กรณี ส.ส.เสียบบัตรแทนกัน มีนางลลิตา ฤกษ์สำราญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานสอบสวนหาข้อเท็จจริง ปรากฏว่าพวกเขาใช้ อัตตาธิปไตย และโลกาธิปไตย หรือวิธีการประชาธิปไตย ด้วยการยกมือใช้เสียงข้างมากตัดสินความถูกผิด ความถูกผิดขึ้นอยู่กับมือสกปรก จึงเป็นเรื่องที่น่าขัน เป็นเรื่องที่ตลกที่สุดของประเทศนี้ ตัวอย่างเช่น โจร 500 ลงมติปล้นชาวบ้าน ภิกษุ 1 รูปออกมาค้าน มติไหนเป็นความถูกต้อง พวกเขาไม่เคยรู้จัก "ธรรมาธิปไตย" คืออะไร
ขอโอกาสถามความเห็นท่านพระอาจารย์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง เกี่ยวกับเรื่องอธิปไตย 3 ครับ...เพื่อเป็นการนอบน้อมต่อพระพุทธองค์ จะได้ยกอธิปไตย 3 ที่มีมาในอธิปไตยสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 12 อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาตข้อ 479 จะยกมาประกอบการพิจารณา
(479) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย 3 อย่างนี้ 3 อย่างเป็นไฉน คือ อัตตาธิปไตย 1 โลกาธิปไตย 1 ธรรมาธิปไตย 1 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อัตตาธิปไตย เป็นไฉน...จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำตนเองแลให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า อัตตาธิปไตยฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ โลกาธิปไตย เป็นไฉน...เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมี และความไม่มีเช่นนั้น ก็แต่ว่าเราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉนความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ...จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ดังนี้ เธอทำโลกให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า โลกาธิปไตย
ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ ธรรมาธิปไตย เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย...เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมีและความไม่มีเช่นนั้น ก็แต่ว่าเราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉนความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคล พึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อัน วิญญูชน จะพึงรู้เฉพาะตน ก็เพื่อน สหพรหมจารีผู้ที่รู้อยู่ เห็นอยู่ มีอยู่แล เธอย่อม...ศึกษาว่า ก็ความเพียรที่เราปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้ว สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วจักไม่หลงลืม กายที่สงบระงับแล้วจักไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ดังนี้ เธอทำธรรมนั่นแหละให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า ธรรมาธิปไตย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย 3 อย่างนี้แลฯ
ยกมาเป็นเพียงตัวอย่าง แต่แฝงไว้ด้วยความลึกซึ้ง ทีนี้มาดูความเห็นแบบขยายความเพื่อใช้ในทางรัฐศาสตร์ เป็นความเห็นร่วมยุคสมัยในความมุ่งหมายแห่ง ธรรมาธิปไตย คือ
ธรรมาธิปไตยสังคม ประยุกต์มาจากสภาวธรรมอันบริสุทธิ์ เรียกว่า อสังขตธรรม คือ ธรรมชาติที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นสภาวะที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ดับ อันเป็นบรมธรรมใหญ่สุด กว้างสุด บนสุดคือ หลักสากล (Universal law) อันเป็นหลักทั่วไป (General law) คุมเหตุปัจจัยอื่นทั้งหมด หรือเรียกได้ว่า เป็นกฎเกณฑ์การจัดความสัมพันธ์ของธรรมชาติ หรือธรรมนิยาม (Nature law) เช่น กฎอิทัปปัจจยตา (กฎความสัมพันธ์ตามเหตุปัจจัยที่ว่า...เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงมี...หรือ กฎแห่งกรรม เหล่านี้เป็นกฎธรรมชาติ เป็นสัจธรรมความจริงแท้สูงสุด (Ultimate Reality)
สังขตธรรม คือ ธรรมชาติที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งหรือสังขารทั้งปวง ทั้งนามธรรม และรูปธรรม ทั้งสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต ต้องเป็นไปตามสภาวธรรมดังกล่าว ทั้งเป็นหนึ่งเดียวกับสภาวธรรมในตัวมนุษย์ คือขันธ์ 5 ได้แก่ รูป และนาม ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และหลักปฏิจจสมุปบาท (เพราะอวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร...) อันเป็นสัจธรรมด้านอัตวิสัย (Subjective truth) ที่มีลักษณะจำเพาะ (Individual law) เป็นแก่นแท้คำสอนแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
การประยุกต์สภาวะอันจริงแท้ทั้งสองด้านหรือสัจธรรมทั้งสองด้าน คือ ธรรมาธิปไตยธรรมชาติ กับธรรมาธิปไตยบุคคล แท้จริงแล้วเป็นองค์เดียวกันหรือเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อญาณทัสนะรู้เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่มีภววิสัย ไม่มีอัตวิสัยอีกต่อไป จึงก่อเกิดการสร้างสรรค์สู่ธรรมาธิปไตยสังคมสู่ธรรมาธิปไตยโลกเป็นที่สุด แต่ที่จำแนกแยกแยะก็เพื่อการศึกษาให้แจ่มแจ้ง
ธรรมาธิปไตย และการประยุกต์เป็นอย่างไรครับ?
