"วิสุทธิ์"ยอมถอนตัวเป็นผู้ว่าฯสตง.ยีดอายุ"สุชน"อ้างเป็นการผ่าทางตันเพื่อให้ทุกฝ่ายสบายใจ ด้านปธ.วุฒิโยนเผือกร้อนกลับไปให้ คตง. ขณะที่"เสรี"แนะให้นำมาถกในที่ประชุม ส.ว.ก่อนเสนอส่ง คตง. ย้ำต้องหาข้อ ยุติชัดเจน ป้องกันปัญหาในอนาคต "แก้วสรร"ดักคอ คตง.ไม่ต้องไปถามศาลรัฐธรรมนูญอีก ครป.จี้"สุชน"ลาออกเหมือนวิสุทธิ์ พร้อมแนะ คตง.เชิญคุณหญิงจารุวรรณ กลับทำงานอย่างเป็นทางการ "วิษณุ"ชี้มี 2 ทางออก คือ สรรหาใหม่ภายใน 30 วัน หรือไม่ต้องสรรหาใหม่ เตรียมปูนบำเหน็จวิสุทธิ์
วานนี้ (23 ก.ย.)นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา ได้แถลงที่รัฐสภา เมื่อเวลาประมาณ 11.45 น.ว่า นายวิสุทธิ์ มนตริวัต ได้ทำหนังสือขอถอนตัวไม่ขอรับการเสนอชื่อดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)แล้ว โดยให้เหตุผลว่า เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถแก้ปัญหา หาทางออกได้โดยสะดวก และป้องกันปัญหาที่จะติดตามมาในอนาคต
ในคำแถลงของนายสุชน ได้อ้างว่า นายวิสุทธิ์ ทำหนังสือแจ้งความประสงค์ดังกล่าวมาถึงประธานวุฒิสภา เมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา และได้แจ้งเหตุผล เพื่อต้องการยุติปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยนายวิสุทธิ์ ระบุว่า หลังจากปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชน และจากการอภิปรายในที่ประชุมวุฒิสภา อย่างครึกโครมในประเด็นที่ว่า ตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ที่เคยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งไว้แล้ว ว่างลงหรือไม่ และแม้ว่าไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของตัวเอง
เหตุผลของนายวิสุทธิ์ ยังระบุอีกว่า การสมัครเป็นผู้ว่าฯสตง.เป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการสรรหา ซึ่งดำเนินการตาม มาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อเวลาล่วงมา และยังไม่มีทีท่าว่ากระแสวิพากษ์วิจารณ์จะสงบลง ทำให้เกิดความไม่สบายใจและเกรงว่ากระแสข่าวที่เกิดขึ้นอาจทอดเวลายาวนานต่อไป ทำให้การปฏิบัติงานของสตง.เป็นไปด้วยความยากลำบาก
นายวิสุทธิ์ ให้เหตุผลว่า การที่มีเรื่องของตนค้างอยู่ในขั้นตอน จะทำให้การพิจารณาหาทางออก หรือแก้ปัญหาให้ถูกต้อง และถูกใจทุกฝ่ายคงเป็นไปได้ยาก ในลักษณะของ"ทางตัน"ดังนั้นเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถเริ่ม หรือเข้าสู่กระบวนการต่างๆ ที่เห็นสมควรได้โดยสะดวกใจ โดยชอบด้วยกฎหมาย และชอบธรรม ไม่มีข้อขัดข้องทั้งในทางกฎหมาย และความถูกต้องดีงาม ตามระเบียบประเพณี
"ผมจึงขอแสดงเจตนา โดยสมัครใจขอถอนตัว ซึ่งเท่ากับว่าไม่ประสงค์จะขอรับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว แม้ว่าจะมีคุณสมบัติครบถ้วน และไม่ได้มีลักษณะต้องห้ามใดๆตามกฎหมาย เพื่อให้ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทุกฝ่าย สามารถดำเนินการได้ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยไม่ติดใจที่จะดำเนินคดี หรือเรียกร้องใดๆ"นายวิสุทธิ์ ให้ เหตุผล
ด้านนายสุชน เปิดเผยว่าได้มีหนังสือและขอเข้าพบท่านราชเลขาธิการ เพื่อขอให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระทาน ถอนเรื่องการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายวิสุทธิ์ มนตริวัตร เป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคืน
บัดนี้ ท่านราชเลขาธิการได้มีหนังสือแจ้งประธานวุฒิสภา ลงวันที่ 23 ก.ย.48 ว่า ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองทุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ถอนเรื่องคืนได้ตามที่ขอมา
ทั้งนี้ นายสุชน ได้ทูลเกล้าฯชื่อนายวิสุทธิ์ มนตริวัต เป็นผู้ว่าฯสตง.ไปตั้งแต่วันที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา แต่จนถึงขณะนี้ เวลาได้ผ่านมากว่า 100 วันแล้ว แต่ยังไม่มีการโปรดเกล้าฯลงมา ทำให้มีแรงกดดันจากหลายฝ่ายให้ นายสุชนดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
