รายงาน
ศูนย์ข่าวเชียงใหม่
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ได้ วางกรอบยุทธศาสตร์ภาคเหนือรับ ครม.สัญจรที่พะเยา ขีดเส้นกลุ่มจังหวัดเดินสู่ศูนย์กลางการค้า การท่องเที่ยว การลงทุน GMS/BIMSTEC ให้เชียงใหม่เป็น hub ด้านโครงข่ายคมนาคมทางอากาศ พัฒนาเชียงราย น่าน พะเยา เป็น Gateway เพิ่มศักยภาพระบบ Logistic พร้อมตั้ง Craft Design Service Center/สร้าง LANNA TREND ดันหัตถอุตสาหกรรมล้านนา
ภาคเหนือตอนบน หรือ "กลุ่มล้านนา" ประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน เชียราย ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน จากการร่วมกันจัดทำยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด ตามนโยบายการบริหารงานแบบูรณาการได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน คือ "ประตูทองการค้าสู่โลก โดดเด่นวัฒนธรรมล้านนา สังคมน่าอยู่ทุกถิ่นที่"
ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2547 จังหวัดในกลุ่มล้านนา ได้รับอนุมัติงบกลาง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ของจังหวัดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 233.103 ล้านบาท แยกตามกลุ่มโครงการตามยุทธศาสตร์ได้เป็น ยุทธศาสตร์เชิงรุก 28.64 ล้านบาท ยุทธศาสตร์ปรับตัว 171.47 ล้านบาท และยุทธศาสตร์ยั่งยืน 32.98 ล้านบาท
โดยมีโครงการกระจายในพื้นที่ 8 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 69 โครงการ แยกตามจังหวัดได้เป็น 1.จังหวัดเชียงใหม่ 21 โครงการ งบประมาณ 34.525 ล้านบาท 2.จังหวัดลำปาง 8 โครงการ งบประมาณ 32.44 ล้านบาท 3.จังหวัดแม่ฮ่องสอน 7 โครงการ งบประมาณ 31.02 ล้านบาท 4.จังหวัดลำพูน 6 โครงการ งบประมาณ 29.35 ล้านบาท 5.จังหวัดเชียงราย 3 โครงการ งบประมาณ 23.87 ล้านบาท 6.จังหวัดพะเยา 18 โครงการ งบประมาณ 32.754 ล้านบาท 7.จังหวัดแพร่ 3 โครงการ งบประมาณ 28.10 ล้านบาท และ 8.จังหวัดน่าน 3 โครงการ งบประมาณ 21.04 ล้านบาท ซึ่งผลการดำเนินการพบว่ากลุ่มจังหวัดล้านนาส่วนใหญ่มีผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย
สำหรับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของกลุ่มจังหวัดล้านนา เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดในช่วงต่อๆ ไปนั้น ได้มีการวิเคราะห์ว่ากลุ่มจังหวัดล้านนามีจุดแข็ง ได้แก่
1.สภาพที่ตั้งที่เป็นศูนย์กลางเชื่อมการพัฒนาเศรษฐกิจ มีความพร้อมด้านต่างๆ และสามารถเชื่อมโยงนานาชาติได้โดยตรง
2.ศักยภาพการผลิตมีความหลากหลาย โดยมีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงความเจริญ การค้า การลงทุน เชียงรายเป็นประตูการค้าทั้งทางบกและทางน้ำ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน เป็นประตูการค้าทางบก ลำพูนเป็นฐานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการส่งออก แม่ฮ่องสอน น่าน และแพร่ เป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์ ป่าไม้และขุนเขาสวยงาม ลำปางเป็นฐานอุตสาหกรรมเซรามิก และพะเยา เป็นแหล่งประมงน้ำจืด นอกจากนี้กลุ่มจังหวัดล้านนายังมีการพัฒนาการเกษตรที่หลากหลายด้วย
3.ความพร้อมด้านโครงสร้างการบริการพื้นฐานทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ที่พร้อมรองรับการพัฒนา อาทิ มีโครงข่ายคมนาคมทั้งทางอากาศและทางบก มีสนามบินนานาชาติที่เชื่อมโยงกับกรุงเทพฯ และต่างประเทศโดยตรง มีสถาบันการศึกษาระดับสูง สถาบันการแพทย์และสาธารณสุขที่มีมาตรฐานระดับสากล และสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง( GMS) รวมทั้งศูนย์วิจัยด้านการเกษตรที่สูงและเซรามิก
4.มีทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ล้านนา ที่มีการสืบทอดมายาวนาน รวมทั้งประเพณีวัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆ และโบราณสถาน
