วันที่ 21 กรกฎาคม 2548 เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 จึงเป็นวันอาสาฬหบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา พอรุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งคือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งตรงกับวันที่ 22 กรกฎาคม 2548 ก็จะเป็นวันเข้าพรรษา และในปีนี้ทั้งสองวันนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ จึงกลายเป็นวันหยุดราชการไปทั้งสองวัน
เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า รัฐบาลไทยบางยุคสมัยไม่ใส่ใจ ไม่มีความรู้ในการพระศาสนา หลงเข้าใจว่าวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญ จึงกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ ครั้นต่อมาพอรู้ว่าวันสำคัญที่แท้จริงนั้นคือวันอาสาฬหบูชา และประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งหลายต่างก็ถือว่าวันอาสาฬหบูชานี้มีความสำคัญ และกำหนดเป็นวันหยุดราชการบ้าง กำหนดเป็นวันปฏิบัติธรรมครั้งใหญ่บ้าง ประเทศไทยจึงได้ถือตาม ยกเอาวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญเพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่ง และให้เป็นวันหยุดราชการด้วย
แต่กลับไม่ยกเลิกการหยุดราชการในวันเข้าพรรษาซึ่งเป็นเพียงวันเริ่มต้นของการจำพรรษาของพระสงฆ์ในช่วงฤดูฝนเท่านั้น เพราะให้หยุดไปแล้ว ครั้นจะเลิกวันหยุดเสียก็กลัวว่าจะเสียคะแนนนิยม จึงเป็นเหตุให้วันสำคัญอันเป็นวันหยุดราชการในพระพุทธศาสนาซึ่งควรจะมีอยู่เพียง 3 วัน คือวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา กลายเป็นมีวันหยุดถึง 4 วัน คือวันเข้าพรรษาซึ่งเลิกไม่ได้อีกวันหนึ่ง
การกำหนดวันหยุดในลักษณะแนวคิดเช่นนี้มีอยู่โดยทั่วไป จึงทำให้วันหยุดราชการของประเทศไทยกะปริดกะปรอยคล้าย ๆ กับคนที่มีปัญหาในการปัสสาวะ คือหยุดก็หยุดไม่จริง ทำงานก็ทำไม่จริง ในที่สุดก็จะสร้างนิสัยกะปริดกะปรอยแบบนี้ในเรื่องราวต่างๆ
วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาก็เพราะว่าเป็นวันที่พระตถาคตเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา นั่นคือการประกาศพระธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรก คือธัมมจักกัปปวัตนสูตร
ผลจากการแสดงพระธรรมครั้งสำคัญนี้ทำให้พระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม และขออุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา พระตถาคตเจ้าได้ประทานอุปสมบทด้วยพระองค์เอง หรือที่เรียกว่าเป็นการอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา
ดังนั้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งเป็นระยะเวลา 2 เดือนเต็มหลังจากทรงตรัสรู้ จึงมีพระรัตนตรัยบังเกิดขึ้นครบองค์สาม คือมีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นตั้งแต่วันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงแสดงพระธรรมโดยธัมมจักกัปปวัตนสูตรและมีพระสงฆ์สาวกบังเกิดขึ้น นั่นคือพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ ได้บังเกิดขึ้นครบถ้วนเป็นพระรัตนตรัยในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 แห่งพรรษาแรกของโพธิกาล
ดังนั้นวันอาสาฬหบูชาจึงถือกันว่าเป็นวันพระธรรม คือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเป็นครั้งแรก แต่ก็อาจถือได้ด้วยว่าเป็นวันพระรัตนตรัย เพราะเป็นวันที่พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ บังเกิดขึ้นครบถ้วนในวันนั้น
จำเดิมแต่พระบรมศาสดาทรงตรัสรู้อนุตรสัมโพธิญาณในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ที่ใต้ร่มโพธิ์ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เมืองอุรุเวลาเสนานิคมแล้ว ทรงเสวยอภิเนษกรมณ์อยู่ในพื้นที่นั้นถึง 49 วัน
ในห้วงเวลา 49 วันนี้พระตถาคตเจ้าหาได้เสวยปีติสุขอันเกิดแต่การตรัสรู้เพียงเท่านั้นไม่ หากยังทรงตรึกตรองถึงเรื่องสำคัญสองเรื่อง คือ จะทรงประกาศพระธรรมที่ทรงตรัสรู้เพื่อประโยชน์สุขแก่เวไนยสัตว์ทั้งหลาย หรือจะเก็บความรู้นั้นไว้แต่พระองค์เดียวเรื่องหนึ่ง และหากจะประกาศสิ่งที่ทรงตรัสรู้ จะมีระบบและวิธีการอย่างไร รวมทั้งจะเริ่มที่ใครก่อนอีกเรื่องหนึ่ง
ในที่สุดพระตถาคตเจ้าได้ตัดสินพระทัยประกาศพระธรรมที่ทรงตรัสรู้เพื่อประโยชน์และความสุขของชาวโลก ทรงกำหนดระบบการประกาศพระศาสนาและตัดสินพระทัยเริ่มต้นที่บุคคลสำคัญที่อยู่ในวิสัยที่จะรู้และได้รับผลแห่งการตรัสรู้ของพระองค์ก่อน และมุ่งที่เมืองใหญ่ก่อน
การตัดสินพระทัยและการกำหนดแผนการประกาศพระศาสนาดังกล่าวนั้นส่งผลให้การประกาศพระพุทธศาสนาเป็นไปอย่างราบรื่น รวดเร็ว
สำหรับบุคคลเริ่มแรกนั้นทรงดำริถึงอาจารย์เก่าสองรูป คืออาฬารดาบสและอุทกดาบส ซึ่งบวชนาน มีภูมิธรรมสูง อยู่ในวิสัยที่จะรู้ธรรมที่ทรงตรัสรู้ได้โดยง่าย แต่ก็ทรงทราบว่าอาจารย์ทั้งสองรูปนี้ได้ละสังขารไปก่อนแล้ว
ถัดจากนั้นจึงทรงดำริถึงปัญจวัคคีย์ซึ่งเป็นนักบวชอีกกลุ่มหนึ่งที่เคยติดตามรับใช้ถวายการปรนนิบัติพระองค์มาก่อน และทรงทราบว่าในขณะนั้นปัญจวัคคีย์ปฏิบัติธรรมอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันในเขตเมืองพาราณสี
ข้อสังเกตก็คือพระตถาคตเจ้าทราบได้อย่างไรว่าพระอาจารย์ทั้งสองละสังขารไปแล้ว และปัญจวัคคีย์ทั้งห้าปฏิบัติธรรมอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เพราะในยุคสมัยนั้นข่าวสารหรือการสื่อสารมิได้แพร่หลายและทันสมัยเหมือนปัจจุบัน คงเหลือก็แต่การสอบถามจากปากคนเท่านั้น และปรากฏว่าในห้วงเวลา 49 วันนั้นพระบรมศาสดาทรงพบปะกับผู้คนไม่กี่คนเท่านั้น
หลังจากออกจากการเสวยอภิเนษกรมณ์แล้วก็เสด็จพุทธดำเนินจากตำบลอุรุเวลาเสนานิคม มุ่งไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ระยะทางไกลราว 360 กิโลเมตร ทรงใช้เวลาพุทธดำเนินเป็นเวลา 10 วัน เนื่องจากทรงเสด็จถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8