**โยนเผือกร้อนกลับไปคตง.
นายสุชน กล่าวอีกว่า วุฒิสภาจะมีหนังสือกราบเรียนประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(คตง.) เพื่อทราบต่อไปเพราะเป็นเจ้าของเรื่อง ถือว่าขณะนี้หมดหน้าที่ของวุฒิสภาแล้ว ที่ผ่านมาได้ทำตามขั้นตอน กระบวนการจะเป็นอย่างไรต่อไป ให้ไปถามทาง คตง.โดยตนไม่ขอให้ความเห็นในเรื่องนี้ ส่วนการที่นายวิสุทธ์ ถอนตัวเพราะถูกกดดันจากฝ่ายการเมืองใช่หรือไม่ ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า เป็นเรื่องของนายวิสุทธิ์ที่ตัดสินใจเอง ตนไม่เคยไปพบ และไม่เคยส่งใครไปเจรจากับนายวิสุทธิ์ อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนของวุฒิสภา จะนำเรื่องนี้แจ้งให้ ส.ว.ทั้ง 200 คนรับทราบในวันที่ 26 ก.ย.นี้ พร้อมกับจะชี้แจงกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้รับทราบ สำหรับสถานะของ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกานั้น นายสุชน ปฏิเสธว่าไม่มีความเห็น เพราะไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะวินิจฉัยเรื่องนี้และไม่ขอแตะ
**คตง.นัดถกหาทางออก 26 ก.ย.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)ได้เรียกประชุมในเรื่องนี้ หลังจากที่ประธานวุฒิสภาแถลงข่าวการถอนตัวของนายวิสุทธิ์
นายนรชัย ศรีพิมล ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ต้องรอหนังสือจาก ประธานวุฒิสภา อย่างเป็นทางการอีกครั้ง จึงจะดำเนินการใดๆได้ แต่การดำเนินการต่อไปของ คตง.ต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย คาดว่าจะนัดหมายกับคตง.ทั้งหมด เพื่อประชุมหารือกันในวันที่ 26 ก.ย.นี้
"การถอนตัวของนายวิสุทธิ์ ผมไม่รับทราบมาก่อน ไม่มีการขอคำปรึกษาหารือใดๆ กับผม แต่ก็ขอชมเชยนายวิสุทธิ์ที่เสียสละ ที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม"นายนรชัย กล่าว
เมื่อถามว่าขณะนี้ยังจะถือว่ามีตำแหน่งผู้ว่าฯ สตง.หรือไม่ นายนรชัย กล่าวว่า เรามีรักษาการอยู่ คือนายจีระรัตน์ นพวงศ์ ณ อยุธยา และตามมติของคณะกรรมการชุดเดิมเคยมีไว้ว่า จะต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อมีคำวินิจฉัยอย่างไร เราต้องปฏิบัติตามผลของคำวินิจฉัยนั้น
ต่อข้อถามว่าการสรรหาต่อไป จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่ผ่านมาได้อย่างไร นายนรชัย กล่าวว่า จะต้องหารือกับ คตง.ก่อน
อย่างไรก็ตาม เราต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ซึ่งการเสนอชื่อไปยังวุฒิสภา ก็จะมีเพียงชื่อเดียว ตามระเบียบกฎหมายและแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้
ต่อข้อถามว่า นายวิสุทธิ์ และ คุณหญิงจารุวรรณ จะมีสิทธิในการรับการสรรหารอบใหม่หรือไม่ นายนรชัย กล่าวว่า แล้วแต่ความสมัครใจของทั้ง 2 คน ตนตอบแทนไม่ได้ แต่หลักเกณฑ์คุณสมบัติ เรามีอยู่แล้วว่า ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มาสมัครได้ ถ้ามีการรับสมัครและ คตง.ไม่ได้ยึดติดกับเรื่องตัวบุคคลว่าจะต้องเป็นผู้ใด เพราะหลักเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนดไว้แน่นอนแล้วว่า จะต้องมีความรู้ ความสามารถ และความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ก็ต้องปฏิบัติไปตามนั้น
ส่วนกรณีที่อาจมีแรงกดดันจากสังคมให้ คตง.รับผิดชอบต่อกรณีปัญหาผู้ว่าฯ สตง.นั้น นายนรชัย กล่าวว่า คตง.ยึดหลักกฎหมายเท่านั้น กฎหมายว่าอย่างไร ก็ถือว่าเป็นกรอบให้เราเดิน เราต้องทำตามนั้น อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่า การสรรหาผู้ว่าฯ สตง.ครั้งนี้ คตง.จะขอดูแลให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
นายบัวรอด โบว์เสรีวงศ์ กรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวว่า โดยความเห็นส่วนตัวในกรณีนี้นั้นมองว่า ต้องว่าไปตามคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่าคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าสตง.ได้แล้วและคณะกรรมการคตง.ชุดเก่าก็สั่งงดจ่ายเงินเดือนให้คุณหญิงจารุวรรณไปแล้วเช่นกัน มันชี้ชัดว่า กรรมการต้องสรรหาผู้ว่าสตง.คนใหม่อีกครั้ง
"ฉะนั้นกรรมการชุดเก่า จึงสรรหานายวิสุทธิ์ ขึ้นไปแต่เมื่อตอนนี้นายวิสุทธิ์บอกว่า เพื่อผ่าทางตันจึงขอสละตำแหน่งนี้ เมื่อตอนนี้ไม่มีผู้ว่าฯสตง.ก็ต้องสรรหากันใหม่ กรณีนนายวิสุทธิ์ลาออกนั้นเป็นการผ่าทางตันและเป้นทางออกที่ดี การสละตำแหน่งในครั้งนี้และเริ่มสรรหาใหม่ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องเพราะกรรมการไม่ได้กังวลอะไรแม้การทำงานที่ผ่านมาจะมีอะไรที่ผิดพลาดนั้นแต่การทำงานแม้มันผิดก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ตรงนี้คือหลักคิด"นายบัวรอด กล่าว
เมื่อถามว่า ที่ผ่านมา คุณหญิงจารุวรรณ ยันยันว่ายังอยู่ในตำแหน่ง ผู้ว่าฯสตง.กรรมการ คตง.จะสอบถามความเห็นเรื่องนี้กับศาลรัฐธรรมนูญอีกครั้งหรือไม่ นายบัวรอด กล่าวว่าไม่ เพราะศาลรัฐธรรมนูญออกแถลงการเรื่องนี้และชี้ชัดไปแล้ว เมื่อถามว่า หมายความว่า คุณหญิงจารุวรรณ พ้นจากตำแหน่งนี้ไปแล้ว นายบัวรอด กล่าวว่า"ครับเพราะคำพิพากษาเป็นอย่างนั้น แต่ความเห็นของแต่ละคนก็แตกต่างกันได้ แต่มันต้องว่ากันไปตามกฎหมาย"
