ตลอดระยะเวลาทศวรรษกว่าๆ ที่ผ่านมา สังคมไทยเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในเชิงโครงสร้างทางสังคม วิถีดำเนินชีวิต ตลอดจนการพัฒนาที่มุ่งเน้นภาคเศรษฐกิจ จนรากฐานแท้ๆ ของสังคมไทยกำลังถูกคุกคามและอาจจะเหือดหายไปในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเจริญรอยตามสภาวะโลกาภิวัตน์ ยิ่งนับวันจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อ “สังคมโลก” ที่จะดำเนินไปตาม “กระแส” เดียวกันหมด
ศตวรรษที่ 21 ได้คืบคลานผ่านมาปัจจุบันนับประมาณเกือบ 5 ปีเต็มๆ ที่เราสามารถสังเกตได้ว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน โดยเฉพาะ “วัฒนธรรมไทย” ที่ถูกระแสโลกาภิวัตน์จากสังคมตะวันตก “ครอบงำ” อย่างมาก จนเยาวชนคนรุ่นใหม่ มักจะไม่รู้จักหรือแทบไม่รู้เลยว่า “วัฒนธรรม” ไทยอันดีงามนั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เอาแค่เพียงรู้จักยังไม่ต้องถึงขั้นปฏิบัติก็ไม่สามารถบอกกล่าวได้ ซึ่งเป็นกรณีที่น่าวิตกอย่างมากว่า สังคมไทยในอนาคต “วัฒนธรรมไทย” อาจเหือดหายไปจากผืนแผ่นดินไทย ทั้งๆ ที่ วัฒนธรรมไทยนั้น มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน
วัฒนธรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดที่นานาอารยประเทศต่างล้วนต้องมีวัฒนธรรมทั้งสิ้น ซึ่งวัฒนธรรมที่กล่าวถึงนี้เป็นวัฒนธรรมที่มีวิวัฒนาการ “สะสมและสั่งสม” มาอย่างยาวนาน กล่าวคือ ในแต่ละประเทศไม่ว่าจะเก่าหรือใหม่เพียงใด ทุกๆ ประเทศล้วนมีการสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจน ค่านิยม ความเชื่อ ศิลปะต่างๆ ที่ยึดมั่นสู่รุ่นลูกหลาน โดยผ่านการอบรมสั่งสอน ที่อาจเป็นลักษณะของ “จารีตประเพณี” เชิงบังคับว่าต้องกระทำ จึงเรียกว่า “กระบวนการสั่งสม” ส่วน “กระบวนการสะสม” นั้นเป็นกระบวนการที่เกิดจากเรียนรู้เป็นไปตามธรรมชาติ เก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยจนกลายเป็น “วัฒนธรรม” ที่ยึดถือปฏิบัติกันมาในที่สุด
วัฒนธรรมของแต่ละสังคมก็จะไม่เหมือนกัน ผิดแผกแตกต่างกันไป แต่ถ้าใครก็ตามที่ต้องการศึกษา “ประวัติศาสตร์” ของสังคมใด สามารถศึกษาได้จากวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ ว่า “ที่มาที่ไป” เป็นอย่างไร
“วิถีชีวิต-การกินการอยู่” ตลอดจน “วันสำคัญ” ของแต่ละสังคมสะท้อนถึงวัฒนธรรมของสังคมนั้นว่า “ยึดถือ-เชื่อถือ” อะไร แต่ที่สำคัญที่สุดต้องยึดถือปฏิบัติกันมาอย่างยาวนานนับร้อยปี จึงสามารถเรียกขานได้ว่าเป็น “วัฒนธรรม” ทั้งนี้ วัฒนธรรมของแต่ละสังคม เราต้องยอมรับความจริงว่าล้วน “ดี” ทั้งนั้น โดยมีจุดมุ่งหมายให้สังคมนั้นมีความสงบสุขยั่งยืน
