คนต่างชาติที่จะประกอบธุรกิจในประเทศไทยจำเป็นต้องเข้าใจกฎหมาย รวมถึงระเบียบหลักเกณฑ์ในประเทศไทย โดยเฉพาะกฎหมายธุรกิจของคนต่างด้าวซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรง
การดำเนินธุรกิจอย่างไรจึงจะถือเป็นธุรกิจของคนต่างด้าว หากเข้าข่ายต้องปฏิบัติตนอย่างไร กระบวนการที่ต้องดำเนินการ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายนี้ ธุรกิจนายหน้าตัวแทนอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายหรือไม่
กฎหมายธุรกิจของคนต่างด้าวเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในประเทศไทย มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 บัญญัติคนต่างด้าวแยกเป็น 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล โดยเป็นบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย และเป็นนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย รวมถึงนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยด้วย
สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ครอบคลุมทั้งนิติบุคคลซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนหรือลงทุนโดยบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทยหรือนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น และห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการเป็นบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย
คนต่างด้าวยังรวมถึงนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนหรือลงทุนมีมูลค่าตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้นถือโดยบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย นิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศ หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยดังกล่าวข้างต้นด้วย
คนต่างด้าวตามคุณสมบัติข้างต้นที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจในประเทศไทย ต้องปฏิบัติตามกฎหมายธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งบัญญัติประเภทธุรกิจตามบัญชีท้ายกฎหมายแยกเป็นบัญชีหนึ่ง บัญชีสอง และบัญชีสาม ซึ่งมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 บัญญัติห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจตามบัญชีหนึ่ง ขณะที่ธุรกิจตามบัญชีสองและบัญชีสามก็ห้ามคนต่างด้าวประกอบกิจการ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีสำหรับบัญชีสอง และเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวสำหรับบัญชีสาม
กิจการนายหน้าตัวแทนอยู่ภายใต้บัญชีสาม (11) ที่บัญญัติ การทำกิจการนายหน้าหรือตัวแทน ยกเว้น
(1)การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริการที่เกี่ยวกับการซื้อขายล่วงหน้าซึ่งสินค้าเกษตรหรือตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์
(2)การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหรือจัดหาสินค้าหรือบริการที่จำเป็นต่อการผลิตหรือการให้บริการของวิสาหกิจในเครือเดียวกัน
(3)การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขาย จัดซื้อหรือจัดจำหน่ายหรือจัดหาตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อการจำหน่าย ซึ่งสินค้าที่ผลิตในประเทศหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศอันมีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ โดยมีทุนขั้นต่ำของคนต่างด้าวตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป
(4)การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ดังนั้นการทำธุรกิจนายหน้าหรือตัวแทนตามข้อยกเว้นไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว แต่หากไม่เข้าข้อยกเว้นก็ต้องยื่นขอใบอนุญาตฯจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งมีตัวอย่างกรณีปัญหา ดังนี้
กรณีที่หนึ่ง บริษัทเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศไทย แต่มีสถานะเป็นคนต่างด้าวประกอบธุรกิจการค้าส่งออกสินค้า บริษัทประสงค์จะสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทในเครือที่อยู่ต่างประเทศ เพื่อจำหน่ายให้ลูกค้าที่อยู่ในต่างประเทศเช่นเดียวกัน โดยให้บริษัทในเครือที่จำหน่ายสินค้าให้บริษัทเป็นผู้จัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าของบริษัทโดยตรง สินค้าดังกล่าวจะไม่ผ่านเข้ามาในประเทศไทย สำหรับใบสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทในเครือ และใบส่งของให้แก่ลูกค้า บริษัทจะเป็นผู้ดำเนินการเอง บริษัทจะต้องขออนุญาตหรือไม่
กระบวนการที่ดำเนินการข้างต้นเข้าข่ายเป็นการทำกิจการนายหน้าหรือตัวแทนตามบัญชีสาม (11) ที่ต้องขออนุญาต เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น
