ก่อนการเลือกตั้งใหญ่ครั้งที่เพิ่งผ่านมา ในขณะที่กระแสความนิยมพรรคไทยรักไทยกำลังพุ่งแรงอย่างไม่น่าเชื่อ อันเป็นผลลัพธ์จากนวัตกรรมการทำตลาดทางการเมืองใหม่ๆ อย่างที่ไม่เคยปรากฏในเมืองไทยมาก่อน ปัญญาชนอิสระและผู้นำของพรรคการเมืองคู่แข่งของพรรคไทยรักไทยได้ออกมาตักเตือนให้คนไทยตระหนักถึงอันตรายของการผูกขาดอำนาจ จนถึงขั้นที่มีการออกคำแนะนำให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงการเลือกตั้งตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกพรรคการเมืองต่างๆ มาคานอำนาจกันให้มากที่สุด ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสิ่งที่รู้จักกันในทางวิชาการว่า "ทรราชของเสียงส่วนใหญ่" (tyranny of the majority) ซึ่งเป็นแนวโน้มที่เห็นกันได้อย่างชัดเจนในช่วงที่พรรคไทยรักไทยเป็นผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาลในรอบแรกมาแล้ว
ในช่วงที่เป็นผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาลสี่ปีแรก เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมักจะแสดงความคิดเห็นอย่างมีอารมณ์บ่อยๆ ในทิศทางที่ไม่ค่อยชื่นชอบเสรีภาพในการพูด (freedom of speech) อันหมายถึงเสรีภาพในการแสดงออกของสื่อประเภทต่างๆ
นอกจากนี้ วงการสื่อยังตกเป็นเหยื่อของกิจกรรมหลายชนิดนับตั้งแต่การกดดันให้นักข่าวบางคนต้องลดบทบาทลง การหมายหัวนักข่าวทั้งชาวไทยและต่างประเทศด้วยกลเม็ดต่างๆ มากมาย อาทิ การระบุชื่อในลักษณะของการประณามในที่สาธารณะ การอธิบายว่าการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลคือการแสดงออกของการไม่รักชาติ ตลอดทั้งใช้งบประมาณด้านการโฆษณาเชิงพาณิชย์เป็นเครื่องมือในการต่อรองกับสื่อ เพื่อให้ปรับปรุงนโยบายการผลิตและเผยแพร่ข่าวและความคิดเห็นให้เป็นมิตรกับฝ่ายรัฐบาลมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
ครั้นเมื่อพรรคไทยรักไทยได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น แทนที่ความมั่นใจในระดับใหม่ที่บังเกิดขึ้นจะทำให้พรรคการเมืองนี้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของสังคมเปิดมากขึ้น ทว่ากระบวนทัศน์แบบเดิมๆ กลับได้รับการสานต่อไปอย่างไม่หยุดหย่อน ตัวอย่างเช่น ความไม่ชอบมาพากลในคำสั่งปิดเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงกับการทำงานของสถานีวิทยุกระจายเสียง FM 92.25 Megahertz เมื่อไม่กี่วันมานี้ อันนับได้ว่าเป็นการเปิดสงครามใน "ดินแดนแห่งเสรีภาพ" ด้วย "เหตุผลทางเทคนิค" ซึ่งนักประชาธิปไตยไม่ว่าในที่ไหนๆ ต่างก็ไม่สามารถยอมรับได้ รวมทั้งสมาชิกวุฒิสภาหลายท่าน เป็นต้น (ไทยโพสต์ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2548)
นอกจากนี้ ถึงแม้จะเป็น "คนละเรื่องเดียวกัน" การที่พรรคไทยรักไทยใช้อำนาจออกคำสั่งให้สมาชิกของพรรคผู้มีที่นั่งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรให้ลงคะแนนเสียงไว้วางใจนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ "ก่อน" วันที่จะถูกพรรคฝ่ายค้านอภิปรายอย่างเอิกเกริก ซึ่งยังผลให้ผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองที่รู้เรื่องดีได้เกิดความตระหนกในระดับของ "อหังการแห่งอำนาจ" (arrogance of power) ที่ขี้เกียจคำนึงถึงแม้กระทั่งมารยาทเบื้องต้นทางการเมือง