**รัฐบาลเตรียมปูนบำเหน็จให้วิสุทธิ์
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงทางออกหลังนายวิสุทธิ์ ถอนตัวจากการเสนอชื่อเป็นผู้ว่าฯ สตง.ว่า ขณะนี้มี 2 ทางเลือก คือ 1.หากคตง.เชื่อว่ามีตำแหน่งว่างก็ต้องดำเนินการสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่งใหม่ ภายใน 30 วัน ตามมาตรา 35 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่า ด้วยผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน นับจากได้รับแจ้งจากประธานวุฒิสภา แต่ในการพิจารณาของวุฒิสภา ไม่มีการกำหนดเวลา
2.หาก คตง.ไม่เชื่อว่ามีตำแหน่งว่าง ก็ไม่ต้องสรรหาคนใหม่ ดังนั้น ไม่มีใครสามารถแนะนำได้ เว้นแต่ คตง.เชื่อว่า ตำแหน่งผู้ว่าฯสตง.ว่างลง ก็ต้องตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าฯสตง. ประกาศรับสมัคร และทำให้ถูกต้องตามขั้นตอน ส่วนการโปรดเกล้าฯ ให้คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา พ้นจากตำแหน่งนั้น ก็ไม่จำเป็นว่าให้พ้นหรือไม่ เพราะจะเท่ากับเป็นการไล่ออก
"กรณีนี้ผมขอชมเชยสปิริต นายวิสุทธิ์ เพราะเท่าที่ได้ฟังถ้อยคำที่ให้เหตุผล เห็นว่าเรื่องนี้ถึงทางตัน เมื่อถอยออกมา ปัญหาทั้งหมดก็โล่งขึ้น ส่วนที่จะให้มาช่วยงานหรือไม่ ขณะนี้เร็วเกินไปที่รัฐบาลจะเข้าไปยุ่งเกี่ยว จึงไม่ขอให้คำตอบในกรณีที่ลาออกจากราชการไปแล้ว ขณะนี้ผมยังติดต่อไปไม่ได้ ต้องรอ 90 วัน ให้เรื่องซาไปก่อน ก็จะถามว่ามีความคิดอย่างไร ยังไม่ทราบว่าจะเกษียณอายุราชการเมื่อไร ผมว่าเรื่องนี้ยังไม่ต้องรีบร้อน" นายวิษณุ กล่าว
**คตง.ไม่ควรไปถามศาลรธน.อีก
ด้านคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา กล่าวถึงสถานะการเป็นผู้ว่าฯสตง.ของตนเองว่า ตนยังเป็นผู้ว่าฯสตง.อยู่จนถึงขณะนี้ และได้ยืนยันอย่างนี้มาตั้งแต่ต้นว่าที่สุดแล้วพระเจ้าอยู่หัวเป็นใหญ่ ตนยึดมั่นแค่นี้และไม่อยากจะอ้างถึงพระองค์ท่านเพราะ คนจะกล่าวหาว่า ดึงพระองค์ท่านลงมาอีก แต่ว่าพระเจ้าอยู่หัวคือที่สุดของชีวิตทุกประการ อะไรที่ถูกต้องก็ต้องถูกต้อง บ้านเมืองมีคุณธรรมและมีพระคือพระเจ้าอยู่หัว
นายแก้วสรร อติโพธิ ส.ว.กทม.กล่าวว่า เมื่อนายวิสุทธิ์ ถอนตัว สถานการณ์ก็ดีขึ้นเพราะพ้นเรื่องพระราชอำนาจ อย่างไรก็ดี ปัญหาเรื่องผู้ว่าฯสตง.ทั้งหมดอยู่ที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ว่ามีผลสมบูรณ์หรือไม่ มีฐานทางกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ซึ่งตนคิดว่าคำวินิจฉัยไม่สมบูรณ์ การไปตีความให้มีผลตามกฎหมายทำไม่ได้ และไม่ใช่หน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ จะไปชี้ว่าพ้นตำแหน่งหรือไม่
"จะแก้ปัญหาเรื่องนี้ก็ต้องแก้ที่คำวินิจฉัย เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ตัดสินให้มีผลทางกฎหมาย มันคลุมเครือ และไปชี้ว่ากระบวนการนั้น กระบวนการนี้ไม่ถูก หรือคุณหญิงเป็นผู้ว่าฯสตง.อยู่หรือไม่ ไม่ได้ แต่ถ้า คตง.คิดว่าการสรรหาผู้ว่าฯสตง.แล้วส่งเสนอรายชื่อมายังวุฒิสภา 1 คน ส่วนวุฒิสภาคิดว่าต้องส่งมาเป็นบัญชีรายชื่อ สมมติว่า 3 คน ศาลรัฐธรรมนูญ ถึงจะมีอำนาจวินิจฉัยในจุดนี้ ถ้าผมเป็น คตง.ชุดใหม่ที่ต้องพิจารณาเรื่องนี้หลังจากประธานวุฒิสภาแจ้งกลับไปว่า กระบวนการสรรหาดำเนินการไปไม่โดยไม่สมบูรณ์ ผมจะไม่เห็นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องดังกล่าวอยู่ในโลก เพราะเป็นคำวินิจฉัยเถื่อนที่อยู่นอกรัฐธรรมนูญ ถึงไปเดินตามอีกทีก็ปวดหัวกันอีก และ คตง.อย่าทะลึ่งไปถามศาลรัฐธรรมนูญอีก ให้ลืมมันไปเลย"นายแก้วสรร กล่าว
นายบรรเจิด สิงคะเนติ อาจารย์นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาควรที่จะเริ่มต้นจากหาว่าเหตุของความบกพร่องในเรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะเหตุใด เพื่อให้ไม่เกิดปัญหาซ้ำอีก ทั้งในเรื่องระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาผู้ที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินพ.ศ. 2543 ที่ไม่มีการลงในราชกิจจานุเบกษา ก็ควรทำเสียให้ถูกต้อง
เรื่องการเสนอชื่อผู้เหมาะสมเป็น ผู้ว่าฯสตง.ให้วุฒิสภา ตกลงแล้วต้องเป็นการเสนอทั้งบัญชีตามที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินกำหนดไว้ให้วุฒิสภาพิจารณาคัดเลือก หรือเสนอเพียงรายชื่อเดียวให้วุฒิสภาเห็นชอบตามที่ระเบียบการสรรหาผู้ว่าฯสตง. กำหนดไว้ เพราะแม้ศาลรัฐธรรมนูญจะมีการวินิจฉัย ว่าวุฒิสภามีอำนาจแค่ให้ความเห็นชอบ แต่ก็ไม่เคยพิจารณาว่าระเบียบการสรรหาฯดังกล่าวออกอยู่ในกรอบของพ.ร.บ.ตรวจเงินแผ่นดินฯ หรือไม่ และที่สำคัญสุดก็คือ คุณหญิงจารุวรรณ ยังอยู่ในตำแหน่งผู้ว่าฯสตง.หรือไม่
นายบรรเจิด กล่าวอีกว่า กรณีที่ว่า คุณหญิงจารุวรรณ ยังอยู่ในตำแหน่งผู้ว่าการหรือไม่นั้นจะเกิดเป็นปัญหาที่นำไปสู่การยื่นตีความต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ก็ต่อเมื่อทาง คตง.และ ส.ว.มีความเห็นไม่ตรงกัน เช่น เมื่อส.ว.ส่งเรื่องกลับไปยังคตง.แล้วคตง.มีการสรรหาผู้ว่าฯสตง.คนใหม่ เสนอกลับมาให้วุฒิสภา ซึ่งวุฒิสภาอาจจะเห็นว่าคุณหญิงจารุวรรณยังอยู่ในตำแหน่ง ตรงนี้ประธานวุฒิสภาสามารถใช้ มาตรา 266 ของรัฐธรรมนูญ กรณีมีปัญหาอำนาจหน้าที่ระหว่างองค์กรยื่นไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ แต่ตนก็ไม่อยากให้ประธานวุฒิสภา ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปจนถึงขั้นให้ คตง.สรรหาแล้วส่งชื่อมา เพราะขณะนี้ไม่มีผู้ว่าฯ สตง.มาทำหน้าที่เป็นเวลานานแล้ว
