ณ สถานปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่ง หลังจากได้กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย เป็นที่พึ่งทางจิตใจอันประเสริฐยิ่งใหญ่สูงสุด 3 ประการแล้ว
จากนั้นพระอาจารย์ ก็ได้สอบถามญาติโยมทั้งหลายที่มาฟังธรรมประจำวันพระ ว่าสภาพความเป็นอยู่ในสังคมเป็นอย่างไรกันบ้าง? การดำเนินชีวิตเป็นอย่างไร?
โยม "สภาพสังคมทุกวันนี้แย่มากเจ้าค่ะ"
"สังคมเต็มไปด้วยการเอารัดเอาเปรียบ ฉลาดแกมโกง เห็นแก่ตัว คอร์รัปชัน บ่อนการพนัน ยาเสพติด โสเภณี สังคมเสื่อมจากศีลธรรม ครอบครัวแตกแยก สารพัดเจ้าค่ะ"
โยม แล้วอะไรละ? เป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมไทยต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ละครับ พระอาจารย์?
จากนั้นพระอาจารย์ ได้หยิบกระดาษมาแผ่นหนึ่งยกขึ้นให้ดู แล้วให้ทุกคนเพ่งมองพิจารณาไปที่กระดาษแผ่นขาว เห็นอะไรไหม? พระอาจารย์ถาม
โยม "เห็นสีขาวเจ้าค่ะ" "เห็นเป็นกรอบสี่เหลี่ยมครับ"
พระ เห็นอะไรอีก?
โยม "เห็นรอยยับเจ้าค่ะ"
พระอาจารย์ได้อธิบายว่า การที่เราเห็นดังกล่าวนั้น เป็นการเห็นจากตาเนื้อธรรมดา เรียกว่า มังสจักษุ เป็นการมองแบบอัตตา เป็นการมองแบบตายตัว เป็นการมองแบบมีเขา มีเรา มีกู ของกู มีมึง ของมึง เป็นการมองอย่างตายตัว ซึ่งใครๆ เขาก็มองกันอย่างนี้ทุกคน
แต่การมองตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นการมองอย่างมีเหตุปัจจัยสัมพันธ์ มองแล้วคิดแบบ โยนิโสมนสิการ คือการรู้จักการใช้ความคิด ความทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายอย่างมีเหตุปัจจัย พิจารณาอย่างเป็นกระบวนการ (Process) มีเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด คิดใคร่ครวญเพื่อให้รู้แจ้งตามความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวง
ที่นี้ลองมองแล้วพิจารณาใหม่
โยม "เห็นเช่นเดิม เจ้าค่ะ"
พระ "แล้วคนอื่นละ?"
โยม "เห็นเท่าที่เห็นนั่นแหละครับ หลวงพ่อ"
พระ "ไหนลองย้อนถามอาตมาดูซิ ว่าเห็นอะไรบ้าง?"
โยม "หลวงพ่อเจ้าค่ะ? แล้วหลวงพ่อมองแล้วเห็นอะไรบ้างละ? เจ้าค่ะ
พระ "เอาละ ตั้งใจฟังให้ดี แล้วตั้งใจพิจารณาไปด้วยนะ ในกระดาษแผ่นนี้เห็นอะไรๆ ได้ตั้งหลายอย่าง ถ้าเรามองอย่างเป็นกระบวนการ หรือเป็นการมองด้วยความสัมพันธ์ของเหตุและผล เช่น ตอนนี้เป็นกระดาษอยู่ในมือเรา แล้วย้อนกลับไปอดีต ก่อนหน้านี้อยู่ที่ร้านค้าย่อย, ถัดไปก็เป็นร้านค้าใหญ่, ถัดไปก็เป็นสโตร์ (Store) เก็บกระดาษ, ถัดไปก็เป็นโรงงานผลิตกระดาษ เห็นกระบวนการผลิต, เห็นเครื่องจักร, เห็นพนักงานในโรงงาน, เห็นการเอื้ออาทร, เห็นการกดขี่เอารัดเอาเปรียบ, เห็นรัฐบาลอนุมัติให้จัดตั้งโรงงานทำกระดาษ, เห็นธนาคาร , สืบสาวย้อนไปที่อินพุต (Input) เห็นวัตถุดิบคือต้นไผ่ เห็นก่อไผ่ เห็นคนตัดต้นไผ่, เห็นรถสิบล้อขนไม้ไผ่ เห็นพรรณไม้ต่างๆ เห็นดิน, เห็นน้ำ, เห็นนก, กระรอก, สิงสาราสัตว์ต่างๆ เห็น...เห็นดวงจันทร์, เห็นดวงอาทิตย์ ฯลฯ
แล้วถ้าจะถามว่า "ชีวิตคืออะไร?" ใครตอบได้บ้าง? อาจจะตอบได้หลายแง่มุมนะ หลายนัย เช่น ชีวิตคือสิ่งที่ต้องพัฒนาให้มีความก้าวหน้าทั้งใจและกาย, ชีวิตคือการต่อสู้ เป็นต้น
แต่จุดมุ่งหมายในการเสวนาธรรมในวันนี้ ก็เพื่อที่จะให้เราได้เปลี่ยนแปลงการมอง การคิดและทัศนคติ ทางฝ่ายตะวันตกเรียกว่า โลกทัศน์ คือการมองความจริงของโลกนั่นเอง ผู้ที่ติดยึดในแนวทางกิเลสนั้นผลเป็นอย่างไร ก็รู้ๆ กันอยู่แล้วนะ
แต่การที่เรามีความเห็นและวิธีคิดตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็น การมองแบบธรรมทัศน์ คือการมองความจริงของสภาวธรรมหรือการเห็นตามความจริงของสภาวะกฎธรรมชาติหรือสัจธรรมเป็นการมอง การเห็นทั้งภายใน และภายนอกทั้งนามธรรมและรูปธรรม สิ่งที่เป็นความคิด และสิ่งที่เหนือความคิด ทั้งสิ่งปรุงแต่งหรือสังขารทั้งปวง (สังขตธรรม) และสิ่งที่พ้นจากการปรุงแต่ง (อสังขตธรรม, นิพพาน) เป็นการเห็นแจ้งสภาวธรรมทั้งองค์รวม นั่นเอง
ถามว่า "ชีวิตคืออะไร" ก็ต้องตอบว่า "ชีวิตคือสิ่งที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด" ถ้าไม่มีดวงอาทิตย์ โลก สภาวะธาตุต่างๆ ฯลฯ พืชและสัตว์ก็เกิดขึ้นไม่ได้
โยม ใช่แล้วครับ
การสนทนาวันนี้ก็เป็นการปูพื้นฐานในการมองหรือให้มีทัศนะแบบ "อนัตตา" นั่นเอง สรรพสิ่งทั้งหลายไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นเองอย่างลอยๆ สรรพสิ่งล้วนมีปัจจัยมีที่มาที่ไป สรรพสิ่งทั้งปวงล้วนสัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด เป็นไปตามกฎธรรมชาติที่เรียกว่า "กฎอิทัปปัจจยตา" คือกฎความสัมพันธ์ตามเหตุปัจจัยของเหตุและผล "เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี" หรือสิ่งนี้มี สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงมี หรือเมื่อมีเหตุ ก็ต้องมีผล หรือผล ย่อมมาจากเหตุ มีความสัมพันธ์เกี่ยวพันกันไปเหมือนฟันเฟืองเครื่องจักร จะยกตัวอย่างในเรื่องหลักๆ สำคัญๆ เช่น การพิจารณาองค์ประกอบของสังคมจะเห็นว่า ถ้าระบอบการเมืองดี มีหลักธรรมการปกครองให้ความยุติธรรมต่อประชาชน จะเป็นปัจจัยให้การปกครองดีด้วย, การปกครองดี ก็จะเป็นปัจจัยทำให้เศรษฐกิจดี, เมื่อเศรษฐกิจดี ก็จะเป็นปัจจัยทำให้การดำเนินชีวิตของประชาชนดีตามไปด้วย อย่างเป็นไปเอง
ในทางตรงกันข้าม ถ้าระบอบการเมืองไม่ดีไม่มีหลักธรรมการปกครอง ก็จะเป็นปัจจัยทำให้การปกครองไม่ดี, การปกครองไม่ดี ก็จะเป็นปัจจัยทำให้เศรษฐกิจไม่ดี, เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี ก็จะเป็นปัจจัยทำให้การดำเนินชีวิตของประชาชนก็ย่ำแย่ ประเทศชาติก็วิกฤตหายนะ คือว่าเมื่อระบอบการเมืองเลวเสียแล้ว มันก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยแผ่ความเลวออกไปสู่ส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด อุปมา น้ำเน่า ปลาย่อมได้รับพิษร้ายจากน้ำเน่า ระบอบการเมืองเลว ย่อมเป็นปัจจัยให้ประชาชนทุกข์ระทม
