กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเดินหน้าเข้าสู่ยุคดิจิตอลเต็มตัว เร่งพัฒนาบริการจดทะเบียนและข้อมูลธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service) ตั้งเป้าเปิดให้บริการจดทะเบียนธุรกิจ การคัดสำเนาและตรวจเอกสาร รวมถึงการจัดส่งงบการเงินทางอินเทอร์เน็ตได้ทั้งประเทศภายในปี 2549 มั่นใจหากระบบใช้การได้อย่างสมบูรณ์ จะทำให้รัฐมีฐานข้อมูลที่ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้วิเคราะห์ทิศทางการเติบโตทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี
การประกอบธุรกิจในปัจจุบันนี้ ข้อมูลทางธุรกิจถือเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจลงทุนหรือไม่ลงทุน หากใครมีข้อมูลมากกว่าบุคคลอื่น ก็ย่อมได้เปรียบในการประกอบธุรกิจ เพราะสามารถที่จะนำข้อมูลนั้นๆ มาวิเคราะห์ทิศทางและแนวโน้มของธุรกิจ รวมทั้งสามารถคาดการอัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจได้ว่าธุรกิจที่จะลงทุนดำเนินการนั้นถึงจุดอิ่มตัวแล้วหรือยัง หรือว่าน่าจะมีโอกาสในการเติบโตได้อีก
ทางด้านภาครัฐ หากมีฐานข้อมูลทางธุรกิจอย่างมากพอ ก็สามารถที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์อัตราการขยายตัวของธุรกิจภายในประเทศได้ รวมไปถึงสามารถที่จะนำมาใช้ในการกำหนดนโยบายการสนับสนุนธุรกิจได้อย่างเหมาะสม ขณะเดียวกัน การที่รัฐมีข้อมูลสถานะทางการเงินของธุรกิจอย่างเพียงพอ ก็จะเป็นประโยชน์ในแง่ของการจัดเก็บภาษี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
นางสาวอรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า เพื่อไปสู่เป้าหมายข้างต้น กรมฯ จึงได้จัดทำโครงการบริการจดทะเบียนและบริการข้อมูลธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service) ขึ้นมา มีเป้าหมายที่จะทำให้ธุรกิจได้รับความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการ และภาครัฐสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ประกอบการพัฒนาประเทศได้อย่างถูกต้องทันต่อเหตุการณ์
“โครงการที่ทำขึ้น เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ส่วนราชการเป็นหน่วยงานเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการดำเนินโครงการนี้ ไม่เพียงแต่จะช่วยลดภาระในการจัดเก็บเอกสารของกรมฯ แต่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบธุรกิจในการรับบริการทางธุรกิจกับกรมฯ ขณะเดียวกัน กรมฯ ยังสามารนำข้อมูลทางทะเบียนธุรกิจไปศึกษา วิเคราะห์ วางแผนได้อย่างทันท่วงทีและถูกต้องมากขึ้น”นางสาวอรจิตกล่าว
สำหรับแผนการดำเนินการไปสู่เป้าหมายการเป็นหน่วยงานอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มตัวนั้น มีขั้นตอนดำเนินการ คือ การศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบรายละเอียด และพัฒนาระบบสำหรับใช้งานการจดทะเบียน ออกใบรับรองและรับงบการเงินของนิติบุคคล บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ระบบจัดเก็บข้อมูลและเอกสาร การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงสำหรับระบบที่พัฒนาใหม่กับฐานข้อมูลของระบบการให้บริการข้อมูลธุรกิจที่ใช้งานในปัจจุบัน การจัดหาฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายเพิ่มเติมให้เพียงพอกับการใช้งาน และจัดให้มีระบบสำรอง (Backup System) ที่จะให้สามารถรักษาคุณภาพของการบริการที่ต่อเนื่อง และสุดท้ายการประเมินผลการปฏิบัติและขยายการให้บริการ
คาดว่าในเดือน ก.ย.2548 จะเปิดให้บริการจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่ทางอินเทอร์เน็ตในส่วนภูมิภาค และเปิดให้บริการออกหนังสือรับรองข้ามเขตจังหวัด 10 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก นครสวรรค์ ขอนแก่น อุบลราชธานี นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง ราชบุรี อยุธยา และเชียงราย รวมไปถึงการเพิ่มช่องทางการชำระค่าธรรมเนียมผ่านธนาคารให้ครบทุกรูปแบบ
