คำว่า สัจจะ เป็นภาษาบาลี แปลว่า ความจริง และมีความหมายเดียวกับคำว่า สัตยะในภาษาสันสกฤต
โดยนัยแห่งคำนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบธรรมอันเป็นความจริงอย่างเยี่ยมยอด หรือที่เรียกว่า อริยสัจสี่ประการ คือ
1. ทุกข์ อันได้แก่ ความไม่สบายใจซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสิ่งที่มีชีวิต และมีจิตวิญญาณรับรู้อารมณ์ได้ เช่น การพลัดจากสิ่งอันเป็นที่รัก และการอยู่ร่วมกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก เป็นต้น และความไม่สบายกาย รวมไปถึงการทนต่อกาลเวลาไม่ได้ต้องเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อม และมีอันต้องแตกดับในที่สุด ทุกข์ประเภทนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต จะต่างกันก็ตรงที่สิ่งมีชีวิตรับรู้การเปลี่ยนแปลง ส่วนสิ่งไม่มีชีวิตไม่มีอารมณ์รับรู้การเปลี่ยนแปลงเท่านั้น
2. สมุทัย ได้แก่ เหตุให้เกิดทุกข์ คือ ความอยากหรือตัณหา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประการคือ อยากมี เรียกว่า กามตัณหา อยากเป็น ที่เรียกว่า ภวตัณหา และประการสุดท้าย ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น เรียกว่า วิภวตัณหา
3. นิโรธ ได้แก่ การดับทุกข์ โดยการดับเหตุแห่งทุกข์ คือตัณหา 3 ประการดังกล่าวข้างต้นได้โดยสิ้นเชิง
4. มรรค ได้แก่ หนทางที่เดินไปสู่ความดับทุกข์ ประกอบด้วยองค์ 8 แต่รวมกันแล้วเป็นทางสายเดียว และเป็นทางสายกลาง คือดำเนินไประหว่างเส้นทางสุดโต่ง 2 ประการ คือ กามสุขัลลิกานุโยค หรือการทำตนให้หมกมุ่นอยู่ในกาม ในสมัยพุทธกาลทางเส้นนี้หมายถึงคำสอนของลัทธิจารวาทที่ถือว่าความสุขอันเกิดจากการเสพกามเป็นนิพพาน ซึ่งตามนัยแห่งคำสอนของพระพุทธเจ้าความเชื่อนี้จัดว่าเป็นฝ่ายต่ำเกินไป และอีกทางหนึ่งคือ อัตตกิลมถานุโยค อันได้แก่ การทำตนเองให้ลำบาก เช่น การยืนขาเดียวกินลม และการถอนผมด้วยแปรงตาล เป็นต้น ตามนัยแห่งคำสอนของเจ้าลัทธิต่างๆ ในยุคนั้น
แต่อย่างไรก็ตาม คำว่าสัจจะ หรือความจริงในความหมายที่ต่ำกว่าอริยสัจ 4 ตามนัยแห่งคำสอนของพระพุทธเจ้าตามที่ปรากฏในพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร อันเป็นสูตรแรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์นั้นได้ถูกนำมาใช้ในความหมายต่างๆ ในภาษาไทย โดยการนำมาต่อเชื่อมกับคำอื่น เช่นคำว่า นโยบายสัจนิยมที่พรรคการเมืองพรรคหนึ่งได้ประกาศเมื่อคราวที่มีการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งที่ผ่านมา และโดยนัยแห่งคำนี้คงจะมีความหมายเพียงว่า ยึดถือความจริงเป็นหลัก ไม่หลอกลวง ไม่พูดให้คนเชื่อโดยไม่มีความจริงรองรับอะไรทำนองนี้
ส่วนอะไรเป็นเหตุให้พรรคการเมืองพรรคนี้ใช้นโยบายนี้นั้นยากแก่การคาดเดาและที่ยิ่งกว่านี้ เมื่อได้ประกาศไปแล้ว พรรคการเมืองนี้ได้กระทำอะไรไปบ้างเพื่อพิสูจน์ให้คนทั้งหลายเห็นว่ามีสัจนิยมจริงหรือไม่นั้น ก็ยังไม่มีนักวิชาการท่านใดได้ทำการประเมินเกี่ยวกับเรื่องนี้
