“ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก” และ "ผีซ้ำด้ำพลอย" นี่คือคำพูดที่ติดปากคนไทยเมื่อจะอธิบายเคราะห์กรรมที่เกิดขึ้นกับบุคคลคนเดียวกันในลักษณะซ้ำเติม โดยที่เคราะห์กรรมประการแรกเกิดขึ้น และยังไม่ทันจางหายไป ก็มีเคราะห์กรรมใหม่เกิดขึ้นเป็นการกระหน่ำซ้ำเติมให้ได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อนยิ่งขึ้น
ทั้งสองวลีแห่งคำพังเพยดังกล่าวข้างต้น ดูเหมือนจะนำมาอธิบายเหตุการณ์ในทางร้ายที่เกิดขึ้นกับโครงการก่อสร้างสนามบินหนองงูเห่า หรือที่เรียกชื่อเป็นทางการว่า สนามบินสุวรรณภูมิได้อย่างเป็นรูปธรรมยิ่ง ทั้งนี้จะเห็นได้จากปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นกับโครงการนี้ โดยลำดับดังนี้
1. การเลือกสถานที่ก่อสร้าง
โครงการก่อสร้างสนามบินหนองงูเห่าได้เกิดขึ้นจากการจัดธุรกิจให้บริการเดินทางโดยเครื่องบินที่ว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องมีสนามบินนานาชาติใหม่ เนื่องจากว่าสนามบินดอนเมืองที่มีอยู่มีแนวโน้มว่าจะแออัด และไม่สามารถจะรองรับผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นในอนาคตได้ ทั้งจะขยายให้เพียงพอก็ทำได้ยาก เนื่องจากมีข้อจำกัดเกี่ยวกับพื้นที่เพราะติดกับกองทัพอากาศ
ดังนั้น การศึกษาเพื่อหาพื้นที่ก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่จึงได้เกิดขึ้น และในครั้งนั้นมีทางเลือกอยู่ 3 ทาง และแต่ละทางก็มีข้อเสีย คือ
1.1 ขยายสนามบินดอนเมืองเพื่อให้มีศักยภาพเพียงพอที่จะรองรับผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
แต่การจะทำเช่นนี้ได้จะต้องย้ายกองทัพอากาศออกไป และดูเหมือนการย้ายกองทัพในยุคที่ฝ่ายคุมกำลังมีอำนาจต่อรองกับฝ่ายปกครองสูงเช่นในอดีตมิใช่เรื่องง่ายเพราะจะต้องจัดหาพื้นที่ และทำการก่อสร้างเพื่อรองรับกำลังพลให้เพียงพอ ทั้งมีความสะดวกสบายเป็นที่พอใจ นั่นหมายถึงว่าจะต้องใช้เงินและเวลาจำนวนไม่น้อย ทางเลือกนี้จึงถูกตัดออกไป
1.2 ปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาที่อำเภอสัตหีบ ที่กองทัพอเมริกาได้สร้างไว้สมัยสงครามเวียดนามให้เป็นสนามบินพาณิชย์ และให้มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ในด้านธุรกิจให้บริการเดินทางเครื่องบินอย่างเพียงพอ เป็นต้นว่า อาคารผู้โดยสาร โกดังสินค้า รวมไปถึงเส้นทางคมนาคมเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารที่จะเดินทางจากสนามบินเข้าเมือง และจากเมืองไปสู่สนามบิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ กับสนามบินจะต้องมีความสะดวก และรวดเร็วกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เป็นต้นว่า จะต้องมีรถไฟความเร็วสูงเพื่อรองรับการเดินทาง นั่นหมายถึงว่าจะต้องมีการลงทุนเพิ่มด้วยเงินจำนวนไม่น้อยเช่นกัน แต่ที่สำคัญคือ ระยะทางที่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เป็นปัญหาที่มีการท้วงติงมากที่สุด