การที่รัฐบาลมัวแต่แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โดยไม่สืบสาวไปหาเหตุแห่งวิกฤตที่แท้จริง นอกจากจะแก้ปัญหาไม่ได้แล้ว ยังเป็นการลงทุนลงแรงที่สูญเปล่า และจะนำภัยร้ายแรงมาสู่ประเทศชาติและประชาชนให้หนักยิ่งๆ ขึ้น นี่เป็นการมองแบบภาพรวม หรือการมองแบบบูรณาการอย่างแท้จริง
เห็นด้วยอย่างยิ่งที่สถาบัน องค์กรต่างๆ ออกมารณรงค์แก้ปัญหาคอร์รัปชัน นำโดย สถาบันพระมหากษัตริย์, พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี, ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด และองค์กรต่างๆ อีกมากมาย แต่ทั้งนี้ต้องสืบสาวไปหาเหตุแห่งความเลวร้ายทั้งปวง คือระบอบฯ ปัจจุบันนั่นเอง จึงจะสามารถแก้ปัญหาคอร์รัปชันให้ตกไปได้ หรือให้เบาบางลงไปได้
ทีนี้เรากลับมาพิจารณากระดาษแผ่นนี้อีกครั้งหนึ่ง ผลจากการที่เราได้ยินได้ฟังได้เข้าใจตามที่บรรยายมาแล้วนั้น เราทั้งหลายได้รับอะไรบ้าง?
โยม "ดิฉันรู้สึกขึ้นมาว่า ถ้าผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองได้เข้าใจอย่างนี้บ้าง ก็จะทำให้สังคมมีความเมตตาต่อกันมากขึ้น และก็จะมีการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุแห่งวิกฤตชาติเจ้าค่ะ"
แล้วโยมละ "ผมคิดอย่างนี้ครับ ถ้าเข้าใจตามหลักนี้นะครับ สังคมประเทศชาติพรรคการเมือง สังคมทุกระดับ จะก่อให้เกิดความสามัคคีธรรม แม้กระทั่งระดับโลก"
"ผมมองทะลุไปว่า มนุษย์ที่ขัดแย้งกันนั้น ก็เพราะมีทัศนะเป็นอัตตานั่นเอง เพียงแค่ได้ยิน ได้ฟัง ได้เรียนรู้ อันเป็นสิ่งสมมติทั้งปวง แล้วไปยึด เกาะเกี่ยว เป็นจริงเป็นจังขึ้นมา แล้วทำให้เกิดการเปรียบเทียบแบบตายตัว จึงทำให้เกิดความกลัว โลภ โกรธ หลงขึ้น ผมขอโอกาสสักนิดเถอะครับ
พระ เอาเลย แสดงให้เต็มที่เลย ณ ที่นี้เป็นสถานที่แห่งอิสรภาพทางความคิด
โยมกล่าวต่อ "ถ้าเราไม่ยึดติดในสมมติ ในสื่อ ในภาษา ในสัญลักษณ์ ในความคิด เช่น ติดยึดในภาค ติดยึดในพรรค ติดยึดในประเทศ ติดยึดในศาสนาของตนๆ เราจะมีอิสระมากใช่ไหมครับพระอาจารย์ ตามที่ผมเข้าใจว่า เราต้องเรียนรู้ แต่ไม่ยึดติดในการเรียนรู้ เปรียบเทียบแต่ไม่ยึดติดในการเปรียบเทียบ รู้สมมติ แต่ไม่ยึดติดในสมมติ ใช้สมมติอย่างถูกต้อง ทั้งที่เป็นประโยชน์ และที่ไม่ใช่ประโยชน์"
พระ ดีแล้วละ พึงผัสสะ หรือสัมพันธ์อย่างอิสระจากสิ่งทั้งปวงย่อมพ้นทุกข์ นั่นเอง "พิจารณาเหตุปัจจัยภายนอก เพื่อประโยชน์สุขของปวงชน พึงพิจารณาภายในใจตนให้อิสระหลุดพ้นจากกิเลส" เอาละวันนี้เราก็สรุปได้ว่า "สรรพสิ่งล้วนสัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด หรือชีวิตคือส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด" "น้ำมันขึ้นราคาประชาชาก็จะจนลง