เมื่อเสด็จไปถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวันในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 แล้วทรงรั้งรออยู่ 1 วัน ยังไม่แสดงพระธรรมในวันนั้น เนื่องจากหลังจากที่พระพุทธองค์ได้เลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยาแล้ว ปัญจวัคคีย์ซึ่งเคยถวายการรับใช้ก็เห็นว่าพระสมณโคดมได้ทอดทิ้งการบำเพ็ญเพียร กลับไปใช้ชีวิตแบบต่ำเสียแล้ว เป็นการเสียเวลาเปล่าที่พวกเราเคยถวายการรับใช้ หากอยู่ต่อไปก็ไม่มีอนาคตที่จะได้รู้พระธรรมอันประเสริฐ ดังนั้นปัญจวัคคีย์จึงหลีกหนีไปและย่อมคาดหมายได้ว่าเป็นการหลีกลี้หนีไปด้วยความผิดหวัง ด้วยความไม่พอใจ
และการณ์ก็เป็นเช่นนั้น เมื่อปัญจวัคคีย์เห็นพระบรมศาสดาเสด็จพุทธดำเนินมาแต่ไกลก็ตกลงกันว่าจะไม่ถวายการต้อนรับ จะไม่ถวายการปรนนิบัติและจะไม่ถวายแม้น้ำล้างพระบาท
แต่ครั้นพระตถาคตเจ้าเสด็จไปถึงเข้าจริง ๆ แล้ว ปัญจวัคคีย์ทั้งห้าคนต่างพากันลืมข้อที่ได้ตกลงกันไว้ ต่างคนต่างลุกขึ้นถวายการต้อนรับ แต่ไม่แสดงความเคารพ ไม่ถวายน้ำล้างพระบาท และไม่ถวายอาสนะ
พระบรมศาสดาทรงทราบความรู้สึกนึกคิดของปัญจวัคคีย์ได้จากทีท่าที่แสดงออก ดังนั้นเมื่อได้ตรัสโอภาปราศรัยตามสมควรแล้วจึงตรัสกับปัญจวัคคีย์ว่าพระองค์ได้ตรัสรู้อนุตรสัมโพธิญาณแล้ว และเสด็จมาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันก็เพื่อบอกพระธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้ให้ปัญจวัคคีย์ได้รู้ตาม
ปัญจวัคคีย์ได้ยินคำตรัสแล้วพากันนิ่งเฉย เพราะคิดว่าแม้ยามที่พระตถาคตเจ้าบำเพ็ญทุกรกิริยาด้วยความเวทนาสุดแสนสาหัสก็ยังไม่สามารถบรรลุธรรมอันประเสริฐ เมื่อทรงละทุกรกิริยานั้นเสีย ไหนเลยจะบรรลุถึงธรรมอันประเสริฐได้
พระตถาคตเจ้าจึงรับสั่งถามว่า เท่าที่เคยอยู่กันมาก็เป็นเวลาไม่น้อย ปัญจวัคคีย์ทั้งห้าเคยได้ยินได้ฟังว่าพระองค์ได้ตรัสถึงการได้ตรัสรู้อนุตรสัมโพธิญาณหรือไม่ ทรงตรัสถึงสามครั้ง ปัญจวัคคีย์ก็ตอบว่าไม่เคยได้ยินได้ฟังว่าทรงตรัสเช่นนั้น ดังนั้นจึงตรัสว่าเหตุที่ไม่เคยตรัสเช่นนั้นก็เพราะยังไม่ทรงบรรลุถึงพระธรรมอันประเสริฐ บัดนี้ที่ทรงตรัสเช่นนั้นก็เพราะทรงตรัสรู้อนุตรสัมโพธิญาณแล้ว
ปัญจวัคคีย์ได้สติยั้งคิด และเกิดความเชื่อว่าทรงตรัสรู้จริง ดังนั้นจึงพากันถวายการปรนนิบัติรับใช้เหมือนดังเดิม แต่พระบรมศาสดาก็ยังไม่ตรัสปฐมเทศนาในวันนั้น ทั้งนี้ด้วยหวังรั้งรอเพื่อให้ปัญจวัคคีย์มีความศรัทธา มีความมั่นคงในจิตใจเสียก่อน
ครั้นวันรุ่งขึ้นเป็นวันเพ็ญเดือน 8 พระตถาคตเจ้าจึงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร นับเป็นปฐมเทศนาในพระพุทธศาสนา
