มีประโยคที่กล่าวกันว่า "ในยุคสารสนเทศ ความรู้คืออำนาจ" ซึ่งเป็นคำกล่าวที่ไม่เกินความจริงเลย เนื่องจาก "ความรู้" ไม่ว่าจะเป็นในด้านเทคโนโลยี ความเคลื่อนไหวของบริษัทคู่แข่ง ฯลฯ กลายมาเป็นปัจจัยหลักที่ตัดสินการแพ้ชนะและการสร้างผลกำไรในเชิงธุรกิจ โดยนายโรแนลด์ เรแกน ถึงกับกล่าวเมื่อปี 2528 ขณะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่า “จารกรรมไม่ได้เป็นเพียงแค่เกม แต่เป็นสิ่งที่เราต้องเอาชนะ”
ศาสตร์เกี่ยวกับการจารกรรมมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยตำราพิชัยสงครามซุนวูในบทที่ 13 กล่าวถึงการจารชน 5 แบบ คือ จารชนในพื้นที่ (คนพื้นเมืองของข้าศึก) จารชนไส้ศึก (ขุนนางของข้าศึก) จารชนซ้อนแผน (จารชนของข้าศึก) จารชนพลีชีพ (ผู้กระจายข่าวลวง) และจารชนคืนชีพ (จารชนของฝ่ายเราที่ส่งไปสืบความลับของข้าศึกและรักษาชีวิตรอดกลับมารายงาน)
การค้นหาความรู้นั้น มีทั้งในรูปถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย โดยกรณีดำเนินการอย่างถูกกฎหมายนั้น วิธีการง่ายที่สุด คือ แสวงหาข้อมูลจากสารสนเทศที่เปิดเผยต่อสาธารณชน ไม่ว่าจะเป็นบทความในหนังสือพิมพ์ รายงานประจำปี เอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานในกระบวนการยุติธรรม ข้อมูลการตลาด เอกสารการสัมมนาทางวิชาการ ฯลฯ
การสัมภาษณ์หรือจ้างบุคลากรของบริษัทคู่แข่งก็นับเป็นช่องทางการล้วงความลับได้เป็นอย่างดี แม้ว่าบุคลากรเหล่านี้บางคนไม่ต้องการเปิดเผยความลับดังกล่าวก็ตาม แต่ระหว่างการปฏิบัติงานหรือสัมภาษณ์นั้น ย่อมมีการเปิดเผยความลับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยหลายบริษัทจะสัมภาษณ์เพื่อรับพนักงานของบริษัทคู่แข่งเข้ามาทำงานจริงๆ แต่ก็มีอีกหลายบริษัทเช่นกันที่ประกาศรับสมัครพนักงาน แต่ความจริงแล้วไม่ตั้งใจจะรับพนักงานแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการสัมภาษณ์เพื่อล้วงความลับจากบุคลากรของบริษัทคู่แข่งที่มาสมัครงานเท่านั้น
สำหรับขยะก็นับเป็นแหล่งความรู้ที่ดีเยี่ยม เนื่องจากถือว่าขยะที่บริษัททิ้งไปแล้วไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคล การเก็บหรือซื้อขยะจึงถือว่าไม่ผิดกฎหมาย ยกเว้นกรณีเข้าไปบุกรุกอาคารสถานที่ของบริษัทคู่แข่ง อย่างไรก็ตาม การเก็บขยะแบบสุ่มสี่สุ่มห้าอาจจะเกิดเรื่องน่าอับอายขายหน้าได้ เป็นต้นว่า เมื่อเดือนพฤษภาคม 2534 ข้าราชการสถานกงสุลของฝรั่งเศสถูกถ่ายภาพโดยเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของสหรัฐฯ ขณะที่ค้นขยะหน้าบ้านของผู้บริหารระดับสูงซึ่งทำงานในบริษัทธุรกิจด้านเทคโนโลยีระดับสูงของสหรัฐฯ ที่นครฮุสตัน เมื่อเรื่องอื้อฉาวขึ้น เขาก็ได้แก้ตัวอย่างน่าขบขันว่าไม่ได้ทำการจารกรรมแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการค้นหาวัสดุสำหรับนำไปถมสวนหลังบ้านเท่านั้น