1.3 หนองงูเห่า ซึ่งอยู่ไม่ห่างกรุงเทพฯ มากนัก ถ้าดูเพียงระยะทางก็น่าจะดีที่สุด เพราะไม่ต้องเสียเวลาเดินทางเหมือนอู่ตะเภา และไม่ต้องไปรบกวนกองทัพอากาศให้เดือดร้อน
แต่หนองงูเห่าก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสีย ตรงกันข้ามหนองงูเห่ามีข้อเสียที่น่าจะเรียกได้ว่าเมื่อเทียบกับระยะทางของอู่ตะเภา และการที่ต้องย้ายกองทัพอากาศแล้วมากกว่าด้วยซ้ำ
ข้อเสียที่ว่านี้ก็คือ เป็นที่ลุ่มน้ำขัง เป็นทางเดินของน้ำ และที่สำคัญที่สุดเป็นที่ที่ดินอ่อน มีสภาพเป็นดินเลนยากแก่การก่อสร้าง
ดังนั้น ในการออกแบบก่อสร้างได้กำหนดวิธีการก่อสร้างเพื่อให้โครงสร้างมั่นคงแข็งแรง ไม่ทรุดตัวจนทำให้เกิดความเสียหายได้ 2 วิธี ดังนี้
1. ใช้วิธีตอกเสาเข็มพื้นที่ก่อสร้างเพื่อเป็นฐานรองรับน้ำหนัก แต่วิธีนี้ลงทุนสูงมาก และอาจทำงานได้ช้า เพราะการที่จะเอาเครื่องมือหนักคือปั้นจั่นเข้าไปในพื้นที่ซึ่งเป็นโคลนทำได้ยาก ทั้งจำนวนเสาเข็มที่ต้องใช้ก็มากด้วย
2. ใช้วิธีถมทรายหยาบเม็ดใหญ่และอัดแน่น ระบายน้ำออกจากชั้นดินโดยใช้ท่อพีวีซี
แต่วิธีนี้ก็มีปัญหาว่าจะเอาทรายหยาบเม็ดใหญ่ปริมาณมากนับล้านคิวมาจากไหน และด้วยราคาเท่าใด
ในที่สุดทาง บทม.ได้เลือกวิธีก่อสร้างโดยการถมทราย และระบายน้ำออกจากดินโดยใช้ท่อพีวีซี และเมื่อการถมทรายได้ดำเนินไปก็เกิดกระแสข่าวเรื่องนำทรายไม่ตรงกับสเปกมาถม และทำให้มีการทุจริตเกิดขึ้นจนถึงกับทำให้ผู้บริหาร บทม.ในยุคนั้นฟ้องร้องหนังสือพิมพ์บางฉบับที่นำข่าวนี้มาลงเผยแพร่ และจนบัดนี้คดียังคงคาโรงคาศาลอยู่
ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร และมีการจัดซื้อเครื่องตรวจอาวุธซีทีเอ็กซ์ 9000 ก็เกิดข่าวในทางลบปรากฏออกมาทางสื่ออย่างกว้างขวางว่า ซื้อในราคาแพง และในจำนวนที่มากเกินความจำเป็น เมื่อเทียบกับประเทศจีน และฟิลิปปินส์ที่ซื้อเครื่องซีทีเอ็กซ์เพียงประเทศละ 2 เครื่อง แต่ประเทศไทยได้สั่งซื้อครั้งเดียวถึง 26 เครื่องที่เป็นการสั่งซื้อผ่านบริษัทนายหน้าด้วย ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตในความไม่โปร่งใสของผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของพนักงานประจำ บทม. และฝ่ายการเมืองที่เข้าไปกำกับดูแล ดังที่ได้เป็นข่าวไปแล้ว
