กมธ.เศรษฐกิจฯวุฒิสภา รายงานผลสรุปพบมีการทุจริตลำไยอบแห้งปี 45แน่นอน แฉสารพัดกลโกง ส่งผลให้รัฐขาดทุนทันที 2.6 พันล้านบาท ปัญหาเกิดมานานแล้วแต่ 3 ปีรัฐบาลเมินเฉย จนเป็นข่าวใหญ่โตปี 47หลังแบ่งผลประโยชน์ไม่ลงตัว วุฒิฯมอบให้ กมธ.ปกครองตามสอบ สาวให้ถึงตัวคนกระทำผิดลงโทษพร้อมเรียกร้อง รมว.เกษตรฯยกเลิกออกใบประทวน หวั่นทุจริตซ้ำซาก ส่วนโครงการลำไยแลกอาวุธเข้าครม.วันนี้
วานนี้(18 เม.ย.) ที่ประชุมวุฒิสภา ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม วุฒิสภา ที่ศึกษากรณีโครงการรับจำนำลำไยอบแห้งปี 2545 โดย นายนิรัตน์ อยู่ภักดี เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ ได้สรุปรายงานว่า โครงการดังกล่าวมีการทุจริตเกิดขึ้นจริง โดยการรับจำนำเกิดจากคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกร หรือ คชก.มีมติต้องการแก้ไขปัญหา ซึ่งได้เพิ่มจำนวนการรับจำนำ จาก 40,000 ตัน เป็น 80,000 ตัน ซึ่งกำหนดราคา เกรด เอเอ.กิโลกรัมละ 72 บาท,เกรด เอ.กิโลกรัมละ 54 บาท และเกรด บี. กิโลกรัม 36 บาท โดยได้ใช้เงิน 4,800 ล้านบาท แต่ปรากฎว่าเมื่อหักการไถ่ถอน และราคาขายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 60 บาท ปรากฎว่าได้ขายให้บริษัท ซีเต๋อ กิโลกรัมละ 10 บาท ส่งผลให้รัฐต้องขาดทุนทันที 2,600 ล้านบาท โดยขายได้เพียง 702 ล้านบาทเท่านั้น นอกจากนี้เมื่อขายให้ ปรากฎว่าทางบริษัทฯกลับซื้อไม่หมด ยังเหลืออยู่ 22,000 ตัน รัฐบาลได้ให้เผาทำลายส่วนที่เหลือ
ทั้งนี้ การทุจริตที่เกิดขึ้น มีทั้งการแจ้งปริมาณเท็จ การสวมสิทธิของเกษตรกร การร่วมตรวจสอบคุณภาพ และคัดเกรดลำไยจากเกรด เอ และบี เป็นเกรด เอเอ. เพื่อให้ได้ส่วนต่างของราคา และบริษัทที่ตรวจและรับรองปริมาณลำไยอบแห้ง เป็นเจ้าของคลังสินค้าที่ให้เช่าเก็บรักษาลำไยอบแห้งตามโครงการ ขณะนี้การสอบทุจริตได้พบผู้ที่จะต้องรับผิดชอบ เพียง 14 คน เป็นเจ้าหน้าที่ระดับปฎิบัติ ขององค์การคลังสินค้า(อคส.)และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อตก.)หน่วยงานละ 7 คน โดยเป็นความผิดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
นายอนันต์ ดาโลดม ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาปัญหาลำไยอบแห้ง ชี้แจงว่า โครงการนี้ตั้งแต่ปี 2545-2547 ประสบความล้มเหลว รัฐต้องขาดทุนมหาศาล ซึ่งการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ขายโดยได้รับใบลำไย(ลย.) พบว่ามีเกษตรกรหนึ่งรายมีลำไยเพียง 5 ต้น แต่ได้ขึ้นทะเบียนใบ ลย.15 ไร่ และสามารถขายลำไยได้ 11,000 กก. ถือว่าเป็นการใช้เอกสารปลอม ทั้งนี้ ข้อเสนอที่ให้เกษตรกรขายได้โดยตรงทุกราย อาจจะเกิดปัญหาพ่อค้าไปกว้านซื้อจากเกษตรกร แล้วนำมาขายให้รัฐในราคารับประกัน ซึ่งจะเกิดปัญหาเช่นเคย ดังนั้นการแก้ไขปัญหาจะต้องมีการสำรวจข้อมูลด้วยความโปร่งใส