5.ทรัพยากรท่องเที่ยวมีความหลากหลาย ทั้งด้านธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวที่สร้างใหม่ รวมทั้งกิจกรรมต่อเนื่อง
6.สภาพสังคมที่สงบสุข จากการที่ชุมชนมีความพร้อมและความเข้มแข็งในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในรูปของประชาสังคม ประชาชนในพื้นที่มีลักษณะที่เป็นมิตร อ่อนโยน มีทักษะในงานฝีมือ สามารถสร้างงานหัตถกรรมอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์โอทอป เอสเอ็มอี และภาคธุรกิจบริการ
อย่างไรก็ตาม ยังพบว่ากลุ่มจังหวัดล้านนา มีสิ่งที่เป็นจุดอ่อน ได้แก่
1.โครงสร้างประชากรวัยแรงงานมีสัดส่วนลดลง โดยมีการเคลื่อนย้ายแรงงานออกนอกพื้นที่ มีการย้ายถิ่นของแรงงานต่างถิ่นและต่างด้าว และแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ
2.สถาบันสังคมอ่อนแอ ค่านิยม จริยธรรม และพฤติกรรมของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ นำไปสู่ปัญหาสังคม และปัญหาสุขภาพ
3.การบริหารจัดการด้อยประสิทธิภาพ ทั้งด้านทรัพยากร เศรษฐกิจ สังคม และพื้นที่ชายแดน ได้แก่ ขาดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,ขาดการประสานข้อมูลด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนของกลุ่มจังหวัด,ขาดการเตรียมความพร้อมที่จะรองรับการขยายตัวทางการค้าจากประเทศจีน,ขาดการพัฒนาระบบ Logistic ที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุน,ขาดระบบการให้ความรู้เกษตรกรในการจัดการคุณภาพการผลิต(GAP) การตลาด และผลกระทบFTA และการจัดการกระบวนการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าการผลิต และขาดการจัดระเบียบทางด้านสังคมของเมืองชายแดน
4.มีความเหลื่อมล้ำรายได้ การเข้าถึงบริการของรัฐ และการใช้เทคโนโลยี ระหว่างเมืองและชนบทค่อนข้างมาก เนื่องจากความเจริญกระจุกตัวอยู่ในเขตเมือง
5.สภาพภูมิประเทศและพื้นที่ชายแดน เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขาสูง พื้นที่ราบมีจำกัด การขยายการผลิตทางการเกษตรในบางพื้นที่จึงไม่สามารถทำได้มากนัก ขณะที่ชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าเป็นแนวยาวและประเทศลาวบางส่วน ทำให้มักมีปัญหาความมั่นคงบริเวณชายแดน ปัญหายาเสพติด ปัญหาแรงงานต่างด้าว และปัญหาการค้ามนุษย์
6.บุคลากรยังมีจุดอ่อนด้านการศึกษาและเทคโนโลยี
กรอบพัฒนาล้านนา
ข้อเสนอยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดล้านนา มีวิสัยทัศน์ คือ "ประตูทองการค้าสู่โลก โดดเด่นวัฒนธรรมล้านนา สังคมน่าอยู่ทุกถิ่นที่" โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์หลักแบ่งได้เป็น 4 ประเด็น ได้แก่
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างฐานเศรษฐกิจใหม่
โดยมีกลยุทธ์การดำเนินงานหลัก คือ
1)พัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์/ไอซีที และธุรกิจบริการด้านสุขภาพเป็นแหล่งรายได้ใหม่ ได้แก่ การพัฒนาซอฟต์แวร์เฉพาะด้านที่มีความได้เปรียบ การพัฒนา Knowledge worker สู่ระดับสากล และการพัฒนาคุณภาพของบริการพื้นฐานโทรคมนาคม
2)พัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Park) ได้แก่ การจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์และเครือข่ายเชื่อมโยงอุตสาหกรรมท้องถิ่น และการสร้างนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าการผลิต
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาให้กลุ่มจังหวัดเป็นศูนย์กลางด้านการค้า การลงทุน ท่องเที่ยว และบริการของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง( GMS) และโครงการความร่วมมือทางเศบังกลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย พม่า ไทย (BIMSTEC) และประเทศอื่นๆ
โดยมีกลยุทธ์การดำเนินงานหลัก คือ
1)พัฒนาเชียงใหม่เป็น hub ด้านโครงข่ายคมนาคมทางอากาศ พัฒนาเชียงราย น่าน พะเยา เป็น Gateway เชื่อมโยง GMS/BIMSTEC และตลาดโลก ได้แก่ การพัฒนาโครงข่ายการบริการพื้นฐานคมนาคม/การค้า และการสนับสนุนการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระดับพื้นที่