หลังจากนั้นจะขยายโครงการเปิดให้บริการจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตได้ทั่วประเทศ การขอคัดสำเนาและตรวจค้นเอกสารข้ามเขตผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทั่วประเทศ และจะพัฒนาระบบการจัดส่งงบการเงินและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นทางอินเทอร์เน็ตตามแบบฟอร์มมาตรฐาน คาดว่าจะดำเนินการได้ภายในก.ย.2549 แต่ทั้งนี้ มีเงื่อนไขว่าเมื่อมีกฎหมายว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ออกมาก่อน และใช้สำหรับการจัดส่งงบการเงินของปี 2549
สำหรับการพัฒนาโครงการดังกล่าว เป็นการดำเนินการต่อเนื่อง หลังจากที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เปิดให้บริการจองชื่อทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันนี้สามารถดำเนินการได้ทั่วประเทศ และการให้บริการจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 3 จังหวัด ที่ดำเนินการได้แล้ว
นางสาวอรจิตกล่าวว่า ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตเข้ามาให้บริการ จะช่วยให้การจดทะเบียนธุรกิจทำได้ง่ายขึ้น คล่องตัวมากขึ้น และยังจะช่วยส่งเสริมให้คนไทยมีการประกอบธุรกิจกันมากขึ้น เพราะการจดทะเบียนธุรกิจจะทำได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน ผิดจากเดิมที่มีขั้นตอนยุ่งยาก ใช้เวลานาน ทำให้คนไม่ค่อยสนใจที่จะจดทะเบียนธุรกิจ ทำให้การประกอบธุรกิจไม่มีระบบการบริหารจัดการอย่างดีพอ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการประกอบธุรกิจ
“เมื่อระบบเดินหน้าได้อย่างสมบูรณ์แล้ว ต่อไปใครที่คิดอยากจะทำธุรกิจ ก็แค่นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ ก็คลิกเข้ามาได้เลย ระบบจะบอกให้หมดว่าต้องทำอะไรบ้าง ส่วนคนที่อยากได้ข้อมูลของธุรกิจก็สามารถขอคัดสำเนา ขอตรวจเอกสารได้ ซึ่งกรมฯ มั่นใจว่าจะทำให้สถิติการจดทะเบียนธุรกิจของคนไทยเพิ่มมากขึ้น และมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวได้ดีขึ้น”นางสาวอรจิตกล่าวในที่สุด
สำหรับผู้ที่สนใจและต้องการได้ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่สายด่วน 1570 หรือค้นหาได้ที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th
การประกอบธุรกิจในปัจจุบันนี้ ข้อมูลทางธุรกิจถือเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจลงทุนหรือไม่ลงทุน หากใครมีข้อมูลมากกว่าบุคคลอื่น ก็ย่อมได้เปรียบในการประกอบธุรกิจ เพราะสามารถที่จะนำข้อมูลนั้นๆ มาวิเคราะห์ทิศทางและแนวโน้มของธุรกิจ รวมทั้งสามารถคาดการอัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจได้ว่าธุรกิจที่จะลงทุนดำเนินการนั้นถึงจุดอิ่มตัวแล้วหรือยัง หรือว่าน่าจะมีโอกาสในการเติบโตได้อีก
ทางด้านภาครัฐ หากมีฐานข้อมูลทางธุรกิจอย่างมากพอ ก็สามารถที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์อัตราการขยายตัวของธุรกิจภายในประเทศได้ รวมไปถึงสามารถที่จะนำมาใช้ในการกำหนดนโยบายการสนับสนุนธุรกิจได้อย่างเหมาะสม ขณะเดียวกัน การที่รัฐมีข้อมูลสถานะทางการเงินของธุรกิจอย่างเพียงพอ ก็จะเป็นประโยชน์ในแง่ของการจัดเก็บภาษี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
นางสาวอรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า เพื่อไปสู่เป้าหมายข้างต้น กรมฯ จึงได้จัดทำโครงการบริการจดทะเบียนและบริการข้อมูลธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service) ขึ้นมา มีเป้าหมายที่จะทำให้ธุรกิจได้รับความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการ และภาครัฐสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ประกอบการพัฒนาประเทศได้อย่างถูกต้องทันต่อเหตุการณ์
