สภาการหนังสือพิมพ์ฯจวก"ทักษิณ"ชูป้ายส่งสัญญาณว่า คำถามสร้างสรรค์ หรือไม่สร้างสรรค์ เป็นการสบประมาท และดูถูกสถาบันสื่อมวลชนโดยรวม
เมื่อวานนี้ (26ส.ค.)สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้มีการประชุมคณะกรรมการฯ ร่วมกับที่ปรึกษาคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ โดยนายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ประธานสภาการหนังสือพิมพ์ฯ กล่าวภายหลังการประชุม ว่า ได้หยิบยกกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จัดการแถลงข่าว"นายกฯทักษิณ พบสื่อมวลชน"ที่ทำเนียบรัฐบาล หารือโดยที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่า การจัดแถลงข่าวในลักษณะนี้ เป็นข้อเสนอที่ฝ่ายวิชาชีพได้เสนอไปนานแล้ว แต่มิได้รับการตอบรับ เมื่อมีการดำเนินการก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่รัฐบาลไม่ควรสร้างภาพว่าเป็นสิ่งใหม่ที่รัฐบาลเป็นผู้ให้แก่สื่อมวลชน เป็นของที่นึกจะให้ก็ให้ ไม่อยากให้ก็ไม่ให้
นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า ต้องการเห็นการให้สัมภาษณ์ เป็นไปอย่างถูกต้อง และให้การเสนอเนื้อหาจากการให้สัมภาษณ์นั้นถูกต้อง เป็นประโยชน์ เป็นการตอบคำถามที่ตรงไปตรงมา ชัดเจน ไม่เป๋ไปมาตามอารมณ์ หรือเล่นลิ้น รวมทั้งไม่ต้องการให้มีท่าทีของการดูหมิ่นดูแคลน
อย่างไรก็ตามในการจัดแถลงข่าวครั้งนี้ สิ่งที่ปรากฏขึ้นมาดูเหมือนว่า นายกรัฐมนตรีนึกสนุก และคิดว่าตนเองเป็นเจ้าของการให้สัมภาษณ์ เป็นเจ้าของความถูกต้องดีงาม เป็นเจ้าของคำถามคำตอบ และเป็นเจ้าของข่าวทั้งหมด ข่าวใดสร้างสรรค์ ข่าวใดไม่สร้างสรรค์ ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีสิทธิที่จะคิดเช่นนั้นได้ในใจ แต่มิใช่ใช้วิธีการแสดงออกโดยยกป้ายบอกว่า คำถามนั้นๆ สร้างสรรค์ หรือไม่สร้างสรรค์
"ผู้แถลงข่าวคนใดก็ตามไม่มีสิทธิเลือกคำถาม เลือกข่าวว่า สร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีในประเทศเผด็จการ หรือประชาธิปไตยก็แล้วแต่ หน้าที่ในการให้สัมภาษณ์ในการประชุมแถลงข่าวนั้นคือ การตอบคำถามหรือไม่ตอบคำถาม การตอบคำถาม จะตอบมาก หรือตอบน้อย ตอบผิดตอบถูก ตอบฉลาดหรือ ตอบโง่ เป็นหน้าที่ของผู้แถลง แต่ผู้แถลงไม่มีหน้าที่วินิจฉัยตั้งแต่เริ่มต้นว่า คำถามใดไม่สร้างสรรค์ หากทำเช่นนั้นต่อไป ก็จะวินิจฉัยว่าคำถามใดบ่อนทำลายชาติ เป็นคำถามของอาชญากร หรือของคนดี นายกรัฐมนตรีหรือใครก็ตาม ไม่มีสิทธิที่จะบอกว่า ในคำถามซึ่งมีหลายคำถาม หลายแง่มุมนั้น เป็นคำถามที่ไม่สร้างสรรค์ เพราะในคำถาม หนึ่ง ซึ่งจะมี 10 คำตอบ หรือ 100 คำตอบได้ การกระทำเช่นนี้ ถือว่าเป็นการสบประมาท และเป็นการดูถูกสถาบันสื่อมวลชนโดยรวม และที่น่าอดสูใจเป็นอย่างยิ่งก็คือ ในการประชุมแถลงข่าวดังกล่าวไม่ได้มีเฉพาะผู้สื่อข่าวของไทย ซึ่งนายกรัฐมนตรีถือเป็นลูกไล่เท่านั้น แต่ยังมีผู้สื่อข่าวต่างประเทศรวมอยู่ด้วย การที่ผู้นำของประเทศประชาธิปไตยประเทศหนึ่งได้แสดงท่าทีต่อสื่อมวลชนเช่นนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงระบบการปกครองของประเทศนั้นออกไปสู่สายตาของโลกภายนอกด้วย" ประธานสภาการหนังสือพิมพ์ฯ กล่าว
ขณะที่ นายคริสโตเฟอร์ วอร์เรน ประธานสมาพันธ์นักข่าวระหว่างประเทศ ได้เปิดแถลงข่าวประนามการกระทำของ พ.ต.ท.ทักษิณเช่นเดียวกัน "กิริยาไม่คาดฝันของนายกรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ (25)ถือเป็นการล้อเลียน และคุกคามสื่อมวลชน เพื่อนำไปสู่การถามเฉพาะคำถามที่เขาพึงพอใจ"วอร์เรนกล่าว และว่า การแถลงข่าวควรจัดขึ้นเพื่อทำให้นักข่าวสามารถเข้าถึงข้อมูลของรัฐบาล และตรวจสอบรัฐบาลได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ทำให้นักข่าวหวาดกลัวเกินกว่าจะถามคำถาม
ด้านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงผลสะท้อนจากการ จัดรายการนายกฯทักษิณพบสื่อ ว่า ส่วนใหญ่ก็บอกว่าดี แต่ก็มีบางสื่อบอกว่าไม่ดี เลยไม่รู้ว่ามางานเดียวกันหรือเปล่า ส่วนที่นำเอาป้ายเครื่องหมายคำถามสร้างสรรค์ และไม่สร้างสรรค์มาใช้นั้น เพราะไม่อยากให้เครียด ก็ต้องมีของเล่นบ้างเท่านั้นเอง
ส่วนที่มีเสียงครหาว่านายกรัฐมนตรีจะชี้เรียกเฉพาะสื่อนอกทำเนียบฯนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็สื่อทำเนียบฯไม่ยกมือ ก็ชี้เฉพาะคนที่ยกมือ ถ้าผู้สื่อข่าวทำเนียบฯยกมือก็จะรีบชี้ทันที แต่ส่วนใหญ่สื่อต่างประเทศจะชิงยกมือก่อน อย่างไรก็ตามต่อไปจะพยายามจัดให้ถามเป็นหมวดหมู่ ว่าช่วงไหนเป็นเรื่องเศรษฐกิจ ช่วงไหนเป็นเรื่องของสังคม หรือช่วงของการเมือง
สำหรับสัปดาห์หน้าจะงด 1 ครั้ง เพราะต้องเดินทางไปญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 30 ส.ค.-1 ก.ย.จะเริ่มครั้งต่อไปในวันที่ 8 ก.ย.และเว้นในวันที่ 15 ก.ย.เพราะอยู่ระหว่างการเดินทางไปสหรัฐฯ
เมื่อวานนี้ (26ส.ค.)สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้มีการประชุมคณะกรรมการฯ ร่วมกับที่ปรึกษาคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ โดยนายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ประธานสภาการหนังสือพิมพ์ฯ กล่าวภายหลังการประชุม ว่า ได้หยิบยกกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จัดการแถลงข่าว"นายกฯทักษิณ พบสื่อมวลชน"ที่ทำเนียบรัฐบาล หารือโดยที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่า การจัดแถลงข่าวในลักษณะนี้ เป็นข้อเสนอที่ฝ่ายวิชาชีพได้เสนอไปนานแล้ว แต่มิได้รับการตอบรับ เมื่อมีการดำเนินการก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่รัฐบาลไม่ควรสร้างภาพว่าเป็นสิ่งใหม่ที่รัฐบาลเป็นผู้ให้แก่สื่อมวลชน เป็นของที่นึกจะให้ก็ให้ ไม่อยากให้ก็ไม่ให้
นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า ต้องการเห็นการให้สัมภาษณ์ เป็นไปอย่างถูกต้อง และให้การเสนอเนื้อหาจากการให้สัมภาษณ์นั้นถูกต้อง เป็นประโยชน์ เป็นการตอบคำถามที่ตรงไปตรงมา ชัดเจน ไม่เป๋ไปมาตามอารมณ์ หรือเล่นลิ้น รวมทั้งไม่ต้องการให้มีท่าทีของการดูหมิ่นดูแคลน
อย่างไรก็ตามในการจัดแถลงข่าวครั้งนี้ สิ่งที่ปรากฏขึ้นมาดูเหมือนว่า นายกรัฐมนตรีนึกสนุก และคิดว่าตนเองเป็นเจ้าของการให้สัมภาษณ์ เป็นเจ้าของความถูกต้องดีงาม เป็นเจ้าของคำถามคำตอบ และเป็นเจ้าของข่าวทั้งหมด ข่าวใดสร้างสรรค์ ข่าวใดไม่สร้างสรรค์ ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีสิทธิที่จะคิดเช่นนั้นได้ในใจ แต่มิใช่ใช้วิธีการแสดงออกโดยยกป้ายบอกว่า คำถามนั้นๆ สร้างสรรค์ หรือไม่สร้างสรรค์