ดังนั้นประธานวุฒิสภา และส.ว.ควรที่จะมีการหารือกันให้ชัดเจน ถ้าเห็นตรงกันว่าคุณหญิงจารุวรรณยังอยู่ในตำแหน่ง ก็สามารถแจ้งไปยังคตง.ได้ทันทีว่า ไม่ต้องมีเสนอชื่อผู้ว่าฯ สตง.คนใหม่มาให้วุฒิสภาและถ้า คตง.เห็นแย้งประธานวุฒิสภา ก็สามารถนำเรื่องยื่นต่อศาลรธน.ได้ทันที
ส่วนศาลรัฐธรรมนูญ หากมีการเสนอเรื่องดังกล่าวตามช่องทางมาตรา 266 ของรัฐธรรมนูญ อยากให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาให้อยู่ในกรอบ อย่าไปพิจารณาเกินกว่าขอบเขตอำนาจของตน เพราะโดยหลักแล้วตาม มาตรา 266 นั้น สิ่งที่ศาลจะมีคำวินิจฉัยก็คือ การบอกว่าสิทธิ์ในเรื่องนั้นเป็นขององค์กรใด เช่น กรณีนี้ถ้าจะให้ถูกต้องศาลก็ต้องวินิจฉัยว่า อำนาจในการวินิจฉัยว่าคุณหญิงจารุวรรณ
อยู่ในตำแหน่งหรือไม่เป็นของ คตง.หรือของ ส.ว.แต่ก็เชื่อว่าด้วยความที่ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยวินิจฉัยกรณีตามมาตรา 266 ไว้ค่อนข้างกว้างเกินขอบเขตอำนาจ กรณีนี้ศาลรัฐธรรมนูญก็คงจะวินิจฉัยเลยว่าคุณหญิงยังอยู่ในตำแหน่งหรือไม่หากมีการส่งเรื่องไป หากมีการถามไปที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยเรื่องที่ยื่นไปตามช่องทาง 266 ในลักษณะขยายขอบเขตอำนาจ
**ยันผู้ว่าฯสตง.ยังเป็นคุณหญิงจารุวรรณ
นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว.กทม. กล่าวว่า การที่นายวิสุทธิ์ ถอนตัวทำให้เรื่องทุกอย่างง่ายขึ้น ปัญหาที่สับสนวุ่นวายก็คลายตัวลงไป อย่างน้อยวุฒิสภาจะได้ย้อนกลับไปดูในสิ่งที่ผ่านมาได้ง่ายขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามถึงสถานะของ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา นายเสรี กล่าวว่า คงต้องนำมาพิจารณากัน ในข้อถกเถียงต่างๆในเรื่องผู้ว่าฯสตง. ที่มีคุณหญิงจารุวรรณ ดำรงอยู่ในขณะนี้ ทางวุฒิสภาจะพิจารณากันอย่างไร ซึ่งจะต้องพิจารณาจากหลายฝ่าย แต่ในเบื้องต้นเมื่อเรื่องยังอยู่ที่วุฒิสภา ก็น่าจะมีการปรึกษาหารือภายในวุฒิสภาเพื่อให้ได้ข้อสรุปในระดับหนึ่ง เพื่อประสาน คตง.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อไม่ให้ปัญหาและข้อขัดแย้งเกิดขึ้นอีก
"ส่วนตัวผมยังเชื่อว่า การมีพระบรมโปรดเกล้าฯแต่งตั้งคุณหญิงจารุวรรณ ยังเป็นเรื่องที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสมาชิกคงไม่อยากให้มีปัญหาอะไรมากมาย หากทุกอย่างมีการแก้ไขก็น่าจะยุติกันได้ ที่สำคัญ ข้อยุติจะต้องชัดเจน และไม่มีปัญหาตามมา" ส.ว.กทม.กล่าว
เมื่อถามว่า ประธานวุฒิสภาระบุว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของ คตง.ที่จะต้องดำเนินการต่อไป ซึ่งหากมีการสรรหามาเช่นเดิม จะมีปัญหาหรือไม่ นายเสรี กล่าวว่า นี่คือปัญหา แต่ท่านคงตัดสินใจในฐานะที่ท่านเป็นประธานฯ ซึ่งไม่ทราบว่าที่ประชุมจะเห็นเป็นอย่างไร ซึ่งอย่างน้อยวุฒิสภาควรจะมีข้อเสนอส่งไปให้ คตง.ด้วย
**จี้"สุชน"แสดงสปิริตตาม"วิสุทธิ์"
นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)กล่าวว่า นายวิสุทธิ์ นับเป็นเหยื่ออีกรายของฝ่ายการเมืองที่พยายามเข้าแทรกแซงองค์กรอิสระอย่าง คตง. ฉะนั้นรัฐบาลควรเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับนายวิสุทธิ์ด้วย
หลังจากนี้ทุกอย่างก็ควรกลับสู่ภาวะปกติ โดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(คตง.)ก็ต้องเชิญคุณหญิง จารุวรรณ กลับมาทำงานต่ออย่างเป็นทางการ และเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับคุณหญิงอย่างเป็นธรรมที่สุดเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการคืนเงินเดือน และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นทั้งหมดก่อนหน้านี้ด้วย
"ผมไม่เห็นด้วยถ้าจะมีความพยายามของ ส.ว.หรือใครก็ตาม ที่จะยื่นตีความสถานภาพคุณหญิงจารุวรรณ เพราะขั้นตอนก้าวมาไกลเกินแล้ว และต้องไม่ลืมว่ากรณีนี้ถ้าเป็นกรณีที่พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงโปรดเกล้าฯ แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญยิ่งไม่มีสิทธิที่จะวินิจฉัยสถานภาพคุณหญิงจารุวรรณ เพราะต้องไม่ลืมว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่มีผลผูกพันกับพระราชอำนาจ และอีกทางหนึ่งถ้าส่งเรื่องกลับมาที่ คตง.แล้ว คตง.สรรหากลับไปก็จะเกิดปัญหาสุญญากาศซ้ำซากอีก เพราะหลักใหญ่ใจความคือ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ยังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าเป็นผู้ว่าฯ สตง.จึงถือว่ายังมีสถานภาพครบถ้วนสมบูรณ์ตามกฎหมาย "
นอกจากนี้ กรณีการถอนตัวของนายวิสุทธิ์ เป็นคนละกรณีกับความรับผิดชอบของประธานวุฒิสภา ที่สำคัญประธานวุฒิสภาควรนำมาเป็นแบบอย่างด้วย สำหรับความรับผิดชอบของวุฒิสภานั้นประธานวุฒิสภาจะต้องแสดงความรับผิดชอบอย่างใดอย่างหนึ่งได้แล้ว โดยเฉพาะการพิจารณาลาออกจากประธานวุฒิสภา เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อทุกฝ่าย และในส่วนของ ครป.และเครือข่ายภาคประชาชนในเบื้องต้นยังจะเดินหน้าล่าชื่อถอดถอนนายสุชน ชาลีเครือ ออกจากตำแหน่งประธานวุฒิสภาต่อไป จนกว่าทุกอย่างจะชัดเจนกว่านี้ ซึ่งขณธนี้รวบรวมได้กว่า 15,000 รายชื่อแล้ว