ทั้งนี้ ยังไม่ต้องพูดถึง "เสียงแห่งสติสัมปชัญญะ" จาก "ผู้เฒ่าทางการเมือง" อย่างนายเสนาะ เทียนทอง ผู้ (เคย) มีตำแหน่งสูงถึงขนาดเป็น "ประธานคณะที่ปรึกษา" ของพรรคไทยรักไทย ผู้อึดอัดกับการบีบคั้นต่างๆ จนเป็นเหตุให้เขากลายเป็น "ขบถ" ของพรรคไทยรักไทย อันเป็นปรากฏการณ์ที่ยังไม่มีคำอธิบายเกี่ยวกับที่มาที่ไปอย่างแม่นยำนัก
ยิ่งไปกว่านี้ หลังจากการอภิปราย ทั้งๆ ที่ประจักษ์แก่ทุกคนที่ได้ดูการถ่ายทอดโทรทัศน์ว่านายสุริยะไม่ได้ตอบคำถามสำคัญๆ ของพรรคฝ่ายค้าน มิหนำซ้ำ เขายังนำบันทึกที่รู้กันดีว่าเป็น "โพย" ที่เขียนขึ้นมาโดยคณะ "ที่ปรึกษา" ขึ้นมาอ่านอย่างทื่อๆ โดยไม่สนใจว่าเนื้อหาของมันจะตอบสนองข้อกังขาของผู้อภิปรายในนามของพรรคฝ่ายค้านหรือไม่
ทว่าลงท้ายแล้ว ทั้งๆ ที่สื่อมวลชนแทบทั้งหมดล้วนลงมติว่านายสุริยะสอบไม่ผ่านการอภิปราย (The Nation, June 29, 2005) อีกทั้งสำนักสำรวจความคิดเห็นสองแห่งสามารถสรุปในทิศทางเดียวกันได้ว่าประชาชนไม่ไว้วางใจนายสุริยะ โดยประชาชนมากถึงร้อยละ 84 เชื่อว่ามีการโกงในการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิด CTX 9000 จริง ถึงขนาดที่ลงมติว่านายสุริยะควรจะถูกปลดจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2548) นายสุริยะก็ยังได้รับการลงคะแนนเสียงจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคไทยรักไทยอย่างเกือบเป็นเอกฉันท์ อันถือว่าเป็นการสวนกระแสความรู้สึกของสื่อมวลชนและประชาชนอย่างรุนแรง
จริงๆ แล้ว "ทรราชของเสียงส่วนใหญ่" มักจะหมายถึงปรากฏการณ์ที่สาธารณมติมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อันเป็นผลลัพธ์จากลักษณะพิเศษทางจิตวิทยาชุดหนึ่ง อันมักจะก่อรูปขึ้นจากการเมืองประชาธิปไตยที่อาศัยระบบ "หนึ่งคน หนึ่งเสียง" ซึ่งโดยสาระสำคัญแล้วมักจะก่อให้เกิดระบบการยัดเยียดลัทธิปฏิบัติตามกัน (conformism) นั่นก็คือ ประชาชนจำนวนมากมักจะละทิ้งความรับผิดชอบในการเข้าร่วมในการอภิปรายทางการเมือง แล้วก็ยอมรับความคิดเห็นของบุคคลอื่น เช่น ผู้นำพรรคการเมือง มาเป็นของตนอย่างง่ายๆ โดยปฏิเสธที่จะมีความคิดอิสระที่เป็นของตนเอง
ในทัศนะของอเล็กซิส เดอ ทอกเกอวิลล์ (Alexis de Tocqueville) ศาสดาพยากรณ์ทางทฤษฎีแห่งประชาธิปไตยอเมริกัน วัฒนธรรมประชาธิปไตยมักจะมี "ความทนทาน" ต่อความคิดเห็นที่แตกต่างไม่มากนัก ทั้งนี้ ในสังคมที่มีรูปแบบเก่าแก่กว่าที่ปกครองโดยขุนนางกลับให้ความสำคัญกับสาธารณมติ (public opinion) มากกว่า เพราะเชื่อกันว่าสาธารณมติเป็น "ของแท้" ฉะนั้น จึงถือกันว่ามีความทรงสิทธิ์ในทางศีลธรรมเป็นอย่างมาก
ฉะนั้น เดอ ทอกเกอวิลล์จึงสรุปได้ว่าในสังคมประชาธิปไตย คำพิพากษาสำหรับ "คนนอกคอก" จะหนักหน่วงกว่าสังคมที่ปกครองโดยขุนนาง เพราะในสังคมขุนนาง ถึงคุณจะถูกทรมานและลงโทษ จิตวิญญาณของคุณก็ยังหนีไปได้ ทว่าในสังคมประชาธิปไตย "ร่างกายเป็นอิสระ ทว่าจิตวิญญาณกลับถูกกักขัง"
ด้วยประการฉะนี้ เมื่อพิจารณาจากคำอุปมาอุปไมยของเขาที่ว่าตนเองถูกขังอยู่ในคุกพรรคไทยรักไทย คุณเสนาะ เทียนทองจึงเปรียบเสมือนเป็นลูกศิษย์ของอเล็กซิส เดอ ทอกเกอวิลล์ นักทฤษฎีประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลกท่านหนึ่งนั่นแล
