วันนี้ปัญหาปฏิทินคลาดเคลื่อนได้ถูกยกขึ้นเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง และเป็นที่สนใจของประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะศาสนิกของศาสนาต่าง ๆ เพราะความคลาดเคลื่อนของปฏิทินนั้นมีผลต่อการทำให้กำหนดการปฏิบัติ ศาสนกิจโดยเฉพาะศาสนกิจของชาวพุทธผิดพลาดคลาดเคลื่อนตามไปด้วย
ความจริงคอลัมน์นี้ได้ท้วงติงมาหลายต่อหลายครั้งว่าปฏิทินบ้านเรานั้นผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ไม่มีหน่วยงานไหนรับผิดชอบแก้ไข
มาบัดนี้เมื่อคำท้วงติงของ พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ อดีตอธิบดีกรมไปรษณีย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ระดับมหาคุรุของเมืองไทยคนหนึ่งเป็นข่าวคราวฮือฮาขึ้นมาแล้ว ก็ได้แต่อนุโมทนาสาธุว่าน่าที่จะทำให้รัฐบาลได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ และคิดอ่านปรับปรุงแก้ไขปฏิทินให้ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงต่อไป
เหตุที่ปฏิทินคลาดเคลื่อนก็เพราะว่าปัจจุบันนี้ไม่มีหน่วยงานของทางราชการที่รับผิดชอบในการตรวจสอบชำระสะสางปฏิทินเป็นการเฉพาะ จึงมีการจัดทำปฏิทินขึ้นใช้หลายแบบหลายชนิด และอาศัยการคำนวณต่าง ๆ กัน ตามหลักวิชาที่ยึดถือกันมาแต่ละคน แล้วก็ยึดถือว่าวิธีคำนวณและวิชาที่ยึดถือมานั้นเป็นสิ่งถูกต้อง หาที่ยุติลงกันไม่ได้
บางปฏิทินได้ยึดหลักคำนวณตามหลักวิชาดาราศาสตร์สากล ซึ่งยังมีข้อแตกต่างกันอยู่ และยังลงตัวกันไม่ได้ บางปฏิทินก็ได้ยึดหลักคำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตร บางปฏิทินก็ได้ยึดหลักคำนวณตามหลักวิชาการที่ได้รับถ่ายทอดมาจากฝ่ายเปอร์เซียในอดีต บางปฏิทินก็ได้ยึดหลักคำนวณทางจันทรคติเป็นหลัก จึงทำให้ปฏิทินแตกต่างกันไปแล้วยึดถือแตกต่างกันไปด้วย
ยังโชคดีของประเทศไทยที่สำนักพระราชวังยังคงจัดทำปฏิทินหลวงสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ผู้ไปลงนามถวายพระพรในโอกาสปีใหม่ และส่วนราชการไทยโดยเฉพาะสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติก็ได้ยึดปฏิทินหลวงดังกล่าวเป็นหลักในการกำหนดวันสำคัญในพระพุทธศาสนาและการปฏิบัติศาสนกิจต่าง ๆ
ในขณะที่พี่น้องไทยมุสลิมก็มีปฏิทินเป็นของตนเอง คำนวณวันเวลาและกำหนดการปฏิบัติศาสนกิจในฮิจเราะห์ศักราชเพื่อปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลามเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนเพราะยึดโยงอยู่กับความเป็นจริงของดวงจันทร์ โดยเทียบเคียงผลการคำนวณกับการเห็นดวงจันทร์ที่เป็นจริงด้วย
ในพระพุทธศาสนามีพุทธบัญญัติกำหนดการปฏิบัติศาสนกิจต่าง ๆ ยึดโยงอยู่กับดวงจันทร์เช่นเดียวกัน เป็นแต่ว่าเมื่อมีการใช้ปฏิทินหลายแบบ มีการคำนวณแตกต่างกันจึงทำให้มีการปฏิบัติที่แตกต่างกัน
ในวันนี้ พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ ได้ระบุว่าปฏิทินหลวงและปฏิทินราชการนั้นคลาดเคลื่อนไปแล้วจากความเป็นจริงถึง 1 วัน จะส่งผลที่สำคัญคือจะทำให้พระเข้าพรรษาก่อนกำหนดเป็นการผิดพุทธบัญญัติ และที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าบางปฏิทินกำหนดให้วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 จึงเป็นวันอาสาฬหบูชา และวันที่ 21 กรกฎาคม 2548 เป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จึงเป็นวันอธิษฐานเข้าพรรษา
เป็นการผิดเวลาไปถึง 2 วัน เพราะปฏิทินศาสนาและปฏิทินของทางราชการกำหนดให้วันที่ 21 กรกฎาคม 2548 เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันอาสาฬหบูชา และวันที่ 22 กรกฎาคม 2548 เป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันอธิษฐานเข้าพรรษา
พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ อ้างว่าได้คำนวณและส่งผลการคำนวณที่ว่าปฏิทินหลวงและปฏิทินราชการล่าช้านั้นไปให้ราชบัณฑิตพิจารณาแล้วรับรองว่าที่คำนวณไว้นั้นถูกต้อง หมายความว่าวันสำคัญต่าง ๆ และวันขึ้นแรมต่าง ๆ ตามปฏิทินศาสนาและปฏิทินของทางราชการคลาดเคลื่อนล่วงหน้าไปหนึ่งวัน
ในขณะเดียวกันสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติก็ได้แย้งว่าปฏิทินศาสนาและปฏิทินราชการได้ถือหลักปฏิทินหลวงที่สำนักพระราชวังจัดทำและได้รับคำยืนยันว่ามีความถูกต้อง แต่ก็เปิดทางไว้ว่าหากผลการตรวจสอบปรากฏว่าคลาดเคลื่อนก็น่าที่จะมีการแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป
ดังนั้นปัญหาเรื่องความคลาดเคลื่อนของปฏิทินในปัจจุบันนี้จึงมีอยู่สามวันคือ วันอาสาฬหบูชาเป็นวันที่ 20 หรือ 21 หรือ 22 กรกฎาคม 2548 กันแน่ ซึ่งส่งผลต่อไปถึงวันออกพรรษาด้วย ว่าจะเป็นวันที่ 17, 18 หรือ 19 ตุลาคม 2548 กันแน่
นั่นคือปฏิทินประจำปีหรือไดอารี่โหรปี 2548 ของนายทองเจือ อ่างแก้ว และปฏิทิน 100 ปี 3 ภาษา ฉบับสมบูรณ์ ของนายหว่า แซ่อึ้ง และนายเลียกไฮ้ แซ่โอ้ว ซึ่งพระมหาเถระและบุคคลสำคัญมากหลายรับรองว่าถูกต้องใช้ได้ ให้ใช้เป็นคู่มือของพระคณาธิการ พระอุปัชฌาย์ และเจ้าอาวาส ตลอดจนโหรและครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ซึ่งนิยมใช้กันแพร่หลาย กำหนดให้วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 จึงเป็นวันอาสาฬหบูชา และกำหนดให้วันที่ 17 ตุลาคม 2548 เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 จึงเป็นวันมหาปวารณาและวันออกพรรษา ส่วนปฏิทินหลวงและปฏิทินราชการกำหนดให้วันที่ 21 กรกฎาคม 2548 เป็นวันอาสาฬหบูชา วันที่ 22 กรกฎาคม 2548 เป็นวันเข้าพรรษา และวันที่ 18 ตุลาคม 2548 เป็นวันออกพรรษา ในขณะที่ปฏิทินที่คำนวณโดยวิชาดาราศาสตร์สากลและความเห็นของ พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ นั้นเห็นว่าเร็วไปหนึ่งวัน ซึ่งหมายความว่าวันอาสาฬหบูชาจะเป็นวันที่ 22 กรกฎาคม 2548 วันที่ 23 กรกฎาคม 2548 เป็นวันอธิษฐานเข้าพรรษา และวันออกพรรษาจะต้องเป็นวันที่ 19 ตุลาคม 2548
เพราะความคลาดเคลื่อนเช่นนี้ การผูกดวงชะตา การกำหนดฤกษ์ และการทำนายพระเคราะห์จร ตลอดจนการพยากรณ์ของโหรทั้งหลายจึงพากันคลาดเคลื่อนเอาเป็นแก่นสารไม่ได้จำนวนมาก
และเพราะคลาดเคลื่อนเช่นนี้ การพยากรณ์ของโหรสมาชิกวุฒิสภาท่านหนึ่งที่ว่าท่านนายกทักษิณจะถูกลอบสังหารในปี 2547 จึงผิดพลาด และเช่นเดียวกันย่อมทำให้การพยากรณ์ของนายกสมาคมโหรท่านหนึ่งที่พยากรณ์ว่าท่านนายกทักษิณมีชะตาถึงฆาตในห้วงเวลานี้ผิดพลาดเชื่อถืออันใดไม่ได้ด้วย
ดวงผู้นำคนที่จะถูกลอบสังหารนั้นนอกจากการคำนวณชะตาถูกต้องแล้ว ยังต้องอาศัยเงื่อนไขอันเป็นเกณฑ์สำคัญคือต้องเป็นผู้เกิดในราชาฤกษ์และเสวยปุษยฤกษ์ส่วนการจะดูการถึงฆาตจะต้องดูจากพื้นชะตาและพระเคราะห์ที่ถูกต้อง และต้องอาศัยภาคพยากรณ์ตามคัมภีร์จักรทีปนีจรและคัมภีร์อินทรภาษบาทจันทร์เป็นหลัก
จะมาพยากรณ์เรื่องการลอบสังหารและดวงต้องฆาตกันแบบสนุกสนานจึงเป็นเรื่องไม่เข้าท่าและขายหน้าวิชาโหราศาสตร์ ทำให้ดวงพระวิญญาณของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีเดือดร้อนเสียเปล่า ๆ
ดังนั้นในระหว่างที่ยังไม่มีผู้ชี้ขาดและยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนี้โดยตรง จึงเห็นสมควรที่จะได้ทำความเข้าใจในเรื่องนี้เป็นการทั่วไป และพอเป็นหนทางที่จะทำให้เกิดความสบายใจแก่ทุกฝ่ายเป็นการชั่วคราว
ประการแรก ไดอารี่โหรหรือปฏิทินโหรประจำปี 2548 ของนายทองเจือ อ่างแก้ว และปฏิทิน 100 ปี 3 ภาษาฉบับสมบูรณ์ ซึ่งแพร่หลายและพระสงฆ์ถือปฏิบัติกันเป็นจำนวนมาก รวมทั้งบรรดาโหราจารย์ทั้งหลายก็ได้ใช้เป็นหลักปฏิบัติกันโดยทั่วไปนั้นคลาดเคลื่อนจากความจริงไปมาก การที่กำหนดให้วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 จึงเป็นวันอาสาฬหบูชา และวันที่ 21 กรกฎาคม 2548 เป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จึงเป็นวันเข้าพรรษา ส่งผลให้วันที่ 17 ตุลาคม 2548 เป็นวันมหาปวารณาและเป็นวันออกพรรษา ซึ่งล่วงหน้าวันที่กำหนดไว้ในปฏิทินหลวงและปฏิทินราชการ 1 วันนั้น พระจันทร์ไม่ได้เพ็ญในวันที่ระบุว่าเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเลย ดูของจริงด้วยตาก็จะเห็นได้ชัดเจนอยู่แล้ว
จะไม่ยกเหตุผลอื่นมาอ้างให้ยุ่งยาก แต่จะขอยกเหตุผลจากปฏิทินโหราศาสตร์ไทยของนายทองเจือ อ่างแก้ว เองนั่นแหละมาสนับสนุน นั่นคือปฏิทินโหราศาสตร์ไทยของนายทองเจือ อ่างแก้ว ฉบับ พ.ศ. 2544-2553 ได้ระบุว่าพระจันทร์เพ็ญเดือน 8 ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2548 เวลา 17.50 น. จึงเป็นวันอาสาฬหบูชา และวันที่ 22 กรกฎาคม 2548 ก็ต้องเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษา
ปฏิทินเดียวกันนี้สำหรับเดือนตุลาคม 2548 ก็ระบุว่าพระจันทร์เพ็ญเดือน 11 ในวันที่ 18 ตุลาคม 2548 เวลา 18.42 น. วันนี้จึงเป็นวันมหาปวารณาและเป็นออกพรรษาตามที่บัญญัติไว้ในพระวินัย
ดังนั้นปฏิทินโหราศาสตร์ของนายทองเจือ อ่างแก้ว ฉบับ พ.ศ. 2544-2553 จึงเป็นฉบับที่ถูกต้องตรงกับปฏิทินหลวง และปฏิทินศาสนา แต่ปฏิทินไดอารี่โหร พ.ศ. 2548 และปฏิทิน 100 ปี 3 ภาษา ฉบับสมบูรณ์ ซึ่งกำหนดการเร็วกว่า 1 วันคลาดเคลื่อนไป และเหตุที่คลาดเคลื่อนก็เพราะว่าได้กำหนดให้เดือน 7 ทางจันทรคติของปี 2548 มีเพียง 29 วัน ในขณะที่ฉบับ พ.ศ. 2544-2553 กำหนดให้เดือน 7 ทางจันทรคติมี 30 วัน ความคลาดเคลื่อนจึงเกิดขึ้นตั้งแต่วันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป ทำให้วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษาคลาดเคลื่อนตามไปด้วย
ประการที่สอง พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ ท้วงว่าแม้ปฏิทินหลวง ปฏิทินศาสนาและปฏิทินของนายทองเจือ อ่างแก้ว ฉบับ พ.ศ. 2544-2553 ที่ไปเพิ่มเดือน 7 ทางจันทรคติให้มี 30 วันนั้นไม่มีหลักวิชาอ้างอิง เพราะเดือนคี่จะต้องมีเพียง 29 วัน ส่วนเดือนคู่จึงจะมี 30 วัน นั่นคือในเดือน 7 ทางจันทรคติจะสิ้นสุดเดือนที่วันแรม 14 ค่ำ คือวันที่ 5 กรกฎาคม 2548 การที่มาเพิ่มวันแรม 15 ค่ำ ขึ้นอีกวันหนึ่งไม่มีหลักวิชาอ้างอิง
ในประการนี้ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้อ้างว่าในเรื่องนี้สำนักพระราชวังก็ได้ชี้แจงว่าการเพิ่มวันเช่นนี้เกิดขึ้นได้ 7 หรือ 8 ปีต่อครั้งหนึ่ง
ในข้อนี้เป็นไปดังที่ว่านั้น เพราะการคำนวณวันทางจันทรคติแม้จะมีหลักเกณฑ์ทั่วไปว่าเดือนคู่มี 30 วัน เดือนคี่ มี 29 วัน ก็ตาม แต่ก็มีข้อยกเว้นเพราะปีทางจันทรคตินั้นไม่ถึง 365 วัน แต่ละปีจึงมีเศษของวันอยู่ เมื่อวันทดมากเข้าจึงต้องเพิ่มอธิกมาสหรือเดือน 8 ทางจันทรคติสองหนเสียคราวหนึ่ง แม้กระนั้นก็ยังมีเศษอยู่เล็กน้อย นานวันเข้าก็จะกลายเป็น 1 วัน และถ้าเพิ่มวันในเดือนคี่เป็น 30 วันก็จะทำให้ใกล้เคียงกับการที่พระจันทร์เพ็ญมากที่สุด จึงมีข้อยกเว้นในกรณีที่เศษทดเข้าใกล้ 1 วัน หรือเกิน 1 วันเล็กน้อยให้ถือเป็น 1 วันได้ เหตุนี้ในเดือนคี่จึงอาจมี 30 วันได้ดังเช่นที่ปฏิทินหลวงได้กำหนดไว้นั้น
แต่กระนั้นผลคำนวณตามปฏิทินหลวงที่กำหนดเป็นปฏิทินราชการด้วยก็คลาดเคลื่อนไปแล้ว เพราะวันเพ็ญ วันดับ ต้องถือตามความเป็นจริงในการเห็นดวงจันทร์ ไม่ถือตามผลคำนวณทางดาราศาสตร์ ซึ่งสามารถดูความเป็นจริงจากดวงจันทร์ก็ได้ว่าในวันอาสาฬหบูชาปีนี้ก็ดี หรือในวันออกพรรษาปีนี้ก็ดี พระจันทร์จะไม่เต็มดวงจริง และไม่เต็มดวงต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว ซึ่งแสดงว่าผลการคำนวณนั้นคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงไปแล้ว คือผลคำนวณที่ระบุว่าวันไหนขึ้น 15 ค่ำ หรือเป็นวันเพ็ญนั้นพระจันร์กลับไม่ได้เพ็ญจริง ๆ หากยังเว้าแหว่งอยู่ จึงต้องมีการปรับปรุงให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
มิฉะนั้นกำหนดการปฏิบัติศาสนกิจและวันสำคัญในพระพุทธศาสนาก็จะคลาดเคลื่อน และความคลาดเคลื่อนบางอย่างโดยเฉพาะกำหนดการออกพรรษานั้นหากคลาดเคลื่อนก่อนกำหนดก็จะเป็นผลให้พระสงฆ์ออกพรรษาก่อนกำหนด เป็นอาบัติตามพระวินัย ย่อมเป็นบาปกรรมแก่รัฐบาลและผู้จัดทำปฏิทินโดยถ้วนหน้ากัน เพราะเป็นต้นเหตุที่ทำให้พระสงฆ์ต้องอาบัติทั้งประเทศ
ดังนั้นในช่วงที่ยังไม่มีการตัดสินในเรื่องนี้ให้เป็นที่ยุติ จึงพึงที่ชาวพุทธทั้งปวงจะได้ยึดถือปฏิบัติตามปฏิทินหลวงไปพลางก่อน โดยเฉพาะบรรดาพระสงฆ์ทั้งปวงนั้นขออาราธนาให้ทำมหาปวารณาและออกพรรษาในวันที่ 18 ตุลาคม 2548 นั้นเถิด อย่าได้ออกพรรษาในวันที่ 17 หรือวันที่ 19 ตุลาคม 2548 เลย จะเป็นการผิดพระวินัยไปเปล่า ๆ
และเพื่อความสบายใจก็ให้สังเกตบั้งไฟพญานาคที่จะผุดขึ้นในแม่น้ำโขงในวันออกพรรษาปีนี้ว่าจะผุดขึ้นในวันใด คือวันที่ 17,18 หรือ 19 ตุลาคม 2548 เพราะสำหรับผู้ที่เชื่อคติเรื่องพญานาคก็จะเชื่อว่าพญานาคถือวันออกพรรษาได้เที่ยงตรงไม่บิดบูด แต่บอกไว้ล่วงหน้าได้เลยว่าบั้งไฟพญานาคในปีนี้จะผุดขึ้นจากแม่น้ำโขงในคืนวันที่ 18 ตุลาคม 2548 เพราะพญานาคนั้นเคารพธรรม จึงเคารพปฏิทินหลวงด้วย