โครงการนี้ ในปี 2545ได้มีการดำเนินการของ 2 กระทรวง คือ กระทรวงเกษตรฯ กับกระทรวงพาณิชย์ มีการกำหนดเป้าหมายครั้งแรก 35,000 ตัน แต่มีแรงกดดันจากฝ่ายการเมือง และท้องถิ่นให้ขยายเป้าหมายรับประกันเป็น 40,000 ตัน และ 80,000 ตัน ตามลำดับ ถือว่ามีการวางแผนในการโกง อีกทั้งราคาที่รับจำนำเพียงปีเดียวได้พุ่งจากกก.ละ 54 บาท เป็น 72 บาท
นายอนันต์ กล่าวว่า เรื่องนี้คณะกรรมาธิการได้ส่งเรื่องตั้งแต่ปลายปี 2545 ไปถึงนายกรัฐมนตรี รมว.เกษตรฯ รมว.พาณิชย์ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) แต่รัฐบาลละเลยจนเกิดปัญหาต่อเนื่องกันมา โดยในช่วง 3 ปี ในปี 2546-2548 มีวงเงินรับจำนำถึง 11,000ล้านบาท แบ่งเป็น ปี 2546 เป็นเงิน 2,000 ล้านบาท ,ปี 2547 จำนวน 4,500 ล้านบาท และปี 2548 จำนวน 4,800 ล้านบาท และเมื่อรวมค่าบริการและดอกเบี้ยต่างๆ เป็นวงเงินถึง 13,000 ล้านบาท และคาดว่ารัฐจะต้องขาดทุนกว่า 10,000 ล้านบาท โดยในปี 2546-2547 ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายไปแลกอาวุธกับจีน มูลค่า 2,000 ล้านบาท และที่เกษตรกร มาไถ่ถอน 1,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนที่เหลือถือว่ารัฐขาดทุน
“ผมได้พูดคุยกับ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส จเรตำรวจ เพื่อให้ตรวจเรื่องนี้ ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าไปพอสมควร เรื่องนี้ ถ้าไม่มีใครทำมาตั้งแต่ต้น คงต่อจิกซอว์ได้ยาก ผมจะเอาเรื่องเข้าคณะกรรมาธิการในวันที่ 20 เม.ย.นี้ และน่าจะให้คณะกรรมาธิการการปกครองไปตรวจสอบต่อ โดยผมพร้อมให้ข้อมูล เพื่อสาวต่อไปถึงผู้กระทำความผิด เพราะเป็นไปได้อย่างไรที่ใช้งบถึง 4,800 ล้านบาท แต่เกษตรกรได้ประโยชน์เพียง 20,000 ราย หากนำมาหารเฉลี่ย เกษตรกร จะได้รับเงินถึงคนละ 240,000 บาท ก็น่าที่จะร่ำรวย แต่ขบวนการได้พยายามโกงเพื่อให้เกษตรกรหนึ่งราย ขายลำไยให้เท่าหลักเกณฑ์ที่กำหนด คือรายละไม่เกิน 250,000 บาท เมื่อพิจารณาตัวเลขดังกล่าวเกษตรกรหนึ่งรายจะต้องขายลำไยสดได้ถึง 4,000 กิโลกรัมหรือ ลำไยอบแห้ง 1,200 กิโลกรัม และการขายให้บริษัท ซีเต๋อ 702 ล้านบาท ทางบริษัทก็รับไม่หมด ยังเหลืออีกถึง 20,000 กว่าตัน ที่ต้องเผาทิ้ง เรื่องนี้ถือเป็นโครงการทุจริตระดับชาติ” นายอนันต์ กล่าว
