สัมพันธ์ไทย-จีน แนบแน่น หลังหารือร่วมกัน จีนสนใจร่วมลงทุนด้านพลังงานทดแทนและสนับสนุนการท่องเที่ยวไทย เตรียมทำรายละเอียดเข้าหารือกับทางการจีนอีกครั้งเดือน ก.ย.นี้ มั่นใจไทยมีศักยภาพผลิตพลังงานทดแทน เพราะมีวัตถุดิบเพียงพอ และบีโอไอพร้อมสนับสนุน ด้านแบงก์กรุงเทพ เปิดสาขาปักกิ่ง เชื่อมบริการนักลงทุนไทย-จีน ไทยพาณิชย์จับมือเอ็กซิมแบงก์จีน หนุนผู้ประกอบการ
ระหว่างการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 30 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย–จีน ระหว่างวันที่ 30 มิ.ย.–2 ก.ค.48
วานนี้(1 ก.ค.) เวลา 14.45 น.กรุงปักกิ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางมาเปิดสาขาของธนาคารกรุงเทพ ที่กรุงปักกิ่ง และเป็นประธานในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการเงินระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์กับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน (The Export-Import Bank of China) โดยมี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง นายพินิจ จารุสมบัติ รองนายกรัฐมนตรี และนายทนง ทิพยะ รมว.พาณิชย์ และผู้บริหารระดับสูงจากประเทศจีน ร่วมแสดงความยินดี
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวว่า การเดินทางมาจีนครั้งนี้ได้หารือกับรัฐบาลของประเทศจีน เพื่อเชิญชวนให้รัฐบาลจีนเข้ามาร่วมลงทุนในประเทศไทย ซึ่งจีนมีความสนใจในด้านพลังงานทดแทน เช่น ไบโอดีเซล เอทานอล ซึ่งยังไม่ได้มีการหารือในรายละเอียด แต่นายกรัฐมนตรีทั้ง 2 ฝ่าย ได้มีการเห็นชอบแล้ว รวมไปถึงเรื่องการท่องเที่ยวระหว่างกันด้วย โดยในเดือนกันยายน จะนำเรื่องนี้เข้าหารือกับทางการจีนอีกครั้ง
นายวัฒนา เมืองสุข รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่าประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเปิดให้จีนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยให้มากที่สุด โดยทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)ในการลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทน เชื่อว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตพลังงานทดแทน เพราะมีวัตถุดิบจำนวนมาก เช่น อ้อย มันสำปะหลัง และมั่นใจว่า จีนเข้ามาร่วมลงทุนในไทย
**ไทยพาณิชย์หนุนผู้ประกอบการไทย-จีน
ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ปัจจุบันจีนเป็นที่หมายของธุรกิจการค้าและการลงทุนจากทั่วโลก ส่งผลให้การขยายธุรกิจเข้าไปในจีนทวีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งธนาคารเป็นสถาบันการเงินที่มีบทบาทหลักในการสนับสนุนการค้าการลงทุนของผู้ประกอบการไทย-จีนอย่างเป็นทางการ โดยร่วมกับ China Exim Bank ในการเป็นช่องทางจัดหาและระดมเงินทุน-สินเชื่อสกุลเงินบาท-หยวนให้กับโครงการร่วมทุน แผนการลงทุนของเอกชนในธุรกิจอุตสาหกรรมสำคัญที่รัฐบาลของ 2 ประเทศให้การสนับสนุน เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก เหมืองแร่ ก่อสร้าง ฯลฯ สินเชื่อการนำเข้าและส่งออก
คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวถึงแผนการขยายบทบาทธุรกิจในจีนของธนาคาร ว่า ในฐานะที่จีนเป็นเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในเวทีเศรษฐกิจการค้าโลก และเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย โดยในปี 2547 ไทยและจีนมีปริมาณการส่งออก-นำเข้าสินค้าสูงถึง 15,266 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ กว่า 6 แสนล้านบาท ธนาคารจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการไทยมีความคล่องตัวในการเข้าไปลงทุนและทำธุรกิจในประเทศจีน