สำหรับการเยี่ยมชมโรงงานก็นับว่าเป็นช่องทางล้วงความลับที่สำคัญ เป็นต้นว่า บริษัทแห่งหนึ่งได้ส่งบุคลากรไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน โดยใส่รองเท้าที่ทำขึ้นพิเศษให้พื้นมีความเหนียว เมื่อกลับมาที่บริษัทจะทำการวิเคราะห์ว่าฝุ่นที่ติดมานั้นมีส่วนผสมของวัสดุอะไรบ้าง เพื่อนำความรู้ไปผลิตวัสดุที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน
ยิ่งไปกว่านั้น ผู้เข้าไปเยี่ยมชมโรงงานบางคนอาจแอบนำอุปกรณ์ออกแบบเป็นพิเศษเพื่อล้วงความลับติดตัวไปด้วย เป็นต้นว่า สวมใส่ Wireless Video Sunglasses ซึ่งเป็นแว่นตากันแดดออกแบบพิเศษโดยติดตั้งอุปกรณ์บันทึกภาพวิดีโอเอาไว้ หรือมิฉะนั้นก็เหน็บ Video Pen ซึ่งเป็นปากกาที่ติดตั้งกล้องวิดีโอเอาไว้ภายในเช่นเดียวกัน
สำหรับการถ่ายภาพบริษัทคู่แข่งจากทางอากาศหรือซื้อภาพถ่ายจากดาวเทียมก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ไม่ผิดกฎหมายและเป็นประโยชน์มากโดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งมีท่อจำนวนมากวางไว้กลางแจ้งโดยไม่มีหลังคาปกคลุม เป็นต้นว่า บริษัทแห่งหนึ่งว่าจ้างเครื่องบินเพื่อบินไปถ่ายภาพโรงงานผลิตเมทานอลของบริษัทดูปองท์ขณะกำลังก่อสร้าง จากนั้นจึงนำภาพไปให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ถึงกรรมวิธีการผลิตเพื่อลอกเลียนแบบ เนื่องจากบริษัทดูปองท์ไม่ได้จดสิทธิบัตรการผลิตเมทานอลเอาไว้
อย่างไรก็ตาม หากการรวบรวมข่าวกรองแบบถูกกฎหมายดังกล่าวข้างต้นไม่เพียงพอแล้ว บางบริษัทจะดำเนินการเพิ่มเติมในรูปผิดกฎหมาย รูปแบบแรก คือ ส่งจารชนเข้าไปทำงานในบริษัทนั้นๆ เพื่อล้วงความลับ โดยจารชนนอกจากเป็นพนักงานทั่วไปแล้ว บุคคลซึ่งเข้ามาฝึกงาน พนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานรักษาความสะอาด ฯลฯ ก็นับว่าเป็นช่องทางรั่วไหลสำคัญอีกจุดหนึ่งด้วย
เดิมข้อมูลภายในบริษัทจะเก็บในรูปกระดาษหรือฟิล์มเขียว การจารกรรมจึงทำได้ยาก เนื่องจากต้องแอบถ่ายภาพเอกสารลงไมโครฟิล์มหรือถ่ายเอกสารซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้เวลานาน แต่ปัจจุบันข้อมูลเหล่านี้จะเก็บภายในคอมพิวเตอร์ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการพัฒนาอุปกรณ์หน่วยความจำ รวมถึงไอพอด (iPod) ซึ่งมีขนาดเล็กมาก แต่สามารถเก็บข้อมูลได้มากมายมหาศาลและสามารถเชื่อมเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ได้ง่ายดายโดยผ่าน USB Port ทำให้การจารกรรมมีความง่ายมาก