ทว่าสำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองไทยดังที่อ้างถึงข้างต้น ดูเหมือนว่า "ทรราชของเสียงส่วนใหญ่" นั้นจะหมายถึงการที่พรรคไทยรักไทยมีความเชื่อว่าตนเองเป็นผู้แทนของเสียงส่วนใหญ่ จนกระทั่งเกิดความเชื่อเพี้ยนๆ ขึ้นมาเองว่าไม่ว่าตนจะทำอะไรก็ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของ "เสียงส่วนใหญ่" ไปโดยอัตโนมัติ ด้วยเหตุนี้ พรรคไทยรักไทยจึงดูเหมือนว่าไม่ค่อยรู้ร้อนรู้หนาวกับความรู้สึกของสื่อมวลชนหรือผลการสำรวจความคิดเห็นของสำนักต่างๆ สักเท่าไรนัก
ในบริบทอย่างนี้ ความเข้าใจที่เป็นระบบและแม่นยำขึ้นเกี่ยวกับความสำคัญของเสรีภาพในการพูดตามนัยของปรัชญาตะวันตก รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างเสรีภาพในการพูดกับมิติอื่นๆ ของชีวิตทางสังคม อาจจะช่วยให้เราร่วมกันสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยได้ดีขึ้นก็ได้
เกี่ยวกับ "ทรราชของเสียงส่วนใหญ่" นั้น เดอ ทอกเกอวิลล์ได้ชี้ให้เห็นว่า "ในตัวมันเอง อำนาจที่ไร้ขีดจำกัดไม่มีอะไรดีและเป็นอันตรายมาก มนุษย์ไม่มีความชำนัญในอันที่จะใช้มันด้วยความระมัดระวัง" จะมีก็แต่พระเจ้า ผู้เปี่ยมไปด้วยความบริบูรณ์แบบเท่านั้น ที่มีความพร้อมที่จะใช้อำนาจอย่างนั้น ไม่ว่าใครก็ตามที่สามารถออกคำสั่งเด็ดขาดได้ นั่นหมายความว่า "เชื้อแห่งทรราช" กำลังก่อรูปขึ้นแล้ว
เนื่องจากมองเห็น "เชื้อแห่งทรราช" นี่เอง เดอ ทอกเกอวิลล์จึงให้ความสำคัญแก่การป้องกันการกดขี่ในนามของเสียงส่วนใหญ่บางกลุ่ม นอกจากนี้ นักทฤษฎีผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ยังเน้นการให้ความคุ้มครองฝ่ายที่อ่อนแอให้รอดพ้นจากฝ่ายที่แข็งแรงกว่า อันยังผลให้ท่านย้ำนักย้ำหนาถึงความสำคัญของการให้เสรีภาพแก่บุคคล โดยยืนยันว่าเสรีภาพในการพูดที่มากเกินไปนั้น ยังไม่น่ากลัวเท่ากับ "ความมั่นคงที่ไม่เพียงพอ" ในการต่อสู้กับทรราช
นับตั้งแต่ยุคเดอ ทอกเกอวิลล์ นักทฤษฎีประชาธิปไตยคนแล้วคนเล่าจึงได้ช่วยกันคนละไม้ละมือคิดค้นทฤษฎีว่าด้วยเสรีภาพแห่งการพูดขึ้นมาเสริมเพื่ออุปถัมภ์ให้วัฒนธรรมประชาธิปไตยรุ่งเรืองขึ้น การพัฒนาทฤษฎีกลุ่มนี้มีองค์ประกอบสำคัญๆ สี่ด้านด้วยกัน
(1) ทฤษฎีว่าด้วยการปกครองตนเอง (self-governance) นักทฤษฎีประชาธิปไตยทั้งหลายมีความเชื่อร่วมกันว่าเสรีภาพในการพูดเป็นหลักการพื้นฐานอย่างหนึ่งของสังคมประชาธิปไตย เพราะการพูดทำให้เกิดการตัดสินใจได้ดีขึ้นว่า ใครคือบุคคลที่เหมาะสมที่สุดใน ช่วงที่มีการเลือกตั้ง นอกจากนี้ การพูดยังเป็นกลไกในการนำเสนอความคิดเพื่อส่งอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายต่อรัฐบาลอีกด้วย
ยิ่งไปกว่านี้ เสรีภาพในการพูดในแง่ของการวิพากษ์วิจารณ์คือเครื่องมือสำคัญในตรวจสอบนักการเมือง อันอาจจะนำไปสู่การถอดถอนบุคคลบางคนที่ไม่เหมาะสมออกจากตำแหน่งต่างๆ ได้ หากปราศจากการแสดงออกซึ่ง "เสียงแห่งความไม่พอใจ" เพราะความหวาดกลัว รัฐบาลก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรตอบสนองความต้องการของประชาชนอีกต่อไป นึกจะทำอะไรก็ทำได้ โดยไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อประชาชนอีกต่อไป
ฉะนั้น ผู้ปกป้องเสรีภาพในการพูดทุกคนมักจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า รัฐบาลใดๆ ก็ตามที่เพียรพยายามกำจัดเสรีภาพในการพูดนั้นย่อมต้องการอำนาจเบ็ดเสร็จเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ (accountability) นั่นเอง
