ใครจะไปรู้ว่า โอกาสทางการตลาดเพื่อการส่งออก สำหรับพืชผลทางการเกษตรของไทยนับจากวันนี้ไป กำลังสดใสมากยิ่งขึ้นทุกขณะ หลังจากที่ภาครัฐได้นำองค์ความรู้ในเชิงวิชาการมารังสรรค์ประโยชน์เพื่อส่งเสริมการค้าและการตลาดในเวทีการค้าระหว่างประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม เพราะล่าสุดรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้ยอมให้มีการนำเข้าส้มโอพันธุ์ “ทองดี” จากจังหวัดเชียงรายเข้าไปยังท่าเรือร็อตเตอร์ดัม ซึ่งเป็นเมืองท่าที่ใหญ่สุดของเนเธอร์แลนด์ ก่อนจะส่งไปจำหน่ายยังประเทศต่างๆ ในกลุ่มสหภาพยุโรปหรืออียูแล้ว
ปกติรัฐบาลของทุกประเทศในกลุ่มอียูจะมีข้อบังคับที่เข้มงวดตามหลัก “สุขอนามัยพืช” (Phyto Sanitary) ว่าด้วยการห้ามนำเข้าผลไม้ตระกูลส้ม เนื่องจากเกรงว่าอาจจะมี “โรคแคงเกอร์” (Canker) ซึ่งเป็น “เชื้อเแบคทีเรีย” ชนิดหนึ่งปนเปื้อนเข้าไปได้ และได้วางมาตรการในการนำเข้าพืชผักผลไม้ต่างๆ หรือที่เรียกว่า Plant Health Regulations 2003 เมื่อปี 2546 ที่ผ่านมา
สำหรับข้อจำกัดในส่วนของการห้ามนำเข้าพืชตระกูลส้มนั้น แบ่งออกเป็น 3 ลำดับ ดังนี้
1.การนำเข้าผลไม้ตระกูลส้ม จะต้องมาจากประเทศที่ไม่มี “โรคแคงเกอร์” ระบาด
2.ถ้าเป็นประเทศที่มี หรือเคยมีการระบาดของ “โรคแคงเกอร์” การนำเข้าพืชตระกูลส้ม จะต้องมาจากโซนที่ปราศจากการแพร่เชื้อของโรคดังกล่าว
3.หากเป็นประเทศที่มี หรือเคยมีการระบาดของ “โรคแคงเกอร์” และไม่มีการจัดแบ่งโซนสำหรับควบคุม ดังนั้น การนำเข้าพืชตระกูลส้มจะต้องมาจากสวนที่มีการควบคุมดูแลอย่างเป็นทางการ และได้รับการรับรองว่าทุกต้นในสวน จะต้องไม่มี “โรคแคงเกอร์” ผลผลิตที่ส่งออกเข้าไปในอียูจะต้องผ่านการตรวจรับรองว่า ไม่มีอาการของ “โรคแคงเกอร์” ปรากฏแต่อย่างใด ผลผลิตจะต้องได้รับการฆ่าเชื้อ โดยสารเคมีหรือน้ำยาฆ่าเชื้อที่ได้รับรองจากอียู และจะต้องมีเครื่องหมายบรรจุชัดเจนว่าปลอดภัยต่อโรค หรือสติ๊กเกอร์ที่ระบุว่าส่งภายใต้โครงการนำร่องของกรมวิชาการเกษตร (Exported under Department of Agriculture Pilot Project) และต้องมีการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชที่ระบุข้อความพิเศษว่า “พืชตระกูลส้มดังกล่าวมาจากสวนตามข้อกำหนดในเบื้องต้น”
