ครม.ไฟเขียวเปิดเสรีการบินไทย-สหรัฐฯ ดันไทยเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค โดยเสรีภาพที่ 5 จะเปิดกว้างจำนวนเที่ยวบินจากต้นทางมาไทยเพื่อไปยังประเทศที่ 3 มากขึ้น หรือให้สายการบินแวะรับผู้โดยสารในประเทศที่ 3 ที่บินผ่านได้ "เสี่ยเพ้ง"เชื่อศก.ดีขึ้น เพราะจะมีเม็ดเงินจากต่างประเทศไหลเข้า ขณะที่วงการบินชี้ทุกสายการบินที่ใช้ไทยเป็นฐานต้องปรับตัวครั้งใหญ่ โดยเฉพาะการบินไทย อาจต้องทบทวนจุดบินเพื่อปรับกลยุทธ์ในการแข่งขัน
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)วานนี้( 13 ก.ย.)ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้กระทรวงต่างประเทศดำเนินการลงนามในความตกลงการเปิดเสรีการบินระหว่างไทย-สหรัฐฯ ซึ่งจะมีผลในปี 2553 เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคนี้ โดยให้ทยอยเพิ่มเที่ยวตามกรอบของเสรีภาพที่ 5 คือ แวะรับผู้โดยสารในประเทศที่ 3 ที่บินผ่านได้เพิ่มขึ้น จากปัจจุบัน 14 เที่ยวต่อจุดบิน เป็น 28 เที่ยวต่อจุดบินในปี 2550 และเพิ่มเป็น 35 เที่ยวต่อจุดบินในปี 2552 ส่วนปี 2553 ให้เปิดเสรีการบินระหว่างกัน และจะต้องมีการประเมินผลภายใน 3ปี หากมีผลกระทบสามารถที่จะขอให้ทบทวนข้อตกลงได้
ทั้งนี้ ความตกลงระหว่างไทย-สหรัฐฯ ในการบินผ่านประเทศไทยไปยังประเทศที่ 3 เช่น โตเกียว โอซากา เกาหลี ไทเป กำหนดไว้จุดบินละไม่เกิน 14 เที่ยวต่อสัปดาห์ และรวมกันได้ไม่เกิน 31 เที่ยวต่อสัปดาห์ ซึ่งในเดือน ต.ค.2550 ให้เพิ่มเป็นจุดบินละไม่เกิน 28 เที่ยวต่อสัปดาห์ และรวมกันไม่เกิน 42 เที่ยว ส่วนในเดือน ต.ค.2552 ให้เพิ่มเป็นจุดบินละไม่เกิน 35 เที่ยวต่อสัปดาห์ และจำนวนเที่ยวรวมไม่เกิน 49 เที่ยวต่อสัปดาห์ และหลังปี 2553 เปิดเสรีไม่มีข้อจำกัด
"มั่นใจว่า แนวทางดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการรองรับการเปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งจะทำให้มีการขนส่งสินค้าและนักท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศ จะมีเม็ดเงินจากต่างประเทศไหลเข้ามามากขึ้น"
ส่วนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)นั้นนายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะปัจจุบันการบินไทยครองส่วนแบ่งตลาดผู้โดยสารจากกรุงโตเกียว ประมาณ 7,500 กว่าที่นั่ง ต่อสัปดาห์ ในขณะที่สหรัฐฯมีส่วนแบ่งตลาดโตเกียว ประมาณ 4,000 ที่นั่งต่อสัปดาห์ ซึ่งถือว่าประเทศไทยยังมีความได้เปรียบ แต่จะต้องมีการปรับกลยุทธ์ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้เพิ่มขึ้น ส่วนการแข่งกันตัดราคา คงเป็นเรื่องยากเพราะมีอัตราค่าโดยสารที่ควบคุมอยู่
นายพงษ์ศักดิ์ ยังกล่าวปฏิเสธข้อครหาของพรรคฝ่ายค้าน ที่ระบุว่า การเปิดเสรีทางการบินก็เพื่อเอื้อประโยชน์กับสายการบินราคาประหยัด(โลว์คอสต์) บางบริษัทเพื่อเปิดสายการบินไปยังญี่ปุ่นหรือสหรัฐฯ ว่า คงเป็นไปไม่ได้ เพราะสายการบินโลว์คอสต์ จะสามารถบินได้เพียง 2 ชั่วโมงบิน คือ บินได้เพียงในภูมิภาคนี้เท่านั้น