กระนั้นก็ตาม ในบางกรณี การจำกัดเสรีภาพในการพูดก็มีเหตุผลรองรับเหมือนกัน เช่น การเผยแพร่ความคิดเห็นของฝ่ายนาซีในเยอรมนีในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นต้น เหตุผลเพียงประการเดียวในการดำเนินการในทำนองนี้ก็คือการปกป้องเสรีภาพในการพูดที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประชาธิปไตย
(2) ทฤษฎีว่าด้วยการค้นหาสัจธรรม (truth) นักทฤษฎีในกลุ่มนี้ให้เหตุผลว่าเสรีภาพในการพูดเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการค้นหาสัจธรรม การแข่งขันอย่างเสรีระหว่างความคิดต่างๆ จะนำมาซึ่งการค้นพบสัจธรรมต่างๆ
อย่างไรก็ตาม นักทฤษฎีในกลุ่มนี้บางคนก็ยอมรับว่า การแข่งขันใน "ตลาดแห่งความคิด" (marketplace of ideas) อาจจะลงท้ายด้วยชัยชนะของฝ่ายที่มีทรัพยากรแห่งการสื่อสารมากกว่า
อีกทั้งในหลายกรณี สมมติฐานที่ว่า "สัจธรรม" จะเป็นฝ่ายชนะนั้นอาจจะไม่จริงเสมอไป เพราะบ่อยๆ "ความไม่ถูกต้อง" ต่างๆ ย่อมจะปะปนมาด้วย ทว่าในที่สุดแล้วก็สรุปกันว่า ถึงจะไม่สมบูรณ์แบบเสียเลยทีเดียวนัก การปล่อยให้รัฐบาลเป็นผู้กำหนดว่าอะไรคือสัจธรรมหรือไม่นั้นย่อมเป็นอันตรายมากกว่า
(3) ทฤษฎีว่าด้วยความก้าวหน้าแห่งตัวตน (autonomy) นักทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่าเสรีภาพในการพูดมีคุณค่าในฐานะที่เป็น "เครื่องมือ" สำหรับการ "นิยามตนเอง" นั่นก็คือ การใช้เสรีภาพแห่งการพูดจะช่วยให้มนุษย์สามารถค้นพบจิตวิญญาณของตนเองได้ว่าตัวตนที่แท้จริงของตนเองคืออะไร เช่น การกล่าวคำปราศรัยเพื่อต่อต้านสงครามหรือนโยบายบางชนิดของรัฐบาลคือลู่ทางที่จะช่วยให้มนุษย์คนนั้นๆ ค่อยๆ เติบโตขึ้นจนรู้ว่าตัวตนของตนคืออะไร ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้เขาเติบโตขึ้นในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งอย่างสมบูรณ์ขึ้น เสรีภาพแห่งการพูดในแง่นี้รวมถึงการคุ้มครองกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองโดยตรงอย่างเช่นศิลปะต่างๆ ด้วย และ
(4) การเสริมสร้างความทนทานต่อความแตกต่าง (tolerance) ในวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่แท้จริง ความทนทานต่อความแตกต่างถือได้ว่าเป็นหลักการเบื้องต้นชนิดหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ทางสังคมชนิดใด ลงท้ายแล้ว สมาชิกของสังคมประชาธิปไตยต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับความแตกต่างให้ได้
ในแง่ของเสรีภาพในการพูด หน้าที่อย่างหนึ่งของสมาชิกดังกล่าวก็คือการให้ความคุ้มครองแก่การพูดที่ไม่ค่อยมีใครเห็นชอบด้วยมากนัก (unpopular speech) ความทนทานอย่างนี้คือ "ต้นแบบ" ที่จะสนับสนุนให้ความทนทานต่างๆ บังเกิดขึ้นทั่วทั้งสังคม
เนื่องจากเสรีภาพในการพูดที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ใช่อะไรที่มีความหมายชัดเจนในตัวมันเองสำหรับคนทั่วไปนัก อีกทั้งขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมทางความคิดว่าด้วยเสรีภาพต่างๆ ในประวัติศาสตร์ทางสังคมของเรานั้นก็เป็นอีกสายพันธุ์หนึ่ง ใครๆ จึงมักจะพากันตีความความหมายของเสรีภาพในการพูดกันเอาเองตามความสะดวกของตน ยังผลให้พัฒนาการของเสรีภาพในการพูดในบ้านเราขยักขย่อน หันรีหันขวาง ไม่ค่อยไปไหนไกลจริงๆ สักที
ความสำเร็จและความก้าวหน้าใดๆ เกี่ยวกับเสรีภาพในการพูดที่เราได้ลิ้มรสกันอยู่ในทุกวันนี้ ล้วนเป็นผลลัพธ์จากความกล้าหาญของบบรรดาผู้นำที่มองการณ์ไกลในสื่อมวลชน ปัญญาชนอิสระ นักการเมืองน้ำดี และ "คนเล็กๆ" ที่ตั้งหน้าตั้งตาต่อสู้กับความไม่ถูกต้องที่ตนเองต้องพานพบเพราะไม่เหลือทางเลือกอื่นให้เขาแล้วทั้งสิ้น