นายจุมพล สาระนาค นักวิชาการโรคพืช 8 ว. ผู้อำนวยการกลุ่มโรคพืช กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า แม้ข้อบังคับของอียูจะเข้มงวด แต่จากการเดินทางไปประชุมเรื่อง Food Supply Chain เกี่ยวกับการนำผักผลไม้ไปจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตของกลุ่มประเทศอียูที่เนเธอร์แลนด์ เมื่อ 2 ปีเศษที่ผ่านมา ทำให้ได้รับข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับส้มโอของไทย จากตัวแทนบริษัทนำเข้ารายใหญ่ของเนเธอร์แลนด์ ที่ว่ารสชาติที่เปรี้ยวอมหวานของส้มโอพันธุ์ “ทองดี” นั้น กำลังเป็นที่ต้องการของชาวยุโรปอย่างมาก
พร้อมกันนี้ ตัวแทนนำเข้าจากเนเธอร์แลนด์ ยังขอให้กรมวิชาการเกษตร กลับไปศึกษาข้อบังคับของอียูเพื่อหาช่องทางในการส่งออกส้มโอ โดยเฉพาะข้อบังคับที่ว่าด้วยการควบคุมและรับรองการปลอดโรคแคงเกอร์ จากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งถือเป็นจุดผ่อนปรนมากที่สุด สำหรับการส่งออกส้มโอไทยไปยังกลุ่มประเทศยุโรป
จากจุดนั้น จึงกลายมาเป็นแนวทางในนำองค์ความรู้เชิงวิชาการของกรมวิชาการเกษตร มาผนวกเข้ากับการจัดหาและคัดเลือกสถานที่เพื่อการเพาะปลูกส้มโอพันธุ์ “ทองดี” ที่มีคุณสมบัติสอดรับกับข้อกำหนดของอียู สำหรับจัดส่งไปจำหน่ายในยุโรปผ่านทางเนเธอร์แลนด์
“เราพบว่ามีหลายพื้นที่ในจังหวัดเชียงราย ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับข้อผ่อนปรนของอียู ดังนั้น จึงได้เลือกพื้นที่เพาะปลูกที่ดีและเหมาะสมที่สุด ซึ่งก็คืออำเภอเวียงแก่น โดยมีเกษตรกรที่ปลูกส้มโอพันธุ์ดังกล่าว ในนาม “ชมรมผู้ปลูกส้มโออำเภอเวียงแก่น” ประมาณ 300 ราย คิดเป็นพื้นที่รวมกันกว่า 1,000 ไร่ จากพื้นที่เพาะปลูกจริงทั้งหมด 4,000 ไร่เศษ” นายจุมพลกล่าว
หลังจากค้นพบจุดที่พอจะทำให้เชื่อได้ว่า อาจเป็นช่องทางในการนำส้มโอ พันธุ์ “ทองดี” จากเมืองไทย เข้าไปจำหน่ายยังอียูได้แล้ว จึงได้อาศัยสายสัมพันธ์ส่วนตัวอันดีที่มีกับเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย วาเกนเนเก้น (Wageningen) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยทางการเกษตรชั้นนำ แห่งเมืองวาเกนเนเก้น และเจ้าหน้าที่ตรวจกักกันพืชของเนเธอร์แลนด์
ตลอดจนบริษัทนำเข้าสินค้าทางการเกษตรรายใหญ่ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งก็คือ “เฟรซ พาร์ทเนอร์” (Fresh Partner) บริษัทแม่ฯ ของบริษัท เฟรซ พาร์ทเนอร์ ประเทศไทย จำกัด ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเมืองไทย ทั้งนี้ เพื่อสร้างโอกาสในการนำเข้าส้มโอจากอำเภอเวียงแก่น
ทั้งนี้ บริษัทแม่ คือ “เฟรซ พาร์ทเนอร์” สนใจส้มโอสายพันธุ์ “ทองดี” ของอำเภอเวียงแก่นเอามากๆ ถึงขนาดส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูง เดินทางมาสำรวจพื้นที่
