าที่ผู้ปราบปราม มีอาวุธรุนแรงครบมือทุกคน
ผลปรากฏว่า ฝ่ายผู้ก่อเหตุครั้งนั้นเสียชีวิตทั้งหมด ประมาณ 30 กว่าคน
เหตุการณ์ครั้งที่สอง ที่ให้บทเรียนอีกมุมหนึ่ง คือกรณีการสลายการชุมนุมประท้วงหน้า สภอ.ตากใบ นราธิวาส
ผลก็คือมีผู้ชุมนุมถูกควบคุมตัว ถึง 1,200 กว่าคน ปราฎว่าระหว่างทางที่ขนส่งผู้ถูกควบคุมตัวเหล่านี้ไปยังค่ายทหารที่ปัตตานี มีผู้เสียชีวิตจากความแออัดในการขนส่งบรรทุกผู้ถูกควบคุมตัวครั้งนี้ ถึง 84 คน
บทเรียนจากกรณีนี้ก็คือ การดำเนินการใดๆที่เกี่ยวกับการก่อการร้ายนั้น ต้องมีการวางแผนให้รัดกุม ไม่ใช่จับคนยัดขึ้นรถ จนนอนทับกันตายมากมายถึงเพียงนั้น !
เหตุการณ์ครั้งที่สาม เกิดขึ้นเมื่อเดือนที่แล้ว นายทหารนาวิกโยธิน 2 นายถูกกลุ่มชาวบ้านตันหยงลิมอ นราธิวาส คุมตัวไว้ เนื่องจากสงสัยว่าจะเป็นผู้ก่อเหตุยิงชาวบ้าน
ต่อมาหลังจากมีความพยายามเจรจาเป็นเวลานาน เพื่อให้มีการปลดปล่อยนายทหารทั้งสองนาย ในที่สุด ปรากฏว่าเจ้าที่ทั้งสองนายถูกทำร้ายอย่างทารุณโหดร้ายจนเสียชีวิต
นี่ก็เป็นเหตุการณ์ที่ต้องสรุปบทเรียนอีกครั้งหนึ่งเหมือนกัน !
ก่อนอื่นอย่าได้มองข้าม ความจริงที่ว่า นายทหารนาวิกโยธินทั้งสองนายคือ นาวาเอกวินัย นาคะบุตร กับนาวาตรีกำธร ทองเอียด ได้เสียสละชีวิตอย่างกล้าหาญเป็นอย่างยิ่ง
เป็นการเสียสละชีวิต ตามครรลองของสันติวิธีและความสมานฉันท์อย่างแท้จริง !
นายทหารนาวิกโยธินทั้งสองนาย สังกัดกองพันทหารราบที่ 9 กรมทหารราบที่ 3 รักษาพระองค์ กองพลนาวิกโยธิน ค่ายจุฬาภรณ์ 5 ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
นายทหารทั้งสองคนเป็นผู้ที่รู้จักมักคุ้นกับชาวบ้านตันหยงลิมอเป็นอย่างดี เป็นผู้ที่วางตัวใกล้ชิดสนิทสนมชาวบ้าน
ทหารทั้งสองนายนี้ได้เรียนรู้ จนสามารถพูดภาษามลายูของชาวบ้านได้เ และได้แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนดูแลกิจการต่างๆในหมู่บ้านเป็นประจำ
แม้ในคืนเกิดเหตุ เมื่อมีการกราดยิงชาวบ้านที่ร้านน้ำชาของหมู่บ้าน นายทหารทั้งสองก็กล้าขับรถเข้าไปในหมู่บ้าน โดยคิดว่าอาจช่วยเหลือชาวบ้านได้บ้าง
เมื่อถูกชาวบ้านรุมล้อมด้วยความเข้าใจผิดว่าเป็นคนร้ายที่ก่อเหตุที่ยิงกราดร้านน้ำชา ในหมู่บ้าน แม้นายทหารทั้งสองจะมีอาวุธคือปืนพกและปืนเอ็ม 16 ก็ตาม แต่ก็มิได้ต่อสู้หรือขัดขืนการคุมตัวของชาวบ้าน
ทั้งนี้ก็เพราะเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของตนเอง และคิดว่าจะได้รับความเชื่อถือจากชาวบ้าน เพราะได้คุ้นเคยกันมาก่อนแล้ว
แต่ระหว่างที่ชาวบ้านคุมตัวนายทหารนาวิกโยธินทั้งสองอยู่นั้น ปรากฎว่ามี “มือที่สาม” ได้เข้ามาแทรก ทำร้ายทหารทั้งสองจนเสียชีวิตอย่างโหดร้ายทารุณ
เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นว่า สันติวิธีโดยครรลองของความสมานฉันท์ ก็อาจจบลงอย่างโศกนาฏกรรมได้เหมือนกัน
วิถีทางของสันติวิธีและความสมานฉันท์ไม่ได้โรยด้วยดอกกุหลาบเสมอไป !
