ยักษ์ใหญ่ "โตโยต้า" ประกาศตั้งโรงงานปิกอัพแห่งใหม่ ที่จ.ฉะเชิงเทรา บนพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ รวมมูลค่าลงทุนกว่า 15,000 ล้านบาท เผยเหตุเลือกทำเลห่างจากโรงงานสำโรง เพราะใกล้ซัพพลายเออร์ สนามบินใหม่ และส่งออกสะดวก ขณะที่การขยายกำลังผลิตโรงงานเก๋งที่เกตุเวย์ 3,000 ล้านบาท จะเสร็จเรียบร้อยเร็วๆ นี้ เมื่อรวมกำลังการผลิต 3 โรงงาน ยอดพุ่งเป็น 600,000 แสนคัน กลายเป็นฐานผลิตใหญ่อันดับสามของโลก
นายเรียวอิจิ ซาซากิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากโตโยต้าได้ประกาศลงทุนตั้งโรงงานใหม่ ซึ่งเป็นโรงงานที่ 3 และขยายกำลังการผลิตที่โรงงานเกตุเวย์เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ล่าสุดเกี่ยวกับความคืบหน้าในการขยายการลงทุนดังกล่าว โตโยต้าได้ตัดสินใจเลือกพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา บนถนนสาย 314 ระหว่างมอเตอร์เวย์ และนิคมอุตสาหกรรมเกตุเวย์ เป็นสถานที่ตั้งโรงงานแห่งใหม่ โดยมีพื้นที่ทั้งหมดกว่า 1,000 ไร่
"โตโยต้าได้ใช้เงินลงทุนกว่า 15,000 ล้านบาท สำหรับการก่อตั้งโรงงานแห่งใหม่นี้ ในการซื้อ ก่อสร้างอาคาร และลงทุนติดตั้งเครื่องจักร เพื่อทำการผลิตปิกอัพไฮลักซ์ วีโก้ สู่ตลาดต้นปี 2550 โดยมีกำลังการผลิตทั้งหมด 100,000 คันต่อปี"
ส่วนสาเหตุที่โตโยต้าเลือกพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากมีเป็นทำเลที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นซัพพลายเออร์ที่อยู่ล้อมรอบโรงงานแห่งใหม่ อยู่ใกล้กับท่าเรือแหลมฉบัง ทำให้สะดวกในการส่งออกรถยนต์ ติดสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ รวมถึงศูนย์อาร์แอนด์ดีที่เพิ่งตั้งใหม่ก็อยู่บริเวณเดียวกัน ขณะที่ราคาที่ดินถูกและเหมาะสมกับการลงทุนในปัจจุบัน
นายซาซากิกล่าวว่า สำหรับแผนการดำเนินงานตั้งโรงงานแห่งใหม่ ภายใน 2-3 สัปดาห์นี้คาดว่าจะปรับพื้นที่แล้วเสร็จ จากนั้นปลายปี หรือเดือนมกราคมปี 2549 จะสามารถเริ่มก่อสร้างตัวอาคาร และกลางปีจะนำเครื่องจักรมาติดตั้ง โดยสามารถเริ่มเดินไลน์ผลิตประมาณปี 2550 มีกำลังการผลิตทั้งหมดกว่า 100,000 คัน
จากการตั้งโรงงานแห่งใหม่จะทำให้ ปิกอัพโตโยต้ารวม 2 โรงงาน มีกำลังการผลิต 350,000-400,00 คัน แบ่งเป็นโรงงานที่สำโรงงาน 250,000 คัน หากรวมทำงานล่วงเวลาจะเพิ่มได้อีก 50,000 คัน และโรงงานแห่งใหม่ที่ฉะเชิงเทรา 100,000 คัน เมื่อรวมกับโรงงานประกอบรถยนต์นั่งที่เกตุเวย์ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการขยายโรงงาน จากการลงทุนล่าสุด 3,000 ล้านบาท โดยมีกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 200,000 คัน ทำให้โตโยต้ามีกำลังการผลิตรถยนต์ในไทยสูงถึง 550,000-600,000 คัน
"จากกำลังการผลิตดังกล่าว ทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของโตโยต้าในโลก เป็นรองเพียงญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาเท่านั้น โดยอนาคตเชื่อว่าโตโยต้าจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 800,000 แสนคัน แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด และศักยภาพของโตโยต้าเอง"