ต่อมาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งลงข่าวเรื่องทางวิ่งของสนามบินแห่งนี้ทรุด และทางฝ่าย บทม.รวมไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ออกมาชี้แจงว่าเป็นรอยแยกนอกทางวิ่ง และเป็นรอยแยกที่เกิดจากเทคนิคการก่อสร้าง ไม่มีผลกระทบใดๆ เกี่ยวกับทางวิ่ง ทุกอย่างปลอดภัย และในวันรุ่งขึ้นทางหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวได้แก้ข่าวตามที่ได้ชี้แจง ทั้งยังขอโทษในความผิดพลาดด้วย
อย่างไรก็ตาม ถ้านำเอาคำชี้แจงทั้งจากเจ้าหน้าที่ บทม.และฝ่ายการเมืองที่กำกับดูแลออกมาชี้แจงในระยะแรกที่ไม่ค่อยจะสอดรับกับคำชี้แจงในครั้งสุดท้ายจากวิศวกรรมสถาปนิก โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่าเป็นรอยแยกที่ทางบริษัทก่อสร้างได้จัดทำไว้เพื่อป้องกันการแตกร้าวในอนาคต กับอีกประเด็นที่ว่าเพื่อให้เกิดรอยแยก และหยอดยางมะตอยเหมือนรอยต่อในถนนที่ทำไว้เพื่อมิให้เกิดการแตกหักของแผ่นคอนกรีตอันเกิดจากการหดตัว เนื่องจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง
จากคำชี้แจงในครั้งแรกๆ ดังกล่าว ก่อให้เกิดข้อกังขาในหมู่ประชาชนอย่างน้อยในประเด็นดังต่อไปนี้
1. ถ้าเป็นรอยต่อที่ทำไว้เพื่อป้องกันการแตกร้าว ทำไมไม่มีการแตกในแนวที่ตรงกัน และตลอดทั้งแนวตามที่กำหนดไว้ และที่ยิ่งกว่านี้ ถ้ามีกำหนดไว้ในแบบจริงก็น่าที่จะได้เอาแบบมาเปิดเผยประกอบคำชี้แจ
2. โดยปกติรอยเชื่อมต่อเพื่อป้องกันการหดตัวของพื้นผิวจะทำกันในพื้นผิวที่เป็นคอนกรีต จะไม่ทำในพื้นผิวที่เป็นยางมะตอย เพราะอย่างหลังมีการยืดหยุ่นได้อยู่แล้ว ไม่ต้องมีรอยต่อเชื่อมมาคั่น
แต่เมื่อดูจากภาพที่ปรากฏทางสื่อ พบรอยแตกที่ว่านี้เป็นพื้นผิวยางมะตอยที่ราดไว้บางๆ ริมขอบของสนามห่างจากทางวิ่ง จึงน่าจะไม่ใช่รอยต่อที่ตั้งใจทำขึ้นไว้ตามที่ออกมาชี้แจงในระยะแรกๆ
แต่เป็นไปได้ว่าเป็นรอยแยกอันเกิดจากการทรุดตัวของชั้นดินที่ไม่เท่ากันทั้งสองฝั่ง โดยที่ไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อทางวิ่งที่ชั้นดินไม่ทรุดหรือทรุดเท่ากัน โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อการขึ้นลงของเครื่องบิน ดังที่ได้ชี้แจงครั้งหลังสุด
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนไม่อยากให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงสื่อบางฉบับพอใจในคำชี้แจงเพียงแค่นี้แล้วหยุดการติดตามผลต่อไปเรื่อยๆ ในอนาคต เพราะการที่มีรอยแตกในลักษณะนี้เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าในขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อทางวิ่ง นั่นมิได้หมายความว่าจะไม่มีความเสียหายใดๆ เกิดขึ้นในอนาคต เพราะต้องไม่ลืมว่าดินที่ทรุดตัวและก่อให้เกิดรอยแยกในครั้งนี้เป็นสัญญาณบ่งบอกอย่างชัดเจนว่า ที่หนองน้ำแห่งนี้มีโอกาสที่ทางวิ่งเครื่องจะทรุดตัว และก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางวิ่งเกิดขึ้นได้เมื่อเวลาผ่านไป