นอกจากจะช่วยให้คำปรึกษาด้านการเพาะปลูกที่ไม่ขัดกับข้อกำหนดของ Plant Health Regulations 2003 ตามหลัก “สุขอนามัยพืช” แล้ว เจ้าหน้าที่ของ “เฟรซ พาร์ทเนอร์” ยังได้สร้างความมั่นใจในการจะรับซื้อผลผลิตทั้งหมดอีกด้วย
เพราะหลังจากนั้นไม่นาน มร.อเรน ฟอมส์ (Aren Foms) ผู้บริหารระดับสูงสุดและยังเป็นเจ้าของ “เฟรซ พาร์ทเนอร์” ลงทุนบินข้ามน้ำข้ามทะเลมาสร้างความใจแก่เกษตรกรไทยด้วยตนเองถึงอำเภอเวียงแก่น ด้วยคาดหวังจะนำส้มโอพันธุ์ “ทองดี” ไปจำหน่ายในกลุ่มประเทศอียูนั่นเอง
“เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอพันธุ์ “ทองดี” ซึ่งเข้าร่วมโครงการกับกรมวิชาการเกษตรนั้น ขั้นแรกจะต้องขอรับมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม หรือ GAP ก่อน จากนั้น ก็จะต้องดำเนินการตามมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อมิให้ผลผลิตที่ออกมาขัดกับข้อกำหนดของทางอียู” นายจุมพลย้ำ
การดำเนินการดังกล่าว ทำให้หน่วยงานในประเทศเนเธอร์แลนด์ ยอมรับในมาตรฐานคุณภาพของส้มโอพันธุ์ “ทองดี” จากเมืองไทย ว่าปลอดภัยจากโรคพืช พร้อมกับร่นระยะเวลาการนำเข้า จากเดิมที่กำหนดไว้ในราวกลางปี 2549 มาเป็นส.ค.2548 ทำให้พืชตระกูลส้มจากเมืองไทย สามารถจะโลดแล่นในดินแดนยุโรปเร็วกว่ากำหนดเกือบหนึ่งปีทีเดียว
นายจุมพล ยังบอกด้วยว่าบริษัท เฟรซ พาร์ทเนอร์ฯ ต้องการส้มโอพันธุ์ “ทองดี” ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 16-18 นิ้ว สูงถึง 36,000 ผลต่อ 2 สัปดาห์ หรือประมาณ 2 ตู้คอนเทนเนอร์ แต่เนื่องจากยังเป็นโครงการนำร่อง ดังนั้น กรมวิชาการเกษตร จึงประสานงานในการทำข้อตกลงเบื้องต้นไว้เพียง 18,000 ผลต่อ 2 สัปดาห์ หรือประมาณ 1 ตู้คอนเทนเนอร์ เท่านั้น
เนื่องจากไม่มั่นใจว่าผลผลิตของส้มโอจากอำเภอเวียงแก่น จะได้มาตรฐาน ทั้งคุณภาพ ปริมาณ และสเปคตรงตามความต้องการของเอเย่นต์ในเนเธอร์แลนด์หรือไม่ อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกร สามารถจะควบคุมดูแลจนทำให้คุณภาพของส้มโอพันธุ์ “ทองดี” ผ่านเกณฑ์มาตรฐานข้อกำหนดของอียูแล้ว กรมวิชาการเกษตร ก็พร้อมจะให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี
เพราะขนาดของผลส้มโอที่ยุโรปต้องการนั้น ถือเป็นขนาด “ตกเกรด” ซึ่งขายไม่ได้ราคามากนักในเมืองไทย แต่หากนำไปขายให้กับบริษัท เฟรซ พาร์ทเนอร์ฯ ที่มารับซื้อถึงสวนของเกษตรกรแล้ว จะได้ราคาสูงถึงผลละ 21 บาท ส่งผลให้เกษตรกรสามารถจะมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างเป็นกอบเป็นกำ
อีกทั้งยังจะปูทางให้กับผลไม้อื่นๆ จากเมืองไทย สามารถส่งไปจำหน่ายในกลุ่มประเทศอียูนำเข้าเงินตราต่างประเทศได้อีกเป็นจำนวนมาก
