ว่าด้วยนิมิต ลาง และอาเพศ (ตอนที่ 1)
โดย สิริอัญญา
31 สิงหาคม 2548
ได้รับการขอร้องจากกองบรรณาธิการให้ช่วยวิสัชนาในปัญหาเรื่องนิมิต ลาง และอาเพศ โดยมีเหตุปรารภว่ามีท่านผู้สนใจได้ไต่ถามเกี่ยวกับเรื่องนิมิต ลาง และอาเพศ กันเป็นจำนวนมาก และยังมีความเข้าใจที่สับสนในเรื่องนิมิต ลาง และอาเพศว่าเป็นเรื่องเดียวกันหรือเป็นคนละเรื่อง รวมทั้งปัญหาที่ว่าบ้านเมืองของเราในทุกวันนี้มีอาเพศที่บอกเหตุร้ายดีประการใดหรือไม่
ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทำหน้าที่วิสัชนาในเรื่องนี้ตามที่ได้รับมอบหมาย ขออย่าได้ถือว่าเป็นเรื่องนำความงมงายมากล่าวในที่สาธารณะเลย เพราะเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เพิ่งมีมาในวันนี้ วานนี้ เสียเมื่อไหร่ หากเป็นเรื่องที่มีมาคู่กับสังคมไทยช้านานแล้ว
แต่โบราณมาถือว่าเรื่องเหล่านี้เป็นศาสตร์หรือเป็นความรู้อย่างหนึ่ง ซึ่งผู้มีหน้าที่บางอย่างจำเป็นจะต้องเรียน จะต้องรู้ และจะต้องใช้ เป็นแต่ว่าเวลาผ่านเนิ่นนานมาและการศึกษาแบบตะวันตกเข้ามากลบศาสตร์และภูมิปัญญาของคนโบราณไปจนแทบหมดสิ้น จึงทำให้สิ่งเหล่านี้ถูกดูหมิ่นถิ่นแคลนว่าเป็นเรื่องเหลวไหลงมงายไร้สาระ
อย่างน้อยก็จงถือตามคติที่ว่า “รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม” ก็จะเป็นประโยชน์กว่าที่จะเบือนหน้าปฏิเสธเสียทีเดียว หรืออีกอย่างหนึ่งก็อาจถือตามคติที่พระบาทสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ได้ทรงแนะเอาไว้ในบทพระราชนิพนธ์เรื่อง “ธรรมาธรรมะสงคราม” ที่ว่า “วาจาไร้สาระ สำหรับจะใช้แก้เหงา” ก็จะสบายใจกว่า
ในเบื้องแรกก็อยากจะทำความเข้าใจว่านิมิต ลาง และอาเพศ แม้จะมีถ้อยคำที่อาจทำให้เข้าใจไปได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกันแล้วเกิดความสับสนขึ้น ทำให้การสื่อข้อความในเรื่องเหล่านี้ก็คลาดเคลื่อนไปเป็นอันมาก แต่ความจริงเป็นเรื่องสามเรื่องที่แตกต่างกันเพียงแต่คล้ายคลึงกันเท่านั้น
ที่คล้ายคลึงกันก็คือคติที่ถือกันมาว่านิมิต ลาง และอาเพศเป็นสิ่งบอกเหตุล่วงหน้า ที่ต่างกันในสาระสำคัญก็คือนิมิตเป็นสิ่งบอกเหตุในทางดี ลางและอาเพศเป็นสิ่งบอกเหตุในทางร้าย
นิมิตและลางนั้นถือกันมาว่าเป็นสิ่งบอกเหตุล่วงหน้าในส่วนของบุคคล แต่อาเพศเป็นสิ่งบอกเหตุในทางร้ายเกี่ยวกับชะตากรรมของบ้านเมืองหรือผู้มีอำนาจในบ้านเมือง
ส่วนอะไรเป็นนิมิต อะไรเป็นลาง อะไรเป็นอาเพศจักได้วิสัชนาต่อไป
นิมิตแปลว่าเครื่องหมายหรือการปรากฏของเครื่องหมายบอกเหตุ หรือสิ่งที่ปรากฏขึ้นให้ถือเป็นหลักได้ ดังเช่นการฝังลูกนิมิตเพื่อเป็นหลักกำหนดเขตพัทธสีมา หรือนิมิตที่ปรากฏขึ้นกับจิตในขณะที่มีสมาธิบางระดับ เช่น อุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตเป็นต้น