โดยธนาคารจะมีบทบาทด้านการสนับสนุนเงินทุน สินเชื่อ ขั้นตอนทางเอกสารและการทำ ธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Export Seller’s Credit, Export Buyer’s Credit, การออกและรับรอง Letter of Credit ต่างๆ, การโอน-เรียกเก็บเงิน, concessionary loan, on-lending loan ฯลฯ ขณะเดียวกันธนาคารได้ทำข้อตกลงกับ China Exim Bank ในการเป็นพันธมิตรดำเนินการลักษณะเดียวกันในฝั่งจีน เพื่อที่จะสนับสนุนเอกชนจีนให้เข้ามาลงทุนธุรกิจในไทย ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มปริมาณการลงทุนและการค้าแล้ว ยังเป็นการประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่าง 2 ชาติในเวทีเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
ทางด้านสาธารณรัฐประชาชนจีน โดย Mr. Yang Zilin ประธาน The Export – Import Bank of China กล่าวว่า นับตั้งแต่ ที่จีนเปิดประเทศในปี 2521 จีนได้ติดต่อและประสานความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศมาโดยตลอด และไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยในปี 2547 ที่ผ่านมา มีเอกชนจีนเข้าไปลงทุนธุรกิจในไทยรวมมูลค่ากว่า 4,660 ล้านบาท ทั้งนี้ China Exim Bank ซึ่งมีนโยบายหลักสนับสนุนการค้า-การลงทุนของเอกชนจีนในต่างประเทศ มั่นใจว่า ข้อตกลงระหว่างธนาคารและธนาคารไทยพาณิชย์จะเป็นช่องทางสำคัญที่จะช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเงินแก่เอกชนทั้งสองฝ่าย และนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนของสองประเทศต่อไปในอนาคต
**ชูสาขาปักกิ่งเชื่อมธุรกิจจีนตอนเหนือ
นายชาตรี โสภณพนิช ประธานกรรมการ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า เศรษฐกิจจีนมีอัตราการขยายตัวดีมาก ทำให้สถาบันการเงินทุกแห่งเข้ามาเปิดสาขา เพื่อรองรับการขยายตัว แต่ประเทศจีนมีความเข้มงวดมาก และอนุมัติใบอนุญาตไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งธนาคารกรุงเทพได้เข้ามาให้บริการในประเทศจีนเป็นเวลานาน โดยเฉพาะสาขาเซี่ยงไฮ้ เซี่ยเหมิน และซัวเถา ได้มีการทำผลงานมาเป็นอย่างดีทำให้ทางจีนมีความมั่นใจถึงได้ออกใบอนุญาตในครั้งนี้
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า นโยบายการเปิดสาขาต่างประเทศนั้น ธนาคารต้องการให้เครือข่ายสาขาเชื่อมโยงกันครบวงจร และเป็นการเชื่อมโยงระหว่างสาขาในต่างจังหวัง นครหลวง และต่างประเทศ เมื่อเครือข่ายมีความเข้มแข็งจะช่วยสนับสนุนการส่งออกให้กับสินค้าเกษตร ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม การเปิดสาขากรุงปักกิ่งทำให้ธนาคารกรุงเทพมีสาขาที่ครอบคลุมประเทศจีนตอนเหนือ
นายประสงค์ อุทัยแสงชัย กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ขณะนี้เศรษฐกิจของเซี่ยงไฮ้และปักกิ่งมีอัตราการขยายตัวสูงมาก ดังนั้น การเปิดสาขากรุงปักกิ่งในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มสินเชื่อต่างประเทศให้กับธนาคาร ซึ่งจะเปิดเป็นทางการในเดือนตุลาคม ในระยะเวลา 3 เดือน จะปล่อยสินเชื่อได้ประมาณ 4,000 ล้านบาท เนื่องจากมีฐานลูกค้าจำนวนมาก และปี 2549 จะปล่อยสินเชื่อใหม่ 12,000 ล้านบาท สิ้นปียอดสินเชื่อจะอยู่ที่ประมาณ 16,000 ล้านบาท
“สาขาในจีนมี 3 สาขาสามารถทำกำไรสุทธิได้ 1-1.5% ของกำไรทั้งหมดของธนาคารหรือประมาณ 120-180 ล้านบาท ส่วนใหญ่ที่ปล่อยสินเชื่อเป็นลูกค้าไต้หวันและฮ่องกง โดยส่วนใหญ่ปล่อยกู้เพราะนักธุรกิจประเทศดังกล่าวย้ายฐานมาประเทศจีน เนื่องจากมีต้นทุนแรงงานที่ถูกกว่า” นายประสงค์ กล่าว