อีกคำหนึ่งที่นำเอาคำในความหมายเดียวกันมาต่อเชื่อม และใช้ในพิธีอันเป็นทางการ คือคำว่า ถวายสัตย์ปฏิญาณสาบานตนต่อเบื้องพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์พระประมุขของชาติ ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
โดยนัยแห่งคำนี้มีความหมายชัดเจนตามตัวอักษรว่า ผู้ที่เข้าถวายสัตย์จะต้องยึดถือ และปฏิบัติตามคำสัตย์ที่ให้ไว้ตลอดเวลาที่อยู่ในตำแหน่ง หรือบางท่านที่เคร่งครัดจะคงยึดถือตลอดไปถึงแม้ว่าจะพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว นี่คือนัยแห่งคำนี้ทางนิตินัย
แต่ในความเป็นจริงที่ปรากฏอยู่จากอดีตจนถึงปัจจุบัน มีผู้ที่เข้าร่วมพิธีนี้มิได้ยึดถือ และปฏิบัติตามคำสัตย์ ทั้งนี้จะเห็นได้จากผลของการกระทำที่ปรากฏเป็นรูปธรรมว่าเป็นสิ่งตรงกันข้ามกับคำสัตย์ที่ให้ไว้ เช่น มีเหตุอันถือได้ไม่ซื่อสัตย์ทั้งต่อตัวเอง และประเทศชาติอันเป็นส่วนรวม จนเป็นเหตุให้กลายเป็นข่าวฉาวโฉ่ในเรื่องทุจริตคอร์รัปชันอยู่ในขณะนี้
สุดท้ายที่จะนำมาพูดถึงในเรื่องของคำว่าสัจจะ ก็คือ โครงการหนึ่งคนหนึ่งสัจจะที่มีการชวนเชิญให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมนี้เนื่องในวันวิสาขบูชา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ด้วยเห็นว่า คำว่าสัจจะ ในความหมายที่โครงการที่ว่านี้ต้องการน่าจะหมายถึงความตั้งใจที่จะทำอะไรบางอย่าง หรือที่เรียกว่า การอธิษฐานจิต มากกว่าที่จะหมายถึงความจริงตามความหมายดั้งเดิมของคำนี้ แต่ถ้าจะมองในแง่ของการนำมาใช้โดยอนุโลม ก็น่าจะหมายถึงการกระทำสัจอธิษฐาน คือ ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ในทำนองที่ว่าเมื่อตั้งใจจะทำอะไรแล้วก็ต้องทำ ถ้าไม่ทำก็ไม่ถือว่ามีสัจจะต่อตนเอง และอาจหมายความเลยไปถึงว่า คนที่ไม่มีสัจจะต่อตนเองไหนเลยจะซื่อสัตย์ต่อคนอื่นก็ได้
ถ้าคำว่าสัจจะที่ใช้ในโครงการฯ ที่ว่านี้ มีลักษณะทำนองนี้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เข้าร่วมโครงการฯ อยู่บ้าง
แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าได้มีการทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ เข้าใจในทำนองนี้หรือไม่ เพราะยังไม่ได้ยินได้ฟัง
แต่ถ้าไม่มีการอธิบายความให้เข้าใจ แต่ได้ทำไปในทำนองให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมเพียงอย่างเดียวย่อมไม่เกิดผลอะไรมากนัก และสุดท้ายก็เงียบหายไปเหมือนโครงการพับนกไปโปรยใน 3 จังหวัดภาคใต้ ที่หลังจากการออกข่าวฮือฮาเรื่องเด็กเก็บนกนายกฯ อยู่พักหนึ่งก็เงียบไป ไม่มีอะไรส่งผลในแง่บวกให้เกิดต่อเนื่อง และที่สำคัญความสามัคคีใน 3 จังหวัดก็คงยังกระท่อนกระแท่นเหมือนเดิม
ถ้าเป็นเช่นนี้ก็จะทำให้เกิดปัญหาคาใจขึ้นมาว่า เมื่อโครงการในทำนองเดียวกันนี้ไม่่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างต่อเนื่องแล้ว ทำไมจึงมีคนคิด และมีคนร่วมทำ และเมื่อทำแล้วทำไมไม่มีการประเมินผลที่ได้แล้วแถลงให้ประชาชนทราบ?
เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มองเห็นประเด็นแห่งปัญหา และสามารถคิดค้นหาคำตอบได้เอง พร้อมกับหาแก่นสารจากคำตอบที่ผู้เขียนเสนอให้คิดไปพร้อมกัน ผู้เขียนใคร่ขอให้ย้อนไปดูมูลเหตุที่น่าจะเชื่อได้ว่าเป็นเหตุจูงใจให้เกิดโครงการทำนองนี้ในขณะนี้ โดยเฉพาะในส่วนที่วันวิสาขบูชา ก็จะพบเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ย้อนหลังไปประมาณ 2,628 ปี ได้มีพระประสูติการเจ้าชายพระองค์หนึ่ง และได้รับพระราชทานพระนามว่า เจ้าชายสิทธัตถะ โดยมีพระบิดาทรงพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ และพระมารดาทรงพระนามว่า สิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ในแคว้นชมพูทวีป
2. ต่อมาอีก 29 ปี หรือประมาณ 2,599 ปีมาแล้ว เจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงออกผนวชและอีก 6 ปีต่อมาหลังจากที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญทุกรกริยาด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อค้นหาโมกขธรรม ในที่สุดก็ทรงค้นพบทางสายกลาง และทำให้พระองค์ตรัสรู้เมื่อประมาณ 2,593 ปีล่วงมาแล้ว
3. เมื่อทรงตรัสรู้แล้วพระพุทธเจ้าก็ได้ทรงแสวงธรรมโปรดสัตว์อยู่ 45 ปี จึงเสด็จดับขันธปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 พรรษา หรือประมาณ 2,548 ปีล่วงมาแล้ว
เหตุการณ์ทั้งในข้อ 1, 2 และ 3 หรือที่เรียกย่อๆ ว่า การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานได้เกิดขึ้นในวันเดียวกัน คือวันเพ็ญเดือน 6 ของปีนั้นๆ
ดังนั้น วันเพ็ญเดือน 6 หรือที่เรียกว่า เพ็ญแห่งวิสาขมาส จึงเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาที่ชาวพุทธควรเข้าวัด และทำการสักการะพระพุทธองค์ ทั้งด้วยอามิสบูชา คือ การบูชาด้วยวัตถุ และปฏิบัติบูชา คือบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์
ส่วนว่าการจัดให้มีโครงการหนึ่งคนหนึ่งสัจจะขึ้นมาจะอยู่ในข่ายการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยวิธีใดใน 2 วิธีดังกล่าวนั้น ในแง่ของผู้เขียนแล้วยากแก่การอธิบาย เพราะถ้าจะบอกว่าเป็นอามิสบูชาก็มิได้ทำเพื่ออุทิศแด่พระพุทธเจ้าโดยตรง แต่ให้ส่งบัตรที่เขียนขึ้นไปที่ทำเนียบ และจากทำเนียบจะไปไหนต่อ มิได้ระบุไว้โดยละเอียด จึงไม่รู้ว่าจะไปเกี่ยวกับอามิสบูชาตรงใดบ้าง
อีกประการหนึ่ง ถ้ามองในแง่ปฏิบัติบูชา คำว่า สัจจะ ตามนัยแห่งพุทธนั้นคือ การรู้จักความจริงตามที่ทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป หรืออีกนัยหนึ่ง ถ้าจะหมายถึงความซื่อสัตย์ซื่อตรงต่อตนเอง ในทำนองว่าเมื่อได้ตั้งใจทำอะไรไว้ก็จะทำสิ่งนั้น ในทำนองเดียวกับการเป็นตถาคตที่ว่า พูดอย่างไร ทำอย่างนั้น และทำอย่างไร พูดอย่างนั้น หรือพูดง่ายๆ ก็คือปากกับใจตรงกัน ก็ยากที่บอกได้ว่า คนที่เขียนว่าจะทำโน่นหรือจะทำนี่ได้ทำตามนั้นหรือไม่ เพราะเมื่อส่งไปแล้วก็ไม่มีกระบวนการตามดู