2)พัฒนาระบบ Logistic รองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจการค้าการลงทุน ได้แก่ การศึกษาและวางแผนพัฒนาระบบ Logistic ของกลุ่มจังหวัดที่มีความเชื่อมโยงกับระบบ Logistic ของประเทศ
3)พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเป็นฐานเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ การเร่งดำเนินการตามแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จังหวัดเชียงราย และการสร้างนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าของภาคการผลิต
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับฐานเศรษฐกิจเดิม
โดยกลยุทธ์การดำเนินการหลัก คือ
1)ส่งเสริมเกษตรปลอดภัยและพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ได้แก่ การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ การสนับสนุนการผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อการส่งออก(ครัวโลก) และการสร้างกระบวนการให้ความรู้แก่เกษตรกรด้านการตลาดและผลกระทบ FTA
2)สร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมและควบคุมมลภาวะ ได้แก่ การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ ให้มีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น และการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเซรามิก
3)ส่งเสริมและพัฒนาหัตถอุตสาหกรรมที่มีเอกลักษณ์ล้านนา ให้มีความโดดเด่นเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก ได้แก่ การพัฒนารูปแบบแฟชั่นล้านนาสู่สากล
4)พัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เชื่อมโยงพื้นที่และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ได้แก่ การพัฒนามาตรฐานบริการและบุคลากรด้านการท่องเที่ยวระดับสากล การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเดิมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมใหม่ การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัด และการสร้างนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าของภาคการผลิต
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 รักษาฐานทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมล้านนาและทางสังคม สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โดยมีกลยุทธ์การดำเนินการหลัก คือ
1)ดำรงความเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ได้แก่ การเร่งฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แบการเร่งรัดการจัดระบบการบริหารจัดการทรัพยากรในลุ่มน้ำสายหลักและลุ่มน้ำสาขา
2)ดำรงฐานวัฒนธรรมล้านนาและเสริมสร้างทุนทางสังคมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น การส่งเสริมการสืบค้นภูมิปัญญา/อัตลักษณ์ท้องถิ่น และการนำทุนวัฒนธรรมท้องถิ่นมาสร้างคุณค่าทางสังคม และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
3)พัฒนาทรัพยากรมนุษย์รองรับเศรษฐกิจฐานความรู้ ได้แก่ ด้านการลงทุนระหว่างประเทศ ภาษาต่างประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ ด้านไอซีทีพัฒนา Knowledge worker เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และฐานเศรษฐกิจเดิม และด้านองค์ความรู้ท้องถิ่น
4)เสริมสร้างความมั่นคงในชุมชนและพื้นที่ชายแดน ได้แก่ การจัดตั้งเครือข่ายในการเฝ้าระวังทางสังคมวัฒนธรรม การส่งเสริมฟื้นฟูคุณค่าของสถาบันครอบครัว การพัฒนาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาสังคม และเร่งรัดจัดระเบียบสังคมและผังเมืองชายแดน
สำหรับโครงการสำคัญของกลุ่มจังหวัดล้านนาที่จะดำเนินการร่วมกัน แบ่งเป็นโครงการด้านต่างๆ ประกอบด้วย