“โครงการที่ทำขึ้น เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ส่วนราชการเป็นหน่วยงานเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการดำเนินโครงการนี้ ไม่เพียงแต่จะช่วยลดภาระในการจัดเก็บเอกสารของกรมฯ แต่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบธุรกิจในการรับบริการทางธุรกิจกับกรมฯ ขณะเดียวกัน กรมฯ ยังสามารนำข้อมูลทางทะเบียนธุรกิจไปศึกษา วิเคราะห์ วางแผนได้อย่างทันท่วงทีและถูกต้องมากขึ้น”นางสาวอรจิตกล่าว
สำหรับแผนการดำเนินการไปสู่เป้าหมายการเป็นหน่วยงานอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มตัวนั้น มีขั้นตอนดำเนินการ คือ การศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบรายละเอียด และพัฒนาระบบสำหรับใช้งานการจดทะเบียน ออกใบรับรองและรับงบการเงินของนิติบุคคล บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ระบบจัดเก็บข้อมูลและเอกสาร การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงสำหรับระบบที่พัฒนาใหม่กับฐานข้อมูลของระบบการให้บริการข้อมูลธุรกิจที่ใช้งานในปัจจุบัน การจัดหาฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายเพิ่มเติมให้เพียงพอกับการใช้งาน และจัดให้มีระบบสำรอง (Backup System) ที่จะให้สามารถรักษาคุณภาพของการบริการที่ต่อเนื่อง และสุดท้ายการประเมินผลการปฏิบัติและขยายการให้บริการ
คาดว่าในเดือน ก.ย.2548 จะเปิดให้บริการจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่ทางอินเทอร์เน็ตในส่วนภูมิภาค และเปิดให้บริการออกหนังสือรับรองข้ามเขตจังหวัด 10 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก นครสวรรค์ ขอนแก่น อุบลราชธานี นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง ราชบุรี อยุธยา และเชียงราย รวมไปถึงการเพิ่มช่องทางการชำระค่าธรรมเนียมผ่านธนาคารให้ครบทุกรูปแบบ
หลังจากนั้นจะขยายโครงการเปิดให้บริการจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตได้ทั่วประเทศ การขอคัดสำเนาและตรวจค้นเอกสารข้ามเขตผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทั่วประเทศ และจะพัฒนาระบบการจัดส่งงบการเงินและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นทางอินเทอร์เน็ตตามแบบฟอร์มมาตรฐาน คาดว่าจะดำเนินการได้ภายในก.ย.2549 แต่ทั้งนี้ มีเงื่อนไขว่าเมื่อมีกฎหมายว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ออกมาก่อน และใช้สำหรับการจัดส่งงบการเงินของปี 2549
สำหรับการพัฒนาโครงการดังกล่าว เป็นการดำเนินการต่อเนื่อง หลังจากที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เปิดให้บริการจองชื่อทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันนี้สามารถดำเนินการได้ทั่วประเทศ และการให้บริการจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 3 จังหวัด ที่ดำเนินการได้แล้ว
นางสาวอรจิตกล่าวว่า ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตเข้ามาให้บริการ จะช่วยให้การจดทะเบียนธุรกิจทำได้ง่ายขึ้น คล่องตัวมากขึ้น และยังจะช่วยส่งเสริมให้คนไทยมีการประกอบธุรกิจกันมากขึ้น เพราะการจดทะเบียนธุรกิจจะทำได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน ผิดจากเดิมที่มีขั้นตอนยุ่งยาก ใช้เวลานาน ทำให้คนไม่ค่อยสนใจที่จะจดทะเบียนธุรกิจ ทำให้การประกอบธุรกิจไม่มีระบบการบริหารจัดการอย่างดีพอ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการประกอบธุรกิจ
“เมื่อระบบเดินหน้าได้อย่างสมบูรณ์แล้ว ต่อไปใครที่คิดอยากจะทำธุรกิจ ก็แค่นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ ก็คลิกเข้ามาได้เลย ระบบจะบอกให้หมดว่าต้องทำอะไรบ้าง ส่วนคนที่อยากได้ข้อมูลของธุรกิจก็สามารถขอคัดสำเนา ขอตรวจเอกสารได้ ซึ่งกรมฯ มั่นใจว่าจะทำให้สถิติการจดทะเบียนธุรกิจของคนไทยเพิ่มมากขึ้น และมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวได้ดีขึ้น”นางสาวอรจิตกล่าวในที่สุด
สำหรับผู้ที่สนใจและต้องการได้ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่สายด่วน 1570 หรือค้นหาได้ที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th