หรือแม้กระทั่งที่มีกระบวนการตามดู และตรวจสอบ ก็ยังมีคนพูดอย่างทำอย่าง และทำอย่างพูดอย่างให้เห็นเป็นตัวอย่างอยู่ดาษดื่น โดยเฉพาะในชนชั้นปกครองที่เยาวชนถือเป็นด้วยแล้วยังมีให้เห็น และให้ได้ยินอยู่ทั่วไป เมื่อมองจากมุมนี้แล้วทำให้น่าเชื่อว่า แบบอย่างสัจจะที่ใครต่อใครเขียนไปนั้น จะก่อให้เกิดประโยชน์อันใดไม่ได้เลย นอกเสียจากเป็นโครงการที่ช่วยสร้างภาพในด้านดีให้ผู้คิด ผู้ทำโครงการนี้เท่านั้น หรือถ้ามองในแง่ของการเมืองก็อาจบอกได้ว่า โครงการทำนองนี้ช่วยเบนความสนใจจากข่าวคราวฉาวโฉ่ลงได้บ้างเท่านั้นเอง
ไม่ว่าโครงการที่ว่านี้จะเกิดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ใด และให้ผลตามวัตถุประสงค์นั้นหรือไม่ โครงการในทำนองนี้ทำให้เกิดแง่คิดขึ้นมาประการหนึ่ง ก็คือ ในยุคที่ผู้นำเป็นคนกระตือรือร้น และเอาจริงในการทำงานทำให้ทุกคนในรัฐบาลต้องคิดสิ่งใหม่ๆ มาทำ และมีอยู่ไม่น้อยที่ทำไปด้วยการคิดไม่รอบคอบ และก่อให้เกิดผลเสียแก่รัฐบาลโดยรวม ตัวอย่างเช่น โครงการอีลิทการ์ด เป็นต้น ที่จนบัดนี้ยังมองหาประโยชน์ที่จะได้รับยังไม่พบ แต่รายจ่ายจากเงินภาษีได้เกิดขึ้นแล้ว เป็นต้น
ด้วยเหตุที่การคิดเร็ว พูดเร็ว และต้องทำเร็ว เพื่อให้สอดคล้องกับการคิด และพูดนี้เองทำให้โครงการหลายๆ โครงการเกิดขึ้นรายเดือน หรือบางครั้งเกือบรายวัน และแต่ละโครงการมีการใช้เงิน แต่เมื่อใช้เงินไปแล้วยังไม่มีการประเมินอย่างจริงจังว่าให้ผลตามที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์หรือไม่ แม้กระทั่งในวงการที่ถือได้ว่าระดับชาติ ไม่ทราบว่ากี่โครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว ขณะนี้ได้ทำไปถึงไหน และประชาชนได้อะไรจากการทำไปแล้ว เป็นต้น
ในฐานะประชาชน ผู้เขียนอยากเห็นรัฐบาลภายใต้ผู้นำที่ขยันคิด ขยันพูด และขยันสั่ง ได้กรุณาตั้งหน่วยงานติดตาม และประเมินผลโครงการที่เกิดขึ้นแล้วจากการก่อหนี้ที่มีรัฐบาลค้ำประกันว่าได้ดำเนินไปอย่างไร โดยเฉพาะโครงการที่มีข่าวไม่ค่อยดีอยู่ในขณะนี้แล้ว บอกประชาชนให้ชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้น และขณะนี้รัฐบาลกำลังแก้ไขอย่างไรให้แจ่มแจ้งชัดเจน และปราศจากความคลุมเครือเหมือนดังที่เป็นอยู่
ถ้าทำได้เช่นนี้ อย่าว่าแค่ 8 ปีเลย ลงเลือกกี่ครั้งก็เชื่อว่าได้เป็นทุกครั้ง ในทางกลับกัน ถ้าไม่ทำอะไรให้หายเคลือบแคลง อย่าว่าแต่ 8 ปีเลย 5-6 ปีก็ทำท่าว่าจะไปได้ยาก เพราะคนในปัจจุบันจะมองจากผลไปหาเหตุ คือ ถ้าผลปรากฏว่าส่อเค้าความไม่ซื่อสัตย์ต่อประชาชน และประเทศชาติโดยรวม ก็จะอนุมานไปหาเหตุว่าแท้จริงแล้วคนที่ทำในทำนองนี้คงจะไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองอยู่ก่อนแล้วนั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ ถ้าจะให้คนเชื่อว่าตนเองซื่อสัตย์ ซื่อตรง ก็ควรจะทำให้ผลที่เกิดจากการกระทำโปร่งใส น่าเชื่อถือก่อน แล้ว คนจะเชื่อเองโดยไม่ต้องมีโครงการใดๆ ออกมาเพื่อโน้มน้าวให้คนเชื่อ