จารชนยังอาจแอบติดตั้งอุปกรณ์ดักฟังในพื้นที่ต่างๆ ภายในบริษัท โดยนาย Justin King ผู้อำนวยการบริษัท C2i International ของสหราชอาณาจักร ซึ่งทำธุรกิจด้านการป้องกันการจารกรรม ได้กล่าวถึงประสบการณ์การตรวจสอบพื้นที่ของบริษัทต่างๆ เป็นต้นว่า ห้องประชุม ห้องผู้บริหาร ฯลฯ พบว่าโดยเฉลี่ยมีสัดส่วนประมาณ 4 – 5% ที่ถูกคู่แข่งลักลอบติดตั้งอุปกรณ์จารกรรม โดยบางครั้งอุปกรณ์จะถูกแอบติดตั้งภายในบริษัทมานานนับเดือนหรือนับปีโดยไม่มีใครระแคะระคาย
สำหรับโทรศัพท์มือถือก็อย่าไว้วางใจ อาจถูกดังฟังได้โดยง่าย โดยหากผู้บริหารของบริษัทเผลอวางโทรศัพท์มือถือเอาไว้ ก็อาจถูกจารชนแอบเปลี่ยนแบตเตอรี่ของโทรศัพท์มือถือ โดยติดตั้งอุปกรณ์ดักฟังไว้ภายในแบตเตอรี่ก้อนใหม่
อีกจุดรั่วไหลสำคัญ คือ บรรดาผู้บริหารของบริษัทซึ่งมักจะเดินทางโดยหิ้วคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊คซึ่งบรรจุข้อมูลมากมายไปด้วย และจะทิ้งคอมพิวเตอร์ไว้ที่โรงแรมขณะไปรับประทานอาหารค่ำ ดังนั้น บริษัทคู่แข่งจะใช้นักจารชนเพียงแค่ 2 คนเท่านั้น ก็สามารถล้วงข้อมูลได้ทั้งหมด โดยคนแรกจะย่องเข้ามาในโรงแรมเพื่อเปิดคอมพิวเตอร์และก๊อบปี้ข้อมูล ส่วนอีกคนหนึ่งจะมีหน้าที่สะกดรอยเพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริหารคนนั้นจะไม่เดินทางกลับโรงแรมขณะกำลังขโมยข้อมูล
หากเห็นว่าการไปลักลอบจารกรรมข้อมูลจากคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเป็นเรื่องยุ่งยากและมีข้อมูลไม่มากนัก ก็ต้องเจาะเข้าไปจารกรรมระบบฐานข้อมูลของบริษัทคู่แข่ง ซึ่งจะได้รับข้อมูลจำนวนมากมาย เป็นต้นว่า โปรแกรม keylogging ซึ่งจะเก็บข้อมูลทั้งหมดที่กดลงบนแป้นพิมพ์ เพื่อให้ได้รับทราบข้อมูลต่างๆ เป็นต้นว่า login names, รหัสผ่าน ฯลฯ จากนั้นจะนำไปใช้ประโยชน์เพื่อล้วงความลับอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับตัวอย่างที่เกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ เมื่อต้นปี 2548 คือ นาย Joe Stewart นักวิจัยแห่งบริษัท Lurhq ซึ่งเป็นบริษัทด้านการรักษาความปลอดภัยในสหรัฐฯ ได้พบว่ามีความพยายามล้วงความลับในเรื่องเทคโนโลยีจากบริษัทไฮเทคสหรัฐฯ เป็นจำนวนมากอย่างผิดสังเกต โดยผ่านทางอีเมลใช้โปรแกรม Myfip ซึ่งมีต้นกำเนิดจากประเทศจีน สำหรับโปรแกรมสายพันธุ์นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มีวิวัฒนาการมาจากโปรแกรมที่นักศึกษาใช้ขโมยข้อสอบ จากนั้นได้พัฒนาจนสามารถนำมาใช้จารกรรมข้อมูลทางอุตสาหกรรม เช่น การออกแบบทางวิศวกรรมโดยใช้โปรแกรม CAD รวมถึงการออกแบบวงจรรวม
