วันนี้คือวันที่ 4 เมษายน 2548 เหลือเวลาอีกไม่กี่วันก็จะถึงเทศกาลสงกรานต์แล้ว คนทั้งปวงย่อมเตรียมเนื้อเตรียมตัวในการทำบุญสงกรานต์ ในการกลับบ้านเยี่ยมญาติ รดน้ำทำบุญให้แก่ญาติผู้ใหญ่และบรรพการีทั้งปวง จึงถึงเวลาที่สิริอัญญาผู้มีปัญญาอันน้อยจะได้ทำหน้าที่บอกกล่าวสงกรานต์เหมือนอย่างเคย
ว่าไปแล้วก็ออกจะหาญกล้าท้าทายสักหน่อยหนึ่งเพราะแต่โบราณกาลมานั้นการทำหน้าที่บอกกล่าวสงกรานต์ไม่ใช่เรื่องที่ชาวบ้านจะกระทำได้เพราะเป็นหน้าที่ของกรมโหรหลวงที่ต้องทำหน้าที่คำนวณการต่าง ๆ แล้วทำเรื่องกราบบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดิน เพื่อทรงทราบล่วงหน้าถึงความที่จะเป็นไป โดยเฉพาะในเรื่องฤดูกาลฝนฟ้าอากาศ และสุขทุกข์ของอาณาราษฎรตลอดจนราชสำนัก
ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งถือกันว่าทรงเป็นบิดาทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย พระองค์ก็ไม่ได้รังเกียจว่าการบอกกล่าวสงกรานต์เป็นเรื่องงมงายไร้สาระ ทรงถือว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติอย่างหนึ่งที่มีมาสำหรับแผ่นดิน ทั้งยังทรงส่งเสริมให้มีการบอกกล่าวสงกรานต์ ถึงกับทรงรับสั่งให้นำคำบอกกล่าวสงกรานต์ลงตีพิมพ์ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาด้วยซ้ำไป
วันสงกรานต์ปี 2548 นี้ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน 2548 เวลา 0 นาฬิกา 18 นาที 0 วินาที เพราะในปีนี้พระอาทิตย์โคจรย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ตรงกับวันเวลาดังกล่าว จึงต้องถือว่าวันเวลานี้คือวันมหาสงกรานต์ และเป็นการเริ่มต้นปีนักษัตรใหม่เป็นปีระกานับแต่วันเวลาดังกล่าว
สงกรานต์แปลว่าย้ายหรือเปลี่ยน โดยถือเอาการย้ายหรือเปลี่ยนราศีของพระอาทิตย์เป็นเกณฑ์ มีอยู่สามลักษณะคือสงกรานต์เดือนอย่างหนึ่ง อายันสงกรานต์อย่างหนึ่ง และมหาสงกรานต์อีกอย่างหนึ่ง
จักรวาลอันเป็นวงกลมที่กว้างเวิ้งว้างว่างไกลนั้น เมื่อนับรวมองศาเข้าด้วยกันก็จะมีจำนวน 360 องศา แบ่งออกเป็น 12 ราศี ตามกลุ่มดาวที่ประจำอยู่ ดังนั้นในแต่ละราศีจึงมี 30 องศา หากจะแบ่งย่อยลงไปก็จะเป็นลิปดา ฟิลิปดา และตรียางค์ นวางค์
ความจริงนั้นโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่โดยทางกายภาพที่มองเห็นได้ด้วยตา กรณีกลายเป็นว่าดวงอาทิตย์โคจรรอบโลก ผลจากการคำนวณปรากฏว่าดวงอาทิตย์โคจรวันละประมาณ 1 องศา ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือนจึงจะโคจรข้ามราศีหนึ่งไปอีกราศีหนึ่ง
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ทรงรจนาวิถีโคจรของดวงอาทิตย์ไว้ในคัมภีร์จักรทีปนีจรว่า
“ปางองค์อาทิตย์เทพ สถิตที่สถานใด
ราศีละเดือนไถง ก็ละล่าราศีจร”
สงกรานต์เดือนคือวันที่พระอาทิตย์โคจรย้ายจากราศีหนึ่งไปอีกราศีหนึ่งซึ่งมีปกติประมาณ 1 เดือน ส่วนอายันสงกรานต์ก็คือวันเวลาที่พระอาทิตย์โคจรมาถึงจุดเปลี่ยนกึ่งกลางระหว่างขอบฟ้าด้านเหนือหรือด้านใต้ หากโคจรไปกึ่งกลางขอบฟ้าด้านเหนือก็จะเรียกว่าอายันสงกรานต์เหนือ หากโคจรไปกึ่งกลางขอบฟ้าด้านใต้ก็จะเรียกว่าอายันสงกรานต์ใต้ คือเป็นจุดเปลี่ยนระหว่างกลางเหนือกับกลางใต้นั่นเอง
สำหรับวันมหาสงกรานต์นั้นก็คือสงกรานต์ปี คือวันเวลาที่พระอาทิตย์โคจรย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ แต่วันเวลาตามปฏิทินที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นแตกต่างกัน สำนักหนึ่งอาจารย์หนึ่งก็คำนวณไปอย่างหนึ่ง จึงทำให้วันเวลาสงกรานต์แตกต่างกันไป แต่ในที่นี้จะถือเอาการคำนวณตามปฏิทินของนายทองเจือ อ่างแก้ว เพราะเป็นการคำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตรที่กรมโหรหลวงใช้เป็นหลักในการคำนวณมาแต่อดีต
จึงถึงเวลาแล้วที่ผู้รับผิดชอบเกี่ยวข้องจะได้ชำระสะสางการจัดทำปฏิทินให้เป็นมาตรฐานอย่างเดียวกันทั่วประเทศ เพราะมิฉะนั้นแล้วก็ต้องมีผู้รับผิดชอบในการที่ทำให้พระสงฆ์ต้องอาบัติทั่วประเทศ เพราะเมื่อการคำนวณวันเวลาออกพรรษาต่างกัน แล้วมีการถือปฏิบัติที่ต่างกันก็มีทั้งถูกและผิด ส่วนที่ผิดก็จะทำให้พระสงฆ์ที่ออกพรรษาตามที่คำนวณไว้ผิดในปฏิทินนั้นต้องออกพรรษาผิดวันเวลาตามพระวินัยและต้องอาบัติไปด้วย การทำให้พระสงฆ์ต้องอาบัติแบบนี้จะเป็นบาปเป็นกรรม ดังนั้นจึงควรที่จะได้ชำระสะสางกันเสียทีหนึ่ง
ตั้งแต่กล่าวเรื่องนี้มาก็หลายปีเต็มทีแล้ว แต่หามีใครได้ยินหรือนำไปปฏิบัติเพื่อความถูกต้องแต่ประการใดไม่
เมื่อถึงวันมหาสงกรานต์คราวหนึ่ง นางสงกรานต์ก็เปลี่ยนเวรคราวหนึ่ง และนางสงกรานต์ที่เข้าเวรในแต่ละปีก็คือบุตรีของท้าวกบิลพรหม ซึ่งจะทำหน้าที่เชิญเศียรท้าวกบิลพรหมออกจากถ้ำคันธธุลี แห่ขบวนเวียนรอบเขาพระสุเมรุ โดยมีเทพธิดาขี่สัตว์ประจำปีนักษัตร เชิญธงประจำปีนักษัตรนำขบวน
บุตรีท้าวกบิลพรหมมีทั้งหมด 7 องค์ คือพระนางทุงษะเทวี พระนางโคราคเทวี พระนางรากษสเทวี พระนางมณฑาเทวี พระนางกาลกิณีเทวี พระนางกิมิทาเทวี และพระนางมโหทรเทวี
แต่ละองค์มีเครื่องประดับ ดอกไม้ อาวุธ และการเสวยอาหาร รวมทั้งทรงพาหนะที่แตกต่างกัน และเสด็จมาในแต่ละปีในอิริยาบถที่แตกต่างกัน คือในอิริยาบถ ยืน นั่ง นอนลืมตา และนอนหลับตา
ในปี 2547 พระนางรากษสเทวีซึ่งชื่อก็บอกอยู่ว่าเป็นยักษ์เป็นนางสงกรานต์เวร นางสงกรานต์พระองค์นี้เสวยโลหิตคือเลือดเป็นภักษาหาร นาน ๆ ทีจะเข้าเวรปีครั้งหนึ่ง แต่เมื่อเข้าเวรครั้งใดความบรรลัยวายวอดกับชีวิตคนและสัตว์จะเกิดขึ้น เภทภัยพิบัติมักเกิดขึ้น
ในปี 2547 พระนางรากษสเทวีได้กระทำย่ำยีกับชีวิตทั้งผองจนหนำใจ ชีวิตมนุษย์นับแสน ๆ ชีวิตสัตว์นับล้าน ๆ พืชพรรณธัญญาหารทั่วสากลโลกถูกทำลายเสียหายย่อยยับ ความโศกาอาดูร ความทุกข์ ความพลัดพราก ความสูญเสีย ความเสียหายเกิดขึ้นทั่วสากลโลก นับเป็นปีหายนะของมวลมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่พระนางว่างเว้นจากการเข้าเวรมาหลายปี รายละเอียดคำบอกกล่าวสงกรานต์ปี 2547 หากท่านผู้ใดสนใจก็ค้นคว้าได้จากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันพุธที่ 7 เมษายน 2547
พระนางรากษสเทวีออกเวรเสียได้ก็ดี มหันตภัยจะได้ห่างไกลมนุษย์โลกเสียคราวหนึ่ง และควรที่คนทั้งปวงจะพึงยินดีที่พระนางรากษสเทวีถึงกาลออกเวรแล้ว
นางสงกรานต์เวรปีที่จะเข้าเวรประจำปี 2548 สืบต่อจากพระนางรากษสเทวีคือพระนางมณฑาเทวี ซึ่งเป็นบุตรีองค์ที่ 4 ของท้าวกบิลพรหม
อาจจะสงสัยว่าท้าวกบิลพรหมเป็นใคร ก็ต้องขอบอกกล่าวว่าเป็นเทพองค์หนึ่งที่บำเพ็ญเพียรจนบรรลุธรรมขั้นสูงถึงชั้นพรหม เช่นเดียวกับพระพรหมองค์ที่เป็นญาติกับท้าวลัสเตียนซึ่งเป็นพ่อของทศกัณฐ์ในรามเกียรติ์ แต่เป็นคนละองค์กับท้าวมหาพรหมที่ประทับนั่งอยู่หน้าโรงแรมเอราวัณ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 มหาเทพ หรือหนึ่งในตรีมูรติ มีศักดิ์ฐานะลำดับเดียวกันกับพระศิวะหรือพระนารายณ์ตามคติของฮินดู
พระนางมณฑาเทวีเสด็จมาเข้าเวรในปีนี้ด้วยการทรงพาหุรัด ทัดดอกจำปา ทรงอาภรณ์แก้วไพฑูรย์ เสวยภักษาหารนม เนย พระหัตถ์ขวาทรงเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จไสยาสน์หลับเนตรมาบนหลังลา
ดังนั้นนางสงกรานต์ประจำปี 2548 คือพระนางมณฑาเทวีจึงจัดเป็นนางสงกรานต์ต่างด้าวเพราะทรงนิยมเสวยภักษาหารเป็นนมและเนย แต่ไม่ถึงกับเป็นยักษ์มารเหมือนกับพระนางรากษสเทวี
พระนางมณฑาเทวีเข้าเวรครั้งล่าสุดเมื่อปี 2542 และถัดขึ้นไปคือปี 2536 เหตุการณ์บ้านเมืองเป็นประการใดก็คงจำกันได้อยู่
ดังนั้นเมื่อนางสงกรานต์ปี 2548 เป็นนางสงกรานต์ต่างด้าว เท้าต่างแดน ฝรั่งตะวันตกจะมากระทำย่ำยีต่อประเทศไทยและคนไทย จะเข้ามาปล้นสดมภ์สิ่งสินและเอารัดเอาเปรียบคนไทยและประเทศไทยอย่างขนานใหญ่อีกครั้งหนึ่ง คำพยากรณ์หลักสำหรับการเข้าเวรของพระนางมณฑาเทวีคือ
“พวกฝรั่งตาน้ำข้าวจะจ้องเข้ายึดครองเศรษฐกิจของประเทศอย่างทั่วด้าน ความรุนแรงภายในประเทศจะเกิดขึ้นถึงขนาดมิคสัญญี จนทำให้ประเทศต้องชำรุดทรุดโทรม ไม่อาจดำรงอยู่ได้โดยลำพัง จำต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุด ทั้งด้านรัฐบาล ระบบราชการ วิถีธุรกิจและการดำรงชีวิตของประชาชน”
คนไทยจะถูกเบียดเบียนจากฝรั่งต่างชาติหนักหนาสาหัสปานไหน ก็ให้ดูเอาจากการที่ฝรั่งมาสมคบกับคนไทยซื้อทรัพย์สินใน ปรส. และเกิดเหตุการณ์ที่คนไทยต้องสูญเสียกิจการ ต้องปิดกิจการ ถูกกดขี่ข่มเหง ถูกรีดนาทาเร้น ในปี 2542 นั้นเถิด
ดังนั้นในปี 2548 นี้ทั้งรัฐบาลและคนไทยจึงพึงต้องระมัดระวังฝรั่งตะวันตกให้มาก การกระทำย่ำยีทางเศรษฐกิจและทางความมั่นคงตลอดจนทางสังคมจะปรากฏให้เห็นเด่นชัด
ใครมีกิจการขนาดใหญ่หรือขนาดกลางที่มีอนาคตหรือที่เรียกว่าธุรกิจแห่งรุ่งอรุณ จึงพึงต้องระมัดระวังและหมายความรวมไปถึงกระทั่งธุรกิจการเงิน ธนาคาร การลงทุน และการพลังงานด้วย ใครระมัดระวังไม่ดีก็จะถูกยึดถูกรวบไปโดยไม่รู้ตัว
การค้าและการส่งออกอัญมณีจะดีขึ้น นักท่องเที่ยวจะเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น แต่ส่วนหนึ่งก็เข้ามาเพื่อการเบียดเบียนและเอาเปรียบคนไทยอยู่นั่นเอง ธุรกิจท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งอาจจะถูกยึดครองหรือตกไปอยู่ในมือของชาวต่างชาติ
การบ่อนทำลาย ทำลายล้างกันเอง รวมทั้งสงครามกลางเมืองในประเทศจะแผ่ วงกว้างออกไป ปัญหาความมั่นคงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และปัญหาเศรษฐกิจรวมทั้งรายได้แผ่นดินจะเป็นปัญหาใหญ่ที่เผชิญหน้าประเทศไทยในปีนี้
อาการใช้เหล็กแหลมเป็นอาวุธและการถือไม้เท้าของนางสงกรานต์นั่นแหละคือลักษณาการอันเป็นภาพรวมที่จะปรากฏในปี 2548 นี้
อิริยาบถของพระนางมณฑาเทวีในครั้งนี้ทรงเสด็จไสยาสน์หลับเนตรมาบนหลังลา พยากรณ์ว่าการดำเนินงานของส่วนราชการในหลายเรื่องจะไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ชนิดที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นได้ ในขณะเดียวกันจะเกิดการพลั้งเผลอหรือความประมาทในหลายสถานการณ์ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้
ก็ได้แต่หวังว่ารัฐบาลจะตระหนักถึงคติโบราณที่จะต้องระมัดระวังตัวและซ่องเสพเสวนาบัณฑิตให้มากขึ้น วางตัวห่างและไม่ให้คนพาลเข้าใกล้ตัวมากขึ้น มีสติในทุกการ ไม่ตั้งอยู่ในความประมาท ตามคำสอนของพระบรมศาสดา
ผลิตผลทางการเกษตรจะตกต่ำ ภัยธรรมชาติและแมลงจะเบียดเบียนภาคการเกษตรอย่างรุนแรง ดินฟ้าอากาศจะเปลี่ยนแปลงมากขึ้น แต่ละวันจะเป็นสามฤดู ราวกับว่าเป็นอาเพศชนิดหนึ่งที่เรียกว่าอุบาทว์พระอินทร์
แม้วันที่ 14 เมษายน 2548 เวลา 0 นาฬิกา 18 นาที 0 วินาที จะเป็นวันพฤหัสบดี แต่ในทางพยากรณ์นั้นวันพฤหัสบดีจะเริ่มต้นตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกา หรือเวลาที่พระอาทิตย์อุทัย ดังนั้นวันมหาสงกรานต์จึงยังคงเป็นวันพุธ มีคำพยากรณ์ว่า “ท้าวพระยาจะได้บรรณาการจากต่างเมือง แต่จะแพ้ลูกอ่อนนัก”