ความหวาดระแวงของชาวบ้าน ซึ่งไม่ไว้วางใจคนในเครื่องแบบ เมื่อเกิดเหตุขึ้น มีคนกลุ่มหนึ่งกราดยิงเข้าไปในร้านน้ำชาประจำหมู่บ้าน ชาวบ้านไม่รู้ว่าใครเป็นใคร จึงคิดว่าทหารนาวิกโยธินสองนายซึ่งเคยเป็นมิตรสนิทสนมกันมาตลอด เป็นผู้กระทำ จึงคุมตัวไว้
ฝ่ายนายทหารทั้งสองนายขับรถเข้าไปในหมู่บ้าน ด้วยเจตนาบริสุทธิ์ โดยหวังว่าจะได้ช่วยเหลือเมื่อมีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้น แต่กลับต้องรับเคราะห์กรรมถึงชีวิต
กรณีนี้เป็นบทเรียนสำหรับฝ่ายผู้ที่เชื่อมั่นในวิถีของสันติวิถีและความสมานฉันท์ ชี้ให้เห็นว่าวิถีทางและหลักการดังกล่าว อาจนำไปสู่ผลคือความรุนแรงก็ได้
ฉะนั้นสันติวิธีและความสมานฉันท์ จึงต้องมีการเสียสละ และมีคุณธรรมของความอดกลั้นและอดทนกำกับและควบคู่ไปด้วยเสมอ
ไม่ใช่พอสันติวิธีและความสมานฉันท์ประสบความล้มเหลว มีการสูญเสียเกิดขึ้น ก็หันมาใช้ความรุนแรงโต้ตอบทันควันทันที
แต่ตรงกันข้าม ฝ่ายเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ได้ตระหนักถึงความละเอียดอ่อนของสถานะการณ์ครั้งนี้เป็นอย่างดี แสดงว่ามีความเข้าใจซาบซึ้งถึงหลักการและวิธีการของความสมานฉันท์ และมีความอดทนและอดกลั้นเป็นอย่างดีด้วย
หลังจากเกิดเหตุร้ายได้สองวัน พล.ต.พิเชษฐ วิสัยจร รองแม่ทัพภาคที่ 4 ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ถึงภาระหนักของฝ่ายเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองในสภาวะหน้าสิ่วหน้าขวานเช่นนี้
คำสัมภาษณ์ของ รองแม่ทัพภาคที่ 4 ในเรื่องเหตุการณ์ครั้งนี้ ตอนหนึ่งมี ความว่า “ การแก้ปัญหาในภาคใต้โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีปัญหาความรุนแรง มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ถ้าวันนั้นเราใช้ พ.ร.ก.ตามอำนาจที่มีอยู่ก็ได้ แต่ผมว่าสถานการณ์มันจะร้ายแรงกว่านี้อีก บอกได้คำเดียวว่าจะรุนแรงกว่าที่เกิดที่ตากใบ ซึ่งคนที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์อาจพูดไป คิดไปเรื่อยเราคิดช่วยชีวิตไว้ก่อน และถ้าเราพลาดมีการใช้กำลังบุกเข้าไป ผมว่าถ้าพลาดนะ ประเทศชาติจะแย่ เขาก็ดีงประชาชนออกไปสำเร็จ “
ข้อความที่ยกมากล่าวนี้ แสดงว่าเจ้าหน้าที่ในพื้นที่มีความเข้าใจเป็นอย่างดีในหลักการของความสมานฉันท์ และมีความระมัดระวังในการใช้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย ทั้งยังมีความอดทนและอดกลั้นในความสูญเสีย ซึ่งเป็นผลร้ายที่ตามมา
นี่เป็นสัญญาณลักษณ์ที่ดีชี้ให้เห็นว่า เราได้เริ่มเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ในปัญหาร้ายแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้บ้างแล้ว !