การฉ้อราษฎร์บังหลวง ประชาชนก็จะจนลงๆ ยิ่งกว่า" เมื่อเข้าใจสภาวธรรม จะเกิดจริยธรรมในการมีเมตตา กรุณา เห็นอกเห็นใจในเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย เห็นใจคนยากคนจน คนด้อยโอกาส ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคล ครอบครัว จังหวัด ภาค พรรค ประเทศ หรือแม้แต่ระหว่างศาสนาและถ้าเป็นระดับรัฐบาล ท่านมีอำนาจมาก ถ้าท่านรู้สัจธรรม รู้จัก กฎอิทัปปัจจยตา รู้จักแก้ปัญหาที่ต้นเหตุแห่งปัญหา เมื่อเหตุดี ผลก็จะดีด้วย หรือเมื่อเหตุเลว ผลก็จะเลวด้วย หรือ Input ถูกต้อง Output ก็จะถูกต้องด้วย เข้าใจวิถีแห่งธรรมแล้วย่อมก่อเกิดความเมตตา ต่อเพื่อนร่วมชาติ ช่วยกันแก้ปัญหาเหตุวิกฤตชาติ ก็จะเป็นสายธารมหาเมตตาเจริญรอยตามแบบอย่างพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
เด็กอายุ 12 ขวบ เข้าไปเกาะแขนพระอาจารย์ แล้วกระซิบเบาๆ "พระอาจารย์กับผมเป็นพี่น้องกันหรือครับ? และรวมทั้งพี่น้องมนุษย์ทั่วโลก และสัตว์ทั้งหลายด้วยใช่ไหมครับ?" พระอาจารย์ลูบหัวเด็กน้อยด้วยความเมตตา เอ็นดู...แล้วท่านกล่าวขึ้นว่า "เธอจะเป็นปัญญาชนของแผ่นดิน"
จากนั้นพระอาจารย์ ก็ได้สอบถามญาติโยมทั้งหลายที่มาฟังธรรมประจำวันพระ ว่าสภาพความเป็นอยู่ในสังคมเป็นอย่างไรกันบ้าง? การดำเนินชีวิตเป็นอย่างไร?
โยม "สภาพสังคมทุกวันนี้แย่มากเจ้าค่ะ"
"สังคมเต็มไปด้วยการเอารัดเอาเปรียบ ฉลาดแกมโกง เห็นแก่ตัว คอร์รัปชัน บ่อนการพนัน ยาเสพติด โสเภณี สังคมเสื่อมจากศีลธรรม ครอบครัวแตกแยก สารพัดเจ้าค่ะ"
โยม แล้วอะไรละ? เป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมไทยต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ละครับ พระอาจารย์?
จากนั้นพระอาจารย์ ได้หยิบกระดาษมาแผ่นหนึ่งยกขึ้นให้ดู แล้วให้ทุกคนเพ่งมองพิจารณาไปที่กระดาษแผ่นขาว เห็นอะไรไหม? พระอาจารย์ถาม
โยม "เห็นสีขาวเจ้าค่ะ" "เห็นเป็นกรอบสี่เหลี่ยมครับ"
พระ เห็นอะไรอีก?
โยม "เห็นรอยยับเจ้าค่ะ"
พระอาจารย์ได้อธิบายว่า การที่เราเห็นดังกล่าวนั้น เป็นการเห็นจากตาเนื้อธรรมดา เรียกว่า มังสจักษุ เป็นการมองแบบอัตตา เป็นการมองแบบตายตัว เป็นการมองแบบมีเขา มีเรา มีกู ของกู มีมึง ของมึง เป็นการมองอย่างตายตัว ซึ่งใครๆ เขาก็มองกันอย่างนี้ทุกคน
แต่การมองตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นการมองอย่างมีเหตุปัจจัยสัมพันธ์ มองแล้วคิดแบบ โยนิโสมนสิการ คือการรู้จักการใช้ความคิด ความทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายอย่างมีเหตุปัจจัย พิจารณาอย่างเป็นกระบวนการ (Process) มีเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด คิดใคร่ครวญเพื่อให้รู้แจ้งตามความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวง
ที่นี้ลองมองแล้วพิจารณาใหม่
โยม "เห็นเช่นเดิม เจ้าค่ะ"
พระ "แล้วคนอื่นละ?"