แม้กระทั่งความประพฤติหรือการปฏิบัติบางอย่างที่เป็นหลักหมายของความดีหรือความชั่ว ดังเช่นที่ปรากฏในพุทธภาษิตที่ว่า “นิมิตตังสาธุรูปานัง กตัญญูกตเวทิตา” ซึ่งแปลว่าความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี
หรือแม้แต่การให้สังเกตนิมิตจากพฤติกรรมของคนที่ว่า คนที่ไม่มีวาจาสัตย์ย่อมไม่ใช่บัณฑิต หากเป็นคนพาลผู้ทุศีล เป็นต้น
แต่ในที่นี้นิมิตหมายถึงการปรากฏของสิ่งบอกเหตุ ทั้งในยามหลับและยามตื่น มีทั้งการปรากฏขึ้นของสัตว์ พืช ภาพ เสียง และปรากฏการณ์อื่น ๆ
ความฝันซึ่งจำแนกเป็นสี่จำพวกคือบุพนิมิต จิตนิวรณ์ เทพยดาสังหรณ์ และธาตุโขพะนั้นก็มีสิ่งที่เรียกว่านิมิตอยู่ถึงสองจำพวก คือบุพพนิมิต ได้แก่นิมิตที่เกิดจากเหตุการณ์ในอดีตมาปรากฏให้เห็นอีกครั้งหนึ่ง และเทพยดาสังหรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องเทพยดาบอกเหตุให้ทราบ ดังเช่นที่ปรากฏในพงศาวดารไทยเมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ก็ปรากฏนิมิตเป็นเทพยดาสังหรณ์ขึ้นในความฝันของพระองค์ อันมีความหมายว่าจะมีการกระทำยุทธหัตถีระหว่างสองกษัตริย์ และพระองค์จะได้รับชัยชนะ เป็นต้น
ในตำราพิชัยสงครามของไทยซึ่งบรรดาแม่ทัพนายกองและเหล่าทหารถือเป็นหลักวิชาการในการทำศึกสงครามก็ได้ระบุถึงสิ่งที่ถือว่าเป็นนิมิตไว้หลายประการ เช่น การที่ผึ้งมาทำรังในบริเวณบ้าน หรือการปรากฏตัวขึ้นของสัตว์บางชนิด
ตำราพิชัยสงครามของไทยจำแนกสัตว์ออกเป็นสองสกุล คือสัตว์สกุลฝ่ายขวา เช่น นกยูง นกกระเรียน นกสาลิกา นกดุเหว่า ผึ้ง ม้า กวาง เสือโคร่ง หมี งูเหลือม เป็นต้น สกุลหนึ่ง และสัตว์สกุลฝ่ายซ้าย เช่น นกเงือก นกยางกรอก ไก่เถื่อน นกขุ้ม นกเขาไฟ งูเขียว งูลายสาบ เป็นต้น
หากสัตว์เหล่านี้ปรากฏขึ้นในยามดำเนินกระบวนสงคราม ณ เวลายามใดก็จะมีความหมายบ่งบอกเหตุล่วงหน้า โดยยามที่ว่านี้จะแบ่งเป็นกลางวัน 4 ยาม กลางคืน 4 ยาม จัดเป็นยามขวาและยามซ้าย
มีหลักในการพิเคราะห์ความหมายว่า ถ้าหากสัตว์สกุลขวามาปรากฏในยามขวา หรือสัตว์สกุลซ้ายมาปรากฏในยามซ้าย จะมีเหตุร้ายอยู่เบื้องหน้า ให้พึงระมัดระวังหลีกเลี่ยงหรือรั้งทัพเอาไว้ก่อน แล้วจัดเวรยามหน่วยลาดตระเวนให้จงดี
แต่ถ้าสัตว์สกุลขวามาปรากฏในยามซ้าย หรือสัตว์ในสกุลซ้ายมาปรากฏในยามขวาก็จะเป็นนิมิตหมายว่าจะมีชัยชนะอยู่เบื้องหน้า ข้าศึกกำลังอ่อนด้อย หรือหากเข้าตีแล้วจะมีชัยชนะให้เร่งยกไปเถิด
แม้กระทั่งปรากฏการณ์ของกลุ่มเมฆ ลม ฝุ่น ฝน ซึ่งปรากฏขึ้นในขณะเคลื่อนทัพหรือในการเดินทางหรือในการพักผ่อน เมื่อประกอบเข้ากับเวลาและยามแล้วก็ถือเป็นนิมิตหมายที่บ่งบอกความหมายได้มากหลายประการ
ในพงศาวดารการสงครามของไทยแม้แต่ในสามก๊กก็ปรากฏตัวอย่างของการพิเคราะห์ความศึกจากนิมิตที่ปรากฏโดยการต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นอันมาก หากผู้มีสติปัญญาหรือแม่ทัพนายกองมีความรู้เท่าทันกับปรากฏการณ์นั้นก็สามารถหลีกเลี่ยงเหตุร้าย แก้วิกฤตร้ายให้กลายเป็นดี หรือช่วงชิงชัยชนะได้อย่างงดงาม