พล.ต.อินทรัตน์ ยอดบางเตย ประธานคณะกรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา กล่าวว่า ขอเสนอให้ยกเลิกใบประทวน เพราะเป็นต้นเหตุของปัญหาการทุจริต ซึ่งมีเกษตรจังหวัด 1 คน ที่ดำเนินการเรื่องนี้ปรากฎว่าขณะนี้ได้เป็นอธิบดีแล้ว โดยใบประทวนนี้จะนำไปให้ผู้นำท้องถิ่น ซึ่งผู้ที่ขายลำไยได้ต้องมีใบประทวน ซึ่งได้มาจากเกษตรจังหวัด
“ในปี 2545 มีการแบ่งผลประโยชน์ลงตัว ข่าวถึงเงียบ แต่ในปี 2547 ข่าวมาดัง เพราะแบ่งประโยชน์กันไม่ลงตัว และลำไยที่ขาดหายไปจาก 100,000 ตัน ในปี 2547 ถึง 50,000 ตัน เพราะเป็นการทำตัวเลขให้สูง โดยนำมาจากที่บริษัทซีเต๋อรับซื้อ 30,000 ตัน และลำไยที่เหลืออีก 20,000 ตันแต่เอามาไม่ได้ เพราะมีการคัดลำไยอย่างหนัก ทำให้เอามารวมกันไม่ได้ จึงทำให้ตัวเลขหายไปถึง 50,000 ตัน” พล.ต.อินทรัตน์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกหลายคนได้แสดงความคิดเห็น โดยต้องการให้หาตัวผู้การใหญ่ที่กระทำการทุจริตมาลงโทษให้ได้ และเมื่ออภิปรายกันพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบรายงานดังกล่าว พร้อมข้อสังเกตและส่งให้รัฐบาลรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตาม นายแก้วสรร อติโพธิ ส.ว.กรุงเทพมหานคร ได้เสนอญัตติเพื่อให้สอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดโดยด่วนตั้งแต่ระดับคชก.ลงมา โดยให้คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจฯเป็นผู้รับผิดชอบและให้รายงานผลต่อวุฒิสภาภายในสมัยประชุมนี้
ขณะที่พล.ต.อินทรัตน์ กล่าวว่า ขบวนการทุจริตในปี 2545 กับปี 2547 มีความแตกต่างกันโดยปี 2545 เป็นเรื่องของ อตก.,อคส.และ คชก.แต่ปี 2547 เป็นการดำเนินการของ อตก.ทั้งหมด ที่มีปลัดกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธาน อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการจะต้องแยกออกเป็น 3 ส่วน คือในส่วน อคส., อตก.และ คชก.เมื่อรวบรวมผลแล้วต้องส่งให้ ป.ป.ช.ดำเนินการต่อไป ส่วนในกลุ่มบริษัทเอกชน ต้องให้ สตง.ตรวจสอบ และส่งเรื่องให้ ปปง.ดำเนินการยึดทรัพย์ผู้กระทำความผิดด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้(19 เม.ย.) คณะกรรมการระบายลำไยอบแห้ง ปี 2546-47 ซึ่งมีนายวราเทพ รัตนากร รมช.คลัง เป็นประธาน จะเสนอครม.ให้เห็นชอบต่อร่างสัญญา(MOU) และร่าง AGREEMENTในโครงการแลกเปลี่ยนยุทโธปกรณ์ (รถหุ้มเกราะล้อยาง)ของประเทศจีน กับลำไยอบแห้งปีรับจำนำ 2546-47ซึ่งผ่านการเจรจาของรัฐบาลไทยและตัวแทนจากประเทศจีน คือ บริษัท FUJIAN RONGJANG IMP & EXP.CORP ซึ่งในวันที่ 15 เม.ย.ที่ผ่านมา บริษัท FUJIANฯ ได้นำร่างสัญญา MOU กลับมาเสนอให้รัฐบาลไทยพิจารณาอีกครั้ง ก่อนที่จะลงนามเซ็นสัญญาให้เป็นไปตามมติ ครม.