"จะบินไปยังสหรัฐฯได้อย่างไร เครื่อง 737 พูดเป็นเรื่องไปเรื่อย เพราะเครื่อง 737 บินได้เพียง 2 ชั่วโมงบิน หากไปญี่ปุ่นก็คงบินไปไม่ได้ การเปิดเสรีเพื่อเอื้อประโยชน์ให้สายการบินโลว์คอสต์ มันเป็นเรื่องที่ฝ่ายค้านพูดไปเรื่อย ดังนั้นการเปิดเสรีทางการบินจึงไม่เกี่ยวกับโลว์คอสต์"
**ปี 2553ประเมินผล ไม่ดีเลิกสัญญาได้
นายมหิดล จันทรางกูร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การเปิดน่านฟ้าเสรี ไทยจะได้รับประโยชน์มากกว่า เนื่องจากเป็นการรองรับการเปิดสายการบินกับประเทศต่างๆ ซึ่งขณะนี้ไทยได้มีการเจรจาเปิดเสรีการบินในลักษณะดังกล่าวกับ 6-7 ประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ สวิตเซอร์แลนด์ และอุซเบกิสถาน เนื่องจากขณะนี้ประเทศแถบอาเซียนเริ่มเปิดน่านฟ้าเสรีแล้ว เช่น สิงคโปร์
นายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ กล่าวว่า นายมหิดล จันทรางกูร ได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาลในการเจรจาทำความตกลงการเปิดเสรีการบินระหว่างไทย-สหรัฐฯ โดยมีนายศรีสุข จันทรางศุ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม และผู้แทนกรมการขนส่งทางอากาศ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)และผู้เกี่ยวข้องร่วมคณะเจรจาในระหว่างวันที่ 7- 9 ก.ย.ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม การบินระหว่างไทย-สหรัฐฯ มีการเปิดเสรีสำหรับเที่ยวบินตรง และเที่ยวบินขนส่งสินค้า แต่การเจรจาทำความตกลงในครั้งนี้เป็นการขยายกรอบของการเปิดเสรีทางด้านการบินระหว่างกันมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของเสรีภาพที่ 5 คือสิทธิในการแวะรับผู้โดยสารระหว่างทาง มีการเพิ่มความจุด และความถี่มากขึ้นในปี 2550 และ 2550 ซึ่งเชื่อว่าน่าจะส่งผลดีทำให้สายการบินมีโอกาสในการขยายตลาดของตัวเองให้มากขึ้น
**หวังเพิ่มตลาดนักท่องเที่ยวจากสหรัฐฯ
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การเปิดเสรีการบินดังกล่าว เป้าหมายหลักเพื่อเป็นการส่งเสริมการเพิ่มตลาดการท่องเที่ยวของไทย เพราะเมื่อเทียบจำนวนประชากร 200 ล้านคนของสหรัฐฯ กับไทยที่มีเพียง 65 ล้านคน ถือว่าไทยมีความได้เปรียบมากกว่า และมียุทธศาสตร์ที่มีแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งยังเป็นการรองรับการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิที่มีการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับไว้อยู่แล้ว
ทั้งนี้ แม้จะมีความตกลงไทย-สหรัฐฯ เพื่อเปิดกว้างให้เพิ่มจำนวนเที่ยวบินในแวะรับผู้โดยสารระหว่างทางได้เพิ่มขึ้น แต่จะต้องขึ้นอยู่กับญี่ปุ่นด้วยว่าจะยอมให้มีการปรับเพิ่มจากความตกลงในปัจจุบันหรือไม่ สำหรับตลาดของญี่ปุ่นขณะนี้การบินไทยมีความได้เปรียบสหรัฐฯ โดยเฉพาะโตเกียว เพราะการบินไทยมีตลาดผู้โดยสารมากกว่าเท่าตัวอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับว่าสายการบินของไทยจะรักษาความได้เปรียบของส่วนแบ่งการตลาดนี้ได้อย่างไร เป็นหน้าที่ของการบินไทยจะต้องหาทางแข่งขันในตลาดการบิน