โยม "เห็นเท่าที่เห็นนั่นแหละครับ หลวงพ่อ"
พระ "ไหนลองย้อนถามอาตมาดูซิ ว่าเห็นอะไรบ้าง?"
โยม "หลวงพ่อเจ้าค่ะ? แล้วหลวงพ่อมองแล้วเห็นอะไรบ้างละ? เจ้าค่ะ
พระ "เอาละ ตั้งใจฟังให้ดี แล้วตั้งใจพิจารณาไปด้วยนะ ในกระดาษแผ่นนี้เห็นอะไรๆ ได้ตั้งหลายอย่าง ถ้าเรามองอย่างเป็นกระบวนการ หรือเป็นการมองด้วยความสัมพันธ์ของเหตุและผล เช่น ตอนนี้เป็นกระดาษอยู่ในมือเรา แล้วย้อนกลับไปอดีต ก่อนหน้านี้อยู่ที่ร้านค้าย่อย, ถัดไปก็เป็นร้านค้าใหญ่, ถัดไปก็เป็นสโตร์ (Store) เก็บกระดาษ, ถัดไปก็เป็นโรงงานผลิตกระดาษ เห็นกระบวนการผลิต, เห็นเครื่องจักร, เห็นพนักงานในโรงงาน, เห็นการเอื้ออาทร, เห็นการกดขี่เอารัดเอาเปรียบ, เห็นรัฐบาลอนุมัติให้จัดตั้งโรงงานทำกระดาษ, เห็นธนาคาร , สืบสาวย้อนไปที่อินพุต (Input) เห็นวัตถุดิบคือต้นไผ่ เห็นก่อไผ่ เห็นคนตัดต้นไผ่, เห็นรถสิบล้อขนไม้ไผ่ เห็นพรรณไม้ต่างๆ เห็นดิน, เห็นน้ำ, เห็นนก, กระรอก, สิงสาราสัตว์ต่างๆ เห็น...เห็นดวงจันทร์, เห็นดวงอาทิตย์ ฯลฯ
แล้วถ้าจะถามว่า "ชีวิตคืออะไร?" ใครตอบได้บ้าง? อาจจะตอบได้หลายแง่มุมนะ หลายนัย เช่น ชีวิตคือสิ่งที่ต้องพัฒนาให้มีความก้าวหน้าทั้งใจและกาย, ชีวิตคือการต่อสู้ เป็นต้น
แต่จุดมุ่งหมายในการเสวนาธรรมในวันนี้ ก็เพื่อที่จะให้เราได้เปลี่ยนแปลงการมอง การคิดและทัศนคติ ทางฝ่ายตะวันตกเรียกว่า โลกทัศน์ คือการมองความจริงของโลกนั่นเอง ผู้ที่ติดยึดในแนวทางกิเลสนั้นผลเป็นอย่างไร ก็รู้ๆ กันอยู่แล้วนะ
แต่การที่เรามีความเห็นและวิธีคิดตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็น การมองแบบธรรมทัศน์ คือการมองความจริงของสภาวธรรมหรือการเห็นตามความจริงของสภาวะกฎธรรมชาติหรือสัจธรรมเป็นการมอง การเห็นทั้งภายใน และภายนอกทั้งนามธรรมและรูปธรรม สิ่งที่เป็นความคิด และสิ่งที่เหนือความคิด ทั้งสิ่งปรุงแต่งหรือสังขารทั้งปวง (สังขตธรรม) และสิ่งที่พ้นจากการปรุงแต่ง (อสังขตธรรม, นิพพาน) เป็นการเห็นแจ้งสภาวธรรมทั้งองค์รวม นั่นเอง
ถามว่า "ชีวิตคืออะไร" ก็ต้องตอบว่า "ชีวิตคือสิ่งที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด" ถ้าไม่มีดวงอาทิตย์ โลก สภาวะธาตุต่างๆ ฯลฯ พืชและสัตว์ก็เกิดขึ้นไม่ได้
โยม ใช่แล้วครับ