ปัจจุบันนอกจากบริษัทเอกชนแล้ว หน่วยสืบราชการลับของประเทศต่างๆ ก็ได้เข้ามาร่วมวงศ์ไพบูลย์ในการทำจารกรรมเชิงธุรกิจด้วย โดยมีรายงานตีพิมพ์มากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ทั้งโดยรัฐบาลสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป เป็นต้นว่า กรณีของรัฐบาลอินเดียเปิดประมูลเพื่อซื้อเครื่องบินรบเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว โดยเป็นการแข่งขันระหว่างบริษัทสหรัฐฯ รัสเซีย และฝรั่งเศส หน่วยสืบราชการลับของฝรั่งเศสได้ติดสินบนข้าราชการของอินเดียทำให้ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอของบริษัทสหรัฐฯ ส่งผลให้บริษัทฝรั่งเศสได้เปรียบในการประมูลและชนะประมูลในที่สุด
ต่อมาในปี 2536 มีมือมืดแอบติดตั้งอุปกรณ์ดักฟังโทรศัพท์และเครื่องแฟกซ์ของบริษัทซีเมนส์ในเกาหลีใต้ ทำให้บริษัทคู่แข่งทราบการเสนอราคาในการประมูลเพื่อจัดซื้อรถไฟความเร็วสูงของรัฐบาลเกาหลีใต้ ซึ่งทำให้บริษัทซีเมนส์พ่ายแพ้การประมูลในครั้งนี้แก่บริษัท GEC-Alsthom ของฝรั่งเศส
หน่วยงานสืบราชการลับของฝรั่งเศสยังพยายามทำการจารกรรมข้อมูลจากบริษัท Lockheed ของสหรัฐฯ เมื่อปี 2534 เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตเครื่องบินแบบ Stealth ซึ่งเป็นเครื่องบินล่องหนไม่สามารถตรวจพบโดยใช้สัญญาณเรดาร์ แต่หน่วยงาน FBI ของสหรัฐฯ ตรวจพบเสียก่อน ทำให้ความพยายามครั้งนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ
ส่วนหน่วยงานข่าวกรองกลางหรือ CIA ของสหรัฐฯ ก็ทำการจารกรรมเชิงธุรกิจเช่นเดียวกัน เป็นต้นว่า เมื่อปี 2537 หน่วยงาน CIA ทำการจารกรรมเครือข่ายโทรคมนาคมทำให้ทราบความลับว่าบริษัท Thomson-CSF ของฝรั่งเศส กำลังอยู่ระหว่างติดสินบนข้าราชการของประเทศบราซิลในโครงการประมูลซื้อเรดาร์สำหรับใช้ตรวจอากาศ จากนั้นประธานาธิบดีคลินตันได้ส่งข่าวนี้ไปยังรัฐบาลบราซิล ทำให้บริษัทฝรั่งเศสแพ้การประมูลในครั้งนั้นแก่บริษัท Raytheon ของสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการของ CIA บางครั้งก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เป็นต้นว่า เมื่อปี 2535 รัฐบาลฝรั่งเศสได้เนรเทศเจ้าหน้าที่ CIA จำนวน 5 คนออกนอกประเทศ เนื่องจากพบว่าพยายามทำการจารกรรมข้อมูลของรัฐบาลฝรั่งเศสในการเจรจาระหว่างประเทศเกี่ยวกับธุรกิจโทรคมนาคม