และนี่ ก็คือผลพวงของการนำเอาหลักวิชาการทางการเกษตร และสายพันธ์อันดีของข้าราชการไทย มาประยุกต์ใช้กับการสร้างโอกาสทางการตลาดและการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จนทำให้วันนี้ ส้มโอพันธุ์ “ทองดี” ของไทย สามารถจะโลดแล่นไปในทวีปยุโรปได้อย่างสง่างาม
ปกติรัฐบาลของทุกประเทศในกลุ่มอียูจะมีข้อบังคับที่เข้มงวดตามหลัก “สุขอนามัยพืช” (Phyto Sanitary) ว่าด้วยการห้ามนำเข้าผลไม้ตระกูลส้ม เนื่องจากเกรงว่าอาจจะมี “โรคแคงเกอร์” (Canker) ซึ่งเป็น “เชื้อเแบคทีเรีย” ชนิดหนึ่งปนเปื้อนเข้าไปได้ และได้วางมาตรการในการนำเข้าพืชผักผลไม้ต่างๆ หรือที่เรียกว่า Plant Health Regulations 2003 เมื่อปี 2546 ที่ผ่านมา
สำหรับข้อจำกัดในส่วนของการห้ามนำเข้าพืชตระกูลส้มนั้น แบ่งออกเป็น 3 ลำดับ ดังนี้
1.การนำเข้าผลไม้ตระกูลส้ม จะต้องมาจากประเทศที่ไม่มี “โรคแคงเกอร์” ระบาด
2.ถ้าเป็นประเทศที่มี หรือเคยมีการระบาดของ “โรคแคงเกอร์” การนำเข้าพืชตระกูลส้ม จะต้องมาจากโซนที่ปราศจากการแพร่เชื้อของโรคดังกล่าว
3.หากเป็นประเทศที่มี หรือเคยมีการระบาดของ “โรคแคงเกอร์” และไม่มีการจัดแบ่งโซนสำหรับควบคุม ดังนั้น การนำเข้าพืชตระกูลส้มจะต้องมาจากสวนที่มีการควบคุมดูแลอย่างเป็นทางการ และได้รับการรับรองว่าทุกต้นในสวน จะต้องไม่มี “โรคแคงเกอร์” ผลผลิตที่ส่งออกเข้าไปในอียูจะต้องผ่านการตรวจรับรองว่า ไม่มีอาการของ “โรคแคงเกอร์” ปรากฏแต่อย่างใด ผลผลิตจะต้องได้รับการฆ่าเชื้อ โดยสารเคมีหรือน้ำยาฆ่าเชื้อที่ได้รับรองจากอียู และจะต้องมีเครื่องหมายบรรจุชัดเจนว่าปลอดภัยต่อโรค หรือสติ๊กเกอร์ที่ระบุว่าส่งภายใต้โครงการนำร่องของกรมวิชาการเกษตร (Exported under Department of Agriculture Pilot Project) และต้องมีการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชที่ระบุข้อความพิเศษว่า “พืชตระกูลส้มดังกล่าวมาจากสวนตามข้อกำหนดในเบื้องต้น”
นายจุมพล สาระนาค นักวิชาการโรคพืช 8 ว. ผู้อำนวยการกลุ่มโรคพืช กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า แม้ข้อบังคับของอียูจะเข้มงวด แต่จากการเดินทางไปประชุมเรื่อง Food Supply Chain เกี่ยวกับการนำผักผลไม้ไปจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตของกลุ่มประเทศอียูที่เนเธอร์แลนด์ เมื่อ 2 ปีเศษที่ผ่านมา ทำให้ได้รับข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับส้มโอของไทย จากตัวแทนบริษัทนำเข้ารายใหญ่ของเนเธอร์แลนด์ ที่ว่ารสชาติที่เปรี้ยวอมหวานของส้มโอพันธุ์ “ทองดี” นั้น กำลังเป็นที่ต้องการของชาวยุโรปอย่างมาก