กรณีปัญหาของสังคมยุคใหม่หลังจากศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา “โลกาภิวัตน์” มีบทบาทอย่างสูงในการเปลี่ยนแปลง “สังคมโลก” อย่างมาก พร้อมส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมของแต่ละสังคม กล่าวคือ สังคมยุคสารสนเทศ ที่ข้อมูลข่าวสารทะลักไหลอย่างรวดเร็วและทันทีทันใด จนก่อให้เกิด “การบริโภค” ที่ “ด่วน!” ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น ข่าวสำคัญๆ ของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ ซีกโลกใด ทุกคนในสังคมไม่ว่าอยู่ซอกมุมไหนของโลก ก็จะสามารถรับรู้ได้ทันทีทันใดเช่นเดียวกัน จนทำให้สังคมของแทบทุกประเทศผสมกลมกลืนเป็น “สังคมโลก-สังคมเดียว” ไปในที่สุด
นอกเหนือจากนั้นวัฒนธรรมของแต่ละสังคมในอดีตต่างจะมี “เอกลักษณ์เฉพาะ” ของแต่ละสังคม แต่จากการบริโภคมิใช่เพียงข้อมูลข่าวสารอย่างเดียวเท่านั้น แต่สารพัดข้อมูลทางด้านการบริโภค บันเทิง นานาสารพัดพฤติกรรมถูกเผยแพร่อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ยิ่งสังคมปัจจุบันเป็น “สังคมบริโภคนิยม” ซ้ำร้ายเป็นสังคมที่บูชานิยม “ทุน-เงิน” เข้าไปอีก “พฤติกรรม” ของมนุษย์ในสังคมโลกจึงมีลักษณะคล้ายคลึงกัน จนก่อให้เกิด “การบ่าไหล” ของ “วัฒนธรรม” จากกลุ่มประเทศที่ทั้งสามารถ “ผลิตและเผยแพร่” สารพัดข้อมูล “ป้อน” สังคมโลกให้ถูกกลืนเป็น “วัฒนธรรมเดียวกัน!”
จากปัญหาทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวข้างต้น เราต้องยอมรับว่า “ยาก” ที่จะหลุดพ้น หรือหลีกหนีได้ การที่จะ “อนุรักษ์” พร้อมรักษา “เอกลักษณ์” ของวัฒนธรรมเราไว้ได้จึงเป็นความพยายามที่ปัจจุบันคนไทยต้องรีบฉุกคิดกันแล้วและสมควรหวาดหวั่นว่าวัฒนธรรมไทยที่ดีงามจะถูก “กลบ-กลืน” และ “หาย” ไปในที่สุด
กระทรวงวัฒนธรรมตระหนักถึงปัญหาข้างต้นเป็นอย่างดี จึงกำหนดนโยบายสำคัญในการที่ให้ปี 2548 นี้เป็น “ปีแห่งการส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมไทย” เพื่อให้สังคมไทยและคนไทยยังสงวนและอนุรักษ์ “คุณค่า” ที่ดีของวัฒนธรรมไทยไว้
“แสงแดด” ขออนุญาตท่านผู้อ่านด้วยความเคารพที่จะสาธยายถึงความหมาย ความสำคัญและลักษณะที่มาที่ไปของ “วัฒนธรรม-วัฒนธรรมไทย” โดยท่านผู้อ่านจำนวนอาจจะลึกซึ้งแล้วก็ได้
วัฒนธรรมมีความหมายครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง ที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือสังคมใดสังคมหนึ่ง มนุษย์ได้คิดสร้างระเบียบกฎเกณฑ์ใช้ในการปฏิบัติ การจัดระเบียบ ตลอดจนระบบความเชื่อ ค่านิยม ความรู้ และเทคโนโลยีต่างๆ ในการควบคุมและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ
วัฒนธรรมคือความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ หรือลักษณะประจำชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในสังคม ซึ่งไม่เพียงแต่จะหมายถึงความสำเร็จในด้านศิลปกรรมหรือมารยาททางสังคมเท่านั้น กล่าวคือ ชนทุกกลุ่มต้องมีวัฒนธรรม ดังนั้น เมื่อมีความแตกต่างระหว่างชนแต่ละกลุ่ม ก็ย่อมมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมนั่นเอง เช่น ชาวนาจีนกับชาวนาในสหรัฐอเมริกา ย่อมมีความแตกต่างกัน