กรณีที่สอง บริษัทเป็นนิติบุคคลต่างด้าวได้รับหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกทุกชนิด นอกจากการค้าผลิตผลทางเกษตรพื้นเมืองที่กำหนดในบัญชี ก และ ค ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 บริษัทประสงค์จะประกอบธุรกิจการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขาย จัดซื้อ หรือจัดจำหน่าย หรือจัดหาตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ผลิตในประเทศ หรือนำเข้าจากต่างประเทศ อันมีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ เนื่องจากบริษัทมีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท ธุรกิจดังกล่าวเป็นธุรกิจได้รับยกเว้นตามบัญชีสาม (11) (ค) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 หรือไม่
บริษัทเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศ มีทุนจดทะเบียนจำนวน 200 ล้านบาท ทำให้ธุรกิจนายหน้าหรือตัวแทนที่บริษัทจะประกอบกิจการเป็นธุรกิจที่ได้รับยกเว้น ไม่ถือเป็นธุรกิจตามบัญชีท้ายพระราชบัญญํติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 บริษัทจึงสามารถประกอบธุรกิจดังกล่าวได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
กรณีที่สาม บริษัทเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนที่ประเทศญี่ปุ่น ได้รับใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ให้ประกอบธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง และส่งออกสินค้า ปัจจุบันบริษัทได้ประกอบธุรกิจค้าส่ง นำเข้า และส่งออกสินค้าประเภทสิ่งทอ อาหาร ยาง กระดาษ ไม้ เหล็ก เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ พลาสติก น้ำมันดิบ และก๊าซ มีความประสงค์จะประกอบธุรกิจนายหน้าและตัวแทนตามบัญชีสาม (11) (ข) และ (ค) ท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 โดยบริษัทมีกำไรสะสมตามงบดุลถึงปัจจุบันกว่า 500 ล้านบาท บริษัทมิสิทธิเริ่มประกอบธุรกิจตัวแทนนายหน้าในสินค้าดังกล่าวได้หรือไม่
ธุรกิจการเป็นนายหน้าและตัวแทนซื้อขาย หรือจัดหาสินค้าหรือบริการ ที่จำเป็นต่อการผลิต หรือการให้บริการของวิสาหกิจในเครือเดียวกันเป็นธุรกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ควบคุมตามที่กำหนดไว้ในบัญชีสาม (11) (ข) ท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 คนต่างด้าวจึงประกอบธุรกิจนี้ได้โดยไม่ต้องขอรับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้งนี้ ในการประกอบธุรกิจดังกล่าวจะต้องมีทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท
ธุรกิจการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขาย จัดซื้อ หรือจำหน่าย หรือจัดหาตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อการจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ผลิตในประเทศ หรือนำเข้าจากต่างประเทศ อันมีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศที่มีทุนขั้นต่ำไม่ถึง 100 ล้านบาทเป็นธุรกิจควบคุม ซึ่งคนต่างด้าวต้องได้รับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก่อน จึงจะประกอบธุรกิจดังกล่าวได้ แต่หากมีทุนขั้นต่ำตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไปเป็นธุรกิจที่ได้รับยกเว้น ไม่ควบคุมตามที่กำหนดไว้ในบัญชีสาม (11) (ค)
ทุนขั้นต่ำสำหรับนิติบุคคลซึ่งมิได้จดทะเบียนในประเทศไทยจะต้องเป็นเงินตราต่างประเทศที่นำหรือส่งเข้ามาจากต่างประเทศ แต่ถ้าคนต่างด้าวใดประกอบธุรกิจในประเทศมาแล้ว มีรายได้เป็นเงินหรือทรัพย์สิน และได้นำเงินหรือทรัพย์สินนั้นไปเริ่ม หรือลงทุนประกอบธุรกิจอื่น คนต่างด้าวนั้นก็จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำหรือส่งเงินตราต่างประเทศเข้ามาจากต่างประเทศตามจำนวนทุนขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด
สำหรับรายได้ของบริษัทที่แสดงในรูปของบัญชีกำไรสะสมตามปัญหามิได้คงสภาพเป็นเงินหรือทรัพย์สินที่สามารถจะนำไปเริ่ม หรือลงทุนในการประกอบธุรกิจอื่นได้ บริษัทจึงไม่ได้สิทธิยกเว้นจำนวนทุนขั้นต่ำตามมาตรา 14 วรรคท้าย และไม่สามารถเริ่มประกอบธุรกิจบัญชีสาม (11) (ค) ได้ เว้นแต่บริษัทจะมีทุนขั้นต่ำเป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งนำหรือส่งเข้ามาจากต่างประเทศตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป หรือกรณีทุนขั้นต่ำไม่ถึง 100 ล้านบาท ก็จะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของต่างด้าวจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก่อน จึงจะเริ่มประกอบธุรกิจได้
ฉะนั้น กิจการนายหน้าหรือตัวแทนในประเทศไทยของคนต่างด้าวจึงเป็นกิจการภายใต้กฎหมายธุรกิจของคนต่างด้าวที่ต้องขออนุญาตก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะเริ่มประกอบการได้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น จึงจะไม่ต้องขออนุญาตเพื่อประกอบการ ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณารายละเอียดของธุรกิจที่ประสงค์จะประกอบการว่าเข้าข่าย หรือไม่เข้าข่ายนั้น เป็นกรณี ๆ ไป