แหล่งข่าวจากบริษัทการบินไทย กล่าวถึงข้อกังวลของการเปิดเสรีการบินระหว่างไทย-สหรัฐฯ ในครั้งนี้ว่า การบินไทยอาจต้องมีการปรับแผนการบินให้สอดคล้องกับข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งในเสรีภาพที่ 5 จะให้สิทธิในการบินแวะรับผู้โดยสารระหว่างทาง หรือบินผ่านไปยังประเทศที่ 3 ได้ รวมทั้งในอนาคตอาจขยายตลาดการบินของสหรัฐฯ ที่พัฒนาไปสู่การเปิดเสรีภาพที่ 7 - 8 คือ สายการบินของสหรัฐฯ สามารถนำเครื่องเข้ามาจอดแวะพักและรับส่งผู้โดยสารภายในประเทศและในภูมิภาคนี้ได้
ในเบื้องต้นหลังจากรับทราบนโยบาย การบินไทยได้มีการนัดประชุมหารือเพื่อปรับแผนการบินรองรับการเปิดเสรีการบินตามข้อตกลงดังกล่าว ขณะเดียวกันก็เห็นว่าอาจมีผลกระทบต่อสายการบินที่เป็นพันธมิตรของสายการบินไทย ที่อาจมีการทบทวนจุดบินเพื่อปรับกลยุทธ์การแข่งขันการตลาด เพราะเมื่อมีการเปิดตลาดกว้างขึ้นทำให้การแข่งขันสูงขึ้นด้วย
ด้านนายอุดม ตันติประสงค์ชัย กรรมการผู้อำนวยการ สายการบินโอเรียนท์ไทย จำกัด กล่าวสนับสนุนการเปิดเสรีการบินไทย-สหรัฐฯ ว่าเป็นสิ่งที่ดี ทำให้ไทยสามารถขยายจุดบินไปยังยุโรปได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่สหรัฐฯ ก็สามารถที่จะขยายตลาดในภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้นด้วย เช่น อินเดีย เป็นต้น ส่วนสายการบินไทย ก็ต้องมีการปรับตัวเพื่อรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปเพื่อที่จะให้สามารถแข่งขันกับตลาดการบินได้ แต่ในภาพรวมถือว่าเกิดผลดีต่อประเทศ ทำให้ธุรกิจการบินขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคนี้
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)วานนี้( 13 ก.ย.)ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้กระทรวงต่างประเทศดำเนินการลงนามในความตกลงการเปิดเสรีการบินระหว่างไทย-สหรัฐฯ ซึ่งจะมีผลในปี 2553 เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคนี้ โดยให้ทยอยเพิ่มเที่ยวตามกรอบของเสรีภาพที่ 5 คือ แวะรับผู้โดยสารในประเทศที่ 3 ที่บินผ่านได้เพิ่มขึ้น จากปัจจุบัน 14 เที่ยวต่อจุดบิน เป็น 28 เที่ยวต่อจุดบินในปี 2550 และเพิ่มเป็น 35 เที่ยวต่อจุดบินในปี 2552 ส่วนปี 2553 ให้เปิดเสรีการบินระหว่างกัน และจะต้องมีการประเมินผลภายใน 3ปี หากมีผลกระทบสามารถที่จะขอให้ทบทวนข้อตกลงได้
ทั้งนี้ ความตกลงระหว่างไทย-สหรัฐฯ ในการบินผ่านประเทศไทยไปยังประเทศที่ 3 เช่น โตเกียว โอซากา เกาหลี ไทเป กำหนดไว้จุดบินละไม่เกิน 14 เที่ยวต่อสัปดาห์ และรวมกันได้ไม่เกิน 31 เที่ยวต่อสัปดาห์ ซึ่งในเดือน ต.ค.2550 ให้เพิ่มเป็นจุดบินละไม่เกิน 28 เที่ยวต่อสัปดาห์ และรวมกันไม่เกิน 42 เที่ยว ส่วนในเดือน ต.ค.2552 ให้เพิ่มเป็นจุดบินละไม่เกิน 35 เที่ยวต่อสัปดาห์ และจำนวนเที่ยวรวมไม่เกิน 49 เที่ยวต่อสัปดาห์ และหลังปี 2553 เปิดเสรีไม่มีข้อจำกัด