แต่ตรงกันข้าม เป็นที่น่าสังเกตว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กลับเป็นฝ่ายที่กล่าวถ้อยคำรุนแรง เกี่ยวกับเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นทำนองปลุกระดม ให้เกิดปฏิกิริยาในลักษณะชาตินิยมเชิงลบ เพื่อให้เกิดความเกลียดชังชาวบ้านมุสลิมเหล่านี้
เริ่มต้นด้วย นายกรัฐมนตรีทักษิณได้ พูดจาเป็นทำนองตำหนิ ที่มีการปล่อยให้นายทหารนาวิกโยธินถูกชาวบ้านคุมตัวไว้ได้ โดยไม่มีการบุกเข้าไปชิงตัวออกมาเสียก่อนที่จะถูกรุมทำร้ายจนเสียชีวิต
คุณทักษิณประกาศว่า ทหารสองนายนี้ “ไม่ได้ตายฟรี” !
พูดอย่างนี้แสดงว่า ผู้คนที่ล้มตายเป็นจำนวนมาก ทั้งฝ่ายชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ และผู้ปฎิบัติหน้าที่ราชการ ตลอดจนเจ้าที่ฝ่ายปราบปราม ที่ต้องสูญเสียชีวิตไป คนเหล่านั้น นายกรัฐมนตรีจะปล่อยให้พวกเขา “ตายฟรี” หรืออย่างไร ?
นายกฯทักษิณได้ประกาศเร่งรัดให้หาตัวคนทำร้ายเหล่านี้ ที่ทำร้ายทหารสองนายนี้มาดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมให้ได้โดยเร็ว
พูดอย่างนี้ก็เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้มีการกวาดล้างกันนั่นเอง !
จำนวนผู้ต้องสงสัย ถูกควบคุมตัว ในชั้นเแรกมีเพียงสองคน มาถึงบัดนี้ได้เพิ่มจำนวนเป็น 10 กว่าคนแล้ว !
แสดงว่ามีการกวาดต้อน “แพะ” เพื่อสังเวยคำประกาศิตของนายกรัฐมนตรีเสียกระมัง ?
ต่อมาในรายการวิทยุประจำสัปดาห์ของนายกรัฐมนตรี คุณทักษิณก็ได้พูดถึงเรื่องนี้อีกครั้ง ซึ่งก็มีการพูดจกในลักษณะประหลาดและน่าคิดอีกครั้งหนึ่ง
ในชั้นแรกคุณทักษิณใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ ไม่สมกับฐานะเป็นนายกรัฐมนตรีพูดกับประชาชนทางวิทยุกระจายเสียง
นายกรัฐมนตรีเรียกผู้รุมทำร้ายทหารสองนายนั้นว่าพวก “เดรัจฉาน” !
การใช้ถ้อยคำไม่สุภาพเช่นนี้ แสดงถึงอารมณ์รุนแรงของนายกรัฐมนตรีที่ถูกเหตุการณ์ใน
จังหวัดชายแดนภาคใต้ กดดันซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงระเบิดเป็นถ้อยคำที่ไม่สมควรเช่นนั้นออกมา !
เป็นพฤติกรรมอย่างที่เรียกกันเป็นภาษาอังกฤษว่า frustration นั่นเอง !
นอกจากนี้ในรายการวิทยุครั้งนั้น คุณทักษิณได้ประกาศว่า ตัวเองขอเป็นผู้รับผิดชอบแต่ผู้เดียวในเหตุการณ์ชายแดนภาคใต้ และถ้าไม่สามารถคลี่คลายปัญหาชายแดนภาคใต้ได้ เลือกตั้งคราวหน้า ไม่ต้องเลือกตนและพรรคไทยรักไทยเข้ามาเป็นรัฐบาลอีก !
พูดสำนวนเดียวกับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้เคยประกาศก้องเมืองไทยในยุคทหารครองเมืองว่า ”ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่ผู้เดียว! “
แต่คุณทักษิณมาด้วยการเลือกตั้ง จึงให้ประชาชนทั้งประเทศต้องรออีก 3 ปีกว่า จึงจะมี
โอกาศประเมินผลความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีในเรื่องภาคใต้ได้ !
แต่คุณทักษิณคงลืมไปแล้วว่า ในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว เมื่อต้นปีนี้ ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้พร้อมใจ ไม่เลือกตัวแทนของพรรคไทรักไทยสักคนเดียว แสดงว่าเขาไม่ไว้างวางใจคุณทักษิณเลยใช่ไหม ?
เมื่อพิจารณาจากสำนวนและสำเนีนงของคุณทักษิณ ในกรณีเหตุการณ์ที่เบ้านตันหยงลิหมอแล้ว ก็ชักไม่แน่ใจว่านายกรัฐมนตรีมีความเข้าใจจริงๆเรื่องความสมานฉันท์สักเพียงใดกันแน่ ?
หรือว่า ที่ตั้งคณะกรรมสมานฉันท์แห่งชาติขึ้นนั้น เป็นเรื่องความสดวกทางการเมืองเท่านั้นเอง ! ไม่ได้คิดเอาจริงเอาจังกับเรื่องความสมานฉันท์เท่าใดนักหรอก !
ในช่วงเวลาอันยาวนาน ได้มีเหตุการณ์ใหญ่เกิดขึ้น 3 ครั้ง ่ซึ่งได้ให้บทเรียนแก่เราในแง่มุมต่างๆกันทั้งสิ้น
เหตุการณ์แรก คือเหตุการณ์ที่มัสยิดกรือเซะ ปัตตานี ซึ่งเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547
เหตุการณ์ครั้งนี้ ให้บทเรียนที่แสดงให้เห็นถึงผลการใช้ความรุนแรง เข้าปราบปรามผู้ก่อเหตุร้ายครั้งนี้ ซึ่งปรากฏว่าส่วนใหญ่เป็นเด็กหนุ่ม มีอาวุธเป็นปืนไม่กี่กระบอก นอกนั้นก็มีอาวุธเป็นมีดเป็นไม้จนกระทั่งสนับมือ แต่ฝ่ายเจ้าหน้าที่ผู้ปราบปราม มีอาวุธรุนแรงครบมือทุกคน
ผลปรากฏว่า ฝ่ายผู้ก่อเหตุครั้งนั้นเสียชีวิตทั้งหมด ประมาณ 30 กว่าคน
เหตุการณ์ครั้งที่สอง ที่ให้บทเรียนอีกมุมหนึ่ง คือกรณีการสลายการชุมนุมประท้วงหน้า สภอ.ตากใบ นราธิวาส
ผลก็คือมีผู้ชุมนุมถูกควบคุมตัว ถึง 1,200 กว่าคน ปราฎว่าระหว่างทางที่ขนส่งผู้ถูกควบคุมตัวเหล่านี้ไปยังค่ายทหารที่ปัตตานี มีผู้เสียชีวิตจากความแออัดในการขนส่งบรรทุกผู้ถูกควบคุมตัวครั้งนี้ ถึง 84 คน
บทเรียนจากกรณีนี้ก็คือ การดำเนินการใดๆที่เกี่ยวกับการก่อการร้ายนั้น ต้องมีการวางแผนให้รัดกุม ไม่ใช่จับคนยัดขึ้นรถ จนนอนทับกันตายมากมายถึงเพียงนั้น !