ต่อไปนี้ หากเราพยายามทำความเข้าใจกับขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับเสรีภาพในการพูดตามสายพันธุ์ฝรั่ง (อันเป็นที่มาของปรัชญาการปกครองของเราในปัจจุบัน) ให้มากขึ้นอีกสักหน่อย บางทีเราอาจจะพร้อมใจกันปกป้องเสรีภาพในการพูดใดๆ ของใครๆ ก็ตามที่ท้าทาย "ทรราชของเสียงส่วนใหญ่" กันมากกว่านี้
ในช่วงที่เป็นผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาลสี่ปีแรก เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมักจะแสดงความคิดเห็นอย่างมีอารมณ์บ่อยๆ ในทิศทางที่ไม่ค่อยชื่นชอบเสรีภาพในการพูด (freedom of speech) อันหมายถึงเสรีภาพในการแสดงออกของสื่อประเภทต่างๆ
นอกจากนี้ วงการสื่อยังตกเป็นเหยื่อของกิจกรรมหลายชนิดนับตั้งแต่การกดดันให้นักข่าวบางคนต้องลดบทบาทลง การหมายหัวนักข่าวทั้งชาวไทยและต่างประเทศด้วยกลเม็ดต่างๆ มากมาย อาทิ การระบุชื่อในลักษณะของการประณามในที่สาธารณะ การอธิบายว่าการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลคือการแสดงออกของการไม่รักชาติ ตลอดทั้งใช้งบประมาณด้านการโฆษณาเชิงพาณิชย์เป็นเครื่องมือในการต่อรองกับสื่อ เพื่อให้ปรับปรุงนโยบายการผลิตและเผยแพร่ข่าวและความคิดเห็นให้เป็นมิตรกับฝ่ายรัฐบาลมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
ครั้นเมื่อพรรคไทยรักไทยได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น แทนที่ความมั่นใจในระดับใหม่ที่บังเกิดขึ้นจะทำให้พรรคการเมืองนี้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของสังคมเปิดมากขึ้น ทว่ากระบวนทัศน์แบบเดิมๆ กลับได้รับการสานต่อไปอย่างไม่หยุดหย่อน ตัวอย่างเช่น ความไม่ชอบมาพากลในคำสั่งปิดเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงกับการทำงานของสถานีวิทยุกระจายเสียง FM 92.25 Megahertz เมื่อไม่กี่วันมานี้ อันนับได้ว่าเป็นการเปิดสงครามใน "ดินแดนแห่งเสรีภาพ" ด้วย "เหตุผลทางเทคนิค" ซึ่งนักประชาธิปไตยไม่ว่าในที่ไหนๆ ต่างก็ไม่สามารถยอมรับได้ รวมทั้งสมาชิกวุฒิสภาหลายท่าน เป็นต้น (ไทยโพสต์ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2548)
นอกจากนี้ ถึงแม้จะเป็น "คนละเรื่องเดียวกัน" การที่พรรคไทยรักไทยใช้อำนาจออกคำสั่งให้สมาชิกของพรรคผู้มีที่นั่งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรให้ลงคะแนนเสียงไว้วางใจนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ "ก่อน" วันที่จะถูกพรรคฝ่ายค้านอภิปรายอย่างเอิกเกริก ซึ่งยังผลให้ผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองที่รู้เรื่องดีได้เกิดความตระหนกในระดับของ "อหังการแห่งอำนาจ" (arrogance of power) ที่ขี้เกียจคำนึงถึงแม้กระทั่งมารยาทเบื้องต้นทางการเมือง
ทั้งนี้ ยังไม่ต้องพูดถึง "เสียงแห่งสติสัมปชัญญะ" จาก "ผู้เฒ่าทางการเมือง" อย่างนายเสนาะ เทียนทอง ผู้ (เคย) มีตำแหน่งสูงถึงขนาดเป็น "ประธานคณะที่ปรึกษา" ของพรรคไทยรักไทย ผู้อึดอัดกับการบีบคั้นต่างๆ จนเป็นเหตุให้เขากลายเป็น "ขบถ" ของพรรคไทยรักไทย อันเป็นปรากฏการณ์ที่ยังไม่มีคำอธิบายเกี่ยวกับที่มาที่ไปอย่างแม่นยำนัก