ธรรมาธิปไตย เชิงประยุกต์ตั้งเป็นหลักธรรมการปกครองตามลักษณะพิเศษของประเทศไทย
คือ หลักธรรม หรือหลักการที่ถือธรรมเป็นใหญ่ตามหลักพุทธธรรม ประยุกต์มาเป็นหลักการปกครอง และหลักในการจัดความสัมพันธ์ในองค์รวมอันถูกต้อง มีทั้งหมด 9 ข้อ ได้แก่ หลักธรรมการเมืองการปกครอง อันเป็นหลักทั่วไปแห่งชาติ ยกขึ้นเป็นหลักในการแก้ปัญหาพื้นฐานของชาติ อันเป็นเหตุแห่งวิกฤตชาติ หรือเหตุแห่งความเลวร้ายทั้งปวงของชาติ จะเสนอโดยย่อในที่นี้คือ
1. หลักธรรมาธิปไตย ธรรมเป็นใหญ่ย่อมเป็นหลักเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของทุกศาสนา
2. หลักพระมหากษัตริย์ประมุขแห่งรัฐ ศูนย์รวมจิตใจแห่งชาติ (พระราชอาณาจักร)
3. หลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน (ศูนย์รวมแห่งการมีส่วนร่วมของปวงชนไทย)
4. หลักเสรีภาพบริบูรณ์ (ทางความคิดและทางการเมือง) ที่ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
5. หลักความเสมอภาค (ทางโอกาส) 6. หลักดุลยภาพ 7. หลักภราดรภาพ 8. หลักเอกภาพ และ 9. หลักนิติธรรม
อันที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร ถ้าเรามีพื้นฐานในการฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐานมาแล้ว ก็จะรู้เห็นตามความเป็นจริงว่าธรรมชาตินั้นดำรงอยู่อย่างดุลยภาพระหว่าง
อสังขตธรรม กับสังขตธรรม หรือ
สภาวะพ้นกฎไตรลักษณ์ กับสภาวะตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ หรือ
ความไม่ตาย กับความตาย (เกิด แก่ ดับ) หรือ
นิพพาน กับขันธ์ 5 หรือ
ความไม่เปลี่ยนแปลง กับความเปลี่ยนแปลง
หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 กับหมวดและมาตราต่างๆ อีกนัยหนึ่งแสดงให้เห็นว่า ธรรมาธิปไตย 9 เป็นด้านยุทธศาสตร์ จึงเป็นศูนย์กลางของปวงชนในแผ่นดิน ยุทธศาสตร์ที่ถูกต้องโดยธรรมและของประเทศชาติมีข้อเด่นที่สุด คือจะไม่ตาย ไม่เปลี่ยน จึงเป็นหลักที่ตั้งขึ้นเพื่อให้มีความมั่นคงอย่างยั่งยืน แล้วลองเปรียบเทียบดูกับระบอบการเมืองปัจจุบัน มีแต่วิธีการ คือหมวดและมาตราต่างๆ ส่วนหลักการปกครองหรือยุทธศาสตร์นั้นไม่มี จึงเป็นระบอบการเมืองมิจฉาทิฐิอย่างที่สุด
ชี้ทางสว่างอย่างมีปัญญาถูกต้องโดยธรรม ให้เห็นว่าหลักการปกครองทั้ง 9 เป็นหลักที่ไม่ตายก็เป็นความยั่งยืนอย่างมั่นคง ส่วนหมวดและมาตราต่างๆ ก็ต้องขึ้นต่อหลักการทั้ง 9 และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความจำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศที่เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ เมื่อเราสามารถประยุกต์ให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติได้ ก็ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ก้าวหน้าที่สุด สูงส่งกว่าหลักคิดในเชิงปรัชญาหรือลัทธิใดๆ ทั้งหมดเท่าที่โลกมีอยู่ในปัจจุบัน
โลกาธิปไตย เป็นอย่างไรครับ?
