ปัจจุบันได้มีการกล่าวกันมากถึงคำว่า Emotional Quotient (EQ) ซึ่งเป็นทักษะให้การบริหารจัดการตัวเราเองและทักษะในการทำงานร่วมกับบุคคลอื่นๆ นับว่าสำคัญมากต่อความสำเร็จในการบริหารธุรกิจ รวมถึงเป็นเคล็ดลับต่อความสุขและความสำเร็จในชีวิตประจำวันด้วย บางคนถึงกับให้ทัศนะว่า EQ สำคัญมากกว่า Intelligence Quotient (IQ) หรือความฉลาดทางสติปัญญาด้วยซ้ำ
สำหรับความฉลาดอีกอย่างหนึ่งที่กำลังเริ่มมีการพูดกันหนาหูมากในปัจจุบัน คือ ความฉลาดทางจริยธรรม (Moral Intelligence) ซึ่งบุคคลที่เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ คือ นาย Jon M. Huntsman ซึ่งนับเป็นนักบริหารธุรกิจที่มีชื่อเสียงมากในสหรัฐฯ และได้รับการยกย่องทั่วโลกว่าเป็นตัวอย่างของนักธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จจนกลายเป็นบุคคลที่มีฐานะร่ำรวยมากที่สุดคนหนึ่งในสหรัฐฯ แม้ว่ามีความชื่อสัตย์สุจริตและมีจริยธรรมในระดับสูงก็ตาม นอกจากความสำเร็จในด้านธุรกิจแล้ว เขายังมีชัยชนะในด้านชีวิตส่วนตัวด้วย โดยสามารถเอาชนะโรคมะเร็งได้มากถึง 2 ครั้ง
ยิ่งไปกว่านั้น เขายังเป็นคนใจบุญสุญทานด้วย เป็นกรรมการของหน่วยกาชาดของสหรัฐฯ พร้อมกับเป็นประธานกรรมการในด้านชีวเวชศาสตร์ของหน่วยกาชาดของสหรัฐฯ เขาได้บริจาคเงินช่วยเหลือคนจนมากมาย ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กที่ยากจน บริจาคเงินแก่คณะบริหารธุรกิจวาร์ตันเป็นเงิน 2,000 ล้านบาทเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนตั้งชื่อตามตัวเขาเอง และเมื่อเร็วๆ นี้ได้บริจาคเงินมากถึง 9,000 ล้านบาทแก่มหาวิทยาลัยยูท่าห์เพื่อก่อตั้งสถาบันวิจัยด้านโรงมะเร็ง Huntsman Cancer Institute
เขาได้เขียนหนังสือชื่อ “Winners Never Cheat: Everyday Values We Learned as Children (But May Have Forgotten)” หรือ “ผู้ชนะไม่เคยโกง ค่านิยมประจำวันที่เราเรียนรู้ตั้งแต่วัยเด็ก (แต่อาจจะหลงลืมไปแล้ว)” ซึ่งตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ของวาร์ตันสกูล
ก่อนอื่นขอเล่าถึงประวัติของนาย Huntsman ก่อน เขาเป็นเด็กชนบท เกิดในครอบครัวยากจน สำเร็จการศึกษาด้านบริหารธุรกิจจากวาร์ตันสกูล จากนั้นได้เริ่มต้นทำธุรกิจโดยก่อตั้งบริษัทขนาดเล็กเมื่อปี 2513 ซึ่งบริษัทแห่งนี้ได้เติบโตอย่างรวดเร็ว
เดิมบริษัท Huntsman นับเป็นบริษัทของเอกชนในด้านปิโตรเคมีซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยบริษัท Huntsman เพิ่งแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อต้นปี 2548 ในช่วงที่ผ่านมามีรายได้มากถึงปีละ 500,000 ล้านบาท และมีกิจการใน 44 ประเทศ