จริงอยู่ในทางเทคนิคทรุดได้ก็ซ่อมได้ในลักษณะซ่อมไปใช้ไปเหมือนถนนบางนา-ตราดที่มีชั้นดินอ่อนใกล้เคียงกัน
แต่จะต้องไม่ลืมว่าถนนกับสนามบินต่างกันในเรื่องความรุนแรงอันอาจเกิดการทรุดตัว ถนนทรุดขับรถไปมองเห็นหลีกเลี่ยงได้ หรือเกิดเมาขับรถลงหลุมโอกาสบาดเจ็บและถึงตายมีน้อยกว่าเครื่องบินที่ลงมาแตะพื้นแล้วสะดุดรอยแตกอาจถลาออกนอกทางวิ่งไฟไหม้ตายหมู่ได้
ดังนั้น พูดได้เลยว่า ถ้าพื้นทางวิ่งทรุดถึงแม้จะปิดซ่อมได้ ภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นที่สายการบินต่างประเทศจะพึงมีต่อประเทศไทยคงเหลือไม่มาก
อีกประการหนึ่ง การเกิดรอยแยกต้องปิดซ่อมบ่อยๆ ถึงแม้ทางเทคนิคจะทำได้ แต่ในทางต้นทุนคงจะควบคุมให้อยู่ในมาตรฐานเพื่อการแข่งขันกับสนามบินต่างประเทศคงทำได้ยาก
ทั้งหมดที่บอกมาเป็นเพียงข้อวิตกกังวลของผู้เขียนเท่านั้น ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือคล้อยตาม
แต่ถ้าบังเอิญทุกอย่างเกิดขึ้นตามที่ได้บอกไว้ ก็จะไม่ต้องมาเสียใจที่ตนเองมิได้ทำหน้าที่ในฐานะสื่อที่คอยให้ข้อคิดเห็นในสิ่งที่ประชาชนควรจะได้ตระหนักเท่านั้น
โดยใจจริงแล้ว ไม่ต้องการให้สิ่งที่วิตกกังวลนี้เกิดขึ้นแต่ประการใด
ไม่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นข่าวออกไปจะทำให้ใครมองสื่ออย่างไร ในฐานะสื่อผู้เขียนเห็นว่าฝ่ายบ้านเมืองควรจะมองตนเองพร้อมๆ กับมองสื่อ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นและทำให้สื่อสงสัยในทุกเรื่องเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างสนามบินแห่งนี้ มีข้อสับสนและก่อให้เกิดความสงสัยมาตลอดในระยะเวลาเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา นั่นคือ เลือกสถานที่ก่อสร้างโดยเลือกเอาที่หนองน้ำแทนที่จะเลือกที่ดอน จนมาถึงการจัดซื้อจัดจ้างล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดเครื่องหมายคำถามเกือบในทุกเรื่อง
ดังนั้น ถ้าจะให้สื่อไม่สงสัยและใฝ่หาคำตอบ ขอให้การเมืองที่เกี่ยวข้องพูดให้ตรงประเด็น และไปในทางเดียวกันในทุกเรื่องและทุกเวลา อย่าพูดอย่าง ทำอย่าง หรือในอดีตพูดไว้ว่าจะทำ แต่เมื่ออนาคตมาเป็นปัจจุบันแล้วเรื่องที่เคยบอกไว้ว่าจะทำกลับไม่ทำ เช่น ในเรื่องการปราบปรามการทุจริต เป็นต้น ที่เคยบอกว่าไม่ต้องมีใบเสร็จก็จะดำเนินการ แต่ครั้นเกิดขึ้นจริงมีหลักฐานที่พอเชื่อได้ก็มิได้ดำเนินการ เป็นต้น