จะขออธิบายควบไปเลยนะ ถ้าไม่เข้าใจประเด็นไหน ก็ค่อยมาถามไปเรื่อยๆ ก็แล้วกัน รักชาติบ้านเมืองก็ต้องอดทน หูตาต้องกว้างไกล ที่สำคัญยิ่งคือต้องรู้สัจจะ
โลกาธิปไตย
ถือว่าเป็น วิธีการ ด้านองค์การหรือรูปแบบการปกครองคือระบบรัฐสภา และในที่ประชุมหรือสภาทั่วๆ ไป คือใช้เสียงข้างมากเป็นมติ เช่น พระราชบัญญัติ และการเลือกตั้งในทุกระดับ แต่ทั้งนี้ต้องถือ หลักธรรมาธิปไตย เป็นหลักไว้อย่างเคร่งครัด จึงจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และปวงชนอย่างแท้จริง
ทีนี้ อัตตาธิปไตย
ถือว่าเป็น วิธีการ ด้านบุคคล คืออยู่คนเดียว คิดคนเดียว คิดแต่เรื่องประโยชน์ของปวงชน ของประเทศชาติ เช่น การออกพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา ทั้งนี้ต้องถือ หลักธรรมาธิปไตยเช่นกัน จึงจะไม่นำความเสียหายมาสู่ส่วนรวมประเทศชาติและปวงชน ตัวอย่าง การลดค่าเงินบาทสร้างความร่ำรวยให้แก่คนบางกลุ่มอย่างมโหฬาร แต่ทำความเสียหายให้ประเทศชาติอย่างยับเยิน เพราะเขาไม่ถือหลักธรรมาธิปไตยนั่นเอง อธิปไตย 3 ต้องเป็นเอกภาพกันทั้ง 3 ด้าน จึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ขบวนการมิจฉาทิฐิได้ครอบงำยาวนานถึง 73 ปีมาแล้ว ที่ผู้ปกครองไทยปฏิเสธ หลักธรรมาธิปไตย กลับไปยึดถือเอาเพียง วิธีการจากยุโรป อันเป็นเพียงเปลือกนอกแล้วนำมาเป็นหลักการปกครองของประเทศไทย จึงเกิดผลร้ายสร้างความทรุดโทรมให้กับชาติบ้านเมือง และประชาชนไทยอย่างแสนสาหัส "เข้าทำนองเหยียบคบไฟส่องทาง" "ปรัชญาตะวันตกครอบงำพุทธปัญญา" ปลุกเท่าไรผู้ปกครองทั้งหลายก็ยังไม่ตื่น ฉะนั้น ผู้มีคุณธรรมทั้งหลาย ได้กรุณาติดตามพิจารณาความเห็นคอลัมน์นี้ "วิธีคิดเพื่อแผ่นดิน" อย่างใกล้ชิดตลอดไป เพื่อจะได้มีความเห็นเป็นสัมมาทิฐิ และทิฐิสามัญญตาสู่ความร่วมมือแก้ปัญหาเหตุวิกฤตชาติ หวังว่า ท่านนายกฯ ทักษิณ จะได้ดวงตาเห็นธรรม ชี้ทางให้แล้ว
"มวลมนุษยชาติรับพิจารณาไว้เถอะว่า...ธรรมาธิปไตยมิได้รับการสถาปนาโลกาจะวินาศ" ชี้ขาดที่ประเทศไทย เนื่องด้วยเหตุปัจจัยและองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของโลกเหตุแห่งพุทธสาวก, มหราชาตั้งอยู่ในปรมัตถธรรม
"กลับมาสู่ความถูกต้องดังเดิม ตามข้อเท็จจริงบนความร่วมมืออย่าง รู้รักสามัคคีธรรม ระหว่างพระพุทธศาสนา, พระมหากษัตริย์ (กองทัพ), รัฐบาล, ปวงชนไทย"
สู่การสถาปนา หลักธรรมการปกครองธรรมาธิปไตย แก้ไขเหตุวิกฤตชาติ บรรลุประเทศมหาอำนาจ เกษตรอุตสาหกรรม พุทธธรรมนำสร้างสันติภาพโลก ความมุ่งหมาย หรือยุทธศาสตร์แห่งธรรมอันเป็นอมตธรรม ทั้งโดยกฎธรรมชาติและดำรงอยู่ตามความเป็นจริงในจิตใจปวงชนไทยแล้ว
ใคร? จะเป็นผู้ประสานงาน ดำเนินการให้เป็นจริง ใคร? จะอาสาศึกษาและปฏิบัติให้เป็นจริง เพื่อประเทศชาติและปวงชนไทยทุกคนพอสมควรแก่เวลา ธรรมาธิปไตยมีอยู่ในใจของทุกคนแล้ว "ภูเขายังตั้ง ตะวันยังฉาย ธรรมาธิปไตย ไม่สลายจากใจคน"
ขอโอกาสถามความเห็นท่านพระอาจารย์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง เกี่ยวกับเรื่องอธิปไตย 3 ครับ...เพื่อเป็นการนอบน้อมต่อพระพุทธองค์ จะได้ยกอธิปไตย 3 ที่มีมาในอธิปไตยสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 12 อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาตข้อ 479 จะยกมาประกอบการพิจารณา