ยิ่งไปกว่านี้ หลังจากการอภิปราย ทั้งๆ ที่ประจักษ์แก่ทุกคนที่ได้ดูการถ่ายทอดโทรทัศน์ว่านายสุริยะไม่ได้ตอบคำถามสำคัญๆ ของพรรคฝ่ายค้าน มิหนำซ้ำ เขายังนำบันทึกที่รู้กันดีว่าเป็น "โพย" ที่เขียนขึ้นมาโดยคณะ "ที่ปรึกษา" ขึ้นมาอ่านอย่างทื่อๆ โดยไม่สนใจว่าเนื้อหาของมันจะตอบสนองข้อกังขาของผู้อภิปรายในนามของพรรคฝ่ายค้านหรือไม่
ทว่าลงท้ายแล้ว ทั้งๆ ที่สื่อมวลชนแทบทั้งหมดล้วนลงมติว่านายสุริยะสอบไม่ผ่านการอภิปราย (The Nation, June 29, 2005) อีกทั้งสำนักสำรวจความคิดเห็นสองแห่งสามารถสรุปในทิศทางเดียวกันได้ว่าประชาชนไม่ไว้วางใจนายสุริยะ โดยประชาชนมากถึงร้อยละ 84 เชื่อว่ามีการโกงในการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิด CTX 9000 จริง ถึงขนาดที่ลงมติว่านายสุริยะควรจะถูกปลดจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2548) นายสุริยะก็ยังได้รับการลงคะแนนเสียงจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคไทยรักไทยอย่างเกือบเป็นเอกฉันท์ อันถือว่าเป็นการสวนกระแสความรู้สึกของสื่อมวลชนและประชาชนอย่างรุนแรง
จริงๆ แล้ว "ทรราชของเสียงส่วนใหญ่" มักจะหมายถึงปรากฏการณ์ที่สาธารณมติมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อันเป็นผลลัพธ์จากลักษณะพิเศษทางจิตวิทยาชุดหนึ่ง อันมักจะก่อรูปขึ้นจากการเมืองประชาธิปไตยที่อาศัยระบบ "หนึ่งคน หนึ่งเสียง" ซึ่งโดยสาระสำคัญแล้วมักจะก่อให้เกิดระบบการยัดเยียดลัทธิปฏิบัติตามกัน (conformism) นั่นก็คือ ประชาชนจำนวนมากมักจะละทิ้งความรับผิดชอบในการเข้าร่วมในการอภิปรายทางการเมือง แล้วก็ยอมรับความคิดเห็นของบุคคลอื่น เช่น ผู้นำพรรคการเมือง มาเป็นของตนอย่างง่ายๆ โดยปฏิเสธที่จะมีความคิดอิสระที่เป็นของตนเอง
ในทัศนะของอเล็กซิส เดอ ทอกเกอวิลล์ (Alexis de Tocqueville) ศาสดาพยากรณ์ทางทฤษฎีแห่งประชาธิปไตยอเมริกัน วัฒนธรรมประชาธิปไตยมักจะมี "ความทนทาน" ต่อความคิดเห็นที่แตกต่างไม่มากนัก ทั้งนี้ ในสังคมที่มีรูปแบบเก่าแก่กว่าที่ปกครองโดยขุนนางกลับให้ความสำคัญกับสาธารณมติ (public opinion) มากกว่า เพราะเชื่อกันว่าสาธารณมติเป็น "ของแท้" ฉะนั้น จึงถือกันว่ามีความทรงสิทธิ์ในทางศีลธรรมเป็นอย่างมาก
ฉะนั้น เดอ ทอกเกอวิลล์จึงสรุปได้ว่าในสังคมประชาธิปไตย คำพิพากษาสำหรับ "คนนอกคอก" จะหนักหน่วงกว่าสังคมที่ปกครองโดยขุนนาง เพราะในสังคมขุนนาง ถึงคุณจะถูกทรมานและลงโทษ จิตวิญญาณของคุณก็ยังหนีไปได้ ทว่าในสังคมประชาธิปไตย "ร่างกายเป็นอิสระ ทว่าจิตวิญญาณกลับถูกกักขัง"
ด้วยประการฉะนี้ เมื่อพิจารณาจากคำอุปมาอุปไมยของเขาที่ว่าตนเองถูกขังอยู่ในคุกพรรคไทยรักไทย คุณเสนาะ เทียนทองจึงเปรียบเสมือนเป็นลูกศิษย์ของอเล็กซิส เดอ ทอกเกอวิลล์ นักทฤษฎีประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลกท่านหนึ่งนั่นแล
ทว่าสำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองไทยดังที่อ้างถึงข้างต้น ดูเหมือนว่า "ทรราชของเสียงส่วนใหญ่" นั้นจะหมายถึงการที่พรรคไทยรักไทยมีความเชื่อว่าตนเองเป็นผู้แทนของเสียงส่วนใหญ่ จนกระทั่งเกิดความเชื่อเพี้ยนๆ ขึ้นมาเองว่าไม่ว่าตนจะทำอะไรก็ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของ "เสียงส่วนใหญ่" ไปโดยอัตโนมัติ ด้วยเหตุนี้ พรรคไทยรักไทยจึงดูเหมือนว่าไม่ค่อยรู้ร้อนรู้หนาวกับความรู้สึกของสื่อมวลชนหรือผลการสำรวจความคิดเห็นของสำนักต่างๆ สักเท่าไรนัก
ในบริบทอย่างนี้ ความเข้าใจที่เป็นระบบและแม่นยำขึ้นเกี่ยวกับความสำคัญของเสรีภาพในการพูดตามนัยของปรัชญาตะวันตก รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างเสรีภาพในการพูดกับมิติอื่นๆ ของชีวิตทางสังคม อาจจะช่วยให้เราร่วมกันสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยได้ดีขึ้นก็ได้
เกี่ยวกับ "ทรราชของเสียงส่วนใหญ่" นั้น เดอ ทอกเกอวิลล์ได้ชี้ให้เห็นว่า "ในตัวมันเอง อำนาจที่ไร้ขีดจำกัดไม่มีอะไรดีและเป็นอันตรายมาก มนุษย์ไม่มีความชำนัญในอันที่จะใช้มันด้วยความระมัดระวัง" จะมีก็แต่พระเจ้า ผู้เปี่ยมไปด้วยความบริบูรณ์แบบเท่านั้น ที่มีความพร้อมที่จะใช้อำนาจอย่างนั้น ไม่ว่าใครก็ตามที่สามารถออกคำสั่งเด็ดขาดได้ นั่นหมายความว่า "เชื้อแห่งทรราช" กำลังก่อรูปขึ้นแล้ว
เนื่องจากมองเห็น "เชื้อแห่งทรราช" นี่เอง เดอ ทอกเกอวิลล์จึงให้ความสำคัญแก่การป้องกันการกดขี่ในนามของเสียงส่วนใหญ่บางกลุ่ม นอกจากนี้ นักทฤษฎีผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ยังเน้นการให้ความคุ้มครองฝ่ายที่อ่อนแอให้รอดพ้นจากฝ่ายที่แข็งแรงกว่า อันยังผลให้ท่านย้ำนักย้ำหนาถึงความสำคัญของการให้เสรีภาพแก่บุคคล โดยยืนยันว่าเสรีภาพในการพูดที่มากเกินไปนั้น ยังไม่น่ากลัวเท่ากับ "ความมั่นคงที่ไม่เพียงพอ" ในการต่อสู้กับทรราช
นับตั้งแต่ยุคเดอ ทอกเกอวิลล์ นักทฤษฎีประชาธิปไตยคนแล้วคนเล่าจึงได้ช่วยกันคนละไม้ละมือคิดค้นทฤษฎีว่าด้วยเสรีภาพแห่งการพูดขึ้นมาเสริมเพื่ออุปถัมภ์ให้วัฒนธรรมประชาธิปไตยรุ่งเรืองขึ้น การพัฒนาทฤษฎีกลุ่มนี้มีองค์ประกอบสำคัญๆ สี่ด้านด้วยกัน
(1) ทฤษฎีว่าด้วยการปกครองตนเอง (self-governance) นักทฤษฎีประชาธิปไตยทั้งหลายมีความเชื่อร่วมกันว่าเสรีภาพในการพูดเป็นหลักการพื้นฐานอย่างหนึ่งของสังคมประชาธิปไตย เพราะการพูดทำให้เกิดการตัดสินใจได้ดีขึ้นว่า ใครคือบุคคลที่เหมาะสมที่สุดใน ช่วงที่มีการเลือกตั้ง นอกจากนี้ การพูดยังเป็นกลไกในการนำเสนอความคิดเพื่อส่งอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายต่อรัฐบาลอีกด้วย
ยิ่งไปกว่านี้ เสรีภาพในการพูดในแง่ของการวิพากษ์วิจารณ์คือเครื่องมือสำคัญในตรวจสอบนักการเมือง อันอาจจะนำไปสู่การถอดถอนบุคคลบางคนที่ไม่เหมาะสมออกจากตำแหน่งต่างๆ ได้ หากปราศจากการแสดงออกซึ่ง "เสียงแห่งความไม่พอใจ" เพราะความหวาดกลัว รัฐบาลก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรตอบสนองความต้องการของประชาชนอีกต่อไป นึกจะทำอะไรก็ทำได้ โดยไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อประชาชนอีกต่อไป
ฉะนั้น ผู้ปกป้องเสรีภาพในการพูดทุกคนมักจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า รัฐบาลใดๆ ก็ตามที่เพียรพยายามกำจัดเสรีภาพในการพูดนั้นย่อมต้องการอำนาจเบ็ดเสร็จเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ (accountability) นั่นเอง
กระนั้นก็ตาม ในบางกรณี การจำกัดเสรีภาพในการพูดก็มีเหตุผลรองรับเหมือนกัน เช่น การเผยแพร่ความคิดเห็นของฝ่ายนาซีในเยอรมนีในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นต้น เหตุผลเพียงประการเดียวในการดำเนินการในทำนองนี้ก็คือการปกป้องเสรีภาพในการพูดที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประชาธิปไตย
(2) ทฤษฎีว่าด้วยการค้นหาสัจธรรม (truth) นักทฤษฎีในกลุ่มนี้ให้เหตุผลว่าเสรีภาพในการพูดเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการค้นหาสัจธรรม การแข่งขันอย่างเสรีระหว่างความคิดต่างๆ จะนำมาซึ่งการค้นพบสัจธรรมต่างๆ