**"วิสุทธิ์"นัดแถลงเปิดใจ 26ก.ย.นี้
พล.ต.ศรชัย มนตริวัต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นญาติของนายวิสุทธิ์ มนตริวัต กล่าวว่า ตั้งแต่นายวิสุทธิ์ ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้ว่าฯสตง. นายวิสุทธิ์ รู้สึกไม่สบายใจมาตลอด เนื่องจากถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายอย่างหนัก อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าประธานวุฒิสภา ไม่เคยเข้ามาล็อบบี้ให้นายวิสุทธิ์ ถอนตัว มีเพียงความเห็นของครอบครัว ที่อยากให้เรื่องจบลงเท่านั้น ในที่สุดจึงได้ทำหนังสือถึงนายสุชน เพื่อขอถอนตัว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิสุทธิ์ จะแถลงข่าวเปิดใจเรื่องนี้ ในวันที่ 26 ก.ย.เวลา 10.00 น.ที่โรงแรมเดอะแกรนด์ รัชดาภิเษก
วานนี้ (23 ก.ย.)นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา ได้แถลงที่รัฐสภา เมื่อเวลาประมาณ 11.45 น.ว่า นายวิสุทธิ์ มนตริวัต ได้ทำหนังสือขอถอนตัวไม่ขอรับการเสนอชื่อดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)แล้ว โดยให้เหตุผลว่า เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถแก้ปัญหา หาทางออกได้โดยสะดวก และป้องกันปัญหาที่จะติดตามมาในอนาคต
ในคำแถลงของนายสุชน ได้อ้างว่า นายวิสุทธิ์ ทำหนังสือแจ้งความประสงค์ดังกล่าวมาถึงประธานวุฒิสภา เมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา และได้แจ้งเหตุผล เพื่อต้องการยุติปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยนายวิสุทธิ์ ระบุว่า หลังจากปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชน และจากการอภิปรายในที่ประชุมวุฒิสภา อย่างครึกโครมในประเด็นที่ว่า ตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ที่เคยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งไว้แล้ว ว่างลงหรือไม่ และแม้ว่าไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของตัวเอง
เหตุผลของนายวิสุทธิ์ ยังระบุอีกว่า การสมัครเป็นผู้ว่าฯสตง.เป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการสรรหา ซึ่งดำเนินการตาม มาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อเวลาล่วงมา และยังไม่มีทีท่าว่ากระแสวิพากษ์วิจารณ์จะสงบลง ทำให้เกิดความไม่สบายใจและเกรงว่ากระแสข่าวที่เกิดขึ้นอาจทอดเวลายาวนานต่อไป ทำให้การปฏิบัติงานของสตง.เป็นไปด้วยความยากลำบาก
นายวิสุทธิ์ ให้เหตุผลว่า การที่มีเรื่องของตนค้างอยู่ในขั้นตอน จะทำให้การพิจารณาหาทางออก หรือแก้ปัญหาให้ถูกต้อง และถูกใจทุกฝ่ายคงเป็นไปได้ยาก ในลักษณะของ"ทางตัน"ดังนั้นเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถเริ่ม หรือเข้าสู่กระบวนการต่างๆ ที่เห็นสมควรได้โดยสะดวกใจ โดยชอบด้วยกฎหมาย และชอบธรรม ไม่มีข้อขัดข้องทั้งในทางกฎหมาย และความถูกต้องดีงาม ตามระเบียบประเพณี
"ผมจึงขอแสดงเจตนา โดยสมัครใจขอถอนตัว ซึ่งเท่ากับว่าไม่ประสงค์จะขอรับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว แม้ว่าจะมีคุณสมบัติครบถ้วน และไม่ได้มีลักษณะต้องห้ามใดๆตามกฎหมาย เพื่อให้ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทุกฝ่าย สามารถดำเนินการได้ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยไม่ติดใจที่จะดำเนินคดี หรือเรียกร้องใดๆ"นายวิสุทธิ์ ให้ เหตุผล
ด้านนายสุชน เปิดเผยว่าได้มีหนังสือและขอเข้าพบท่านราชเลขาธิการ เพื่อขอให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระทาน ถอนเรื่องการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายวิสุทธิ์ มนตริวัตร เป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคืน
บัดนี้ ท่านราชเลขาธิการได้มีหนังสือแจ้งประธานวุฒิสภา ลงวันที่ 23 ก.ย.48 ว่า ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองทุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ถอนเรื่องคืนได้ตามที่ขอมา
ทั้งนี้ นายสุชน ได้ทูลเกล้าฯชื่อนายวิสุทธิ์ มนตริวัต เป็นผู้ว่าฯสตง.ไปตั้งแต่วันที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา แต่จนถึงขณะนี้ เวลาได้ผ่านมากว่า 100 วันแล้ว แต่ยังไม่มีการโปรดเกล้าฯลงมา ทำให้มีแรงกดดันจากหลายฝ่ายให้ นายสุชนดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
**โยนเผือกร้อนกลับไปคตง.
นายสุชน กล่าวอีกว่า วุฒิสภาจะมีหนังสือกราบเรียนประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(คตง.) เพื่อทราบต่อไปเพราะเป็นเจ้าของเรื่อง ถือว่าขณะนี้หมดหน้าที่ของวุฒิสภาแล้ว ที่ผ่านมาได้ทำตามขั้นตอน กระบวนการจะเป็นอย่างไรต่อไป ให้ไปถามทาง คตง.โดยตนไม่ขอให้ความเห็นในเรื่องนี้ ส่วนการที่นายวิสุทธ์ ถอนตัวเพราะถูกกดดันจากฝ่ายการเมืองใช่หรือไม่ ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า เป็นเรื่องของนายวิสุทธิ์ที่ตัดสินใจเอง ตนไม่เคยไปพบ และไม่เคยส่งใครไปเจรจากับนายวิสุทธิ์ อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนของวุฒิสภา จะนำเรื่องนี้แจ้งให้ ส.ว.ทั้ง 200 คนรับทราบในวันที่ 26 ก.ย.นี้ พร้อมกับจะชี้แจงกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้รับทราบ สำหรับสถานะของ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกานั้น นายสุชน ปฏิเสธว่าไม่มีความเห็น เพราะไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะวินิจฉัยเรื่องนี้และไม่ขอแตะ