ด้านเศรษฐกิจ ที่แบ่งเป็นภาคอุตสาหกรรมได้แก่ 1.โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และเครือข่ายเชื่อมโยงครอบคลุมกลุ่มจังหวัดล้านนา และ 2.โครงการพัฒนาหัตถอุตสาหกรรมล้านนาสู่ตลาดโลก(ตั้ง Craft Design Service Center/สร้าง LANNA TREND) ส่วนภาคการเกษตร ได้แก่ 1.โครงการลำไยปลอดภัยสู่ตลาดโลก 2.โครงพัฒนาข้าวหอมมะลิอินทรีย์สู่ตลาดโลก และโครงการพัฒนาสมุนไพรล้านนาครบวงจร และภาคบริการ ได้แก่ โครงการพัฒนาธุรกิจบริการทางการแพทย์และสปาเพื่อสุขภาพ
ด้านสังคม ที่จะมุ่งเสริมสร้างทุนทางสังคมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ได้แก่ 1.โครงการสถาบันล้านนาศึกษาเพื่อการพัฒนา(ให้เป็นเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ สนับสนุนการวิจัย สืบค้นและต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนส่งเสริมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมล้านนา) 2.โครงการ Social Capital Mapping และ 3.โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและกระบวนการประชาสังคม
ด้านทรัพยากร ได้แก่ โครงการเร่งรัดระบบบริหารจัดการลุ่มน้ำหลัก และด้านบริหารจัดการ ได้แก่ โครงการศูนย์ข้อมูลยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด
รายงานข่าวแจ้งว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรนอกสถานที่อย่างเป็นทางการที่จังหวัดพะเยา ระหว่างวันที่ 13-14 มิถุนายน 48 แต่ละจังหวัดจะมีการเสนอแผนงานโครงการพัฒนาต่างๆ เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี โดยเป็นการเสนอในนามกลุ่มจังหวัดล้านนาที่ยึดเอาแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดเป็นกรอบเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ณะที่ตามกำหนดในช่วงเย็นวันที่ 13 มิถุนายน 48 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 (ฝ่ายเศรษฐกิจ) จะพบปะหารือกับภาคเอกชน 8 จังหวัดล้านนา ที่จังหวัดพะเยา เพื่อรับฟังข้อเสนอต่างๆ ด้วย
ศูนย์ข่าวเชียงใหม่
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ได้ วางกรอบยุทธศาสตร์ภาคเหนือรับ ครม.สัญจรที่พะเยา ขีดเส้นกลุ่มจังหวัดเดินสู่ศูนย์กลางการค้า การท่องเที่ยว การลงทุน GMS/BIMSTEC ให้เชียงใหม่เป็น hub ด้านโครงข่ายคมนาคมทางอากาศ พัฒนาเชียงราย น่าน พะเยา เป็น Gateway เพิ่มศักยภาพระบบ Logistic พร้อมตั้ง Craft Design Service Center/สร้าง LANNA TREND ดันหัตถอุตสาหกรรมล้านนา
ภาคเหนือตอนบน หรือ "กลุ่มล้านนา" ประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน เชียราย ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน จากการร่วมกันจัดทำยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด ตามนโยบายการบริหารงานแบบูรณาการได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน คือ "ประตูทองการค้าสู่โลก โดดเด่นวัฒนธรรมล้านนา สังคมน่าอยู่ทุกถิ่นที่"
ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2547 จังหวัดในกลุ่มล้านนา ได้รับอนุมัติงบกลาง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ของจังหวัดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 233.103 ล้านบาท แยกตามกลุ่มโครงการตามยุทธศาสตร์ได้เป็น ยุทธศาสตร์เชิงรุก 28.64 ล้านบาท ยุทธศาสตร์ปรับตัว 171.47 ล้านบาท และยุทธศาสตร์ยั่งยืน 32.98 ล้านบาท
โดยมีโครงการกระจายในพื้นที่ 8 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 69 โครงการ แยกตามจังหวัดได้เป็น 1.จังหวัดเชียงใหม่ 21 โครงการ งบประมาณ 34.525 ล้านบาท 2.จังหวัดลำปาง 8 โครงการ งบประมาณ 32.44 ล้านบาท 3.จังหวัดแม่ฮ่องสอน 7 โครงการ งบประมาณ 31.02 ล้านบาท 4.จังหวัดลำพูน 6 โครงการ งบประมาณ 29.35 ล้านบาท 5.จังหวัดเชียงราย 3 โครงการ งบประมาณ 23.87 ล้านบาท 6.จังหวัดพะเยา 18 โครงการ งบประมาณ 32.754 ล้านบาท 7.จังหวัดแพร่ 3 โครงการ งบประมาณ 28.10 ล้านบาท และ 8.จังหวัดน่าน 3 โครงการ งบประมาณ 21.04 ล้านบาท ซึ่งผลการดำเนินการพบว่ากลุ่มจังหวัดล้านนาส่วนใหญ่มีผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย
สำหรับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของกลุ่มจังหวัดล้านนา เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดในช่วงต่อๆ ไปนั้น ได้มีการวิเคราะห์ว่ากลุ่มจังหวัดล้านนามีจุดแข็ง ได้แก่
1.สภาพที่ตั้งที่เป็นศูนย์กลางเชื่อมการพัฒนาเศรษฐกิจ มีความพร้อมด้านต่างๆ และสามารถเชื่อมโยงนานาชาติได้โดยตรง
2.ศักยภาพการผลิตมีความหลากหลาย โดยมีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงความเจริญ การค้า การลงทุน เชียงรายเป็นประตูการค้าทั้งทางบกและทางน้ำ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน เป็นประตูการค้าทางบก ลำพูนเป็นฐานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการส่งออก แม่ฮ่องสอน น่าน และแพร่ เป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์ ป่าไม้และขุนเขาสวยงาม ลำปางเป็นฐานอุตสาหกรรมเซรามิก และพะเยา เป็นแหล่งประมงน้ำจืด นอกจากนี้กลุ่มจังหวัดล้านนายังมีการพัฒนาการเกษตรที่หลากหลายด้วย
3.ความพร้อมด้านโครงสร้างการบริการพื้นฐานทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ที่พร้อมรองรับการพัฒนา อาทิ มีโครงข่ายคมนาคมทั้งทางอากาศและทางบก มีสนามบินนานาชาติที่เชื่อมโยงกับกรุงเทพฯ และต่างประเทศโดยตรง มีสถาบันการศึกษาระดับสูง สถาบันการแพทย์และสาธารณสุขที่มีมาตรฐานระดับสากล และสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง( GMS) รวมทั้งศูนย์วิจัยด้านการเกษตรที่สูงและเซรามิก
4.มีทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ล้านนา ที่มีการสืบทอดมายาวนาน รวมทั้งประเพณีวัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆ และโบราณสถาน
5.ทรัพยากรท่องเที่ยวมีความหลากหลาย ทั้งด้านธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวที่สร้างใหม่ รวมทั้งกิจกรรมต่อเนื่อง
6.สภาพสังคมที่สงบสุข จากการที่ชุมชนมีความพร้อมและความเข้มแข็งในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในรูปของประชาสังคม ประชาชนในพื้นที่มีลักษณะที่เป็นมิตร อ่อนโยน มีทักษะในงานฝีมือ สามารถสร้างงานหัตถกรรมอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์โอทอป เอสเอ็มอี และภาคธุรกิจบริการ
อย่างไรก็ตาม ยังพบว่ากลุ่มจังหวัดล้านนา มีสิ่งที่เป็นจุดอ่อน ได้แก่
1.โครงสร้างประชากรวัยแรงงานมีสัดส่วนลดลง โดยมีการเคลื่อนย้ายแรงงานออกนอกพื้นที่ มีการย้ายถิ่นของแรงงานต่างถิ่นและต่างด้าว และแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ
2.สถาบันสังคมอ่อนแอ ค่านิยม จริยธรรม และพฤติกรรมของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ นำไปสู่ปัญหาสังคม และปัญหาสุขภาพ
3.การบริหารจัดการด้อยประสิทธิภาพ ทั้งด้านทรัพยากร เศรษฐกิจ สังคม และพื้นที่ชายแดน ได้แก่ ขาดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,ขาดการประสานข้อมูลด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนของกลุ่มจังหวัด,ขาดการเตรียมความพร้อมที่จะรองรับการขยายตัวทางการค้าจากประเทศจีน,ขาดการพัฒนาระบบ Logistic ที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุน,ขาดระบบการให้ความรู้เกษตรกรในการจัดการคุณภาพการผลิต(GAP) การตลาด และผลกระทบFTA และการจัดการกระบวนการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าการผลิต และขาดการจัดระเบียบทางด้านสังคมของเมืองชายแดน
4.มีความเหลื่อมล้ำรายได้ การเข้าถึงบริการของรัฐ และการใช้เทคโนโลยี ระหว่างเมืองและชนบทค่อนข้างมาก เนื่องจากความเจริญกระจุกตัวอยู่ในเขตเมือง