โดยนัยแห่งคำนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบธรรมอันเป็นความจริงอย่างเยี่ยมยอด หรือที่เรียกว่า อริยสัจสี่ประการ คือ
1. ทุกข์ อันได้แก่ ความไม่สบายใจซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสิ่งที่มีชีวิต และมีจิตวิญญาณรับรู้อารมณ์ได้ เช่น การพลัดจากสิ่งอันเป็นที่รัก และการอยู่ร่วมกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก เป็นต้น และความไม่สบายกาย รวมไปถึงการทนต่อกาลเวลาไม่ได้ต้องเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อม และมีอันต้องแตกดับในที่สุด ทุกข์ประเภทนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต จะต่างกันก็ตรงที่สิ่งมีชีวิตรับรู้การเปลี่ยนแปลง ส่วนสิ่งไม่มีชีวิตไม่มีอารมณ์รับรู้การเปลี่ยนแปลงเท่านั้น
2. สมุทัย ได้แก่ เหตุให้เกิดทุกข์ คือ ความอยากหรือตัณหา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประการคือ อยากมี เรียกว่า กามตัณหา อยากเป็น ที่เรียกว่า ภวตัณหา และประการสุดท้าย ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น เรียกว่า วิภวตัณหา
3. นิโรธ ได้แก่ การดับทุกข์ โดยการดับเหตุแห่งทุกข์ คือตัณหา 3 ประการดังกล่าวข้างต้นได้โดยสิ้นเชิง
4. มรรค ได้แก่ หนทางที่เดินไปสู่ความดับทุกข์ ประกอบด้วยองค์ 8 แต่รวมกันแล้วเป็นทางสายเดียว และเป็นทางสายกลาง คือดำเนินไประหว่างเส้นทางสุดโต่ง 2 ประการ คือ กามสุขัลลิกานุโยค หรือการทำตนให้หมกมุ่นอยู่ในกาม ในสมัยพุทธกาลทางเส้นนี้หมายถึงคำสอนของลัทธิจารวาทที่ถือว่าความสุขอันเกิดจากการเสพกามเป็นนิพพาน ซึ่งตามนัยแห่งคำสอนของพระพุทธเจ้าความเชื่อนี้จัดว่าเป็นฝ่ายต่ำเกินไป และอีกทางหนึ่งคือ อัตตกิลมถานุโยค อันได้แก่ การทำตนเองให้ลำบาก เช่น การยืนขาเดียวกินลม และการถอนผมด้วยแปรงตาล เป็นต้น ตามนัยแห่งคำสอนของเจ้าลัทธิต่างๆ ในยุคนั้น
แต่อย่างไรก็ตาม คำว่าสัจจะ หรือความจริงในความหมายที่ต่ำกว่าอริยสัจ 4 ตามนัยแห่งคำสอนของพระพุทธเจ้าตามที่ปรากฏในพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร อันเป็นสูตรแรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์นั้นได้ถูกนำมาใช้ในความหมายต่างๆ ในภาษาไทย โดยการนำมาต่อเชื่อมกับคำอื่น เช่นคำว่า นโยบายสัจนิยมที่พรรคการเมืองพรรคหนึ่งได้ประกาศเมื่อคราวที่มีการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งที่ผ่านมา และโดยนัยแห่งคำนี้คงจะมีความหมายเพียงว่า ยึดถือความจริงเป็นหลัก ไม่หลอกลวง ไม่พูดให้คนเชื่อโดยไม่มีความจริงรองรับอะไรทำนองนี้
ส่วนอะไรเป็นเหตุให้พรรคการเมืองพรรคนี้ใช้นโยบายนี้นั้นยากแก่การคาดเดาและที่ยิ่งกว่านี้ เมื่อได้ประกาศไปแล้ว พรรคการเมืองนี้ได้กระทำอะไรไปบ้างเพื่อพิสูจน์ให้คนทั้งหลายเห็นว่ามีสัจนิยมจริงหรือไม่นั้น ก็ยังไม่มีนักวิชาการท่านใดได้ทำการประเมินเกี่ยวกับเรื่องนี้