การสนทนาวันนี้ก็เป็นการปูพื้นฐานในการมองหรือให้มีทัศนะแบบ "อนัตตา" นั่นเอง สรรพสิ่งทั้งหลายไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นเองอย่างลอยๆ สรรพสิ่งล้วนมีปัจจัยมีที่มาที่ไป สรรพสิ่งทั้งปวงล้วนสัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด เป็นไปตามกฎธรรมชาติที่เรียกว่า "กฎอิทัปปัจจยตา" คือกฎความสัมพันธ์ตามเหตุปัจจัยของเหตุและผล "เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี" หรือสิ่งนี้มี สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงมี หรือเมื่อมีเหตุ ก็ต้องมีผล หรือผล ย่อมมาจากเหตุ มีความสัมพันธ์เกี่ยวพันกันไปเหมือนฟันเฟืองเครื่องจักร จะยกตัวอย่างในเรื่องหลักๆ สำคัญๆ เช่น การพิจารณาองค์ประกอบของสังคมจะเห็นว่า ถ้าระบอบการเมืองดี มีหลักธรรมการปกครองให้ความยุติธรรมต่อประชาชน จะเป็นปัจจัยให้การปกครองดีด้วย, การปกครองดี ก็จะเป็นปัจจัยทำให้เศรษฐกิจดี, เมื่อเศรษฐกิจดี ก็จะเป็นปัจจัยทำให้การดำเนินชีวิตของประชาชนดีตามไปด้วย อย่างเป็นไปเอง
ในทางตรงกันข้าม ถ้าระบอบการเมืองไม่ดีไม่มีหลักธรรมการปกครอง ก็จะเป็นปัจจัยทำให้การปกครองไม่ดี, การปกครองไม่ดี ก็จะเป็นปัจจัยทำให้เศรษฐกิจไม่ดี, เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี ก็จะเป็นปัจจัยทำให้การดำเนินชีวิตของประชาชนก็ย่ำแย่ ประเทศชาติก็วิกฤตหายนะ คือว่าเมื่อระบอบการเมืองเลวเสียแล้ว มันก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยแผ่ความเลวออกไปสู่ส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด อุปมา น้ำเน่า ปลาย่อมได้รับพิษร้ายจากน้ำเน่า ระบอบการเมืองเลว ย่อมเป็นปัจจัยให้ประชาชนทุกข์ระทม
การที่รัฐบาลมัวแต่แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โดยไม่สืบสาวไปหาเหตุแห่งวิกฤตที่แท้จริง นอกจากจะแก้ปัญหาไม่ได้แล้ว ยังเป็นการลงทุนลงแรงที่สูญเปล่า และจะนำภัยร้ายแรงมาสู่ประเทศชาติและประชาชนให้หนักยิ่งๆ ขึ้น นี่เป็นการมองแบบภาพรวม หรือการมองแบบบูรณาการอย่างแท้จริง
เห็นด้วยอย่างยิ่งที่สถาบัน องค์กรต่างๆ ออกมารณรงค์แก้ปัญหาคอร์รัปชัน นำโดย สถาบันพระมหากษัตริย์, พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี, ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด และองค์กรต่างๆ อีกมากมาย แต่ทั้งนี้ต้องสืบสาวไปหาเหตุแห่งความเลวร้ายทั้งปวง คือระบอบฯ ปัจจุบันนั่นเอง จึงจะสามารถแก้ปัญหาคอร์รัปชันให้ตกไปได้ หรือให้เบาบางลงไปได้
ทีนี้เรากลับมาพิจารณากระดาษแผ่นนี้อีกครั้งหนึ่ง ผลจากการที่เราได้ยินได้ฟังได้เข้าใจตามที่บรรยายมาแล้วนั้น เราทั้งหลายได้รับอะไรบ้าง?