เหตุการณ์ครั้งที่สาม เกิดขึ้นเมื่อเดือนที่แล้ว นายทหารนาวิกโยธิน 2 นายถูกกลุ่มชาวบ้านตันหยงลิมอ นราธิวาส คุมตัวไว้ เนื่องจากสงสัยว่าจะเป็นผู้ก่อเหตุยิงชาวบ้าน
ต่อมาหลังจากมีความพยายามเจรจาเป็นเวลานาน เพื่อให้มีการปลดปล่อยนายทหารทั้งสองนาย ในที่สุด ปรากฏว่าเจ้าที่ทั้งสองนายถูกทำร้ายอย่างทารุณโหดร้ายจนเสียชีวิต
นี่ก็เป็นเหตุการณ์ที่ต้องสรุปบทเรียนอีกครั้งหนึ่งเหมือนกัน !
ก่อนอื่นอย่าได้มองข้าม ความจริงที่ว่า นายทหารนาวิกโยธินทั้งสองนายคือ นาวาเอกวินัย นาคะบุตร กับนาวาตรีกำธร ทองเอียด ได้เสียสละชีวิตอย่างกล้าหาญเป็นอย่างยิ่ง
เป็นการเสียสละชีวิต ตามครรลองของสันติวิธีและความสมานฉันท์อย่างแท้จริง !
นายทหารนาวิกโยธินทั้งสองนาย สังกัดกองพันทหารราบที่ 9 กรมทหารราบที่ 3 รักษาพระองค์ กองพลนาวิกโยธิน ค่ายจุฬาภรณ์ 5 ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
นายทหารทั้งสองคนเป็นผู้ที่รู้จักมักคุ้นกับชาวบ้านตันหยงลิมอเป็นอย่างดี เป็นผู้ที่วางตัวใกล้ชิดสนิทสนมชาวบ้าน
ทหารทั้งสองนายนี้ได้เรียนรู้ จนสามารถพูดภาษามลายูของชาวบ้านได้เ และได้แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนดูแลกิจการต่างๆในหมู่บ้านเป็นประจำ
แม้ในคืนเกิดเหตุ เมื่อมีการกราดยิงชาวบ้านที่ร้านน้ำชาของหมู่บ้าน นายทหารทั้งสองก็กล้าขับรถเข้าไปในหมู่บ้าน โดยคิดว่าอาจช่วยเหลือชาวบ้านได้บ้าง
เมื่อถูกชาวบ้านรุมล้อมด้วยความเข้าใจผิดว่าเป็นคนร้ายที่ก่อเหตุที่ยิงกราดร้านน้ำชา ในหมู่บ้าน แม้นายทหารทั้งสองจะมีอาวุธคือปืนพกและปืนเอ็ม 16 ก็ตาม แต่ก็มิได้ต่อสู้หรือขัดขืนการคุมตัวของชาวบ้าน
ทั้งนี้ก็เพราะเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของตนเอง และคิดว่าจะได้รับความเชื่อถือจากชาวบ้าน เพราะได้คุ้นเคยกันมาก่อนแล้ว
แต่ระหว่างที่ชาวบ้านคุมตัวนายทหารนาวิกโยธินทั้งสองอยู่นั้น ปรากฎว่ามี “มือที่สาม” ได้เข้ามาแทรก ทำร้ายทหารทั้งสองจนเสียชีวิตอย่างโหดร้ายทารุณ
เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นว่า สันติวิธีโดยครรลองของความสมานฉันท์ ก็อาจจบลงอย่างโศกนาฏกรรมได้เหมือนกัน
วิถีทางของสันติวิธีและความสมานฉันท์ไม่ได้โรยด้วยดอกกุหลาบเสมอไป !