อีกคำหนึ่งที่นำเอาคำในความหมายเดียวกันมาต่อเชื่อม และใช้ในพิธีอันเป็นทางการ คือคำว่า ถวายสัตย์ปฏิญาณสาบานตนต่อเบื้องพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์พระประมุขของชาติ ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
โดยนัยแห่งคำนี้มีความหมายชัดเจนตามตัวอักษรว่า ผู้ที่เข้าถวายสัตย์จะต้องยึดถือ และปฏิบัติตามคำสัตย์ที่ให้ไว้ตลอดเวลาที่อยู่ในตำแหน่ง หรือบางท่านที่เคร่งครัดจะคงยึดถือตลอดไปถึงแม้ว่าจะพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว นี่คือนัยแห่งคำนี้ทางนิตินัย
แต่ในความเป็นจริงที่ปรากฏอยู่จากอดีตจนถึงปัจจุบัน มีผู้ที่เข้าร่วมพิธีนี้มิได้ยึดถือ และปฏิบัติตามคำสัตย์ ทั้งนี้จะเห็นได้จากผลของการกระทำที่ปรากฏเป็นรูปธรรมว่าเป็นสิ่งตรงกันข้ามกับคำสัตย์ที่ให้ไว้ เช่น มีเหตุอันถือได้ไม่ซื่อสัตย์ทั้งต่อตัวเอง และประเทศชาติอันเป็นส่วนรวม จนเป็นเหตุให้กลายเป็นข่าวฉาวโฉ่ในเรื่องทุจริตคอร์รัปชันอยู่ในขณะนี้
สุดท้ายที่จะนำมาพูดถึงในเรื่องของคำว่าสัจจะ ก็คือ โครงการหนึ่งคนหนึ่งสัจจะที่มีการชวนเชิญให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมนี้เนื่องในวันวิสาขบูชา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ด้วยเห็นว่า คำว่าสัจจะ ในความหมายที่โครงการที่ว่านี้ต้องการน่าจะหมายถึงความตั้งใจที่จะทำอะไรบางอย่าง หรือที่เรียกว่า การอธิษฐานจิต มากกว่าที่จะหมายถึงความจริงตามความหมายดั้งเดิมของคำนี้ แต่ถ้าจะมองในแง่ของการนำมาใช้โดยอนุโลม ก็น่าจะหมายถึงการกระทำสัจอธิษฐาน คือ ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ในทำนองที่ว่าเมื่อตั้งใจจะทำอะไรแล้วก็ต้องทำ ถ้าไม่ทำก็ไม่ถือว่ามีสัจจะต่อตนเอง และอาจหมายความเลยไปถึงว่า คนที่ไม่มีสัจจะต่อตนเองไหนเลยจะซื่อสัตย์ต่อคนอื่นก็ได้
ถ้าคำว่าสัจจะที่ใช้ในโครงการฯ ที่ว่านี้ มีลักษณะทำนองนี้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เข้าร่วมโครงการฯ อยู่บ้าง
แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าได้มีการทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ เข้าใจในทำนองนี้หรือไม่ เพราะยังไม่ได้ยินได้ฟัง
แต่ถ้าไม่มีการอธิบายความให้เข้าใจ แต่ได้ทำไปในทำนองให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมเพียงอย่างเดียวย่อมไม่เกิดผลอะไรมากนัก และสุดท้ายก็เงียบหายไปเหมือนโครงการพับนกไปโปรยใน 3 จังหวัดภาคใต้ ที่หลังจากการออกข่าวฮือฮาเรื่องเด็กเก็บนกนายกฯ อยู่พักหนึ่งก็เงียบไป ไม่มีอะไรส่งผลในแง่บวกให้เกิดต่อเนื่อง และที่สำคัญความสามัคคีใน 3 จังหวัดก็คงยังกระท่อนกระแท่นเหมือนเดิม
ถ้าเป็นเช่นนี้ก็จะทำให้เกิดปัญหาคาใจขึ้นมาว่า เมื่อโครงการในทำนองเดียวกันนี้ไม่่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างต่อเนื่องแล้ว ทำไมจึงมีคนคิด และมีคนร่วมทำ และเมื่อทำแล้วทำไมไม่มีการประเมินผลที่ได้แล้วแถลงให้ประชาชนทราบ?
เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มองเห็นประเด็นแห่งปัญหา และสามารถคิดค้นหาคำตอบได้เอง พร้อมกับหาแก่นสารจากคำตอบที่ผู้เขียนเสนอให้คิดไปพร้อมกัน ผู้เขียนใคร่ขอให้ย้อนไปดูมูลเหตุที่น่าจะเชื่อได้ว่าเป็นเหตุจูงใจให้เกิดโครงการทำนองนี้ในขณะนี้ โดยเฉพาะในส่วนที่วันวิสาขบูชา ก็จะพบเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ย้อนหลังไปประมาณ 2,628 ปี ได้มีพระประสูติการเจ้าชายพระองค์หนึ่ง และได้รับพระราชทานพระนามว่า เจ้าชายสิทธัตถะ โดยมีพระบิดาทรงพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ และพระมารดาทรงพระนามว่า สิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ในแคว้นชมพูทวีป
2. ต่อมาอีก 29 ปี หรือประมาณ 2,599 ปีมาแล้ว เจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงออกผนวชและอีก 6 ปีต่อมาหลังจากที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญทุกรกริยาด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อค้นหาโมกขธรรม ในที่สุดก็ทรงค้นพบทางสายกลาง และทำให้พระองค์ตรัสรู้เมื่อประมาณ 2,593 ปีล่วงมาแล้ว
3. เมื่อทรงตรัสรู้แล้วพระพุทธเจ้าก็ได้ทรงแสวงธรรมโปรดสัตว์อยู่ 45 ปี จึงเสด็จดับขันธปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 พรรษา หรือประมาณ 2,548 ปีล่วงมาแล้ว
เหตุการณ์ทั้งในข้อ 1, 2 และ 3 หรือที่เรียกย่อๆ ว่า การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานได้เกิดขึ้นในวันเดียวกัน คือวันเพ็ญเดือน 6 ของปีนั้นๆ
ดังนั้น วันเพ็ญเดือน 6 หรือที่เรียกว่า เพ็ญแห่งวิสาขมาส จึงเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาที่ชาวพุทธควรเข้าวัด และทำการสักการะพระพุทธองค์ ทั้งด้วยอามิสบูชา คือ การบูชาด้วยวัตถุ และปฏิบัติบูชา คือบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์
ส่วนว่าการจัดให้มีโครงการหนึ่งคนหนึ่งสัจจะขึ้นมาจะอยู่ในข่ายการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยวิธีใดใน 2 วิธีดังกล่าวนั้น ในแง่ของผู้เขียนแล้วยากแก่การอธิบาย เพราะถ้าจะบอกว่าเป็นอามิสบูชาก็มิได้ทำเพื่ออุทิศแด่พระพุทธเจ้าโดยตรง แต่ให้ส่งบัตรที่เขียนขึ้นไปที่ทำเนียบ และจากทำเนียบจะไปไหนต่อ มิได้ระบุไว้โดยละเอียด จึงไม่รู้ว่าจะไปเกี่ยวกับอามิสบูชาตรงใดบ้าง
อีกประการหนึ่ง ถ้ามองในแง่ปฏิบัติบูชา คำว่า สัจจะ ตามนัยแห่งพุทธนั้นคือ การรู้จักความจริงตามที่ทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป หรืออีกนัยหนึ่ง ถ้าจะหมายถึงความซื่อสัตย์ซื่อตรงต่อตนเอง ในทำนองว่าเมื่อได้ตั้งใจทำอะไรไว้ก็จะทำสิ่งนั้น ในทำนองเดียวกับการเป็นตถาคตที่ว่า พูดอย่างไร ทำอย่างนั้น และทำอย่างไร พูดอย่างนั้น หรือพูดง่ายๆ ก็คือปากกับใจตรงกัน ก็ยากที่บอกได้ว่า คนที่เขียนว่าจะทำโน่นหรือจะทำนี่ได้ทำตามนั้นหรือไม่ เพราะเมื่อส่งไปแล้วก็ไม่มีกระบวนการตามดู