โยม "ดิฉันรู้สึกขึ้นมาว่า ถ้าผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองได้เข้าใจอย่างนี้บ้าง ก็จะทำให้สังคมมีความเมตตาต่อกันมากขึ้น และก็จะมีการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุแห่งวิกฤตชาติเจ้าค่ะ"
แล้วโยมละ "ผมคิดอย่างนี้ครับ ถ้าเข้าใจตามหลักนี้นะครับ สังคมประเทศชาติพรรคการเมือง สังคมทุกระดับ จะก่อให้เกิดความสามัคคีธรรม แม้กระทั่งระดับโลก"
"ผมมองทะลุไปว่า มนุษย์ที่ขัดแย้งกันนั้น ก็เพราะมีทัศนะเป็นอัตตานั่นเอง เพียงแค่ได้ยิน ได้ฟัง ได้เรียนรู้ อันเป็นสิ่งสมมติทั้งปวง แล้วไปยึด เกาะเกี่ยว เป็นจริงเป็นจังขึ้นมา แล้วทำให้เกิดการเปรียบเทียบแบบตายตัว จึงทำให้เกิดความกลัว โลภ โกรธ หลงขึ้น ผมขอโอกาสสักนิดเถอะครับ
พระ เอาเลย แสดงให้เต็มที่เลย ณ ที่นี้เป็นสถานที่แห่งอิสรภาพทางความคิด
โยมกล่าวต่อ "ถ้าเราไม่ยึดติดในสมมติ ในสื่อ ในภาษา ในสัญลักษณ์ ในความคิด เช่น ติดยึดในภาค ติดยึดในพรรค ติดยึดในประเทศ ติดยึดในศาสนาของตนๆ เราจะมีอิสระมากใช่ไหมครับพระอาจารย์ ตามที่ผมเข้าใจว่า เราต้องเรียนรู้ แต่ไม่ยึดติดในการเรียนรู้ เปรียบเทียบแต่ไม่ยึดติดในการเปรียบเทียบ รู้สมมติ แต่ไม่ยึดติดในสมมติ ใช้สมมติอย่างถูกต้อง ทั้งที่เป็นประโยชน์ และที่ไม่ใช่ประโยชน์"
พระ ดีแล้วละ พึงผัสสะ หรือสัมพันธ์อย่างอิสระจากสิ่งทั้งปวงย่อมพ้นทุกข์ นั่นเอง "พิจารณาเหตุปัจจัยภายนอก เพื่อประโยชน์สุขของปวงชน พึงพิจารณาภายในใจตนให้อิสระหลุดพ้นจากกิเลส" เอาละวันนี้เราก็สรุปได้ว่า "สรรพสิ่งล้วนสัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด หรือชีวิตคือส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด" "น้ำมันขึ้นราคาประชาชาก็จะจนลง การฉ้อราษฎร์บังหลวง ประชาชนก็จะจนลงๆ ยิ่งกว่า" เมื่อเข้าใจสภาวธรรม จะเกิดจริยธรรมในการมีเมตตา กรุณา เห็นอกเห็นใจในเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย เห็นใจคนยากคนจน คนด้อยโอกาส ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคล ครอบครัว จังหวัด ภาค พรรค ประเทศ หรือแม้แต่ระหว่างศาสนาและถ้าเป็นระดับรัฐบาล ท่านมีอำนาจมาก ถ้าท่านรู้สัจธรรม รู้จัก กฎอิทัปปัจจยตา รู้จักแก้ปัญหาที่ต้นเหตุแห่งปัญหา เมื่อเหตุดี ผลก็จะดีด้วย หรือเมื่อเหตุเลว ผลก็จะเลวด้วย หรือ Input ถูกต้อง Output ก็จะถูกต้องด้วย เข้าใจวิถีแห่งธรรมแล้วย่อมก่อเกิดความเมตตา ต่อเพื่อนร่วมชาติ ช่วยกันแก้ปัญหาเหตุวิกฤตชาติ ก็จะเป็นสายธารมหาเมตตาเจริญรอยตามแบบอย่างพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
เด็กอายุ 12 ขวบ เข้าไปเกาะแขนพระอาจารย์ แล้วกระซิบเบาๆ "พระอาจารย์กับผมเป็นพี่น้องกันหรือครับ? และรวมทั้งพี่น้องมนุษย์ทั่วโลก และสัตว์ทั้งหลายด้วยใช่ไหมครับ?" พระอาจารย์ลูบหัวเด็กน้อยด้วยความเมตตา เอ็นดู...แล้วท่านกล่าวขึ้นว่า "เธอจะเป็นปัญญาชนของแผ่นดิน"