พระพุทธเจ้า ทรงเป็นแบบอย่างของการพัฒนาอย่างยิ่งใหญ่สู่จุดสูงสุดแห่งมนุษยชาติ คือสันติภาพถาวร (พระนิพพาน)
วันวิสาขบูชา องค์การสหประชาชาติ (United Nation หรือ UN) โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization หรือ UNESCO) ได้กำหนดให้เป็น วันสำคัญสากลของโลก เป็นวันสำคัญแห่งการเกิดขึ้นแห่ง องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นศาสดาเอกของโลก พระผู้ทรงเป็นแบบอย่างการพัฒนาสูงสุดอันยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ อย่างไม่เคยมีมาก่อน
วันวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งตรงกับวันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พุทธศาสนิกชนและสาธุชนทั่วโลก ได้แสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณของโลกอย่างใหญ่หลวง และเป็นวันสำคัญของปวงชนชาวไทยมานานนับหลายร้อยปี พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ รัฐบาลและประชาชนให้ความสำคัญถือเป็นวันหยุดทางราชการ เพื่อให้พี่น้องพุทธศาสนิกชน และสาธุทั้งหลายได้น้อมรำลึกบูชาคุณต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
วันวิสาขบูชา เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน เป็นความมหัศจรรย์ 2 นัย
นัยที่ 1 พระพุทธเจ้ามีนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระโอรสในพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ศากยวงศ์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ และพระนางสิริมหามายา ประสูติเมื่อวันศุกร์ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ เวลาใกล้เที่ยง ใต้ต้นไม้่รังหรือสาละแห่งลุมพินีวัน (ปัจจุบันเรียกว่า ลุมมินเด ก่อนพุทธศักราช 80 ปี)
บุคคลผู้ซึ่งจะอุบัติขึ้นมาเพื่อเป็นประโยชน์แก่มวลโลก ย่อมมีอภินิหารเป็นธรรมดา เช่น ขณะประสูติมีเทวดามาคอยรับ ประสูติแล้วทรงดำเนินไปได้ 7 ก้าว ขณะที่ทรงดำเนินไปได้ 7 ก้าว ก็ทรงหยุดอยู่เพียงเท่านั้น แล้วทรงเปล่งอาสภิวาจา คือประกาศพระองค์ว่าเป็นเอกในโลก ว่า
"อัคโคหะมัสมิ โลกัสสะ เชฏโฐ เสฏโฐหะมัสมิ
อะยะมันติมา เม ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโว"
แปลความว่า "ในโลกนี้เราเป็นหนึ่ง เราเป็นยอด เราเป็นเลิศประเสริฐที่สุด การเกิดครั้งนี้ของเรา เป็นครั้งสุดท้าย ภพใหม่ต่อไปไม่มีสำหรับเรา"
เจ้าชายสิทธัตถะ ได้เสด็จออกบวชเมื่อพระชนมายุ 29 ชันษา ได้ละทิ้งราชสมบัติกามสุขทางโลกเพื่อแสวงหา โมกขธรรม เพื่อความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดและพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง ได้ไปศึกษายังสำนักของ อาฬารดาบส กาลามโคตร และ อุททกดาบส รามบุตร มหาชนในสมัยนั้นถือกันว่าเป็นคณาจารย์ผู้มีความรู้อันยอดเยี่ยมในสมัยนั้น ทรงใช้เวลาไม่นานก็ได้สำเร็จ สมาบัติ 8 คือรูปญาน 4 และอรูปญาน 4
