คลิกที่ไอคอน Multimedia ด้านบนเพื่อฟังเสียง
ไม่นานมานี้ รัสเซียได้ฉลองวาระครบ 60 ปี แห่งการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม
แต่ก็ปรากฏว่า มีกระแสเรียกร้องว่า ควรรื้อฟื้นภาพลักษณ์ของอดีตผู้นำอย่าง โจเซฟ สตาลิน ขึ้นมาตรวจสอบเสียใหม่ด้วย
เพราะอะไรหรือครับ
ก็เพราะว่าสตาลินคือผู้นำรัสเซียในเวลานั้นที่นำกองทัพรัสเซียไปสู่ชัยชนะต่อนาซีเยอรมัน
นอกจากนี้บางเมืองในรัสเซียยังมีข้อเรียกร้องว่า ควรจัดสร้างอนุสาวรีย์เป็นที่ระลึกให้เป็นเกียรติประวัติกับสตาลินขึ้นมาใหม่เสียด้วยครับ
ข้อเรียกร้องเหล่านี้เกิดมาจากสมมติฐานว่า ยังหาข้อพิสูจน์ไม่ได้ว่าจริงๆ แล้วสตาลินได้รับผิดชอบโดยตรงต่อการสังหารหมู่ด้วยการยิงเป้าประชาชนไปหลายล้านคนในค่ายกักกันที่เรียกกันว่า กูลัก (Gulag) ในยุคที่เขามีอำนาจเบ็ดเสร็จ
ความจริงแล้ว ชาวรัสเซียจำนวนมากยังปฏิเสธที่จะเชื่อว่าสตาลินนั้นมีความชั่วร้ายในการประกอบอาชญากรรมร้ายแรงที่โลกพากันประณามว่า เขาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เพื่อนร่วมชาติ
ทุกวันนี้มีหนังสือหลายเล่มเขียนเกี่ยวกับสตาลินตีพิมพ์ออกมาแพร่หลาย
แน่นอนว่าหลายเล่มนั้นมองว่า สตาลินนั้นคือทรราชเราดีๆ นี่เองแหละ
และเครื่องมือสำหรับสตาลินในการปกครองแบบเฉียบขาดก็คือ การใช้ตำรวจลับ
ดังนั้น สตาลินจึงเปรียบเสมือนโรคร้ายที่ฝังตัวมาตลอดอยู่ในการเมืองของรัสเซียจนทุกวันนี้ก็ว่าได้
และกล่าวกันว่า แม้แต่รัฐบาลของนายวลาดิมีร์ ปูติน เองก็เถอะก็ไม่ได้ปฏิเสธอะไรเกี่ยวกับการล้างเผ่าพันธุ์ของสตาลิน แต่ปูตินได้ยกย่องฐานะของสตาลินว่า เป็นผู้วางแผนในการเผด็จศึกนาซีเยอรมันจนราบคาบ และมองว่าตำรวจลับของรัสเซียนั้น ไม่ต่างอะไรกับพวกมือดาบซามูไรของญี่ปุ่น
อันที่จริงแล้ว มีงานเขียนเกี่ยวกับสตาลินออกมามาก รวมทั้งในประเทศรัสเซียเอง
หลังยุคปี ค.ศ.1980 เป็นต้นมา มีเอกสารออกมามากมาย รวมทั้งชีวประวัติและบันทึกต่างๆ ของสตาลินถูกแพร่ออกมามากมาย นอกจากนั้นก็มีประวัติศาสตร์ในยุคสมัยของช่วงที่สตาลินมีชีวิตอยู่ปรากฏออกมาด้วย จนถึงยุค 1990 ซึ่งให้ประโยชน์โดยตรงกับนักเขียนชาวตะวันตกได้รับข้อมูลใหม่ๆ เป็นอันมาก
ก็เพราะข้อมูลเหล่านี้ไม่ค่อยปรากฏมาก่อนนั่นแหละ ช่วยให้หนังสือเกี่ยวกับสตาลินได้รับการตีพิมพ์ออกมาเยอะมาก และก็มาจากข้อมูลใหม่ๆ ด้วย
