สมาคมการขายตรงไทยระดมสมองเสนอแก้พ.ร.บ.ขายตรงฯ รวม 7 มาตรา 10 หัวข้อ มีความเห็นแย้งสมาคมอุตฯมาตรา 8 กรณีบอร์ดขายตรงฯควรมีคณะกรรมการที่มีความรู้นั่งแท่นอยู่ เห็นพ้องมาตรา 3 ต้องแก้ไข และควรเพิ่ม 2 คำซึ่งถือเป็นคีย์ของธุรกิจขายตรง ส่วนมาตรา 23(3) ต้องแก้ด่วน เพราะเปิดช่องโหว่ให้แชร์ลูกโซ่เข้ามาในตลาด
วานนี้ ( 2 มิ.ย.) สมาคมการขายตรงไทย(TDSA) จัดงานสัมมนาภายใต้หัวข้อ “พ.ร.บ. ขายตรงปรับใหม่อีกทีให้ดีกับมวลชน” โดยได้ระดมตัวแทนหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขายตรง ประกอบด้วย ตัวแทนจากนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ, ตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจขายตรง และตัวแทนผู้จำหน่ายอิสระของแอมเวย์,กิฟฟารีนและคังเซน-เคนโก มาเสนอแนะความคิด จากนั้นก็จะนำข้อมูลที่ได้รวมรวบเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือส.ค.บ. ในช่วงอาทิตย์หน้า เพื่อที่ทางส.ค.บ.จะได้นำข้อมูลของสมาคมฯไปประกอบและพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545
ทั้งนี้ทางสมาคมได้รวบรวมมาตราต่างๆที่ควรแก้ไขในพ.ร.บ.ขายตรงฯ มีทั้งหมด 7 มาตรา 10 หัวข้อ ประกอบด้วยมาตรา 3,มาตรา 23 (3) , มาตรา33,มาตรา 34 เป็นต้น
รศ. สุษม ศุภนิตย์ รองคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า มาตราของพ.ร.บ.ขายตรงฯ ที่ควรแก้ไขประกอบด้วยมาตราที่ 3 ที่มี 2 จุด คือ คำนิยามของคำว่า “ขายตรง” และคำว่า “ผู้บริโภค” ควรแก้ให้ชัดเจน รวมถึงควรมีการเพิ่ม 2 คำนิยามที่มีส่วนสำคัญในการประกอบธุรกิจขายตรงเข้าไปในพ.ร.บ. คือ คำจำกัดของ “ผู้ประกอบการธุรกิจ” และ “แผนการจ่ายผลตอบแทน” ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรงที่จะทำให้แตกต่างจากธุรกิจอื่นหรือธุรกิจที่แอบแฝง
ส่วนประเด็นร้อนที่กำลังถกเถียงกันมากจากสมาคมอุตสาหกรรมไทย หรือTDIA ที่มีความเห็นว่าควรแก้ไข คือ เรื่องคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง ซึ่งอยู่ในมาตรา 8 หัวข้อย่อย 3 ที่ว่าด้วย กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้แทนสมาคม ที่มีสัตถุประสงค์เกี่ยวกับธุรกิจขายตรงจำนวน 1 คน ผู้แทนสมาคมที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับธุรกิจแบบตรง 1 คน และผู้แทนสมาคมหรือมูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับคุ้มครองผู้บริโภคจำนวน 2 คน
ประเด็นนี้ รศ. สุษม มีความเห็นว่า มาตราดังกล่าวนี้ดีอยู่แล้วไม่ควรแก้ โดยกรรมการขายตรงฯต้องมีวิจารณญาณและมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจขายตรง เพื่อกำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินธุรกิจให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง และการที่เป็นกรรมการก็ถือว่าเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล หรือเปรียบเสมือนเป็นศาลที่ต้องคอยรับฟังข้อเท็จจริงต่างๆเกี่ยวกับธุรกิจ แต่จะไม่มีอำนาจหรือหน้าที่ในการถอนทะเบียนผู้ประกอบการรายใด อีกทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับส่วนตัวหรือครอบครัวก็ไม่สิทธิ์ออกเสียงหรือเกี่ยวข้องด้วย
นายปรีชา ประกอบกิจ นายกสมาคมการขายตรงไทย และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการขายตรงฯ ที่กำลังจะหมดวาระในวันที่ 23 กันยายนนี้ มีความเห็นสอดคล้องกันว่า คณะกรรมการฯ จำเป็นต้องมีตัวแทนเอกชน ที่มีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจขายตรงอยู่