เนื้อหาสาระของธัมมจักกัปปวัตนสูตรเป็นเรื่องที่ทรงตรัสโดยสอดคล้องกับการศึกษาอบรมบ่มเพาะจิต และภูมิธรรมที่สูงพอประมาณของปัญจวัคคีย์ แต่มีความติดยึดในการทรมานตน เชื่อถือในการทรมานตนให้ได้รับความทุกข์ทรมานว่าเป็นหนทางที่จะถึงซึ่งพระธรรมอันประเสริฐ ดังนั้นจึงพึงเข้าใจว่าธัมมจักกัปปวัตนสูตรนั้นเป็นพระธรรมที่ทรงแสดงแก่ผู้ที่ผ่านการฝึกฝนอบรมทางจิตมามาก มีภูมิธรรมขั้นสูงพอประมาณแล้ว
ทรงชี้ให้เห็นถึงความผิดสองอย่าง คือการประพฤติปฏิบัติที่หนักไปในกาม และในการทรมานตน ว่าทั้งสองอย่างนี้ไม่ใช่หนทางอันประเสริฐ ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ปรารถนาความหลุดพ้นจากทุกข์จะเกี่ยวข้องประพฤติปฏิบัติเลย ซึ่งเป็นการทำลายการติดยึดและความถือมั่นของปัญจวัคคีย์ที่ตรงเป้าเข้าจุด
พระบรมศาสดาเองทรงประพฤติปฏิบัติมาแต่ก่อนในความเป็นที่สุดทั้งสองด้านนั้น หาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ ไม่ว่าอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต หนทางแห่งกามพระองค์ก็ทรงผ่านมาทุกระดับ หนทางแห่งความทรมานก็ทรงปฏิบัติยิ่งกว่าคนทั้งปวง แต่ไม่ใช่หนทางที่จะถึงซึ่งความหลุดพ้นได้เลย
ทางแห่งความหลุดพ้นที่แท้จริงนั้นไม่ใช่ทางสุดโต่งทั้งสองด้าน แต่เป็นหนทางสายกลางหรือที่เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา อันประกอบด้วยองค์แปด และขึ้นต้นด้วยคำว่าสัมมาทั้งสิ้น มีสัมมาทิฐิเป็นต้น และมีสัมมาสมาธิเป็นที่สุด
มีการแปลคำว่าสัมมาว่า “ชอบ” ซึ่งกว้างขวางจนจับความหมายที่ชัดเจนไม่ได้ ความจริงคำว่าสัมมาในที่นี้ก็คือคำที่มีความหมายอย่างเดียวกันกับคำว่า “สัมมาสัมพุทธเจ้า” คือความเป็นผู้ไกลจากกิเลส
ดังนั้นตั้งแต่สัมมาทิฐิไปจนถึงสัมมาสมาธิจึงเป็นองค์ธรรมที่เป็นไปเพื่อความไกลจากกิเลส ในประการนี้เคยได้ยินพระฝรั่งรูปหนึ่งแสดงธรรม อรรถาธิบายคำว่า “สัมมา” เช่นเดียวกันนี้ จึงทำให้ฝรั่งเข้าใจพระธรรมได้โดยง่าย ในขณะที่คนไทยเรารู้แต่คำว่า “ชอบ” ซึ่งกว้างขวาง จนไม่อาจจับความหมายที่แท้จริงเพื่อประโยชน์ในการศึกษาและปฏิบัติธรรมได้
เมื่อทรงชี้ถึงทางสายกลางแล้ว ก็ทรงแสดงอริยสัจสี่คือทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความหลุดพ้นจากทุกข์ และวิธีปฏิบัติให้พ้นจากความทุกข์ ซึ่งก็คือมรรคแปดนั่นเอง
ปฐมเทศนาในครั้งนี้ก็คือการประกาศหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา เป้าหมายแห่งการประพฤติปฏิบัติ รวมทั้งวิถีทางแห่งการประพฤติปฏิบัติที่ผู้มีภูมิธรรมอันสูงได้ยินได้ฟังแล้วก็สามารถเข้าใจได้โดยง่าย เหตุนี้เมื่อจบพระธรรมเทศนาลงพระอัญญาโกณฑัญญะก็มีดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นก็ต้องมีความดับเป็นธรรมดา แล้วขอรับประทานอุปสมบทต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ดังนั้นในโอกาสที่วันอาสาฬหบูชาจะเวียนมาถึงอีกครั้งหนึ่ง จึงขอผองเราชาวพุทธได้ประพฤติปฏิบัติมรรคแปดเพื่อน้อมรำลึกและถวายเป็นพุทธบูชาต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นอย่างพร้อมเพรียงกัน อย่างน้อยที่สุดก็ขอให้ทำความเห็นของตนเองให้ถูกต้อง ให้ไกลออกไปจากกิเลสให้มากที่สุด ทั้งตนเอง ผู้เกี่ยวข้อง สังคมและประเทศชาติก็จะประสบแต่ความสุข และถึงซึ่งความสันติเป็นแน่นอน
เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า รัฐบาลไทยบางยุคสมัยไม่ใส่ใจ ไม่มีความรู้ในการพระศาสนา หลงเข้าใจว่าวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญ จึงกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ ครั้นต่อมาพอรู้ว่าวันสำคัญที่แท้จริงนั้นคือวันอาสาฬหบูชา และประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งหลายต่างก็ถือว่าวันอาสาฬหบูชานี้มีความสำคัญ และกำหนดเป็นวันหยุดราชการบ้าง กำหนดเป็นวันปฏิบัติธรรมครั้งใหญ่บ้าง ประเทศไทยจึงได้ถือตาม ยกเอาวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญเพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่ง และให้เป็นวันหยุดราชการด้วย
แต่กลับไม่ยกเลิกการหยุดราชการในวันเข้าพรรษาซึ่งเป็นเพียงวันเริ่มต้นของการจำพรรษาของพระสงฆ์ในช่วงฤดูฝนเท่านั้น เพราะให้หยุดไปแล้ว ครั้นจะเลิกวันหยุดเสียก็กลัวว่าจะเสียคะแนนนิยม จึงเป็นเหตุให้วันสำคัญอันเป็นวันหยุดราชการในพระพุทธศาสนาซึ่งควรจะมีอยู่เพียง 3 วัน คือวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา กลายเป็นมีวันหยุดถึง 4 วัน คือวันเข้าพรรษาซึ่งเลิกไม่ได้อีกวันหนึ่ง
การกำหนดวันหยุดในลักษณะแนวคิดเช่นนี้มีอยู่โดยทั่วไป จึงทำให้วันหยุดราชการของประเทศไทยกะปริดกะปรอยคล้าย ๆ กับคนที่มีปัญหาในการปัสสาวะ คือหยุดก็หยุดไม่จริง ทำงานก็ทำไม่จริง ในที่สุดก็จะสร้างนิสัยกะปริดกะปรอยแบบนี้ในเรื่องราวต่างๆ
วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาก็เพราะว่าเป็นวันที่พระตถาคตเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา นั่นคือการประกาศพระธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรก คือธัมมจักกัปปวัตนสูตร
ผลจากการแสดงพระธรรมครั้งสำคัญนี้ทำให้พระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม และขออุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา พระตถาคตเจ้าได้ประทานอุปสมบทด้วยพระองค์เอง หรือที่เรียกว่าเป็นการอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา
ดังนั้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งเป็นระยะเวลา 2 เดือนเต็มหลังจากทรงตรัสรู้ จึงมีพระรัตนตรัยบังเกิดขึ้นครบองค์สาม คือมีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นตั้งแต่วันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงแสดงพระธรรมโดยธัมมจักกัปปวัตนสูตรและมีพระสงฆ์สาวกบังเกิดขึ้น นั่นคือพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ ได้บังเกิดขึ้นครบถ้วนเป็นพระรัตนตรัยในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 แห่งพรรษาแรกของโพธิกาล