"ผู้แถลงข่าวคนใดก็ตามไม่มีสิทธิเลือกคำถาม เลือกข่าวว่า สร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีในประเทศเผด็จการ หรือประชาธิปไตยก็แล้วแต่ หน้าที่ในการให้สัมภาษณ์ในการประชุมแถลงข่าวนั้นคือ การตอบคำถามหรือไม่ตอบคำถาม การตอบคำถาม จะตอบมาก หรือตอบน้อย ตอบผิดตอบถูก ตอบฉลาดหรือ ตอบโง่ เป็นหน้าที่ของผู้แถลง แต่ผู้แถลงไม่มีหน้าที่วินิจฉัยตั้งแต่เริ่มต้นว่า คำถามใดไม่สร้างสรรค์ หากทำเช่นนั้นต่อไป ก็จะวินิจฉัยว่าคำถามใดบ่อนทำลายชาติ เป็นคำถามของอาชญากร หรือของคนดี นายกรัฐมนตรีหรือใครก็ตาม ไม่มีสิทธิที่จะบอกว่า ในคำถามซึ่งมีหลายคำถาม หลายแง่มุมนั้น เป็นคำถามที่ไม่สร้างสรรค์ เพราะในคำถาม หนึ่ง ซึ่งจะมี 10 คำตอบ หรือ 100 คำตอบได้ การกระทำเช่นนี้ ถือว่าเป็นการสบประมาท และเป็นการดูถูกสถาบันสื่อมวลชนโดยรวม และที่น่าอดสูใจเป็นอย่างยิ่งก็คือ ในการประชุมแถลงข่าวดังกล่าวไม่ได้มีเฉพาะผู้สื่อข่าวของไทย ซึ่งนายกรัฐมนตรีถือเป็นลูกไล่เท่านั้น แต่ยังมีผู้สื่อข่าวต่างประเทศรวมอยู่ด้วย การที่ผู้นำของประเทศประชาธิปไตยประเทศหนึ่งได้แสดงท่าทีต่อสื่อมวลชนเช่นนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงระบบการปกครองของประเทศนั้นออกไปสู่สายตาของโลกภายนอกด้วย" ประธานสภาการหนังสือพิมพ์ฯ กล่าว
ขณะที่ นายคริสโตเฟอร์ วอร์เรน ประธานสมาพันธ์นักข่าวระหว่างประเทศ ได้เปิดแถลงข่าวประนามการกระทำของ พ.ต.ท.ทักษิณเช่นเดียวกัน "กิริยาไม่คาดฝันของนายกรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ (25)ถือเป็นการล้อเลียน และคุกคามสื่อมวลชน เพื่อนำไปสู่การถามเฉพาะคำถามที่เขาพึงพอใจ"วอร์เรนกล่าว และว่า การแถลงข่าวควรจัดขึ้นเพื่อทำให้นักข่าวสามารถเข้าถึงข้อมูลของรัฐบาล และตรวจสอบรัฐบาลได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ทำให้นักข่าวหวาดกลัวเกินกว่าจะถามคำถาม
ด้านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงผลสะท้อนจากการ จัดรายการนายกฯทักษิณพบสื่อ ว่า ส่วนใหญ่ก็บอกว่าดี แต่ก็มีบางสื่อบอกว่าไม่ดี เลยไม่รู้ว่ามางานเดียวกันหรือเปล่า ส่วนที่นำเอาป้ายเครื่องหมายคำถามสร้างสรรค์ และไม่สร้างสรรค์มาใช้นั้น เพราะไม่อยากให้เครียด ก็ต้องมีของเล่นบ้างเท่านั้นเอง
ส่วนที่มีเสียงครหาว่านายกรัฐมนตรีจะชี้เรียกเฉพาะสื่อนอกทำเนียบฯนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็สื่อทำเนียบฯไม่ยกมือ ก็ชี้เฉพาะคนที่ยกมือ ถ้าผู้สื่อข่าวทำเนียบฯยกมือก็จะรีบชี้ทันที แต่ส่วนใหญ่สื่อต่างประเทศจะชิงยกมือก่อน อย่างไรก็ตามต่อไปจะพยายามจัดให้ถามเป็นหมวดหมู่ ว่าช่วงไหนเป็นเรื่องเศรษฐกิจ ช่วงไหนเป็นเรื่องของสังคม หรือช่วงของการเมือง
สำหรับสัปดาห์หน้าจะงด 1 ครั้ง เพราะต้องเดินทางไปญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 30 ส.ค.-1 ก.ย.จะเริ่มครั้งต่อไปในวันที่ 8 ก.ย.และเว้นในวันที่ 15 ก.ย.เพราะอยู่ระหว่างการเดินทางไปสหรัฐฯ