สุดท้ายนี้ แม้ในด้านการเมืองระหว่างประเทศแล้วหลายประเทศจะเป็นพันธมิตรอย่างแนบแน่นมากเพียงใดก็ตาม แต่ในเชิงเศรษฐกิจแล้วอาจตรงกันข้าม ล้วนแล้วแต่เป็นคู่แข่งขันกันอย่างรุนแรงทั้งในด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ดังนั้น จึงมีคำขวัญที่เป็นอมตะว่า “ประเทศไม่มีมิตร มีแต่ผลประโยชน์”
ศาสตร์เกี่ยวกับการจารกรรมมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยตำราพิชัยสงครามซุนวูในบทที่ 13 กล่าวถึงการจารชน 5 แบบ คือ จารชนในพื้นที่ (คนพื้นเมืองของข้าศึก) จารชนไส้ศึก (ขุนนางของข้าศึก) จารชนซ้อนแผน (จารชนของข้าศึก) จารชนพลีชีพ (ผู้กระจายข่าวลวง) และจารชนคืนชีพ (จารชนของฝ่ายเราที่ส่งไปสืบความลับของข้าศึกและรักษาชีวิตรอดกลับมารายงาน)
การค้นหาความรู้นั้น มีทั้งในรูปถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย โดยกรณีดำเนินการอย่างถูกกฎหมายนั้น วิธีการง่ายที่สุด คือ แสวงหาข้อมูลจากสารสนเทศที่เปิดเผยต่อสาธารณชน ไม่ว่าจะเป็นบทความในหนังสือพิมพ์ รายงานประจำปี เอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานในกระบวนการยุติธรรม ข้อมูลการตลาด เอกสารการสัมมนาทางวิชาการ ฯลฯ
การสัมภาษณ์หรือจ้างบุคลากรของบริษัทคู่แข่งก็นับเป็นช่องทางการล้วงความลับได้เป็นอย่างดี แม้ว่าบุคลากรเหล่านี้บางคนไม่ต้องการเปิดเผยความลับดังกล่าวก็ตาม แต่ระหว่างการปฏิบัติงานหรือสัมภาษณ์นั้น ย่อมมีการเปิดเผยความลับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยหลายบริษัทจะสัมภาษณ์เพื่อรับพนักงานของบริษัทคู่แข่งเข้ามาทำงานจริงๆ แต่ก็มีอีกหลายบริษัทเช่นกันที่ประกาศรับสมัครพนักงาน แต่ความจริงแล้วไม่ตั้งใจจะรับพนักงานแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการสัมภาษณ์เพื่อล้วงความลับจากบุคลากรของบริษัทคู่แข่งที่มาสมัครงานเท่านั้น
สำหรับขยะก็นับเป็นแหล่งความรู้ที่ดีเยี่ยม เนื่องจากถือว่าขยะที่บริษัททิ้งไปแล้วไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคล การเก็บหรือซื้อขยะจึงถือว่าไม่ผิดกฎหมาย ยกเว้นกรณีเข้าไปบุกรุกอาคารสถานที่ของบริษัทคู่แข่ง อย่างไรก็ตาม การเก็บขยะแบบสุ่มสี่สุ่มห้าอาจจะเกิดเรื่องน่าอับอายขายหน้าได้ เป็นต้นว่า เมื่อเดือนพฤษภาคม 2534 ข้าราชการสถานกงสุลของฝรั่งเศสถูกถ่ายภาพโดยเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของสหรัฐฯ ขณะที่ค้นขยะหน้าบ้านของผู้บริหารระดับสูงซึ่งทำงานในบริษัทธุรกิจด้านเทคโนโลยีระดับสูงของสหรัฐฯ ที่นครฮุสตัน เมื่อเรื่องอื้อฉาวขึ้น เขาก็ได้แก้ตัวอย่างน่าขบขันว่าไม่ได้ทำการจารกรรมแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการค้นหาวัสดุสำหรับนำไปถมสวนหลังบ้านเท่านั้น