แต่ในยุครัฐบาลปูติน กลับปรากฏว่าข้อมูลเหล่านี้กลับถูกเก็บเป็นความลับไปบ้างโดยไม่มีใครรู้เหตุผลที่แน่ชัด
เหตุผลอย่างหนึ่งที่เกิดการตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับสตาลินออกมามากนั้น นักวิเคราะห์ทางตะวันตกมองว่า อาจเป็นเพราะเกิดจากในจังหวะเดียวกันนั้นได้มีหนังสือเกี่ยวกับฮิตเลอร์ออกมามากเช่นกัน
เป็นไปได้ว่า ทั้งฮิตเลอร์ และสตาลินเป็นอดีตทรราชที่น่าสนใจด้วยกันทั้งคู่ก็ว่าได้ แม้ว่าข้อมูลของแต่ละคนดูเหมือนว่าจะต่างกันมาก
อย่างฮิตเลอร์นั้น ความสนใจหลักอยู่กับตัวบุคคลกับระบบชั่วร้ายที่ฮิตเลอร์สร้างมากับมือ ซึ่งอธิบายได้ง่าย โดยนักเขียนโยงถึงบุคลิกภาพส่วนตัวของฮิตเลอร์เพราะว่ามันมองเห็นได้ชัด
แต่ในกรณีของสตาลินนั้น จิตใจของสตาลินมีความซับซ้อนมากกว่าตรงที่ชีวประวัติของสตาลินไม่ได้เหมือนคนบ้าคลั่งแบบฮิตเลอร์ แม้ว่าสตาลินจะมีแนวโน้มที่จะมีบุคลิกภาพที่จะคล้ายคนประสาทอยู่บ้างก็ตาม
แต่ทั้งฮิตเลอร์และสตาลินนั้น ต่างก็ตกอยู่ในกับดักแห่งอำนาจและยุคสมัยแห่งความน่ากลัวที่พวกเขาปกครองด้วยความสยดสยอง
สตาลินเคยพูดด้วยว่า หากเยอรมนีกับรัสเซียเกิดเป็นพวกเดียวกันแล้ว สองประเทศนี้จะไม่มีใครเอาชนะได้เลย
ซึ่งประเด็นนี้ทำให้เรามองย้อนไปก็จะเห็นได้ว่า ในสงครามโลกครั้งที่สองนั้น สตาลินกับฮิตเลอร์ได้ร่วมเป็นพันธมิตรในสงครามกันอยู่ถึงสองปีภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริปเปนโทรป กระทั่งสิ้นสุดโดยปริยายเมื่อฮิตเลอร์บุกรัสเซีย
ว่ากันว่าสตาลินได้รับคำเตือนล่วงหน้าว่า เยอรมนีคิดไม่ซื่อที่จะรุกรานรัสเซีย แต่สตาลินไม่เชื่อคำเตือนล่วงหน้า
ผลที่ตามมาก็คือ กองกำลังส่วนหน้าของรัสเซียต้องเสียหายอย่างย่อยยับเมื่อเยอรมนีบุกเข้ามายังรัสเซียเมื่อเปิดฉากสงครามใหม่ๆ เพราะว่ารัสเซียไม่มีเวลาตั้งตัวทัน
หลังจากเสียหายทางการทหารอย่างยับเยินสตาลินก็ตั้งหลักได้ และสตาลินต้องใช้เวลานานกว่าจะดึงกำลังจากการถอยมาเป็นยัน และก็สามารถเปิดฉากตีโต้การรุกของเยอรมนี จนกระทั่งสามารถเอาชนะได้
แต่ทหารและพลเรือนรัสเซียตายไปในสงครามถึง 27 ล้านคนในสงครามโลกครั้งที่สองครับ
บทสรุปก็คือว่า แม้เราอาจมองสตาลินว่าเขาไม่ได้เป็นทรราช แต่เขาก็เป็นส่วนหนึ่งของความหายนะสำหรับรัสเซีย เพราะหลังสงครามนโยบายต่างๆ ของสตาลินได้ก่อกรรมทำเข็ญไว้กับประชาชนอีกไม่น้อยเลยครับ