**คตง.นัดถกหาทางออก 26 ก.ย.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)ได้เรียกประชุมในเรื่องนี้ หลังจากที่ประธานวุฒิสภาแถลงข่าวการถอนตัวของนายวิสุทธิ์
นายนรชัย ศรีพิมล ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ต้องรอหนังสือจาก ประธานวุฒิสภา อย่างเป็นทางการอีกครั้ง จึงจะดำเนินการใดๆได้ แต่การดำเนินการต่อไปของ คตง.ต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย คาดว่าจะนัดหมายกับคตง.ทั้งหมด เพื่อประชุมหารือกันในวันที่ 26 ก.ย.นี้
"การถอนตัวของนายวิสุทธิ์ ผมไม่รับทราบมาก่อน ไม่มีการขอคำปรึกษาหารือใดๆ กับผม แต่ก็ขอชมเชยนายวิสุทธิ์ที่เสียสละ ที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม"นายนรชัย กล่าว
เมื่อถามว่าขณะนี้ยังจะถือว่ามีตำแหน่งผู้ว่าฯ สตง.หรือไม่ นายนรชัย กล่าวว่า เรามีรักษาการอยู่ คือนายจีระรัตน์ นพวงศ์ ณ อยุธยา และตามมติของคณะกรรมการชุดเดิมเคยมีไว้ว่า จะต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อมีคำวินิจฉัยอย่างไร เราต้องปฏิบัติตามผลของคำวินิจฉัยนั้น
ต่อข้อถามว่าการสรรหาต่อไป จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่ผ่านมาได้อย่างไร นายนรชัย กล่าวว่า จะต้องหารือกับ คตง.ก่อน
อย่างไรก็ตาม เราต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ซึ่งการเสนอชื่อไปยังวุฒิสภา ก็จะมีเพียงชื่อเดียว ตามระเบียบกฎหมายและแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้
ต่อข้อถามว่า นายวิสุทธิ์ และ คุณหญิงจารุวรรณ จะมีสิทธิในการรับการสรรหารอบใหม่หรือไม่ นายนรชัย กล่าวว่า แล้วแต่ความสมัครใจของทั้ง 2 คน ตนตอบแทนไม่ได้ แต่หลักเกณฑ์คุณสมบัติ เรามีอยู่แล้วว่า ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มาสมัครได้ ถ้ามีการรับสมัครและ คตง.ไม่ได้ยึดติดกับเรื่องตัวบุคคลว่าจะต้องเป็นผู้ใด เพราะหลักเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนดไว้แน่นอนแล้วว่า จะต้องมีความรู้ ความสามารถ และความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ก็ต้องปฏิบัติไปตามนั้น
ส่วนกรณีที่อาจมีแรงกดดันจากสังคมให้ คตง.รับผิดชอบต่อกรณีปัญหาผู้ว่าฯ สตง.นั้น นายนรชัย กล่าวว่า คตง.ยึดหลักกฎหมายเท่านั้น กฎหมายว่าอย่างไร ก็ถือว่าเป็นกรอบให้เราเดิน เราต้องทำตามนั้น อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่า การสรรหาผู้ว่าฯ สตง.ครั้งนี้ คตง.จะขอดูแลให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
นายบัวรอด โบว์เสรีวงศ์ กรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวว่า โดยความเห็นส่วนตัวในกรณีนี้นั้นมองว่า ต้องว่าไปตามคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่าคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าสตง.ได้แล้วและคณะกรรมการคตง.ชุดเก่าก็สั่งงดจ่ายเงินเดือนให้คุณหญิงจารุวรรณไปแล้วเช่นกัน มันชี้ชัดว่า กรรมการต้องสรรหาผู้ว่าสตง.คนใหม่อีกครั้ง
"ฉะนั้นกรรมการชุดเก่า จึงสรรหานายวิสุทธิ์ ขึ้นไปแต่เมื่อตอนนี้นายวิสุทธิ์บอกว่า เพื่อผ่าทางตันจึงขอสละตำแหน่งนี้ เมื่อตอนนี้ไม่มีผู้ว่าฯสตง.ก็ต้องสรรหากันใหม่ กรณีนนายวิสุทธิ์ลาออกนั้นเป็นการผ่าทางตันและเป้นทางออกที่ดี การสละตำแหน่งในครั้งนี้และเริ่มสรรหาใหม่ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องเพราะกรรมการไม่ได้กังวลอะไรแม้การทำงานที่ผ่านมาจะมีอะไรที่ผิดพลาดนั้นแต่การทำงานแม้มันผิดก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ตรงนี้คือหลักคิด"นายบัวรอด กล่าว
เมื่อถามว่า ที่ผ่านมา คุณหญิงจารุวรรณ ยันยันว่ายังอยู่ในตำแหน่ง ผู้ว่าฯสตง.กรรมการ คตง.จะสอบถามความเห็นเรื่องนี้กับศาลรัฐธรรมนูญอีกครั้งหรือไม่ นายบัวรอด กล่าวว่าไม่ เพราะศาลรัฐธรรมนูญออกแถลงการเรื่องนี้และชี้ชัดไปแล้ว เมื่อถามว่า หมายความว่า คุณหญิงจารุวรรณ พ้นจากตำแหน่งนี้ไปแล้ว นายบัวรอด กล่าวว่า"ครับเพราะคำพิพากษาเป็นอย่างนั้น แต่ความเห็นของแต่ละคนก็แตกต่างกันได้ แต่มันต้องว่ากันไปตามกฎหมาย"
**รัฐบาลเตรียมปูนบำเหน็จให้วิสุทธิ์
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงทางออกหลังนายวิสุทธิ์ ถอนตัวจากการเสนอชื่อเป็นผู้ว่าฯ สตง.ว่า ขณะนี้มี 2 ทางเลือก คือ 1.หากคตง.เชื่อว่ามีตำแหน่งว่างก็ต้องดำเนินการสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่งใหม่ ภายใน 30 วัน ตามมาตรา 35 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่า ด้วยผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน นับจากได้รับแจ้งจากประธานวุฒิสภา แต่ในการพิจารณาของวุฒิสภา ไม่มีการกำหนดเวลา
2.หาก คตง.ไม่เชื่อว่ามีตำแหน่งว่าง ก็ไม่ต้องสรรหาคนใหม่ ดังนั้น ไม่มีใครสามารถแนะนำได้ เว้นแต่ คตง.เชื่อว่า ตำแหน่งผู้ว่าฯสตง.ว่างลง ก็ต้องตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าฯสตง. ประกาศรับสมัคร และทำให้ถูกต้องตามขั้นตอน ส่วนการโปรดเกล้าฯ ให้คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา พ้นจากตำแหน่งนั้น ก็ไม่จำเป็นว่าให้พ้นหรือไม่ เพราะจะเท่ากับเป็นการไล่ออก
"กรณีนี้ผมขอชมเชยสปิริต นายวิสุทธิ์ เพราะเท่าที่ได้ฟังถ้อยคำที่ให้เหตุผล เห็นว่าเรื่องนี้ถึงทางตัน เมื่อถอยออกมา ปัญหาทั้งหมดก็โล่งขึ้น ส่วนที่จะให้มาช่วยงานหรือไม่ ขณะนี้เร็วเกินไปที่รัฐบาลจะเข้าไปยุ่งเกี่ยว จึงไม่ขอให้คำตอบในกรณีที่ลาออกจากราชการไปแล้ว ขณะนี้ผมยังติดต่อไปไม่ได้ ต้องรอ 90 วัน ให้เรื่องซาไปก่อน ก็จะถามว่ามีความคิดอย่างไร ยังไม่ทราบว่าจะเกษียณอายุราชการเมื่อไร ผมว่าเรื่องนี้ยังไม่ต้องรีบร้อน" นายวิษณุ กล่าว
**คตง.ไม่ควรไปถามศาลรธน.อีก
ด้านคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา กล่าวถึงสถานะการเป็นผู้ว่าฯสตง.ของตนเองว่า ตนยังเป็นผู้ว่าฯสตง.อยู่จนถึงขณะนี้ และได้ยืนยันอย่างนี้มาตั้งแต่ต้นว่าที่สุดแล้วพระเจ้าอยู่หัวเป็นใหญ่ ตนยึดมั่นแค่นี้และไม่อยากจะอ้างถึงพระองค์ท่านเพราะ คนจะกล่าวหาว่า ดึงพระองค์ท่านลงมาอีก แต่ว่าพระเจ้าอยู่หัวคือที่สุดของชีวิตทุกประการ อะไรที่ถูกต้องก็ต้องถูกต้อง บ้านเมืองมีคุณธรรมและมีพระคือพระเจ้าอยู่หัว
นายแก้วสรร อติโพธิ ส.ว.กทม.กล่าวว่า เมื่อนายวิสุทธิ์ ถอนตัว สถานการณ์ก็ดีขึ้นเพราะพ้นเรื่องพระราชอำนาจ อย่างไรก็ดี ปัญหาเรื่องผู้ว่าฯสตง.ทั้งหมดอยู่ที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ว่ามีผลสมบูรณ์หรือไม่ มีฐานทางกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ซึ่งตนคิดว่าคำวินิจฉัยไม่สมบูรณ์ การไปตีความให้มีผลตามกฎหมายทำไม่ได้ และไม่ใช่หน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ จะไปชี้ว่าพ้นตำแหน่งหรือไม่
"จะแก้ปัญหาเรื่องนี้ก็ต้องแก้ที่คำวินิจฉัย เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ตัดสินให้มีผลทางกฎหมาย มันคลุมเครือ และไปชี้ว่ากระบวนการนั้น กระบวนการนี้ไม่ถูก หรือคุณหญิงเป็นผู้ว่าฯสตง.อยู่หรือไม่ ไม่ได้ แต่ถ้า คตง.คิดว่าการสรรหาผู้ว่าฯสตง.แล้วส่งเสนอรายชื่อมายังวุฒิสภา 1 คน ส่วนวุฒิสภาคิดว่าต้องส่งมาเป็นบัญชีรายชื่อ สมมติว่า 3 คน ศาลรัฐธรรมนูญ ถึงจะมีอำนาจวินิจฉัยในจุดนี้ ถ้าผมเป็น คตง.ชุดใหม่ที่ต้องพิจารณาเรื่องนี้หลังจากประธานวุฒิสภาแจ้งกลับไปว่า กระบวนการสรรหาดำเนินการไปไม่โดยไม่สมบูรณ์ ผมจะไม่เห็นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องดังกล่าวอยู่ในโลก เพราะเป็นคำวินิจฉัยเถื่อนที่อยู่นอกรัฐธรรมนูญ ถึงไปเดินตามอีกทีก็ปวดหัวกันอีก และ คตง.อย่าทะลึ่งไปถามศาลรัฐธรรมนูญอีก ให้ลืมมันไปเลย"นายแก้วสรร กล่าว
นายบรรเจิด สิงคะเนติ อาจารย์นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาควรที่จะเริ่มต้นจากหาว่าเหตุของความบกพร่องในเรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะเหตุใด เพื่อให้ไม่เกิดปัญหาซ้ำอีก ทั้งในเรื่องระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาผู้ที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินพ.ศ. 2543 ที่ไม่มีการลงในราชกิจจานุเบกษา ก็ควรทำเสียให้ถูกต้อง
เรื่องการเสนอชื่อผู้เหมาะสมเป็น ผู้ว่าฯสตง.ให้วุฒิสภา ตกลงแล้วต้องเป็นการเสนอทั้งบัญชีตามที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินกำหนดไว้ให้วุฒิสภาพิจารณาคัดเลือก หรือเสนอเพียงรายชื่อเดียวให้วุฒิสภาเห็นชอบตามที่ระเบียบการสรรหาผู้ว่าฯสตง. กำหนดไว้ เพราะแม้ศาลรัฐธรรมนูญจะมีการวินิจฉัย ว่าวุฒิสภามีอำนาจแค่ให้ความเห็นชอบ แต่ก็ไม่เคยพิจารณาว่าระเบียบการสรรหาฯดังกล่าวออกอยู่ในกรอบของพ.ร.บ.ตรวจเงินแผ่นดินฯ หรือไม่ และที่สำคัญสุดก็คือ คุณหญิงจารุวรรณ ยังอยู่ในตำแหน่งผู้ว่าฯสตง.หรือไม่
นายบรรเจิด กล่าวอีกว่า กรณีที่ว่า คุณหญิงจารุวรรณ ยังอยู่ในตำแหน่งผู้ว่าการหรือไม่นั้นจะเกิดเป็นปัญหาที่นำไปสู่การยื่นตีความต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ก็ต่อเมื่อทาง คตง.และ ส.ว.มีความเห็นไม่ตรงกัน เช่น เมื่อส.ว.ส่งเรื่องกลับไปยังคตง.แล้วคตง.มีการสรรหาผู้ว่าฯสตง.คนใหม่ เสนอกลับมาให้วุฒิสภา ซึ่งวุฒิสภาอาจจะเห็นว่าคุณหญิงจารุวรรณยังอยู่ในตำแหน่ง ตรงนี้ประธานวุฒิสภาสามารถใช้ มาตรา 266 ของรัฐธรรมนูญ กรณีมีปัญหาอำนาจหน้าที่ระหว่างองค์กรยื่นไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ แต่ตนก็ไม่อยากให้ประธานวุฒิสภา ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปจนถึงขั้นให้ คตง.สรรหาแล้วส่งชื่อมา เพราะขณะนี้ไม่มีผู้ว่าฯ สตง.มาทำหน้าที่เป็นเวลานานแล้ว
ดังนั้นประธานวุฒิสภา และส.ว.ควรที่จะมีการหารือกันให้ชัดเจน ถ้าเห็นตรงกันว่าคุณหญิงจารุวรรณยังอยู่ในตำแหน่ง ก็สามารถแจ้งไปยังคตง.ได้ทันทีว่า ไม่ต้องมีเสนอชื่อผู้ว่าฯ สตง.คนใหม่มาให้วุฒิสภาและถ้า คตง.เห็นแย้งประธานวุฒิสภา ก็สามารถนำเรื่องยื่นต่อศาลรธน.ได้ทันที
ส่วนศาลรัฐธรรมนูญ หากมีการเสนอเรื่องดังกล่าวตามช่องทางมาตรา 266 ของรัฐธรรมนูญ อยากให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาให้อยู่ในกรอบ อย่าไปพิจารณาเกินกว่าขอบเขตอำนาจของตน เพราะโดยหลักแล้วตาม มาตรา 266 นั้น สิ่งที่ศาลจะมีคำวินิจฉัยก็คือ การบอกว่าสิทธิ์ในเรื่องนั้นเป็นขององค์กรใด เช่น กรณีนี้ถ้าจะให้ถูกต้องศาลก็ต้องวินิจฉัยว่า อำนาจในการวินิจฉัยว่าคุณหญิงจารุวรรณ