สำหรับการเยี่ยมชมโรงงานก็นับว่าเป็นช่องทางล้วงความลับที่สำคัญ เป็นต้นว่า บริษัทแห่งหนึ่งได้ส่งบุคลากรไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน โดยใส่รองเท้าที่ทำขึ้นพิเศษให้พื้นมีความเหนียว เมื่อกลับมาที่บริษัทจะทำการวิเคราะห์ว่าฝุ่นที่ติดมานั้นมีส่วนผสมของวัสดุอะไรบ้าง เพื่อนำความรู้ไปผลิตวัสดุที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน
ยิ่งไปกว่านั้น ผู้เข้าไปเยี่ยมชมโรงงานบางคนอาจแอบนำอุปกรณ์ออกแบบเป็นพิเศษเพื่อล้วงความลับติดตัวไปด้วย เป็นต้นว่า สวมใส่ Wireless Video Sunglasses ซึ่งเป็นแว่นตากันแดดออกแบบพิเศษโดยติดตั้งอุปกรณ์บันทึกภาพวิดีโอเอาไว้ หรือมิฉะนั้นก็เหน็บ Video Pen ซึ่งเป็นปากกาที่ติดตั้งกล้องวิดีโอเอาไว้ภายในเช่นเดียวกัน
สำหรับการถ่ายภาพบริษัทคู่แข่งจากทางอากาศหรือซื้อภาพถ่ายจากดาวเทียมก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ไม่ผิดกฎหมายและเป็นประโยชน์มากโดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งมีท่อจำนวนมากวางไว้กลางแจ้งโดยไม่มีหลังคาปกคลุม เป็นต้นว่า บริษัทแห่งหนึ่งว่าจ้างเครื่องบินเพื่อบินไปถ่ายภาพโรงงานผลิตเมทานอลของบริษัทดูปองท์ขณะกำลังก่อสร้าง จากนั้นจึงนำภาพไปให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ถึงกรรมวิธีการผลิตเพื่อลอกเลียนแบบ เนื่องจากบริษัทดูปองท์ไม่ได้จดสิทธิบัตรการผลิตเมทานอลเอาไว้
อย่างไรก็ตาม หากการรวบรวมข่าวกรองแบบถูกกฎหมายดังกล่าวข้างต้นไม่เพียงพอแล้ว บางบริษัทจะดำเนินการเพิ่มเติมในรูปผิดกฎหมาย รูปแบบแรก คือ ส่งจารชนเข้าไปทำงานในบริษัทนั้นๆ เพื่อล้วงความลับ โดยจารชนนอกจากเป็นพนักงานทั่วไปแล้ว บุคคลซึ่งเข้ามาฝึกงาน พนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานรักษาความสะอาด ฯลฯ ก็นับว่าเป็นช่องทางรั่วไหลสำคัญอีกจุดหนึ่งด้วย
เดิมข้อมูลภายในบริษัทจะเก็บในรูปกระดาษหรือฟิล์มเขียว การจารกรรมจึงทำได้ยาก เนื่องจากต้องแอบถ่ายภาพเอกสารลงไมโครฟิล์มหรือถ่ายเอกสารซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้เวลานาน แต่ปัจจุบันข้อมูลเหล่านี้จะเก็บภายในคอมพิวเตอร์ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการพัฒนาอุปกรณ์หน่วยความจำ รวมถึงไอพอด (iPod) ซึ่งมีขนาดเล็กมาก แต่สามารถเก็บข้อมูลได้มากมายมหาศาลและสามารถเชื่อมเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ได้ง่ายดายโดยผ่าน USB Port ทำให้การจารกรรมมีความง่ายมาก
