ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาหรือที่เรียกกันในภาษาทั่วๆ ไปว่า ชาวพุทธแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม โดยอาศัยเพศภาวะ และศีลที่แต่ละกลุ่มจะต้องรักษาตามเพศ และภาวะแห่งตนตามนัยแห่งคำสอนของพุทธองค์ ในส่วนที่ว่าด้วยศีลคือ
1. พระภิกษุ ได้แก่ นักบวชผู้ชาย และต้องถือศีล 227 ข้อ หรือที่เรียกว่า ปาติโมกข์ศีลคือศีลที่พระภิกษุทุกองค์จะต้องมีการทบทวนโดยการลงอุโบสถเพื่อทำการสวด หรือท่องศีลทั้งหมดนี้ให้ฟังโดยพระภิกษุรูปหนึ่งในทุกๆ 15 วัน และเพศภาวะแห่งการเป็นพระภิกษุนั้น จะต้องได้มาโดยผ่านสังฆกรรมว่าด้วยการให้อุปสมบทตามพุทธานุญาต ซึ่งในสมัยพุทธกาลที่พระพุทธองค์ให้การอุปสมบทเองที่เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทาแต่ในปัจจุบันนี้การบวชจะกระทำโดยสงฆ์ 5 รูปขึ้นไป และพระภิกษุรูปหนึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์วิธีนี้เรียกว่า ญัตติจตุตถกรรม และผู้ที่จะบวชเป็นภิกษุ นอกจากจะเป็นเพศชายแล้วยังต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ อีกหลายประการ เป็นต้นว่า จะต้องเป็นผู้ไม่มีหนี้ และได้รับอนุญาตจากบิดามารดา เป็นต้น จึงจะบวชได้
สำหรับผู้ที่ต้องการบวชแต่มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ก็มีพุทธานุญาตให้บรรพชาเป็นสามเณรได้ และต้องถือศีล 10 ข้อ โดยแบ่งเป็นศีลหลัก 10 ข้อ ข้อวัตรปฏิบัติหรือเสขิยวัตร 75 ข้อ นาสนังคะ 10 และทัณฑกรรม 15 รวมเป็น 100 ข้อ
2. ภิกษุณี ได้แก่ นักบวชเพศหญิงต้องถือศีล 311 ข้อ และจะต้องได้รับการบวชจากสงฆ์สองฝ่ายคือ บวชจากภิกษุณีสงฆ์ก่อนแล้วได้รับการอุปสมบทจากภิกษุสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง และก่อนที่จะบวชเป็นภิกษุณีจะต้องบวชเป็นนางสิกขมานาก่อน และสำหรับผู้ที่มีอายุไม่ครบบวชเป็นภิกษุณี ก็ให้บวชเป็นสามเณรีในทำนองเดียวกับสามเณร
3. อุบาสกคือ คฤหัสถ์เพศชายที่เข้าถึงพระรัตนตรัย ด้วยการเปล่งวาจา และมีศีลที่ต้องรักษา 8 ข้อ หรือที่เรียกว่า อุโบสถศีล
4. อุบาสิกา คือคฤหัสถ์เพศหญิง และเข้าถึงพระรัตนตรัย ทั้งยังรักษาศีล 8 ข้อ ในทำนองเดียวกับอุบาสก
บุคคล 4 ประเภทดังกล่าวข้างต้นนี่เอง ที่มีหน้าที่ต้องรักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ โดยการศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า และปฏิบัติตามให้เหมาะกับเพศและภาวะแห่งตน
ดังนั้น ถ้าจะมีคำถามว่า ใครมีหน้าที่รักษาพระพุทธศาสนา ก็ต้องตอบโดยหลักการว่า บุคคล 4 ประเภทดังกล่าวข้างต้นนั่นเอง มิใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ส่วนจะรักษาอย่างไรนั้น เป็นคำถามที่ถามกันมาตลอด และมีผู้ตอบตรงกันทุกยุคทุกสมัยว่า โดยการปฏิบัติตามคำสอนทั้งในส่วนของศีล คือพระวินัยหรือข้อห้าม ข้ออนุญาตให้ครบถ้วน และถ้าขึ้นสู่การปฏิบัติธรรมเพื่อละความชั่ว และสร้างความดีให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และสังคมโดยรวมตามแต่กำลังศรัทธาของแต่ละคนจะพึงอำนวยให้