ด้านพญ. นลิณี ไพบูลย์ หนึ่งในคณะกรรมการขายตรงฯ เปิดเผยว่า เป็นห่วงธุรกิจขายตรงฯ เพราะกำลังอยู่ในช่วงคาบเกี่ยวคณะกรรมการฯที่กำลังจะหมดวาระในอีกประมาณ 2-3 เดือนนี้
ส่วนอีกมาตราที่ควรแก้ไข คือ มาตรา 23 หัวข้อย่อย 3 ที่ว่าด้วยการกำหนดคืนสินค้า ที่กำหนดไม่ชัดเจนและเปิดช่องว่างให้ระบบไม่ดี เช่น มันนี่เกม เข้ามาในธุรกิจขายตรง ในปัจจุบันระยะเวลาการคืนสินค้าแต่ละบริษัทจะเป็นฝ่ายกำหนดเอง ซึ่งตรงจุดนี้ควรแก้ไขให้ชัดเจนทั้ง 3 ฝ่าย คือ ผู้ประกอบการ, ผู้จำหน่ายอิสระ และผู้บริโภค โดยระยะเวลาการคืนสินค้าต้องไม่บีบบังคับผู้จำหน่ายอิสระและผู้บริโภคจนเกินไป
นายสิทธิศักดิ์ หาพุฒพงษ์ ประธานอนุกรรมการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง ซึ่งเป็นตัวแทนนักวิชามีความเห็นว่า ควรปรับปรุงและแก้ไขมาตรา 23 (3) เพราะหากไม่แก้จะมีการแอบแฝงของแชร์ลูกโซ่ที่เห็นช่องว่างของมาตรานี้ ซึ่งมีลักษณะดีเอ็นเอคล้ายกันจึงแฝงตัวเข้ามาได้ง่าย อีกทั้งเห็นว่าการที่ผู้บริโภคไม่พอในสินค้าสามารถคืนสินค้าให้ผู้จำหน่ายอิสระได้ในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน ถือว่าสมเหตุสมผล ส่วนผู้จำหน่ายอิสระควรถือสินค้าไว้ในมือได้นานกว่าระยะเวลา 7 วัน
ส่วนมาตรา 24 ที่ว่าด้วย การนำสินค้าหรือบริการไปเสนอต่อผู้บริโภค ผู้จำหน่ายอิสระต้องดำเนินตามเงื่อนไขและแผนการขายที่ผู้ประกอบการกำหนด และมาตรา 30 ที่ผู้จำหน่ายอิสระ ตัวแทนขายตรงมีหน้าที่ส่งมอบเอกสารการซื้อขายสินค้าและบริการแก่ผู้บริโภคนั้น ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความเห็นว่า การดำเนินธุรกิจจะต้องมีใบเสร็จเพื่อคุ้มครองทุกฝ่ายให้ได้รับความเป็นธรรม
วานนี้ ( 2 มิ.ย.) สมาคมการขายตรงไทย(TDSA) จัดงานสัมมนาภายใต้หัวข้อ “พ.ร.บ. ขายตรงปรับใหม่อีกทีให้ดีกับมวลชน” โดยได้ระดมตัวแทนหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขายตรง ประกอบด้วย ตัวแทนจากนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ, ตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจขายตรง และตัวแทนผู้จำหน่ายอิสระของแอมเวย์,กิฟฟารีนและคังเซน-เคนโก มาเสนอแนะความคิด จากนั้นก็จะนำข้อมูลที่ได้รวมรวบเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือส.ค.บ. ในช่วงอาทิตย์หน้า เพื่อที่ทางส.ค.บ.จะได้นำข้อมูลของสมาคมฯไปประกอบและพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545
ทั้งนี้ทางสมาคมได้รวบรวมมาตราต่างๆที่ควรแก้ไขในพ.ร.บ.ขายตรงฯ มีทั้งหมด 7 มาตรา 10 หัวข้อ ประกอบด้วยมาตรา 3,มาตรา 23 (3) , มาตรา33,มาตรา 34 เป็นต้น
รศ. สุษม ศุภนิตย์ รองคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า มาตราของพ.ร.บ.ขายตรงฯ ที่ควรแก้ไขประกอบด้วยมาตราที่ 3 ที่มี 2 จุด คือ คำนิยามของคำว่า “ขายตรง” และคำว่า “ผู้บริโภค” ควรแก้ให้ชัดเจน รวมถึงควรมีการเพิ่ม 2 คำนิยามที่มีส่วนสำคัญในการประกอบธุรกิจขายตรงเข้าไปในพ.ร.บ. คือ คำจำกัดของ “ผู้ประกอบการธุรกิจ” และ “แผนการจ่ายผลตอบแทน” ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรงที่จะทำให้แตกต่างจากธุรกิจอื่นหรือธุรกิจที่แอบแฝง