ความหวาดระแวงของชาวบ้าน ซึ่งไม่ไว้วางใจคนในเครื่องแบบ เมื่อเกิดเหตุขึ้น มีคนกลุ่มหนึ่งกราดยิงเข้าไปในร้านน้ำชาประจำหมู่บ้าน ชาวบ้านไม่รู้ว่าใครเป็นใคร จึงคิดว่าทหารนาวิกโยธินสองนายซึ่งเคยเป็นมิตรสนิทสนมกันมาตลอด เป็นผู้กระทำ จึงคุมตัวไว้
ฝ่ายนายทหารทั้งสองนายขับรถเข้าไปในหมู่บ้าน ด้วยเจตนาบริสุทธิ์ โดยหวังว่าจะได้ช่วยเหลือเมื่อมีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้น แต่กลับต้องรับเคราะห์กรรมถึงชีวิต
กรณีนี้เป็นบทเรียนสำหรับฝ่ายผู้ที่เชื่อมั่นในวิถีของสันติวิถีและความสมานฉันท์ ชี้ให้เห็นว่าวิถีทางและหลักการดังกล่าว อาจนำไปสู่ผลคือความรุนแรงก็ได้
ฉะนั้นสันติวิธีและความสมานฉันท์ จึงต้องมีการเสียสละ และมีคุณธรรมของความอดกลั้นและอดทนกำกับและควบคู่ไปด้วยเสมอ
ไม่ใช่พอสันติวิธีและความสมานฉันท์ประสบความล้มเหลว มีการสูญเสียเกิดขึ้น ก็หันมาใช้ความรุนแรงโต้ตอบทันควันทันที
แต่ตรงกันข้าม ฝ่ายเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ได้ตระหนักถึงความละเอียดอ่อนของสถานะการณ์ครั้งนี้เป็นอย่างดี แสดงว่ามีความเข้าใจซาบซึ้งถึงหลักการและวิธีการของความสมานฉันท์ และมีความอดทนและอดกลั้นเป็นอย่างดีด้วย
หลังจากเกิดเหตุร้ายได้สองวัน พล.ต.พิเชษฐ วิสัยจร รองแม่ทัพภาคที่ 4 ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ถึงภาระหนักของฝ่ายเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองในสภาวะหน้าสิ่วหน้าขวานเช่นนี้
คำสัมภาษณ์ของ รองแม่ทัพภาคที่ 4 ในเรื่องเหตุการณ์ครั้งนี้ ตอนหนึ่งมี ความว่า “ การแก้ปัญหาในภาคใต้โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีปัญหาความรุนแรง มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ถ้าวันนั้นเราใช้ พ.ร.ก.ตามอำนาจที่มีอยู่ก็ได้ แต่ผมว่าสถานการณ์มันจะร้ายแรงกว่านี้อีก บอกได้คำเดียวว่าจะรุนแรงกว่าที่เกิดที่ตากใบ ซึ่งคนที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์อาจพูดไป คิดไปเรื่อยเราคิดช่วยชีวิตไว้ก่อน และถ้าเราพลาดมีการใช้กำลังบุกเข้าไป ผมว่าถ้าพลาดนะ ประเทศชาติจะแย่ เขาก็ดีงประชาชนออกไปสำเร็จ “
ข้อความที่ยกมากล่าวนี้ แสดงว่าเจ้าหน้าที่ในพื้นที่มีความเข้าใจเป็นอย่างดีในหลักการของความสมานฉันท์ และมีความระมัดระวังในการใช้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย ทั้งยังมีความอดทนและอดกลั้นในความสูญเสีย ซึ่งเป็นผลร้ายที่ตามมา
นี่เป็นสัญญาณลักษณ์ที่ดีชี้ให้เห็นว่า เราได้เริ่มเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ในปัญหาร้ายแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้บ้างแล้ว !
แต่ตรงกันข้าม เป็นที่น่าสังเกตว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กลับเป็นฝ่ายที่กล่าวถ้อยคำรุนแรง เกี่ยวกับเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นทำนองปลุกระดม ให้เกิดปฏิกิริยาในลักษณะชาตินิยมเชิงลบ เพื่อให้เกิดความเกลียดชังชาวบ้านมุสลิมเหล่านี้
เริ่มต้นด้วย นายกรัฐมนตรีทักษิณได้ พูดจาเป็นทำนองตำหนิ ที่มีการปล่อยให้นายทหารนาวิกโยธินถูกชาวบ้านคุมตัวไว้ได้ โดยไม่มีการบุกเข้าไปชิงตัวออกมาเสียก่อนที่จะถูกรุมทำร้ายจนเสียชีวิต
คุณทักษิณประกาศว่า ทหารสองนายนี้ “ไม่ได้ตายฟรี” !