ถ้าเรื่องยังคงเป็นทำนองนี้ รับรองได้ว่ารัฐบาลชุดนี้หรือชุดไหนคงต้องทำสงครามกับสื่อต่อไปไม่หยุดหย่อน เพราะทั้งสองฝ่ายมีจุดยืนต่างกัน และพยายามปกป้องจุดยืนของตน ทางที่ดี เลิก ละ ลด ทิฐิส่วนตนลง และมองส่วนรวมเป็นที่ตั้งแล้วหันหน้าพูดกัน เชื่อว่าทุกอย่างจะไปด้วยกันได้ดี
ทั้งสองวลีแห่งคำพังเพยดังกล่าวข้างต้น ดูเหมือนจะนำมาอธิบายเหตุการณ์ในทางร้ายที่เกิดขึ้นกับโครงการก่อสร้างสนามบินหนองงูเห่า หรือที่เรียกชื่อเป็นทางการว่า สนามบินสุวรรณภูมิได้อย่างเป็นรูปธรรมยิ่ง ทั้งนี้จะเห็นได้จากปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นกับโครงการนี้ โดยลำดับดังนี้
1. การเลือกสถานที่ก่อสร้าง
โครงการก่อสร้างสนามบินหนองงูเห่าได้เกิดขึ้นจากการจัดธุรกิจให้บริการเดินทางโดยเครื่องบินที่ว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องมีสนามบินนานาชาติใหม่ เนื่องจากว่าสนามบินดอนเมืองที่มีอยู่มีแนวโน้มว่าจะแออัด และไม่สามารถจะรองรับผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นในอนาคตได้ ทั้งจะขยายให้เพียงพอก็ทำได้ยาก เนื่องจากมีข้อจำกัดเกี่ยวกับพื้นที่เพราะติดกับกองทัพอากาศ
ดังนั้น การศึกษาเพื่อหาพื้นที่ก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่จึงได้เกิดขึ้น และในครั้งนั้นมีทางเลือกอยู่ 3 ทาง และแต่ละทางก็มีข้อเสีย คือ
1.1 ขยายสนามบินดอนเมืองเพื่อให้มีศักยภาพเพียงพอที่จะรองรับผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
แต่การจะทำเช่นนี้ได้จะต้องย้ายกองทัพอากาศออกไป และดูเหมือนการย้ายกองทัพในยุคที่ฝ่ายคุมกำลังมีอำนาจต่อรองกับฝ่ายปกครองสูงเช่นในอดีตมิใช่เรื่องง่ายเพราะจะต้องจัดหาพื้นที่ และทำการก่อสร้างเพื่อรองรับกำลังพลให้เพียงพอ ทั้งมีความสะดวกสบายเป็นที่พอใจ นั่นหมายถึงว่าจะต้องใช้เงินและเวลาจำนวนไม่น้อย ทางเลือกนี้จึงถูกตัดออกไป
1.2 ปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาที่อำเภอสัตหีบ ที่กองทัพอเมริกาได้สร้างไว้สมัยสงครามเวียดนามให้เป็นสนามบินพาณิชย์ และให้มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ในด้านธุรกิจให้บริการเดินทางเครื่องบินอย่างเพียงพอ เป็นต้นว่า อาคารผู้โดยสาร โกดังสินค้า รวมไปถึงเส้นทางคมนาคมเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารที่จะเดินทางจากสนามบินเข้าเมือง และจากเมืองไปสู่สนามบิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ กับสนามบินจะต้องมีความสะดวก และรวดเร็วกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เป็นต้นว่า จะต้องมีรถไฟความเร็วสูงเพื่อรองรับการเดินทาง นั่นหมายถึงว่าจะต้องมีการลงทุนเพิ่มด้วยเงินจำนวนไม่น้อยเช่นกัน แต่ที่สำคัญคือ ระยะทางที่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เป็นปัญหาที่มีการท้วงติงมากที่สุด