**ตกลงแผนปฏิบัติการความร่วมมือในทุกมิติ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการหารือทวิภาคีกับนายเหวิน เจีย เป่า นายกรัฐมนตรีจีน เมื่อเช้าวานนี้ (1 ก.ค.)ว่าทั้งสองประเทศได้ตกลงที่จะให้ร่างแผนปฏิบัติการความร่วมมือในทุกมิติ เช่น การเมือง ความมั่นคง การค้า การท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดการปฏิบัติ และมีหน่วยงานรับผิดชอบทั้งสองฝ่ายให้เสร็จสิ้นก่อนการเยือนไทยของนายกรัฐมนตรีจีนเพื่อมาเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ 30 ปีไทย-จีน ในอีก 4 เดือนข้างหน้า
ส่วนการเจรจาขยายรายการสินค้าในความตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-จีน นอกจากผักและผลไม้นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จีนพร้อมจะเริ่มจากรายการสินค้าที่ทั้งสองฝ่ายไม่มีปัญหาก่อน ซึ่งไทยคาดหวังว่าจะทำให้สามารถเพิ่มมูลค่าการค้าจาก 17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ภายใน 3 ปี ทั้งนี้ จีนยังอนุญาตให้ไทยขายสินค้าตรงได้ในทุกมณฑล ซึ่งจะเชิญผู้ว่ามณฑลต่าง ๆ ของจีนไปเยือนไทย โดยเฉพาะ 9 มณฑล ร่วมด้วยมาเก๊า และฮ่องกง
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไทยและจีนยังสามารถแก้ปัญหาสินค้าเกษตรได้ โดยเฉพาะเรื่องลำไย ที่นำมาแลกกับรถหุ้มเกราะล้อยางของจีน ซึ่งรัฐบาลจีนได้ยกเลิกบริษัทเอกชนที่มีปัญหา เพื่อมาดำเนินการต่อโดยรัฐบาลเอง
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังนำปัญหาราคาน้ำมันแพงขึ้นมาหารือ เพื่อขอความร่วมมือกับนายกรัฐมนตรีจีนว่า ราคาน้ำมันส่วนหนึ่งที่แพงขึ้นเนื่องจากมีการเก็งกำไรจากการนำข่าวต่างๆ มาสร้างราคา ทำให้เกิดปัญหาความปั่นป่วน
“ขอให้จีนช่วยพูดมากๆ ให้เห็นเป็นข่าวว่าความต้องการพลังงานของจีนที่คิดว่ามีอย่างมากมายและมั่นคง มันไม่เป็นอย่างที่ว่า เนื่องจากจีนได้ซื้อบ่อน้ำมันไว้ในหลายประเทศและแอฟริกาไว้ จะได้รู้ว่าความต้องการพลังงานน้ำมันไม่ได้มีมากเกินไป การเก็งกำไรจะได้ลดลงและราคาน้ำมันจะได้ถูกลง”นายกรัฐมนตรี กล่าว
ระหว่างการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 30 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย–จีน ระหว่างวันที่ 30 มิ.ย.–2 ก.ค.48
วานนี้(1 ก.ค.) เวลา 14.45 น.กรุงปักกิ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางมาเปิดสาขาของธนาคารกรุงเทพ ที่กรุงปักกิ่ง และเป็นประธานในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการเงินระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์กับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน (The Export-Import Bank of China) โดยมี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง นายพินิจ จารุสมบัติ รองนายกรัฐมนตรี และนายทนง ทิพยะ รมว.พาณิชย์ และผู้บริหารระดับสูงจากประเทศจีน ร่วมแสดงความยินดี
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวว่า การเดินทางมาจีนครั้งนี้ได้หารือกับรัฐบาลของประเทศจีน เพื่อเชิญชวนให้รัฐบาลจีนเข้ามาร่วมลงทุนในประเทศไทย ซึ่งจีนมีความสนใจในด้านพลังงานทดแทน เช่น ไบโอดีเซล เอทานอล ซึ่งยังไม่ได้มีการหารือในรายละเอียด แต่นายกรัฐมนตรีทั้ง 2 ฝ่าย ได้มีการเห็นชอบแล้ว รวมไปถึงเรื่องการท่องเที่ยวระหว่างกันด้วย โดยในเดือนกันยายน จะนำเรื่องนี้เข้าหารือกับทางการจีนอีกครั้ง
นายวัฒนา เมืองสุข รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่าประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเปิดให้จีนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยให้มากที่สุด โดยทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)ในการลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทน เชื่อว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตพลังงานทดแทน เพราะมีวัตถุดิบจำนวนมาก เช่น อ้อย มันสำปะหลัง และมั่นใจว่า จีนเข้ามาร่วมลงทุนในไทย