พูดอย่างนี้แสดงว่า ผู้คนที่ล้มตายเป็นจำนวนมาก ทั้งฝ่ายชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ และผู้ปฎิบัติหน้าที่ราชการ ตลอดจนเจ้าที่ฝ่ายปราบปราม ที่ต้องสูญเสียชีวิตไป คนเหล่านั้น นายกรัฐมนตรีจะปล่อยให้พวกเขา “ตายฟรี” หรืออย่างไร ?
นายกฯทักษิณได้ประกาศเร่งรัดให้หาตัวคนทำร้ายเหล่านี้ ที่ทำร้ายทหารสองนายนี้มาดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมให้ได้โดยเร็ว
พูดอย่างนี้ก็เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้มีการกวาดล้างกันนั่นเอง !
จำนวนผู้ต้องสงสัย ถูกควบคุมตัว ในชั้นเแรกมีเพียงสองคน มาถึงบัดนี้ได้เพิ่มจำนวนเป็น 10 กว่าคนแล้ว !
แสดงว่ามีการกวาดต้อน “แพะ” เพื่อสังเวยคำประกาศิตของนายกรัฐมนตรีเสียกระมัง ?
ต่อมาในรายการวิทยุประจำสัปดาห์ของนายกรัฐมนตรี คุณทักษิณก็ได้พูดถึงเรื่องนี้อีกครั้ง ซึ่งก็มีการพูดจกในลักษณะประหลาดและน่าคิดอีกครั้งหนึ่ง
ในชั้นแรกคุณทักษิณใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ ไม่สมกับฐานะเป็นนายกรัฐมนตรีพูดกับประชาชนทางวิทยุกระจายเสียง
นายกรัฐมนตรีเรียกผู้รุมทำร้ายทหารสองนายนั้นว่าพวก “เดรัจฉาน” !
การใช้ถ้อยคำไม่สุภาพเช่นนี้ แสดงถึงอารมณ์รุนแรงของนายกรัฐมนตรีที่ถูกเหตุการณ์ใน
จังหวัดชายแดนภาคใต้ กดดันซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงระเบิดเป็นถ้อยคำที่ไม่สมควรเช่นนั้นออกมา !
เป็นพฤติกรรมอย่างที่เรียกกันเป็นภาษาอังกฤษว่า frustration นั่นเอง !
นอกจากนี้ในรายการวิทยุครั้งนั้น คุณทักษิณได้ประกาศว่า ตัวเองขอเป็นผู้รับผิดชอบแต่ผู้เดียวในเหตุการณ์ชายแดนภาคใต้ และถ้าไม่สามารถคลี่คลายปัญหาชายแดนภาคใต้ได้ เลือกตั้งคราวหน้า ไม่ต้องเลือกตนและพรรคไทยรักไทยเข้ามาเป็นรัฐบาลอีก !
พูดสำนวนเดียวกับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้เคยประกาศก้องเมืองไทยในยุคทหารครองเมืองว่า ”ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่ผู้เดียว! “
แต่คุณทักษิณมาด้วยการเลือกตั้ง จึงให้ประชาชนทั้งประเทศต้องรออีก 3 ปีกว่า จึงจะมี
โอกาศประเมินผลความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีในเรื่องภาคใต้ได้ !
แต่คุณทักษิณคงลืมไปแล้วว่า ในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว เมื่อต้นปีนี้ ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้พร้อมใจ ไม่เลือกตัวแทนของพรรคไทรักไทยสักคนเดียว แสดงว่าเขาไม่ไว้างวางใจคุณทักษิณเลยใช่ไหม ?
เมื่อพิจารณาจากสำนวนและสำเนีนงของคุณทักษิณ ในกรณีเหตุการณ์ที่เบ้านตันหยงลิหมอแล้ว ก็ชักไม่แน่ใจว่านายกรัฐมนตรีมีความเข้าใจจริงๆเรื่องความสมานฉันท์สักเพียงใดกันแน่ ?
หรือว่า ที่ตั้งคณะกรรมสมานฉันท์แห่งชาติขึ้นนั้น เป็นเรื่องความสดวกทางการเมืองเท่านั้นเอง ! ไม่ได้คิดเอาจริงเอาจังกับเรื่องความสมานฉันท์เท่าใดนักหรอก !