ตลาดนัดแผงลอยหงอย กทม.จัดสรรไว้รองรับ 7 พันแผง แต่มีผู้สนใจจ้องแค่ 1 พัน ไม่ถึง 20 % อีก 1 พันแจ้งความจำนงไว้แต่ยังไม่ตัดสินใจ เนื่องจากส่วนใหญ่ยังคงต้องการขายในจุดเดิมซึ่งไม่ใช่จุดผ่อนผัน กทม.แนะให้ติดต่อขอเช่าหน้าร้านเอง แต่ต้องไม่ตั้งขายรุกล้ำ ทางเท้า เผยกทม.อาจขยายเวลาจัดตลาดนัดแผงลอยหากมีความต้องการเพิ่ม
นายอนันต์ ศิริภัสราภรณ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ กทม.มีนโยบายจัดระเบียบแผงค้า มีผู้ค้าที่ไม่ได้อยู่ในจุดผ่อนผัน ซึ่งไม่มีสิทธิค้าขายบนทางเท้า 8,000 ราย ยื่นขอใบรับรองการเป็นผู้ค้า ที่สำนักงานเขตในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ส่วนในงานตลาดนัดแผงค้าที่จัดขึ้น ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ระหว่างวันที่ 1-3 ก.ค.มีผู้ค้าให้ความสนใจจำนวน 2,000 ราย ซึ่งรายงาน ล่าสุด มีผู้จองแผงแล้ว 1,000 ราย และอีก 1,000 ราย แจ้งความจำนงไว้ก่อน เพราะต้องการเดินทางไปดูทำเลที่ตั้งจึงจะตัดสินใจ โดยมีสำนักงานเขต 48 เขต รวม 7,000 แผงค้า มาร่วมเปิดรับจอง
ทั้งนี้ส่วนใหญ่ผู้ค้าสนใจพื้นที่บริเวณชั้นใน กทม. จำนวนมาก เช่น เขตพญาไท ส่วนเขตฝั่งธนบุรี เช่น สนามหลวง 2 พบว่า ยังมีผู้จองน้อย ทั้งนี้ แผงค้าของเอกชน บางรายยังมีการจูงใจด้วยการเปิดให้เช่าแผงฟรี จนกว่าผู้ค้าจะพอใจ แล้วจึงจะตัดสินใจเซ็นสัญญา
สำหรับบรรยากาศงานวันตลาดนัดวันสุดท้าย ได้รับความสนใจจากผู้ค้านับร้อยคน บางคนต้องการขายบริเวณที่ขายเดิม เนื่องจากขายมานานนับ 10 ปี และยอมจ่ายค่าปรับให้กับ กทม. มาโดยตลอด แต่เข้าใจว่าเป็นการจ่ายค่าเช่า พร้อมกับต้องการเรียกร้องให้อนุญาตให้ขายที่เดิมต่อไป ซึ่งเจ้าหน้าที่แนะนำให้ไปขอเจรจา ขายบริเวณหน้าร้านและต้องไม่เลยเขตทางเท้า
อย่างไรก็ตามมีจุดขายบนทางเท้าที่เป็นจุดผ่อนผันรวม 683 จุด อาทิ ทางเท้าบริเวณถนนเพชรบุรี เป็นต้น ซึ่งผู้ค้าจะมีอายุการเช่าแผง 1 ปี และให้มาต่ออายุ คล้ายกับการต่ออายุใบขับขี่
สำหรับการดำเนินการตลาดนัดแผงค้า นับเป็นการจัดระเบียบพื้นที่ตลาดนัดแบบครบวงจรครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งมีการนำระบบภูมิสารสนเทศดาวเทียม (GIS) เข้ามาช่วย ระบุตัวตนของเจ้าของแผงค้า เพื่อป้องกันปัญหาผู้มีอิทธิพล และการเซ้งแผง เพราะจะมีการสุ่มตรวจโดยเจ้าหน้าที่เทศกิจ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นระยะ