ดังนั้น ถึงแม้ว่าแต่ละประเภทจะต้องมีศีล และต้องรักษาอย่างเคร่งครัดตามนัยแห่งพุทธศาสนา แต่ในส่วนของการปฏิบัติธรรมนั้นมิได้เป็นข้อห้าม แต่เป็นข้ออนุญาตหรือข้อแนะนำให้พุทธบริษัททุกประเภทปฏิบัติได้โดยไม่แบ่งชั้นวรรณะเหมือนศีลที่มีข้อจำกัดด้วยเพศภาวะ และข้อนี้เองที่ทำให้ผู้ที่มีศีลน้อยกว่ามีโอกาสได้บรรลุภูมิธรรมที่สูงกว่าผู้ที่มีศีลมากกว่าได้ ยกตัวอย่างเช่น อุบาสกหรืออุบาสิกาอาจบรรลุธรรมชั้นสูงกว่าภิกษุหรือภิกษุณี ซึ่งมีศีลมากกว่าได้
ด้วยเหตุนี้โอกาสในการบรรลุธรรมต่างกัน ทั้งๆ ที่มีศีลเท่ากันหรือมากน้อยกว่ากันนี้เอง จึงทำให้เกิดมุมมองในเรื่องคำสอนของพระพุทธเจ้าต่างกัน และมุมมองที่ต่างกันนี้เองคือ จุดแบ่งกลุ่มหรือแบ่งนิกายต่างไปจากเดิม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่ามุมมองของใครมีคนเชื่อถือทำตามหรือไม่มากน้อยแค่ไหน ถ้าเผอิญผู้ที่มีมุมมองแตกต่างไปจากเดิม มีผู้เชื่อถือและทำตามคำสอนมากก็มีโอกาสจะทำให้เกิดนิกายใหม่ โดยแยกจากนิกายเดิมได้ ส่วนการแยกออกไปจะเป็นความผิดหรือความถูก ยากที่จะใช้สามัญสำนึกหรือกฎหมายบ้านเมืองไปตีความ ยกเว้นว่าผู้ที่แบ่งแยกออกไปจะมีความเชื่อผิดแผกไปจากพุทธพจน์ถึงขั้นที่เรียกได้ว่าเป็นมิจฉาทิฐิเท่านั้น แต่ถ้ายังอยู่ในครรลองคำสอนของพุทธองค์ ก็ยากที่จะบอกว่าเป็นคนผิดในแง่ของธรรมวินัย
ดังนั้น ถ้าท่านผู้อ่านที่เป็นชาวพุทธ และสนใจติดตามความเคลื่อนไหวในวงการศาสนาพุทธ ก็พอจะทราบว่าในประเทศไทยมีพระสงฆ์อยู่หลายนิกาย แต่ที่รู้จักกันทั่วไปก็คือ 2 นิกาย ในฝ่ายเถรวาทคือ มหานิกายอันเป็นนิกายดั้งเดิม และธรรมยุติกนิกาย อันเป็นนิกายที่ตั้งขึ้นใหม่ และทั้ง 2 นิกายนี้ก็อยู่ภายใต้การปกครองของมหาเถรสมาคม อันเป็นองค์กรปกครองสงฆ์สูงสุด
แต่ในทางสังฆกรรมทั้ง 2 นิกายได้แยกจากกัน โดยต่างฝ่ายต่างทำโดยเอกเทศของแต่ละฝ่ายไม่ปะปนกัน เพราะต่างฝ่ายต่างถือว่าเป็นนานาสังวาสของกันและกัน จะร่วมสังฆกรรมด้วยกันไม่ได้ และที่เป็นเช่นนี้ก็เกิดจากมุมมองในส่วนที่เกี่ยวกับพระวินัยแตกต่างกัน และเป็นเพียงประเด็นเล็กน้อย เช่น การครองจีวรและการปฏิบัติตามสิกขาบทเล็กน้อยที่แตกต่างกัน อันได้แก่ การใส่รองเท้าเข้าบ้าน การจับต้องเงินทอง เป็นต้น
