ศูนย์ข่าวภูเก็ต -ชายหาดในจังหวัดภูเก็ต และพังงา ที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ ฟื้นตัวโดยธรรมชาติแล้วกว่า 80% คาด 2 ปีจากนี้ ชายหาดทั้งหมดกลับคืนสู่สภาพเดิมทั้งหมด ขณะที่ร่องน้ำบนฝั่งขยายตัวเพิ่ม 40-50 เมตร เตือนอย่าตั้งบ้านเรือนใกล้ร่องน้ำ หากเกิดสึนามิความแรงของคลื่น จะเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของปากร่องน้ำ แต่ไม่มีผลทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างแน่นอน
รศ.ปัญญา จารุศิริ หัวหน้าภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาภายหลังเกิดเหตุการณ์สึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547ว่า ภายหลังเกิดเหตุการณ์สึนามิ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 70 ล้านบาท ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาวิจัย ผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งหมด 11 หัวข้อ ว่าทำอย่างไรถึงอยู่กับสึนามิได้
ขณะนี้ผลการศึกษามีความคืบหน้าไปแล้วประมาณ 90% คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายในสิ้นเดือนนี้ ซึ่งจะเน้นในเรื่องของอุทยานแห่งชาติ การเปลี่นแปลงทางสถาปัตยกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ที่ถูกทำลายไป เป็นต้น หลังจากนั้นจะนำผลการศึกษามาประเมินในการวางแผนป้องกันปัญหาต่อไป
จากการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า หลังเกิดเหตุการณ์สึนามิ ชายหาดหลายๆชายหาดในพื้นที่ภูเก็ต พังงา ได้รับผลกระทบจากสึนามิอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในพื้นที่อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ได้รับความเสียหายจากการกัดเซาะของคลื่นสึนามิ และโดยเฉพาะชายหาดที่เป็นพื้นที่ราบจะถูกกัดเซาะรุนแรงมาก เพราะสภาพของคลื่นมีความสูง 10-15 เมตร
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ชายหาดหลายๆ แห่ง ได้ฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิมโดยธรรมชาติเองไม่น้อยกว่า 80% เช่น ที่ชายหาดแหลมปะการัง ซึ่งคิดว่าภายใน 2 ปีจากนี้ ชายหาดต่างๆ น่าจะกลับคืนสูสภาพปกติทั้งหมด
"สิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการ คือ การบริหารจัดการหลังจากนี้ ที่จะจัดสรรชายหาดใหม่ไม่ให้ถูกทำลายอีก และหากคลื่นสึนามิเข้ามาอีกจะหาทางหนีอย่างไร "รศ.ปัญญากล่าว และว่า
ส่วนการเปลี่ยนแปลงของร่องน้ำภายหลังสึนามิ บนฝั่งมีการเปลี่ยนแปลงไปมากพอสมควร บางร่องน้ำตามปากแม่น้ำ ลำธาร มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 40-50 เมตร ซึ่งหากเกิดสึนามิเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง จะทำให้สภาพของคลื่นมีสภาพที่รุนแรงขึ้น ความเสียหายก็จะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นไม่ควรที่จะให้ประชาชนตั้งบ้าเรือนอยู่ใกล้กับบริเวณร่องน้ำต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของร่องน้ำ จะไม่มีผลให้เกิดน้ำท่วม และการเกิดสึนามิ ไม่ได้ทำให้ร่องน้ำเพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วย
รศ.ปัญญา ยังแนะนำถึงการป้องกันสึนามิว่า ควรที่จะมีการย้ายวัดและโรงเรียนไปอยู่ในพื้นที่ที่ห่างจากชายหาดไม่น้อยกว่า 2 กม. เพราะจากเหตุการณ์สึนามิครั้งที่ผ่านมา คลื่นสามารถที่จะซัดชายฝั่งได้ยาวกว่า 2 กม. และกระทรวงศึกษาฯจะต้องบรรจุความรู้เรื่องสึนามิ ให้อยู่ในหลักสูตรการเรียนของนักเรียนด้วย พร้อมทั้งวางแผนการจัดวางผังเมืองให้สอดคล้องกับการหนีภัย เพิ่มความรู้ให้แก่ประชาชน และสร้างความมั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยว
รศ.ปัญญา จารุศิริ หัวหน้าภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาภายหลังเกิดเหตุการณ์สึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547ว่า ภายหลังเกิดเหตุการณ์สึนามิ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 70 ล้านบาท ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาวิจัย ผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งหมด 11 หัวข้อ ว่าทำอย่างไรถึงอยู่กับสึนามิได้
ขณะนี้ผลการศึกษามีความคืบหน้าไปแล้วประมาณ 90% คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายในสิ้นเดือนนี้ ซึ่งจะเน้นในเรื่องของอุทยานแห่งชาติ การเปลี่นแปลงทางสถาปัตยกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ที่ถูกทำลายไป เป็นต้น หลังจากนั้นจะนำผลการศึกษามาประเมินในการวางแผนป้องกันปัญหาต่อไป
จากการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า หลังเกิดเหตุการณ์สึนามิ ชายหาดหลายๆชายหาดในพื้นที่ภูเก็ต พังงา ได้รับผลกระทบจากสึนามิอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในพื้นที่อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ได้รับความเสียหายจากการกัดเซาะของคลื่นสึนามิ และโดยเฉพาะชายหาดที่เป็นพื้นที่ราบจะถูกกัดเซาะรุนแรงมาก เพราะสภาพของคลื่นมีความสูง 10-15 เมตร
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ชายหาดหลายๆ แห่ง ได้ฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิมโดยธรรมชาติเองไม่น้อยกว่า 80% เช่น ที่ชายหาดแหลมปะการัง ซึ่งคิดว่าภายใน 2 ปีจากนี้ ชายหาดต่างๆ น่าจะกลับคืนสูสภาพปกติทั้งหมด
"สิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการ คือ การบริหารจัดการหลังจากนี้ ที่จะจัดสรรชายหาดใหม่ไม่ให้ถูกทำลายอีก และหากคลื่นสึนามิเข้ามาอีกจะหาทางหนีอย่างไร "รศ.ปัญญากล่าว และว่า
ส่วนการเปลี่ยนแปลงของร่องน้ำภายหลังสึนามิ บนฝั่งมีการเปลี่ยนแปลงไปมากพอสมควร บางร่องน้ำตามปากแม่น้ำ ลำธาร มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 40-50 เมตร ซึ่งหากเกิดสึนามิเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง จะทำให้สภาพของคลื่นมีสภาพที่รุนแรงขึ้น ความเสียหายก็จะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นไม่ควรที่จะให้ประชาชนตั้งบ้าเรือนอยู่ใกล้กับบริเวณร่องน้ำต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของร่องน้ำ จะไม่มีผลให้เกิดน้ำท่วม และการเกิดสึนามิ ไม่ได้ทำให้ร่องน้ำเพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วย
รศ.ปัญญา ยังแนะนำถึงการป้องกันสึนามิว่า ควรที่จะมีการย้ายวัดและโรงเรียนไปอยู่ในพื้นที่ที่ห่างจากชายหาดไม่น้อยกว่า 2 กม. เพราะจากเหตุการณ์สึนามิครั้งที่ผ่านมา คลื่นสามารถที่จะซัดชายฝั่งได้ยาวกว่า 2 กม. และกระทรวงศึกษาฯจะต้องบรรจุความรู้เรื่องสึนามิ ให้อยู่ในหลักสูตรการเรียนของนักเรียนด้วย พร้อมทั้งวางแผนการจัดวางผังเมืองให้สอดคล้องกับการหนีภัย เพิ่มความรู้ให้แก่ประชาชน และสร้างความมั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยว