นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนมี.ค.ว่า ดัชนีทุกรายการปรับตัวลดลง เนื่องคนวิตกถึงปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 84.6 ต่ำสุดในรอบ 29 เดือน ลดลงจากเดือนก.พ.ที่อยู่ระดับ 88.7 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจในอนาคต 6 เดือนข้างหน้า เท่ากับ 81.9 ต่ำสุดในรอบ 37 เดือน นับตั้งแต่ มี.ค.2545
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำในปัจจุบันเท่ากับ 82.6 ต่ำสุดในรอบ 22 เดือน ลดจากเดือน ก.พ.ที่อยู่ระดับ 86.2 ส่วนโอกาสในการหางานทำในอนาคต 6 เดือนข้างหน้า เท่ากับ 80.5 ต่ำสุดในรอบ 35 เดือน นับตั้งแต่เดือน พ.ค.2545 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเท่ากับ 101.3 ต่ำสุดในรอบ 35 เดือน นับตั้งแต่ พ.ค.2545 โดยลดจากเดือน ก.พ.ที่อยู่ระดับ 103.9
ปัจจัยลบที่ฉุดความเชื่อมั่นให้ต่ำลง ได้แก่ ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลในเดือน มี.ค.ที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลปรับขึ้นลิตรละ 3 บาท ขณะที่เบนซิน 91 และ 95 ปรับขึ้นลิตรละ 1.20 บาท ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลง 60.06 จุด ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัด ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงจาก 38.318 บาทต่อดอลลาร์มาอยู่ที่ 39.154 บาทต่อดอลลาร์ และความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ซึ่งยังไม่รวมเหตุระเบิดที่อ.หาดใหญ่ รวมทั้งผลกระทบจากสึนามิ
"เดือนมี.ค. นี้ แทบไม่มีปัจจัยบวกเลย และจากทิศทางขาลงของดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการ บอกได้ว่าทิศทางการบริโภคของประชาชนจะอยู่ในช่วงขาลงเช่นกัน เพราะคนกลัวว่าโอกาสในการหางานทำงานและรายได้ในอนาคตจะปรับลดลง อีกทั้งเริ่มมีความวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจเริ่มแย่ก็มีมากขึ้น" นางเสาวณีย์กล่าว
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนมี.ค.ปรับลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 2-3 ปี ซึ่งการสำรวจยังไม่รวมถึงเหตุลอบวางระเบิดที่หาดใหญ่ แต่ในเดือนเม.ย. น่าจะมีคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้อย่างแน่นอนว่าประชาชนมีความรู้สึกอย่างไร ซึ่งคาดว่าจะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในระดับหนึ่ง
"มองว่าการบริโภคของประชาชนจะลดลงไปจนถึงครึ่งปีแรก ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ศูนย์ฯ ระบุชัดเจน จากครั้งก่อนๆ ที่ยืนยันว่าประชาชนจะยังไม่ลดการบริโภคลง และจากการที่ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำและรายได้ในอนาคตปรับลดลง และคนยังวิตกว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้นอีก อาจทำให้การบริโภคลดลงต่อเนื่องถึงไตรมาส 3 ได้" นายธนวรรธน์กล่าว
สำหรับภาวการณ์ใช้จ่ายของผู้บริโภคในเดือน มี.ค.พบว่า ความเหมาะสมในการซื้อรถยนต์คันใหม่เท่ากับ 67.6 ลดจากเดือน ก.พ.ที่อยู่ระดับ 71.7 ความเหมาะสมในการซื้อบ้านหลังใหม่ เท่ากับ 90.9 ลดจากเดือน ก.พ.ที่อยู่ระดับ 93.9 ความเหาะสมในการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว เท่ากับ 72.9 ลดจากเดือน ก.พ.ที่อยู่ระดับ 77.1 และความเหมาะสมในการลงทุนทำธุรกิจ เท่ากับ 99.7 ลดจากเดือน ก.พ.ที่อยู่ระดับ 105.3
///////////
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำในปัจจุบันเท่ากับ 82.6 ต่ำสุดในรอบ 22 เดือน ลดจากเดือน ก.พ.ที่อยู่ระดับ 86.2 ส่วนโอกาสในการหางานทำในอนาคต 6 เดือนข้างหน้า เท่ากับ 80.5 ต่ำสุดในรอบ 35 เดือน นับตั้งแต่เดือน พ.ค.2545 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเท่ากับ 101.3 ต่ำสุดในรอบ 35 เดือน นับตั้งแต่ พ.ค.2545 โดยลดจากเดือน ก.พ.ที่อยู่ระดับ 103.9
ปัจจัยลบที่ฉุดความเชื่อมั่นให้ต่ำลง ได้แก่ ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลในเดือน มี.ค.ที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลปรับขึ้นลิตรละ 3 บาท ขณะที่เบนซิน 91 และ 95 ปรับขึ้นลิตรละ 1.20 บาท ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลง 60.06 จุด ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัด ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงจาก 38.318 บาทต่อดอลลาร์มาอยู่ที่ 39.154 บาทต่อดอลลาร์ และความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ซึ่งยังไม่รวมเหตุระเบิดที่อ.หาดใหญ่ รวมทั้งผลกระทบจากสึนามิ
"เดือนมี.ค. นี้ แทบไม่มีปัจจัยบวกเลย และจากทิศทางขาลงของดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการ บอกได้ว่าทิศทางการบริโภคของประชาชนจะอยู่ในช่วงขาลงเช่นกัน เพราะคนกลัวว่าโอกาสในการหางานทำงานและรายได้ในอนาคตจะปรับลดลง อีกทั้งเริ่มมีความวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจเริ่มแย่ก็มีมากขึ้น" นางเสาวณีย์กล่าว
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนมี.ค.ปรับลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 2-3 ปี ซึ่งการสำรวจยังไม่รวมถึงเหตุลอบวางระเบิดที่หาดใหญ่ แต่ในเดือนเม.ย. น่าจะมีคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้อย่างแน่นอนว่าประชาชนมีความรู้สึกอย่างไร ซึ่งคาดว่าจะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในระดับหนึ่ง
"มองว่าการบริโภคของประชาชนจะลดลงไปจนถึงครึ่งปีแรก ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ศูนย์ฯ ระบุชัดเจน จากครั้งก่อนๆ ที่ยืนยันว่าประชาชนจะยังไม่ลดการบริโภคลง และจากการที่ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำและรายได้ในอนาคตปรับลดลง และคนยังวิตกว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้นอีก อาจทำให้การบริโภคลดลงต่อเนื่องถึงไตรมาส 3 ได้" นายธนวรรธน์กล่าว
สำหรับภาวการณ์ใช้จ่ายของผู้บริโภคในเดือน มี.ค.พบว่า ความเหมาะสมในการซื้อรถยนต์คันใหม่เท่ากับ 67.6 ลดจากเดือน ก.พ.ที่อยู่ระดับ 71.7 ความเหมาะสมในการซื้อบ้านหลังใหม่ เท่ากับ 90.9 ลดจากเดือน ก.พ.ที่อยู่ระดับ 93.9 ความเหาะสมในการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว เท่ากับ 72.9 ลดจากเดือน ก.พ.ที่อยู่ระดับ 77.1 และความเหมาะสมในการลงทุนทำธุรกิจ เท่ากับ 99.7 ลดจากเดือน ก.พ.ที่อยู่ระดับ 105.3
///////////