ผู้จัดการรายวัน - โฆษกอัยการ ชี้หากพิสูจน์ข้อเท็จจริงพบ “วันเฉลิม อยู่บำรุง” ขัดคำสั่งศาล โดดเที่ยวผับก่อนพ้นกำหนดคุมประพฤติสั่งห้ามเที่ยว 2 ปี อัยการหรือเจ้าพนักงานคุมประพฤติ มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อไต่สวนและพิจารณาโทษได้
วานนี้ (25ส.ค.) นายศิริศักดิ์ ติยะพรรณ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึงเหตุทะเลาะวิวาทในสถานบันเทิง รูท 66 ย่านอาร์ซีเอ. ระหว่างนายไซม่อน แฮร์ริส ดารานายแบบชื่อดัง กับ นายวันเฉลิม อยู่บำรุง บุตรชายคนรองของ ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง อดีตนักการเมืองชื่อดังย่านฝั่งธนบุรีว่า นายวันเฉลิม อาจเข้าข่ายขัดคำสั่งศาล โดยเข้าไปเที่ยวในสถานบันเทิงก่อนพ้นกำหนดเวลาสั่งห้าม 2 ปี ว่า หากมีข้อเท็จจริงที่นายวันเฉลิม ผิดเงื่อนไขการคุมประพฤติแล้วตามกฎหมาย อัยการหรือเจ้าพนักงานคุมประพฤติ มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีการไต่สวน และพิจารณาโทษการฝ่าฝืนนั้น และถ้าศาลไต่สวนพบว่ามีการละเมิดคำสั่งห้ามจริง หากเป็นกรณีไม่มีความรุนแรง ศาลก็มีอำนาจที่จะตักเตือนได้ หรือถ้าเป็นเหตุรุนแรง ศาลมีอำนาจที่จะหยิบยกโทษที่เคยพิพากษาไว้ในคดีเก่ามาลงโทษนายวันเฉลิม ได้ ซึ่งเป็นไปตามตามประมวลกฎหมายอาญา ม.57 ประกอบ ม.56 ที่บัญญัติว่า
“เมื่อความปรากฏแก่ศาลเอง หรือความปรากฏตามคำแถลงของพนักงานอัยการหรือเจ้าพนักงานว่า ผู้กระทำความผิดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดตาม ม.56 ศาลอาจตักเตือนผู้กระทำความผิด หรือจะกำหนดการลงโทษที่ยังไม่ได้กำหนด หรือลงโทษที่รอไว้นั้นก็ได้ ิ
โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวต่อไปอีกว่า การยื่นคำร้องของอัยการนั้นจะกระทำได้ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ดำเนินคดีทะเลาะวิวาทดังกล่าวได้ยื่นสำนวนเข้ามาเป็นคดีใหม่ หรือกรณีที่ได้มีการสรุปรายงานบันทึกการสั่งปรับคู่กรณี 2 ฝ่ายหลังจากที่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งสำนวนดังกล่าวจะปรากฎข้อเท็จจริงนายวันเฉลิม ฝ่าฝืนเข้าไปเที่ยวผับจริงที่อัยการ จะนำไปใช้เป็นพยานหลักฐานแถลงต่อศาลเพื่อให้มีการไต่สวนและลงโทษได้ และหากแม้จะปรากฏว่าตำรวจไม่ได้ทำสำนวนคดีทะเลาะวิวาทซึ่งจะทำให้อัยการไม่มีพยานหลักฐานที่จะไปยื่นคำร้องต่อศาลได้แล้ว แต่ตามกฎหมายเจ้าพนักงานคุมประพฤติก็ยังมีอำนาจยื่นคำร้องได้เช่นกัน ซึ่งเจ้าพนักงานคุมประพฤติก็มีหน้าที่ต้องตรวจสอบและรายงานการคุมประพฤติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดไว้อยู่แล้ว ดังนั้นหากพบหรือมีข้อมูลว่านายวันเฉลิมผิดเงื่อนไขก็สามารถแถลงต่อศาลได้เช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติของนายวันเฉลิม นั้น ศาลอาญามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 47 สั่งให้จำคุกนายวันเฉลิม เป็นเวลา 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท ในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจในคดีฆ่า ด.ต.สุวิชัย รอดวิมุต หรือดาบยิ้ม ตำรวจกองปราบปราม ซึ่งศาลเห็นว่านายวันเฉลิม ไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนสมควรให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกจึงให้รอลงอาญาไว้มีกำหนด 1 ปี โดยให้รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้งในกำหนด 1 ปี และเห็นควรกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมประพฤติ โดยห้ามเข้าไปในสถานบริการทุกแห่งทั่วราชอาณาจักรเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งคำสั่งห้ามจะครบกำหนด 2 ปีในเดือน มี.ค.49
