ท่านองคมนตรี ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย ปรารภกับผมว่า น่าเสียดายที่เวลานี้ โรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่บางแห่งที่เคยมีการอบรมบ่มนิสัยนักเรียนแบบที่ครูเก่าๆ เช่น อาจารย์หมวก ไชยลังการ์ ทำได้หันไปเน้นด้านวิชาการมากขึ้น การอบรมแบบดั้งเดิมก็เลยลดลงไป
อาจารย์หมวก ดำเนินรอยตามพ่อครู Harris ที่ถือว่าการศึกษาคือการสร้างอุปนิสัยให้เด็กไม่ใช่ให้แต่ความรู้
สาเหตุสำคัญที่ทำให้โรงเรียนไม่อาจเน้นเรื่องการสร้างอุปนิสัยได้ ก็เป็นเพราะมีนักเรียนจำนวนมากถึง 4,000-5,000 คน อย่างหนึ่ง ไม่มีนักเรียนประจำอย่างหนึ่ง กับการแข่งขันกันเข้ามหาวิทยาลัยมีสูงอีกอย่างหนึ่ง
สมัยนี้ อย่าว่าแต่การสร้างอุปนิสัยเลย เอาแค่การควบคุมดูแลความประพฤติ พ่อ-แม่ และครูก็ต้องออกแรงมากกว่าในสมัยก่อนมาก
มีคนเล่าว่า เขามีหลานชายอยู่ชั้น ม. 1 มีเด็กผู้หญิงโทร.มาหาหลานที่บ้าน ย่าเป็นคนรับสาย เด็กผู้หญิงถามว่าใครพูดน่ะ เธอเป็นเมียหลวงเหรอ ฉันเนี่ยเป็นเมียน้อยนะ ต่อมาอีกวันปู่รับสาย เด็กผู้หญิงบอกว่า ช่วยเตือนให้เขาเอาถุงยางใส่กระเป๋ามาด้วยนะ
คนเล่ายืนยันว่าเป็นเรื่องจริง ผมฟังดูแล้วก็คิดว่าเด็กคงจะยั่วประสาทปู่-ย่าของเพื่อนเล่นมากกว่า แต่ก็คิดด้วยว่าเด็กสมัยนี้มีวิธีแปลกๆ
การอบรมเด็กแบบเก่า คือเมื่อ 50-60 ปีที่แล้ว ในเรื่องค่านิยมหลักๆ ไม่น่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง บางคนก็เห็นว่าค่านิยมบางอย่างเปลี่ยนไปได้ตามกาลเวลา เช่น การรักนวลสงวนตัว เป็นต้น แต่ค่านิยมกับคุณธรรมต่างกัน อุปนิสัยเป็นเรื่องของคุณธรรม ส่วนบุคลิกภาพเป็นเรื่องของค่านิยม การศึกษาควรเป็นเรื่องของการสร้างคุณธรรมมากกว่า หากคุณธรรมมีอยู่ในใจแล้ว บุคลิกภาพและลักษณะนิสัยที่ดีก็จะตามมาเอง
ที่วชิราวุธวิทยาลัย มีวิธีการอบรมบ่มนิสัยที่ชาญฉลาด สำหรับเด็กทุกคน การตรงต่อเวลา การไม่โกหก การไม่เอาของของ คนอื่น เป็นคุณธรรมสำคัญ พอโตขึ้นการอยู่ร่วมกันก็ทำให้เกิดความเสียสละ และการเล่นกีฬาทำให้เกิดความกล้า และความสามัคคี ส่วนความจงรักภักดี และความกตัญญูนั้น เด็กๆ จะได้รับการสั่งสอนอยู่เสมอ การมีเครื่องแบบ ต้องสวมเครื่องแบบช่วยให้นักเรียนรู้จักการวางตัว และรักษาเกียรติยศ
หากเด็กโรงเรียนไป-กลับ มี 4-5,000 คน และเรียนวิชาการจนถึงบ่ายสามโมง ครูจะเอาเวลาที่ไหนมาอบรมสั่งสอนนักเรียน สมัยนี้ครูที่คนเห็นว่าดีคือครูที่ติวเก่ง ไม่ค่อยมีคนพูดถึง ครูที่สอนให้เด็กเป็นคนดี ซ้ำร้ายเรายังได้ข่าวครูประท้วงเรียกร้องตำแหน่งให้แก่ตัวเองบ่อยๆ ไม่ค่อยจะได้ยินครูพูดถึงปัญหาของเด็ก มีแต่เรียกร้องให้แก้ปัญหาของครู