ทั้งได้บำเพ็ญทุกรกิริยา ด้วยการเพียรทรมานตนต่างๆ อันยากที่ใครๆ จะทำได้ เช่น กดพระทนต์ด้วยพระทนต์ (ฟัน) ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะ ปัสสาสะ คือกลั่นลมหายใจ ทรงอดอาหาร เสวยแต่วันละน้อยๆ จนพระวรกายเหี่ยวแห้ง ทรงลูบพระวรกายเส้นพระโลมาก็ร่วงหลุด กระทั่งทรงเห็นว่าการกระทำทรมานกายอย่างนี้ (อัตตะกิละมะถานุโยค) ว่านั่นไม่ใช่ทางที่จะตรัสรู้ได้
พระองค์จึงกลับมาเสวยอาหารดังเดิม และทรงเริ่มบำเพ็ญเพียรทางจิตต่อไป ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในวันตรัสรู้ พระองค์ได้ประทับนั่งขัดสมาธิ ณ ควงไม้พระศรีมาโพธิ์ หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก แล้วทรงอธิษฐานพระทัย (จาตุรงคมหาปธาน) ว่า "จักไม่ลุกขึ้นจากที่นี้ ตราบใดที่ยังไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ แม้ว่าเนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปจนเหลือเพียงหนังหุ้มกระดูกก็ตามที"
ในคืนขึ้น 15 ค่ำ วันเพ็ญเดือน 6 ขณะทรงบำเพ็ญเพียรทางจิต มารคือกิเลส ได้เกิดขึ้นท่องเที่ยวอยู่ในพระทัยของพระองค์นำให้ทรงหวนระลึกถึงความหลังเมื่อครั้งเสวยกามสุขอยู่ในราชสมบัติ ซึ่งน่าอภิรมย์ยิ่งนัก ทรงหักห้ามพระทัยและต่อสู้กับกิเลสมารเหล่านั้นด้วย พระบารมี 10 ทัศ คือ ทาน, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา ที่เคยทรงบำเพ็ญมาในอดีตชาติและในปัจจุบันชาติ พระองค์ทรงไม่หวั่นไหวกับอุปสรรค ก็ทรงสามารถผจญกิเลสมารอันเกิดขึ้นท่องเที่ยวอยู่ใต้พระทัยให้ปราชัยได้ พระองค์เจริญสมาธิภาวนาทำจิตใจให้แน่วแน่ปราศจากอุปกิเลส ยังญาณให้เกิดขึ้นอันเป็นปัญญาขั้นสูงให้เกิดขึ้นเป็นระยะๆ
ปฐมยาม ทรงบรรลุ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกชาติได้ เป็นเหตุให้ทรงหยั่งรู้อัตภาพขันธสังขาร (นามรูป) ว่าเป็นเพียงสภาวะอย่างหนึ่งเท่านั้น รวมกันเข้าเป็นขันธ์เป็นผลให้ทรงกำจัดความหลงในขันธ์ (นามรูป) อันเป็นเหตุรักและชังเสียได้
มัชฌิมยาม ทรงบรรลุ จตูปปาตญาณ (ทิพพจักษุญาณ) ทรงมองเห็นการจุติและการเกิดของมวลสัตว์ได้ เป็นเหตุให้ทรงหยั่งรู้ว่าขันธ์ (รูปนาม) เป็นไปตามอำนาจแห่งธรรมดาเป็นสัตว์บุคคลในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง แล้วแตกสลายไปในที่สุด เหมือนกันหมด จะมีเลว ดี ทุกข์ สุข ก็เพราะกรรมที่ทำเอาไว้ เป็นผลให้ทรงกำจัดความหลงในคติแห่งขันธ์ ว่าเป็นอัตตา อันเป็นเหตุสำคัญผิดด้วยประการต่างๆ เสียได้
ปัจฉิมยาม ทรงบรรลุ อาสวักขยญาณ ปัญญารู้เหตุสิ้นไปแห่งอาสวะเครื่องเศร้าหมองอันหมักหมมอยู่ในจิตสันดาน เป็นเหตุให้ทรงหยั่งรู้ขันธ์ พร้อมทั้งอาการโดยความเป็นเหตุเป็นผลสืบต่อเนื่องติดต่อกันไปเหมือนลูกโซ่ ซึ่งคล้องเกี่ยวกันเป็นสายทรงเรียกว่า อิทัปปัจยตาปฏิจจสมุปบาท ซึ่งก็ทรงรู้อริยสัจ 4 เป็นต้น เป็นผลให้พระองค์ทรงรู้และเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างจนสามารถบรรลุถึงความบริสุทธิ์สิ้นเชิงได้ สมพระมโนปณิธาน อันทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 6 ปี ทรงบรรลุธรรมเป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ 35 ชันษา
"อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก" พระองค์จึงมีนามพิเศษว่า อรหํ เพราะพระองค์เป็นผู้ควรและเป็นผู้บริสุทธิ์ ไกลจากกิเลส ที่ได้พระนามว่า สัมมาสัมพุทโธ เพราะพระองค์ตรัสรู้ชอบได้ตามลำพังพระองค์เอง จากนั้นพระองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจออกสั่งสอนเผยแผ่สัจธรรม นับพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 พระโกณฑัญญะ, พระวัปปะ, พระมหานามะ, พระภัททิยะ, และอัสสชิ ฯลฯ ได้บรรลุพระอรหันต์ เป็นต้น
พระพุทธองค์ปรินิพพาน หลังจาก พระพุทธองค์ได้ทรงเผยแผ่สัจธรรมคำสอนอยู่ 45 พรรษา ทำให้พุทธสาวกบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน, พระสกทาคามี, พระอนาคามี, และพระอรหันต์เป็นจำนวนมาก จนสามารถตั้งพระศาสนาพุทธ (พระธรรมวินัย) ลงในประเทศอินเดียเป็นปึกแแผ่น และพระพุทธองค์ได้ตรัสแก่เหล่าภิกษุทั้งหลายเป็นครั้งสุดท้ายว่า "หันททานิ ภิกขะเว อามันตะยามิโว ภิกขะเว ขะยะวะยะธัมมา วะยะธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ" แปลความว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า สังขารทั้งปวงล้วนมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้บริบูรณ์ ด้วยความไม่ประมาทเถิด" และแล้วพระพุทธองค์ทรงเข้าปรินิพพาน เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ วันเพ็ญเดือน 6 ณ ตำบลสาลวโนทยาน นครกุสินารา รัฐมัลละ มีนัยสำคัญเพื่อโปรดสาวกองค์สุดท้ายและเพื่อสันติภาพระหว่างเมืองต่างๆ
นัยที่ 2 การตีความตามนัยปรมัตถธรรม การประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน เกิดขึ้นพร้อมกันในวัน เวลานาที เดือน ปีเดียวกัน การประสูติ (การเกิดขึ้นของสภาวะพระพุทธเจ้า) ตรัสรู้ (การรู้แจ้งในขันธ์ 5) และปรินิพพาน (การดับสิ้นกิเลสโดยรอบ) หลังจากบำเพ็ญเพียรมาแล้ว 6 ปี คือเกิดขึ้นพร้อมกันในวันใกล้รุ่งขึ้น 15 ค่ำ วันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธกาล 45 ปี
นัยนี้หมายความว่า 35 พรรษา ในนามเจ้าชายสิทธัตถะพระโพธิสัตว์ ส่วนสภาวะพระพุทธเจ้ามีพระชนมายุในการเผยแผ่ถึง 45 พรรษา จึงรู้กฎธรรมชาติอันยิ่งในทุกมิติ
ทรงปรารภการบูชา พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "บุคคลผู้ทำการสักการะบูชาตถาคต (พระพุทธเจ้าทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต) ด้วยอามิสบูชา หาชื่อว่าเป็นการบูชาอย่างยิ่ง และแท้จริงไม่ หากแต่บุคคลใดศึกษาและประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนนี้แล จึงชื่อว่าเป็นการบูชาตถาคตอย่างแท้จริง"
ฉะนั้น การบูชาอย่างแท้จริงของชาวพุทธศาสนิกชน ในวันวิสาขบูชา ก็คือการศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้รู้แจ้งแห่งตน ตามความเป็นจริง คือให้รู้แจ้งจริงว่าขันธ์ 5 ย่อลงเหลือรูปกับนาม กายกับจิต (ความคิดปรุงแต่งที่เป็นกุศล อกุศล และกลางๆ) และสิ่งทั้งหลายรอบตัวเราได้แก่ รูป, เสียง, กลิ่น, ลิ้น, รส, สัมผัส และธรรมารมณ์ วัตถุสิ่งของทั้งมวลตกอยู่ในอำนาจกฎไตรลักษณ์คือ อนิจจัง (ไม่เที่ยง) ทุกขัง (เป็นทุกข์, ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้) อนัตตา (ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน) พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลย่อมดับไปเป็นธรรมดา" การบูชาพระพุทธเจ้า การเข้าถึงพระพุทธเจ้า คือการรู้แจ้งสภาพธรรมที่เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ ย่อมรับความจริงว่า "สังขารทั้งปวงนั้นไม่เที่ยง มันร้อยเรียงแปรปรวนทุกขณะ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวง (สังขตธรรมและอสังขตธรรม) เป็นอนัตตา แจ้งจริงจึงหน่ายในสังขารทั้งปวง ละอุปาทานได้หมดสิ้น จิตสิ้นราคิน (ราคะ) จึงวางเฉย แจ้งจริงแท้แน่เอย ย่อมพ้นทุกข์ทั้งปวง เข้าถึงพระนิพพาน หรือองค์แห่งเอกภาพจักรวาล"
ชาวพุทธแท้จึงพ้นจากการยึดถือเอาต้นไม้บ้าง ภูเขาบ้าง ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ผี เทพเจ้า พระเจ้าเป็นอัตตาตัวตนเบื้องบน เครื่องรางของขลัง วัตถุมงคลอันจอมปลอม เป็นความงมงาย อันไม่ประกอบด้วยเหตุผล เป็นการดำเนินชีวิตอย่างงมงาย ลดละกิเลสไม่ได้ ไม่ใช่ทางรู้แจ้งอันเป็นปัญญาที่จะให้หลุดพ้นได้
พระพุทธเจ้า คือ องค์เอกภาพของชาวโลก พระพุทธเจ้าเป็นด้านเอกภาพ ส่วนชาวพุทธและสาธุชนทั้งมวลเป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย นี่คือลักษณะเอกภาพของชาวพุทธและสาธุชนแห่งโลก สภาวะพระพุทธเจ้าแผ่โอบอุ้มชาวพุทธทั้งมวล ขณะเดียวกันชาวพุทธทั้งมวลก็ขึ้นต่อสภาวะพระพุทธเจ้า จึงเห็นองค์สัมพันธภาพระหว่างแผ่กับรวมศูนย์ ก็จะเกิดดุลยภาพดำรงอยู่อย่างถูกต้องตามกฎธรรมชาติ เป็นลักษณะองค์เอกภาพพระธรรมจักรหมุนไปเป็นศีล สมาธิ ปัญญา แสงสว่างแห่งมนุษยชาติกว่า 2,500 ปีแล้ว
วันวิสาขบูชา องค์การสหประชาชาติ (United Nation หรือ UN) โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization หรือ UNESCO) ได้กำหนดให้เป็น วันสำคัญสากลของโลก เป็นวันสำคัญแห่งการเกิดขึ้นแห่ง องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นศาสดาเอกของโลก พระผู้ทรงเป็นแบบอย่างการพัฒนาสูงสุดอันยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ อย่างไม่เคยมีมาก่อน
วันวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งตรงกับวันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พุทธศาสนิกชนและสาธุชนทั่วโลก ได้แสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณของโลกอย่างใหญ่หลวง และเป็นวันสำคัญของปวงชนชาวไทยมานานนับหลายร้อยปี พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ รัฐบาลและประชาชนให้ความสำคัญถือเป็นวันหยุดทางราชการ เพื่อให้พี่น้องพุทธศาสนิกชน และสาธุทั้งหลายได้น้อมรำลึกบูชาคุณต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
วันวิสาขบูชา เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน เป็นความมหัศจรรย์ 2 นัย
นัยที่ 1 พระพุทธเจ้ามีนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระโอรสในพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ศากยวงศ์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ และพระนางสิริมหามายา ประสูติเมื่อวันศุกร์ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ เวลาใกล้เที่ยง ใต้ต้นไม้่รังหรือสาละแห่งลุมพินีวัน (ปัจจุบันเรียกว่า ลุมมินเด ก่อนพุทธศักราช 80 ปี)