ส่วนประเด็นร้อนที่กำลังถกเถียงกันมากจากสมาคมอุตสาหกรรมไทย หรือTDIA ที่มีความเห็นว่าควรแก้ไข คือ เรื่องคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง ซึ่งอยู่ในมาตรา 8 หัวข้อย่อย 3 ที่ว่าด้วย กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้แทนสมาคม ที่มีสัตถุประสงค์เกี่ยวกับธุรกิจขายตรงจำนวน 1 คน ผู้แทนสมาคมที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับธุรกิจแบบตรง 1 คน และผู้แทนสมาคมหรือมูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับคุ้มครองผู้บริโภคจำนวน 2 คน
ประเด็นนี้ รศ. สุษม มีความเห็นว่า มาตราดังกล่าวนี้ดีอยู่แล้วไม่ควรแก้ โดยกรรมการขายตรงฯต้องมีวิจารณญาณและมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจขายตรง เพื่อกำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินธุรกิจให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง และการที่เป็นกรรมการก็ถือว่าเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล หรือเปรียบเสมือนเป็นศาลที่ต้องคอยรับฟังข้อเท็จจริงต่างๆเกี่ยวกับธุรกิจ แต่จะไม่มีอำนาจหรือหน้าที่ในการถอนทะเบียนผู้ประกอบการรายใด อีกทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับส่วนตัวหรือครอบครัวก็ไม่สิทธิ์ออกเสียงหรือเกี่ยวข้องด้วย
นายปรีชา ประกอบกิจ นายกสมาคมการขายตรงไทย และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการขายตรงฯ ที่กำลังจะหมดวาระในวันที่ 23 กันยายนนี้ มีความเห็นสอดคล้องกันว่า คณะกรรมการฯ จำเป็นต้องมีตัวแทนเอกชน ที่มีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจขายตรงอยู่
ด้านพญ. นลิณี ไพบูลย์ หนึ่งในคณะกรรมการขายตรงฯ เปิดเผยว่า เป็นห่วงธุรกิจขายตรงฯ เพราะกำลังอยู่ในช่วงคาบเกี่ยวคณะกรรมการฯที่กำลังจะหมดวาระในอีกประมาณ 2-3 เดือนนี้
ส่วนอีกมาตราที่ควรแก้ไข คือ มาตรา 23 หัวข้อย่อย 3 ที่ว่าด้วยการกำหนดคืนสินค้า ที่กำหนดไม่ชัดเจนและเปิดช่องว่างให้ระบบไม่ดี เช่น มันนี่เกม เข้ามาในธุรกิจขายตรง ในปัจจุบันระยะเวลาการคืนสินค้าแต่ละบริษัทจะเป็นฝ่ายกำหนดเอง ซึ่งตรงจุดนี้ควรแก้ไขให้ชัดเจนทั้ง 3 ฝ่าย คือ ผู้ประกอบการ, ผู้จำหน่ายอิสระ และผู้บริโภค โดยระยะเวลาการคืนสินค้าต้องไม่บีบบังคับผู้จำหน่ายอิสระและผู้บริโภคจนเกินไป
นายสิทธิศักดิ์ หาพุฒพงษ์ ประธานอนุกรรมการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง ซึ่งเป็นตัวแทนนักวิชามีความเห็นว่า ควรปรับปรุงและแก้ไขมาตรา 23 (3) เพราะหากไม่แก้จะมีการแอบแฝงของแชร์ลูกโซ่ที่เห็นช่องว่างของมาตรานี้ ซึ่งมีลักษณะดีเอ็นเอคล้ายกันจึงแฝงตัวเข้ามาได้ง่าย อีกทั้งเห็นว่าการที่ผู้บริโภคไม่พอในสินค้าสามารถคืนสินค้าให้ผู้จำหน่ายอิสระได้ในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน ถือว่าสมเหตุสมผล ส่วนผู้จำหน่ายอิสระควรถือสินค้าไว้ในมือได้นานกว่าระยะเวลา 7 วัน
ส่วนมาตรา 24 ที่ว่าด้วย การนำสินค้าหรือบริการไปเสนอต่อผู้บริโภค ผู้จำหน่ายอิสระต้องดำเนินตามเงื่อนไขและแผนการขายที่ผู้ประกอบการกำหนด และมาตรา 30 ที่ผู้จำหน่ายอิสระ ตัวแทนขายตรงมีหน้าที่ส่งมอบเอกสารการซื้อขายสินค้าและบริการแก่ผู้บริโภคนั้น ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความเห็นว่า การดำเนินธุรกิจจะต้องมีใบเสร็จเพื่อคุ้มครองทุกฝ่ายให้ได้รับความเป็นธรรม