อย่างไรก็ตาม นักทฤษฎีในกลุ่มนี้บางคนก็ยอมรับว่า การแข่งขันใน "ตลาดแห่งความคิด" (marketplace of ideas) อาจจะลงท้ายด้วยชัยชนะของฝ่ายที่มีทรัพยากรแห่งการสื่อสารมากกว่า
อีกทั้งในหลายกรณี สมมติฐานที่ว่า "สัจธรรม" จะเป็นฝ่ายชนะนั้นอาจจะไม่จริงเสมอไป เพราะบ่อยๆ "ความไม่ถูกต้อง" ต่างๆ ย่อมจะปะปนมาด้วย ทว่าในที่สุดแล้วก็สรุปกันว่า ถึงจะไม่สมบูรณ์แบบเสียเลยทีเดียวนัก การปล่อยให้รัฐบาลเป็นผู้กำหนดว่าอะไรคือสัจธรรมหรือไม่นั้นย่อมเป็นอันตรายมากกว่า
(3) ทฤษฎีว่าด้วยความก้าวหน้าแห่งตัวตน (autonomy) นักทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่าเสรีภาพในการพูดมีคุณค่าในฐานะที่เป็น "เครื่องมือ" สำหรับการ "นิยามตนเอง" นั่นก็คือ การใช้เสรีภาพแห่งการพูดจะช่วยให้มนุษย์สามารถค้นพบจิตวิญญาณของตนเองได้ว่าตัวตนที่แท้จริงของตนเองคืออะไร เช่น การกล่าวคำปราศรัยเพื่อต่อต้านสงครามหรือนโยบายบางชนิดของรัฐบาลคือลู่ทางที่จะช่วยให้มนุษย์คนนั้นๆ ค่อยๆ เติบโตขึ้นจนรู้ว่าตัวตนของตนคืออะไร ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้เขาเติบโตขึ้นในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งอย่างสมบูรณ์ขึ้น เสรีภาพแห่งการพูดในแง่นี้รวมถึงการคุ้มครองกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองโดยตรงอย่างเช่นศิลปะต่างๆ ด้วย และ
(4) การเสริมสร้างความทนทานต่อความแตกต่าง (tolerance) ในวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่แท้จริง ความทนทานต่อความแตกต่างถือได้ว่าเป็นหลักการเบื้องต้นชนิดหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ทางสังคมชนิดใด ลงท้ายแล้ว สมาชิกของสังคมประชาธิปไตยต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับความแตกต่างให้ได้
ในแง่ของเสรีภาพในการพูด หน้าที่อย่างหนึ่งของสมาชิกดังกล่าวก็คือการให้ความคุ้มครองแก่การพูดที่ไม่ค่อยมีใครเห็นชอบด้วยมากนัก (unpopular speech) ความทนทานอย่างนี้คือ "ต้นแบบ" ที่จะสนับสนุนให้ความทนทานต่างๆ บังเกิดขึ้นทั่วทั้งสังคม
เนื่องจากเสรีภาพในการพูดที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ใช่อะไรที่มีความหมายชัดเจนในตัวมันเองสำหรับคนทั่วไปนัก อีกทั้งขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมทางความคิดว่าด้วยเสรีภาพต่างๆ ในประวัติศาสตร์ทางสังคมของเรานั้นก็เป็นอีกสายพันธุ์หนึ่ง ใครๆ จึงมักจะพากันตีความความหมายของเสรีภาพในการพูดกันเอาเองตามความสะดวกของตน ยังผลให้พัฒนาการของเสรีภาพในการพูดในบ้านเราขยักขย่อน หันรีหันขวาง ไม่ค่อยไปไหนไกลจริงๆ สักที
ความสำเร็จและความก้าวหน้าใดๆ เกี่ยวกับเสรีภาพในการพูดที่เราได้ลิ้มรสกันอยู่ในทุกวันนี้ ล้วนเป็นผลลัพธ์จากความกล้าหาญของบบรรดาผู้นำที่มองการณ์ไกลในสื่อมวลชน ปัญญาชนอิสระ นักการเมืองน้ำดี และ "คนเล็กๆ" ที่ตั้งหน้าตั้งตาต่อสู้กับความไม่ถูกต้องที่ตนเองต้องพานพบเพราะไม่เหลือทางเลือกอื่นให้เขาแล้วทั้งสิ้น
ต่อไปนี้ หากเราพยายามทำความเข้าใจกับขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับเสรีภาพในการพูดตามสายพันธุ์ฝรั่ง (อันเป็นที่มาของปรัชญาการปกครองของเราในปัจจุบัน) ให้มากขึ้นอีกสักหน่อย บางทีเราอาจจะพร้อมใจกันปกป้องเสรีภาพในการพูดใดๆ ของใครๆ ก็ตามที่ท้าทาย "ทรราชของเสียงส่วนใหญ่" กันมากกว่านี้