การประชุมผู้นำคณะสงฆ์นานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี 2548 ปิดฉากลงแล้วที่หอประชุมสหประชาชาติ มีข้อเสนอให้ "ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก"
รับทราบข่าวนี้แล้วมีความคิดเห็นอย่างไร
แน่นอนครับ เป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ผู้นำชาวพุทธระดับโลกเห็นว่า ประเทศไทยมีพุทธมณฑลซึ่งเป็นสถานที่กว้างใหญ่ มีสิ่งอำนวยความสะดวกเหมาะสมในการจัดการประชุมและกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา
หากเรายืนยันความเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนา ก็เป็นการประกาศตัวต่อสังคมโลกว่า ประเทศไทยเป็น "เมืองพุทธ" ที่สมบูรณ์แบบก็จะดีมาก
หมายความว่า มิใช่เพียงความพร้อมในด้านสถานที่ แต่เราควรเป็นสังคมที่มีวิถีปฏิบัติตามแนวทางของพระพุทธศาสนาด้วย
แต่ในความเป็นจริงก็คือ ทั้งๆ ที่คนไทยประมาณร้อยละ 95 นับถือพระพุทธศาสนา และมีจำนวนมากเป็น "ชาวพุทธตามสำมะโนครัว" คือขาดความรู้หลักธรรม และละเมิดศีลอันเป็นหลักพื้นฐานที่สำคัญของพุทธศาสนิกชน
การไปร่วมพิธีกรรมทางศาสนา ไม่ว่าจะเป็นงานทำบุญเฉลิมฉลองหรืองานสวดอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้วายชนม์ การ "รับศีล" ก็เป็นการทำตามประเพณีเท่านั้น
การก่อกรรมและกระทำผิดอันเนื่องจากการผิดศีลในจำนวน 5 ข้อ จึงมีขึ้นมากอย่างน่าวิตก และเกิดขึ้นในทุกระดับชนชั้น ตั้งแต่ระดับชาวบ้านจนถึงชนชั้นปกครองและนักการเมือง
การให้ยึดมั่นใน ศีล สมาธิ และ ปัญญา ที่มีการสั่งสอนกันมา เพื่อให้เกิดความ สะอาด สงบ และ สว่าง ดังที่ท่านพุทธทาสได้สอนไว้จึงไม่เกิดขึ้นโดยทั่วไป
โดยเฉพาะวงการเมืองซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการบริหารและคุมปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทุกวันนี้ก็เผชิญกับข่าวสารข้อมูลที่อบอวลด้วยข้อสงสัย และเรื่องราวที่สังคมเชื่อว่ามีการคอร์รัปชันหรือการฉ้อราษฎร์บังหลวง
นักการเมืองนั้นน่าจะเป็นผู้นำสังคม และทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี การทำงานที่มีคุณภาพและคุณธรรมหรือเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างที่ทฤษฎีการบริหารว่าไว้
แต่เมื่อมีความเคลือบแคลงสงสัยในเจตนาและพฤติกรรม เมื่อมีการสุ่มตัวอย่างของสถาบันวิจัยของสถาบันการศึกษาระดับความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองจึงลดลง
กรณีโครงการลงทุนอย่างการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด สำหรับสนามบินสุวรรณภูมิที่กระทรวงคมนาคมกำลังตกเป็นจำเลยสังคม และนายกรัฐมนตรีก็ยังจัดการให้กระจ่างไม่ได้ สังคมก็เชื่อว่ามีการทุจริต
น่าเสียดายที่ระบบการบริหารและระบบการศึกษาของไทยหลายยุคที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีวิธีที่ดีพอในการนำหลักธรรมเข้าไปหล่อหลอมให้คนไทยตั้งแต่วัยเด็กจนเป็นผู้ใหญ่ให้เติบโต และดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรมจริยธรรมได้
การรับศีลในงานพิธีก็เป็นธรรมนิยมปฏิบัติในกิจกรรมทางสังคมแค่นั้น
ก็เป็นอย่างที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานคณะกรรมการมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด กล่าวในการอภิปรายใน "งานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา" ที่ท้องสนามหลวงว่า