5.สภาพภูมิประเทศและพื้นที่ชายแดน เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขาสูง พื้นที่ราบมีจำกัด การขยายการผลิตทางการเกษตรในบางพื้นที่จึงไม่สามารถทำได้มากนัก ขณะที่ชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าเป็นแนวยาวและประเทศลาวบางส่วน ทำให้มักมีปัญหาความมั่นคงบริเวณชายแดน ปัญหายาเสพติด ปัญหาแรงงานต่างด้าว และปัญหาการค้ามนุษย์
6.บุคลากรยังมีจุดอ่อนด้านการศึกษาและเทคโนโลยี
กรอบพัฒนาล้านนา
ข้อเสนอยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดล้านนา มีวิสัยทัศน์ คือ "ประตูทองการค้าสู่โลก โดดเด่นวัฒนธรรมล้านนา สังคมน่าอยู่ทุกถิ่นที่" โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์หลักแบ่งได้เป็น 4 ประเด็น ได้แก่
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างฐานเศรษฐกิจใหม่
โดยมีกลยุทธ์การดำเนินงานหลัก คือ
1)พัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์/ไอซีที และธุรกิจบริการด้านสุขภาพเป็นแหล่งรายได้ใหม่ ได้แก่ การพัฒนาซอฟต์แวร์เฉพาะด้านที่มีความได้เปรียบ การพัฒนา Knowledge worker สู่ระดับสากล และการพัฒนาคุณภาพของบริการพื้นฐานโทรคมนาคม
2)พัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Park) ได้แก่ การจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์และเครือข่ายเชื่อมโยงอุตสาหกรรมท้องถิ่น และการสร้างนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าการผลิต
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาให้กลุ่มจังหวัดเป็นศูนย์กลางด้านการค้า การลงทุน ท่องเที่ยว และบริการของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง( GMS) และโครงการความร่วมมือทางเศบังกลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย พม่า ไทย (BIMSTEC) และประเทศอื่นๆ
โดยมีกลยุทธ์การดำเนินงานหลัก คือ
1)พัฒนาเชียงใหม่เป็น hub ด้านโครงข่ายคมนาคมทางอากาศ พัฒนาเชียงราย น่าน พะเยา เป็น Gateway เชื่อมโยง GMS/BIMSTEC และตลาดโลก ได้แก่ การพัฒนาโครงข่ายการบริการพื้นฐานคมนาคม/การค้า และการสนับสนุนการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระดับพื้นที่
2)พัฒนาระบบ Logistic รองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจการค้าการลงทุน ได้แก่ การศึกษาและวางแผนพัฒนาระบบ Logistic ของกลุ่มจังหวัดที่มีความเชื่อมโยงกับระบบ Logistic ของประเทศ
3)พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเป็นฐานเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ การเร่งดำเนินการตามแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จังหวัดเชียงราย และการสร้างนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าของภาคการผลิต
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับฐานเศรษฐกิจเดิม
โดยกลยุทธ์การดำเนินการหลัก คือ
1)ส่งเสริมเกษตรปลอดภัยและพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ได้แก่ การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ การสนับสนุนการผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อการส่งออก(ครัวโลก) และการสร้างกระบวนการให้ความรู้แก่เกษตรกรด้านการตลาดและผลกระทบ FTA
2)สร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมและควบคุมมลภาวะ ได้แก่ การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ ให้มีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น และการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเซรามิก
3)ส่งเสริมและพัฒนาหัตถอุตสาหกรรมที่มีเอกลักษณ์ล้านนา ให้มีความโดดเด่นเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก ได้แก่ การพัฒนารูปแบบแฟชั่นล้านนาสู่สากล