สำหรับทางลาว วันออกพรรษาช้ากว่าไทย 1 วัน แต่ก็มีบั้งไฟพญานาคขึ้นเหมือนกัน หากจะอธิบายทางวิทยาศาสตร์ก็คงจะยาก จึงต้องกล่าวว่าเป็นเพราะพญานาคเป็นนักประนีประนอมเอาใจทั้งไทยและลาว จึงผุดบั้งไฟพญานาคสำหรับวันออกพรรษาลาวเพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่ง ยกเหตุผลเสียอย่างนี้ก็สบายใจดีเหมือนกัน
ไหน ๆ ก็จะพูดถึงความคลาดเคลื่อนทางปฏิทินกันแล้วก็ต้องกล่าวต่อไปด้วยว่าการกำหนดปีพุทธศักราชในปัจจุบันนี้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนอย่างน่าละอายที่สุด และแสดงถึงความไม่รู้เรื่องรู้ราวให้ปรากฏต่อเพื่อนชาวพุทธทั่วโลกที่หลงยึดถือเอาวันเปลี่ยนศักราชปีใหม่ของศาสนาอื่นมาเป็นวันเปลี่ยนพุทธศักราชเป็นปีใหม่ของตนเอง
เป็นการประจานว่าประเทศไทยของเราไร้ปราชญ์หรือผู้รู้เกี่ยวกับการปฏิทินและหลักการกำหนดวันสำคัญในพระพุทธศาสนาอย่างโจ่งแจ้งที่สุด
เนื่องจากพุทธศักราชนั้นเริ่มต้นแต่วันพุทธปรินิพพาน ดังที่พระสงฆ์ได้ถือเป็นหลักปฏิบัติในการประกาศศักราชในพิธีการสำคัญ ๆ ตลอดมาตั้งแต่บรรพกาลว่า “อิทานิ ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ปรินิพพานะโต ปัฏฐายะ … เอวัง ตัสสะ ภะคะวะโต ปรินิพพานา ศาสนยุกาลคณนา สัลลัคเขตัพพาติ” ซึ่งแปลว่า “ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนายุกาล จำเดิมแต่ปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น บัดนี้ล่วงแล้ว (เท่านี้เท่านั้นพรรษา) … พระพุทธศาสนายุกาลจำเดิมแต่ปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีนัยจะพึงกำหนดนับด้วยประการฉะนี้”
ซึ่งหมายความว่าวันที่ 1 แห่งพุทธศักราชที่ 1 คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 อันเป็นวันที่พระตถาคตเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน และจะครบ 1 ปีคือวันแรม 15 ค่ำ เดือน 6 ในปีถัดไป
เมื่อครั้งฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ได้มีการอธิบายเกี่ยวกับการนับพุทธศักราชในหนังสือพุทธศาสนาในประเทศไทยพุทธศตวรรษที่ 25 ว่า “ศุภมัสดุ พุทธศาสนายุกาล นับจำเดิมแต่วันปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น บัดนี้ล่วงมาบรรจบครบ 25 ศตวรรษ ในวันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2500 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา อันเป็นวันวิสาขบูชา …”
ต่างกับของพม่าและอินเดียอยู่ตรงที่ว่าอินเดียและพม่าถือปีปรินิพพานเป็น พ.ศ. ที่ 1 และถือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 แห่งปีปรินิพพานเป็น พ.ศ. ที่ 2 วันที่ 1 ดังนั้นการนับพุทธศักราชของไทยจึงช้ากว่าของอินเดียและพม่า 1 ปี ความแตกต่างของการนับในลักษณะนี้ก็มีขึ้นกับการนับอายุคนด้วย นั่นคือวิธีนับอายุไทยใช้วิธีนับตามแบบอินเดียและพม่า ส่วนอายุโหรกลับนับตามวิธีนับพุทธศักราชของประเทศไทย
ชนเผ่าไทยได้ถือการนับจุลศักราชตามคติพราหมณ์มาแต่ก่อน จึงถือเอาวันที่ 13 เมษายน ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชเป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่เมื่อการคำนวณเวลาจุลศักราชเปลี่ยนไปก็ไม่ได้เปลี่ยนปีใหม่ตาม ในบัดนี้การคำนวณเปลี่ยนจุลศักราชใหม่คลาดเคลื่อนไปไกลถึงวันที่ 16 เมษายน แล้วก็ยังถือเอาวันที่ 13 เมษายน เป็นวันปีใหม่ไทยอยู่นั่นเอง
ครั้นประเทศไทยเปลี่ยนมาใช้พุทธศักราช ก็ยังคงถือเอาวันที่ 13 เมษายน เป็นการเริ่มต้นพุทธศักราชใหม่ต่อมา นับเป็นความผิดพลาดในการนับปีพุทธศักราชของชนเผ่าไทยและชาวพุทธไทยเป็นครั้งแรก
พอยุคต่อมาเป็นยุคตามก้นฝรั่ง เห็นฝรั่งถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันเปลี่ยนปีคริสต์ศักราชขึ้นปีใหม่ ก็เลื่อนวันปีใหม่ของประเทศไทยมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ตามไปด้วย เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 เป็นต้นมา แล้วถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันเปลี่ยนพุทธศักราชตามไปด้วยอีก และเป็นผลให้ปี พ.ศ. 2483 เป็นปีที่ประเทศไทยมี 9 เดือนเท่านั้น และนับแต่นั้นมาการนับปีพุทธศักราชของปรเทศไทยจึงคลาดเคลือนไปราวครึ่งปี