นายซาซากิกล่าวว่า ในส่วนของสภาพตลาดรถยนต์ไทยช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ มียอดจำหน่ายรวมทั้งสิ้นเกือบ 400,000 คัน คิดเป็นอัตราการเติบโตจากปีที่แล้วช่วงเดียวกัน 15% ทำให้เชื่อว่าในช่วง 5 เดือนหลังของปีนี้ ความต้องการของตลาดจะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และเชื่อมั่นว่าตลาดรถยนต์ไทยในปีนี้ จะมีตัวเลขการขายสูงถึง 690,000 คัน หรือคิดเป็นอัตราการเจริญเติบโตที่ 10% สำหรับยอดจำหน่ายของโตโยต้า 7 เดือน จำหน่ายไปแล้ว 160,000 แสนคัน ถึงสิ้นปีน่าจะทำได้ไม่ต่ำกว่า 280,000 คัน
ด้านตลาดส่งออกรถยนต์ไทย โตโยต้าคาดว่าจะมีแนวโน้มการเจริญเติบโตไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดรถยนต์ในประเทศ ซึ่งคาดว่าไทยจะมียอดส่งออกรถยนต์ในปีนี้สูงถึง 500,000 คัน สำหรับโตโยต้าเองในปีนี้ได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป(CBU) ไปแล้วทั้งสิ้นกว่า 57,000 คัน และส่งออกชิ้นส่วนเพื่อประกอบรถยนต์ไปแล้วเป็นจำนวน 10,000 ตู้คอนเทนเนอร์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 41,600 ล้านบาท
สำหรับช่วงครึ่งปีหลัง โตโยต้าคาดว่าจะสามารถขยายการส่งออกให้มากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายในการส่งออกเป็นมูลค่ากว่า 110,000 ล้านบาท แบ่งเป็นส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 150,000 คัน และส่งออกชิ้นส่วนเพื่อการประกอบรถยนต์จำนวน 17,000 ตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งจะทำให้โตโยต้ามีส่วนแบ่งในตลาดส่งออกรถยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่ถึง 30% และในปีหน้าโตโยต้าจะยังคงขยายการส่งออกอย่างต่อเนื่อง โดยวางแผนที่จะส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปถึง 200,000 คัน และในปี 2550 สามารถเดินไลน์การผลิตปิกอัพครบทั้งสองแห่ง จะทำให้โตโยต้าสามารถส่งออกเพิ่มเป็น 280,000 คัน
นายเรียวอิจิ ซาซากิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากโตโยต้าได้ประกาศลงทุนตั้งโรงงานใหม่ ซึ่งเป็นโรงงานที่ 3 และขยายกำลังการผลิตที่โรงงานเกตุเวย์เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ล่าสุดเกี่ยวกับความคืบหน้าในการขยายการลงทุนดังกล่าว โตโยต้าได้ตัดสินใจเลือกพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา บนถนนสาย 314 ระหว่างมอเตอร์เวย์ และนิคมอุตสาหกรรมเกตุเวย์ เป็นสถานที่ตั้งโรงงานแห่งใหม่ โดยมีพื้นที่ทั้งหมดกว่า 1,000 ไร่
"โตโยต้าได้ใช้เงินลงทุนกว่า 15,000 ล้านบาท สำหรับการก่อตั้งโรงงานแห่งใหม่นี้ ในการซื้อ ก่อสร้างอาคาร และลงทุนติดตั้งเครื่องจักร เพื่อทำการผลิตปิกอัพไฮลักซ์ วีโก้ สู่ตลาดต้นปี 2550 โดยมีกำลังการผลิตทั้งหมด 100,000 คันต่อปี"
ส่วนสาเหตุที่โตโยต้าเลือกพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากมีเป็นทำเลที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นซัพพลายเออร์ที่อยู่ล้อมรอบโรงงานแห่งใหม่ อยู่ใกล้กับท่าเรือแหลมฉบัง ทำให้สะดวกในการส่งออกรถยนต์ ติดสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ รวมถึงศูนย์อาร์แอนด์ดีที่เพิ่งตั้งใหม่ก็อยู่บริเวณเดียวกัน ขณะที่ราคาที่ดินถูกและเหมาะสมกับการลงทุนในปัจจุบัน