ในหนังสือดังกล่าวข้างต้น นาย Huntsman ได้นำเสนอสิ่งที่เรียกว่า “เข็มทิศในด้านจริยธรรม” ให้แก่ผู้นำธุรกิจโดยหยิบยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของตัวเขาเอง โดยในบทที่ 3 ของหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงหลักการ “Play by the Rule” หรือ “การเล่นตามกติกา” ซึ่งนับเป็นหัวใจซึ่งทำให้ธุรกิจของเขาประสบผลสำเร็จ
เขากล่าวว่าบุคลิกลักษณะของคนเรานั้นเกือบทั้งหมดกำหนดขึ้นโดยความชื่อสัตย์สุจริตและความกล้าหาญ โดยนับเป็นสิ่งที่อยู่ภายในตัวเราเอง นับว่าแตกต่างจากชื่อเสียงที่เป็นเพียงสิ่งที่อยู่ภายนอกเท่านั้น โดยนักธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จนั้น แม้จะเจรจาต่อรองเพื่อให้ตนเองได้รับประโยชน์มากที่สุด แต่ก็เป็นการเจรจาที่เป็นธรรม โดยไม่ยอมให้ชื่อเสียงของตนเองเสียหายจากความพยายามที่จะเอาเปรียบอีกฝ่ายหนึ่งอย่างไร้เหตุผล
เขายอมรับว่าตนเองมีชื่อเสียงว่าเป็นคนที่เจรจาต่อรองด้วยยากมากคนหนึ่ง เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วเมื่อเจรจาตกลงกันสำเร็จ ฝ่ายเขาเองมักจะได้เปรียบในเชิงธุรกิจมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นอย่างมาก จนผู้บริหารฝ่ายตรงข้ามหลายรายต่างปฏิเสธที่จะร่วมเจรจาต่อรองด้วยเนื่องจากเกรงว่าจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีผู้บริหารคนใดเลยที่ปฏิเสธจะเจรจากับเขาเนื่องจากเห็นว่าเขาบกพร่องในด้านจริยธรรมหรือขาดความน่าเชื่อถือ
เขายังเล่าถึงประสบการณ์การเจรจาเมื่อปี 2542 กับนาย Charles Miller Smith ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการและหัวหน้าผู้บริหารของบริษัท ICI ของสหราชอาณาจักร โดยนาย Huntsman ต้องการซื้อกิจการบางส่วนในด้านเคมีภัณฑ์จากบริษัท ICI ขณะที่บริษัท ICI ก็ต้องการขายกิจการบางส่วนออกไปเพื่อลดภาระหนี้สินของบริษัท
ระหว่างการเจรจาครั้งนั้น ภรรยาของนาย Smith ล้มป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ทำให้นาย Smith เสียใจมาก ทำให้มีสมาธิในการเจรจาต่อรองลดลง ซึ่งนาย Huntsman สังเกตเห็นได้อย่างเด่นชัด และเล็งเห็นว่าหากเจรจาต่อรองดีๆ แล้ว จะสามารถลดราคาซื้อกิจการลงไปอีกเป็นเงินจำนวนมาก โดยอาจประหยัดเงินมากถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ก็ได้
แต่เขาวิเคราะห์ว่าราคาที่บริษัท ICI เสนอขายในเบื้องต้นนั้นก็ต่ำมากเพียงพอแล้ว จึงยอมรับราคานั้น โดยไม่ยอมเอาเปรียบจากจุดอ่อนของคู่เจรจาแต่อย่างใด ทำให้ทั้ง 2 บริษัทต่างเป็นผู้ชนะ ส่งผลให้ตัวเขาเองกับนาย Smith ต่างก็เป็นเพื่อนรักกันตลอดไป
สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่นับเป็นคุณสมบัติประจำตัวของเขา คือ จะต้องไม่ติดสินบนอย่างเด็ดขาด เนื่องจากไม่เพียงแต่เป็นเรื่องที่ผิดทางด้านจริยธรรมเท่านั้น แต่เขายังเห็นว่าพฤติกรรมน่ารังเกียจเช่นนี้แม้จะสร้างความได้เปรียบในระยะสั้น แต่จะส่งผลเสียในระยะยาว โดยเขาหยิบยกสุภาษิตโบราณที่กล่าวว่า “ผู้ชนะไม่เคยโกง คนโกงไม่เคยชนะ” ส่วนลัทธิชินโตของญี่ปุ่นก็มีคำสอนเช่นเดียวกันว่า “หากคนหลอกลวงคนอื่นนั้น สามารถทำได้เพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ในที่สุดแล้วสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็จะลงโทษ”
เขายังเล่าถึงประสบการณ์ในด้านธุรกิจ โดยเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว เขาได้ทำธุรกิจในประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย โดยเป็นการร่วมทุนกับบริษัทญี่ปุ่นเพื่อก่อตั้งบริษัททำธุรกิจในด้านปิโตรเคมี
เมื่อเขาเดินทางมาแวะเยี่ยมประเทศแห่งนี้ รัฐมนตรีท่านหนึ่งได้เชื้อเชิญชวนให้ไปเยี่ยมที่บ้าน พร้อมกับอวดรถยนต์หรูหรามากมายถึง 19 คัน ที่จอดภายในโรงรถ โดยกล่าวเป็นนัยว่ารถยนต์เหล่านี้ล้วนเป็นของกำนัลที่ได้รับจากบริษัทต่างประเทศ ซึ่งนาย Huntsman ก็เข้าใจความหมายดังกล่าวเป็นอย่างดี จึงกล่าวกับรัฐมนตรีท่านนั้นไปว่าบริษัทของเขาไม่มีนโยบายที่จะให้ของขวัญอันล้ำค่าเช่นนี้แต่อย่างใด ซึ่งรัฐมนตรีท่านนั้นก็ไม่ว่าอะไร เพียงแต่ยิ้มๆ เพื่อรับทราบเท่านั้น
หลายเดือนต่อมา นาย Huntsman ได้รับโทรศัพท์จากผู้บริหารของบริษัทญี่ปุ่นที่ตนร่วมทุนด้วย ซึ่งได้จ่ายสินบนให้กับข้าราชการของประเทศแห่งนี้ไปแล้วล่วงหน้าโดยที่นาย Huntsman ไม่รู้ไม่เห็นแต่อย่างใด ดังนั้น จึงขอให้บริษัท Huntsman ช่วยรับภาระเงินดังกล่าวตามสัดส่วนการถือหุ้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ซึ่งคิดเป็นเงิน 250,000 เหรียญสหรัฐฯ
นาย Huntsman ตอบกลับไปว่าเขาไม่มีนโยบายจ่ายเงินค่าสินบนดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นเงินจำนวนมากหรือเพียงเล็กน้อยก็ตาม แต่ผู้บริหารของบริษัทญี่ปุ่นแห่งนั้นได้กล่าวว่าทุกบริษัทจำเป็นจะต้องจ่าย “ค่าธรรมเนียม” ด้วยกันทั้งนั้น เพื่อให้ได้รับการค้ำประกันว่าจะมีพื้นที่ตั้งโรงงาน
ภายหลังการพูดคุยทางโทรศัพท์เสร็จสิ้นลง ในวันรุ่งขึ้นนาย Huntsman ได้พูดคุยกับผู้บริหารของบริษัทญี่ปุ่นทางโทรศัพท์อีกครั้งหนึ่ง โดยกล่าวว่าต้องการขายหุ้นของบริษัทปิโตรเคมีแห่งนั้นทั้งหมด แม้บริษัทญี่ปุ่นพยายามอ้อนวอนให้ร่วมทุนต่อไป แต่ก็ไม่สำเร็จ ในที่สุดบริษัทญี่ปุ่นก็ยอมซื้อหุ้นในราคาต่ำ ซึ่งทำให้บริษัท Huntsman ขาดทุนจากการลงทุนประมาณ 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
