ศูนย์ข่าวภูเก็ต -การแก้ปัญหาชาวบ้านรุกหาดในยางยังไม่เห็นฝั่ง ผู้ว่าฯสั่งทุบทิ้งอาคาร 30 ยูนิตริมหาด ที่อบต.สร้างเป็นอาคารถาวรให้ชาวบ้านขายของ มองเป็นทัศนะอุจาดไม่เกิดความสวยงาม สั่งนายอำเภอถลางและอบต.สาคู หาพื้นที่และปรับโครงการใหม่เสร็จใน 1 สัปดาห์
วานนี้ (16 ส.ค.) นายอุดมศักดิ์ อัศวรางกูร ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ปัญหาการจัดระเบียบและภูมิทัศน์ หาดในยาง ต.สาคู อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ร่วมหารือ ประกอบด้วย นายอำเภอถลาง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติสิรินารถ (หาดในยาง) ตัวแทนจากสำนักงานโยธาธิการ และผังเมืองจังหวัดภูเก็ต นายกองค์องค์การบริหารส่วนตำบลสาคู เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจัดระเบียบหาดในยาง ที่ชาวบ้านเข้าไปบุกรุก
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ได้อนุมัติงบประมาณแก้ปัญหาและจัดระเบียบหาดในยางให้กับอุทยานแห่งชาติหาดในยาง 15 ล้านบาท และอุทยานฯได้มอบหมายให้โยธาธิการออกแบบร้านค้า เพื่อให้ผู้ที่บุกรุกขายของที่หาดในยาง ได้เข้ามาค้าขาย โดยใช้งบฯก่อสร้างอาคารชั่วคราว 9 ล้านบาท และจัดซื้อรถเก็บขยะอัตโนมัติอีก 6 ล้านบาท แต่ปรากฏว่า งบฯได้ถูกโอนไปให้อบต.สาคูแทน โดยอบต.สาคูได้มีการออกแบบใหม่ทั้งหมด โดยใช้งบฯจำนวน 15 ล้านบาท ก่อสร้างเป็นอาคารถาวรกว้าง 6 เมตร ยาว 12-15 เมตร 30 ยูนิต เพื่อให้ผู้บุกรุกที่อบต.คัดเลือก 14 รายและอุทยานฯอีก 14 รายได้เข้ามาค้าขาย
อบต.ได้เข้าไปก่อสร้าง ๆทั้ง ที่อุทยานฯยังไม่ได้ส่งมอบพื้นที่ให้ โดยเริ่มประมาณเดือนตุลาคม 2547 ก่อนที่จะเกิดสึนามิ ซึ่งได้ก่อสร้างในส่วนของหลังคาและก่ออิฐ แต่อาคารดังกล่าวไม่มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของหาด หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระดับจังหวัดและส่วนกลาง มองว่าเป็นทัศนะอุจาด ไม่เกิดความสวยงาม และที่สำคัญอุทยานฯไม่ได้ส่งมอบพื้นที่ให้อบต. ทำให้ผู้รับเหมาไม่สามารถที่จะเข้าไปก่อสร้างเพิ่มได้ และไม่สามารถที่จะเบิกเงินค่างวดได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ในการหารือครั้งนี้ ได้ข้อยุติว่า จะต้องรื้ออาคารดังกล่าวทิ้ง และให้ใช้งบประมาณที่เหลือและให้อบต.สาคู สมทบในการปรับปรุงโครงการใหม่ทั้งหมด ให้เหมาะสมกับสภาพของสิ่งแวดล้อมในบริเวณหาดในยาง พร้อมทั้งให้จัดหาพื้นที่ใหม่ให้เสร็จภายใน 1 สัปดาห์ ซึ่งได้มอบหมายให้ทางนายอำเภอถลางและอบต.สาคู ไปดำเนินการในเรื่องนี้
นายสุรพงศ์ ปัญญาไว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสาคู กล่าวว่า เมื่อที่เดิมไม่สามารถก่อสร้างได้ อบต.จะใช้พื้นที่ บริเวณสถานีบริการประชาชนและนักท่องเที่ยวของอุทยานฯ มาก่อสร้างอาคารให้ประชาชนได้ค้าขายต่อไป โดยอยู่ห่างจากพื้นที่ก่อสร้างเดิม ไปทางหน้าโรงแรมเพิร์ลวิลเลจประมาณ 100 เมตร ซึ่งน่าจะเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม
สำหรับผู้ที่บุกรุกหาดในยาง จากการสำรวจข้อมูลของทางอุทยานแห่งชาติหาดในยาง พบว่ามีทั้งหมด 56 ราย แบ่งเป็นร้านขายอาหารประเภทส้มตำ 14 ราย บาร์เบียร์ 19 ราย และร้านค้าต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการฟ้องร้องกับทางอุทยานฯอีก 23 ร้าน