หรือแม้กระทั่งที่มีกระบวนการตามดู และตรวจสอบ ก็ยังมีคนพูดอย่างทำอย่าง และทำอย่างพูดอย่างให้เห็นเป็นตัวอย่างอยู่ดาษดื่น โดยเฉพาะในชนชั้นปกครองที่เยาวชนถือเป็นด้วยแล้วยังมีให้เห็น และให้ได้ยินอยู่ทั่วไป เมื่อมองจากมุมนี้แล้วทำให้น่าเชื่อว่า แบบอย่างสัจจะที่ใครต่อใครเขียนไปนั้น จะก่อให้เกิดประโยชน์อันใดไม่ได้เลย นอกเสียจากเป็นโครงการที่ช่วยสร้างภาพในด้านดีให้ผู้คิด ผู้ทำโครงการนี้เท่านั้น หรือถ้ามองในแง่ของการเมืองก็อาจบอกได้ว่า โครงการทำนองนี้ช่วยเบนความสนใจจากข่าวคราวฉาวโฉ่ลงได้บ้างเท่านั้นเอง
ไม่ว่าโครงการที่ว่านี้จะเกิดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ใด และให้ผลตามวัตถุประสงค์นั้นหรือไม่ โครงการในทำนองนี้ทำให้เกิดแง่คิดขึ้นมาประการหนึ่ง ก็คือ ในยุคที่ผู้นำเป็นคนกระตือรือร้น และเอาจริงในการทำงานทำให้ทุกคนในรัฐบาลต้องคิดสิ่งใหม่ๆ มาทำ และมีอยู่ไม่น้อยที่ทำไปด้วยการคิดไม่รอบคอบ และก่อให้เกิดผลเสียแก่รัฐบาลโดยรวม ตัวอย่างเช่น โครงการอีลิทการ์ด เป็นต้น ที่จนบัดนี้ยังมองหาประโยชน์ที่จะได้รับยังไม่พบ แต่รายจ่ายจากเงินภาษีได้เกิดขึ้นแล้ว เป็นต้น
ด้วยเหตุที่การคิดเร็ว พูดเร็ว และต้องทำเร็ว เพื่อให้สอดคล้องกับการคิด และพูดนี้เองทำให้โครงการหลายๆ โครงการเกิดขึ้นรายเดือน หรือบางครั้งเกือบรายวัน และแต่ละโครงการมีการใช้เงิน แต่เมื่อใช้เงินไปแล้วยังไม่มีการประเมินอย่างจริงจังว่าให้ผลตามที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์หรือไม่ แม้กระทั่งในวงการที่ถือได้ว่าระดับชาติ ไม่ทราบว่ากี่โครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว ขณะนี้ได้ทำไปถึงไหน และประชาชนได้อะไรจากการทำไปแล้ว เป็นต้น
ในฐานะประชาชน ผู้เขียนอยากเห็นรัฐบาลภายใต้ผู้นำที่ขยันคิด ขยันพูด และขยันสั่ง ได้กรุณาตั้งหน่วยงานติดตาม และประเมินผลโครงการที่เกิดขึ้นแล้วจากการก่อหนี้ที่มีรัฐบาลค้ำประกันว่าได้ดำเนินไปอย่างไร โดยเฉพาะโครงการที่มีข่าวไม่ค่อยดีอยู่ในขณะนี้แล้ว บอกประชาชนให้ชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้น และขณะนี้รัฐบาลกำลังแก้ไขอย่างไรให้แจ่มแจ้งชัดเจน และปราศจากความคลุมเครือเหมือนดังที่เป็นอยู่
ถ้าทำได้เช่นนี้ อย่าว่าแค่ 8 ปีเลย ลงเลือกกี่ครั้งก็เชื่อว่าได้เป็นทุกครั้ง ในทางกลับกัน ถ้าไม่ทำอะไรให้หายเคลือบแคลง อย่าว่าแต่ 8 ปีเลย 5-6 ปีก็ทำท่าว่าจะไปได้ยาก เพราะคนในปัจจุบันจะมองจากผลไปหาเหตุ คือ ถ้าผลปรากฏว่าส่อเค้าความไม่ซื่อสัตย์ต่อประชาชน และประเทศชาติโดยรวม ก็จะอนุมานไปหาเหตุว่าแท้จริงแล้วคนที่ทำในทำนองนี้คงจะไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองอยู่ก่อนแล้วนั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ ถ้าจะให้คนเชื่อว่าตนเองซื่อสัตย์ ซื่อตรง ก็ควรจะทำให้ผลที่เกิดจากการกระทำโปร่งใส น่าเชื่อถือก่อน แล้ว คนจะเชื่อเองโดยไม่ต้องมีโครงการใดๆ ออกมาเพื่อโน้มน้าวให้คนเชื่อ