แม้ว่าการขายหุ้นทิ้งในครั้งนั้นจะส่งผลกระทบต่อบริษัท Huntsman ในระยะสั้น โดยสูญเสียโอกาสการดำเนินธุรกิจและขาดทุน 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ก็ตาม แต่ได้สร้างชื่อเสียงเป็นอย่างมาก โดยนาย Huntsman มักจะหยิบยกประสบการณ์ในครั้งนั้นเป็นอุทาหรณ์ในการบรรยายในที่ต่างๆ ทำให้แวดวงธุรกิจต่างกล่าวขวัญกันว่าบริษัทแห่งนี้มีจริยธรรมในระดับสูง
ยิ่งไปกว่านั้น ภายหลังที่ไม่ยอมจ่ายเงินค่าสินบนครั้งนั้น ทำให้ชื่อเสียงของบริษัท Huntsman ขจรไปไกล ข้าราชการของประเทศอื่นๆ ไม่กล้ามาต่อแยเพื่อขอเงินสินบนอีกต่อไป เนื่องจากเกรงว่าหากไปขอค่าธรรมเนียมแบบสุ่มสี่สุ่มห้าหรือไม่ดูตาม้าตาเรือแล้ว จะถูกนาย Huntsman นำเรื่องออกมาแฉในที่สาธารณะ จะก่อให้เกิดความอับอายขายหน้าได้
เขายังกล่าวว่าบริษัททั่วไป ไม่ใช่เพียงแค่บริษัทในประเทศด้อยพัฒนาเท่านั้น แต่รวมถึงบริษัทในประเทศพัฒนาแล้วทั้งในสหรัฐฯ และยุโรปตะวันตก ต่างมีพฤติกรรม “มือถือสาก ปากถือศีล” ด้วยกันทั้งนั้น กล่าวคือ ผู้บริหารมักกล่าวว่าความชื่อสัตย์สุจริตและจริยธรรมเป็นสิ่งดี ขณะที่การทุจริตและการติดสินบนเป็นสิ่งไม่ดี แต่ลับหลังหากคนอื่นเผลอแล้ว ตนเองกลับทำเสียเอง
สุดท้ายนี้ แม้หนังสือเล่มนี้จะเป็นการสอนให้นักธุรกิจยึดมั่นในคุณธรรม นับว่าเป็นสิ่งดีในสังคมก็ตาม แต่นักวิจารณ์หนังสือรวมถึงผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็ยังตั้งข้อกังขา โดยกล่าวว่าแนวคิดอันซื่อบื้อของเขานั้น ไม่น่าจะใช้ประโยชน์ได้ในสังคมยุคปัจจุบัน
สำหรับความฉลาดอีกอย่างหนึ่งที่กำลังเริ่มมีการพูดกันหนาหูมากในปัจจุบัน คือ ความฉลาดทางจริยธรรม (Moral Intelligence) ซึ่งบุคคลที่เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ คือ นาย Jon M. Huntsman ซึ่งนับเป็นนักบริหารธุรกิจที่มีชื่อเสียงมากในสหรัฐฯ และได้รับการยกย่องทั่วโลกว่าเป็นตัวอย่างของนักธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จจนกลายเป็นบุคคลที่มีฐานะร่ำรวยมากที่สุดคนหนึ่งในสหรัฐฯ แม้ว่ามีความชื่อสัตย์สุจริตและมีจริยธรรมในระดับสูงก็ตาม นอกจากความสำเร็จในด้านธุรกิจแล้ว เขายังมีชัยชนะในด้านชีวิตส่วนตัวด้วย โดยสามารถเอาชนะโรคมะเร็งได้มากถึง 2 ครั้ง
ยิ่งไปกว่านั้น เขายังเป็นคนใจบุญสุญทานด้วย เป็นกรรมการของหน่วยกาชาดของสหรัฐฯ พร้อมกับเป็นประธานกรรมการในด้านชีวเวชศาสตร์ของหน่วยกาชาดของสหรัฐฯ เขาได้บริจาคเงินช่วยเหลือคนจนมากมาย ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กที่ยากจน บริจาคเงินแก่คณะบริหารธุรกิจวาร์ตันเป็นเงิน 2,000 ล้านบาทเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนตั้งชื่อตามตัวเขาเอง และเมื่อเร็วๆ นี้ได้บริจาคเงินมากถึง 9,000 ล้านบาทแก่มหาวิทยาลัยยูท่าห์เพื่อก่อตั้งสถาบันวิจัยด้านโรงมะเร็ง Huntsman Cancer Institute
เขาได้เขียนหนังสือชื่อ “Winners Never Cheat: Everyday Values We Learned as Children (But May Have Forgotten)” หรือ “ผู้ชนะไม่เคยโกง ค่านิยมประจำวันที่เราเรียนรู้ตั้งแต่วัยเด็ก (แต่อาจจะหลงลืมไปแล้ว)” ซึ่งตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ของวาร์ตันสกูล
ก่อนอื่นขอเล่าถึงประวัติของนาย Huntsman ก่อน เขาเป็นเด็กชนบท เกิดในครอบครัวยากจน สำเร็จการศึกษาด้านบริหารธุรกิจจากวาร์ตันสกูล จากนั้นได้เริ่มต้นทำธุรกิจโดยก่อตั้งบริษัทขนาดเล็กเมื่อปี 2513 ซึ่งบริษัทแห่งนี้ได้เติบโตอย่างรวดเร็ว
เดิมบริษัท Huntsman นับเป็นบริษัทของเอกชนในด้านปิโตรเคมีซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยบริษัท Huntsman เพิ่งแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อต้นปี 2548 ในช่วงที่ผ่านมามีรายได้มากถึงปีละ 500,000 ล้านบาท และมีกิจการใน 44 ประเทศ
ในหนังสือดังกล่าวข้างต้น นาย Huntsman ได้นำเสนอสิ่งที่เรียกว่า “เข็มทิศในด้านจริยธรรม” ให้แก่ผู้นำธุรกิจโดยหยิบยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของตัวเขาเอง โดยในบทที่ 3 ของหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงหลักการ “Play by the Rule” หรือ “การเล่นตามกติกา” ซึ่งนับเป็นหัวใจซึ่งทำให้ธุรกิจของเขาประสบผลสำเร็จ
เขากล่าวว่าบุคลิกลักษณะของคนเรานั้นเกือบทั้งหมดกำหนดขึ้นโดยความชื่อสัตย์สุจริตและความกล้าหาญ โดยนับเป็นสิ่งที่อยู่ภายในตัวเราเอง นับว่าแตกต่างจากชื่อเสียงที่เป็นเพียงสิ่งที่อยู่ภายนอกเท่านั้น โดยนักธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จนั้น แม้จะเจรจาต่อรองเพื่อให้ตนเองได้รับประโยชน์มากที่สุด แต่ก็เป็นการเจรจาที่เป็นธรรม โดยไม่ยอมให้ชื่อเสียงของตนเองเสียหายจากความพยายามที่จะเอาเปรียบอีกฝ่ายหนึ่งอย่างไร้เหตุผล
เขายอมรับว่าตนเองมีชื่อเสียงว่าเป็นคนที่เจรจาต่อรองด้วยยากมากคนหนึ่ง เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วเมื่อเจรจาตกลงกันสำเร็จ ฝ่ายเขาเองมักจะได้เปรียบในเชิงธุรกิจมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นอย่างมาก จนผู้บริหารฝ่ายตรงข้ามหลายรายต่างปฏิเสธที่จะร่วมเจรจาต่อรองด้วยเนื่องจากเกรงว่าจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีผู้บริหารคนใดเลยที่ปฏิเสธจะเจรจากับเขาเนื่องจากเห็นว่าเขาบกพร่องในด้านจริยธรรมหรือขาดความน่าเชื่อถือ