**ไทยพาณิชย์หนุนผู้ประกอบการไทย-จีน
ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ปัจจุบันจีนเป็นที่หมายของธุรกิจการค้าและการลงทุนจากทั่วโลก ส่งผลให้การขยายธุรกิจเข้าไปในจีนทวีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งธนาคารเป็นสถาบันการเงินที่มีบทบาทหลักในการสนับสนุนการค้าการลงทุนของผู้ประกอบการไทย-จีนอย่างเป็นทางการ โดยร่วมกับ China Exim Bank ในการเป็นช่องทางจัดหาและระดมเงินทุน-สินเชื่อสกุลเงินบาท-หยวนให้กับโครงการร่วมทุน แผนการลงทุนของเอกชนในธุรกิจอุตสาหกรรมสำคัญที่รัฐบาลของ 2 ประเทศให้การสนับสนุน เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก เหมืองแร่ ก่อสร้าง ฯลฯ สินเชื่อการนำเข้าและส่งออก
คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวถึงแผนการขยายบทบาทธุรกิจในจีนของธนาคาร ว่า ในฐานะที่จีนเป็นเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในเวทีเศรษฐกิจการค้าโลก และเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย โดยในปี 2547 ไทยและจีนมีปริมาณการส่งออก-นำเข้าสินค้าสูงถึง 15,266 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ กว่า 6 แสนล้านบาท ธนาคารจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการไทยมีความคล่องตัวในการเข้าไปลงทุนและทำธุรกิจในประเทศจีน
โดยธนาคารจะมีบทบาทด้านการสนับสนุนเงินทุน สินเชื่อ ขั้นตอนทางเอกสารและการทำ ธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Export Seller’s Credit, Export Buyer’s Credit, การออกและรับรอง Letter of Credit ต่างๆ, การโอน-เรียกเก็บเงิน, concessionary loan, on-lending loan ฯลฯ ขณะเดียวกันธนาคารได้ทำข้อตกลงกับ China Exim Bank ในการเป็นพันธมิตรดำเนินการลักษณะเดียวกันในฝั่งจีน เพื่อที่จะสนับสนุนเอกชนจีนให้เข้ามาลงทุนธุรกิจในไทย ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มปริมาณการลงทุนและการค้าแล้ว ยังเป็นการประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่าง 2 ชาติในเวทีเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
ทางด้านสาธารณรัฐประชาชนจีน โดย Mr. Yang Zilin ประธาน The Export – Import Bank of China กล่าวว่า นับตั้งแต่ ที่จีนเปิดประเทศในปี 2521 จีนได้ติดต่อและประสานความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศมาโดยตลอด และไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยในปี 2547 ที่ผ่านมา มีเอกชนจีนเข้าไปลงทุนธุรกิจในไทยรวมมูลค่ากว่า 4,660 ล้านบาท ทั้งนี้ China Exim Bank ซึ่งมีนโยบายหลักสนับสนุนการค้า-การลงทุนของเอกชนจีนในต่างประเทศ มั่นใจว่า ข้อตกลงระหว่างธนาคารและธนาคารไทยพาณิชย์จะเป็นช่องทางสำคัญที่จะช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเงินแก่เอกชนทั้งสองฝ่าย และนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนของสองประเทศต่อไปในอนาคต
**ชูสาขาปักกิ่งเชื่อมธุรกิจจีนตอนเหนือ
นายชาตรี โสภณพนิช ประธานกรรมการ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า เศรษฐกิจจีนมีอัตราการขยายตัวดีมาก ทำให้สถาบันการเงินทุกแห่งเข้ามาเปิดสาขา เพื่อรองรับการขยายตัว แต่ประเทศจีนมีความเข้มงวดมาก และอนุมัติใบอนุญาตไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งธนาคารกรุงเทพได้เข้ามาให้บริการในประเทศจีนเป็นเวลานาน โดยเฉพาะสาขาเซี่ยงไฮ้ เซี่ยเหมิน และซัวเถา ได้มีการทำผลงานมาเป็นอย่างดีทำให้ทางจีนมีความมั่นใจถึงได้ออกใบอนุญาตในครั้งนี้