วานนี้ (25ส.ค.) นายศิริศักดิ์ ติยะพรรณ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึงเหตุทะเลาะวิวาทในสถานบันเทิง รูท 66 ย่านอาร์ซีเอ. ระหว่างนายไซม่อน แฮร์ริส ดารานายแบบชื่อดัง กับ นายวันเฉลิม อยู่บำรุง บุตรชายคนรองของ ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง อดีตนักการเมืองชื่อดังย่านฝั่งธนบุรีว่า นายวันเฉลิม อาจเข้าข่ายขัดคำสั่งศาล โดยเข้าไปเที่ยวในสถานบันเทิงก่อนพ้นกำหนดเวลาสั่งห้าม 2 ปี ว่า หากมีข้อเท็จจริงที่นายวันเฉลิม ผิดเงื่อนไขการคุมประพฤติแล้วตามกฎหมาย อัยการหรือเจ้าพนักงานคุมประพฤติ มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีการไต่สวน และพิจารณาโทษการฝ่าฝืนนั้น และถ้าศาลไต่สวนพบว่ามีการละเมิดคำสั่งห้ามจริง หากเป็นกรณีไม่มีความรุนแรง ศาลก็มีอำนาจที่จะตักเตือนได้ หรือถ้าเป็นเหตุรุนแรง ศาลมีอำนาจที่จะหยิบยกโทษที่เคยพิพากษาไว้ในคดีเก่ามาลงโทษนายวันเฉลิม ได้ ซึ่งเป็นไปตามตามประมวลกฎหมายอาญา ม.57 ประกอบ ม.56 ที่บัญญัติว่า
“เมื่อความปรากฏแก่ศาลเอง หรือความปรากฏตามคำแถลงของพนักงานอัยการหรือเจ้าพนักงานว่า ผู้กระทำความผิดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดตาม ม.56 ศาลอาจตักเตือนผู้กระทำความผิด หรือจะกำหนดการลงโทษที่ยังไม่ได้กำหนด หรือลงโทษที่รอไว้นั้นก็ได้ ิ
โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวต่อไปอีกว่า การยื่นคำร้องของอัยการนั้นจะกระทำได้ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ดำเนินคดีทะเลาะวิวาทดังกล่าวได้ยื่นสำนวนเข้ามาเป็นคดีใหม่ หรือกรณีที่ได้มีการสรุปรายงานบันทึกการสั่งปรับคู่กรณี 2 ฝ่ายหลังจากที่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งสำนวนดังกล่าวจะปรากฎข้อเท็จจริงนายวันเฉลิม ฝ่าฝืนเข้าไปเที่ยวผับจริงที่อัยการ จะนำไปใช้เป็นพยานหลักฐานแถลงต่อศาลเพื่อให้มีการไต่สวนและลงโทษได้ และหากแม้จะปรากฏว่าตำรวจไม่ได้ทำสำนวนคดีทะเลาะวิวาทซึ่งจะทำให้อัยการไม่มีพยานหลักฐานที่จะไปยื่นคำร้องต่อศาลได้แล้ว แต่ตามกฎหมายเจ้าพนักงานคุมประพฤติก็ยังมีอำนาจยื่นคำร้องได้เช่นกัน ซึ่งเจ้าพนักงานคุมประพฤติก็มีหน้าที่ต้องตรวจสอบและรายงานการคุมประพฤติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดไว้อยู่แล้ว ดังนั้นหากพบหรือมีข้อมูลว่านายวันเฉลิมผิดเงื่อนไขก็สามารถแถลงต่อศาลได้เช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติของนายวันเฉลิม นั้น ศาลอาญามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 47 สั่งให้จำคุกนายวันเฉลิม เป็นเวลา 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท ในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจในคดีฆ่า ด.ต.สุวิชัย รอดวิมุต หรือดาบยิ้ม ตำรวจกองปราบปราม ซึ่งศาลเห็นว่านายวันเฉลิม ไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนสมควรให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกจึงให้รอลงอาญาไว้มีกำหนด 1 ปี โดยให้รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้งในกำหนด 1 ปี และเห็นควรกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมประพฤติ โดยห้ามเข้าไปในสถานบริการทุกแห่งทั่วราชอาณาจักรเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งคำสั่งห้ามจะครบกำหนด 2 ปีในเดือน มี.ค.49