นอกจาก 2 นิกายที่ถือว่าเป็นนานาสังวาสของกันและกันอย่างชัดเจนจนเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการแล้ว ก็ได้เกิดพระภิกษุกลุ่มหนึ่งขึ้นมา และมีแนวทางการปฏิบัติได้แตกต่างไปจาก 2 นิกายที่ว่านี้ในบางประเด็นเช่น โกนผมโกนหนวดแต่ไม่โกนคิ้ว ทั้งยังมีการตีความประเด็นแห่งคำสอนของพระพุทธองค์ในส่วนที่เป็นธรรมแตกต่างออกไปจาก 2 นิกายที่มีมาก่อนด้วย จึงเป็นเหตุให้มหาเถรสมาคมลงโทษโดยใช้กฎแห่งปัพพาชนียกรรมคือการขับออกจากหมู่ และได้มีการนำคดีขึ้นสู่ศาลฝ่ายบ้านเมืองด้วย และผลปรากฏว่า ฝ่ายภิกษุดังกล่าวแพ้คดีถูกบังคับมิให้แต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ โดยนัยถือให้หมดสภาพแห่งการถือเพศภาวะแห่งภิกษุในพระพุทธศาสนานั่นเอง
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ได้ยุติลงเพียงแค่ศาลสั่ง เพราะจนกระทั่งบัดนี้พระภิกษุกลุ่มนี้ก็ยังดำเนินชีวิตในรูปแบบของนักบวชเรื่อยมา เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงการนุ่งห่มจีวรให้ต่างไปจาก 2 นิกายที่มีมาก่อน และถือว่าตนเองเป็นนานาสังวาสของทั้ง 2 นิกาย และไม่ขึ้นอยู่กับมหาเถรสมาคมและดูเหมือนว่าผู้คนในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระภิกษุ 2 นิกายก็ไม่มีปฏิกิริยาใดๆ ที่ส่อเค้าแห่งความขัดแย้งใดๆ
แต่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องที่เคยเกิดและเงียบไปก็ปรากฏเป็นข่าวใหญ่ทางสื่อทุกประเภทอีกครั้ง เมื่อทางรัฐบาลประกาศจะจัดงานวันวิสาขะ โดยมีภิกษุกลุ่มที่มีปัญหาถึงกับขึ้นศาลมาแล้วเข้าร่วมพิธีในงานนี้ด้วย และในการนี้ได้มีอดีตนักการเมือง และเป็นศิษย์บัดนี้ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการดำเนินการด้วย จึงทำให้เกิดกระแสคัดค้านดังขึ้นจาก 2 นิกายเดิม โดยเฉพาะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย โดยการนำของพระเทพดิลก (พระมหาระแบบ)
ในการออกมาคัดค้านในครั้งนี้ พระเทพดิลกได้พูดถึงรัฐบาลว่าจะจัดงานใหญ่ทางศาสนาทำไมไม่ปรึกษามหาเถรสมาคมก่อน และการที่รัฐบาลสั่งให้พระทำโน่นทำนี่ สั่งได้แต่พระก็จะไม่ทำถ้าเห็นว่าไม่เหมาะสมที่จะทำ นี่คือนัยแห่งการคัดค้านของพระเทพดิลกที่ไม่ต้องการให้ภิกษุกลุ่มที่มีความเห็นผิดแผกไปจาก 2 นิกายเดิมถึงกับประกาศตนเป็นนานาสังวาสของกันและกันไปแล้วเข้าร่วมด้วย
ถ้าดูตามนัยแห่งคำพูดของพระเทพดิลกแล้ว น่าจะหมายความว่า พระภิกษุที่ไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้ภิกษุกลุ่มที่ปฏิบัติแปลกแยกออกไปเข้าร่วมงานนี้ด้วยนั่นเอง และในขณะเดียวกัน ถ้ารัฐบาลยังดื้อแพ่งจะให้กลุ่มที่ว่านี้เข้าร่วมก็แปลได้ความพระส่วนหนึ่งจะไม่เข้าร่วม
ทั้งหมดที่เกิดขึ้น ผู้เขียนเชื่อว่ามีมูลแห่งความขัดแย้งมาจากประเด็นที่ว่ารัฐบาลให้ความสำคัญแก่ภิกษุกลุ่มที่พระภิกษุส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย และไม่รับรองการมีเพศและภาวะแห่งการเป็นนักบวชแล้ว ในขณะที่พระภิกษุกลุ่มนี้ยังถือว่าตนเองเป็นพระอยู่ และเป็นมาตลอดไม่เคยขาดหายไป
ความเป็นพระและไม่เป็นพระเริ่มต้นและสิ้นสุดเมื่อใด? และพระภิกษุกลุ่มนี้ถ้าว่่าโดยวินัยแล้วขาดจากความเป็นภิกษุหรือไม่?