นี่คือการประกาศความเลอะเทอะให้ชาวโลกโดยเฉพาะชาวพุทธทั่วโลกได้รับรู้เป็นครั้งที่สอง แต่ความเลอะเทอะนี้จะแก้ไขอย่างไรก็คงไม่ง่ายเท่าใดนัก และนี่ก็คือเรื่องที่ผู้ซึ่งจะรับผิดชอบในการปรับปรุงแก้ไขปฏิทินจะต้องทำให้ถูกต้องต่อไป
ความจริงคอลัมน์นี้ได้ท้วงติงมาหลายต่อหลายครั้งว่าปฏิทินบ้านเรานั้นผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ไม่มีหน่วยงานไหนรับผิดชอบแก้ไข
มาบัดนี้เมื่อคำท้วงติงของ พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ อดีตอธิบดีกรมไปรษณีย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ระดับมหาคุรุของเมืองไทยคนหนึ่งเป็นข่าวคราวฮือฮาขึ้นมาแล้ว ก็ได้แต่อนุโมทนาสาธุว่าน่าที่จะทำให้รัฐบาลได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ และคิดอ่านปรับปรุงแก้ไขปฏิทินให้ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงต่อไป
เหตุที่ปฏิทินคลาดเคลื่อนก็เพราะว่าปัจจุบันนี้ไม่มีหน่วยงานของทางราชการที่รับผิดชอบในการตรวจสอบชำระสะสางปฏิทินเป็นการเฉพาะ จึงมีการจัดทำปฏิทินขึ้นใช้หลายแบบหลายชนิด และอาศัยการคำนวณต่าง ๆ กัน ตามหลักวิชาที่ยึดถือกันมาแต่ละคน แล้วก็ยึดถือว่าวิธีคำนวณและวิชาที่ยึดถือมานั้นเป็นสิ่งถูกต้อง หาที่ยุติลงกันไม่ได้
บางปฏิทินได้ยึดหลักคำนวณตามหลักวิชาดาราศาสตร์สากล ซึ่งยังมีข้อแตกต่างกันอยู่ และยังลงตัวกันไม่ได้ บางปฏิทินก็ได้ยึดหลักคำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตร บางปฏิทินก็ได้ยึดหลักคำนวณตามหลักวิชาการที่ได้รับถ่ายทอดมาจากฝ่ายเปอร์เซียในอดีต บางปฏิทินก็ได้ยึดหลักคำนวณทางจันทรคติเป็นหลัก จึงทำให้ปฏิทินแตกต่างกันไปแล้วยึดถือแตกต่างกันไปด้วย
ยังโชคดีของประเทศไทยที่สำนักพระราชวังยังคงจัดทำปฏิทินหลวงสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ผู้ไปลงนามถวายพระพรในโอกาสปีใหม่ และส่วนราชการไทยโดยเฉพาะสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติก็ได้ยึดปฏิทินหลวงดังกล่าวเป็นหลักในการกำหนดวันสำคัญในพระพุทธศาสนาและการปฏิบัติศาสนกิจต่าง ๆ
ในขณะที่พี่น้องไทยมุสลิมก็มีปฏิทินเป็นของตนเอง คำนวณวันเวลาและกำหนดการปฏิบัติศาสนกิจในฮิจเราะห์ศักราชเพื่อปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลามเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนเพราะยึดโยงอยู่กับความเป็นจริงของดวงจันทร์ โดยเทียบเคียงผลการคำนวณกับการเห็นดวงจันทร์ที่เป็นจริงด้วย
ในพระพุทธศาสนามีพุทธบัญญัติกำหนดการปฏิบัติศาสนกิจต่าง ๆ ยึดโยงอยู่กับดวงจันทร์เช่นเดียวกัน เป็นแต่ว่าเมื่อมีการใช้ปฏิทินหลายแบบ มีการคำนวณแตกต่างกันจึงทำให้มีการปฏิบัติที่แตกต่างกัน
ในวันนี้ พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ ได้ระบุว่าปฏิทินหลวงและปฏิทินราชการนั้นคลาดเคลื่อนไปแล้วจากความเป็นจริงถึง 1 วัน จะส่งผลที่สำคัญคือจะทำให้พระเข้าพรรษาก่อนกำหนดเป็นการผิดพุทธบัญญัติ และที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าบางปฏิทินกำหนดให้วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 จึงเป็นวันอาสาฬหบูชา และวันที่ 21 กรกฎาคม 2548 เป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จึงเป็นวันอธิษฐานเข้าพรรษา
เป็นการผิดเวลาไปถึง 2 วัน เพราะปฏิทินศาสนาและปฏิทินของทางราชการกำหนดให้วันที่ 21 กรกฎาคม 2548 เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันอาสาฬหบูชา และวันที่ 22 กรกฎาคม 2548 เป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันอธิษฐานเข้าพรรษา
พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ อ้างว่าได้คำนวณและส่งผลการคำนวณที่ว่าปฏิทินหลวงและปฏิทินราชการล่าช้านั้นไปให้ราชบัณฑิตพิจารณาแล้วรับรองว่าที่คำนวณไว้นั้นถูกต้อง หมายความว่าวันสำคัญต่าง ๆ และวันขึ้นแรมต่าง ๆ ตามปฏิทินศาสนาและปฏิทินของทางราชการคลาดเคลื่อนล่วงหน้าไปหนึ่งวัน
ในขณะเดียวกันสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติก็ได้แย้งว่าปฏิทินศาสนาและปฏิทินราชการได้ถือหลักปฏิทินหลวงที่สำนักพระราชวังจัดทำและได้รับคำยืนยันว่ามีความถูกต้อง แต่ก็เปิดทางไว้ว่าหากผลการตรวจสอบปรากฏว่าคลาดเคลื่อนก็น่าที่จะมีการแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป
ดังนั้นปัญหาเรื่องความคลาดเคลื่อนของปฏิทินในปัจจุบันนี้จึงมีอยู่สามวันคือ วันอาสาฬหบูชาเป็นวันที่ 20 หรือ 21 หรือ 22 กรกฎาคม 2548 กันแน่ ซึ่งส่งผลต่อไปถึงวันออกพรรษาด้วย ว่าจะเป็นวันที่ 17, 18 หรือ 19 ตุลาคม 2548 กันแน่
นั่นคือปฏิทินประจำปีหรือไดอารี่โหรปี 2548 ของนายทองเจือ อ่างแก้ว และปฏิทิน 100 ปี 3 ภาษา ฉบับสมบูรณ์ ของนายหว่า แซ่อึ้ง และนายเลียกไฮ้ แซ่โอ้ว ซึ่งพระมหาเถระและบุคคลสำคัญมากหลายรับรองว่าถูกต้องใช้ได้ ให้ใช้เป็นคู่มือของพระคณาธิการ พระอุปัชฌาย์ และเจ้าอาวาส ตลอดจนโหรและครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ซึ่งนิยมใช้กันแพร่หลาย กำหนดให้วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 จึงเป็นวันอาสาฬหบูชา และกำหนดให้วันที่ 17 ตุลาคม 2548 เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 จึงเป็นวันมหาปวารณาและวันออกพรรษา ส่วนปฏิทินหลวงและปฏิทินราชการกำหนดให้วันที่ 21 กรกฎาคม 2548 เป็นวันอาสาฬหบูชา วันที่ 22 กรกฎาคม 2548 เป็นวันเข้าพรรษา และวันที่ 18 ตุลาคม 2548 เป็นวันออกพรรษา ในขณะที่ปฏิทินที่คำนวณโดยวิชาดาราศาสตร์สากลและความเห็นของ พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ นั้นเห็นว่าเร็วไปหนึ่งวัน ซึ่งหมายความว่าวันอาสาฬหบูชาจะเป็นวันที่ 22 กรกฎาคม 2548 วันที่ 23 กรกฎาคม 2548 เป็นวันอธิษฐานเข้าพรรษา และวันออกพรรษาจะต้องเป็นวันที่ 19 ตุลาคม 2548
เพราะความคลาดเคลื่อนเช่นนี้ การผูกดวงชะตา การกำหนดฤกษ์ และการทำนายพระเคราะห์จร ตลอดจนการพยากรณ์ของโหรทั้งหลายจึงพากันคลาดเคลื่อนเอาเป็นแก่นสารไม่ได้จำนวนมาก
และเพราะคลาดเคลื่อนเช่นนี้ การพยากรณ์ของโหรสมาชิกวุฒิสภาท่านหนึ่งที่ว่าท่านนายกทักษิณจะถูกลอบสังหารในปี 2547 จึงผิดพลาด และเช่นเดียวกันย่อมทำให้การพยากรณ์ของนายกสมาคมโหรท่านหนึ่งที่พยากรณ์ว่าท่านนายกทักษิณมีชะตาถึงฆาตในห้วงเวลานี้ผิดพลาดเชื่อถืออันใดไม่ได้ด้วย
ดวงผู้นำคนที่จะถูกลอบสังหารนั้นนอกจากการคำนวณชะตาถูกต้องแล้ว ยังต้องอาศัยเงื่อนไขอันเป็นเกณฑ์สำคัญคือต้องเป็นผู้เกิดในราชาฤกษ์และเสวยปุษยฤกษ์ส่วนการจะดูการถึงฆาตจะต้องดูจากพื้นชะตาและพระเคราะห์ที่ถูกต้อง และต้องอาศัยภาคพยากรณ์ตามคัมภีร์จักรทีปนีจรและคัมภีร์อินทรภาษบาทจันทร์เป็นหลัก
จะมาพยากรณ์เรื่องการลอบสังหารและดวงต้องฆาตกันแบบสนุกสนานจึงเป็นเรื่องไม่เข้าท่าและขายหน้าวิชาโหราศาสตร์ ทำให้ดวงพระวิญญาณของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีเดือดร้อนเสียเปล่า ๆ
ดังนั้นในระหว่างที่ยังไม่มีผู้ชี้ขาดและยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนี้โดยตรง จึงเห็นสมควรที่จะได้ทำความเข้าใจในเรื่องนี้เป็นการทั่วไป และพอเป็นหนทางที่จะทำให้เกิดความสบายใจแก่ทุกฝ่ายเป็นการชั่วคราว
ประการแรก ไดอารี่โหรหรือปฏิทินโหรประจำปี 2548 ของนายทองเจือ อ่างแก้ว และปฏิทิน 100 ปี 3 ภาษาฉบับสมบูรณ์ ซึ่งแพร่หลายและพระสงฆ์ถือปฏิบัติกันเป็นจำนวนมาก รวมทั้งบรรดาโหราจารย์ทั้งหลายก็ได้ใช้เป็นหลักปฏิบัติกันโดยทั่วไปนั้นคลาดเคลื่อนจากความจริงไปมาก การที่กำหนดให้วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 จึงเป็นวันอาสาฬหบูชา และวันที่ 21 กรกฎาคม 2548 เป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จึงเป็นวันเข้าพรรษา ส่งผลให้วันที่ 17 ตุลาคม 2548 เป็นวันมหาปวารณาและเป็นวันออกพรรษา ซึ่งล่วงหน้าวันที่กำหนดไว้ในปฏิทินหลวงและปฏิทินราชการ 1 วันนั้น พระจันทร์ไม่ได้เพ็ญในวันที่ระบุว่าเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเลย ดูของจริงด้วยตาก็จะเห็นได้ชัดเจนอยู่แล้ว
จะไม่ยกเหตุผลอื่นมาอ้างให้ยุ่งยาก แต่จะขอยกเหตุผลจากปฏิทินโหราศาสตร์ไทยของนายทองเจือ อ่างแก้ว เองนั่นแหละมาสนับสนุน นั่นคือปฏิทินโหราศาสตร์ไทยของนายทองเจือ อ่างแก้ว ฉบับ พ.ศ. 2544-2553 ได้ระบุว่าพระจันทร์เพ็ญเดือน 8 ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2548 เวลา 17.50 น. จึงเป็นวันอาสาฬหบูชา และวันที่ 22 กรกฎาคม 2548 ก็ต้องเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษา
ปฏิทินเดียวกันนี้สำหรับเดือนตุลาคม 2548 ก็ระบุว่าพระจันทร์เพ็ญเดือน 11 ในวันที่ 18 ตุลาคม 2548 เวลา 18.42 น. วันนี้จึงเป็นวันมหาปวารณาและเป็นออกพรรษาตามที่บัญญัติไว้ในพระวินัย