"มั่นใจว่า แนวทางดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการรองรับการเปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งจะทำให้มีการขนส่งสินค้าและนักท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศ จะมีเม็ดเงินจากต่างประเทศไหลเข้ามามากขึ้น"
ส่วนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)นั้นนายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะปัจจุบันการบินไทยครองส่วนแบ่งตลาดผู้โดยสารจากกรุงโตเกียว ประมาณ 7,500 กว่าที่นั่ง ต่อสัปดาห์ ในขณะที่สหรัฐฯมีส่วนแบ่งตลาดโตเกียว ประมาณ 4,000 ที่นั่งต่อสัปดาห์ ซึ่งถือว่าประเทศไทยยังมีความได้เปรียบ แต่จะต้องมีการปรับกลยุทธ์ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้เพิ่มขึ้น ส่วนการแข่งกันตัดราคา คงเป็นเรื่องยากเพราะมีอัตราค่าโดยสารที่ควบคุมอยู่
นายพงษ์ศักดิ์ ยังกล่าวปฏิเสธข้อครหาของพรรคฝ่ายค้าน ที่ระบุว่า การเปิดเสรีทางการบินก็เพื่อเอื้อประโยชน์กับสายการบินราคาประหยัด(โลว์คอสต์) บางบริษัทเพื่อเปิดสายการบินไปยังญี่ปุ่นหรือสหรัฐฯ ว่า คงเป็นไปไม่ได้ เพราะสายการบินโลว์คอสต์ จะสามารถบินได้เพียง 2 ชั่วโมงบิน คือ บินได้เพียงในภูมิภาคนี้เท่านั้น
"จะบินไปยังสหรัฐฯได้อย่างไร เครื่อง 737 พูดเป็นเรื่องไปเรื่อย เพราะเครื่อง 737 บินได้เพียง 2 ชั่วโมงบิน หากไปญี่ปุ่นก็คงบินไปไม่ได้ การเปิดเสรีเพื่อเอื้อประโยชน์ให้สายการบินโลว์คอสต์ มันเป็นเรื่องที่ฝ่ายค้านพูดไปเรื่อย ดังนั้นการเปิดเสรีทางการบินจึงไม่เกี่ยวกับโลว์คอสต์"
**ปี 2553ประเมินผล ไม่ดีเลิกสัญญาได้
นายมหิดล จันทรางกูร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การเปิดน่านฟ้าเสรี ไทยจะได้รับประโยชน์มากกว่า เนื่องจากเป็นการรองรับการเปิดสายการบินกับประเทศต่างๆ ซึ่งขณะนี้ไทยได้มีการเจรจาเปิดเสรีการบินในลักษณะดังกล่าวกับ 6-7 ประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ สวิตเซอร์แลนด์ และอุซเบกิสถาน เนื่องจากขณะนี้ประเทศแถบอาเซียนเริ่มเปิดน่านฟ้าเสรีแล้ว เช่น สิงคโปร์
นายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ กล่าวว่า นายมหิดล จันทรางกูร ได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาลในการเจรจาทำความตกลงการเปิดเสรีการบินระหว่างไทย-สหรัฐฯ โดยมีนายศรีสุข จันทรางศุ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม และผู้แทนกรมการขนส่งทางอากาศ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)และผู้เกี่ยวข้องร่วมคณะเจรจาในระหว่างวันที่ 7- 9 ก.ย.ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม การบินระหว่างไทย-สหรัฐฯ มีการเปิดเสรีสำหรับเที่ยวบินตรง และเที่ยวบินขนส่งสินค้า แต่การเจรจาทำความตกลงในครั้งนี้เป็นการขยายกรอบของการเปิดเสรีทางด้านการบินระหว่างกันมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของเสรีภาพที่ 5 คือสิทธิในการแวะรับผู้โดยสารระหว่างทาง มีการเพิ่มความจุด และความถี่มากขึ้นในปี 2550 และ 2550 ซึ่งเชื่อว่าน่าจะส่งผลดีทำให้สายการบินมีโอกาสในการขยายตลาดของตัวเองให้มากขึ้น