1.3 หนองงูเห่า ซึ่งอยู่ไม่ห่างกรุงเทพฯ มากนัก ถ้าดูเพียงระยะทางก็น่าจะดีที่สุด เพราะไม่ต้องเสียเวลาเดินทางเหมือนอู่ตะเภา และไม่ต้องไปรบกวนกองทัพอากาศให้เดือดร้อน
แต่หนองงูเห่าก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสีย ตรงกันข้ามหนองงูเห่ามีข้อเสียที่น่าจะเรียกได้ว่าเมื่อเทียบกับระยะทางของอู่ตะเภา และการที่ต้องย้ายกองทัพอากาศแล้วมากกว่าด้วยซ้ำ
ข้อเสียที่ว่านี้ก็คือ เป็นที่ลุ่มน้ำขัง เป็นทางเดินของน้ำ และที่สำคัญที่สุดเป็นที่ที่ดินอ่อน มีสภาพเป็นดินเลนยากแก่การก่อสร้าง
ดังนั้น ในการออกแบบก่อสร้างได้กำหนดวิธีการก่อสร้างเพื่อให้โครงสร้างมั่นคงแข็งแรง ไม่ทรุดตัวจนทำให้เกิดความเสียหายได้ 2 วิธี ดังนี้
1. ใช้วิธีตอกเสาเข็มพื้นที่ก่อสร้างเพื่อเป็นฐานรองรับน้ำหนัก แต่วิธีนี้ลงทุนสูงมาก และอาจทำงานได้ช้า เพราะการที่จะเอาเครื่องมือหนักคือปั้นจั่นเข้าไปในพื้นที่ซึ่งเป็นโคลนทำได้ยาก ทั้งจำนวนเสาเข็มที่ต้องใช้ก็มากด้วย
2. ใช้วิธีถมทรายหยาบเม็ดใหญ่และอัดแน่น ระบายน้ำออกจากชั้นดินโดยใช้ท่อพีวีซี
แต่วิธีนี้ก็มีปัญหาว่าจะเอาทรายหยาบเม็ดใหญ่ปริมาณมากนับล้านคิวมาจากไหน และด้วยราคาเท่าใด
ในที่สุดทาง บทม.ได้เลือกวิธีก่อสร้างโดยการถมทราย และระบายน้ำออกจากดินโดยใช้ท่อพีวีซี และเมื่อการถมทรายได้ดำเนินไปก็เกิดกระแสข่าวเรื่องนำทรายไม่ตรงกับสเปกมาถม และทำให้มีการทุจริตเกิดขึ้นจนถึงกับทำให้ผู้บริหาร บทม.ในยุคนั้นฟ้องร้องหนังสือพิมพ์บางฉบับที่นำข่าวนี้มาลงเผยแพร่ และจนบัดนี้คดียังคงคาโรงคาศาลอยู่
ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร และมีการจัดซื้อเครื่องตรวจอาวุธซีทีเอ็กซ์ 9000 ก็เกิดข่าวในทางลบปรากฏออกมาทางสื่ออย่างกว้างขวางว่า ซื้อในราคาแพง และในจำนวนที่มากเกินความจำเป็น เมื่อเทียบกับประเทศจีน และฟิลิปปินส์ที่ซื้อเครื่องซีทีเอ็กซ์เพียงประเทศละ 2 เครื่อง แต่ประเทศไทยได้สั่งซื้อครั้งเดียวถึง 26 เครื่องที่เป็นการสั่งซื้อผ่านบริษัทนายหน้าด้วย ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตในความไม่โปร่งใสของผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของพนักงานประจำ บทม. และฝ่ายการเมืองที่เข้าไปกำกับดูแล ดังที่ได้เป็นข่าวไปแล้ว
ต่อมาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งลงข่าวเรื่องทางวิ่งของสนามบินแห่งนี้ทรุด และทางฝ่าย บทม.รวมไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ออกมาชี้แจงว่าเป็นรอยแยกนอกทางวิ่ง และเป็นรอยแยกที่เกิดจากเทคนิคการก่อสร้าง ไม่มีผลกระทบใดๆ เกี่ยวกับทางวิ่ง ทุกอย่างปลอดภัย และในวันรุ่งขึ้นทางหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวได้แก้ข่าวตามที่ได้ชี้แจง ทั้งยังขอโทษในความผิดพลาดด้วย
อย่างไรก็ตาม ถ้านำเอาคำชี้แจงทั้งจากเจ้าหน้าที่ บทม.และฝ่ายการเมืองที่กำกับดูแลออกมาชี้แจงในระยะแรกที่ไม่ค่อยจะสอดรับกับคำชี้แจงในครั้งสุดท้ายจากวิศวกรรมสถาปนิก โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่าเป็นรอยแยกที่ทางบริษัทก่อสร้างได้จัดทำไว้เพื่อป้องกันการแตกร้าวในอนาคต กับอีกประเด็นที่ว่าเพื่อให้เกิดรอยแยก และหยอดยางมะตอยเหมือนรอยต่อในถนนที่ทำไว้เพื่อมิให้เกิดการแตกหักของแผ่นคอนกรีตอันเกิดจากการหดตัว เนื่องจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง
จากคำชี้แจงในครั้งแรกๆ ดังกล่าว ก่อให้เกิดข้อกังขาในหมู่ประชาชนอย่างน้อยในประเด็นดังต่อไปนี้
1. ถ้าเป็นรอยต่อที่ทำไว้เพื่อป้องกันการแตกร้าว ทำไมไม่มีการแตกในแนวที่ตรงกัน และตลอดทั้งแนวตามที่กำหนดไว้ และที่ยิ่งกว่านี้ ถ้ามีกำหนดไว้ในแบบจริงก็น่าที่จะได้เอาแบบมาเปิดเผยประกอบคำชี้แจ
2. โดยปกติรอยเชื่อมต่อเพื่อป้องกันการหดตัวของพื้นผิวจะทำกันในพื้นผิวที่เป็นคอนกรีต จะไม่ทำในพื้นผิวที่เป็นยางมะตอย เพราะอย่างหลังมีการยืดหยุ่นได้อยู่แล้ว ไม่ต้องมีรอยต่อเชื่อมมาคั่น
แต่เมื่อดูจากภาพที่ปรากฏทางสื่อ พบรอยแตกที่ว่านี้เป็นพื้นผิวยางมะตอยที่ราดไว้บางๆ ริมขอบของสนามห่างจากทางวิ่ง จึงน่าจะไม่ใช่รอยต่อที่ตั้งใจทำขึ้นไว้ตามที่ออกมาชี้แจงในระยะแรกๆ
แต่เป็นไปได้ว่าเป็นรอยแยกอันเกิดจากการทรุดตัวของชั้นดินที่ไม่เท่ากันทั้งสองฝั่ง โดยที่ไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อทางวิ่งที่ชั้นดินไม่ทรุดหรือทรุดเท่ากัน โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อการขึ้นลงของเครื่องบิน ดังที่ได้ชี้แจงครั้งหลังสุด
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนไม่อยากให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงสื่อบางฉบับพอใจในคำชี้แจงเพียงแค่นี้แล้วหยุดการติดตามผลต่อไปเรื่อยๆ ในอนาคต เพราะการที่มีรอยแตกในลักษณะนี้เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าในขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อทางวิ่ง นั่นมิได้หมายความว่าจะไม่มีความเสียหายใดๆ เกิดขึ้นในอนาคต เพราะต้องไม่ลืมว่าดินที่ทรุดตัวและก่อให้เกิดรอยแยกในครั้งนี้เป็นสัญญาณบ่งบอกอย่างชัดเจนว่า ที่หนองน้ำแห่งนี้มีโอกาสที่ทางวิ่งเครื่องจะทรุดตัว และก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางวิ่งเกิดขึ้นได้เมื่อเวลาผ่านไป