บุคคลผู้ซึ่งจะอุบัติขึ้นมาเพื่อเป็นประโยชน์แก่มวลโลก ย่อมมีอภินิหารเป็นธรรมดา เช่น ขณะประสูติมีเทวดามาคอยรับ ประสูติแล้วทรงดำเนินไปได้ 7 ก้าว ขณะที่ทรงดำเนินไปได้ 7 ก้าว ก็ทรงหยุดอยู่เพียงเท่านั้น แล้วทรงเปล่งอาสภิวาจา คือประกาศพระองค์ว่าเป็นเอกในโลก ว่า
"อัคโคหะมัสมิ โลกัสสะ เชฏโฐ เสฏโฐหะมัสมิ
อะยะมันติมา เม ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโว"
แปลความว่า "ในโลกนี้เราเป็นหนึ่ง เราเป็นยอด เราเป็นเลิศประเสริฐที่สุด การเกิดครั้งนี้ของเรา เป็นครั้งสุดท้าย ภพใหม่ต่อไปไม่มีสำหรับเรา"
เจ้าชายสิทธัตถะ ได้เสด็จออกบวชเมื่อพระชนมายุ 29 ชันษา ได้ละทิ้งราชสมบัติกามสุขทางโลกเพื่อแสวงหา โมกขธรรม เพื่อความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดและพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง ได้ไปศึกษายังสำนักของ อาฬารดาบส กาลามโคตร และ อุททกดาบส รามบุตร มหาชนในสมัยนั้นถือกันว่าเป็นคณาจารย์ผู้มีความรู้อันยอดเยี่ยมในสมัยนั้น ทรงใช้เวลาไม่นานก็ได้สำเร็จ สมาบัติ 8 คือรูปญาน 4 และอรูปญาน 4
ทั้งได้บำเพ็ญทุกรกิริยา ด้วยการเพียรทรมานตนต่างๆ อันยากที่ใครๆ จะทำได้ เช่น กดพระทนต์ด้วยพระทนต์ (ฟัน) ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะ ปัสสาสะ คือกลั่นลมหายใจ ทรงอดอาหาร เสวยแต่วันละน้อยๆ จนพระวรกายเหี่ยวแห้ง ทรงลูบพระวรกายเส้นพระโลมาก็ร่วงหลุด กระทั่งทรงเห็นว่าการกระทำทรมานกายอย่างนี้ (อัตตะกิละมะถานุโยค) ว่านั่นไม่ใช่ทางที่จะตรัสรู้ได้
พระองค์จึงกลับมาเสวยอาหารดังเดิม และทรงเริ่มบำเพ็ญเพียรทางจิตต่อไป ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในวันตรัสรู้ พระองค์ได้ประทับนั่งขัดสมาธิ ณ ควงไม้พระศรีมาโพธิ์ หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก แล้วทรงอธิษฐานพระทัย (จาตุรงคมหาปธาน) ว่า "จักไม่ลุกขึ้นจากที่นี้ ตราบใดที่ยังไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ แม้ว่าเนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปจนเหลือเพียงหนังหุ้มกระดูกก็ตามที"
ในคืนขึ้น 15 ค่ำ วันเพ็ญเดือน 6 ขณะทรงบำเพ็ญเพียรทางจิต มารคือกิเลส ได้เกิดขึ้นท่องเที่ยวอยู่ในพระทัยของพระองค์นำให้ทรงหวนระลึกถึงความหลังเมื่อครั้งเสวยกามสุขอยู่ในราชสมบัติ ซึ่งน่าอภิรมย์ยิ่งนัก ทรงหักห้ามพระทัยและต่อสู้กับกิเลสมารเหล่านั้นด้วย พระบารมี 10 ทัศ คือ ทาน, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา ที่เคยทรงบำเพ็ญมาในอดีตชาติและในปัจจุบันชาติ พระองค์ทรงไม่หวั่นไหวกับอุปสรรค ก็ทรงสามารถผจญกิเลสมารอันเกิดขึ้นท่องเที่ยวอยู่ใต้พระทัยให้ปราชัยได้ พระองค์เจริญสมาธิภาวนาทำจิตใจให้แน่วแน่ปราศจากอุปกิเลส ยังญาณให้เกิดขึ้นอันเป็นปัญญาขั้นสูงให้เกิดขึ้นเป็นระยะๆ