เกี่ยวกับประเด็นนี้ ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านที่เป็นชาวพุทธทำใจเป็นกลาง และย้อนไปดูพระวินัยในส่วนที่อนุญาตให้บุคคลเข้ามาบวชก็จะพบว่า ในการบวชเป็นพระภิกษุในประเทศไทยในปัจจุบันเริ่มด้วยที่ต้องการบวชที่ศรัทธา และไปขออุปสมบทกับพระอุปัชฌาย์ ณ วัดใดวัดหนึ่ง และพระอุปัชฌาย์ยินดีบวชให้ ทั้งที่ผู้ที่ขอบวชไม่ขาดปริสสมบัติก็ถือได้ว่าเป็นพระภิกษุสมบูรณ์ และเมื่อบวชแล้วไม่กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงที่ทำให้ขาดจากความเป็นพระคือ ปาราชิก 4 อันได้แก่ ฆ่ามนุษย์ ลักทรัพย์เกิน 5 มาสก เสพเมถุน และอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน ถึงแม้ว่าจะผิดสิกขาบทเล็กน้อย ก็ไม่ขาดจากความเป็นพระที่ว่ากันด้วยหลักแห่งพระวินัย
แต่ถ้ามองในแง่ของการปกครอง ถ้าผู้ที่บวชเป็นพระแล้วประพฤติไม่อยู่ในร่องในรอย ทำให้เสื่อมเสียถึงพระศาสนา เช่น ดื่มเหล้าเมายา และยึดอาชีพเรี่ยไรก่อความเดือดร้อน ก่อความเสียหายแก่พระศาสนาโดยรวม ทางฝ่ายปกครองก็สามารถใช้อำนาจในการปกครองสงฆ์บังคับจับสึกได้เช่นกัน แต่นี่คือการให้สึกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย แต่ครั้นผู้ที่ทำผิดดื้อแพ่งไม่ยอมสึกหรือสึกแต่ภายหลังนำเครื่องนุ่งห่มของพระสงฆ์มาแต่งอีก โดยอ้างว่ามิได้เต็มใจสึก และยังมีศรัทธาในพระศาสนาอยู่จึงไม่ขาดจากพระก็เป็นเรื่องของฝ่ายบ้านเมืองว่าจะดำเนินการอย่างไร
สำหรับพระสงฆ์จะทำได้ก็แค่ไม่ร่วมสังฆกรรม โดยอ้างเป็นนานาสังวาสได้ และโดยปกติท่านก็ทำอยู่แล้ว แม้กระทั่งระหว่าง 2 นิกายที่มีอยู่เดิม และถ้าจะกระทำต่อนิกายใหม่ก็มิใช่เรื่องแปลก แต่ที่น่าจะแปลกก็ตรงที่ว่า ถ้ารัฐบาลจัดงานและให้นิกายที่ไม่เป็นที่ยอมรับมาร่วมสังฆกรรมด้วยเท่านั้น
ดังนั้น ทางออกเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้เขียนเห็นว่ากระทำได้โดยให้ทุกฝ่ายสมัครใจทำหรือไม่ทำร่วมกัน โดยที่รัฐบาลไม่ต้องเข้ามาออกคำสั่งใดๆ ให้เป็นที่เกิดความขัดแย้งต่อชาวพุทธด้วยกัน เพียงเพื่อให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้รับการยอมรับจากสังคมโดยรวม
1. พระภิกษุ ได้แก่ นักบวชผู้ชาย และต้องถือศีล 227 ข้อ หรือที่เรียกว่า ปาติโมกข์ศีลคือศีลที่พระภิกษุทุกองค์จะต้องมีการทบทวนโดยการลงอุโบสถเพื่อทำการสวด หรือท่องศีลทั้งหมดนี้ให้ฟังโดยพระภิกษุรูปหนึ่งในทุกๆ 15 วัน และเพศภาวะแห่งการเป็นพระภิกษุนั้น จะต้องได้มาโดยผ่านสังฆกรรมว่าด้วยการให้อุปสมบทตามพุทธานุญาต