จริงอยู่ในทางเทคนิคทรุดได้ก็ซ่อมได้ในลักษณะซ่อมไปใช้ไปเหมือนถนนบางนา-ตราดที่มีชั้นดินอ่อนใกล้เคียงกัน
แต่จะต้องไม่ลืมว่าถนนกับสนามบินต่างกันในเรื่องความรุนแรงอันอาจเกิดการทรุดตัว ถนนทรุดขับรถไปมองเห็นหลีกเลี่ยงได้ หรือเกิดเมาขับรถลงหลุมโอกาสบาดเจ็บและถึงตายมีน้อยกว่าเครื่องบินที่ลงมาแตะพื้นแล้วสะดุดรอยแตกอาจถลาออกนอกทางวิ่งไฟไหม้ตายหมู่ได้
ดังนั้น พูดได้เลยว่า ถ้าพื้นทางวิ่งทรุดถึงแม้จะปิดซ่อมได้ ภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นที่สายการบินต่างประเทศจะพึงมีต่อประเทศไทยคงเหลือไม่มาก
อีกประการหนึ่ง การเกิดรอยแยกต้องปิดซ่อมบ่อยๆ ถึงแม้ทางเทคนิคจะทำได้ แต่ในทางต้นทุนคงจะควบคุมให้อยู่ในมาตรฐานเพื่อการแข่งขันกับสนามบินต่างประเทศคงทำได้ยาก
ทั้งหมดที่บอกมาเป็นเพียงข้อวิตกกังวลของผู้เขียนเท่านั้น ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือคล้อยตาม
แต่ถ้าบังเอิญทุกอย่างเกิดขึ้นตามที่ได้บอกไว้ ก็จะไม่ต้องมาเสียใจที่ตนเองมิได้ทำหน้าที่ในฐานะสื่อที่คอยให้ข้อคิดเห็นในสิ่งที่ประชาชนควรจะได้ตระหนักเท่านั้น
โดยใจจริงแล้ว ไม่ต้องการให้สิ่งที่วิตกกังวลนี้เกิดขึ้นแต่ประการใด
ไม่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นข่าวออกไปจะทำให้ใครมองสื่ออย่างไร ในฐานะสื่อผู้เขียนเห็นว่าฝ่ายบ้านเมืองควรจะมองตนเองพร้อมๆ กับมองสื่อ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นและทำให้สื่อสงสัยในทุกเรื่องเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างสนามบินแห่งนี้ มีข้อสับสนและก่อให้เกิดความสงสัยมาตลอดในระยะเวลาเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา นั่นคือ เลือกสถานที่ก่อสร้างโดยเลือกเอาที่หนองน้ำแทนที่จะเลือกที่ดอน จนมาถึงการจัดซื้อจัดจ้างล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดเครื่องหมายคำถามเกือบในทุกเรื่อง
ดังนั้น ถ้าจะให้สื่อไม่สงสัยและใฝ่หาคำตอบ ขอให้การเมืองที่เกี่ยวข้องพูดให้ตรงประเด็น และไปในทางเดียวกันในทุกเรื่องและทุกเวลา อย่าพูดอย่าง ทำอย่าง หรือในอดีตพูดไว้ว่าจะทำ แต่เมื่ออนาคตมาเป็นปัจจุบันแล้วเรื่องที่เคยบอกไว้ว่าจะทำกลับไม่ทำ เช่น ในเรื่องการปราบปรามการทุจริต เป็นต้น ที่เคยบอกว่าไม่ต้องมีใบเสร็จก็จะดำเนินการ แต่ครั้นเกิดขึ้นจริงมีหลักฐานที่พอเชื่อได้ก็มิได้ดำเนินการ เป็นต้น
ถ้าเรื่องยังคงเป็นทำนองนี้ รับรองได้ว่ารัฐบาลชุดนี้หรือชุดไหนคงต้องทำสงครามกับสื่อต่อไปไม่หยุดหย่อน เพราะทั้งสองฝ่ายมีจุดยืนต่างกัน และพยายามปกป้องจุดยืนของตน ทางที่ดี เลิก ละ ลด ทิฐิส่วนตนลง และมองส่วนรวมเป็นที่ตั้งแล้วหันหน้าพูดกัน เชื่อว่าทุกอย่างจะไปด้วยกันได้ดี