จารชนยังอาจแอบติดตั้งอุปกรณ์ดักฟังในพื้นที่ต่างๆ ภายในบริษัท โดยนาย Justin King ผู้อำนวยการบริษัท C2i International ของสหราชอาณาจักร ซึ่งทำธุรกิจด้านการป้องกันการจารกรรม ได้กล่าวถึงประสบการณ์การตรวจสอบพื้นที่ของบริษัทต่างๆ เป็นต้นว่า ห้องประชุม ห้องผู้บริหาร ฯลฯ พบว่าโดยเฉลี่ยมีสัดส่วนประมาณ 4 – 5% ที่ถูกคู่แข่งลักลอบติดตั้งอุปกรณ์จารกรรม โดยบางครั้งอุปกรณ์จะถูกแอบติดตั้งภายในบริษัทมานานนับเดือนหรือนับปีโดยไม่มีใครระแคะระคาย
สำหรับโทรศัพท์มือถือก็อย่าไว้วางใจ อาจถูกดังฟังได้โดยง่าย โดยหากผู้บริหารของบริษัทเผลอวางโทรศัพท์มือถือเอาไว้ ก็อาจถูกจารชนแอบเปลี่ยนแบตเตอรี่ของโทรศัพท์มือถือ โดยติดตั้งอุปกรณ์ดักฟังไว้ภายในแบตเตอรี่ก้อนใหม่
อีกจุดรั่วไหลสำคัญ คือ บรรดาผู้บริหารของบริษัทซึ่งมักจะเดินทางโดยหิ้วคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊คซึ่งบรรจุข้อมูลมากมายไปด้วย และจะทิ้งคอมพิวเตอร์ไว้ที่โรงแรมขณะไปรับประทานอาหารค่ำ ดังนั้น บริษัทคู่แข่งจะใช้นักจารชนเพียงแค่ 2 คนเท่านั้น ก็สามารถล้วงข้อมูลได้ทั้งหมด โดยคนแรกจะย่องเข้ามาในโรงแรมเพื่อเปิดคอมพิวเตอร์และก๊อบปี้ข้อมูล ส่วนอีกคนหนึ่งจะมีหน้าที่สะกดรอยเพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริหารคนนั้นจะไม่เดินทางกลับโรงแรมขณะกำลังขโมยข้อมูล
หากเห็นว่าการไปลักลอบจารกรรมข้อมูลจากคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเป็นเรื่องยุ่งยากและมีข้อมูลไม่มากนัก ก็ต้องเจาะเข้าไปจารกรรมระบบฐานข้อมูลของบริษัทคู่แข่ง ซึ่งจะได้รับข้อมูลจำนวนมากมาย เป็นต้นว่า โปรแกรม keylogging ซึ่งจะเก็บข้อมูลทั้งหมดที่กดลงบนแป้นพิมพ์ เพื่อให้ได้รับทราบข้อมูลต่างๆ เป็นต้นว่า login names, รหัสผ่าน ฯลฯ จากนั้นจะนำไปใช้ประโยชน์เพื่อล้วงความลับอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับตัวอย่างที่เกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ เมื่อต้นปี 2548 คือ นาย Joe Stewart นักวิจัยแห่งบริษัท Lurhq ซึ่งเป็นบริษัทด้านการรักษาความปลอดภัยในสหรัฐฯ ได้พบว่ามีความพยายามล้วงความลับในเรื่องเทคโนโลยีจากบริษัทไฮเทคสหรัฐฯ เป็นจำนวนมากอย่างผิดสังเกต โดยผ่านทางอีเมลใช้โปรแกรม Myfip ซึ่งมีต้นกำเนิดจากประเทศจีน สำหรับโปรแกรมสายพันธุ์นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มีวิวัฒนาการมาจากโปรแกรมที่นักศึกษาใช้ขโมยข้อสอบ จากนั้นได้พัฒนาจนสามารถนำมาใช้จารกรรมข้อมูลทางอุตสาหกรรม เช่น การออกแบบทางวิศวกรรมโดยใช้โปรแกรม CAD รวมถึงการออกแบบวงจรรวม