(479) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย 3 อย่างนี้ 3 อย่างเป็นไฉน คือ อัตตาธิปไตย 1 โลกาธิปไตย 1 ธรรมาธิปไตย 1 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อัตตาธิปไตย เป็นไฉน...จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำตนเองแลให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า อัตตาธิปไตยฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ โลกาธิปไตย เป็นไฉน...เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมี และความไม่มีเช่นนั้น ก็แต่ว่าเราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉนความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ...จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ดังนี้ เธอทำโลกให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า โลกาธิปไตย
ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ ธรรมาธิปไตย เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย...เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมีและความไม่มีเช่นนั้น ก็แต่ว่าเราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉนความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคล พึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อัน วิญญูชน จะพึงรู้เฉพาะตน ก็เพื่อน สหพรหมจารีผู้ที่รู้อยู่ เห็นอยู่ มีอยู่แล เธอย่อม...ศึกษาว่า ก็ความเพียรที่เราปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้ว สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วจักไม่หลงลืม กายที่สงบระงับแล้วจักไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ดังนี้ เธอทำธรรมนั่นแหละให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า ธรรมาธิปไตย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย 3 อย่างนี้แลฯ
ยกมาเป็นเพียงตัวอย่าง แต่แฝงไว้ด้วยความลึกซึ้ง ทีนี้มาดูความเห็นแบบขยายความเพื่อใช้ในทางรัฐศาสตร์ เป็นความเห็นร่วมยุคสมัยในความมุ่งหมายแห่ง ธรรมาธิปไตย คือ
ธรรมาธิปไตยสังคม ประยุกต์มาจากสภาวธรรมอันบริสุทธิ์ เรียกว่า อสังขตธรรม คือ ธรรมชาติที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นสภาวะที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ดับ อันเป็นบรมธรรมใหญ่สุด กว้างสุด บนสุดคือ หลักสากล (Universal law) อันเป็นหลักทั่วไป (General law) คุมเหตุปัจจัยอื่นทั้งหมด หรือเรียกได้ว่า เป็นกฎเกณฑ์การจัดความสัมพันธ์ของธรรมชาติ หรือธรรมนิยาม (Nature law) เช่น กฎอิทัปปัจจยตา (กฎความสัมพันธ์ตามเหตุปัจจัยที่ว่า...เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงมี...หรือ กฎแห่งกรรม เหล่านี้เป็นกฎธรรมชาติ เป็นสัจธรรมความจริงแท้สูงสุด (Ultimate Reality)
สังขตธรรม คือ ธรรมชาติที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งหรือสังขารทั้งปวง ทั้งนามธรรม และรูปธรรม ทั้งสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต ต้องเป็นไปตามสภาวธรรมดังกล่าว ทั้งเป็นหนึ่งเดียวกับสภาวธรรมในตัวมนุษย์ คือขันธ์ 5 ได้แก่ รูป และนาม ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และหลักปฏิจจสมุปบาท (เพราะอวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร...) อันเป็นสัจธรรมด้านอัตวิสัย (Subjective truth) ที่มีลักษณะจำเพาะ (Individual law) เป็นแก่นแท้คำสอนแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
การประยุกต์สภาวะอันจริงแท้ทั้งสองด้านหรือสัจธรรมทั้งสองด้าน คือ ธรรมาธิปไตยธรรมชาติ กับธรรมาธิปไตยบุคคล แท้จริงแล้วเป็นองค์เดียวกันหรือเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อญาณทัสนะรู้เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่มีภววิสัย ไม่มีอัตวิสัยอีกต่อไป จึงก่อเกิดการสร้างสรรค์สู่ธรรมาธิปไตยสังคมสู่ธรรมาธิปไตยโลกเป็นที่สุด แต่ที่จำแนกแยกแยะก็เพื่อการศึกษาให้แจ่มแจ้ง
ธรรมาธิปไตย และการประยุกต์เป็นอย่างไรครับ?
ธรรมาธิปไตย เชิงประยุกต์ตั้งเป็นหลักธรรมการปกครองตามลักษณะพิเศษของประเทศไทย
คือ หลักธรรม หรือหลักการที่ถือธรรมเป็นใหญ่ตามหลักพุทธธรรม ประยุกต์มาเป็นหลักการปกครอง และหลักในการจัดความสัมพันธ์ในองค์รวมอันถูกต้อง มีทั้งหมด 9 ข้อ ได้แก่ หลักธรรมการเมืองการปกครอง อันเป็นหลักทั่วไปแห่งชาติ ยกขึ้นเป็นหลักในการแก้ปัญหาพื้นฐานของชาติ อันเป็นเหตุแห่งวิกฤตชาติ หรือเหตุแห่งความเลวร้ายทั้งปวงของชาติ จะเสนอโดยย่อในที่นี้คือ
1. หลักธรรมาธิปไตย ธรรมเป็นใหญ่ย่อมเป็นหลักเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของทุกศาสนา
2. หลักพระมหากษัตริย์ประมุขแห่งรัฐ ศูนย์รวมจิตใจแห่งชาติ (พระราชอาณาจักร)
3. หลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน (ศูนย์รวมแห่งการมีส่วนร่วมของปวงชนไทย)
4. หลักเสรีภาพบริบูรณ์ (ทางความคิดและทางการเมือง) ที่ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
5. หลักความเสมอภาค (ทางโอกาส) 6. หลักดุลยภาพ 7. หลักภราดรภาพ 8. หลักเอกภาพ และ 9. หลักนิติธรรม
อันที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร ถ้าเรามีพื้นฐานในการฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐานมาแล้ว ก็จะรู้เห็นตามความเป็นจริงว่าธรรมชาตินั้นดำรงอยู่อย่างดุลยภาพระหว่าง
อสังขตธรรม กับสังขตธรรม หรือ
สภาวะพ้นกฎไตรลักษณ์ กับสภาวะตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ หรือ
ความไม่ตาย กับความตาย (เกิด แก่ ดับ) หรือ
นิพพาน กับขันธ์ 5 หรือ
ความไม่เปลี่ยนแปลง กับความเปลี่ยนแปลง
หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 กับหมวดและมาตราต่างๆ อีกนัยหนึ่งแสดงให้เห็นว่า ธรรมาธิปไตย 9 เป็นด้านยุทธศาสตร์ จึงเป็นศูนย์กลางของปวงชนในแผ่นดิน ยุทธศาสตร์ที่ถูกต้องโดยธรรมและของประเทศชาติมีข้อเด่นที่สุด คือจะไม่ตาย ไม่เปลี่ยน จึงเป็นหลักที่ตั้งขึ้นเพื่อให้มีความมั่นคงอย่างยั่งยืน แล้วลองเปรียบเทียบดูกับระบอบการเมืองปัจจุบัน มีแต่วิธีการ คือหมวดและมาตราต่างๆ ส่วนหลักการปกครองหรือยุทธศาสตร์นั้นไม่มี จึงเป็นระบอบการเมืองมิจฉาทิฐิอย่างที่สุด
ชี้ทางสว่างอย่างมีปัญญาถูกต้องโดยธรรม ให้เห็นว่าหลักการปกครองทั้ง 9 เป็นหลักที่ไม่ตายก็เป็นความยั่งยืนอย่างมั่นคง ส่วนหมวดและมาตราต่างๆ ก็ต้องขึ้นต่อหลักการทั้ง 9 และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความจำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศที่เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ เมื่อเราสามารถประยุกต์ให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติได้ ก็ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ก้าวหน้าที่สุด สูงส่งกว่าหลักคิดในเชิงปรัชญาหรือลัทธิใดๆ ทั้งหมดเท่าที่โลกมีอยู่ในปัจจุบัน
โลกาธิปไตย เป็นอย่างไรครับ?
จะขออธิบายควบไปเลยนะ ถ้าไม่เข้าใจประเด็นไหน ก็ค่อยมาถามไปเรื่อยๆ ก็แล้วกัน รักชาติบ้านเมืองก็ต้องอดทน หูตาต้องกว้างไกล ที่สำคัญยิ่งคือต้องรู้สัจจะ
โลกาธิปไตย
ถือว่าเป็น วิธีการ ด้านองค์การหรือรูปแบบการปกครองคือระบบรัฐสภา และในที่ประชุมหรือสภาทั่วๆ ไป คือใช้เสียงข้างมากเป็นมติ เช่น พระราชบัญญัติ และการเลือกตั้งในทุกระดับ แต่ทั้งนี้ต้องถือ หลักธรรมาธิปไตย เป็นหลักไว้อย่างเคร่งครัด จึงจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และปวงชนอย่างแท้จริง
ทีนี้ อัตตาธิปไตย
ถือว่าเป็น วิธีการ ด้านบุคคล คืออยู่คนเดียว คิดคนเดียว คิดแต่เรื่องประโยชน์ของปวงชน ของประเทศชาติ เช่น การออกพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา ทั้งนี้ต้องถือ หลักธรรมาธิปไตยเช่นกัน จึงจะไม่นำความเสียหายมาสู่ส่วนรวมประเทศชาติและปวงชน ตัวอย่าง การลดค่าเงินบาทสร้างความร่ำรวยให้แก่คนบางกลุ่มอย่างมโหฬาร แต่ทำความเสียหายให้ประเทศชาติอย่างยับเยิน เพราะเขาไม่ถือหลักธรรมาธิปไตยนั่นเอง อธิปไตย 3 ต้องเป็นเอกภาพกันทั้ง 3 ด้าน จึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ขบวนการมิจฉาทิฐิได้ครอบงำยาวนานถึง 73 ปีมาแล้ว ที่ผู้ปกครองไทยปฏิเสธ หลักธรรมาธิปไตย กลับไปยึดถือเอาเพียง วิธีการจากยุโรป อันเป็นเพียงเปลือกนอกแล้วนำมาเป็นหลักการปกครองของประเทศไทย จึงเกิดผลร้ายสร้างความทรุดโทรมให้กับชาติบ้านเมือง และประชาชนไทยอย่างแสนสาหัส "เข้าทำนองเหยียบคบไฟส่องทาง" "ปรัชญาตะวันตกครอบงำพุทธปัญญา" ปลุกเท่าไรผู้ปกครองทั้งหลายก็ยังไม่ตื่น ฉะนั้น ผู้มีคุณธรรมทั้งหลาย ได้กรุณาติดตามพิจารณาความเห็นคอลัมน์นี้ "วิธีคิดเพื่อแผ่นดิน" อย่างใกล้ชิดตลอดไป เพื่อจะได้มีความเห็นเป็นสัมมาทิฐิ และทิฐิสามัญญตาสู่ความร่วมมือแก้ปัญหาเหตุวิกฤตชาติ หวังว่า ท่านนายกฯ ทักษิณ จะได้ดวงตาเห็นธรรม ชี้ทางให้แล้ว
"มวลมนุษยชาติรับพิจารณาไว้เถอะว่า...ธรรมาธิปไตยมิได้รับการสถาปนาโลกาจะวินาศ" ชี้ขาดที่ประเทศไทย เนื่องด้วยเหตุปัจจัยและองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของโลกเหตุแห่งพุทธสาวก, มหราชาตั้งอยู่ในปรมัตถธรรม
"กลับมาสู่ความถูกต้องดังเดิม ตามข้อเท็จจริงบนความร่วมมืออย่าง รู้รักสามัคคีธรรม ระหว่างพระพุทธศาสนา, พระมหากษัตริย์ (กองทัพ), รัฐบาล, ปวงชนไทย"
สู่การสถาปนา หลักธรรมการปกครองธรรมาธิปไตย แก้ไขเหตุวิกฤตชาติ บรรลุประเทศมหาอำนาจ เกษตรอุตสาหกรรม พุทธธรรมนำสร้างสันติภาพโลก ความมุ่งหมาย หรือยุทธศาสตร์แห่งธรรมอันเป็นอมตธรรม ทั้งโดยกฎธรรมชาติและดำรงอยู่ตามความเป็นจริงในจิตใจปวงชนไทยแล้ว
ใคร? จะเป็นผู้ประสานงาน ดำเนินการให้เป็นจริง ใคร? จะอาสาศึกษาและปฏิบัติให้เป็นจริง เพื่อประเทศชาติและปวงชนไทยทุกคนพอสมควรแก่เวลา ธรรมาธิปไตยมีอยู่ในใจของทุกคนแล้ว "ภูเขายังตั้ง ตะวันยังฉาย ธรรมาธิปไตย ไม่สลายจากใจคน"