พร้อมกันนี้ ตัวแทนนำเข้าจากเนเธอร์แลนด์ ยังขอให้กรมวิชาการเกษตร กลับไปศึกษาข้อบังคับของอียูเพื่อหาช่องทางในการส่งออกส้มโอ โดยเฉพาะข้อบังคับที่ว่าด้วยการควบคุมและรับรองการปลอดโรคแคงเกอร์ จากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งถือเป็นจุดผ่อนปรนมากที่สุด สำหรับการส่งออกส้มโอไทยไปยังกลุ่มประเทศยุโรป
จากจุดนั้น จึงกลายมาเป็นแนวทางในนำองค์ความรู้เชิงวิชาการของกรมวิชาการเกษตร มาผนวกเข้ากับการจัดหาและคัดเลือกสถานที่เพื่อการเพาะปลูกส้มโอพันธุ์ “ทองดี” ที่มีคุณสมบัติสอดรับกับข้อกำหนดของอียู สำหรับจัดส่งไปจำหน่ายในยุโรปผ่านทางเนเธอร์แลนด์
“เราพบว่ามีหลายพื้นที่ในจังหวัดเชียงราย ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับข้อผ่อนปรนของอียู ดังนั้น จึงได้เลือกพื้นที่เพาะปลูกที่ดีและเหมาะสมที่สุด ซึ่งก็คืออำเภอเวียงแก่น โดยมีเกษตรกรที่ปลูกส้มโอพันธุ์ดังกล่าว ในนาม “ชมรมผู้ปลูกส้มโออำเภอเวียงแก่น” ประมาณ 300 ราย คิดเป็นพื้นที่รวมกันกว่า 1,000 ไร่ จากพื้นที่เพาะปลูกจริงทั้งหมด 4,000 ไร่เศษ” นายจุมพลกล่าว
หลังจากค้นพบจุดที่พอจะทำให้เชื่อได้ว่า อาจเป็นช่องทางในการนำส้มโอ พันธุ์ “ทองดี” จากเมืองไทย เข้าไปจำหน่ายยังอียูได้แล้ว จึงได้อาศัยสายสัมพันธ์ส่วนตัวอันดีที่มีกับเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย วาเกนเนเก้น (Wageningen) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยทางการเกษตรชั้นนำ แห่งเมืองวาเกนเนเก้น และเจ้าหน้าที่ตรวจกักกันพืชของเนเธอร์แลนด์
ตลอดจนบริษัทนำเข้าสินค้าทางการเกษตรรายใหญ่ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งก็คือ “เฟรซ พาร์ทเนอร์” (Fresh Partner) บริษัทแม่ฯ ของบริษัท เฟรซ พาร์ทเนอร์ ประเทศไทย จำกัด ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเมืองไทย ทั้งนี้ เพื่อสร้างโอกาสในการนำเข้าส้มโอจากอำเภอเวียงแก่น
ทั้งนี้ บริษัทแม่ คือ “เฟรซ พาร์ทเนอร์” สนใจส้มโอสายพันธุ์ “ทองดี” ของอำเภอเวียงแก่นเอามากๆ ถึงขนาดส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูง เดินทางมาสำรวจพื้นที่
นอกจากจะช่วยให้คำปรึกษาด้านการเพาะปลูกที่ไม่ขัดกับข้อกำหนดของ Plant Health Regulations 2003 ตามหลัก “สุขอนามัยพืช” แล้ว เจ้าหน้าที่ของ “เฟรซ พาร์ทเนอร์” ยังได้สร้างความมั่นใจในการจะรับซื้อผลผลิตทั้งหมดอีกด้วย
เพราะหลังจากนั้นไม่นาน มร.อเรน ฟอมส์ (Aren Foms) ผู้บริหารระดับสูงสุดและยังเป็นเจ้าของ “เฟรซ พาร์ทเนอร์” ลงทุนบินข้ามน้ำข้ามทะเลมาสร้างความใจแก่เกษตรกรไทยด้วยตนเองถึงอำเภอเวียงแก่น ด้วยคาดหวังจะนำส้มโอพันธุ์ “ทองดี” ไปจำหน่ายในกลุ่มประเทศอียูนั่นเอง
“เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอพันธุ์ “ทองดี” ซึ่งเข้าร่วมโครงการกับกรมวิชาการเกษตรนั้น ขั้นแรกจะต้องขอรับมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม หรือ GAP ก่อน จากนั้น ก็จะต้องดำเนินการตามมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อมิให้ผลผลิตที่ออกมาขัดกับข้อกำหนดของทางอียู” นายจุมพลย้ำ
การดำเนินการดังกล่าว ทำให้หน่วยงานในประเทศเนเธอร์แลนด์ ยอมรับในมาตรฐานคุณภาพของส้มโอพันธุ์ “ทองดี” จากเมืองไทย ว่าปลอดภัยจากโรคพืช พร้อมกับร่นระยะเวลาการนำเข้า จากเดิมที่กำหนดไว้ในราวกลางปี 2549 มาเป็นส.ค.2548 ทำให้พืชตระกูลส้มจากเมืองไทย สามารถจะโลดแล่นในดินแดนยุโรปเร็วกว่ากำหนดเกือบหนึ่งปีทีเดียว
นายจุมพล ยังบอกด้วยว่าบริษัท เฟรซ พาร์ทเนอร์ฯ ต้องการส้มโอพันธุ์ “ทองดี” ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 16-18 นิ้ว สูงถึง 36,000 ผลต่อ 2 สัปดาห์ หรือประมาณ 2 ตู้คอนเทนเนอร์ แต่เนื่องจากยังเป็นโครงการนำร่อง ดังนั้น กรมวิชาการเกษตร จึงประสานงานในการทำข้อตกลงเบื้องต้นไว้เพียง 18,000 ผลต่อ 2 สัปดาห์ หรือประมาณ 1 ตู้คอนเทนเนอร์ เท่านั้น
เนื่องจากไม่มั่นใจว่าผลผลิตของส้มโอจากอำเภอเวียงแก่น จะได้มาตรฐาน ทั้งคุณภาพ ปริมาณ และสเปคตรงตามความต้องการของเอเย่นต์ในเนเธอร์แลนด์หรือไม่ อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกร สามารถจะควบคุมดูแลจนทำให้คุณภาพของส้มโอพันธุ์ “ทองดี” ผ่านเกณฑ์มาตรฐานข้อกำหนดของอียูแล้ว กรมวิชาการเกษตร ก็พร้อมจะให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี
เพราะขนาดของผลส้มโอที่ยุโรปต้องการนั้น ถือเป็นขนาด “ตกเกรด” ซึ่งขายไม่ได้ราคามากนักในเมืองไทย แต่หากนำไปขายให้กับบริษัท เฟรซ พาร์ทเนอร์ฯ ที่มารับซื้อถึงสวนของเกษตรกรแล้ว จะได้ราคาสูงถึงผลละ 21 บาท ส่งผลให้เกษตรกรสามารถจะมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างเป็นกอบเป็นกำ
อีกทั้งยังจะปูทางให้กับผลไม้อื่นๆ จากเมืองไทย สามารถส่งไปจำหน่ายในกลุ่มประเทศอียูนำเข้าเงินตราต่างประเทศได้อีกเป็นจำนวนมาก
และนี่ ก็คือผลพวงของการนำเอาหลักวิชาการทางการเกษตร และสายพันธ์อันดีของข้าราชการไทย มาประยุกต์ใช้กับการสร้างโอกาสทางการตลาดและการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จนทำให้วันนี้ ส้มโอพันธุ์ “ทองดี” ของไทย สามารถจะโลดแล่นไปในทวีปยุโรปได้อย่างสง่างาม