ซับเวย์ ฟาสต์ฟู้ดแซนด์วิช ปรับเกมตลาด เร่งเจาะฐานตลาดคนไทยมากขึ้น เตรียมปรับเมนูเพื่อทำราคาต่ำ ขยายเครือข่ายเป้า 5 ปีจากนี้ 140 สาขา ใช้โปรโมชันลดค่าธรรมเนียม 50% ล่อคนซื้อแฟรนไชส์
นายไมเคิล เจมส์ อัลลัน ประธานตัวแทนฝ่ายพัฒนาแฟรนไชส์ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ กับนางสาวสลิลทิพย์ ทิพย์ธรานุกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อัลลัน แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด ผู้บริหารร้านฟาสต์ฟู้ดซับเวย์ในไทย ร่วมกันเปิดเผยว่า หลังจากที่ซับเวย์เปิดตัวธุรกิจในไทยประมาณปีครึ่งแล้วได้รับการตอบรับที่ดีโดยเฉพาะกลุ่มคนต่างชาติที่อยู่ในไทย เนื่องจากว่าแบรนด์นี้ยังใหม่สำหรับคนไทย แต่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศอย่างมาก
ในปีนี้จึงมีแผนที่จะลงทุนอย่างต่อเนื่องและจะพยายามขยายฐานลูกค้าคนไทยใฟ้มากขึ้นโดยปรับสัดส่วนลูกค้าให้เป็นคนไทยมากขึ้นจากเดิม 20% ส่วนอีก 80% เป็นลูกค้าต่างชาติ ให้เป็น ลูกค้าคนไทย 80% และ ต่างชาติ 20% ภายใน 5 ปีนับจากนี้ อย่างไรก็ตามแม้ว่าสัดส่วนลูกค้าต่างชาติจะน้อยลง แต่ก็เป็นฐานตลาดที่ใหญ่ขึ้น
ขณะเดียวกันวางแผนเพิ่มสาขาให้ครบ 140 แห่ง ภายในปี 2553 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันเปิดบริการแล้ว 13 สาขา (ในกรุงเทพฯและปริมณฑล 7 สาขา ต่างจังหวัด 6 สาขา) ตั้งกระจายทั้งสแตนด์อโลนและในพลาซ่า ตามย่านที่มีนักท่องเที่ยวและคนต่างชาติอาศัยอยู่มาก ซึ่งมีของบริษัทสาขาเดียวที่สีลม ที่เหลือเป็นของแฟรนไชส์ทั้งหมดถือเป็นการเติบโตที่มากกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ว่าภายในปี 2548 จะมีสาขา 5 แห่ง โดยปีนี้มีเป้าที่จะเปิดอีก 9 สาขา และปีหน้าอีก 12 สาขา
โดยเงื่อนไขแฟรนไชส์นั้นจะเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้า 10,000 เหรียญสหรัฐ หากเปิดร้านได้ภายใน 1 ปีจะคืนเงินให้ 50% และหากรายเดิมซื้อแฟรนไชส์เพิ่มอีก ก็จะเสียค่าธรรมเนียมแค่ 5,000 เหรียญสหรัฐและจะคืนให้ 50% เมื่อเปิดร้านได้ภายใน 1 ปีเช่นกัน ซึ่งเป็นโปรโมชั่นที่บริษัทฯทำขึ้นโดยขออนุญาติจากทางบริษัทแม่ที่อเมริกาและได้รับอนุมัติปีนี้เป็นปีที่ 3 แล้ว นอกนั้นเสียค่ารอยัลตี้ฟี 8% ค่ามาร์เก็ตติ้งฟี 3.5% ลงทุนต่อร้านประมาณ 3.5-5 ล้านบาทแล้วแต่ทำเลและขนาดพื้นที่ที่อยู่ระหว่าง 60-100 ตารางเมตร
"ปีนี้เราจะทำด้านการตลาดมากขึ้น ทั้งการปรับราคาให้ต่ำลงโดยการออกเมนูใหม่ เดิมต่ำสุด 89 บาท เพื่อให้คนไทยเข้าร้านมากขึ้น มีการออกแคมเปญเดลี่สเปเชียล การจัดเมนูเซเว่นอันเดอร์ซิกหรือโครงการอาหารไขมันต่ำ คาดว่าสิ้นเดือนมิถุนายนจะสามารถเริ่มแต่ละโครงการได้ ส่วนเรื่องโฆษณานั้นรอให้มีสาขามากกว่านี้ก่อน คาดว่าอีก 2 ปีจะได้เห็น" นายไมเคิลกล่าว
นางสาวคาเรน อิดส์วิก ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเซีย บริษัท แซนด์วิช ซับเวย์ จำกัด กล่าวว่า ไทยถือเป็นตลาดที่ใหม่และมีศักยภาพแห่งหนึ่งของซับเวย์ โดยในเอเซียนี้ตลาดที่ใหญ่ที่สุดคือ ญี่ปุ่นเปิดมา 12 ปีแล้วมีประมาณ 93 สาขา ที่ไต้หวัน มี 42 สาขา ส่วนที่อินเดียนั้น คาดว่าภายใน 5 ปีนับจากนี้จะมีสาขามากที่สุดคือ 400 กว่าสาขาจากปัจจุบันที่มี 45 สาขา ส่วนจีนมีแล้ว 33 แห่ง ขณะที่สิงคโปร์เป็นตลาดที่มียอดขายและการเติบโตสูงที่สุดจาก 23 สาขา ซึ่งปัจจุบันซับเวย์มีสาขาทั่วโลกกว่า 23,413 สาขาใน 82 ประเทศ