เขายังเล่าถึงประสบการณ์การเจรจาเมื่อปี 2542 กับนาย Charles Miller Smith ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการและหัวหน้าผู้บริหารของบริษัท ICI ของสหราชอาณาจักร โดยนาย Huntsman ต้องการซื้อกิจการบางส่วนในด้านเคมีภัณฑ์จากบริษัท ICI ขณะที่บริษัท ICI ก็ต้องการขายกิจการบางส่วนออกไปเพื่อลดภาระหนี้สินของบริษัท
ระหว่างการเจรจาครั้งนั้น ภรรยาของนาย Smith ล้มป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ทำให้นาย Smith เสียใจมาก ทำให้มีสมาธิในการเจรจาต่อรองลดลง ซึ่งนาย Huntsman สังเกตเห็นได้อย่างเด่นชัด และเล็งเห็นว่าหากเจรจาต่อรองดีๆ แล้ว จะสามารถลดราคาซื้อกิจการลงไปอีกเป็นเงินจำนวนมาก โดยอาจประหยัดเงินมากถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ก็ได้
แต่เขาวิเคราะห์ว่าราคาที่บริษัท ICI เสนอขายในเบื้องต้นนั้นก็ต่ำมากเพียงพอแล้ว จึงยอมรับราคานั้น โดยไม่ยอมเอาเปรียบจากจุดอ่อนของคู่เจรจาแต่อย่างใด ทำให้ทั้ง 2 บริษัทต่างเป็นผู้ชนะ ส่งผลให้ตัวเขาเองกับนาย Smith ต่างก็เป็นเพื่อนรักกันตลอดไป
สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่นับเป็นคุณสมบัติประจำตัวของเขา คือ จะต้องไม่ติดสินบนอย่างเด็ดขาด เนื่องจากไม่เพียงแต่เป็นเรื่องที่ผิดทางด้านจริยธรรมเท่านั้น แต่เขายังเห็นว่าพฤติกรรมน่ารังเกียจเช่นนี้แม้จะสร้างความได้เปรียบในระยะสั้น แต่จะส่งผลเสียในระยะยาว โดยเขาหยิบยกสุภาษิตโบราณที่กล่าวว่า “ผู้ชนะไม่เคยโกง คนโกงไม่เคยชนะ” ส่วนลัทธิชินโตของญี่ปุ่นก็มีคำสอนเช่นเดียวกันว่า “หากคนหลอกลวงคนอื่นนั้น สามารถทำได้เพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ในที่สุดแล้วสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็จะลงโทษ”
เขายังเล่าถึงประสบการณ์ในด้านธุรกิจ โดยเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว เขาได้ทำธุรกิจในประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย โดยเป็นการร่วมทุนกับบริษัทญี่ปุ่นเพื่อก่อตั้งบริษัททำธุรกิจในด้านปิโตรเคมี
เมื่อเขาเดินทางมาแวะเยี่ยมประเทศแห่งนี้ รัฐมนตรีท่านหนึ่งได้เชื้อเชิญชวนให้ไปเยี่ยมที่บ้าน พร้อมกับอวดรถยนต์หรูหรามากมายถึง 19 คัน ที่จอดภายในโรงรถ โดยกล่าวเป็นนัยว่ารถยนต์เหล่านี้ล้วนเป็นของกำนัลที่ได้รับจากบริษัทต่างประเทศ ซึ่งนาย Huntsman ก็เข้าใจความหมายดังกล่าวเป็นอย่างดี จึงกล่าวกับรัฐมนตรีท่านนั้นไปว่าบริษัทของเขาไม่มีนโยบายที่จะให้ของขวัญอันล้ำค่าเช่นนี้แต่อย่างใด ซึ่งรัฐมนตรีท่านนั้นก็ไม่ว่าอะไร เพียงแต่ยิ้มๆ เพื่อรับทราบเท่านั้น