"คนที่ทุจริตคอร์รัปชัน คือคนที่ไม่รู้จักศีล 5 ซึ่งเป็นบาปและจะติดตามตัว ไม่มีวันหนีพ้นกรรม ทั้งนี้หากยึดมั่นในธรรมะ ก็จะลดทุจริตคอร์รัปชันลงได้
สำหรับพระสงฆ์จะต้องบุก ต้องลุยด้วย จะเทศน์อย่างเดียวไม่ได้แล้ว จะต้องจี้ให้คนกลัว และเห็นบาปให้ได้ เพราะบาปทำลายสังคม ประเทศและโลก และในทุกภาคส่วนของสังคมจะต้องร่วมมือกัน อย่ารอไปชี้หน้าว่าคนอื่นไม่ทำ แต่เราต้องเริ่มทำจากตัวเราก่อน"
หลักธรรมของศาสนา จึงเป็นความหวังในการสร้างคนให้มีคุณธรรม
แต่ปัญหาก็คือ จะทำอย่างไรจึงจะเข้าไปอยู่ในจิตใจ แล้วกล่อมเกลาให้เกิดเป็นทัศนคติ และวินัยในทางปฏิบัติ
การที่ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง หากจะสร้างให้เกิดความพร้อม ความเจริญในแง่อาคารสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก และสิ่งพิมพ์หรือเทคโนโลยีเชิงวิชาการนั้นก็ดีอยู่
แต่ควรจะต้องใช้เป็นโอกาสในการเสริมสร้างประชากรไทยให้เป็นชาวพุทธเชิงคุณภาพ คือใฝ่ศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา สร้างวัฒนธรรมไทยให้เป็นวัฒนธรรมที่มุ่งวิถีพุทธ และมีคุณธรรม
แนวคิดทำนองนี้ ผมเชื่อว่ามีมาแล้วทั้งในการระบุในแผนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือแผนการศึกษาของชาติก็ตาม
แต่ปัญหาก็คือ ไม่เกิดขึ้นในระดับปฏิบัติ
รวมทั้งระบบการบริหารที่ติดกับคำว่า "เสรี" ทางเศรษฐกิจและสังคม เมื่อไม่มีการพิจารณาแบบจำแนก โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการสร้างประชากรไทยที่ใฝ่คุณธรรม ขณะที่รัฐบาลมุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายที่ตัวเลขอัตราการเติบโต โดยไม่ค่อยคำนึงถึงผลกระทบทางสังคม
สังคมไทยจึงอยู่ในสภาพ "คนใจแตก" ที่ขาดทิศทางเชิงบูรณาการในทางปฏิบัติ
หลักทางศาสนาและการศึกษาจึงอยู่ในสภาพความหวังในเชิงอุดมคติ ที่สังคมเห็นว่าสำคัญ แต่ยังไม่ถูกนำไปใช้ในเชิงยุทธศาสตร์
รับทราบข่าวนี้แล้วมีความคิดเห็นอย่างไร
แน่นอนครับ เป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ผู้นำชาวพุทธระดับโลกเห็นว่า ประเทศไทยมีพุทธมณฑลซึ่งเป็นสถานที่กว้างใหญ่ มีสิ่งอำนวยความสะดวกเหมาะสมในการจัดการประชุมและกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา
หากเรายืนยันความเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนา ก็เป็นการประกาศตัวต่อสังคมโลกว่า ประเทศไทยเป็น "เมืองพุทธ" ที่สมบูรณ์แบบก็จะดีมาก
หมายความว่า มิใช่เพียงความพร้อมในด้านสถานที่ แต่เราควรเป็นสังคมที่มีวิถีปฏิบัติตามแนวทางของพระพุทธศาสนาด้วย
แต่ในความเป็นจริงก็คือ ทั้งๆ ที่คนไทยประมาณร้อยละ 95 นับถือพระพุทธศาสนา และมีจำนวนมากเป็น "ชาวพุทธตามสำมะโนครัว" คือขาดความรู้หลักธรรม และละเมิดศีลอันเป็นหลักพื้นฐานที่สำคัญของพุทธศาสนิกชน
การไปร่วมพิธีกรรมทางศาสนา ไม่ว่าจะเป็นงานทำบุญเฉลิมฉลองหรืองานสวดอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้วายชนม์ การ "รับศีล" ก็เป็นการทำตามประเพณีเท่านั้น
การก่อกรรมและกระทำผิดอันเนื่องจากการผิดศีลในจำนวน 5 ข้อ จึงมีขึ้นมากอย่างน่าวิตก และเกิดขึ้นในทุกระดับชนชั้น ตั้งแต่ระดับชาวบ้านจนถึงชนชั้นปกครองและนักการเมือง
การให้ยึดมั่นใน ศีล สมาธิ และ ปัญญา ที่มีการสั่งสอนกันมา เพื่อให้เกิดความ สะอาด สงบ และ สว่าง ดังที่ท่านพุทธทาสได้สอนไว้จึงไม่เกิดขึ้นโดยทั่วไป
โดยเฉพาะวงการเมืองซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการบริหารและคุมปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทุกวันนี้ก็เผชิญกับข่าวสารข้อมูลที่อบอวลด้วยข้อสงสัย และเรื่องราวที่สังคมเชื่อว่ามีการคอร์รัปชันหรือการฉ้อราษฎร์บังหลวง