ซึ่งในสมัยพุทธกาลที่พระพุทธองค์ให้การอุปสมบทเองที่เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทาแต่ในปัจจุบันนี้การบวชจะกระทำโดยสงฆ์ 5 รูปขึ้นไป และพระภิกษุรูปหนึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์วิธีนี้เรียกว่า ญัตติจตุตถกรรม และผู้ที่จะบวชเป็นภิกษุ นอกจากจะเป็นเพศชายแล้วยังต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ อีกหลายประการ เป็นต้นว่า จะต้องเป็นผู้ไม่มีหนี้ และได้รับอนุญาตจากบิดามารดา เป็นต้น จึงจะบวชได้
สำหรับผู้ที่ต้องการบวชแต่มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ก็มีพุทธานุญาตให้บรรพชาเป็นสามเณรได้ และต้องถือศีล 10 ข้อ โดยแบ่งเป็นศีลหลัก 10 ข้อ ข้อวัตรปฏิบัติหรือเสขิยวัตร 75 ข้อ นาสนังคะ 10 และทัณฑกรรม 15 รวมเป็น 100 ข้อ
2. ภิกษุณี ได้แก่ นักบวชเพศหญิงต้องถือศีล 311 ข้อ และจะต้องได้รับการบวชจากสงฆ์สองฝ่ายคือ บวชจากภิกษุณีสงฆ์ก่อนแล้วได้รับการอุปสมบทจากภิกษุสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง และก่อนที่จะบวชเป็นภิกษุณีจะต้องบวชเป็นนางสิกขมานาก่อน และสำหรับผู้ที่มีอายุไม่ครบบวชเป็นภิกษุณี ก็ให้บวชเป็นสามเณรีในทำนองเดียวกับสามเณร
3. อุบาสกคือ คฤหัสถ์เพศชายที่เข้าถึงพระรัตนตรัย ด้วยการเปล่งวาจา และมีศีลที่ต้องรักษา 8 ข้อ หรือที่เรียกว่า อุโบสถศีล
4. อุบาสิกา คือคฤหัสถ์เพศหญิง และเข้าถึงพระรัตนตรัย ทั้งยังรักษาศีล 8 ข้อ ในทำนองเดียวกับอุบาสก
บุคคล 4 ประเภทดังกล่าวข้างต้นนี่เอง ที่มีหน้าที่ต้องรักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ โดยการศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า และปฏิบัติตามให้เหมาะกับเพศและภาวะแห่งตน
ดังนั้น ถ้าจะมีคำถามว่า ใครมีหน้าที่รักษาพระพุทธศาสนา ก็ต้องตอบโดยหลักการว่า บุคคล 4 ประเภทดังกล่าวข้างต้นนั่นเอง มิใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ส่วนจะรักษาอย่างไรนั้น เป็นคำถามที่ถามกันมาตลอด และมีผู้ตอบตรงกันทุกยุคทุกสมัยว่า โดยการปฏิบัติตามคำสอนทั้งในส่วนของศีล คือพระวินัยหรือข้อห้าม ข้ออนุญาตให้ครบถ้วน และถ้าขึ้นสู่การปฏิบัติธรรมเพื่อละความชั่ว และสร้างความดีให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และสังคมโดยรวมตามแต่กำลังศรัทธาของแต่ละคนจะพึงอำนวยให้
ดังนั้น ถึงแม้ว่าแต่ละประเภทจะต้องมีศีล และต้องรักษาอย่างเคร่งครัดตามนัยแห่งพุทธศาสนา แต่ในส่วนของการปฏิบัติธรรมนั้นมิได้เป็นข้อห้าม แต่เป็นข้ออนุญาตหรือข้อแนะนำให้พุทธบริษัททุกประเภทปฏิบัติได้โดยไม่แบ่งชั้นวรรณะเหมือนศีลที่มีข้อจำกัดด้วยเพศภาวะ และข้อนี้เองที่ทำให้ผู้ที่มีศีลน้อยกว่ามีโอกาสได้บรรลุภูมิธรรมที่สูงกว่าผู้ที่มีศีลมากกว่าได้ ยกตัวอย่างเช่น อุบาสกหรืออุบาสิกาอาจบรรลุธรรมชั้นสูงกว่าภิกษุหรือภิกษุณี ซึ่งมีศีลมากกว่าได้