ดังนั้นวันอาสาฬหบูชาจึงถือกันว่าเป็นวันพระธรรม คือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเป็นครั้งแรก แต่ก็อาจถือได้ด้วยว่าเป็นวันพระรัตนตรัย เพราะเป็นวันที่พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ บังเกิดขึ้นครบถ้วนในวันนั้น
จำเดิมแต่พระบรมศาสดาทรงตรัสรู้อนุตรสัมโพธิญาณในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ที่ใต้ร่มโพธิ์ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เมืองอุรุเวลาเสนานิคมแล้ว ทรงเสวยอภิเนษกรมณ์อยู่ในพื้นที่นั้นถึง 49 วัน
ในห้วงเวลา 49 วันนี้พระตถาคตเจ้าหาได้เสวยปีติสุขอันเกิดแต่การตรัสรู้เพียงเท่านั้นไม่ หากยังทรงตรึกตรองถึงเรื่องสำคัญสองเรื่อง คือ จะทรงประกาศพระธรรมที่ทรงตรัสรู้เพื่อประโยชน์สุขแก่เวไนยสัตว์ทั้งหลาย หรือจะเก็บความรู้นั้นไว้แต่พระองค์เดียวเรื่องหนึ่ง และหากจะประกาศสิ่งที่ทรงตรัสรู้ จะมีระบบและวิธีการอย่างไร รวมทั้งจะเริ่มที่ใครก่อนอีกเรื่องหนึ่ง
ในที่สุดพระตถาคตเจ้าได้ตัดสินพระทัยประกาศพระธรรมที่ทรงตรัสรู้เพื่อประโยชน์และความสุขของชาวโลก ทรงกำหนดระบบการประกาศพระศาสนาและตัดสินพระทัยเริ่มต้นที่บุคคลสำคัญที่อยู่ในวิสัยที่จะรู้และได้รับผลแห่งการตรัสรู้ของพระองค์ก่อน และมุ่งที่เมืองใหญ่ก่อน
การตัดสินพระทัยและการกำหนดแผนการประกาศพระศาสนาดังกล่าวนั้นส่งผลให้การประกาศพระพุทธศาสนาเป็นไปอย่างราบรื่น รวดเร็ว
สำหรับบุคคลเริ่มแรกนั้นทรงดำริถึงอาจารย์เก่าสองรูป คืออาฬารดาบสและอุทกดาบส ซึ่งบวชนาน มีภูมิธรรมสูง อยู่ในวิสัยที่จะรู้ธรรมที่ทรงตรัสรู้ได้โดยง่าย แต่ก็ทรงทราบว่าอาจารย์ทั้งสองรูปนี้ได้ละสังขารไปก่อนแล้ว
ถัดจากนั้นจึงทรงดำริถึงปัญจวัคคีย์ซึ่งเป็นนักบวชอีกกลุ่มหนึ่งที่เคยติดตามรับใช้ถวายการปรนนิบัติพระองค์มาก่อน และทรงทราบว่าในขณะนั้นปัญจวัคคีย์ปฏิบัติธรรมอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันในเขตเมืองพาราณสี
ข้อสังเกตก็คือพระตถาคตเจ้าทราบได้อย่างไรว่าพระอาจารย์ทั้งสองละสังขารไปแล้ว และปัญจวัคคีย์ทั้งห้าปฏิบัติธรรมอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เพราะในยุคสมัยนั้นข่าวสารหรือการสื่อสารมิได้แพร่หลายและทันสมัยเหมือนปัจจุบัน คงเหลือก็แต่การสอบถามจากปากคนเท่านั้น และปรากฏว่าในห้วงเวลา 49 วันนั้นพระบรมศาสดาทรงพบปะกับผู้คนไม่กี่คนเท่านั้น
หลังจากออกจากการเสวยอภิเนษกรมณ์แล้วก็เสด็จพุทธดำเนินจากตำบลอุรุเวลาเสนานิคม มุ่งไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ระยะทางไกลราว 360 กิโลเมตร ทรงใช้เวลาพุทธดำเนินเป็นเวลา 10 วัน เนื่องจากทรงเสด็จถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8
