รอยเตอร์ – มาเลเซียปัดฝุ่นภาคเกษตรกรรม หวังหนุนให้เป็นอีกหนึ่งแหล่งรายได้เพื่อส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ภายหลังมีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมมาเป็นเวลานานหลายทศวรรษ มาเลเซียได้แปรเปลี่ยนกลายเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมการผลิตใหญ่โตพอประมาณรายหนึ่ง โดยมีเมืองสมัยใหม่และชนชั้นกลางผุดขึ้นจำนวนมาก แต่เมื่อการส่งออกในด้านนี้กลับเริ่มชะลอตัวลง บรรดาผู้กำหนดนโยบายจึงหันกลับไปเหลียวแลภาคการเกษตรอีกครั้ง
อิสคานดาร์ ไมซัล มาห์มูด ประธานบริษัท มาเลเซียน ไบโอเทค คอร์ป ซึ่งเป็นหัวหอกสำคัญในการผลักดันให้มีการเพิ่มผลผลิตพืชการเกษตร และใช้ประโยชน์จากพืชเขตร้อน 15,500 พันธุ์ในประเทศ ชี้ว่า ความเข้มแข็งมามาเลเซียนั้น อยู่ที่เกษตรกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพภาคเกษตรกรรม
แรงกดดันจากคู่แข่งที่น่าเกรงขามอย่างจีน ทำให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของมาเลเซียมีอัตราขยายตัวถดถอยลง ดังนั้นในปัจจุบัน มาเลเซียจึงกำลังพิจารณาความหลากหลายทางชีวภาพที่ตัวเองมีอยู่ เพื่อนำมาช่วยประคับคองเศรษฐกิจของประเทศที่มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 118,000 ล้านดอลลาร์
ด้วยเหตุนี้ รัฐจึงออกทุนสนับสนุนให้จัดตั้งบริษัทไบโอเทค ขึ้นมาในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อทำหน้าที่เสาะหากิจการด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่น่าสนับสนุน แล้วดำเนินการให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ โดยทางไบโอเทคต้องการให้หาวิธีเพิ่มผลผลิตของพืชหลักที่มีอยู่แล้ว เช่น ปาล์มน้ำมัน ข้าว และโกโก้
ภาคเกษตรกรรมของมาเลเซียในปัจจุบัน มีสัดส่วนทางเศรษฐกิจตกลงเหลือแค่ 8.3% จากเดิมที่มีสูงถึง 1 ใน 3 ในช่วงทศวรรษ 1960 อย่างไรก็ตาม ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศยังคงอยู่อาศัยตามแถบชนบท
ในแง่นี้รัฐบาลมาเลเซียจึงกำลังถูกแรงบีบคั้น ให้ต้องแสดงแก่ประชาชนว่าดอกผลของการพัฒนาประเทศกำลังได้รับการจัดสรรแบ่งปันสู่ผู้คนในวงกว้างมากขึ้นแล้ว และนายกรัฐมนตรีอับดุลเลาะห์ อาหมัด บาดาวี ก็ได้กำหนดให้การพัฒนาชนบท เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของแผนพัฒนา 5 ปีฉบับใหม่ซึ่งครอบคลุมระหว่างปี 2006-2010
นาจิบ ราซัค รองนายกรัฐมนตรีแดนเสือเหลือง กล่าวในการประชุมเทคโนโลยีชีวภาพด้านเกษตรกรรม เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (9) ว่า “ผมเชื่อว่า ความสำเร็จที่เราจะได้รับจากภาคเกษตรกรรมจะช่วยให้เป้าหมายของรัฐบาลที่วางไว้เป็นจริง ในการผลักดันให้ภาคเกษตรกรรมกลายเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ”
เวลานี้ แม้มาเลเซียยังคงรักษาฐานะการเป็นผู้ผลิตอันดับหนึ่งในด้านปาล์มน้ำมัน ทว่าพืชอื่นๆ ซึ่งตัวเองเคยทำได้ดีมากมาก่อน อย่างเช่น โกโก้ และยางพารา ปัจจุบันกลับล้าหลังชาติอื่นๆ ไปเสียแล้ว
นอกจากนั้น ขณะที่พวกพืชซึ่งทำกันเป็นสวนเป็นไร่ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน เกษตรกรมีการลงทุนด้านเทคโนโลยี การตลาด และยังเสาะหาโอกาสในการนำผลผลิตไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง อาทิ เชื้อเพลิงชีวภาพ แต่ชาวนาในมาเลเซียยังปลูกข้าวได้ผลผลิตน้อยกว่าศักยภาพที่มีอยู่ค่อนข้างมาก
ตามข้อมูลของสถาบันการวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมของมาเลเซียระบุว่า ชาวนาในภาคกลางของประเทศ ทำผลผลิตได้ประมาณ 5.5 ตันต่อพื้นที่ 1 เฮกเตอร์เท่านั้น เมื่อเทียบกับศักยภาพซึ่งน่าจะทำได้ถึง 13.5 ตัน
รัฐบาลมาเลเซียได้ตั้งเป้าไว้ว่า จะมุ่งพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพให้มีสัดส่วนการผลิต 2.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ให้ได้ภายในปี 2010 และเพิ่มขึ้นเป็น 5% ในปี 2020 ตลอดจนยังมีการใช้มาตรการจูงใจในด้านภาษี เพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุน
ภายหลังมีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมมาเป็นเวลานานหลายทศวรรษ มาเลเซียได้แปรเปลี่ยนกลายเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมการผลิตใหญ่โตพอประมาณรายหนึ่ง โดยมีเมืองสมัยใหม่และชนชั้นกลางผุดขึ้นจำนวนมาก แต่เมื่อการส่งออกในด้านนี้กลับเริ่มชะลอตัวลง บรรดาผู้กำหนดนโยบายจึงหันกลับไปเหลียวแลภาคการเกษตรอีกครั้ง
อิสคานดาร์ ไมซัล มาห์มูด ประธานบริษัท มาเลเซียน ไบโอเทค คอร์ป ซึ่งเป็นหัวหอกสำคัญในการผลักดันให้มีการเพิ่มผลผลิตพืชการเกษตร และใช้ประโยชน์จากพืชเขตร้อน 15,500 พันธุ์ในประเทศ ชี้ว่า ความเข้มแข็งมามาเลเซียนั้น อยู่ที่เกษตรกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพภาคเกษตรกรรม
แรงกดดันจากคู่แข่งที่น่าเกรงขามอย่างจีน ทำให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของมาเลเซียมีอัตราขยายตัวถดถอยลง ดังนั้นในปัจจุบัน มาเลเซียจึงกำลังพิจารณาความหลากหลายทางชีวภาพที่ตัวเองมีอยู่ เพื่อนำมาช่วยประคับคองเศรษฐกิจของประเทศที่มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 118,000 ล้านดอลลาร์
ด้วยเหตุนี้ รัฐจึงออกทุนสนับสนุนให้จัดตั้งบริษัทไบโอเทค ขึ้นมาในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อทำหน้าที่เสาะหากิจการด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่น่าสนับสนุน แล้วดำเนินการให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ โดยทางไบโอเทคต้องการให้หาวิธีเพิ่มผลผลิตของพืชหลักที่มีอยู่แล้ว เช่น ปาล์มน้ำมัน ข้าว และโกโก้
ภาคเกษตรกรรมของมาเลเซียในปัจจุบัน มีสัดส่วนทางเศรษฐกิจตกลงเหลือแค่ 8.3% จากเดิมที่มีสูงถึง 1 ใน 3 ในช่วงทศวรรษ 1960 อย่างไรก็ตาม ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศยังคงอยู่อาศัยตามแถบชนบท
ในแง่นี้รัฐบาลมาเลเซียจึงกำลังถูกแรงบีบคั้น ให้ต้องแสดงแก่ประชาชนว่าดอกผลของการพัฒนาประเทศกำลังได้รับการจัดสรรแบ่งปันสู่ผู้คนในวงกว้างมากขึ้นแล้ว และนายกรัฐมนตรีอับดุลเลาะห์ อาหมัด บาดาวี ก็ได้กำหนดให้การพัฒนาชนบท เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของแผนพัฒนา 5 ปีฉบับใหม่ซึ่งครอบคลุมระหว่างปี 2006-2010
นาจิบ ราซัค รองนายกรัฐมนตรีแดนเสือเหลือง กล่าวในการประชุมเทคโนโลยีชีวภาพด้านเกษตรกรรม เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (9) ว่า “ผมเชื่อว่า ความสำเร็จที่เราจะได้รับจากภาคเกษตรกรรมจะช่วยให้เป้าหมายของรัฐบาลที่วางไว้เป็นจริง ในการผลักดันให้ภาคเกษตรกรรมกลายเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ”
เวลานี้ แม้มาเลเซียยังคงรักษาฐานะการเป็นผู้ผลิตอันดับหนึ่งในด้านปาล์มน้ำมัน ทว่าพืชอื่นๆ ซึ่งตัวเองเคยทำได้ดีมากมาก่อน อย่างเช่น โกโก้ และยางพารา ปัจจุบันกลับล้าหลังชาติอื่นๆ ไปเสียแล้ว
นอกจากนั้น ขณะที่พวกพืชซึ่งทำกันเป็นสวนเป็นไร่ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน เกษตรกรมีการลงทุนด้านเทคโนโลยี การตลาด และยังเสาะหาโอกาสในการนำผลผลิตไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง อาทิ เชื้อเพลิงชีวภาพ แต่ชาวนาในมาเลเซียยังปลูกข้าวได้ผลผลิตน้อยกว่าศักยภาพที่มีอยู่ค่อนข้างมาก
ตามข้อมูลของสถาบันการวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมของมาเลเซียระบุว่า ชาวนาในภาคกลางของประเทศ ทำผลผลิตได้ประมาณ 5.5 ตันต่อพื้นที่ 1 เฮกเตอร์เท่านั้น เมื่อเทียบกับศักยภาพซึ่งน่าจะทำได้ถึง 13.5 ตัน
รัฐบาลมาเลเซียได้ตั้งเป้าไว้ว่า จะมุ่งพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพให้มีสัดส่วนการผลิต 2.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ให้ได้ภายในปี 2010 และเพิ่มขึ้นเป็น 5% ในปี 2020 ตลอดจนยังมีการใช้มาตรการจูงใจในด้านภาษี เพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุน