จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง คือ ประเทศลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการส่งเสริมและชักจูงการลงทุน ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการลงทุนใน 4 ประเทศข้างต้น โดยจัดตั้งขึ้นเป็นโต๊ะ CLMV ซึ่งย่อมาจาก Cambodia, Laos, Myanmar and Vietnam เพื่อให้ข้อมูลแก่นักลงทุนที่สนใจจะเข้าไปลงทุนใน 4 ประเทศดังกล่าว
เมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2548 ที่ผ่านมา คณะเจ้าหน้าที่ของ บีโอไอ นำคณะนักลงทุนไทยเดินทางไปยังประเทศ สปป. ลาว เพื่อศึกษาลู่ทางการลงทุนทางตอนใต้ของ สปป. ลาว โดยเดินทางไปยัง 6 แขวงทางใต้ คือ แขวงคำม่วน แขวงสะหวันนะเขต แขวงจำปาสัก แขวงสาละวัน แขวงเซกอง และแขวงอัตตปือ จึงขอนำสาระสำคัญที่น่าสนใจของแต่ละแขวงมาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้
แขวงคำม่วนที่ตั้งอยู่ทางภาคกลางซึ่งเป็นจุดที่แคบที่สุดของประเทศ มีพลเมืองประมาณ 320,000 คน แบ่งเป็นภาคกสิกรรม 52% ภาคอุตสาหกรรม 29% และภาคบริการ 19% จัดเป็นแขวงที่พัฒนาในระดับกลาง ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของแขวงนี้ คือ ทรัพยากรใต้ดิน เช่น ตะกั่ว หินสำหรับการก่อสร้าง
ทางด้านกสิกรรมนั้น แขวงคำม่วนเหมาะแก่การปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ปลาสวาย ปลาคัง ปลานิล
อุตสาหกรรมที่น่าลงทุนในแขวงคำม่วน คือ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ เนื่องจากมีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติสำคัญหลายแห่ง เช่น ถ้ำกอรอ ภูเพียงนากาย ฯลฯ และอุตสาหกรรมการทำเหมืองตะกั่ว ในรูปแบบการได้รับสัมปทานจากรัฐ และเนื่องจากตั้งอยู่ในจุดที่แคบที่สุดของประเทศจึงเหมาะแก่การเป็นศูนย์กระจายสินค้าไปประเทศเวียดนามและพม่า
ประเทศที่เข้าไปลงทุนมากที่สุดในแขวงนี้ คือประเทศไทย มีทั้งสิ้น 7 บริษัท ในจำนวนนี้เป็นบริษัทร่วมทุนไทย-ลาว 1 บริษัท โดยบริษัทสำคัญคือโรงงานบดหิน นอกจากนั้นเป็นการลงทุนในรูปแบบการค้าขายสินค้าต่างๆ รองลงมาคือเวียดนาม 3 บริษัท ญี่ปุ่น 2 บริษัท
แขวงสะหวันนะเขต มีประชากร 797,603 คน สามารถเป็นทางผ่านออกไปยังจังหวัดมุกดาหาร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น พิษณุโลก ตาก ประเทศพม่า และประเทศเวียดนามได้ การผลิตภายในแขวงแบ่งเป็น กสิกรรม 54% อุตสหกรรม 22% บริการ 22% อื่นๆ 2% ปัจจุบันมีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงไปยังฝั่งไทยแห่งที่ 2 ที่จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนตุลาคม 2549
ทรัพยากรที่สำคัญ คือ ยางพารา มันสำปะหลัง มะขามหวาน ลำไย มะม่วง ขนุน ฝ้าย ไหม ไม้เนื้อแข็ง-อ่อน ยูคาลิปตัส ยิปซัม บ่อทองคำ บ่อทองแดง อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงวัว และแพะเพื่อส่งขายไปยังเวียงจันทน์และประเทศเวียดนาม
ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของแขวงนี้คือ ดินเผา เนื่องจากดินของที่นี่สามารถนำไปทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีคุณภาพดี โดยเฉพาะดินเผาที่อำเภอไซยบุรี เป็นดินที่มีความเหมาะสมที่สุด มีความทนทาน เย็น ใส่สีแล้วมีความสวยงาม
แขวงนี้ยังส่งข้าวเหนียวไปขายที่ประเทศเวียดนามเพื่อนำไปทำเป็นขนม ส่งออกผ้าฝ้ายผืนไปประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีไม้ ยิปซัม ผลิตภัณฑ์จากป่า เช่น ยางไม้ ทองคำ ทองแดง
ด้านการท่องเที่ยวจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ แขวงนี้มีป่าสงวนแห่งชาติ 3 แห่ง ที่สะหวันนะเขต พิน และวีระบุรี
แขวงสะหวันนะเขตมีโครงการก่อสร้างสนามบินร่วมกับประเทศไทย โดยประเทศญี่ปุ่นให้เงินกู้ยืมเงินทุนและแบ่งรายรับกันระหว่างทั้ง 2 ประเทศ ความคืบหน้าขณะนี้อยู่ระหว่างให้ญี่ปุ่นศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการซึ่งคาดว่าจะศึกษาเสร็จประมาณเดือนมีนาคม 2549 ปัจจุบัน สะหวันนะเขตมีสนามบิน แต่เนื่องจากปริมาณการใช้น้อยจึงปิดไว้ชั่วคราว
อุตสาหกรรมที่ต้องการให้เข้ามาลงทุน คือ โรงงานอาหารสำหรับสัตว์ โรงงานผลิตปุ๋ย (ปัจจุบันมีโรงงานผลิตปุ๋ยเคมียี่ห้อ Maxnum ของคนไทย) โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ การสำรวจบ่อทองคำ-บ่อทองแดง โรงแรม 5 ดาว ศูนย์การค้า การสำรวจแหล่งท่องเที่ยว การลงทุนทำน้ำประปา
แขวงจำปาสัก จัดเป็นแขวงใหญ่ของทางใต้ มีประชากร 600,000 คน อาชีพหลักของประชาชนคือ ปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ มีพื้นที่ที่เป็นป่าสงวน เขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ บ่อเกลือ บ่อดินเหนียว บ่อทอง บ่อหิน พืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือ กาแฟ หมาก ที่แขวงนี้มีโรงงานขนาดใหญ่ 113 แห่ง ขนาดกลาง 37 แห่ง
แขวงนี้มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง เช่น ตลาดดาวเรืองที่ขายสินค้าทั้งสด และของฝาก น้ำตกพอนพะเพ็ง น้ำตกหลี่ผี วัดพูจำปาสัก แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวประมาณปีละ 4,000-5,000 คน
นอกจากนี้ ยังเป็นทางผ่านของ 3 ประเทศ คือ ลาว เวียดนาม และไทย ซึ่งสภาพถนนค่อนข้างดี สามารถวิ่งไปถึงเมืองเว้ที่ประเทศเวียดนามได้ ทั้งยังเป็นแขวงที่มีนักลงทุนเข้าไปลงทุนมากที่สุดในภาคใต้ของ สปป. ลาว เพราะตั้งอยู่ใจกลางของภาค และเป็นเขตที่เหมาะในการทำกสิกรรมมากเพราะมีสภาพอากาศเหมาะสม ฝนตกสม่ำเสมอ ดินมีความอุดมสมบูรณ์
นักลงทุนไทยที่เข้ามาลงทุนส่วนใหญ่เป็นการลงทุนปลูกยางพารา ที่พักตามแหล่งท่องเที่ยวคือที่ผาส้วม โรงเลื่อย โรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ โรงงานทำรองเท้า โรงงานน้ำตาล
บริษัทไทยที่เข้าไปลงทุนมีจำนวน 24 บริษัท เป็นการลงทุนกสิกรรม 8 บริษัท อุตสาหกรรม 7 บริษัท การค้า-บริการ 8 บริษัท ซึ่งการลงทุนของไทยในแขวงนี้มีจำนวนโครงการมากที่สุด แต่จำนวนเงินลงทุนเป็นรองเวียดนาม