ส่วนลางเป็นสิ่งบอกเหตุในทางร้าย การปรากฏขึ้นของลางจะไม่ค่อยมีความชัดเจนเหมือนกับนิมิต แต่เป็นเรื่องที่ปรากฏขึ้นในยามตื่นเสมอ มีน้อยนักที่จักปรากฏขึ้นในความฝัน
ที่ปรากฏในความฝันก็เฉพาะแต่จำพวกเดียว คือ กรณีที่เป็นเทพยดาสังหรณ์ เพื่อบอกเหตุล่วงหน้าแก่ผู้มีบุญญาบารมีว่าจะมีความร้ายเกิดขึ้นแต่ไม่อาจหลีกเลี่ยงความร้ายนั้นได้ เหลือแต่การบรรเทาผลร้ายจากการได้ล่วงรู้ข้างหน้า
ดังเช่นเมื่อครั้งที่กวนอูเสียทีแก่ข้าศึกและถูกประหารชีวิต ในค่ำนั้นพระเจ้าเล่าปี่ทรงฝันถึงกวนอูมาร้องทุกข์ว่าถูกข้าศึกทำร้ายเสียชีวิตแล้ว เป็นต้น หรือเมื่อครั้งที่โจโฉป่วยหนักแล้วฝันถึงบรรดาผู้คนที่เคยประหัตประหารผลาญชีวิตมาทวงเอาชีวิต โจโฉก็รู้ว่าชะตากรรมของตนมาถึงแล้ว ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงได้แต่สั่งเสียฝากความแผ่นดินไว้กับคนข้างหลัง
นั่นเป็นลางที่ปรากฏในความฝันโดยจำพวกเทพยดาสังหรณ์ แต่ถ้าหากปรากฏในยามตื่นก็จะเป็นการปรากฏที่มีลักษณะน่าหวาดกลัว น่าขนพองสยองเกล้า หรือในลักษณะที่แปลกประหลาด เช่น การพลั้งปากพูดในทางอัปมงคลที่ส่อไปในทางเสียชีวิต หรือการเห็นเงาหัวขาด ดังเช่นเมื่อครั้งที่ขุนไกรพ่อของขุนแผนจะออกจากเรือนแล้วมีผู้เห็นเงาหัวขาด ต่อมาก็ปรากฏว่าขุนไกรถูกประหาร
หรือแม้เมื่อครั้งตั๋งโต๊ะถูกหลอกให้เข้าเมืองแล้วบรรดาคนสนิทเห็นตั๋งโต๊ะไม่มีศีรษะ ในที่สุดตั๋งโต๊ะก็ถูกสังหาร เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีปรากฏการณ์ของการได้ยินเสียงคนร่ำไห้ในเวลากลางคืน หรือในยามวิเวก หรือการได้ยินเสียงจิ้งจกร้องทักก่อนออกไปทำการสำคัญ หรือการที่มีนกฮูก นกแฝก หรือนกแร้ง มาเกาะจับที่บ้าน แม้กระทั่งตัวต่อมาทำรังขนาดใหญ่ในบ้าน เหล่านี้ล้วนถือว่าเป็นลาง
เพราะเหตุที่ลางบ่งบอกความหมายไปในทางร้าย ดังนั้นเมื่อจะมีการใช้ถ้อยคำว่าลาง จึงมักจะมีคำต่อท้ายว่าลางร้ายควบคู่กันไป
ลางเป็นเรื่องที่บ่งบอกถึงภัย ทุกข์ และโรคที่จะบังเกิดขึ้น แต่ก็มีคติว่าความร้ายที่ว่านั้นสามารถขจัดปัดเป่าได้ด้วยอำนาจแห่งพระปริตร ดังนั้นจึงมีประเพณีสำหรับชาวพุทธในการสวดพระปริตรเพื่อขจัดปัดเป่าความอัปมงคลและความร้ายทั้งหลาย
ดังที่ปรากฏความในพระบาลีในคำอาราธนาพระปริตรว่า “วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะทุกขะ…สัพพะภะยะ…สัพพะโรคะ…วินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง”
ซึ่งแปลความได้ว่าขอพระสงฆ์ทั้งหลายจงสวดพระปริตรอันเป็นมงคลเพื่อป้องกันความวิบัติ เพื่อความสำเร็จในสมบัติทั้งปวง และเพื่อให้ทุกข์ทั้งปวง ให้ภัยทั้งปวง ให้โรคทั้งปวงพินาศไป