ปัจจุบันนอกจากบริษัทเอกชนแล้ว หน่วยสืบราชการลับของประเทศต่างๆ ก็ได้เข้ามาร่วมวงศ์ไพบูลย์ในการทำจารกรรมเชิงธุรกิจด้วย โดยมีรายงานตีพิมพ์มากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ทั้งโดยรัฐบาลสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป เป็นต้นว่า กรณีของรัฐบาลอินเดียเปิดประมูลเพื่อซื้อเครื่องบินรบเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว โดยเป็นการแข่งขันระหว่างบริษัทสหรัฐฯ รัสเซีย และฝรั่งเศส หน่วยสืบราชการลับของฝรั่งเศสได้ติดสินบนข้าราชการของอินเดียทำให้ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอของบริษัทสหรัฐฯ ส่งผลให้บริษัทฝรั่งเศสได้เปรียบในการประมูลและชนะประมูลในที่สุด
ต่อมาในปี 2536 มีมือมืดแอบติดตั้งอุปกรณ์ดักฟังโทรศัพท์และเครื่องแฟกซ์ของบริษัทซีเมนส์ในเกาหลีใต้ ทำให้บริษัทคู่แข่งทราบการเสนอราคาในการประมูลเพื่อจัดซื้อรถไฟความเร็วสูงของรัฐบาลเกาหลีใต้ ซึ่งทำให้บริษัทซีเมนส์พ่ายแพ้การประมูลในครั้งนี้แก่บริษัท GEC-Alsthom ของฝรั่งเศส
หน่วยงานสืบราชการลับของฝรั่งเศสยังพยายามทำการจารกรรมข้อมูลจากบริษัท Lockheed ของสหรัฐฯ เมื่อปี 2534 เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตเครื่องบินแบบ Stealth ซึ่งเป็นเครื่องบินล่องหนไม่สามารถตรวจพบโดยใช้สัญญาณเรดาร์ แต่หน่วยงาน FBI ของสหรัฐฯ ตรวจพบเสียก่อน ทำให้ความพยายามครั้งนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ
ส่วนหน่วยงานข่าวกรองกลางหรือ CIA ของสหรัฐฯ ก็ทำการจารกรรมเชิงธุรกิจเช่นเดียวกัน เป็นต้นว่า เมื่อปี 2537 หน่วยงาน CIA ทำการจารกรรมเครือข่ายโทรคมนาคมทำให้ทราบความลับว่าบริษัท Thomson-CSF ของฝรั่งเศส กำลังอยู่ระหว่างติดสินบนข้าราชการของประเทศบราซิลในโครงการประมูลซื้อเรดาร์สำหรับใช้ตรวจอากาศ จากนั้นประธานาธิบดีคลินตันได้ส่งข่าวนี้ไปยังรัฐบาลบราซิล ทำให้บริษัทฝรั่งเศสแพ้การประมูลในครั้งนั้นแก่บริษัท Raytheon ของสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการของ CIA บางครั้งก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เป็นต้นว่า เมื่อปี 2535 รัฐบาลฝรั่งเศสได้เนรเทศเจ้าหน้าที่ CIA จำนวน 5 คนออกนอกประเทศ เนื่องจากพบว่าพยายามทำการจารกรรมข้อมูลของรัฐบาลฝรั่งเศสในการเจรจาระหว่างประเทศเกี่ยวกับธุรกิจโทรคมนาคม
สุดท้ายนี้ แม้ในด้านการเมืองระหว่างประเทศแล้วหลายประเทศจะเป็นพันธมิตรอย่างแนบแน่นมากเพียงใดก็ตาม แต่ในเชิงเศรษฐกิจแล้วอาจตรงกันข้าม ล้วนแล้วแต่เป็นคู่แข่งขันกันอย่างรุนแรงทั้งในด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ดังนั้น จึงมีคำขวัญที่เป็นอมตะว่า “ประเทศไม่มีมิตร มีแต่ผลประโยชน์”