การดำเนินธุรกิจอย่างไรจึงจะถือเป็นธุรกิจของคนต่างด้าว หากเข้าข่ายต้องปฏิบัติตนอย่างไร กระบวนการที่ต้องดำเนินการ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายนี้ ธุรกิจนายหน้าตัวแทนอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายหรือไม่
กฎหมายธุรกิจของคนต่างด้าวเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในประเทศไทย มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 บัญญัติคนต่างด้าวแยกเป็น 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล โดยเป็นบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย และเป็นนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย รวมถึงนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยด้วย
สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ครอบคลุมทั้งนิติบุคคลซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนหรือลงทุนโดยบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทยหรือนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น และห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการเป็นบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย
คนต่างด้าวยังรวมถึงนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนหรือลงทุนมีมูลค่าตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้นถือโดยบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย นิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศ หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยดังกล่าวข้างต้นด้วย
คนต่างด้าวตามคุณสมบัติข้างต้นที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจในประเทศไทย ต้องปฏิบัติตามกฎหมายธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งบัญญัติประเภทธุรกิจตามบัญชีท้ายกฎหมายแยกเป็นบัญชีหนึ่ง บัญชีสอง และบัญชีสาม ซึ่งมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 บัญญัติห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจตามบัญชีหนึ่ง ขณะที่ธุรกิจตามบัญชีสองและบัญชีสามก็ห้ามคนต่างด้าวประกอบกิจการ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีสำหรับบัญชีสอง และเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวสำหรับบัญชีสาม
กิจการนายหน้าตัวแทนอยู่ภายใต้บัญชีสาม (11) ที่บัญญัติ การทำกิจการนายหน้าหรือตัวแทน ยกเว้น
(1)การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริการที่เกี่ยวกับการซื้อขายล่วงหน้าซึ่งสินค้าเกษตรหรือตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์
(2)การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหรือจัดหาสินค้าหรือบริการที่จำเป็นต่อการผลิตหรือการให้บริการของวิสาหกิจในเครือเดียวกัน
(3)การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขาย จัดซื้อหรือจัดจำหน่ายหรือจัดหาตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อการจำหน่าย ซึ่งสินค้าที่ผลิตในประเทศหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศอันมีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ โดยมีทุนขั้นต่ำของคนต่างด้าวตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป
(4)การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ดังนั้นการทำธุรกิจนายหน้าหรือตัวแทนตามข้อยกเว้นไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว แต่หากไม่เข้าข้อยกเว้นก็ต้องยื่นขอใบอนุญาตฯจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งมีตัวอย่างกรณีปัญหา ดังนี้
กรณีที่หนึ่ง บริษัทเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศไทย แต่มีสถานะเป็นคนต่างด้าวประกอบธุรกิจการค้าส่งออกสินค้า บริษัทประสงค์จะสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทในเครือที่อยู่ต่างประเทศ เพื่อจำหน่ายให้ลูกค้าที่อยู่ในต่างประเทศเช่นเดียวกัน โดยให้บริษัทในเครือที่จำหน่ายสินค้าให้บริษัทเป็นผู้จัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าของบริษัทโดยตรง สินค้าดังกล่าวจะไม่ผ่านเข้ามาในประเทศไทย สำหรับใบสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทในเครือ และใบส่งของให้แก่ลูกค้า บริษัทจะเป็นผู้ดำเนินการเอง บริษัทจะต้องขออนุญาตหรือไม่
กระบวนการที่ดำเนินการข้างต้นเข้าข่ายเป็นการทำกิจการนายหน้าหรือตัวแทนตามบัญชีสาม (11) ที่ต้องขออนุญาต เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น