ดังนั้นปฏิทินโหราศาสตร์ของนายทองเจือ อ่างแก้ว ฉบับ พ.ศ. 2544-2553 จึงเป็นฉบับที่ถูกต้องตรงกับปฏิทินหลวง และปฏิทินศาสนา แต่ปฏิทินไดอารี่โหร พ.ศ. 2548 และปฏิทิน 100 ปี 3 ภาษา ฉบับสมบูรณ์ ซึ่งกำหนดการเร็วกว่า 1 วันคลาดเคลื่อนไป และเหตุที่คลาดเคลื่อนก็เพราะว่าได้กำหนดให้เดือน 7 ทางจันทรคติของปี 2548 มีเพียง 29 วัน ในขณะที่ฉบับ พ.ศ. 2544-2553 กำหนดให้เดือน 7 ทางจันทรคติมี 30 วัน ความคลาดเคลื่อนจึงเกิดขึ้นตั้งแต่วันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป ทำให้วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษาคลาดเคลื่อนตามไปด้วย
ประการที่สอง พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ ท้วงว่าแม้ปฏิทินหลวง ปฏิทินศาสนาและปฏิทินของนายทองเจือ อ่างแก้ว ฉบับ พ.ศ. 2544-2553 ที่ไปเพิ่มเดือน 7 ทางจันทรคติให้มี 30 วันนั้นไม่มีหลักวิชาอ้างอิง เพราะเดือนคี่จะต้องมีเพียง 29 วัน ส่วนเดือนคู่จึงจะมี 30 วัน นั่นคือในเดือน 7 ทางจันทรคติจะสิ้นสุดเดือนที่วันแรม 14 ค่ำ คือวันที่ 5 กรกฎาคม 2548 การที่มาเพิ่มวันแรม 15 ค่ำ ขึ้นอีกวันหนึ่งไม่มีหลักวิชาอ้างอิง
ในประการนี้ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้อ้างว่าในเรื่องนี้สำนักพระราชวังก็ได้ชี้แจงว่าการเพิ่มวันเช่นนี้เกิดขึ้นได้ 7 หรือ 8 ปีต่อครั้งหนึ่ง
ในข้อนี้เป็นไปดังที่ว่านั้น เพราะการคำนวณวันทางจันทรคติแม้จะมีหลักเกณฑ์ทั่วไปว่าเดือนคู่มี 30 วัน เดือนคี่ มี 29 วัน ก็ตาม แต่ก็มีข้อยกเว้นเพราะปีทางจันทรคตินั้นไม่ถึง 365 วัน แต่ละปีจึงมีเศษของวันอยู่ เมื่อวันทดมากเข้าจึงต้องเพิ่มอธิกมาสหรือเดือน 8 ทางจันทรคติสองหนเสียคราวหนึ่ง แม้กระนั้นก็ยังมีเศษอยู่เล็กน้อย นานวันเข้าก็จะกลายเป็น 1 วัน และถ้าเพิ่มวันในเดือนคี่เป็น 30 วันก็จะทำให้ใกล้เคียงกับการที่พระจันทร์เพ็ญมากที่สุด จึงมีข้อยกเว้นในกรณีที่เศษทดเข้าใกล้ 1 วัน หรือเกิน 1 วันเล็กน้อยให้ถือเป็น 1 วันได้ เหตุนี้ในเดือนคี่จึงอาจมี 30 วันได้ดังเช่นที่ปฏิทินหลวงได้กำหนดไว้นั้น
แต่กระนั้นผลคำนวณตามปฏิทินหลวงที่กำหนดเป็นปฏิทินราชการด้วยก็คลาดเคลื่อนไปแล้ว เพราะวันเพ็ญ วันดับ ต้องถือตามความเป็นจริงในการเห็นดวงจันทร์ ไม่ถือตามผลคำนวณทางดาราศาสตร์ ซึ่งสามารถดูความเป็นจริงจากดวงจันทร์ก็ได้ว่าในวันอาสาฬหบูชาปีนี้ก็ดี หรือในวันออกพรรษาปีนี้ก็ดี พระจันทร์จะไม่เต็มดวงจริง และไม่เต็มดวงต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว ซึ่งแสดงว่าผลการคำนวณนั้นคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงไปแล้ว คือผลคำนวณที่ระบุว่าวันไหนขึ้น 15 ค่ำ หรือเป็นวันเพ็ญนั้นพระจันร์กลับไม่ได้เพ็ญจริง ๆ หากยังเว้าแหว่งอยู่ จึงต้องมีการปรับปรุงให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
มิฉะนั้นกำหนดการปฏิบัติศาสนกิจและวันสำคัญในพระพุทธศาสนาก็จะคลาดเคลื่อน และความคลาดเคลื่อนบางอย่างโดยเฉพาะกำหนดการออกพรรษานั้นหากคลาดเคลื่อนก่อนกำหนดก็จะเป็นผลให้พระสงฆ์ออกพรรษาก่อนกำหนด เป็นอาบัติตามพระวินัย ย่อมเป็นบาปกรรมแก่รัฐบาลและผู้จัดทำปฏิทินโดยถ้วนหน้ากัน เพราะเป็นต้นเหตุที่ทำให้พระสงฆ์ต้องอาบัติทั้งประเทศ
ดังนั้นในช่วงที่ยังไม่มีการตัดสินในเรื่องนี้ให้เป็นที่ยุติ จึงพึงที่ชาวพุทธทั้งปวงจะได้ยึดถือปฏิบัติตามปฏิทินหลวงไปพลางก่อน โดยเฉพาะบรรดาพระสงฆ์ทั้งปวงนั้นขออาราธนาให้ทำมหาปวารณาและออกพรรษาในวันที่ 18 ตุลาคม 2548 นั้นเถิด อย่าได้ออกพรรษาในวันที่ 17 หรือวันที่ 19 ตุลาคม 2548 เลย จะเป็นการผิดพระวินัยไปเปล่า ๆ
และเพื่อความสบายใจก็ให้สังเกตบั้งไฟพญานาคที่จะผุดขึ้นในแม่น้ำโขงในวันออกพรรษาปีนี้ว่าจะผุดขึ้นในวันใด คือวันที่ 17,18 หรือ 19 ตุลาคม 2548 เพราะสำหรับผู้ที่เชื่อคติเรื่องพญานาคก็จะเชื่อว่าพญานาคถือวันออกพรรษาได้เที่ยงตรงไม่บิดบูด แต่บอกไว้ล่วงหน้าได้เลยว่าบั้งไฟพญานาคในปีนี้จะผุดขึ้นจากแม่น้ำโขงในคืนวันที่ 18 ตุลาคม 2548 เพราะพญานาคนั้นเคารพธรรม จึงเคารพปฏิทินหลวงด้วย
สำหรับทางลาว วันออกพรรษาช้ากว่าไทย 1 วัน แต่ก็มีบั้งไฟพญานาคขึ้นเหมือนกัน หากจะอธิบายทางวิทยาศาสตร์ก็คงจะยาก จึงต้องกล่าวว่าเป็นเพราะพญานาคเป็นนักประนีประนอมเอาใจทั้งไทยและลาว จึงผุดบั้งไฟพญานาคสำหรับวันออกพรรษาลาวเพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่ง ยกเหตุผลเสียอย่างนี้ก็สบายใจดีเหมือนกัน
ไหน ๆ ก็จะพูดถึงความคลาดเคลื่อนทางปฏิทินกันแล้วก็ต้องกล่าวต่อไปด้วยว่าการกำหนดปีพุทธศักราชในปัจจุบันนี้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนอย่างน่าละอายที่สุด และแสดงถึงความไม่รู้เรื่องรู้ราวให้ปรากฏต่อเพื่อนชาวพุทธทั่วโลกที่หลงยึดถือเอาวันเปลี่ยนศักราชปีใหม่ของศาสนาอื่นมาเป็นวันเปลี่ยนพุทธศักราชเป็นปีใหม่ของตนเอง
เป็นการประจานว่าประเทศไทยของเราไร้ปราชญ์หรือผู้รู้เกี่ยวกับการปฏิทินและหลักการกำหนดวันสำคัญในพระพุทธศาสนาอย่างโจ่งแจ้งที่สุด
เนื่องจากพุทธศักราชนั้นเริ่มต้นแต่วันพุทธปรินิพพาน ดังที่พระสงฆ์ได้ถือเป็นหลักปฏิบัติในการประกาศศักราชในพิธีการสำคัญ ๆ ตลอดมาตั้งแต่บรรพกาลว่า “อิทานิ ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ปรินิพพานะโต ปัฏฐายะ … เอวัง ตัสสะ ภะคะวะโต ปรินิพพานา ศาสนยุกาลคณนา สัลลัคเขตัพพาติ” ซึ่งแปลว่า “ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนายุกาล จำเดิมแต่ปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น บัดนี้ล่วงแล้ว (เท่านี้เท่านั้นพรรษา) … พระพุทธศาสนายุกาลจำเดิมแต่ปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีนัยจะพึงกำหนดนับด้วยประการฉะนี้”
ซึ่งหมายความว่าวันที่ 1 แห่งพุทธศักราชที่ 1 คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 อันเป็นวันที่พระตถาคตเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน และจะครบ 1 ปีคือวันแรม 15 ค่ำ เดือน 6 ในปีถัดไป
เมื่อครั้งฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ได้มีการอธิบายเกี่ยวกับการนับพุทธศักราชในหนังสือพุทธศาสนาในประเทศไทยพุทธศตวรรษที่ 25 ว่า “ศุภมัสดุ พุทธศาสนายุกาล นับจำเดิมแต่วันปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น บัดนี้ล่วงมาบรรจบครบ 25 ศตวรรษ ในวันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2500 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา อันเป็นวันวิสาขบูชา …”
ต่างกับของพม่าและอินเดียอยู่ตรงที่ว่าอินเดียและพม่าถือปีปรินิพพานเป็น พ.ศ. ที่ 1 และถือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 แห่งปีปรินิพพานเป็น พ.ศ. ที่ 2 วันที่ 1 ดังนั้นการนับพุทธศักราชของไทยจึงช้ากว่าของอินเดียและพม่า 1 ปี ความแตกต่างของการนับในลักษณะนี้ก็มีขึ้นกับการนับอายุคนด้วย นั่นคือวิธีนับอายุไทยใช้วิธีนับตามแบบอินเดียและพม่า ส่วนอายุโหรกลับนับตามวิธีนับพุทธศักราชของประเทศไทย
ชนเผ่าไทยได้ถือการนับจุลศักราชตามคติพราหมณ์มาแต่ก่อน จึงถือเอาวันที่ 13 เมษายน ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชเป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่เมื่อการคำนวณเวลาจุลศักราชเปลี่ยนไปก็ไม่ได้เปลี่ยนปีใหม่ตาม ในบัดนี้การคำนวณเปลี่ยนจุลศักราชใหม่คลาดเคลื่อนไปไกลถึงวันที่ 16 เมษายน แล้วก็ยังถือเอาวันที่ 13 เมษายน เป็นวันปีใหม่ไทยอยู่นั่นเอง
ครั้นประเทศไทยเปลี่ยนมาใช้พุทธศักราช ก็ยังคงถือเอาวันที่ 13 เมษายน เป็นการเริ่มต้นพุทธศักราชใหม่ต่อมา นับเป็นความผิดพลาดในการนับปีพุทธศักราชของชนเผ่าไทยและชาวพุทธไทยเป็นครั้งแรก
พอยุคต่อมาเป็นยุคตามก้นฝรั่ง เห็นฝรั่งถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันเปลี่ยนปีคริสต์ศักราชขึ้นปีใหม่ ก็เลื่อนวันปีใหม่ของประเทศไทยมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ตามไปด้วย เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 เป็นต้นมา แล้วถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันเปลี่ยนพุทธศักราชตามไปด้วยอีก และเป็นผลให้ปี พ.ศ. 2483 เป็นปีที่ประเทศไทยมี 9 เดือนเท่านั้น และนับแต่นั้นมาการนับปีพุทธศักราชของปรเทศไทยจึงคลาดเคลือนไปราวครึ่งปี
นี่คือการประกาศความเลอะเทอะให้ชาวโลกโดยเฉพาะชาวพุทธทั่วโลกได้รับรู้เป็นครั้งที่สอง แต่ความเลอะเทอะนี้จะแก้ไขอย่างไรก็คงไม่ง่ายเท่าใดนัก และนี่ก็คือเรื่องที่ผู้ซึ่งจะรับผิดชอบในการปรับปรุงแก้ไขปฏิทินจะต้องทำให้ถูกต้องต่อไป