ไม่นานมานี้ รัสเซียได้ฉลองวาระครบ 60 ปี แห่งการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม
แต่ก็ปรากฏว่า มีกระแสเรียกร้องว่า ควรรื้อฟื้นภาพลักษณ์ของอดีตผู้นำอย่าง โจเซฟ สตาลิน ขึ้นมาตรวจสอบเสียใหม่ด้วย
เพราะอะไรหรือครับ
ก็เพราะว่าสตาลินคือผู้นำรัสเซียในเวลานั้นที่นำกองทัพรัสเซียไปสู่ชัยชนะต่อนาซีเยอรมัน
นอกจากนี้บางเมืองในรัสเซียยังมีข้อเรียกร้องว่า ควรจัดสร้างอนุสาวรีย์เป็นที่ระลึกให้เป็นเกียรติประวัติกับสตาลินขึ้นมาใหม่เสียด้วยครับ
ข้อเรียกร้องเหล่านี้เกิดมาจากสมมติฐานว่า ยังหาข้อพิสูจน์ไม่ได้ว่าจริงๆ แล้วสตาลินได้รับผิดชอบโดยตรงต่อการสังหารหมู่ด้วยการยิงเป้าประชาชนไปหลายล้านคนในค่ายกักกันที่เรียกกันว่า กูลัก (Gulag) ในยุคที่เขามีอำนาจเบ็ดเสร็จ
ความจริงแล้ว ชาวรัสเซียจำนวนมากยังปฏิเสธที่จะเชื่อว่าสตาลินนั้นมีความชั่วร้ายในการประกอบอาชญากรรมร้ายแรงที่โลกพากันประณามว่า เขาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เพื่อนร่วมชาติ
ทุกวันนี้มีหนังสือหลายเล่มเขียนเกี่ยวกับสตาลินตีพิมพ์ออกมาแพร่หลาย
แน่นอนว่าหลายเล่มนั้นมองว่า สตาลินนั้นคือทรราชเราดีๆ นี่เองแหละ
และเครื่องมือสำหรับสตาลินในการปกครองแบบเฉียบขาดก็คือ การใช้ตำรวจลับ
ดังนั้น สตาลินจึงเปรียบเสมือนโรคร้ายที่ฝังตัวมาตลอดอยู่ในการเมืองของรัสเซียจนทุกวันนี้ก็ว่าได้
และกล่าวกันว่า แม้แต่รัฐบาลของนายวลาดิมีร์ ปูติน เองก็เถอะก็ไม่ได้ปฏิเสธอะไรเกี่ยวกับการล้างเผ่าพันธุ์ของสตาลิน แต่ปูตินได้ยกย่องฐานะของสตาลินว่า เป็นผู้วางแผนในการเผด็จศึกนาซีเยอรมันจนราบคาบ และมองว่าตำรวจลับของรัสเซียนั้น ไม่ต่างอะไรกับพวกมือดาบซามูไรของญี่ปุ่น
อันที่จริงแล้ว มีงานเขียนเกี่ยวกับสตาลินออกมามาก รวมทั้งในประเทศรัสเซียเอง
หลังยุคปี ค.ศ.1980 เป็นต้นมา มีเอกสารออกมามากมาย รวมทั้งชีวประวัติและบันทึกต่างๆ ของสตาลินถูกแพร่ออกมามากมาย นอกจากนั้นก็มีประวัติศาสตร์ในยุคสมัยของช่วงที่สตาลินมีชีวิตอยู่ปรากฏออกมาด้วย จนถึงยุค 1990 ซึ่งให้ประโยชน์โดยตรงกับนักเขียนชาวตะวันตกได้รับข้อมูลใหม่ๆ เป็นอันมาก
ก็เพราะข้อมูลเหล่านี้ไม่ค่อยปรากฏมาก่อนนั่นแหละ ช่วยให้หนังสือเกี่ยวกับสตาลินได้รับการตีพิมพ์ออกมาเยอะมาก และก็มาจากข้อมูลใหม่ๆ ด้วย