คนที่ถือแต่พิธีกรรมได้แต่เชื่อว่าเมื่อพระสงฆ์สวดพระปริตรแล้วความอัปมงคลคือภัยทุกข์และโรคที่จะปรากฏโดยการบอกเหตุของลางร้ายจะถูกป้องกันขจัดปัดเป่าหรือถึงซึ่งความพินาศไปด้วยอำนาจแห่งพระปริตร ซึ่งเป็นความเชื่อที่อาจทำให้เกิดความสบายใจได้เท่านั้น แต่จะเป็นผลจริงหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
การจะเป็นผลจริงตามพระปริตรได้ก็ต้องปฏิบัติตามพระคาถาทั้งหลายที่พระสงฆ์ได้สวดพระปริตรนั้น นั่นคือด้วยการกระทำ ด้วยการปฏิบัติ ทั้งกาย วาจา ใจ ตามพระธรรมคำสอนแห่งพระตถาคตเจ้า และบรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายที่ให้ละบาปบำเพ็ญบุญและทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว ทั้งนี้เนื่องจากความทั้งปวงอันพระสงฆ์ได้สวดพระปริตรนั้นก็คือคำสอนของพระตถาคตเจ้า หรือคำประกาศพระคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และความตั้งมั่นในศรัทธาที่มีต่อพระรัตนตรัย รวมทั้งการแผ่เมตตาต่อสรรพสัตว์และถึงซึ่งความไม่เบียดเบียนทำลายล้างกันด้วยประการทั้งปวง
และพึงสังเกตว่าก่อนที่พระสงฆ์จะสวดพระปริตรนั้นจะมีการสวดชุมนุมเทวดาก่อน เพื่อประกาศพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และเชิญชวนบรรดาทวยเทพยดาทั้งหลายให้ร่วมสดับพระธรรม เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติและบรรลุถึงธรรมอันประเสริฐ ดังนี้แล้วความเป็นอัปมงคลก็จะสูญสิ้นสลายไป
คติความเชื่อในเรื่องลางร้ายนั้นมีมาคู่กับสังคมไทยช้านานแล้ว ดังนั้นประเพณีการสวดพระปริตรจึงแพร่หลายทั้งฝ่ายราชสำนัก และอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวง จึงเป็นเหตุให้มีพิธีการสวดพระปริตรเป็นสองแบบ คือ มหาราชปริตรซึ่งพระสงฆ์ใช้สวดในการพระราชพิธีอย่างหนึ่ง และจุลราชปริตรหรือพระปริตรที่สำหรับพระสงฆ์ใช้สวดในพิธีการของชาวบ้านอีกอย่างหนึ่ง
การที่พระปริตรจะขจัดปัดเป่าทุกข์โศกโรคภัยได้จริงนั้นไม่ใช่ด้วยการฟังสวดแต่อย่างเดียว แต่ต้องด้วยความรู้ ด้วยความเข้าใจ และด้วยการประพฤติปฏิบัติตามคำสวดในพระปริตรนั้นด้วย ดังนี้แล้วพระปริตรจึงจะมีอานุภาพในการขจัดความอัปมงคลทั้งหลาย และถึงซึ่งความมงคลทั้งหลาย ขจัดและป้องกันวิบัติทั้งหลาย ถึงซึ่งสมบัติทั้งปวงได้จริง
หากถือเอาแต่แค่การฟังสวดก็จะกลายเป็นว่าการสวดพระปริตรมีลักษณะชนชั้น คือคนร่ำรวยสามารถนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระปริตรได้ทั้งวันทั้งคืน ในขณะที่ชาวบ้านอย่างเราท่านไม่สามารถกระทำได้ อย่างนี้แล้วพวกขี้ฉ้อทุศีลก็สามารถทำกรรมชั่วช้าลามกได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงบาปกรรม
เหล่าอธรรมและพวกขี้ฉ้อทุศีลทั้งหลายถึงจะฟังสวดพระปริตรก็ไม่มีผลในการขจัดอัปมงคลและวิบัติได้เลย เว้นแต่จะได้ประพฤติธรรมแห่งพระตถาคตเจ้าตามคำสวดในพระปริตรเท่านั้น