อยู่ในตำแหน่งหรือไม่เป็นของ คตง.หรือของ ส.ว.แต่ก็เชื่อว่าด้วยความที่ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยวินิจฉัยกรณีตามมาตรา 266 ไว้ค่อนข้างกว้างเกินขอบเขตอำนาจ กรณีนี้ศาลรัฐธรรมนูญก็คงจะวินิจฉัยเลยว่าคุณหญิงยังอยู่ในตำแหน่งหรือไม่หากมีการส่งเรื่องไป หากมีการถามไปที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยเรื่องที่ยื่นไปตามช่องทาง 266 ในลักษณะขยายขอบเขตอำนาจ
**ยันผู้ว่าฯสตง.ยังเป็นคุณหญิงจารุวรรณ
นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว.กทม. กล่าวว่า การที่นายวิสุทธิ์ ถอนตัวทำให้เรื่องทุกอย่างง่ายขึ้น ปัญหาที่สับสนวุ่นวายก็คลายตัวลงไป อย่างน้อยวุฒิสภาจะได้ย้อนกลับไปดูในสิ่งที่ผ่านมาได้ง่ายขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามถึงสถานะของ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา นายเสรี กล่าวว่า คงต้องนำมาพิจารณากัน ในข้อถกเถียงต่างๆในเรื่องผู้ว่าฯสตง. ที่มีคุณหญิงจารุวรรณ ดำรงอยู่ในขณะนี้ ทางวุฒิสภาจะพิจารณากันอย่างไร ซึ่งจะต้องพิจารณาจากหลายฝ่าย แต่ในเบื้องต้นเมื่อเรื่องยังอยู่ที่วุฒิสภา ก็น่าจะมีการปรึกษาหารือภายในวุฒิสภาเพื่อให้ได้ข้อสรุปในระดับหนึ่ง เพื่อประสาน คตง.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อไม่ให้ปัญหาและข้อขัดแย้งเกิดขึ้นอีก
"ส่วนตัวผมยังเชื่อว่า การมีพระบรมโปรดเกล้าฯแต่งตั้งคุณหญิงจารุวรรณ ยังเป็นเรื่องที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสมาชิกคงไม่อยากให้มีปัญหาอะไรมากมาย หากทุกอย่างมีการแก้ไขก็น่าจะยุติกันได้ ที่สำคัญ ข้อยุติจะต้องชัดเจน และไม่มีปัญหาตามมา" ส.ว.กทม.กล่าว
เมื่อถามว่า ประธานวุฒิสภาระบุว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของ คตง.ที่จะต้องดำเนินการต่อไป ซึ่งหากมีการสรรหามาเช่นเดิม จะมีปัญหาหรือไม่ นายเสรี กล่าวว่า นี่คือปัญหา แต่ท่านคงตัดสินใจในฐานะที่ท่านเป็นประธานฯ ซึ่งไม่ทราบว่าที่ประชุมจะเห็นเป็นอย่างไร ซึ่งอย่างน้อยวุฒิสภาควรจะมีข้อเสนอส่งไปให้ คตง.ด้วย
**จี้"สุชน"แสดงสปิริตตาม"วิสุทธิ์"
นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)กล่าวว่า นายวิสุทธิ์ นับเป็นเหยื่ออีกรายของฝ่ายการเมืองที่พยายามเข้าแทรกแซงองค์กรอิสระอย่าง คตง. ฉะนั้นรัฐบาลควรเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับนายวิสุทธิ์ด้วย
หลังจากนี้ทุกอย่างก็ควรกลับสู่ภาวะปกติ โดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(คตง.)ก็ต้องเชิญคุณหญิง จารุวรรณ กลับมาทำงานต่ออย่างเป็นทางการ และเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับคุณหญิงอย่างเป็นธรรมที่สุดเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการคืนเงินเดือน และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นทั้งหมดก่อนหน้านี้ด้วย
"ผมไม่เห็นด้วยถ้าจะมีความพยายามของ ส.ว.หรือใครก็ตาม ที่จะยื่นตีความสถานภาพคุณหญิงจารุวรรณ เพราะขั้นตอนก้าวมาไกลเกินแล้ว และต้องไม่ลืมว่ากรณีนี้ถ้าเป็นกรณีที่พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงโปรดเกล้าฯ แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญยิ่งไม่มีสิทธิที่จะวินิจฉัยสถานภาพคุณหญิงจารุวรรณ เพราะต้องไม่ลืมว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่มีผลผูกพันกับพระราชอำนาจ และอีกทางหนึ่งถ้าส่งเรื่องกลับมาที่ คตง.แล้ว คตง.สรรหากลับไปก็จะเกิดปัญหาสุญญากาศซ้ำซากอีก เพราะหลักใหญ่ใจความคือ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ยังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าเป็นผู้ว่าฯ สตง.จึงถือว่ายังมีสถานภาพครบถ้วนสมบูรณ์ตามกฎหมาย "
นอกจากนี้ กรณีการถอนตัวของนายวิสุทธิ์ เป็นคนละกรณีกับความรับผิดชอบของประธานวุฒิสภา ที่สำคัญประธานวุฒิสภาควรนำมาเป็นแบบอย่างด้วย สำหรับความรับผิดชอบของวุฒิสภานั้นประธานวุฒิสภาจะต้องแสดงความรับผิดชอบอย่างใดอย่างหนึ่งได้แล้ว โดยเฉพาะการพิจารณาลาออกจากประธานวุฒิสภา เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อทุกฝ่าย และในส่วนของ ครป.และเครือข่ายภาคประชาชนในเบื้องต้นยังจะเดินหน้าล่าชื่อถอดถอนนายสุชน ชาลีเครือ ออกจากตำแหน่งประธานวุฒิสภาต่อไป จนกว่าทุกอย่างจะชัดเจนกว่านี้ ซึ่งขณธนี้รวบรวมได้กว่า 15,000 รายชื่อแล้ว
**"วิสุทธิ์"นัดแถลงเปิดใจ 26ก.ย.นี้
พล.ต.ศรชัย มนตริวัต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นญาติของนายวิสุทธิ์ มนตริวัต กล่าวว่า ตั้งแต่นายวิสุทธิ์ ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้ว่าฯสตง. นายวิสุทธิ์ รู้สึกไม่สบายใจมาตลอด เนื่องจากถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายอย่างหนัก อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าประธานวุฒิสภา ไม่เคยเข้ามาล็อบบี้ให้นายวิสุทธิ์ ถอนตัว มีเพียงความเห็นของครอบครัว ที่อยากให้เรื่องจบลงเท่านั้น ในที่สุดจึงได้ทำหนังสือถึงนายสุชน เพื่อขอถอนตัว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิสุทธิ์ จะแถลงข่าวเปิดใจเรื่องนี้ ในวันที่ 26 ก.ย.เวลา 10.00 น.ที่โรงแรมเดอะแกรนด์ รัชดาภิเษก