นอกจากนี้ ทางแขวงยังมีโครงการสามเหลี่ยมมรกตซึ่งเป็นโครงการของประเทศ สปป. ลาวกัมพูชา และไทย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยส่วนของประเทศลาวอยู่ที่แขวงจำปาสัก ส่วนของไทยอยู่ที่จังหวัดศรีสะเกษ เส้นทางของสามเหลี่ยมมรกตนี้จะพุ่งตรงไปสู่นครวัตของ กัมพูชาได้
อุตสาหกรรมที่ทางการต้องการให้เกิดการลงทุนคือ อุปกรณ์ก่อสร้าง เครื่องอุปโภค บริโภค อะไหล่รถยนต์ เครื่องจักร เครื่องใช้ประจำวัน
แขวงสาละวัน เป็นแขวงเล็ก มีประชากรประมาณ 300,000 คน โดยส่วนใหญ่ประชาชนประกอบอาชีพกสิกรรม ปลูกข้าว กาแฟ เลี้ยงสัตว์ และเป็นแขวงที่มีเขื่อน
อุตสาหกรรมที่น่าสนใจคือ การปลูกไม้สัก และกล้วย โรงงานผลิตไม้แปรรูป บ่อแร่ บ่อถ่านหิน เนื่องจากขณะนี้มีการสำรวจบ่อถ่านหินแล้ว โดยสำรวจไปประมาณ 40-50% คาคว่าจะสำรวจเสร็จภายในปี 2549 ซึ่งเป็นการสำรวจโดยบริษัทของออสเตรเลีย
แขวงเซกอง เป็นแขวงขนาดเล็กเช่นกัน มีประชากร 85,000 คน พื้นที่ 80% เป็นพื้นที่บนดอย ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ บ่อทองคำ ถ่านหิน สังกะสี ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวปีละประมาณ 400-500 คน ส่วนมากเป็นชาวยุโรป ญี่ปุ่น โดยรูปแบบที่พักของนักท่องเที่ยวจะเป็นแบบเรือนพัก ซึ่งมีอยู่ประมาณ 4-5 แห่ง แต่ละแห่งมีห้องพักประมาณ 10 ห้อง โดยไฟฟ้าของที่แขวงนี้จะต่อมาจากแขวงสาละวัน
ด้านการลงทุนมีโครงการโรงงานแปรรูปไม้ โรงแรมและท่องเที่ยว การเพาะปลูกพืช เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ไหม และบริษัทจากประเทศมาเลเซียได้เข้าไปสำรวจเส้นทางเพื่อลงทุนสร้างทางในจากเซกองไปประเทศเวียดนาม เพื่อรองรับการท่องเที่ยวและการขนส่ง คาดว่าจะแล้วเสร็จอีกประมาณ 10 ปี ส่วนนักลงทุนลาวจะลงทุนในธุรกิจก่อสร้าง ค่าแรงขั้นต่ำประมาณ 80-90 บาท/วัน สำหรับประเทศไทยยังไม่มีการลงทุนในแขวงนี้
แขวงอัตตปือ เป็นแขวงเล็กที่มีอากาศร้อน มีประชากรประมาณ 105,000 คน ประกอบด้วยชนเผ่า 13 ชนเผ่า เป็นแขวงที่อยู่ระหว่างการพัฒนา การผลิตยังไม่ดีนัก ประชากรดำรงชีวิตด้วย กสิกรรมแบบธรรมชาติ พื้นที่ 70% เป็นป่าไม้ ประชาชนนิยมปลูกข้าวแต่เป็นการปลูกเพื่อบริโภคทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ บ่อทองคำ แร่
ลู่ทางการลงทุนที่มีศักยภาพ คือ อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ ปลูกสาลี่ ถั่ว และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ปัจจุบันยังไม่มีนักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนที่แขวงนี้ แต่มีนักลงทุนของเวียดนามเข้าไปลงทุนกิจการโรงเลื่อย
ประเทศ สปป. ลาว จึงเป็นอีกหนึ่งประเทศที่นักลงทุนไทยน่าจะเข้าไปลงทุนเปิดตลาด โดยเฉพาะอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งจากการหารือกับท่านเจ้าแขวงแทบทุกแขวงต้องการจะให้มีโรงงานแปรรูปไม้มากกว่าจะเป็นการส่งออกไม้เป็นท่อนๆ นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในรูปของโรงแรม ที่พัก เพราะประเทศ สปป. ลาว มีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติมากมาย นอกจากนี้คนลาวยังนิยมสินค้าจากประเทศไทย จึงน่าจะเป็นข้อได้เปรียบคู่แข่งที่สำคัญ
เมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2548 ที่ผ่านมา คณะเจ้าหน้าที่ของ บีโอไอ นำคณะนักลงทุนไทยเดินทางไปยังประเทศ สปป. ลาว เพื่อศึกษาลู่ทางการลงทุนทางตอนใต้ของ สปป. ลาว โดยเดินทางไปยัง 6 แขวงทางใต้ คือ แขวงคำม่วน แขวงสะหวันนะเขต แขวงจำปาสัก แขวงสาละวัน แขวงเซกอง และแขวงอัตตปือ จึงขอนำสาระสำคัญที่น่าสนใจของแต่ละแขวงมาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้
แขวงคำม่วนที่ตั้งอยู่ทางภาคกลางซึ่งเป็นจุดที่แคบที่สุดของประเทศ มีพลเมืองประมาณ 320,000 คน แบ่งเป็นภาคกสิกรรม 52% ภาคอุตสาหกรรม 29% และภาคบริการ 19% จัดเป็นแขวงที่พัฒนาในระดับกลาง ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของแขวงนี้ คือ ทรัพยากรใต้ดิน เช่น ตะกั่ว หินสำหรับการก่อสร้าง
ทางด้านกสิกรรมนั้น แขวงคำม่วนเหมาะแก่การปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ปลาสวาย ปลาคัง ปลานิล
อุตสาหกรรมที่น่าลงทุนในแขวงคำม่วน คือ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ เนื่องจากมีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติสำคัญหลายแห่ง เช่น ถ้ำกอรอ ภูเพียงนากาย ฯลฯ และอุตสาหกรรมการทำเหมืองตะกั่ว ในรูปแบบการได้รับสัมปทานจากรัฐ และเนื่องจากตั้งอยู่ในจุดที่แคบที่สุดของประเทศจึงเหมาะแก่การเป็นศูนย์กระจายสินค้าไปประเทศเวียดนามและพม่า
ประเทศที่เข้าไปลงทุนมากที่สุดในแขวงนี้ คือประเทศไทย มีทั้งสิ้น 7 บริษัท ในจำนวนนี้เป็นบริษัทร่วมทุนไทย-ลาว 1 บริษัท โดยบริษัทสำคัญคือโรงงานบดหิน นอกจากนั้นเป็นการลงทุนในรูปแบบการค้าขายสินค้าต่างๆ รองลงมาคือเวียดนาม 3 บริษัท ญี่ปุ่น 2 บริษัท
แขวงสะหวันนะเขต มีประชากร 797,603 คน สามารถเป็นทางผ่านออกไปยังจังหวัดมุกดาหาร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น พิษณุโลก ตาก ประเทศพม่า และประเทศเวียดนามได้ การผลิตภายในแขวงแบ่งเป็น กสิกรรม 54% อุตสหกรรม 22% บริการ 22% อื่นๆ 2% ปัจจุบันมีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงไปยังฝั่งไทยแห่งที่ 2 ที่จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนตุลาคม 2549
ทรัพยากรที่สำคัญ คือ ยางพารา มันสำปะหลัง มะขามหวาน ลำไย มะม่วง ขนุน ฝ้าย ไหม ไม้เนื้อแข็ง-อ่อน ยูคาลิปตัส ยิปซัม บ่อทองคำ บ่อทองแดง อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงวัว และแพะเพื่อส่งขายไปยังเวียงจันทน์และประเทศเวียดนาม
ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของแขวงนี้คือ ดินเผา เนื่องจากดินของที่นี่สามารถนำไปทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีคุณภาพดี โดยเฉพาะดินเผาที่อำเภอไซยบุรี เป็นดินที่มีความเหมาะสมที่สุด มีความทนทาน เย็น ใส่สีแล้วมีความสวยงาม
แขวงนี้ยังส่งข้าวเหนียวไปขายที่ประเทศเวียดนามเพื่อนำไปทำเป็นขนม ส่งออกผ้าฝ้ายผืนไปประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีไม้ ยิปซัม ผลิตภัณฑ์จากป่า เช่น ยางไม้ ทองคำ ทองแดง
ด้านการท่องเที่ยวจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ แขวงนี้มีป่าสงวนแห่งชาติ 3 แห่ง ที่สะหวันนะเขต พิน และวีระบุรี
แขวงสะหวันนะเขตมีโครงการก่อสร้างสนามบินร่วมกับประเทศไทย โดยประเทศญี่ปุ่นให้เงินกู้ยืมเงินทุนและแบ่งรายรับกันระหว่างทั้ง 2 ประเทศ ความคืบหน้าขณะนี้อยู่ระหว่างให้ญี่ปุ่นศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการซึ่งคาดว่าจะศึกษาเสร็จประมาณเดือนมีนาคม 2549 ปัจจุบัน สะหวันนะเขตมีสนามบิน แต่เนื่องจากปริมาณการใช้น้อยจึงปิดไว้ชั่วคราว
อุตสาหกรรมที่ต้องการให้เข้ามาลงทุน คือ โรงงานอาหารสำหรับสัตว์ โรงงานผลิตปุ๋ย (ปัจจุบันมีโรงงานผลิตปุ๋ยเคมียี่ห้อ Maxnum ของคนไทย) โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ การสำรวจบ่อทองคำ-บ่อทองแดง โรงแรม 5 ดาว ศูนย์การค้า การสำรวจแหล่งท่องเที่ยว การลงทุนทำน้ำประปา
แขวงจำปาสัก จัดเป็นแขวงใหญ่ของทางใต้ มีประชากร 600,000 คน อาชีพหลักของประชาชนคือ ปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ มีพื้นที่ที่เป็นป่าสงวน เขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ บ่อเกลือ บ่อดินเหนียว บ่อทอง บ่อหิน พืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือ กาแฟ หมาก ที่แขวงนี้มีโรงงานขนาดใหญ่ 113 แห่ง ขนาดกลาง 37 แห่ง
แขวงนี้มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง เช่น ตลาดดาวเรืองที่ขายสินค้าทั้งสด และของฝาก น้ำตกพอนพะเพ็ง น้ำตกหลี่ผี วัดพูจำปาสัก แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวประมาณปีละ 4,000-5,000 คน
นอกจากนี้ ยังเป็นทางผ่านของ 3 ประเทศ คือ ลาว เวียดนาม และไทย ซึ่งสภาพถนนค่อนข้างดี สามารถวิ่งไปถึงเมืองเว้ที่ประเทศเวียดนามได้ ทั้งยังเป็นแขวงที่มีนักลงทุนเข้าไปลงทุนมากที่สุดในภาคใต้ของ สปป. ลาว เพราะตั้งอยู่ใจกลางของภาค และเป็นเขตที่เหมาะในการทำกสิกรรมมากเพราะมีสภาพอากาศเหมาะสม ฝนตกสม่ำเสมอ ดินมีความอุดมสมบูรณ์
นักลงทุนไทยที่เข้ามาลงทุนส่วนใหญ่เป็นการลงทุนปลูกยางพารา ที่พักตามแหล่งท่องเที่ยวคือที่ผาส้วม โรงเลื่อย โรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ โรงงานทำรองเท้า โรงงานน้ำตาล
บริษัทไทยที่เข้าไปลงทุนมีจำนวน 24 บริษัท เป็นการลงทุนกสิกรรม 8 บริษัท อุตสาหกรรม 7 บริษัท การค้า-บริการ 8 บริษัท ซึ่งการลงทุนของไทยในแขวงนี้มีจำนวนโครงการมากที่สุด แต่จำนวนเงินลงทุนเป็นรองเวียดนาม
นอกจากนี้ ทางแขวงยังมีโครงการสามเหลี่ยมมรกตซึ่งเป็นโครงการของประเทศ สปป. ลาวกัมพูชา และไทย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยส่วนของประเทศลาวอยู่ที่แขวงจำปาสัก ส่วนของไทยอยู่ที่จังหวัดศรีสะเกษ เส้นทางของสามเหลี่ยมมรกตนี้จะพุ่งตรงไปสู่นครวัตของ กัมพูชาได้
อุตสาหกรรมที่ทางการต้องการให้เกิดการลงทุนคือ อุปกรณ์ก่อสร้าง เครื่องอุปโภค บริโภค อะไหล่รถยนต์ เครื่องจักร เครื่องใช้ประจำวัน
แขวงสาละวัน เป็นแขวงเล็ก มีประชากรประมาณ 300,000 คน โดยส่วนใหญ่ประชาชนประกอบอาชีพกสิกรรม ปลูกข้าว กาแฟ เลี้ยงสัตว์ และเป็นแขวงที่มีเขื่อน
อุตสาหกรรมที่น่าสนใจคือ การปลูกไม้สัก และกล้วย โรงงานผลิตไม้แปรรูป บ่อแร่ บ่อถ่านหิน เนื่องจากขณะนี้มีการสำรวจบ่อถ่านหินแล้ว โดยสำรวจไปประมาณ 40-50% คาคว่าจะสำรวจเสร็จภายในปี 2549 ซึ่งเป็นการสำรวจโดยบริษัทของออสเตรเลีย
แขวงเซกอง เป็นแขวงขนาดเล็กเช่นกัน มีประชากร 85,000 คน พื้นที่ 80% เป็นพื้นที่บนดอย ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ บ่อทองคำ ถ่านหิน สังกะสี ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวปีละประมาณ 400-500 คน ส่วนมากเป็นชาวยุโรป ญี่ปุ่น โดยรูปแบบที่พักของนักท่องเที่ยวจะเป็นแบบเรือนพัก ซึ่งมีอยู่ประมาณ 4-5 แห่ง แต่ละแห่งมีห้องพักประมาณ 10 ห้อง โดยไฟฟ้าของที่แขวงนี้จะต่อมาจากแขวงสาละวัน
ด้านการลงทุนมีโครงการโรงงานแปรรูปไม้ โรงแรมและท่องเที่ยว การเพาะปลูกพืช เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ไหม และบริษัทจากประเทศมาเลเซียได้เข้าไปสำรวจเส้นทางเพื่อลงทุนสร้างทางในจากเซกองไปประเทศเวียดนาม เพื่อรองรับการท่องเที่ยวและการขนส่ง คาดว่าจะแล้วเสร็จอีกประมาณ 10 ปี ส่วนนักลงทุนลาวจะลงทุนในธุรกิจก่อสร้าง ค่าแรงขั้นต่ำประมาณ 80-90 บาท/วัน สำหรับประเทศไทยยังไม่มีการลงทุนในแขวงนี้
แขวงอัตตปือ เป็นแขวงเล็กที่มีอากาศร้อน มีประชากรประมาณ 105,000 คน ประกอบด้วยชนเผ่า 13 ชนเผ่า เป็นแขวงที่อยู่ระหว่างการพัฒนา การผลิตยังไม่ดีนัก ประชากรดำรงชีวิตด้วย กสิกรรมแบบธรรมชาติ พื้นที่ 70% เป็นป่าไม้ ประชาชนนิยมปลูกข้าวแต่เป็นการปลูกเพื่อบริโภคทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ บ่อทองคำ แร่
ลู่ทางการลงทุนที่มีศักยภาพ คือ อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ ปลูกสาลี่ ถั่ว และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ปัจจุบันยังไม่มีนักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนที่แขวงนี้ แต่มีนักลงทุนของเวียดนามเข้าไปลงทุนกิจการโรงเลื่อย
ประเทศ สปป. ลาว จึงเป็นอีกหนึ่งประเทศที่นักลงทุนไทยน่าจะเข้าไปลงทุนเปิดตลาด โดยเฉพาะอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งจากการหารือกับท่านเจ้าแขวงแทบทุกแขวงต้องการจะให้มีโรงงานแปรรูปไม้มากกว่าจะเป็นการส่งออกไม้เป็นท่อนๆ นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในรูปของโรงแรม ที่พัก เพราะประเทศ สปป. ลาว มีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติมากมาย นอกจากนี้คนลาวยังนิยมสินค้าจากประเทศไทย จึงน่าจะเป็นข้อได้เปรียบคู่แข่งที่สำคัญ