โดย สิริอัญญา
31 สิงหาคม 2548
ได้รับการขอร้องจากกองบรรณาธิการให้ช่วยวิสัชนาในปัญหาเรื่องนิมิต ลาง และอาเพศ โดยมีเหตุปรารภว่ามีท่านผู้สนใจได้ไต่ถามเกี่ยวกับเรื่องนิมิต ลาง และอาเพศ กันเป็นจำนวนมาก และยังมีความเข้าใจที่สับสนในเรื่องนิมิต ลาง และอาเพศว่าเป็นเรื่องเดียวกันหรือเป็นคนละเรื่อง รวมทั้งปัญหาที่ว่าบ้านเมืองของเราในทุกวันนี้มีอาเพศที่บอกเหตุร้ายดีประการใดหรือไม่
ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทำหน้าที่วิสัชนาในเรื่องนี้ตามที่ได้รับมอบหมาย ขออย่าได้ถือว่าเป็นเรื่องนำความงมงายมากล่าวในที่สาธารณะเลย เพราะเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เพิ่งมีมาในวันนี้ วานนี้ เสียเมื่อไหร่ หากเป็นเรื่องที่มีมาคู่กับสังคมไทยช้านานแล้ว
แต่โบราณมาถือว่าเรื่องเหล่านี้เป็นศาสตร์หรือเป็นความรู้อย่างหนึ่ง ซึ่งผู้มีหน้าที่บางอย่างจำเป็นจะต้องเรียน จะต้องรู้ และจะต้องใช้ เป็นแต่ว่าเวลาผ่านเนิ่นนานมาและการศึกษาแบบตะวันตกเข้ามากลบศาสตร์และภูมิปัญญาของคนโบราณไปจนแทบหมดสิ้น จึงทำให้สิ่งเหล่านี้ถูกดูหมิ่นถิ่นแคลนว่าเป็นเรื่องเหลวไหลงมงายไร้สาระ
อย่างน้อยก็จงถือตามคติที่ว่า “รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม” ก็จะเป็นประโยชน์กว่าที่จะเบือนหน้าปฏิเสธเสียทีเดียว หรืออีกอย่างหนึ่งก็อาจถือตามคติที่พระบาทสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ได้ทรงแนะเอาไว้ในบทพระราชนิพนธ์เรื่อง “ธรรมาธรรมะสงคราม” ที่ว่า “วาจาไร้สาระ สำหรับจะใช้แก้เหงา” ก็จะสบายใจกว่า
ในเบื้องแรกก็อยากจะทำความเข้าใจว่านิมิต ลาง และอาเพศ แม้จะมีถ้อยคำที่อาจทำให้เข้าใจไปได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกันแล้วเกิดความสับสนขึ้น ทำให้การสื่อข้อความในเรื่องเหล่านี้ก็คลาดเคลื่อนไปเป็นอันมาก แต่ความจริงเป็นเรื่องสามเรื่องที่แตกต่างกันเพียงแต่คล้ายคลึงกันเท่านั้น
ที่คล้ายคลึงกันก็คือคติที่ถือกันมาว่านิมิต ลาง และอาเพศเป็นสิ่งบอกเหตุล่วงหน้า ที่ต่างกันในสาระสำคัญก็คือนิมิตเป็นสิ่งบอกเหตุในทางดี ลางและอาเพศเป็นสิ่งบอกเหตุในทางร้าย
นิมิตและลางนั้นถือกันมาว่าเป็นสิ่งบอกเหตุล่วงหน้าในส่วนของบุคคล แต่อาเพศเป็นสิ่งบอกเหตุในทางร้ายเกี่ยวกับชะตากรรมของบ้านเมืองหรือผู้มีอำนาจในบ้านเมือง
ส่วนอะไรเป็นนิมิต อะไรเป็นลาง อะไรเป็นอาเพศจักได้วิสัชนาต่อไป
นิมิตแปลว่าเครื่องหมายหรือการปรากฏของเครื่องหมายบอกเหตุ หรือสิ่งที่ปรากฏขึ้นให้ถือเป็นหลักได้ ดังเช่นการฝังลูกนิมิตเพื่อเป็นหลักกำหนดเขตพัทธสีมา หรือนิมิตที่ปรากฏขึ้นกับจิตในขณะที่มีสมาธิบางระดับ เช่น อุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตเป็นต้น