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า นโยบายการเปิดสาขาต่างประเทศนั้น ธนาคารต้องการให้เครือข่ายสาขาเชื่อมโยงกันครบวงจร และเป็นการเชื่อมโยงระหว่างสาขาในต่างจังหวัง นครหลวง และต่างประเทศ เมื่อเครือข่ายมีความเข้มแข็งจะช่วยสนับสนุนการส่งออกให้กับสินค้าเกษตร ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม การเปิดสาขากรุงปักกิ่งทำให้ธนาคารกรุงเทพมีสาขาที่ครอบคลุมประเทศจีนตอนเหนือ
นายประสงค์ อุทัยแสงชัย กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ขณะนี้เศรษฐกิจของเซี่ยงไฮ้และปักกิ่งมีอัตราการขยายตัวสูงมาก ดังนั้น การเปิดสาขากรุงปักกิ่งในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มสินเชื่อต่างประเทศให้กับธนาคาร ซึ่งจะเปิดเป็นทางการในเดือนตุลาคม ในระยะเวลา 3 เดือน จะปล่อยสินเชื่อได้ประมาณ 4,000 ล้านบาท เนื่องจากมีฐานลูกค้าจำนวนมาก และปี 2549 จะปล่อยสินเชื่อใหม่ 12,000 ล้านบาท สิ้นปียอดสินเชื่อจะอยู่ที่ประมาณ 16,000 ล้านบาท
“สาขาในจีนมี 3 สาขาสามารถทำกำไรสุทธิได้ 1-1.5% ของกำไรทั้งหมดของธนาคารหรือประมาณ 120-180 ล้านบาท ส่วนใหญ่ที่ปล่อยสินเชื่อเป็นลูกค้าไต้หวันและฮ่องกง โดยส่วนใหญ่ปล่อยกู้เพราะนักธุรกิจประเทศดังกล่าวย้ายฐานมาประเทศจีน เนื่องจากมีต้นทุนแรงงานที่ถูกกว่า” นายประสงค์ กล่าว
**ตกลงแผนปฏิบัติการความร่วมมือในทุกมิติ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการหารือทวิภาคีกับนายเหวิน เจีย เป่า นายกรัฐมนตรีจีน เมื่อเช้าวานนี้ (1 ก.ค.)ว่าทั้งสองประเทศได้ตกลงที่จะให้ร่างแผนปฏิบัติการความร่วมมือในทุกมิติ เช่น การเมือง ความมั่นคง การค้า การท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดการปฏิบัติ และมีหน่วยงานรับผิดชอบทั้งสองฝ่ายให้เสร็จสิ้นก่อนการเยือนไทยของนายกรัฐมนตรีจีนเพื่อมาเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ 30 ปีไทย-จีน ในอีก 4 เดือนข้างหน้า
ส่วนการเจรจาขยายรายการสินค้าในความตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-จีน นอกจากผักและผลไม้นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จีนพร้อมจะเริ่มจากรายการสินค้าที่ทั้งสองฝ่ายไม่มีปัญหาก่อน ซึ่งไทยคาดหวังว่าจะทำให้สามารถเพิ่มมูลค่าการค้าจาก 17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ภายใน 3 ปี ทั้งนี้ จีนยังอนุญาตให้ไทยขายสินค้าตรงได้ในทุกมณฑล ซึ่งจะเชิญผู้ว่ามณฑลต่าง ๆ ของจีนไปเยือนไทย โดยเฉพาะ 9 มณฑล ร่วมด้วยมาเก๊า และฮ่องกง
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไทยและจีนยังสามารถแก้ปัญหาสินค้าเกษตรได้ โดยเฉพาะเรื่องลำไย ที่นำมาแลกกับรถหุ้มเกราะล้อยางของจีน ซึ่งรัฐบาลจีนได้ยกเลิกบริษัทเอกชนที่มีปัญหา เพื่อมาดำเนินการต่อโดยรัฐบาลเอง
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังนำปัญหาราคาน้ำมันแพงขึ้นมาหารือ เพื่อขอความร่วมมือกับนายกรัฐมนตรีจีนว่า ราคาน้ำมันส่วนหนึ่งที่แพงขึ้นเนื่องจากมีการเก็งกำไรจากการนำข่าวต่างๆ มาสร้างราคา ทำให้เกิดปัญหาความปั่นป่วน
“ขอให้จีนช่วยพูดมากๆ ให้เห็นเป็นข่าวว่าความต้องการพลังงานของจีนที่คิดว่ามีอย่างมากมายและมั่นคง มันไม่เป็นอย่างที่ว่า เนื่องจากจีนได้ซื้อบ่อน้ำมันไว้ในหลายประเทศและแอฟริกาไว้ จะได้รู้ว่าความต้องการพลังงานน้ำมันไม่ได้มีมากเกินไป การเก็งกำไรจะได้ลดลงและราคาน้ำมันจะได้ถูกลง”นายกรัฐมนตรี กล่าว