นายอนันต์ กล่าวว่า แผงค้าที่นำมาเปิดตลาดนัดในครั้งนี้ ไม่ใช่แผงร้าง จึงเชิญชวนผู้ค้าที่สนใจให้มาแจ้งความจำนงได้ และหากยังมีความต้องการเพิ่ม กทม. จะพิจารณาขยายเวลาในการจัดตลาดนัดเพิ่ม หลังจากประเมินความต้องการของทั้ง 3 วันแล้ว
u
นายอนันต์ ศิริภัสราภรณ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ กทม.มีนโยบายจัดระเบียบแผงค้า มีผู้ค้าที่ไม่ได้อยู่ในจุดผ่อนผัน ซึ่งไม่มีสิทธิค้าขายบนทางเท้า 8,000 ราย ยื่นขอใบรับรองการเป็นผู้ค้า ที่สำนักงานเขตในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ส่วนในงานตลาดนัดแผงค้าที่จัดขึ้น ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ระหว่างวันที่ 1-3 ก.ค.มีผู้ค้าให้ความสนใจจำนวน 2,000 ราย ซึ่งรายงาน ล่าสุด มีผู้จองแผงแล้ว 1,000 ราย และอีก 1,000 ราย แจ้งความจำนงไว้ก่อน เพราะต้องการเดินทางไปดูทำเลที่ตั้งจึงจะตัดสินใจ โดยมีสำนักงานเขต 48 เขต รวม 7,000 แผงค้า มาร่วมเปิดรับจอง
ทั้งนี้ส่วนใหญ่ผู้ค้าสนใจพื้นที่บริเวณชั้นใน กทม. จำนวนมาก เช่น เขตพญาไท ส่วนเขตฝั่งธนบุรี เช่น สนามหลวง 2 พบว่า ยังมีผู้จองน้อย ทั้งนี้ แผงค้าของเอกชน บางรายยังมีการจูงใจด้วยการเปิดให้เช่าแผงฟรี จนกว่าผู้ค้าจะพอใจ แล้วจึงจะตัดสินใจเซ็นสัญญา
สำหรับบรรยากาศงานวันตลาดนัดวันสุดท้าย ได้รับความสนใจจากผู้ค้านับร้อยคน บางคนต้องการขายบริเวณที่ขายเดิม เนื่องจากขายมานานนับ 10 ปี และยอมจ่ายค่าปรับให้กับ กทม. มาโดยตลอด แต่เข้าใจว่าเป็นการจ่ายค่าเช่า พร้อมกับต้องการเรียกร้องให้อนุญาตให้ขายที่เดิมต่อไป ซึ่งเจ้าหน้าที่แนะนำให้ไปขอเจรจา ขายบริเวณหน้าร้านและต้องไม่เลยเขตทางเท้า
อย่างไรก็ตามมีจุดขายบนทางเท้าที่เป็นจุดผ่อนผันรวม 683 จุด อาทิ ทางเท้าบริเวณถนนเพชรบุรี เป็นต้น ซึ่งผู้ค้าจะมีอายุการเช่าแผง 1 ปี และให้มาต่ออายุ คล้ายกับการต่ออายุใบขับขี่
สำหรับการดำเนินการตลาดนัดแผงค้า นับเป็นการจัดระเบียบพื้นที่ตลาดนัดแบบครบวงจรครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งมีการนำระบบภูมิสารสนเทศดาวเทียม (GIS) เข้ามาช่วย ระบุตัวตนของเจ้าของแผงค้า เพื่อป้องกันปัญหาผู้มีอิทธิพล และการเซ้งแผง เพราะจะมีการสุ่มตรวจโดยเจ้าหน้าที่เทศกิจ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นระยะ
นายอนันต์ กล่าวว่า แผงค้าที่นำมาเปิดตลาดนัดในครั้งนี้ ไม่ใช่แผงร้าง จึงเชิญชวนผู้ค้าที่สนใจให้มาแจ้งความจำนงได้ และหากยังมีความต้องการเพิ่ม กทม. จะพิจารณาขยายเวลาในการจัดตลาดนัดเพิ่ม หลังจากประเมินความต้องการของทั้ง 3 วันแล้ว
u