แม้กระทั่งความประพฤติหรือการปฏิบัติบางอย่างที่เป็นหลักหมายของความดีหรือความชั่ว ดังเช่นที่ปรากฏในพุทธภาษิตที่ว่า “นิมิตตังสาธุรูปานัง กตัญญูกตเวทิตา” ซึ่งแปลว่าความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี
หรือแม้แต่การให้สังเกตนิมิตจากพฤติกรรมของคนที่ว่า คนที่ไม่มีวาจาสัตย์ย่อมไม่ใช่บัณฑิต หากเป็นคนพาลผู้ทุศีล เป็นต้น
แต่ในที่นี้นิมิตหมายถึงการปรากฏของสิ่งบอกเหตุ ทั้งในยามหลับและยามตื่น มีทั้งการปรากฏขึ้นของสัตว์ พืช ภาพ เสียง และปรากฏการณ์อื่น ๆ
ความฝันซึ่งจำแนกเป็นสี่จำพวกคือบุพนิมิต จิตนิวรณ์ เทพยดาสังหรณ์ และธาตุโขพะนั้นก็มีสิ่งที่เรียกว่านิมิตอยู่ถึงสองจำพวก คือบุพพนิมิต ได้แก่นิมิตที่เกิดจากเหตุการณ์ในอดีตมาปรากฏให้เห็นอีกครั้งหนึ่ง และเทพยดาสังหรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องเทพยดาบอกเหตุให้ทราบ ดังเช่นที่ปรากฏในพงศาวดารไทยเมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ก็ปรากฏนิมิตเป็นเทพยดาสังหรณ์ขึ้นในความฝันของพระองค์ อันมีความหมายว่าจะมีการกระทำยุทธหัตถีระหว่างสองกษัตริย์ และพระองค์จะได้รับชัยชนะ เป็นต้น
ในตำราพิชัยสงครามของไทยซึ่งบรรดาแม่ทัพนายกองและเหล่าทหารถือเป็นหลักวิชาการในการทำศึกสงครามก็ได้ระบุถึงสิ่งที่ถือว่าเป็นนิมิตไว้หลายประการ เช่น การที่ผึ้งมาทำรังในบริเวณบ้าน หรือการปรากฏตัวขึ้นของสัตว์บางชนิด
ตำราพิชัยสงครามของไทยจำแนกสัตว์ออกเป็นสองสกุล คือสัตว์สกุลฝ่ายขวา เช่น นกยูง นกกระเรียน นกสาลิกา นกดุเหว่า ผึ้ง ม้า กวาง เสือโคร่ง หมี งูเหลือม เป็นต้น สกุลหนึ่ง และสัตว์สกุลฝ่ายซ้าย เช่น นกเงือก นกยางกรอก ไก่เถื่อน นกขุ้ม นกเขาไฟ งูเขียว งูลายสาบ เป็นต้น
หากสัตว์เหล่านี้ปรากฏขึ้นในยามดำเนินกระบวนสงคราม ณ เวลายามใดก็จะมีความหมายบ่งบอกเหตุล่วงหน้า โดยยามที่ว่านี้จะแบ่งเป็นกลางวัน 4 ยาม กลางคืน 4 ยาม จัดเป็นยามขวาและยามซ้าย
มีหลักในการพิเคราะห์ความหมายว่า ถ้าหากสัตว์สกุลขวามาปรากฏในยามขวา หรือสัตว์สกุลซ้ายมาปรากฏในยามซ้าย จะมีเหตุร้ายอยู่เบื้องหน้า ให้พึงระมัดระวังหลีกเลี่ยงหรือรั้งทัพเอาไว้ก่อน แล้วจัดเวรยามหน่วยลาดตระเวนให้จงดี
แต่ถ้าสัตว์สกุลขวามาปรากฏในยามซ้าย หรือสัตว์ในสกุลซ้ายมาปรากฏในยามขวาก็จะเป็นนิมิตหมายว่าจะมีชัยชนะอยู่เบื้องหน้า ข้าศึกกำลังอ่อนด้อย หรือหากเข้าตีแล้วจะมีชัยชนะให้เร่งยกไปเถิด
แม้กระทั่งปรากฏการณ์ของกลุ่มเมฆ ลม ฝุ่น ฝน ซึ่งปรากฏขึ้นในขณะเคลื่อนทัพหรือในการเดินทางหรือในการพักผ่อน เมื่อประกอบเข้ากับเวลาและยามแล้วก็ถือเป็นนิมิตหมายที่บ่งบอกความหมายได้มากหลายประการ
ในพงศาวดารการสงครามของไทยแม้แต่ในสามก๊กก็ปรากฏตัวอย่างของการพิเคราะห์ความศึกจากนิมิตที่ปรากฏโดยการต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นอันมาก หากผู้มีสติปัญญาหรือแม่ทัพนายกองมีความรู้เท่าทันกับปรากฏการณ์นั้นก็สามารถหลีกเลี่ยงเหตุร้าย แก้วิกฤตร้ายให้กลายเป็นดี หรือช่วงชิงชัยชนะได้อย่างงดงาม