ตามความเป็นจริงแล้ว วัฒนธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในความเป็นชาติ ชาติใดที่ไร้เสียซึ่งวัฒนธรรมอันเป็นของตนเองแล้ว ชาตินั้นจะคงความเป็นชาติอยู่ไม่ได้ ชาติที่ไร้วัฒนธรรม แม้จะเป็นผู้พิชิตในการสงคราม แต่ในที่สุดก็จะเป็นผู้ถูกพิชิตด้านวัฒนธรรม ซึ่งนับว่าเป็นการถูกพิชิตอย่างราบคาบและสิ้นเชิง ทั้งนี้เพราะผู้ที่ถูกพิชิตในทางวัฒนธรรมนั้นจะไม่รู้ตัวเลยว่าตนได้ถูกพิชิต เช่น พวกตาดที่พิชิตจีนได้ และตั้งราชวงศ์หงวนขึ้นปกครองจีน แต่ในที่สุดถูกชาวจีน ซึ่งมีวัฒนธรรมสูงกว่ากลืนจนเป็นชาวจีนไปหมดสิ้น ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า วัฒนธรรมมีความสำคัญ ดังนี้
- วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ชี้แสดงให้เห็นความแตกต่างของบุคคล กลุ่มคน หรือชุมชน
- วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่าตนมีความแตกต่างจากสัตว์
- วัฒนธรรมช่วยให้เราเข้าใจสิ่งต่างๆ ที่เรามองเห็น การแปลความหมายของสิ่งที่เรามองเห็นนั้นขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของกลุ่มชน ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้และถ่ายทอดวัฒนธรรม เช่น ชาวเกาะซามัวมองเห็นดวงจันทร์ว่ามีหญิงกำลังทอผ้า ชาวออสเตรเลียเห็นเป็นตาแมวใหญ่กำลังมองหาเหยื่อ ชาวไทยมองเห็นเหมือนรูปกระต่าย
- วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดปัจจัย 4 เช่น เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย การรักษาโรค
- วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดการแสดงความรู้สึกทางอารมณ์ และการควบคุมอารมณ์ เช่น ผู้ชายไทยจะไม่ปล่อยให้น้ำตาไหลต่อหน้าสาธารณะชนเมื่อเสียใจ
- วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดการกระทำบางอย่างในชุมชนว่าเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งการกระทำบางอย่างในสังคมหนึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเหมาะสมแต่ไม่เป็นที่ยอมรับในอีกสังคมหนึ่ง
จะเห็นได้ว่าผู้สร้างวัฒนธรรมคือมนุษย์ และสังคมเกิดขึ้นก็เพราะมนุษย์ วัฒนธรรมกับสังคมจึงเป็นสิ่งคู่กัน โดยแต่ละสังคมย่อมมีวัฒนธรรมและหากสังคมมีขนาดใหญ่หรือมีความซับซ้อนมากเพียงใด ความหลากหลายทางวัฒนธรรมมักจะมีมากขึ้นเพียงใดนั้นวัฒนธรรมต่างๆ ของแต่ละสังคมอาจเหมือนหรือต่างกันสืบเนื่องมาจากความแตกต่างทางด้านความเชื่อ เชื้อชาติ ศาสนาและถิ่นที่อยู่ เป็นต้น
ลักษณะของวัฒนธรรม เพื่อที่จะให้เข้าใจถึงความหมายของคำว่า “วัฒนธรรม” ได้อย่างลึกซึ้ง จึงขออธิบายถึงลักษณะของวัฒนธรรม ซึ่งอาจแยกอธิบายได้ดังต่อไปนี้
- วัฒนธรรมเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ตรงที่มีการรู้จักคิด มีการเรียนรู้ จัดระเบียบชีวิตให้เจริญ อยู่ดีกินดี มีความสุขสะดวกสบาย รู้จักแก้ไขปัญหา ซึ่งแตกต่างไปจากสัตว์ที่เกิดการเรียนรู้โดยอาศัยความจำเท่านั้น