วานนี้ (16 ส.ค.) นายอุดมศักดิ์ อัศวรางกูร ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ปัญหาการจัดระเบียบและภูมิทัศน์ หาดในยาง ต.สาคู อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ร่วมหารือ ประกอบด้วย นายอำเภอถลาง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติสิรินารถ (หาดในยาง) ตัวแทนจากสำนักงานโยธาธิการ และผังเมืองจังหวัดภูเก็ต นายกองค์องค์การบริหารส่วนตำบลสาคู เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจัดระเบียบหาดในยาง ที่ชาวบ้านเข้าไปบุกรุก
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ได้อนุมัติงบประมาณแก้ปัญหาและจัดระเบียบหาดในยางให้กับอุทยานแห่งชาติหาดในยาง 15 ล้านบาท และอุทยานฯได้มอบหมายให้โยธาธิการออกแบบร้านค้า เพื่อให้ผู้ที่บุกรุกขายของที่หาดในยาง ได้เข้ามาค้าขาย โดยใช้งบฯก่อสร้างอาคารชั่วคราว 9 ล้านบาท และจัดซื้อรถเก็บขยะอัตโนมัติอีก 6 ล้านบาท แต่ปรากฏว่า งบฯได้ถูกโอนไปให้อบต.สาคูแทน โดยอบต.สาคูได้มีการออกแบบใหม่ทั้งหมด โดยใช้งบฯจำนวน 15 ล้านบาท ก่อสร้างเป็นอาคารถาวรกว้าง 6 เมตร ยาว 12-15 เมตร 30 ยูนิต เพื่อให้ผู้บุกรุกที่อบต.คัดเลือก 14 รายและอุทยานฯอีก 14 รายได้เข้ามาค้าขาย
อบต.ได้เข้าไปก่อสร้าง ๆทั้ง ที่อุทยานฯยังไม่ได้ส่งมอบพื้นที่ให้ โดยเริ่มประมาณเดือนตุลาคม 2547 ก่อนที่จะเกิดสึนามิ ซึ่งได้ก่อสร้างในส่วนของหลังคาและก่ออิฐ แต่อาคารดังกล่าวไม่มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของหาด หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระดับจังหวัดและส่วนกลาง มองว่าเป็นทัศนะอุจาด ไม่เกิดความสวยงาม และที่สำคัญอุทยานฯไม่ได้ส่งมอบพื้นที่ให้อบต. ทำให้ผู้รับเหมาไม่สามารถที่จะเข้าไปก่อสร้างเพิ่มได้ และไม่สามารถที่จะเบิกเงินค่างวดได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ในการหารือครั้งนี้ ได้ข้อยุติว่า จะต้องรื้ออาคารดังกล่าวทิ้ง และให้ใช้งบประมาณที่เหลือและให้อบต.สาคู สมทบในการปรับปรุงโครงการใหม่ทั้งหมด ให้เหมาะสมกับสภาพของสิ่งแวดล้อมในบริเวณหาดในยาง พร้อมทั้งให้จัดหาพื้นที่ใหม่ให้เสร็จภายใน 1 สัปดาห์ ซึ่งได้มอบหมายให้ทางนายอำเภอถลางและอบต.สาคู ไปดำเนินการในเรื่องนี้
นายสุรพงศ์ ปัญญาไว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสาคู กล่าวว่า เมื่อที่เดิมไม่สามารถก่อสร้างได้ อบต.จะใช้พื้นที่ บริเวณสถานีบริการประชาชนและนักท่องเที่ยวของอุทยานฯ มาก่อสร้างอาคารให้ประชาชนได้ค้าขายต่อไป โดยอยู่ห่างจากพื้นที่ก่อสร้างเดิม ไปทางหน้าโรงแรมเพิร์ลวิลเลจประมาณ 100 เมตร ซึ่งน่าจะเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม
สำหรับผู้ที่บุกรุกหาดในยาง จากการสำรวจข้อมูลของทางอุทยานแห่งชาติหาดในยาง พบว่ามีทั้งหมด 56 ราย แบ่งเป็นร้านขายอาหารประเภทส้มตำ 14 ราย บาร์เบียร์ 19 ราย และร้านค้าต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการฟ้องร้องกับทางอุทยานฯอีก 23 ร้าน