วานนี้(18 เม.ย.) ที่ประชุมวุฒิสภา ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม วุฒิสภา ที่ศึกษากรณีโครงการรับจำนำลำไยอบแห้งปี 2545 โดย นายนิรัตน์ อยู่ภักดี เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ ได้สรุปรายงานว่า โครงการดังกล่าวมีการทุจริตเกิดขึ้นจริง โดยการรับจำนำเกิดจากคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกร หรือ คชก.มีมติต้องการแก้ไขปัญหา ซึ่งได้เพิ่มจำนวนการรับจำนำ จาก 40,000 ตัน เป็น 80,000 ตัน ซึ่งกำหนดราคา เกรด เอเอ.กิโลกรัมละ 72 บาท,เกรด เอ.กิโลกรัมละ 54 บาท และเกรด บี. กิโลกรัม 36 บาท โดยได้ใช้เงิน 4,800 ล้านบาท แต่ปรากฎว่าเมื่อหักการไถ่ถอน และราคาขายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 60 บาท ปรากฎว่าได้ขายให้บริษัท ซีเต๋อ กิโลกรัมละ 10 บาท ส่งผลให้รัฐต้องขาดทุนทันที 2,600 ล้านบาท โดยขายได้เพียง 702 ล้านบาทเท่านั้น นอกจากนี้เมื่อขายให้ ปรากฎว่าทางบริษัทฯกลับซื้อไม่หมด ยังเหลืออยู่ 22,000 ตัน รัฐบาลได้ให้เผาทำลายส่วนที่เหลือ
ทั้งนี้ การทุจริตที่เกิดขึ้น มีทั้งการแจ้งปริมาณเท็จ การสวมสิทธิของเกษตรกร การร่วมตรวจสอบคุณภาพ และคัดเกรดลำไยจากเกรด เอ และบี เป็นเกรด เอเอ. เพื่อให้ได้ส่วนต่างของราคา และบริษัทที่ตรวจและรับรองปริมาณลำไยอบแห้ง เป็นเจ้าของคลังสินค้าที่ให้เช่าเก็บรักษาลำไยอบแห้งตามโครงการ ขณะนี้การสอบทุจริตได้พบผู้ที่จะต้องรับผิดชอบ เพียง 14 คน เป็นเจ้าหน้าที่ระดับปฎิบัติ ขององค์การคลังสินค้า(อคส.)และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อตก.)หน่วยงานละ 7 คน โดยเป็นความผิดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
นายอนันต์ ดาโลดม ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาปัญหาลำไยอบแห้ง ชี้แจงว่า โครงการนี้ตั้งแต่ปี 2545-2547 ประสบความล้มเหลว รัฐต้องขาดทุนมหาศาล ซึ่งการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ขายโดยได้รับใบลำไย(ลย.) พบว่ามีเกษตรกรหนึ่งรายมีลำไยเพียง 5 ต้น แต่ได้ขึ้นทะเบียนใบ ลย.15 ไร่ และสามารถขายลำไยได้ 11,000 กก. ถือว่าเป็นการใช้เอกสารปลอม ทั้งนี้ ข้อเสนอที่ให้เกษตรกรขายได้โดยตรงทุกราย อาจจะเกิดปัญหาพ่อค้าไปกว้านซื้อจากเกษตรกร แล้วนำมาขายให้รัฐในราคารับประกัน ซึ่งจะเกิดปัญหาเช่นเคย ดังนั้นการแก้ไขปัญหาจะต้องมีการสำรวจข้อมูลด้วยความโปร่งใส