นักการเมืองนั้นน่าจะเป็นผู้นำสังคม และทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี การทำงานที่มีคุณภาพและคุณธรรมหรือเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างที่ทฤษฎีการบริหารว่าไว้
แต่เมื่อมีความเคลือบแคลงสงสัยในเจตนาและพฤติกรรม เมื่อมีการสุ่มตัวอย่างของสถาบันวิจัยของสถาบันการศึกษาระดับความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองจึงลดลง
กรณีโครงการลงทุนอย่างการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด สำหรับสนามบินสุวรรณภูมิที่กระทรวงคมนาคมกำลังตกเป็นจำเลยสังคม และนายกรัฐมนตรีก็ยังจัดการให้กระจ่างไม่ได้ สังคมก็เชื่อว่ามีการทุจริต
น่าเสียดายที่ระบบการบริหารและระบบการศึกษาของไทยหลายยุคที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีวิธีที่ดีพอในการนำหลักธรรมเข้าไปหล่อหลอมให้คนไทยตั้งแต่วัยเด็กจนเป็นผู้ใหญ่ให้เติบโต และดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรมจริยธรรมได้
การรับศีลในงานพิธีก็เป็นธรรมนิยมปฏิบัติในกิจกรรมทางสังคมแค่นั้น
ก็เป็นอย่างที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานคณะกรรมการมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด กล่าวในการอภิปรายใน "งานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา" ที่ท้องสนามหลวงว่า
"คนที่ทุจริตคอร์รัปชัน คือคนที่ไม่รู้จักศีล 5 ซึ่งเป็นบาปและจะติดตามตัว ไม่มีวันหนีพ้นกรรม ทั้งนี้หากยึดมั่นในธรรมะ ก็จะลดทุจริตคอร์รัปชันลงได้
สำหรับพระสงฆ์จะต้องบุก ต้องลุยด้วย จะเทศน์อย่างเดียวไม่ได้แล้ว จะต้องจี้ให้คนกลัว และเห็นบาปให้ได้ เพราะบาปทำลายสังคม ประเทศและโลก และในทุกภาคส่วนของสังคมจะต้องร่วมมือกัน อย่ารอไปชี้หน้าว่าคนอื่นไม่ทำ แต่เราต้องเริ่มทำจากตัวเราก่อน"
หลักธรรมของศาสนา จึงเป็นความหวังในการสร้างคนให้มีคุณธรรม
แต่ปัญหาก็คือ จะทำอย่างไรจึงจะเข้าไปอยู่ในจิตใจ แล้วกล่อมเกลาให้เกิดเป็นทัศนคติ และวินัยในทางปฏิบัติ
การที่ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง หากจะสร้างให้เกิดความพร้อม ความเจริญในแง่อาคารสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก และสิ่งพิมพ์หรือเทคโนโลยีเชิงวิชาการนั้นก็ดีอยู่
แต่ควรจะต้องใช้เป็นโอกาสในการเสริมสร้างประชากรไทยให้เป็นชาวพุทธเชิงคุณภาพ คือใฝ่ศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา สร้างวัฒนธรรมไทยให้เป็นวัฒนธรรมที่มุ่งวิถีพุทธ และมีคุณธรรม
แนวคิดทำนองนี้ ผมเชื่อว่ามีมาแล้วทั้งในการระบุในแผนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือแผนการศึกษาของชาติก็ตาม
แต่ปัญหาก็คือ ไม่เกิดขึ้นในระดับปฏิบัติ
รวมทั้งระบบการบริหารที่ติดกับคำว่า "เสรี" ทางเศรษฐกิจและสังคม เมื่อไม่มีการพิจารณาแบบจำแนก โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการสร้างประชากรไทยที่ใฝ่คุณธรรม ขณะที่รัฐบาลมุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายที่ตัวเลขอัตราการเติบโต โดยไม่ค่อยคำนึงถึงผลกระทบทางสังคม
สังคมไทยจึงอยู่ในสภาพ "คนใจแตก" ที่ขาดทิศทางเชิงบูรณาการในทางปฏิบัติ
หลักทางศาสนาและการศึกษาจึงอยู่ในสภาพความหวังในเชิงอุดมคติ ที่สังคมเห็นว่าสำคัญ แต่ยังไม่ถูกนำไปใช้ในเชิงยุทธศาสตร์