กรณีที่สอง บริษัทเป็นนิติบุคคลต่างด้าวได้รับหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกทุกชนิด นอกจากการค้าผลิตผลทางเกษตรพื้นเมืองที่กำหนดในบัญชี ก และ ค ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 บริษัทประสงค์จะประกอบธุรกิจการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขาย จัดซื้อ หรือจัดจำหน่าย หรือจัดหาตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ผลิตในประเทศ หรือนำเข้าจากต่างประเทศ อันมีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ เนื่องจากบริษัทมีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท ธุรกิจดังกล่าวเป็นธุรกิจได้รับยกเว้นตามบัญชีสาม (11) (ค) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 หรือไม่
บริษัทเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศ มีทุนจดทะเบียนจำนวน 200 ล้านบาท ทำให้ธุรกิจนายหน้าหรือตัวแทนที่บริษัทจะประกอบกิจการเป็นธุรกิจที่ได้รับยกเว้น ไม่ถือเป็นธุรกิจตามบัญชีท้ายพระราชบัญญํติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 บริษัทจึงสามารถประกอบธุรกิจดังกล่าวได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
กรณีที่สาม บริษัทเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนที่ประเทศญี่ปุ่น ได้รับใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ให้ประกอบธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง และส่งออกสินค้า ปัจจุบันบริษัทได้ประกอบธุรกิจค้าส่ง นำเข้า และส่งออกสินค้าประเภทสิ่งทอ อาหาร ยาง กระดาษ ไม้ เหล็ก เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ พลาสติก น้ำมันดิบ และก๊าซ มีความประสงค์จะประกอบธุรกิจนายหน้าและตัวแทนตามบัญชีสาม (11) (ข) และ (ค) ท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 โดยบริษัทมีกำไรสะสมตามงบดุลถึงปัจจุบันกว่า 500 ล้านบาท บริษัทมิสิทธิเริ่มประกอบธุรกิจตัวแทนนายหน้าในสินค้าดังกล่าวได้หรือไม่
ธุรกิจการเป็นนายหน้าและตัวแทนซื้อขาย หรือจัดหาสินค้าหรือบริการ ที่จำเป็นต่อการผลิต หรือการให้บริการของวิสาหกิจในเครือเดียวกันเป็นธุรกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ควบคุมตามที่กำหนดไว้ในบัญชีสาม (11) (ข) ท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 คนต่างด้าวจึงประกอบธุรกิจนี้ได้โดยไม่ต้องขอรับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้งนี้ ในการประกอบธุรกิจดังกล่าวจะต้องมีทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท
ธุรกิจการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขาย จัดซื้อ หรือจำหน่าย หรือจัดหาตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อการจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ผลิตในประเทศ หรือนำเข้าจากต่างประเทศ อันมีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศที่มีทุนขั้นต่ำไม่ถึง 100 ล้านบาทเป็นธุรกิจควบคุม ซึ่งคนต่างด้าวต้องได้รับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก่อน จึงจะประกอบธุรกิจดังกล่าวได้ แต่หากมีทุนขั้นต่ำตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไปเป็นธุรกิจที่ได้รับยกเว้น ไม่ควบคุมตามที่กำหนดไว้ในบัญชีสาม (11) (ค)
ทุนขั้นต่ำสำหรับนิติบุคคลซึ่งมิได้จดทะเบียนในประเทศไทยจะต้องเป็นเงินตราต่างประเทศที่นำหรือส่งเข้ามาจากต่างประเทศ แต่ถ้าคนต่างด้าวใดประกอบธุรกิจในประเทศมาแล้ว มีรายได้เป็นเงินหรือทรัพย์สิน และได้นำเงินหรือทรัพย์สินนั้นไปเริ่ม หรือลงทุนประกอบธุรกิจอื่น คนต่างด้าวนั้นก็จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำหรือส่งเงินตราต่างประเทศเข้ามาจากต่างประเทศตามจำนวนทุนขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด
สำหรับรายได้ของบริษัทที่แสดงในรูปของบัญชีกำไรสะสมตามปัญหามิได้คงสภาพเป็นเงินหรือทรัพย์สินที่สามารถจะนำไปเริ่ม หรือลงทุนในการประกอบธุรกิจอื่นได้ บริษัทจึงไม่ได้สิทธิยกเว้นจำนวนทุนขั้นต่ำตามมาตรา 14 วรรคท้าย และไม่สามารถเริ่มประกอบธุรกิจบัญชีสาม (11) (ค) ได้ เว้นแต่บริษัทจะมีทุนขั้นต่ำเป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งนำหรือส่งเข้ามาจากต่างประเทศตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป หรือกรณีทุนขั้นต่ำไม่ถึง 100 ล้านบาท ก็จะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของต่างด้าวจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก่อน จึงจะเริ่มประกอบธุรกิจได้
ฉะนั้น กิจการนายหน้าหรือตัวแทนในประเทศไทยของคนต่างด้าวจึงเป็นกิจการภายใต้กฎหมายธุรกิจของคนต่างด้าวที่ต้องขออนุญาตก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะเริ่มประกอบการได้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น จึงจะไม่ต้องขออนุญาตเพื่อประกอบการ ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณารายละเอียดของธุรกิจที่ประสงค์จะประกอบการว่าเข้าข่าย หรือไม่เข้าข่ายนั้น เป็นกรณี ๆ ไป