ส่วนลางเป็นสิ่งบอกเหตุในทางร้าย การปรากฏขึ้นของลางจะไม่ค่อยมีความชัดเจนเหมือนกับนิมิต แต่เป็นเรื่องที่ปรากฏขึ้นในยามตื่นเสมอ มีน้อยนักที่จักปรากฏขึ้นในความฝัน
ที่ปรากฏในความฝันก็เฉพาะแต่จำพวกเดียว คือ กรณีที่เป็นเทพยดาสังหรณ์ เพื่อบอกเหตุล่วงหน้าแก่ผู้มีบุญญาบารมีว่าจะมีความร้ายเกิดขึ้นแต่ไม่อาจหลีกเลี่ยงความร้ายนั้นได้ เหลือแต่การบรรเทาผลร้ายจากการได้ล่วงรู้ข้างหน้า
ดังเช่นเมื่อครั้งที่กวนอูเสียทีแก่ข้าศึกและถูกประหารชีวิต ในค่ำนั้นพระเจ้าเล่าปี่ทรงฝันถึงกวนอูมาร้องทุกข์ว่าถูกข้าศึกทำร้ายเสียชีวิตแล้ว เป็นต้น หรือเมื่อครั้งที่โจโฉป่วยหนักแล้วฝันถึงบรรดาผู้คนที่เคยประหัตประหารผลาญชีวิตมาทวงเอาชีวิต โจโฉก็รู้ว่าชะตากรรมของตนมาถึงแล้ว ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงได้แต่สั่งเสียฝากความแผ่นดินไว้กับคนข้างหลัง
นั่นเป็นลางที่ปรากฏในความฝันโดยจำพวกเทพยดาสังหรณ์ แต่ถ้าหากปรากฏในยามตื่นก็จะเป็นการปรากฏที่มีลักษณะน่าหวาดกลัว น่าขนพองสยองเกล้า หรือในลักษณะที่แปลกประหลาด เช่น การพลั้งปากพูดในทางอัปมงคลที่ส่อไปในทางเสียชีวิต หรือการเห็นเงาหัวขาด ดังเช่นเมื่อครั้งที่ขุนไกรพ่อของขุนแผนจะออกจากเรือนแล้วมีผู้เห็นเงาหัวขาด ต่อมาก็ปรากฏว่าขุนไกรถูกประหาร
หรือแม้เมื่อครั้งตั๋งโต๊ะถูกหลอกให้เข้าเมืองแล้วบรรดาคนสนิทเห็นตั๋งโต๊ะไม่มีศีรษะ ในที่สุดตั๋งโต๊ะก็ถูกสังหาร เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีปรากฏการณ์ของการได้ยินเสียงคนร่ำไห้ในเวลากลางคืน หรือในยามวิเวก หรือการได้ยินเสียงจิ้งจกร้องทักก่อนออกไปทำการสำคัญ หรือการที่มีนกฮูก นกแฝก หรือนกแร้ง มาเกาะจับที่บ้าน แม้กระทั่งตัวต่อมาทำรังขนาดใหญ่ในบ้าน เหล่านี้ล้วนถือว่าเป็นลาง
เพราะเหตุที่ลางบ่งบอกความหมายไปในทางร้าย ดังนั้นเมื่อจะมีการใช้ถ้อยคำว่าลาง จึงมักจะมีคำต่อท้ายว่าลางร้ายควบคู่กันไป
ลางเป็นเรื่องที่บ่งบอกถึงภัย ทุกข์ และโรคที่จะบังเกิดขึ้น แต่ก็มีคติว่าความร้ายที่ว่านั้นสามารถขจัดปัดเป่าได้ด้วยอำนาจแห่งพระปริตร ดังนั้นจึงมีประเพณีสำหรับชาวพุทธในการสวดพระปริตรเพื่อขจัดปัดเป่าความอัปมงคลและความร้ายทั้งหลาย
ดังที่ปรากฏความในพระบาลีในคำอาราธนาพระปริตรว่า “วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะทุกขะ…สัพพะภะยะ…สัพพะโรคะ…วินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง”
ซึ่งแปลความได้ว่าขอพระสงฆ์ทั้งหลายจงสวดพระปริตรอันเป็นมงคลเพื่อป้องกันความวิบัติ เพื่อความสำเร็จในสมบัติทั้งปวง และเพื่อให้ทุกข์ทั้งปวง ให้ภัยทั้งปวง ให้โรคทั้งปวงพินาศไป