ปฐมยาม ทรงบรรลุ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกชาติได้ เป็นเหตุให้ทรงหยั่งรู้อัตภาพขันธสังขาร (นามรูป) ว่าเป็นเพียงสภาวะอย่างหนึ่งเท่านั้น รวมกันเข้าเป็นขันธ์เป็นผลให้ทรงกำจัดความหลงในขันธ์ (นามรูป) อันเป็นเหตุรักและชังเสียได้
มัชฌิมยาม ทรงบรรลุ จตูปปาตญาณ (ทิพพจักษุญาณ) ทรงมองเห็นการจุติและการเกิดของมวลสัตว์ได้ เป็นเหตุให้ทรงหยั่งรู้ว่าขันธ์ (รูปนาม) เป็นไปตามอำนาจแห่งธรรมดาเป็นสัตว์บุคคลในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง แล้วแตกสลายไปในที่สุด เหมือนกันหมด จะมีเลว ดี ทุกข์ สุข ก็เพราะกรรมที่ทำเอาไว้ เป็นผลให้ทรงกำจัดความหลงในคติแห่งขันธ์ ว่าเป็นอัตตา อันเป็นเหตุสำคัญผิดด้วยประการต่างๆ เสียได้
ปัจฉิมยาม ทรงบรรลุ อาสวักขยญาณ ปัญญารู้เหตุสิ้นไปแห่งอาสวะเครื่องเศร้าหมองอันหมักหมมอยู่ในจิตสันดาน เป็นเหตุให้ทรงหยั่งรู้ขันธ์ พร้อมทั้งอาการโดยความเป็นเหตุเป็นผลสืบต่อเนื่องติดต่อกันไปเหมือนลูกโซ่ ซึ่งคล้องเกี่ยวกันเป็นสายทรงเรียกว่า อิทัปปัจยตาปฏิจจสมุปบาท ซึ่งก็ทรงรู้อริยสัจ 4 เป็นต้น เป็นผลให้พระองค์ทรงรู้และเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างจนสามารถบรรลุถึงความบริสุทธิ์สิ้นเชิงได้ สมพระมโนปณิธาน อันทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 6 ปี ทรงบรรลุธรรมเป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ 35 ชันษา
"อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก" พระองค์จึงมีนามพิเศษว่า อรหํ เพราะพระองค์เป็นผู้ควรและเป็นผู้บริสุทธิ์ ไกลจากกิเลส ที่ได้พระนามว่า สัมมาสัมพุทโธ เพราะพระองค์ตรัสรู้ชอบได้ตามลำพังพระองค์เอง จากนั้นพระองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจออกสั่งสอนเผยแผ่สัจธรรม นับพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 พระโกณฑัญญะ, พระวัปปะ, พระมหานามะ, พระภัททิยะ, และอัสสชิ ฯลฯ ได้บรรลุพระอรหันต์ เป็นต้น
พระพุทธองค์ปรินิพพาน หลังจาก พระพุทธองค์ได้ทรงเผยแผ่สัจธรรมคำสอนอยู่ 45 พรรษา ทำให้พุทธสาวกบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน, พระสกทาคามี, พระอนาคามี, และพระอรหันต์เป็นจำนวนมาก จนสามารถตั้งพระศาสนาพุทธ (พระธรรมวินัย) ลงในประเทศอินเดียเป็นปึกแแผ่น และพระพุทธองค์ได้ตรัสแก่เหล่าภิกษุทั้งหลายเป็นครั้งสุดท้ายว่า "หันททานิ ภิกขะเว อามันตะยามิโว ภิกขะเว ขะยะวะยะธัมมา วะยะธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ" แปลความว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า สังขารทั้งปวงล้วนมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้บริบูรณ์ ด้วยความไม่ประมาทเถิด" และแล้วพระพุทธองค์ทรงเข้าปรินิพพาน เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ วันเพ็ญเดือน 6 ณ ตำบลสาลวโนทยาน นครกุสินารา รัฐมัลละ มีนัยสำคัญเพื่อโปรดสาวกองค์สุดท้ายและเพื่อสันติภาพระหว่างเมืองต่างๆ