ด้วยเหตุนี้โอกาสในการบรรลุธรรมต่างกัน ทั้งๆ ที่มีศีลเท่ากันหรือมากน้อยกว่ากันนี้เอง จึงทำให้เกิดมุมมองในเรื่องคำสอนของพระพุทธเจ้าต่างกัน และมุมมองที่ต่างกันนี้เองคือ จุดแบ่งกลุ่มหรือแบ่งนิกายต่างไปจากเดิม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่ามุมมองของใครมีคนเชื่อถือทำตามหรือไม่มากน้อยแค่ไหน ถ้าเผอิญผู้ที่มีมุมมองแตกต่างไปจากเดิม มีผู้เชื่อถือและทำตามคำสอนมากก็มีโอกาสจะทำให้เกิดนิกายใหม่ โดยแยกจากนิกายเดิมได้ ส่วนการแยกออกไปจะเป็นความผิดหรือความถูก ยากที่จะใช้สามัญสำนึกหรือกฎหมายบ้านเมืองไปตีความ ยกเว้นว่าผู้ที่แบ่งแยกออกไปจะมีความเชื่อผิดแผกไปจากพุทธพจน์ถึงขั้นที่เรียกได้ว่าเป็นมิจฉาทิฐิเท่านั้น แต่ถ้ายังอยู่ในครรลองคำสอนของพุทธองค์ ก็ยากที่จะบอกว่าเป็นคนผิดในแง่ของธรรมวินัย
ดังนั้น ถ้าท่านผู้อ่านที่เป็นชาวพุทธ และสนใจติดตามความเคลื่อนไหวในวงการศาสนาพุทธ ก็พอจะทราบว่าในประเทศไทยมีพระสงฆ์อยู่หลายนิกาย แต่ที่รู้จักกันทั่วไปก็คือ 2 นิกาย ในฝ่ายเถรวาทคือ มหานิกายอันเป็นนิกายดั้งเดิม และธรรมยุติกนิกาย อันเป็นนิกายที่ตั้งขึ้นใหม่ และทั้ง 2 นิกายนี้ก็อยู่ภายใต้การปกครองของมหาเถรสมาคม อันเป็นองค์กรปกครองสงฆ์สูงสุด
แต่ในทางสังฆกรรมทั้ง 2 นิกายได้แยกจากกัน โดยต่างฝ่ายต่างทำโดยเอกเทศของแต่ละฝ่ายไม่ปะปนกัน เพราะต่างฝ่ายต่างถือว่าเป็นนานาสังวาสของกันและกัน จะร่วมสังฆกรรมด้วยกันไม่ได้ และที่เป็นเช่นนี้ก็เกิดจากมุมมองในส่วนที่เกี่ยวกับพระวินัยแตกต่างกัน และเป็นเพียงประเด็นเล็กน้อย เช่น การครองจีวรและการปฏิบัติตามสิกขาบทเล็กน้อยที่แตกต่างกัน อันได้แก่ การใส่รองเท้าเข้าบ้าน การจับต้องเงินทอง เป็นต้น
นอกจาก 2 นิกายที่ถือว่าเป็นนานาสังวาสของกันและกันอย่างชัดเจนจนเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการแล้ว ก็ได้เกิดพระภิกษุกลุ่มหนึ่งขึ้นมา และมีแนวทางการปฏิบัติได้แตกต่างไปจาก 2 นิกายที่ว่านี้ในบางประเด็นเช่น โกนผมโกนหนวดแต่ไม่โกนคิ้ว ทั้งยังมีการตีความประเด็นแห่งคำสอนของพระพุทธองค์ในส่วนที่เป็นธรรมแตกต่างออกไปจาก 2 นิกายที่มีมาก่อนด้วย จึงเป็นเหตุให้มหาเถรสมาคมลงโทษโดยใช้กฎแห่งปัพพาชนียกรรมคือการขับออกจากหมู่ และได้มีการนำคดีขึ้นสู่ศาลฝ่ายบ้านเมืองด้วย และผลปรากฏว่า ฝ่ายภิกษุดังกล่าวแพ้คดีถูกบังคับมิให้แต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ โดยนัยถือให้หมดสภาพแห่งการถือเพศภาวะแห่งภิกษุในพระพุทธศาสนานั่นเอง
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ได้ยุติลงเพียงแค่ศาลสั่ง เพราะจนกระทั่งบัดนี้พระภิกษุกลุ่มนี้ก็ยังดำเนินชีวิตในรูปแบบของนักบวชเรื่อยมา เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงการนุ่งห่มจีวรให้ต่างไปจาก 2 นิกายที่มีมาก่อน และถือว่าตนเองเป็นนานาสังวาสของทั้ง 2 นิกาย และไม่ขึ้นอยู่กับมหาเถรสมาคมและดูเหมือนว่าผู้คนในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระภิกษุ 2 นิกายก็ไม่มีปฏิกิริยาใดๆ ที่ส่อเค้าแห่งความขัดแย้งใดๆ
แต่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องที่เคยเกิดและเงียบไปก็ปรากฏเป็นข่าวใหญ่ทางสื่อทุกประเภทอีกครั้ง เมื่อทางรัฐบาลประกาศจะจัดงานวันวิสาขะ โดยมีภิกษุกลุ่มที่มีปัญหาถึงกับขึ้นศาลมาแล้วเข้าร่วมพิธีในงานนี้ด้วย และในการนี้ได้มีอดีตนักการเมือง และเป็นศิษย์บัดนี้ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการดำเนินการด้วย จึงทำให้เกิดกระแสคัดค้านดังขึ้นจาก 2 นิกายเดิม โดยเฉพาะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย โดยการนำของพระเทพดิลก (พระมหาระแบบ)
ในการออกมาคัดค้านในครั้งนี้ พระเทพดิลกได้พูดถึงรัฐบาลว่าจะจัดงานใหญ่ทางศาสนาทำไมไม่ปรึกษามหาเถรสมาคมก่อน และการที่รัฐบาลสั่งให้พระทำโน่นทำนี่ สั่งได้แต่พระก็จะไม่ทำถ้าเห็นว่าไม่เหมาะสมที่จะทำ นี่คือนัยแห่งการคัดค้านของพระเทพดิลกที่ไม่ต้องการให้ภิกษุกลุ่มที่มีความเห็นผิดแผกไปจาก 2 นิกายเดิมถึงกับประกาศตนเป็นนานาสังวาสของกันและกันไปแล้วเข้าร่วมด้วย
ถ้าดูตามนัยแห่งคำพูดของพระเทพดิลกแล้ว น่าจะหมายความว่า พระภิกษุที่ไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้ภิกษุกลุ่มที่ปฏิบัติแปลกแยกออกไปเข้าร่วมงานนี้ด้วยนั่นเอง และในขณะเดียวกัน ถ้ารัฐบาลยังดื้อแพ่งจะให้กลุ่มที่ว่านี้เข้าร่วมก็แปลได้ความพระส่วนหนึ่งจะไม่เข้าร่วม
ทั้งหมดที่เกิดขึ้น ผู้เขียนเชื่อว่ามีมูลแห่งความขัดแย้งมาจากประเด็นที่ว่ารัฐบาลให้ความสำคัญแก่ภิกษุกลุ่มที่พระภิกษุส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย และไม่รับรองการมีเพศและภาวะแห่งการเป็นนักบวชแล้ว ในขณะที่พระภิกษุกลุ่มนี้ยังถือว่าตนเองเป็นพระอยู่ และเป็นมาตลอดไม่เคยขาดหายไป
ความเป็นพระและไม่เป็นพระเริ่มต้นและสิ้นสุดเมื่อใด? และพระภิกษุกลุ่มนี้ถ้าว่่าโดยวินัยแล้วขาดจากความเป็นภิกษุหรือไม่?
เกี่ยวกับประเด็นนี้ ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านที่เป็นชาวพุทธทำใจเป็นกลาง และย้อนไปดูพระวินัยในส่วนที่อนุญาตให้บุคคลเข้ามาบวชก็จะพบว่า ในการบวชเป็นพระภิกษุในประเทศไทยในปัจจุบันเริ่มด้วยที่ต้องการบวชที่ศรัทธา และไปขออุปสมบทกับพระอุปัชฌาย์ ณ วัดใดวัดหนึ่ง และพระอุปัชฌาย์ยินดีบวชให้ ทั้งที่ผู้ที่ขอบวชไม่ขาดปริสสมบัติก็ถือได้ว่าเป็นพระภิกษุสมบูรณ์ และเมื่อบวชแล้วไม่กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงที่ทำให้ขาดจากความเป็นพระคือ ปาราชิก 4 อันได้แก่ ฆ่ามนุษย์ ลักทรัพย์เกิน 5 มาสก เสพเมถุน และอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน ถึงแม้ว่าจะผิดสิกขาบทเล็กน้อย ก็ไม่ขาดจากความเป็นพระที่ว่ากันด้วยหลักแห่งพระวินัย
แต่ถ้ามองในแง่ของการปกครอง ถ้าผู้ที่บวชเป็นพระแล้วประพฤติไม่อยู่ในร่องในรอย ทำให้เสื่อมเสียถึงพระศาสนา เช่น ดื่มเหล้าเมายา และยึดอาชีพเรี่ยไรก่อความเดือดร้อน ก่อความเสียหายแก่พระศาสนาโดยรวม ทางฝ่ายปกครองก็สามารถใช้อำนาจในการปกครองสงฆ์บังคับจับสึกได้เช่นกัน แต่นี่คือการให้สึกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย แต่ครั้นผู้ที่ทำผิดดื้อแพ่งไม่ยอมสึกหรือสึกแต่ภายหลังนำเครื่องนุ่งห่มของพระสงฆ์มาแต่งอีก โดยอ้างว่ามิได้เต็มใจสึก และยังมีศรัทธาในพระศาสนาอยู่จึงไม่ขาดจากพระก็เป็นเรื่องของฝ่ายบ้านเมืองว่าจะดำเนินการอย่างไร
สำหรับพระสงฆ์จะทำได้ก็แค่ไม่ร่วมสังฆกรรม โดยอ้างเป็นนานาสังวาสได้ และโดยปกติท่านก็ทำอยู่แล้ว แม้กระทั่งระหว่าง 2 นิกายที่มีอยู่เดิม และถ้าจะกระทำต่อนิกายใหม่ก็มิใช่เรื่องแปลก แต่ที่น่าจะแปลกก็ตรงที่ว่า ถ้ารัฐบาลจัดงานและให้นิกายที่ไม่เป็นที่ยอมรับมาร่วมสังฆกรรมด้วยเท่านั้น
ดังนั้น ทางออกเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้เขียนเห็นว่ากระทำได้โดยให้ทุกฝ่ายสมัครใจทำหรือไม่ทำร่วมกัน โดยที่รัฐบาลไม่ต้องเข้ามาออกคำสั่งใดๆ ให้เป็นที่เกิดความขัดแย้งต่อชาวพุทธด้วยกัน เพียงเพื่อให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้รับการยอมรับจากสังคมโดยรวม