เมื่อเสด็จไปถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวันในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 แล้วทรงรั้งรออยู่ 1 วัน ยังไม่แสดงพระธรรมในวันนั้น เนื่องจากหลังจากที่พระพุทธองค์ได้เลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยาแล้ว ปัญจวัคคีย์ซึ่งเคยถวายการรับใช้ก็เห็นว่าพระสมณโคดมได้ทอดทิ้งการบำเพ็ญเพียร กลับไปใช้ชีวิตแบบต่ำเสียแล้ว เป็นการเสียเวลาเปล่าที่พวกเราเคยถวายการรับใช้ หากอยู่ต่อไปก็ไม่มีอนาคตที่จะได้รู้พระธรรมอันประเสริฐ ดังนั้นปัญจวัคคีย์จึงหลีกหนีไปและย่อมคาดหมายได้ว่าเป็นการหลีกลี้หนีไปด้วยความผิดหวัง ด้วยความไม่พอใจ
และการณ์ก็เป็นเช่นนั้น เมื่อปัญจวัคคีย์เห็นพระบรมศาสดาเสด็จพุทธดำเนินมาแต่ไกลก็ตกลงกันว่าจะไม่ถวายการต้อนรับ จะไม่ถวายการปรนนิบัติและจะไม่ถวายแม้น้ำล้างพระบาท
แต่ครั้นพระตถาคตเจ้าเสด็จไปถึงเข้าจริง ๆ แล้ว ปัญจวัคคีย์ทั้งห้าคนต่างพากันลืมข้อที่ได้ตกลงกันไว้ ต่างคนต่างลุกขึ้นถวายการต้อนรับ แต่ไม่แสดงความเคารพ ไม่ถวายน้ำล้างพระบาท และไม่ถวายอาสนะ
พระบรมศาสดาทรงทราบความรู้สึกนึกคิดของปัญจวัคคีย์ได้จากทีท่าที่แสดงออก ดังนั้นเมื่อได้ตรัสโอภาปราศรัยตามสมควรแล้วจึงตรัสกับปัญจวัคคีย์ว่าพระองค์ได้ตรัสรู้อนุตรสัมโพธิญาณแล้ว และเสด็จมาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันก็เพื่อบอกพระธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้ให้ปัญจวัคคีย์ได้รู้ตาม
ปัญจวัคคีย์ได้ยินคำตรัสแล้วพากันนิ่งเฉย เพราะคิดว่าแม้ยามที่พระตถาคตเจ้าบำเพ็ญทุกรกิริยาด้วยความเวทนาสุดแสนสาหัสก็ยังไม่สามารถบรรลุธรรมอันประเสริฐ เมื่อทรงละทุกรกิริยานั้นเสีย ไหนเลยจะบรรลุถึงธรรมอันประเสริฐได้
พระตถาคตเจ้าจึงรับสั่งถามว่า เท่าที่เคยอยู่กันมาก็เป็นเวลาไม่น้อย ปัญจวัคคีย์ทั้งห้าเคยได้ยินได้ฟังว่าพระองค์ได้ตรัสถึงการได้ตรัสรู้อนุตรสัมโพธิญาณหรือไม่ ทรงตรัสถึงสามครั้ง ปัญจวัคคีย์ก็ตอบว่าไม่เคยได้ยินได้ฟังว่าทรงตรัสเช่นนั้น ดังนั้นจึงตรัสว่าเหตุที่ไม่เคยตรัสเช่นนั้นก็เพราะยังไม่ทรงบรรลุถึงพระธรรมอันประเสริฐ บัดนี้ที่ทรงตรัสเช่นนั้นก็เพราะทรงตรัสรู้อนุตรสัมโพธิญาณแล้ว
ปัญจวัคคีย์ได้สติยั้งคิด และเกิดความเชื่อว่าทรงตรัสรู้จริง ดังนั้นจึงพากันถวายการปรนนิบัติรับใช้เหมือนดังเดิม แต่พระบรมศาสดาก็ยังไม่ตรัสปฐมเทศนาในวันนั้น ทั้งนี้ด้วยหวังรั้งรอเพื่อให้ปัญจวัคคีย์มีความศรัทธา มีความมั่นคงในจิตใจเสียก่อน
ครั้นวันรุ่งขึ้นเป็นวันเพ็ญเดือน 8 พระตถาคตเจ้าจึงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร นับเป็นปฐมเทศนาในพระพุทธศาสนา
เนื้อหาสาระของธัมมจักกัปปวัตนสูตรเป็นเรื่องที่ทรงตรัสโดยสอดคล้องกับการศึกษาอบรมบ่มเพาะจิต และภูมิธรรมที่สูงพอประมาณของปัญจวัคคีย์ แต่มีความติดยึดในการทรมานตน เชื่อถือในการทรมานตนให้ได้รับความทุกข์ทรมานว่าเป็นหนทางที่จะถึงซึ่งพระธรรมอันประเสริฐ ดังนั้นจึงพึงเข้าใจว่าธัมมจักกัปปวัตนสูตรนั้นเป็นพระธรรมที่ทรงแสดงแก่ผู้ที่ผ่านการฝึกฝนอบรมทางจิตมามาก มีภูมิธรรมขั้นสูงพอประมาณแล้ว