โครงการนี้ ในปี 2545ได้มีการดำเนินการของ 2 กระทรวง คือ กระทรวงเกษตรฯ กับกระทรวงพาณิชย์ มีการกำหนดเป้าหมายครั้งแรก 35,000 ตัน แต่มีแรงกดดันจากฝ่ายการเมือง และท้องถิ่นให้ขยายเป้าหมายรับประกันเป็น 40,000 ตัน และ 80,000 ตัน ตามลำดับ ถือว่ามีการวางแผนในการโกง อีกทั้งราคาที่รับจำนำเพียงปีเดียวได้พุ่งจากกก.ละ 54 บาท เป็น 72 บาท
นายอนันต์ กล่าวว่า เรื่องนี้คณะกรรมาธิการได้ส่งเรื่องตั้งแต่ปลายปี 2545 ไปถึงนายกรัฐมนตรี รมว.เกษตรฯ รมว.พาณิชย์ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) แต่รัฐบาลละเลยจนเกิดปัญหาต่อเนื่องกันมา โดยในช่วง 3 ปี ในปี 2546-2548 มีวงเงินรับจำนำถึง 11,000ล้านบาท แบ่งเป็น ปี 2546 เป็นเงิน 2,000 ล้านบาท ,ปี 2547 จำนวน 4,500 ล้านบาท และปี 2548 จำนวน 4,800 ล้านบาท และเมื่อรวมค่าบริการและดอกเบี้ยต่างๆ เป็นวงเงินถึง 13,000 ล้านบาท และคาดว่ารัฐจะต้องขาดทุนกว่า 10,000 ล้านบาท โดยในปี 2546-2547 ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายไปแลกอาวุธกับจีน มูลค่า 2,000 ล้านบาท และที่เกษตรกร มาไถ่ถอน 1,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนที่เหลือถือว่ารัฐขาดทุน
“ผมได้พูดคุยกับ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส จเรตำรวจ เพื่อให้ตรวจเรื่องนี้ ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าไปพอสมควร เรื่องนี้ ถ้าไม่มีใครทำมาตั้งแต่ต้น คงต่อจิกซอว์ได้ยาก ผมจะเอาเรื่องเข้าคณะกรรมาธิการในวันที่ 20 เม.ย.นี้ และน่าจะให้คณะกรรมาธิการการปกครองไปตรวจสอบต่อ โดยผมพร้อมให้ข้อมูล เพื่อสาวต่อไปถึงผู้กระทำความผิด เพราะเป็นไปได้อย่างไรที่ใช้งบถึง 4,800 ล้านบาท แต่เกษตรกรได้ประโยชน์เพียง 20,000 ราย หากนำมาหารเฉลี่ย เกษตรกร จะได้รับเงินถึงคนละ 240,000 บาท ก็น่าที่จะร่ำรวย แต่ขบวนการได้พยายามโกงเพื่อให้เกษตรกรหนึ่งราย ขายลำไยให้เท่าหลักเกณฑ์ที่กำหนด คือรายละไม่เกิน 250,000 บาท เมื่อพิจารณาตัวเลขดังกล่าวเกษตรกรหนึ่งรายจะต้องขายลำไยสดได้ถึง 4,000 กิโลกรัมหรือ ลำไยอบแห้ง 1,200 กิโลกรัม และการขายให้บริษัท ซีเต๋อ 702 ล้านบาท ทางบริษัทก็รับไม่หมด ยังเหลืออีกถึง 20,000 กว่าตัน ที่ต้องเผาทิ้ง เรื่องนี้ถือเป็นโครงการทุจริตระดับชาติ” นายอนันต์ กล่าว
พล.ต.อินทรัตน์ ยอดบางเตย ประธานคณะกรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา กล่าวว่า ขอเสนอให้ยกเลิกใบประทวน เพราะเป็นต้นเหตุของปัญหาการทุจริต ซึ่งมีเกษตรจังหวัด 1 คน ที่ดำเนินการเรื่องนี้ปรากฎว่าขณะนี้ได้เป็นอธิบดีแล้ว โดยใบประทวนนี้จะนำไปให้ผู้นำท้องถิ่น ซึ่งผู้ที่ขายลำไยได้ต้องมีใบประทวน ซึ่งได้มาจากเกษตรจังหวัด