**หวังเพิ่มตลาดนักท่องเที่ยวจากสหรัฐฯ
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การเปิดเสรีการบินดังกล่าว เป้าหมายหลักเพื่อเป็นการส่งเสริมการเพิ่มตลาดการท่องเที่ยวของไทย เพราะเมื่อเทียบจำนวนประชากร 200 ล้านคนของสหรัฐฯ กับไทยที่มีเพียง 65 ล้านคน ถือว่าไทยมีความได้เปรียบมากกว่า และมียุทธศาสตร์ที่มีแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งยังเป็นการรองรับการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิที่มีการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับไว้อยู่แล้ว
ทั้งนี้ แม้จะมีความตกลงไทย-สหรัฐฯ เพื่อเปิดกว้างให้เพิ่มจำนวนเที่ยวบินในแวะรับผู้โดยสารระหว่างทางได้เพิ่มขึ้น แต่จะต้องขึ้นอยู่กับญี่ปุ่นด้วยว่าจะยอมให้มีการปรับเพิ่มจากความตกลงในปัจจุบันหรือไม่ สำหรับตลาดของญี่ปุ่นขณะนี้การบินไทยมีความได้เปรียบสหรัฐฯ โดยเฉพาะโตเกียว เพราะการบินไทยมีตลาดผู้โดยสารมากกว่าเท่าตัวอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับว่าสายการบินของไทยจะรักษาความได้เปรียบของส่วนแบ่งการตลาดนี้ได้อย่างไร เป็นหน้าที่ของการบินไทยจะต้องหาทางแข่งขันในตลาดการบิน
แหล่งข่าวจากบริษัทการบินไทย กล่าวถึงข้อกังวลของการเปิดเสรีการบินระหว่างไทย-สหรัฐฯ ในครั้งนี้ว่า การบินไทยอาจต้องมีการปรับแผนการบินให้สอดคล้องกับข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งในเสรีภาพที่ 5 จะให้สิทธิในการบินแวะรับผู้โดยสารระหว่างทาง หรือบินผ่านไปยังประเทศที่ 3 ได้ รวมทั้งในอนาคตอาจขยายตลาดการบินของสหรัฐฯ ที่พัฒนาไปสู่การเปิดเสรีภาพที่ 7 - 8 คือ สายการบินของสหรัฐฯ สามารถนำเครื่องเข้ามาจอดแวะพักและรับส่งผู้โดยสารภายในประเทศและในภูมิภาคนี้ได้
ในเบื้องต้นหลังจากรับทราบนโยบาย การบินไทยได้มีการนัดประชุมหารือเพื่อปรับแผนการบินรองรับการเปิดเสรีการบินตามข้อตกลงดังกล่าว ขณะเดียวกันก็เห็นว่าอาจมีผลกระทบต่อสายการบินที่เป็นพันธมิตรของสายการบินไทย ที่อาจมีการทบทวนจุดบินเพื่อปรับกลยุทธ์การแข่งขันการตลาด เพราะเมื่อมีการเปิดตลาดกว้างขึ้นทำให้การแข่งขันสูงขึ้นด้วย
ด้านนายอุดม ตันติประสงค์ชัย กรรมการผู้อำนวยการ สายการบินโอเรียนท์ไทย จำกัด กล่าวสนับสนุนการเปิดเสรีการบินไทย-สหรัฐฯ ว่าเป็นสิ่งที่ดี ทำให้ไทยสามารถขยายจุดบินไปยังยุโรปได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่สหรัฐฯ ก็สามารถที่จะขยายตลาดในภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้นด้วย เช่น อินเดีย เป็นต้น ส่วนสายการบินไทย ก็ต้องมีการปรับตัวเพื่อรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปเพื่อที่จะให้สามารถแข่งขันกับตลาดการบินได้ แต่ในภาพรวมถือว่าเกิดผลดีต่อประเทศ ทำให้ธุรกิจการบินขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคนี้