คลังยืนยันเพิ่งได้รับหนังสือขอใช้อำนาจดูแลนอนแบงก์จากแบงก์ชาติวานนี้ ขณะที่"สมคิด" เผยยังไม่มีการหารือร่วมกับ"ม.ร.ว.ปรีดิยาธร"และมอบหมายให้ปลัดคลัง"ศุภรัตน์"เป็นผู้ประสานงานร่วมกับธปท. ส่วนผลการวิจัยสศค.ที่ขัดแย้งกับแบงก์ชาติยังไม่ใช่บทสรุปของคลัง ด้านผู้ประกอบการ แจงสินเชื่อบุคคลยังไม่พุ่งกระฉูดจนถึงระดับที่น่าเป็นห่วง พร้อมเดินหน้ารุกลูกค้าต่างจังหวัด แต่พร้อมให้ความร่วมมือหากแบงก์ชาติประกาศใช้มาตรการคุมเข้ม
หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาแสดงความวิตกเกี่ยวกับหนี้ภาคครัวเรือนได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่การออมกลับลดลง โดยในปี 2543-2547 อัตราการออมต่อจีดีพีลดเหลือต่ำกว่า 4% โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) ที่ขยายตัวสูงกว่า 50% และมีการคิดอัตราดอกเบี้ยในระดับที่สูงถึง 32-58.6% ซึ่งอาจจะกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม
ทั้งนี้ การควบคุมสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารนั้น อยู่นอกเหนืออำนาจการควบคุมของธปท. จึงได้เสนอเรื่องไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อขอเข้าไปดูแลนอนแบงก์ แต่ณ ขณะนี้ธปท.เองยังไม่ได้รับคำตอบ และคงต้องใช้เวลาในการพิจารณาอีกระยะหนึ่ง
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง เพิ่งจะได้รับหนังสือเรื่องการขอเข้าไปดูแลสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) จากธปท.วานนี้ (22 เม.ย.) โดยหนังสือฉบับดังกล่าวระบุวันที่เป็นวันที่ 18 เม.ย.48 ที่ผ่านมา
จากการออกมาระบุของกระทรวงการคลัง ทำให้เกิดข้อขัดแย้งว่า ก่อหน้านี้ ธปท.ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ได้ส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังพิจารณาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยมาตรการการควบคุมจะไม่มีการกำหนดเพดานรายได้ขั้นต่ำไว้ แต่จะกำหนดเป็นแพ็คเกจ และจะมีการกำหนดเพดานดอกเบี้ยไว้ที่ประมาณ 24-25% เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค
ขณะเดียวกันแหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการวิจัยของเจ้าหน้าที่สศค. ที่ออกมาระบุว่า ไม่เห็นด้วยที่จะให้ธปท.ควบคุมนอนแบงก์ เพราะจะเป็นการปิดกันการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้มีรายได้น้อยนั้น ได้มีการจัดทำก่อนหน้านี้นานแล้ว และไม่นำข้อมูลของ ธปท.เข้ามาประกอบการพิจารณา แต่จากผลการวิจัยที่ออกมามีข้อมูลที่ขัดแย้งกับธปท. และสามารถมีคำอธิบายได้อย่างชัดเจน
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวถึง กรณีที่ธปท. ออกมาแสดงความกังวลหนี้ภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ว่า เมื่อวันที่ 21 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้ร่วมรับประทานอาหารกับม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. แต่ไม่ได้หยิบยกเรื่องดังกล่าวขึ้นมาพิจารณา จึงทำให้เข้าใจว่าเรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นเรื่องสำคัญจึงไม่ได้มีการหารือร่วมกัน
"ผมมองว่า ผู้ประกอบการที่เป็นนอนแบงก์เอง ก็มีทั้งบริษัทที่ดีและไม่ดี และในเรื่องนี้ได้มอบหมายให้ นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประสานงานกับ ผู้ว่าการ ธปท.เพื่อดูแลในเรื่องนี้แล้ว ส่วนผลการวิจัยที่ออกมานั้นเป็นของสศค. ยังไม่ใช่ข้อสรุปของกระทรวงการคลังแต่อย่างใด"
นายขวัญชัย โหมดประดิษฐ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แคปปิตอล โอเค กล่าวว่า การที่ธปท.ออกมาระบุว่าสินเชื่อบุคคลที่ขยายตัวสูงถึง 50% นั้น เป็นภาพรวมของทั้งระบบ แต่ในส่วนของบริษัทที่เปิดให้บริการมากว่า 8 เดือน อัตราการขยายตัวของสินเชื่อยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าเป็นห่วง โดยมุ่งที่จะขยายตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนในต่างจังหวัด เพราะเห็นว่าตลาดต่างจังหวัดยังมีความต้องการสินเชื่ออยู่เป็นมาก และได้ตั้งเป้าขยายสาขาออกไปยังต่างจังหวัดถึง 10 สาขาภายในปีนี้ ซึ่งจะดูจากประชากรและรายได้ครัวเรือน
"คาดว่าสินเชื่อของบริษัทจะเพิ่มมากขึ้น หลังจากเปิดให้บริการในสาขาต่างๆ และมีสัดส่วนจากสินเชื่อในต่างจังหวัดเป็นครึ่งหนึ่งของกรุงเทพฯ และในอนาคตสัดส่วนก็จะต้องเปลี่ยน ซึ่งบริษัทต้องการให้สินเชื่อในต่างจังหวัดมีสัดส่วนสูงถึง 70% ในปี 2549 "
สำหรับเรื่องที่ ธปท.ต้องการควบคุมสินเชื่อบุคคลเพราะเกรงว่าจะเกิดปัญหาขยายตัวมากเกินไปนั้น ตอนนี้บริษัทยังไม่มีการปรับแผนใดๆ เพราะกฎเกณฑ์ยังไม่มีความชัดเจน หากมีกฎหมายออกมาก็พร้อมที่จะปฏิบัติตาม แต่ตอนนี้บริษัทจะดำเนินธุรกิจเป็นปกติไปก่อน โดยบริษัทยังมีนโยบายมุ่งเน้นปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ที่มีรายได้น้อยในต่างจังหวัด แม้ว่า ธปท.จะมีแนวคิดควบคุมสินเชื่อบุคคล
"หลักเกณฑ์ที่ ธปท.ควบคุม คิดว่าจะส่งผลกระทบทั้งผู้ให้บริการ และลูกค้าที่จะไม่ได้รับสิทธิ ซึ่งลูกค้าที่ไม่มีเครดิตก็ต้องหันไปกู้เงินนอกระบบ และการที่ ธปท.ห้ามการคิดอัตราค่าชำระล่าช้าอาจเป็นการสร้างพฤติกรรมที่ไม่ดีแก่กับลูกค้าอีกด้วย"
ด้านนายสมศักดิ์ เหมเปี่ยม รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัทอิออน ธนทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การขยายตัวของสินเชื่อรายย่อยของทางบริษัทเองยังไม่พุ่งกระฉูด และอยู่ในระดับที่ไม่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด เพราะอัตราการขยายตัวเป็นไปตามที่บริษัทตั้งเป้าไว้ ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ขยายตัว 33% เพิ่มขึ้น 6 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ในระดับ 27%
หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาแสดงความวิตกเกี่ยวกับหนี้ภาคครัวเรือนได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่การออมกลับลดลง โดยในปี 2543-2547 อัตราการออมต่อจีดีพีลดเหลือต่ำกว่า 4% โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) ที่ขยายตัวสูงกว่า 50% และมีการคิดอัตราดอกเบี้ยในระดับที่สูงถึง 32-58.6% ซึ่งอาจจะกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม
ทั้งนี้ การควบคุมสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารนั้น อยู่นอกเหนืออำนาจการควบคุมของธปท. จึงได้เสนอเรื่องไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อขอเข้าไปดูแลนอนแบงก์ แต่ณ ขณะนี้ธปท.เองยังไม่ได้รับคำตอบ และคงต้องใช้เวลาในการพิจารณาอีกระยะหนึ่ง
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง เพิ่งจะได้รับหนังสือเรื่องการขอเข้าไปดูแลสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) จากธปท.วานนี้ (22 เม.ย.) โดยหนังสือฉบับดังกล่าวระบุวันที่เป็นวันที่ 18 เม.ย.48 ที่ผ่านมา
จากการออกมาระบุของกระทรวงการคลัง ทำให้เกิดข้อขัดแย้งว่า ก่อหน้านี้ ธปท.ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ได้ส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังพิจารณาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยมาตรการการควบคุมจะไม่มีการกำหนดเพดานรายได้ขั้นต่ำไว้ แต่จะกำหนดเป็นแพ็คเกจ และจะมีการกำหนดเพดานดอกเบี้ยไว้ที่ประมาณ 24-25% เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค
ขณะเดียวกันแหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการวิจัยของเจ้าหน้าที่สศค. ที่ออกมาระบุว่า ไม่เห็นด้วยที่จะให้ธปท.ควบคุมนอนแบงก์ เพราะจะเป็นการปิดกันการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้มีรายได้น้อยนั้น ได้มีการจัดทำก่อนหน้านี้นานแล้ว และไม่นำข้อมูลของ ธปท.เข้ามาประกอบการพิจารณา แต่จากผลการวิจัยที่ออกมามีข้อมูลที่ขัดแย้งกับธปท. และสามารถมีคำอธิบายได้อย่างชัดเจน
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวถึง กรณีที่ธปท. ออกมาแสดงความกังวลหนี้ภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ว่า เมื่อวันที่ 21 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้ร่วมรับประทานอาหารกับม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. แต่ไม่ได้หยิบยกเรื่องดังกล่าวขึ้นมาพิจารณา จึงทำให้เข้าใจว่าเรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นเรื่องสำคัญจึงไม่ได้มีการหารือร่วมกัน
"ผมมองว่า ผู้ประกอบการที่เป็นนอนแบงก์เอง ก็มีทั้งบริษัทที่ดีและไม่ดี และในเรื่องนี้ได้มอบหมายให้ นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประสานงานกับ ผู้ว่าการ ธปท.เพื่อดูแลในเรื่องนี้แล้ว ส่วนผลการวิจัยที่ออกมานั้นเป็นของสศค. ยังไม่ใช่ข้อสรุปของกระทรวงการคลังแต่อย่างใด"
นายขวัญชัย โหมดประดิษฐ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แคปปิตอล โอเค กล่าวว่า การที่ธปท.ออกมาระบุว่าสินเชื่อบุคคลที่ขยายตัวสูงถึง 50% นั้น เป็นภาพรวมของทั้งระบบ แต่ในส่วนของบริษัทที่เปิดให้บริการมากว่า 8 เดือน อัตราการขยายตัวของสินเชื่อยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าเป็นห่วง โดยมุ่งที่จะขยายตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนในต่างจังหวัด เพราะเห็นว่าตลาดต่างจังหวัดยังมีความต้องการสินเชื่ออยู่เป็นมาก และได้ตั้งเป้าขยายสาขาออกไปยังต่างจังหวัดถึง 10 สาขาภายในปีนี้ ซึ่งจะดูจากประชากรและรายได้ครัวเรือน
"คาดว่าสินเชื่อของบริษัทจะเพิ่มมากขึ้น หลังจากเปิดให้บริการในสาขาต่างๆ และมีสัดส่วนจากสินเชื่อในต่างจังหวัดเป็นครึ่งหนึ่งของกรุงเทพฯ และในอนาคตสัดส่วนก็จะต้องเปลี่ยน ซึ่งบริษัทต้องการให้สินเชื่อในต่างจังหวัดมีสัดส่วนสูงถึง 70% ในปี 2549 "
สำหรับเรื่องที่ ธปท.ต้องการควบคุมสินเชื่อบุคคลเพราะเกรงว่าจะเกิดปัญหาขยายตัวมากเกินไปนั้น ตอนนี้บริษัทยังไม่มีการปรับแผนใดๆ เพราะกฎเกณฑ์ยังไม่มีความชัดเจน หากมีกฎหมายออกมาก็พร้อมที่จะปฏิบัติตาม แต่ตอนนี้บริษัทจะดำเนินธุรกิจเป็นปกติไปก่อน โดยบริษัทยังมีนโยบายมุ่งเน้นปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ที่มีรายได้น้อยในต่างจังหวัด แม้ว่า ธปท.จะมีแนวคิดควบคุมสินเชื่อบุคคล
"หลักเกณฑ์ที่ ธปท.ควบคุม คิดว่าจะส่งผลกระทบทั้งผู้ให้บริการ และลูกค้าที่จะไม่ได้รับสิทธิ ซึ่งลูกค้าที่ไม่มีเครดิตก็ต้องหันไปกู้เงินนอกระบบ และการที่ ธปท.ห้ามการคิดอัตราค่าชำระล่าช้าอาจเป็นการสร้างพฤติกรรมที่ไม่ดีแก่กับลูกค้าอีกด้วย"
ด้านนายสมศักดิ์ เหมเปี่ยม รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัทอิออน ธนทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การขยายตัวของสินเชื่อรายย่อยของทางบริษัทเองยังไม่พุ่งกระฉูด และอยู่ในระดับที่ไม่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด เพราะอัตราการขยายตัวเป็นไปตามที่บริษัทตั้งเป้าไว้ ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ขยายตัว 33% เพิ่มขึ้น 6 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ในระดับ 27%