- วัฒนธรรมเป็นมรดกของสังคม เนื่องจากมีการถ่ายทอดการเรียนรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนรุ่นหนึ่ง ทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม โดยไม่ขาดช่วงระยะเวลา และมนุษย์ใช้ภาษาในการถ่ายทอดวัฒนธรรม ภาษาจึงเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ถ่ายทอดวัฒนธรรมนั่นเอง
- วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิต หรือเป็นแบบแผนของการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์เกิดในสังคมใดก็จะเรียนรู้และซึมซับในวัฒนธรรมของสังคมที่ตนเองอาศัยอยู่ ดังนั้น วัฒนธรรมในแต่ละสังคมจึงแตกต่างกัน
- วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่คงที่ มนุษย์มีการคิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ และปรับปรุงของเดิมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อความเหมาะสม และความอยู่รอดของสังคม เช่น สังคมไทยสมัยก่อนผู้หญิงจะทำงานบ้าน ผู้ชายทำงานนอกบ้านเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว แต่ปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้หญิงต้องออกไปทำงานนอกบ้าน เพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว บทบาทของผู้หญิงในสังคมไทยจึงเปลี่ยนแปลงไป
เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยประกอบไปด้วย สถาบันพุทธศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันครอบครัว ตลอดจนระบบอาวุโส ระบบเครือญาติ ระบบพี่น้องเพื่อนร่วมรุ่น พร้อมทั้งมีสัมมาคารวะ ระลึกถึงบุญคุณพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณเลี้ยงดูอุปการะบุพการี แม้กระทั่งการทักทายยกมือไหว้ทั้งผู้ไหว้และผู้รับไหว้ หรือการอ่อนน้อมถ่อมตน สุภาพอ่อนโยน และแน่นอนที่สุด ไม่มีการใช้อวัยวะส่วนล่างหรือเท้าหยอกล้อกันเด็ดขาด ทั้งหมดนี้ล้วนเกือบเป็นเอกลักษณ์ที่ดีงามมีคุณค่าของวัฒนธรรมไทย
กระทรวงวัฒนธรรมจึงปรารถนาให้สังคมไทยรู้จักคุณค่าของวัฒนธรรมไทยตลอดกาล มิใช่เพียงปี 2548 เท่านั้น ที่จะให้เป็นปีแห่งการส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมไทย แต่อยากให้เกิดขึ้นตลอดไปและมากกว่าเก่า มิฉะนั้น “คุณค่าวัฒนธรรมไทย” จะถูกกลบกลืนโดยสังคมโลกาภิวัตน์ในที่สุด จนยุครุ่นลูกรุ่นหลานจะไม่รู้จักคุณค่าของวัฒนธรรมไทยอีกต่อไป!
ศตวรรษที่ 21 ได้คืบคลานผ่านมาปัจจุบันนับประมาณเกือบ 5 ปีเต็มๆ ที่เราสามารถสังเกตได้ว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน โดยเฉพาะ “วัฒนธรรมไทย” ที่ถูกระแสโลกาภิวัตน์จากสังคมตะวันตก “ครอบงำ” อย่างมาก จนเยาวชนคนรุ่นใหม่ มักจะไม่รู้จักหรือแทบไม่รู้เลยว่า “วัฒนธรรม” ไทยอันดีงามนั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เอาแค่เพียงรู้จักยังไม่ต้องถึงขั้นปฏิบัติก็ไม่สามารถบอกกล่าวได้ ซึ่งเป็นกรณีที่น่าวิตกอย่างมากว่า สังคมไทยในอนาคต “วัฒนธรรมไทย” อาจเหือดหายไปจากผืนแผ่นดินไทย ทั้งๆ ที่ วัฒนธรรมไทยนั้น มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน
วัฒนธรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดที่นานาอารยประเทศต่างล้วนต้องมีวัฒนธรรมทั้งสิ้น ซึ่งวัฒนธรรมที่กล่าวถึงนี้เป็นวัฒนธรรมที่มีวิวัฒนาการ “สะสมและสั่งสม” มาอย่างยาวนาน กล่าวคือ ในแต่ละประเทศไม่ว่าจะเก่าหรือใหม่เพียงใด ทุกๆ ประเทศล้วนมีการสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจน ค่านิยม ความเชื่อ ศิลปะต่างๆ ที่ยึดมั่นสู่รุ่นลูกหลาน โดยผ่านการอบรมสั่งสอน ที่อาจเป็นลักษณะของ “จารีตประเพณี” เชิงบังคับว่าต้องกระทำ จึงเรียกว่า “กระบวนการสั่งสม” ส่วน “กระบวนการสะสม” นั้นเป็นกระบวนการที่เกิดจากเรียนรู้เป็นไปตามธรรมชาติ เก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยจนกลายเป็น “วัฒนธรรม” ที่ยึดถือปฏิบัติกันมาในที่สุด
วัฒนธรรมของแต่ละสังคมก็จะไม่เหมือนกัน ผิดแผกแตกต่างกันไป แต่ถ้าใครก็ตามที่ต้องการศึกษา “ประวัติศาสตร์” ของสังคมใด สามารถศึกษาได้จากวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ ว่า “ที่มาที่ไป” เป็นอย่างไร
“วิถีชีวิต-การกินการอยู่” ตลอดจน “วันสำคัญ” ของแต่ละสังคมสะท้อนถึงวัฒนธรรมของสังคมนั้นว่า “ยึดถือ-เชื่อถือ” อะไร แต่ที่สำคัญที่สุดต้องยึดถือปฏิบัติกันมาอย่างยาวนานนับร้อยปี จึงสามารถเรียกขานได้ว่าเป็น “วัฒนธรรม” ทั้งนี้ วัฒนธรรมของแต่ละสังคม เราต้องยอมรับความจริงว่าล้วน “ดี” ทั้งนั้น โดยมีจุดมุ่งหมายให้สังคมนั้นมีความสงบสุขยั่งยืน
กรณีปัญหาของสังคมยุคใหม่หลังจากศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา “โลกาภิวัตน์” มีบทบาทอย่างสูงในการเปลี่ยนแปลง “สังคมโลก” อย่างมาก พร้อมส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมของแต่ละสังคม กล่าวคือ สังคมยุคสารสนเทศ ที่ข้อมูลข่าวสารทะลักไหลอย่างรวดเร็วและทันทีทันใด จนก่อให้เกิด “การบริโภค” ที่ “ด่วน!” ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น ข่าวสำคัญๆ ของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ ซีกโลกใด ทุกคนในสังคมไม่ว่าอยู่ซอกมุมไหนของโลก ก็จะสามารถรับรู้ได้ทันทีทันใดเช่นเดียวกัน จนทำให้สังคมของแทบทุกประเทศผสมกลมกลืนเป็น “สังคมโลก-สังคมเดียว” ไปในที่สุด
นอกเหนือจากนั้นวัฒนธรรมของแต่ละสังคมในอดีตต่างจะมี “เอกลักษณ์เฉพาะ” ของแต่ละสังคม แต่จากการบริโภคมิใช่เพียงข้อมูลข่าวสารอย่างเดียวเท่านั้น แต่สารพัดข้อมูลทางด้านการบริโภค บันเทิง นานาสารพัดพฤติกรรมถูกเผยแพร่อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ยิ่งสังคมปัจจุบันเป็น “สังคมบริโภคนิยม” ซ้ำร้ายเป็นสังคมที่บูชานิยม “ทุน-เงิน” เข้าไปอีก “พฤติกรรม” ของมนุษย์ในสังคมโลกจึงมีลักษณะคล้ายคลึงกัน จนก่อให้เกิด “การบ่าไหล” ของ “วัฒนธรรม” จากกลุ่มประเทศที่ทั้งสามารถ “ผลิตและเผยแพร่” สารพัดข้อมูล “ป้อน” สังคมโลกให้ถูกกลืนเป็น “วัฒนธรรมเดียวกัน!”
จากปัญหาทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวข้างต้น เราต้องยอมรับว่า “ยาก” ที่จะหลุดพ้น หรือหลีกหนีได้ การที่จะ “อนุรักษ์” พร้อมรักษา “เอกลักษณ์” ของวัฒนธรรมเราไว้ได้จึงเป็นความพยายามที่ปัจจุบันคนไทยต้องรีบฉุกคิดกันแล้วและสมควรหวาดหวั่นว่าวัฒนธรรมไทยที่ดีงามจะถูก “กลบ-กลืน” และ “หาย” ไปในที่สุด
กระทรวงวัฒนธรรมตระหนักถึงปัญหาข้างต้นเป็นอย่างดี จึงกำหนดนโยบายสำคัญในการที่ให้ปี 2548 นี้เป็น “ปีแห่งการส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมไทย” เพื่อให้สังคมไทยและคนไทยยังสงวนและอนุรักษ์ “คุณค่า” ที่ดีของวัฒนธรรมไทยไว้
“แสงแดด” ขออนุญาตท่านผู้อ่านด้วยความเคารพที่จะสาธยายถึงความหมาย ความสำคัญและลักษณะที่มาที่ไปของ “วัฒนธรรม-วัฒนธรรมไทย” โดยท่านผู้อ่านจำนวนอาจจะลึกซึ้งแล้วก็ได้
วัฒนธรรมมีความหมายครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง ที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือสังคมใดสังคมหนึ่ง มนุษย์ได้คิดสร้างระเบียบกฎเกณฑ์ใช้ในการปฏิบัติ การจัดระเบียบ ตลอดจนระบบความเชื่อ ค่านิยม ความรู้ และเทคโนโลยีต่างๆ ในการควบคุมและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ
วัฒนธรรมคือความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ หรือลักษณะประจำชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในสังคม ซึ่งไม่เพียงแต่จะหมายถึงความสำเร็จในด้านศิลปกรรมหรือมารยาททางสังคมเท่านั้น กล่าวคือ ชนทุกกลุ่มต้องมีวัฒนธรรม ดังนั้น เมื่อมีความแตกต่างระหว่างชนแต่ละกลุ่ม ก็ย่อมมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมนั่นเอง เช่น ชาวนาจีนกับชาวนาในสหรัฐอเมริกา ย่อมมีความแตกต่างกัน
ตามความเป็นจริงแล้ว วัฒนธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในความเป็นชาติ ชาติใดที่ไร้เสียซึ่งวัฒนธรรมอันเป็นของตนเองแล้ว ชาตินั้นจะคงความเป็นชาติอยู่ไม่ได้ ชาติที่ไร้วัฒนธรรม แม้จะเป็นผู้พิชิตในการสงคราม แต่ในที่สุดก็จะเป็นผู้ถูกพิชิตด้านวัฒนธรรม ซึ่งนับว่าเป็นการถูกพิชิตอย่างราบคาบและสิ้นเชิง ทั้งนี้เพราะผู้ที่ถูกพิชิตในทางวัฒนธรรมนั้นจะไม่รู้ตัวเลยว่าตนได้ถูกพิชิต เช่น พวกตาดที่พิชิตจีนได้ และตั้งราชวงศ์หงวนขึ้นปกครองจีน แต่ในที่สุดถูกชาวจีน ซึ่งมีวัฒนธรรมสูงกว่ากลืนจนเป็นชาวจีนไปหมดสิ้น ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า วัฒนธรรมมีความสำคัญ ดังนี้
- วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ชี้แสดงให้เห็นความแตกต่างของบุคคล กลุ่มคน หรือชุมชน
- วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่าตนมีความแตกต่างจากสัตว์
- วัฒนธรรมช่วยให้เราเข้าใจสิ่งต่างๆ ที่เรามองเห็น การแปลความหมายของสิ่งที่เรามองเห็นนั้นขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของกลุ่มชน ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้และถ่ายทอดวัฒนธรรม เช่น ชาวเกาะซามัวมองเห็นดวงจันทร์ว่ามีหญิงกำลังทอผ้า ชาวออสเตรเลียเห็นเป็นตาแมวใหญ่กำลังมองหาเหยื่อ ชาวไทยมองเห็นเหมือนรูปกระต่าย
- วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดปัจจัย 4 เช่น เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย การรักษาโรค
- วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดการแสดงความรู้สึกทางอารมณ์ และการควบคุมอารมณ์ เช่น ผู้ชายไทยจะไม่ปล่อยให้น้ำตาไหลต่อหน้าสาธารณะชนเมื่อเสียใจ
- วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดการกระทำบางอย่างในชุมชนว่าเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งการกระทำบางอย่างในสังคมหนึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเหมาะสมแต่ไม่เป็นที่ยอมรับในอีกสังคมหนึ่ง
จะเห็นได้ว่าผู้สร้างวัฒนธรรมคือมนุษย์ และสังคมเกิดขึ้นก็เพราะมนุษย์ วัฒนธรรมกับสังคมจึงเป็นสิ่งคู่กัน โดยแต่ละสังคมย่อมมีวัฒนธรรมและหากสังคมมีขนาดใหญ่หรือมีความซับซ้อนมากเพียงใด ความหลากหลายทางวัฒนธรรมมักจะมีมากขึ้นเพียงใดนั้นวัฒนธรรมต่างๆ ของแต่ละสังคมอาจเหมือนหรือต่างกันสืบเนื่องมาจากความแตกต่างทางด้านความเชื่อ เชื้อชาติ ศาสนาและถิ่นที่อยู่ เป็นต้น
ลักษณะของวัฒนธรรม เพื่อที่จะให้เข้าใจถึงความหมายของคำว่า “วัฒนธรรม” ได้อย่างลึกซึ้ง จึงขออธิบายถึงลักษณะของวัฒนธรรม ซึ่งอาจแยกอธิบายได้ดังต่อไปนี้
- วัฒนธรรมเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ตรงที่มีการรู้จักคิด มีการเรียนรู้ จัดระเบียบชีวิตให้เจริญ อยู่ดีกินดี มีความสุขสะดวกสบาย รู้จักแก้ไขปัญหา ซึ่งแตกต่างไปจากสัตว์ที่เกิดการเรียนรู้โดยอาศัยความจำเท่านั้น
- วัฒนธรรมเป็นมรดกของสังคม เนื่องจากมีการถ่ายทอดการเรียนรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนรุ่นหนึ่ง ทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม โดยไม่ขาดช่วงระยะเวลา และมนุษย์ใช้ภาษาในการถ่ายทอดวัฒนธรรม ภาษาจึงเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ถ่ายทอดวัฒนธรรมนั่นเอง
- วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิต หรือเป็นแบบแผนของการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์เกิดในสังคมใดก็จะเรียนรู้และซึมซับในวัฒนธรรมของสังคมที่ตนเองอาศัยอยู่ ดังนั้น วัฒนธรรมในแต่ละสังคมจึงแตกต่างกัน
- วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่คงที่ มนุษย์มีการคิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ และปรับปรุงของเดิมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อความเหมาะสม และความอยู่รอดของสังคม เช่น สังคมไทยสมัยก่อนผู้หญิงจะทำงานบ้าน ผู้ชายทำงานนอกบ้านเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว แต่ปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้หญิงต้องออกไปทำงานนอกบ้าน เพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว บทบาทของผู้หญิงในสังคมไทยจึงเปลี่ยนแปลงไป
เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยประกอบไปด้วย สถาบันพุทธศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันครอบครัว ตลอดจนระบบอาวุโส ระบบเครือญาติ ระบบพี่น้องเพื่อนร่วมรุ่น พร้อมทั้งมีสัมมาคารวะ ระลึกถึงบุญคุณพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณเลี้ยงดูอุปการะบุพการี แม้กระทั่งการทักทายยกมือไหว้ทั้งผู้ไหว้และผู้รับไหว้ หรือการอ่อนน้อมถ่อมตน สุภาพอ่อนโยน และแน่นอนที่สุด ไม่มีการใช้อวัยวะส่วนล่างหรือเท้าหยอกล้อกันเด็ดขาด ทั้งหมดนี้ล้วนเกือบเป็นเอกลักษณ์ที่ดีงามมีคุณค่าของวัฒนธรรมไทย
กระทรวงวัฒนธรรมจึงปรารถนาให้สังคมไทยรู้จักคุณค่าของวัฒนธรรมไทยตลอดกาล มิใช่เพียงปี 2548 เท่านั้น ที่จะให้เป็นปีแห่งการส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมไทย แต่อยากให้เกิดขึ้นตลอดไปและมากกว่าเก่า มิฉะนั้น “คุณค่าวัฒนธรรมไทย” จะถูกกลบกลืนโดยสังคมโลกาภิวัตน์ในที่สุด จนยุครุ่นลูกรุ่นหลานจะไม่รู้จักคุณค่าของวัฒนธรรมไทยอีกต่อไป!