คนที่ถือแต่พิธีกรรมได้แต่เชื่อว่าเมื่อพระสงฆ์สวดพระปริตรแล้วความอัปมงคลคือภัยทุกข์และโรคที่จะปรากฏโดยการบอกเหตุของลางร้ายจะถูกป้องกันขจัดปัดเป่าหรือถึงซึ่งความพินาศไปด้วยอำนาจแห่งพระปริตร ซึ่งเป็นความเชื่อที่อาจทำให้เกิดความสบายใจได้เท่านั้น แต่จะเป็นผลจริงหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
การจะเป็นผลจริงตามพระปริตรได้ก็ต้องปฏิบัติตามพระคาถาทั้งหลายที่พระสงฆ์ได้สวดพระปริตรนั้น นั่นคือด้วยการกระทำ ด้วยการปฏิบัติ ทั้งกาย วาจา ใจ ตามพระธรรมคำสอนแห่งพระตถาคตเจ้า และบรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายที่ให้ละบาปบำเพ็ญบุญและทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว ทั้งนี้เนื่องจากความทั้งปวงอันพระสงฆ์ได้สวดพระปริตรนั้นก็คือคำสอนของพระตถาคตเจ้า หรือคำประกาศพระคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และความตั้งมั่นในศรัทธาที่มีต่อพระรัตนตรัย รวมทั้งการแผ่เมตตาต่อสรรพสัตว์และถึงซึ่งความไม่เบียดเบียนทำลายล้างกันด้วยประการทั้งปวง
และพึงสังเกตว่าก่อนที่พระสงฆ์จะสวดพระปริตรนั้นจะมีการสวดชุมนุมเทวดาก่อน เพื่อประกาศพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และเชิญชวนบรรดาทวยเทพยดาทั้งหลายให้ร่วมสดับพระธรรม เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติและบรรลุถึงธรรมอันประเสริฐ ดังนี้แล้วความเป็นอัปมงคลก็จะสูญสิ้นสลายไป
คติความเชื่อในเรื่องลางร้ายนั้นมีมาคู่กับสังคมไทยช้านานแล้ว ดังนั้นประเพณีการสวดพระปริตรจึงแพร่หลายทั้งฝ่ายราชสำนัก และอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวง จึงเป็นเหตุให้มีพิธีการสวดพระปริตรเป็นสองแบบ คือ มหาราชปริตรซึ่งพระสงฆ์ใช้สวดในการพระราชพิธีอย่างหนึ่ง และจุลราชปริตรหรือพระปริตรที่สำหรับพระสงฆ์ใช้สวดในพิธีการของชาวบ้านอีกอย่างหนึ่ง
การที่พระปริตรจะขจัดปัดเป่าทุกข์โศกโรคภัยได้จริงนั้นไม่ใช่ด้วยการฟังสวดแต่อย่างเดียว แต่ต้องด้วยความรู้ ด้วยความเข้าใจ และด้วยการประพฤติปฏิบัติตามคำสวดในพระปริตรนั้นด้วย ดังนี้แล้วพระปริตรจึงจะมีอานุภาพในการขจัดความอัปมงคลทั้งหลาย และถึงซึ่งความมงคลทั้งหลาย ขจัดและป้องกันวิบัติทั้งหลาย ถึงซึ่งสมบัติทั้งปวงได้จริง
หากถือเอาแต่แค่การฟังสวดก็จะกลายเป็นว่าการสวดพระปริตรมีลักษณะชนชั้น คือคนร่ำรวยสามารถนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระปริตรได้ทั้งวันทั้งคืน ในขณะที่ชาวบ้านอย่างเราท่านไม่สามารถกระทำได้ อย่างนี้แล้วพวกขี้ฉ้อทุศีลก็สามารถทำกรรมชั่วช้าลามกได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงบาปกรรม
เหล่าอธรรมและพวกขี้ฉ้อทุศีลทั้งหลายถึงจะฟังสวดพระปริตรก็ไม่มีผลในการขจัดอัปมงคลและวิบัติได้เลย เว้นแต่จะได้ประพฤติธรรมแห่งพระตถาคตเจ้าตามคำสวดในพระปริตรเท่านั้น