แต่ในยุครัฐบาลปูติน กลับปรากฏว่าข้อมูลเหล่านี้กลับถูกเก็บเป็นความลับไปบ้างโดยไม่มีใครรู้เหตุผลที่แน่ชัด
เหตุผลอย่างหนึ่งที่เกิดการตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับสตาลินออกมามากนั้น นักวิเคราะห์ทางตะวันตกมองว่า อาจเป็นเพราะเกิดจากในจังหวะเดียวกันนั้นได้มีหนังสือเกี่ยวกับฮิตเลอร์ออกมามากเช่นกัน
เป็นไปได้ว่า ทั้งฮิตเลอร์ และสตาลินเป็นอดีตทรราชที่น่าสนใจด้วยกันทั้งคู่ก็ว่าได้ แม้ว่าข้อมูลของแต่ละคนดูเหมือนว่าจะต่างกันมาก
อย่างฮิตเลอร์นั้น ความสนใจหลักอยู่กับตัวบุคคลกับระบบชั่วร้ายที่ฮิตเลอร์สร้างมากับมือ ซึ่งอธิบายได้ง่าย โดยนักเขียนโยงถึงบุคลิกภาพส่วนตัวของฮิตเลอร์เพราะว่ามันมองเห็นได้ชัด
แต่ในกรณีของสตาลินนั้น จิตใจของสตาลินมีความซับซ้อนมากกว่าตรงที่ชีวประวัติของสตาลินไม่ได้เหมือนคนบ้าคลั่งแบบฮิตเลอร์ แม้ว่าสตาลินจะมีแนวโน้มที่จะมีบุคลิกภาพที่จะคล้ายคนประสาทอยู่บ้างก็ตาม
แต่ทั้งฮิตเลอร์และสตาลินนั้น ต่างก็ตกอยู่ในกับดักแห่งอำนาจและยุคสมัยแห่งความน่ากลัวที่พวกเขาปกครองด้วยความสยดสยอง
สตาลินเคยพูดด้วยว่า หากเยอรมนีกับรัสเซียเกิดเป็นพวกเดียวกันแล้ว สองประเทศนี้จะไม่มีใครเอาชนะได้เลย
ซึ่งประเด็นนี้ทำให้เรามองย้อนไปก็จะเห็นได้ว่า ในสงครามโลกครั้งที่สองนั้น สตาลินกับฮิตเลอร์ได้ร่วมเป็นพันธมิตรในสงครามกันอยู่ถึงสองปีภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริปเปนโทรป กระทั่งสิ้นสุดโดยปริยายเมื่อฮิตเลอร์บุกรัสเซีย
ว่ากันว่าสตาลินได้รับคำเตือนล่วงหน้าว่า เยอรมนีคิดไม่ซื่อที่จะรุกรานรัสเซีย แต่สตาลินไม่เชื่อคำเตือนล่วงหน้า
ผลที่ตามมาก็คือ กองกำลังส่วนหน้าของรัสเซียต้องเสียหายอย่างย่อยยับเมื่อเยอรมนีบุกเข้ามายังรัสเซียเมื่อเปิดฉากสงครามใหม่ๆ เพราะว่ารัสเซียไม่มีเวลาตั้งตัวทัน
หลังจากเสียหายทางการทหารอย่างยับเยินสตาลินก็ตั้งหลักได้ และสตาลินต้องใช้เวลานานกว่าจะดึงกำลังจากการถอยมาเป็นยัน และก็สามารถเปิดฉากตีโต้การรุกของเยอรมนี จนกระทั่งสามารถเอาชนะได้
แต่ทหารและพลเรือนรัสเซียตายไปในสงครามถึง 27 ล้านคนในสงครามโลกครั้งที่สองครับ
บทสรุปก็คือว่า แม้เราอาจมองสตาลินว่าเขาไม่ได้เป็นทรราช แต่เขาก็เป็นส่วนหนึ่งของความหายนะสำหรับรัสเซีย เพราะหลังสงครามนโยบายต่างๆ ของสตาลินได้ก่อกรรมทำเข็ญไว้กับประชาชนอีกไม่น้อยเลยครับ