หลายเดือนต่อมา นาย Huntsman ได้รับโทรศัพท์จากผู้บริหารของบริษัทญี่ปุ่นที่ตนร่วมทุนด้วย ซึ่งได้จ่ายสินบนให้กับข้าราชการของประเทศแห่งนี้ไปแล้วล่วงหน้าโดยที่นาย Huntsman ไม่รู้ไม่เห็นแต่อย่างใด ดังนั้น จึงขอให้บริษัท Huntsman ช่วยรับภาระเงินดังกล่าวตามสัดส่วนการถือหุ้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ซึ่งคิดเป็นเงิน 250,000 เหรียญสหรัฐฯ
นาย Huntsman ตอบกลับไปว่าเขาไม่มีนโยบายจ่ายเงินค่าสินบนดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นเงินจำนวนมากหรือเพียงเล็กน้อยก็ตาม แต่ผู้บริหารของบริษัทญี่ปุ่นแห่งนั้นได้กล่าวว่าทุกบริษัทจำเป็นจะต้องจ่าย “ค่าธรรมเนียม” ด้วยกันทั้งนั้น เพื่อให้ได้รับการค้ำประกันว่าจะมีพื้นที่ตั้งโรงงาน
ภายหลังการพูดคุยทางโทรศัพท์เสร็จสิ้นลง ในวันรุ่งขึ้นนาย Huntsman ได้พูดคุยกับผู้บริหารของบริษัทญี่ปุ่นทางโทรศัพท์อีกครั้งหนึ่ง โดยกล่าวว่าต้องการขายหุ้นของบริษัทปิโตรเคมีแห่งนั้นทั้งหมด แม้บริษัทญี่ปุ่นพยายามอ้อนวอนให้ร่วมทุนต่อไป แต่ก็ไม่สำเร็จ ในที่สุดบริษัทญี่ปุ่นก็ยอมซื้อหุ้นในราคาต่ำ ซึ่งทำให้บริษัท Huntsman ขาดทุนจากการลงทุนประมาณ 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
แม้ว่าการขายหุ้นทิ้งในครั้งนั้นจะส่งผลกระทบต่อบริษัท Huntsman ในระยะสั้น โดยสูญเสียโอกาสการดำเนินธุรกิจและขาดทุน 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ก็ตาม แต่ได้สร้างชื่อเสียงเป็นอย่างมาก โดยนาย Huntsman มักจะหยิบยกประสบการณ์ในครั้งนั้นเป็นอุทาหรณ์ในการบรรยายในที่ต่างๆ ทำให้แวดวงธุรกิจต่างกล่าวขวัญกันว่าบริษัทแห่งนี้มีจริยธรรมในระดับสูง
ยิ่งไปกว่านั้น ภายหลังที่ไม่ยอมจ่ายเงินค่าสินบนครั้งนั้น ทำให้ชื่อเสียงของบริษัท Huntsman ขจรไปไกล ข้าราชการของประเทศอื่นๆ ไม่กล้ามาต่อแยเพื่อขอเงินสินบนอีกต่อไป เนื่องจากเกรงว่าหากไปขอค่าธรรมเนียมแบบสุ่มสี่สุ่มห้าหรือไม่ดูตาม้าตาเรือแล้ว จะถูกนาย Huntsman นำเรื่องออกมาแฉในที่สาธารณะ จะก่อให้เกิดความอับอายขายหน้าได้
เขายังกล่าวว่าบริษัททั่วไป ไม่ใช่เพียงแค่บริษัทในประเทศด้อยพัฒนาเท่านั้น แต่รวมถึงบริษัทในประเทศพัฒนาแล้วทั้งในสหรัฐฯ และยุโรปตะวันตก ต่างมีพฤติกรรม “มือถือสาก ปากถือศีล” ด้วยกันทั้งนั้น กล่าวคือ ผู้บริหารมักกล่าวว่าความชื่อสัตย์สุจริตและจริยธรรมเป็นสิ่งดี ขณะที่การทุจริตและการติดสินบนเป็นสิ่งไม่ดี แต่ลับหลังหากคนอื่นเผลอแล้ว ตนเองกลับทำเสียเอง
สุดท้ายนี้ แม้หนังสือเล่มนี้จะเป็นการสอนให้นักธุรกิจยึดมั่นในคุณธรรม นับว่าเป็นสิ่งดีในสังคมก็ตาม แต่นักวิจารณ์หนังสือรวมถึงผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็ยังตั้งข้อกังขา โดยกล่าวว่าแนวคิดอันซื่อบื้อของเขานั้น ไม่น่าจะใช้ประโยชน์ได้ในสังคมยุคปัจจุบัน