หากชีวิตครูอับเฉาเช่นนี้แล้ว จะหาครูที่ไหนมาเป็นแบบอย่างสำหรับเด็ก เราจึงต้องหันมาเน้นหน้าที่ของครอบครัวเป็นสำคัญ พ่อ-แม่ต้องให้เวลาลูกมากขึ้น แม้จะต้องทำงานทั้งสองคนก็ตาม
สมัยผมยังเด็ก ครูสอนผมเหมือนพ่อ-แม่สอน ทั้งกิริยามารยาท การรู้จักกาลเทศะ การสำรวมตน ครูมักจะสอนด้วยการยกตัวอย่าง บางทีก็เล่านิทาน บางทีก็เล่าประวัติบุคคลสำคัญ
ผมชอบสังเกตลักษณะนิสัยของครู อาจเป็นเพราะเราเป็นเด็กประจำ ผมจะจำได้ว่า ครูคนไหนแต่งกายอย่างไร ผมยังจำทรงผมของคุณครูผู้หญิงทุกคนได้ และการแต่งกายของครูผู้ชายได้ มีท่านหนึ่งสวมชุดสีกากีแบบข้าราชการมาสอนทุกวัน อีกท่านหนึ่งสวมเสื้อเชิ้ตแขนสั้น เนกไทสีดำตลอดเวลา ท่านเจ้าคุณภะรต หากสวมเสื้อแขนสั้น แขนก็จะยาวเกือบคลุมข้อศอก ส่วน ม.จ.วิเศษศักดิ์ ชยางกูร ทรงเสื้อนอกสีน้ำตาลอ่อน ยับยู่ยี่อยู่ชุดเดียว
พวกเราแต่งตัวเรียบร้อยตามอย่างท่านเจ้าคุณภะรต จนผมเองต้องสวมเสื้อเชิ้ตสีขาวยืนพื้นตลอดเวลา ไม่กล้าสวมเสื้อลาย นานๆ จะมีลายก็ต้องสีเรียบๆ
ปีนี้เรามีการสอนกิริยามารยาทของสุภาพบุรุษ เป็นการสอนอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก แต่เดิมเรามีการสอนวิชา มหาดเล็กหลวง คือการเสิร์ฟอาหาร การปฏิบัติตัวเมื่อต้องเข้ารับใช้ในวัง
ผมเชิญนักเรียนเก่า และบุคคลภายนอกที่ผมเห็นว่าเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น เพชรพริ้ง สารสิน มาสอนเด็กเรา นอกจากนั้นก็มีเพื่อนๆ ลูก จะได้คุยกับเด็กได้โดยไม่มีช่องว่างมากนัก
การที่เด็กอยู่ประจำทำให้เราสามารถจัดการศึกษาที่สมดุลได้ แต่โรงเรียนจะต้องรู้จักจัดกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องอื่นๆ มิฉะนั้นการมีโรงเรียนประจำก็จะทำให้เด็กใช้เวลาที่อยู่ในโรงเรียนดูหนังสือมากขึ้นเท่านั้นเอง
ที่วชิราวุธวิทยาลัย มีสมุดบันทึกเป็นปฏิทินกิจกรรมเมื่อเปิดดูแล้ว จะเห็นว่าทุกวันเด็กจะมีกิจกรรมมากมาย โดยเฉพาะกิจกรรมเพลิน เด็กๆ จะได้ทำงานที่เด็กชอบ และเป็นผู้เลือกเอง กิจกรรมเพลินจะพาเด็กไปดูงานโครงการพระราชดำริ ไปศูนย์กสิกรรม ไปอุทยานการเรียนรู้ ศึกษานิเวศวิทยาของป่าชายเลน ศึกษาศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ ดูนิทรรศการศิลปะ ทัศนศึกษาการตั้งถิ่นฐานเกาะรัตนโกสินทร์ ศึกษาหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ศึกษาสวนไม้ดอกไม้ประดับ ศึกษาศิลปวัฒนธรรมจีน ไปเสถียรธรรมสถาน ฝึกงานเกษตรที่สูง โครงการหลวงแม่สะเรียง ศึกษาป่าต้นน้ำ และการอนุรักษ์ทางทะเลที่ชุมพร เรียนรู้ชีวิตผู้ป่วยเอดส์ วัดพระบาทน้ำพุ เป็นต้น
กิจกรรมเหล่านี้ทำให้มีรายจ่ายมาก แค่ค่าเช่ารถก็วันละ 10,000 บาทแล้ว เวลานี้วชิราวุธวิทยาลัย ใช้เงินเฉลี่ยต่อนักเรียนหนึ่งคนปีละ 229,124 บาท ในขณะที่นักเรียนแต่ละคนจ่ายให้โรงเรียนเพียงปีละ 76,037 บาท เท่ากับนักเรียนทุกคนได้รับการอุดหนุนคนละ 153,087 บาทต่อปี