นัยที่ 2 การตีความตามนัยปรมัตถธรรม การประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน เกิดขึ้นพร้อมกันในวัน เวลานาที เดือน ปีเดียวกัน การประสูติ (การเกิดขึ้นของสภาวะพระพุทธเจ้า) ตรัสรู้ (การรู้แจ้งในขันธ์ 5) และปรินิพพาน (การดับสิ้นกิเลสโดยรอบ) หลังจากบำเพ็ญเพียรมาแล้ว 6 ปี คือเกิดขึ้นพร้อมกันในวันใกล้รุ่งขึ้น 15 ค่ำ วันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธกาล 45 ปี
นัยนี้หมายความว่า 35 พรรษา ในนามเจ้าชายสิทธัตถะพระโพธิสัตว์ ส่วนสภาวะพระพุทธเจ้ามีพระชนมายุในการเผยแผ่ถึง 45 พรรษา จึงรู้กฎธรรมชาติอันยิ่งในทุกมิติ
ทรงปรารภการบูชา พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "บุคคลผู้ทำการสักการะบูชาตถาคต (พระพุทธเจ้าทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต) ด้วยอามิสบูชา หาชื่อว่าเป็นการบูชาอย่างยิ่ง และแท้จริงไม่ หากแต่บุคคลใดศึกษาและประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนนี้แล จึงชื่อว่าเป็นการบูชาตถาคตอย่างแท้จริง"
ฉะนั้น การบูชาอย่างแท้จริงของชาวพุทธศาสนิกชน ในวันวิสาขบูชา ก็คือการศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้รู้แจ้งแห่งตน ตามความเป็นจริง คือให้รู้แจ้งจริงว่าขันธ์ 5 ย่อลงเหลือรูปกับนาม กายกับจิต (ความคิดปรุงแต่งที่เป็นกุศล อกุศล และกลางๆ) และสิ่งทั้งหลายรอบตัวเราได้แก่ รูป, เสียง, กลิ่น, ลิ้น, รส, สัมผัส และธรรมารมณ์ วัตถุสิ่งของทั้งมวลตกอยู่ในอำนาจกฎไตรลักษณ์คือ อนิจจัง (ไม่เที่ยง) ทุกขัง (เป็นทุกข์, ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้) อนัตตา (ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน) พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลย่อมดับไปเป็นธรรมดา" การบูชาพระพุทธเจ้า การเข้าถึงพระพุทธเจ้า คือการรู้แจ้งสภาพธรรมที่เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ ย่อมรับความจริงว่า "สังขารทั้งปวงนั้นไม่เที่ยง มันร้อยเรียงแปรปรวนทุกขณะ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวง (สังขตธรรมและอสังขตธรรม) เป็นอนัตตา แจ้งจริงจึงหน่ายในสังขารทั้งปวง ละอุปาทานได้หมดสิ้น จิตสิ้นราคิน (ราคะ) จึงวางเฉย แจ้งจริงแท้แน่เอย ย่อมพ้นทุกข์ทั้งปวง เข้าถึงพระนิพพาน หรือองค์แห่งเอกภาพจักรวาล"
ชาวพุทธแท้จึงพ้นจากการยึดถือเอาต้นไม้บ้าง ภูเขาบ้าง ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ผี เทพเจ้า พระเจ้าเป็นอัตตาตัวตนเบื้องบน เครื่องรางของขลัง วัตถุมงคลอันจอมปลอม เป็นความงมงาย อันไม่ประกอบด้วยเหตุผล เป็นการดำเนินชีวิตอย่างงมงาย ลดละกิเลสไม่ได้ ไม่ใช่ทางรู้แจ้งอันเป็นปัญญาที่จะให้หลุดพ้นได้
พระพุทธเจ้า คือ องค์เอกภาพของชาวโลก พระพุทธเจ้าเป็นด้านเอกภาพ ส่วนชาวพุทธและสาธุชนทั้งมวลเป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย นี่คือลักษณะเอกภาพของชาวพุทธและสาธุชนแห่งโลก สภาวะพระพุทธเจ้าแผ่โอบอุ้มชาวพุทธทั้งมวล ขณะเดียวกันชาวพุทธทั้งมวลก็ขึ้นต่อสภาวะพระพุทธเจ้า จึงเห็นองค์สัมพันธภาพระหว่างแผ่กับรวมศูนย์ ก็จะเกิดดุลยภาพดำรงอยู่อย่างถูกต้องตามกฎธรรมชาติ เป็นลักษณะองค์เอกภาพพระธรรมจักรหมุนไปเป็นศีล สมาธิ ปัญญา แสงสว่างแห่งมนุษยชาติกว่า 2,500 ปีแล้ว