“ในปี 2545 มีการแบ่งผลประโยชน์ลงตัว ข่าวถึงเงียบ แต่ในปี 2547 ข่าวมาดัง เพราะแบ่งประโยชน์กันไม่ลงตัว และลำไยที่ขาดหายไปจาก 100,000 ตัน ในปี 2547 ถึง 50,000 ตัน เพราะเป็นการทำตัวเลขให้สูง โดยนำมาจากที่บริษัทซีเต๋อรับซื้อ 30,000 ตัน และลำไยที่เหลืออีก 20,000 ตันแต่เอามาไม่ได้ เพราะมีการคัดลำไยอย่างหนัก ทำให้เอามารวมกันไม่ได้ จึงทำให้ตัวเลขหายไปถึง 50,000 ตัน” พล.ต.อินทรัตน์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกหลายคนได้แสดงความคิดเห็น โดยต้องการให้หาตัวผู้การใหญ่ที่กระทำการทุจริตมาลงโทษให้ได้ และเมื่ออภิปรายกันพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบรายงานดังกล่าว พร้อมข้อสังเกตและส่งให้รัฐบาลรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตาม นายแก้วสรร อติโพธิ ส.ว.กรุงเทพมหานคร ได้เสนอญัตติเพื่อให้สอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดโดยด่วนตั้งแต่ระดับคชก.ลงมา โดยให้คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจฯเป็นผู้รับผิดชอบและให้รายงานผลต่อวุฒิสภาภายในสมัยประชุมนี้
ขณะที่พล.ต.อินทรัตน์ กล่าวว่า ขบวนการทุจริตในปี 2545 กับปี 2547 มีความแตกต่างกันโดยปี 2545 เป็นเรื่องของ อตก.,อคส.และ คชก.แต่ปี 2547 เป็นการดำเนินการของ อตก.ทั้งหมด ที่มีปลัดกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธาน อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการจะต้องแยกออกเป็น 3 ส่วน คือในส่วน อคส., อตก.และ คชก.เมื่อรวบรวมผลแล้วต้องส่งให้ ป.ป.ช.ดำเนินการต่อไป ส่วนในกลุ่มบริษัทเอกชน ต้องให้ สตง.ตรวจสอบ และส่งเรื่องให้ ปปง.ดำเนินการยึดทรัพย์ผู้กระทำความผิดด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้(19 เม.ย.) คณะกรรมการระบายลำไยอบแห้ง ปี 2546-47 ซึ่งมีนายวราเทพ รัตนากร รมช.คลัง เป็นประธาน จะเสนอครม.ให้เห็นชอบต่อร่างสัญญา(MOU) และร่าง AGREEMENTในโครงการแลกเปลี่ยนยุทโธปกรณ์ (รถหุ้มเกราะล้อยาง)ของประเทศจีน กับลำไยอบแห้งปีรับจำนำ 2546-47ซึ่งผ่านการเจรจาของรัฐบาลไทยและตัวแทนจากประเทศจีน คือ บริษัท FUJIAN RONGJANG IMP & EXP.CORP ซึ่งในวันที่ 15 เม.ย.ที่ผ่านมา บริษัท FUJIANฯ ได้นำร่างสัญญา MOU กลับมาเสนอให้รัฐบาลไทยพิจารณาอีกครั้ง ก่อนที่จะลงนามเซ็นสัญญาให้เป็นไปตามมติ ครม.