ทรงชี้ให้เห็นถึงความผิดสองอย่าง คือการประพฤติปฏิบัติที่หนักไปในกาม และในการทรมานตน ว่าทั้งสองอย่างนี้ไม่ใช่หนทางอันประเสริฐ ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ปรารถนาความหลุดพ้นจากทุกข์จะเกี่ยวข้องประพฤติปฏิบัติเลย ซึ่งเป็นการทำลายการติดยึดและความถือมั่นของปัญจวัคคีย์ที่ตรงเป้าเข้าจุด
พระบรมศาสดาเองทรงประพฤติปฏิบัติมาแต่ก่อนในความเป็นที่สุดทั้งสองด้านนั้น หาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ ไม่ว่าอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต หนทางแห่งกามพระองค์ก็ทรงผ่านมาทุกระดับ หนทางแห่งความทรมานก็ทรงปฏิบัติยิ่งกว่าคนทั้งปวง แต่ไม่ใช่หนทางที่จะถึงซึ่งความหลุดพ้นได้เลย
ทางแห่งความหลุดพ้นที่แท้จริงนั้นไม่ใช่ทางสุดโต่งทั้งสองด้าน แต่เป็นหนทางสายกลางหรือที่เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา อันประกอบด้วยองค์แปด และขึ้นต้นด้วยคำว่าสัมมาทั้งสิ้น มีสัมมาทิฐิเป็นต้น และมีสัมมาสมาธิเป็นที่สุด
มีการแปลคำว่าสัมมาว่า “ชอบ” ซึ่งกว้างขวางจนจับความหมายที่ชัดเจนไม่ได้ ความจริงคำว่าสัมมาในที่นี้ก็คือคำที่มีความหมายอย่างเดียวกันกับคำว่า “สัมมาสัมพุทธเจ้า” คือความเป็นผู้ไกลจากกิเลส
ดังนั้นตั้งแต่สัมมาทิฐิไปจนถึงสัมมาสมาธิจึงเป็นองค์ธรรมที่เป็นไปเพื่อความไกลจากกิเลส ในประการนี้เคยได้ยินพระฝรั่งรูปหนึ่งแสดงธรรม อรรถาธิบายคำว่า “สัมมา” เช่นเดียวกันนี้ จึงทำให้ฝรั่งเข้าใจพระธรรมได้โดยง่าย ในขณะที่คนไทยเรารู้แต่คำว่า “ชอบ” ซึ่งกว้างขวาง จนไม่อาจจับความหมายที่แท้จริงเพื่อประโยชน์ในการศึกษาและปฏิบัติธรรมได้
เมื่อทรงชี้ถึงทางสายกลางแล้ว ก็ทรงแสดงอริยสัจสี่คือทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความหลุดพ้นจากทุกข์ และวิธีปฏิบัติให้พ้นจากความทุกข์ ซึ่งก็คือมรรคแปดนั่นเอง
ปฐมเทศนาในครั้งนี้ก็คือการประกาศหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา เป้าหมายแห่งการประพฤติปฏิบัติ รวมทั้งวิถีทางแห่งการประพฤติปฏิบัติที่ผู้มีภูมิธรรมอันสูงได้ยินได้ฟังแล้วก็สามารถเข้าใจได้โดยง่าย เหตุนี้เมื่อจบพระธรรมเทศนาลงพระอัญญาโกณฑัญญะก็มีดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นก็ต้องมีความดับเป็นธรรมดา แล้วขอรับประทานอุปสมบทต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ดังนั้นในโอกาสที่วันอาสาฬหบูชาจะเวียนมาถึงอีกครั้งหนึ่ง จึงขอผองเราชาวพุทธได้ประพฤติปฏิบัติมรรคแปดเพื่อน้อมรำลึกและถวายเป็นพุทธบูชาต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นอย่างพร้อมเพรียงกัน อย่างน้อยที่สุดก็ขอให้ทำความเห็นของตนเองให้ถูกต้อง ให้ไกลออกไปจากกิเลสให้มากที่สุด ทั้งตนเอง ผู้เกี่ยวข้อง สังคมและประเทศชาติก็จะประสบแต่ความสุข และถึงซึ่งความสันติเป็นแน่นอน