เรามีโค้ชกีฬา 50 คน มีครูดนตรี 42 คน มีครูวิชาการ 94 คน จะเห็นได้ว่าเรามีครูกีฬาและดนตรีเท่าๆ กับครูสอนวิชาการ
อาจารย์หมวก ดำเนินรอยตามพ่อครู Harris ที่ถือว่าการศึกษาคือการสร้างอุปนิสัยให้เด็กไม่ใช่ให้แต่ความรู้
สาเหตุสำคัญที่ทำให้โรงเรียนไม่อาจเน้นเรื่องการสร้างอุปนิสัยได้ ก็เป็นเพราะมีนักเรียนจำนวนมากถึง 4,000-5,000 คน อย่างหนึ่ง ไม่มีนักเรียนประจำอย่างหนึ่ง กับการแข่งขันกันเข้ามหาวิทยาลัยมีสูงอีกอย่างหนึ่ง
สมัยนี้ อย่าว่าแต่การสร้างอุปนิสัยเลย เอาแค่การควบคุมดูแลความประพฤติ พ่อ-แม่ และครูก็ต้องออกแรงมากกว่าในสมัยก่อนมาก
มีคนเล่าว่า เขามีหลานชายอยู่ชั้น ม. 1 มีเด็กผู้หญิงโทร.มาหาหลานที่บ้าน ย่าเป็นคนรับสาย เด็กผู้หญิงถามว่าใครพูดน่ะ เธอเป็นเมียหลวงเหรอ ฉันเนี่ยเป็นเมียน้อยนะ ต่อมาอีกวันปู่รับสาย เด็กผู้หญิงบอกว่า ช่วยเตือนให้เขาเอาถุงยางใส่กระเป๋ามาด้วยนะ
คนเล่ายืนยันว่าเป็นเรื่องจริง ผมฟังดูแล้วก็คิดว่าเด็กคงจะยั่วประสาทปู่-ย่าของเพื่อนเล่นมากกว่า แต่ก็คิดด้วยว่าเด็กสมัยนี้มีวิธีแปลกๆ
การอบรมเด็กแบบเก่า คือเมื่อ 50-60 ปีที่แล้ว ในเรื่องค่านิยมหลักๆ ไม่น่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง บางคนก็เห็นว่าค่านิยมบางอย่างเปลี่ยนไปได้ตามกาลเวลา เช่น การรักนวลสงวนตัว เป็นต้น แต่ค่านิยมกับคุณธรรมต่างกัน อุปนิสัยเป็นเรื่องของคุณธรรม ส่วนบุคลิกภาพเป็นเรื่องของค่านิยม การศึกษาควรเป็นเรื่องของการสร้างคุณธรรมมากกว่า หากคุณธรรมมีอยู่ในใจแล้ว บุคลิกภาพและลักษณะนิสัยที่ดีก็จะตามมาเอง
ที่วชิราวุธวิทยาลัย มีวิธีการอบรมบ่มนิสัยที่ชาญฉลาด สำหรับเด็กทุกคน การตรงต่อเวลา การไม่โกหก การไม่เอาของของ คนอื่น เป็นคุณธรรมสำคัญ พอโตขึ้นการอยู่ร่วมกันก็ทำให้เกิดความเสียสละ และการเล่นกีฬาทำให้เกิดความกล้า และความสามัคคี ส่วนความจงรักภักดี และความกตัญญูนั้น เด็กๆ จะได้รับการสั่งสอนอยู่เสมอ การมีเครื่องแบบ ต้องสวมเครื่องแบบช่วยให้นักเรียนรู้จักการวางตัว และรักษาเกียรติยศ
หากเด็กโรงเรียนไป-กลับ มี 4-5,000 คน และเรียนวิชาการจนถึงบ่ายสามโมง ครูจะเอาเวลาที่ไหนมาอบรมสั่งสอนนักเรียน สมัยนี้ครูที่คนเห็นว่าดีคือครูที่ติวเก่ง ไม่ค่อยมีคนพูดถึง ครูที่สอนให้เด็กเป็นคนดี ซ้ำร้ายเรายังได้ข่าวครูประท้วงเรียกร้องตำแหน่งให้แก่ตัวเองบ่อยๆ ไม่ค่อยจะได้ยินครูพูดถึงปัญหาของเด็ก มีแต่เรียกร้องให้แก้ปัญหาของครู
หากชีวิตครูอับเฉาเช่นนี้แล้ว จะหาครูที่ไหนมาเป็นแบบอย่างสำหรับเด็ก เราจึงต้องหันมาเน้นหน้าที่ของครอบครัวเป็นสำคัญ พ่อ-แม่ต้องให้เวลาลูกมากขึ้น แม้จะต้องทำงานทั้งสองคนก็ตาม