4)พัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เชื่อมโยงพื้นที่และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ได้แก่ การพัฒนามาตรฐานบริการและบุคลากรด้านการท่องเที่ยวระดับสากล การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเดิมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมใหม่ การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัด และการสร้างนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าของภาคการผลิต
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 รักษาฐานทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมล้านนาและทางสังคม สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โดยมีกลยุทธ์การดำเนินการหลัก คือ
1)ดำรงความเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ได้แก่ การเร่งฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แบการเร่งรัดการจัดระบบการบริหารจัดการทรัพยากรในลุ่มน้ำสายหลักและลุ่มน้ำสาขา
2)ดำรงฐานวัฒนธรรมล้านนาและเสริมสร้างทุนทางสังคมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น การส่งเสริมการสืบค้นภูมิปัญญา/อัตลักษณ์ท้องถิ่น และการนำทุนวัฒนธรรมท้องถิ่นมาสร้างคุณค่าทางสังคม และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
3)พัฒนาทรัพยากรมนุษย์รองรับเศรษฐกิจฐานความรู้ ได้แก่ ด้านการลงทุนระหว่างประเทศ ภาษาต่างประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ ด้านไอซีทีพัฒนา Knowledge worker เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และฐานเศรษฐกิจเดิม และด้านองค์ความรู้ท้องถิ่น
4)เสริมสร้างความมั่นคงในชุมชนและพื้นที่ชายแดน ได้แก่ การจัดตั้งเครือข่ายในการเฝ้าระวังทางสังคมวัฒนธรรม การส่งเสริมฟื้นฟูคุณค่าของสถาบันครอบครัว การพัฒนาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาสังคม และเร่งรัดจัดระเบียบสังคมและผังเมืองชายแดน
สำหรับโครงการสำคัญของกลุ่มจังหวัดล้านนาที่จะดำเนินการร่วมกัน แบ่งเป็นโครงการด้านต่างๆ ประกอบด้วย
ด้านเศรษฐกิจ ที่แบ่งเป็นภาคอุตสาหกรรมได้แก่ 1.โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และเครือข่ายเชื่อมโยงครอบคลุมกลุ่มจังหวัดล้านนา และ 2.โครงการพัฒนาหัตถอุตสาหกรรมล้านนาสู่ตลาดโลก(ตั้ง Craft Design Service Center/สร้าง LANNA TREND) ส่วนภาคการเกษตร ได้แก่ 1.โครงการลำไยปลอดภัยสู่ตลาดโลก 2.โครงพัฒนาข้าวหอมมะลิอินทรีย์สู่ตลาดโลก และโครงการพัฒนาสมุนไพรล้านนาครบวงจร และภาคบริการ ได้แก่ โครงการพัฒนาธุรกิจบริการทางการแพทย์และสปาเพื่อสุขภาพ
ด้านสังคม ที่จะมุ่งเสริมสร้างทุนทางสังคมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ได้แก่ 1.โครงการสถาบันล้านนาศึกษาเพื่อการพัฒนา(ให้เป็นเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ สนับสนุนการวิจัย สืบค้นและต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนส่งเสริมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมล้านนา) 2.โครงการ Social Capital Mapping และ 3.โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและกระบวนการประชาสังคม
ด้านทรัพยากร ได้แก่ โครงการเร่งรัดระบบบริหารจัดการลุ่มน้ำหลัก และด้านบริหารจัดการ ได้แก่ โครงการศูนย์ข้อมูลยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด
รายงานข่าวแจ้งว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรนอกสถานที่อย่างเป็นทางการที่จังหวัดพะเยา ระหว่างวันที่ 13-14 มิถุนายน 48 แต่ละจังหวัดจะมีการเสนอแผนงานโครงการพัฒนาต่างๆ เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี โดยเป็นการเสนอในนามกลุ่มจังหวัดล้านนาที่ยึดเอาแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดเป็นกรอบเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ณะที่ตามกำหนดในช่วงเย็นวันที่ 13 มิถุนายน 48 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 (ฝ่ายเศรษฐกิจ) จะพบปะหารือกับภาคเอกชน 8 จังหวัดล้านนา ที่จังหวัดพะเยา เพื่อรับฟังข้อเสนอต่างๆ ด้วย