นายไมเคิล เจมส์ อัลลัน ประธานตัวแทนฝ่ายพัฒนาแฟรนไชส์ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ กับนางสาวสลิลทิพย์ ทิพย์ธรานุกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อัลลัน แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด ผู้บริหารร้านฟาสต์ฟู้ดซับเวย์ในไทย ร่วมกันเปิดเผยว่า หลังจากที่ซับเวย์เปิดตัวธุรกิจในไทยประมาณปีครึ่งแล้วได้รับการตอบรับที่ดีโดยเฉพาะกลุ่มคนต่างชาติที่อยู่ในไทย เนื่องจากว่าแบรนด์นี้ยังใหม่สำหรับคนไทย แต่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศอย่างมาก
ในปีนี้จึงมีแผนที่จะลงทุนอย่างต่อเนื่องและจะพยายามขยายฐานลูกค้าคนไทยใฟ้มากขึ้นโดยปรับสัดส่วนลูกค้าให้เป็นคนไทยมากขึ้นจากเดิม 20% ส่วนอีก 80% เป็นลูกค้าต่างชาติ ให้เป็น ลูกค้าคนไทย 80% และ ต่างชาติ 20% ภายใน 5 ปีนับจากนี้ อย่างไรก็ตามแม้ว่าสัดส่วนลูกค้าต่างชาติจะน้อยลง แต่ก็เป็นฐานตลาดที่ใหญ่ขึ้น
ขณะเดียวกันวางแผนเพิ่มสาขาให้ครบ 140 แห่ง ภายในปี 2553 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันเปิดบริการแล้ว 13 สาขา (ในกรุงเทพฯและปริมณฑล 7 สาขา ต่างจังหวัด 6 สาขา) ตั้งกระจายทั้งสแตนด์อโลนและในพลาซ่า ตามย่านที่มีนักท่องเที่ยวและคนต่างชาติอาศัยอยู่มาก ซึ่งมีของบริษัทสาขาเดียวที่สีลม ที่เหลือเป็นของแฟรนไชส์ทั้งหมดถือเป็นการเติบโตที่มากกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ว่าภายในปี 2548 จะมีสาขา 5 แห่ง โดยปีนี้มีเป้าที่จะเปิดอีก 9 สาขา และปีหน้าอีก 12 สาขา
โดยเงื่อนไขแฟรนไชส์นั้นจะเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้า 10,000 เหรียญสหรัฐ หากเปิดร้านได้ภายใน 1 ปีจะคืนเงินให้ 50% และหากรายเดิมซื้อแฟรนไชส์เพิ่มอีก ก็จะเสียค่าธรรมเนียมแค่ 5,000 เหรียญสหรัฐและจะคืนให้ 50% เมื่อเปิดร้านได้ภายใน 1 ปีเช่นกัน ซึ่งเป็นโปรโมชั่นที่บริษัทฯทำขึ้นโดยขออนุญาติจากทางบริษัทแม่ที่อเมริกาและได้รับอนุมัติปีนี้เป็นปีที่ 3 แล้ว นอกนั้นเสียค่ารอยัลตี้ฟี 8% ค่ามาร์เก็ตติ้งฟี 3.5% ลงทุนต่อร้านประมาณ 3.5-5 ล้านบาทแล้วแต่ทำเลและขนาดพื้นที่ที่อยู่ระหว่าง 60-100 ตารางเมตร
"ปีนี้เราจะทำด้านการตลาดมากขึ้น ทั้งการปรับราคาให้ต่ำลงโดยการออกเมนูใหม่ เดิมต่ำสุด 89 บาท เพื่อให้คนไทยเข้าร้านมากขึ้น มีการออกแคมเปญเดลี่สเปเชียล การจัดเมนูเซเว่นอันเดอร์ซิกหรือโครงการอาหารไขมันต่ำ คาดว่าสิ้นเดือนมิถุนายนจะสามารถเริ่มแต่ละโครงการได้ ส่วนเรื่องโฆษณานั้นรอให้มีสาขามากกว่านี้ก่อน คาดว่าอีก 2 ปีจะได้เห็น" นายไมเคิลกล่าว
นางสาวคาเรน อิดส์วิก ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเซีย บริษัท แซนด์วิช ซับเวย์ จำกัด กล่าวว่า ไทยถือเป็นตลาดที่ใหม่และมีศักยภาพแห่งหนึ่งของซับเวย์ โดยในเอเซียนี้ตลาดที่ใหญ่ที่สุดคือ ญี่ปุ่นเปิดมา 12 ปีแล้วมีประมาณ 93 สาขา ที่ไต้หวัน มี 42 สาขา ส่วนที่อินเดียนั้น คาดว่าภายใน 5 ปีนับจากนี้จะมีสาขามากที่สุดคือ 400 กว่าสาขาจากปัจจุบันที่มี 45 สาขา ส่วนจีนมีแล้ว 33 แห่ง ขณะที่สิงคโปร์เป็นตลาดที่มียอดขายและการเติบโตสูงที่สุดจาก 23 สาขา ซึ่งปัจจุบันซับเวย์มีสาขาทั่วโลกกว่า 23,413 สาขาใน 82 ประเทศ