สมัยผมยังเด็ก ครูสอนผมเหมือนพ่อ-แม่สอน ทั้งกิริยามารยาท การรู้จักกาลเทศะ การสำรวมตน ครูมักจะสอนด้วยการยกตัวอย่าง บางทีก็เล่านิทาน บางทีก็เล่าประวัติบุคคลสำคัญ
ผมชอบสังเกตลักษณะนิสัยของครู อาจเป็นเพราะเราเป็นเด็กประจำ ผมจะจำได้ว่า ครูคนไหนแต่งกายอย่างไร ผมยังจำทรงผมของคุณครูผู้หญิงทุกคนได้ และการแต่งกายของครูผู้ชายได้ มีท่านหนึ่งสวมชุดสีกากีแบบข้าราชการมาสอนทุกวัน อีกท่านหนึ่งสวมเสื้อเชิ้ตแขนสั้น เนกไทสีดำตลอดเวลา ท่านเจ้าคุณภะรต หากสวมเสื้อแขนสั้น แขนก็จะยาวเกือบคลุมข้อศอก ส่วน ม.จ.วิเศษศักดิ์ ชยางกูร ทรงเสื้อนอกสีน้ำตาลอ่อน ยับยู่ยี่อยู่ชุดเดียว
พวกเราแต่งตัวเรียบร้อยตามอย่างท่านเจ้าคุณภะรต จนผมเองต้องสวมเสื้อเชิ้ตสีขาวยืนพื้นตลอดเวลา ไม่กล้าสวมเสื้อลาย นานๆ จะมีลายก็ต้องสีเรียบๆ
ปีนี้เรามีการสอนกิริยามารยาทของสุภาพบุรุษ เป็นการสอนอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก แต่เดิมเรามีการสอนวิชา มหาดเล็กหลวง คือการเสิร์ฟอาหาร การปฏิบัติตัวเมื่อต้องเข้ารับใช้ในวัง
ผมเชิญนักเรียนเก่า และบุคคลภายนอกที่ผมเห็นว่าเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น เพชรพริ้ง สารสิน มาสอนเด็กเรา นอกจากนั้นก็มีเพื่อนๆ ลูก จะได้คุยกับเด็กได้โดยไม่มีช่องว่างมากนัก
การที่เด็กอยู่ประจำทำให้เราสามารถจัดการศึกษาที่สมดุลได้ แต่โรงเรียนจะต้องรู้จักจัดกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องอื่นๆ มิฉะนั้นการมีโรงเรียนประจำก็จะทำให้เด็กใช้เวลาที่อยู่ในโรงเรียนดูหนังสือมากขึ้นเท่านั้นเอง
ที่วชิราวุธวิทยาลัย มีสมุดบันทึกเป็นปฏิทินกิจกรรมเมื่อเปิดดูแล้ว จะเห็นว่าทุกวันเด็กจะมีกิจกรรมมากมาย โดยเฉพาะกิจกรรมเพลิน เด็กๆ จะได้ทำงานที่เด็กชอบ และเป็นผู้เลือกเอง กิจกรรมเพลินจะพาเด็กไปดูงานโครงการพระราชดำริ ไปศูนย์กสิกรรม ไปอุทยานการเรียนรู้ ศึกษานิเวศวิทยาของป่าชายเลน ศึกษาศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ ดูนิทรรศการศิลปะ ทัศนศึกษาการตั้งถิ่นฐานเกาะรัตนโกสินทร์ ศึกษาหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ศึกษาสวนไม้ดอกไม้ประดับ ศึกษาศิลปวัฒนธรรมจีน ไปเสถียรธรรมสถาน ฝึกงานเกษตรที่สูง โครงการหลวงแม่สะเรียง ศึกษาป่าต้นน้ำ และการอนุรักษ์ทางทะเลที่ชุมพร เรียนรู้ชีวิตผู้ป่วยเอดส์ วัดพระบาทน้ำพุ เป็นต้น
กิจกรรมเหล่านี้ทำให้มีรายจ่ายมาก แค่ค่าเช่ารถก็วันละ 10,000 บาทแล้ว เวลานี้วชิราวุธวิทยาลัย ใช้เงินเฉลี่ยต่อนักเรียนหนึ่งคนปีละ 229,124 บาท ในขณะที่นักเรียนแต่ละคนจ่ายให้โรงเรียนเพียงปีละ 76,037 บาท เท่ากับนักเรียนทุกคนได้รับการอุดหนุนคนละ 153,087 บาทต่อปี
เรามีโค้ชกีฬา 50 คน มีครูดนตรี 42 คน มีครูวิชาการ 94 คน จะเห็นได้ว่าเรามีครูกีฬาและดนตรีเท่าๆ กับครูสอนวิชาการ