นายซาซากิกล่าวว่า สำหรับแผนการดำเนินงานตั้งโรงงานแห่งใหม่ ภายใน 2-3 สัปดาห์นี้คาดว่าจะปรับพื้นที่แล้วเสร็จ จากนั้นปลายปี หรือเดือนมกราคมปี 2549 จะสามารถเริ่มก่อสร้างตัวอาคาร และกลางปีจะนำเครื่องจักรมาติดตั้ง โดยสามารถเริ่มเดินไลน์ผลิตประมาณปี 2550 มีกำลังการผลิตทั้งหมดกว่า 100,000 คัน
จากการตั้งโรงงานแห่งใหม่จะทำให้ ปิกอัพโตโยต้ารวม 2 โรงงาน มีกำลังการผลิต 350,000-400,00 คัน แบ่งเป็นโรงงานที่สำโรงงาน 250,000 คัน หากรวมทำงานล่วงเวลาจะเพิ่มได้อีก 50,000 คัน และโรงงานแห่งใหม่ที่ฉะเชิงเทรา 100,000 คัน เมื่อรวมกับโรงงานประกอบรถยนต์นั่งที่เกตุเวย์ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการขยายโรงงาน จากการลงทุนล่าสุด 3,000 ล้านบาท โดยมีกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 200,000 คัน ทำให้โตโยต้ามีกำลังการผลิตรถยนต์ในไทยสูงถึง 550,000-600,000 คัน
"จากกำลังการผลิตดังกล่าว ทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของโตโยต้าในโลก เป็นรองเพียงญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาเท่านั้น โดยอนาคตเชื่อว่าโตโยต้าจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 800,000 แสนคัน แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด และศักยภาพของโตโยต้าเอง"
นายซาซากิกล่าวว่า ในส่วนของสภาพตลาดรถยนต์ไทยช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ มียอดจำหน่ายรวมทั้งสิ้นเกือบ 400,000 คัน คิดเป็นอัตราการเติบโตจากปีที่แล้วช่วงเดียวกัน 15% ทำให้เชื่อว่าในช่วง 5 เดือนหลังของปีนี้ ความต้องการของตลาดจะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และเชื่อมั่นว่าตลาดรถยนต์ไทยในปีนี้ จะมีตัวเลขการขายสูงถึง 690,000 คัน หรือคิดเป็นอัตราการเจริญเติบโตที่ 10% สำหรับยอดจำหน่ายของโตโยต้า 7 เดือน จำหน่ายไปแล้ว 160,000 แสนคัน ถึงสิ้นปีน่าจะทำได้ไม่ต่ำกว่า 280,000 คัน
ด้านตลาดส่งออกรถยนต์ไทย โตโยต้าคาดว่าจะมีแนวโน้มการเจริญเติบโตไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดรถยนต์ในประเทศ ซึ่งคาดว่าไทยจะมียอดส่งออกรถยนต์ในปีนี้สูงถึง 500,000 คัน สำหรับโตโยต้าเองในปีนี้ได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป(CBU) ไปแล้วทั้งสิ้นกว่า 57,000 คัน และส่งออกชิ้นส่วนเพื่อประกอบรถยนต์ไปแล้วเป็นจำนวน 10,000 ตู้คอนเทนเนอร์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 41,600 ล้านบาท
สำหรับช่วงครึ่งปีหลัง โตโยต้าคาดว่าจะสามารถขยายการส่งออกให้มากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายในการส่งออกเป็นมูลค่ากว่า 110,000 ล้านบาท แบ่งเป็นส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 150,000 คัน และส่งออกชิ้นส่วนเพื่อการประกอบรถยนต์จำนวน 17,000 ตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งจะทำให้โตโยต้ามีส่วนแบ่งในตลาดส่งออกรถยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่ถึง 30% และในปีหน้าโตโยต้าจะยังคงขยายการส่งออกอย่างต่อเนื่อง โดยวางแผนที่จะส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปถึง 200,000 คัน และในปี 2550 สามารถเดินไลน์การผลิตปิกอัพครบทั้งสองแห่ง จะทำให้โตโยต้าสามารถส่งออกเพิ่มเป็น 280,000 คัน