หมายความว่าในวงการราชสำนักจะได้รับความยอมรับนับถือและได้รับบรรณาการทั้งที่เป็นอามิสและไม่เป็นอามิส มีพระเกียรติยศ พระเกียรติคุณ ปรากฏเลื่องลือไกลไปในสากลโลกสถานหนึ่ง และสิ่งที่หาได้ยาก 1 ใน 5 อย่าง จะอุบัติขึ้นในวงการราชสำนักอีกสถานหนึ่ง
ในหนังสือเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ที่มีการจัดพิมพ์เนื่องในมหามงคลสมัยคล้ายวันพระราชสมภพครบ 3 รอบเมื่อปี พ.ศ. 2531 ได้อ้างคติโบราณเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “สิ่งที่หาได้ยากในโลก 5 อย่างคือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมเด็จพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นมหาราช สมเด็จเจ้าฟ้าชาย เพชรสีม่วง และช้างเผือก”
พิเคราะห์การในภาคภูมิดลแล้ว คำพยากรณ์บทนี้เห็นทีว่าในปีนี้ผู้มีบุญญาธิการมากจะมาอุบัติขึ้นในราชสำนัก ในระดับที่เป็นอภิชาตบุตรที่เรืองกฤษดานุภาพและปัญญานุภาพยิ่งนัก ทั้งจะเป็นที่รักห่วงหวงแหนเป็นที่สุด จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นบุตรที่พ่อแม่ลุ่มหลง คือแพ้ลูกอ่อนนักนั่นเอง
วันเถลิงศกปีนี้ตรงกับวันที่ 16 เมษายน 2548 เวลา 4 นาฬิกา 15 นาที 36 วินาที จึงตกวันศุกร์ มีคำพยากรณ์ว่า “พ่อค้าวานิชทั้งหลายไปค้าขายในประเทศต่าง ๆ จะประกอบไปด้วยพัสดุเงินทองและความสุขเป็นอันมาก” ดังนั้นภาคส่งออกจึงจัดว่าเป็นภาคที่จะได้รับผลดีที่สุดในปีนี้
ส่วนวันเนาซึ่งก็คือวันก่อนวันเถลิงศก ในปีนี้จึงตกวันที่ 15 เมษายน 2548 และตกวันศุกร์เช่นเดียวกัน มีคำพยากรณ์ว่า “พริกจะแพง จะเกิดเพลิงกลางเมือง ขุนนางจะต้องโทษ ข้าวจะตายฝอย น้ำจะน้อยกว่าทุกปี ชีพราหมณ์จะร้อนใจ พืชผลมักจะแพงแล”
ดังนั้นพืชผลทางการเกษตรแทบทุกชนิดจะมีราคาสูงขึ้น และได้รับผลผลิตน้อยลง จะเกิดเพลิงหรือระเบิดในเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ รัฐมนตรีขี้ฉ้อหรือข้าราชการที่ขี้ฉ้อจะถูกดำเนินคดีให้เป็นที่ประจักษ์มากขึ้น ข้าวและพืชไร่จะเสียหายตายและตายพรายเพราะขาดน้ำ การละเมิดพระธรรมวินัยและปัญหาในคณะสงฆ์จะสร้างความสังเวชใจและความทุกข์โทมนัสแก่ศาสนิกชนเป็นอันมาก
สำหรับเกณฑ์พิรุณศาสตร์ปรากฏว่าในปีนี้วันอาทิตย์เป็นอธิบดีฝน จะมีฝนตก 400 ห่า มากกว่าปีที่แล้ว 100 ห่า โดยจะตกในเขาจักรวาล 160 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 120 ห่า ตกในมหาสมุทร 80 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 40 ห่า มากกว่าปีที่แล้ว 10 ห่า
แม้ว่าปริมาณฝนจะมีมากกว่าปี 2547 เล็กน้อย แต่ทว่าปริมาณโดยรวมก็ยังน้อยนัก ดังนั้นภัยแล้งในปีนี้คือนับแต่วันมหาสงกรานต์ปีนี้ไปจนถึงวันมหาสงกรานต์ปีหน้าจึงหาได้บรรเทาเบาบางลงแต่ประการใดไม่
ปีนี้นาคให้น้ำ3 ตัว น้อยกว่าปีที่แล้ว 4 ตัว ต้นฤดูฝนจะมีฝนน้อยกว่าปกติ กลางฤดูฝนจะมีฝนพอประมาณ แต่ปลายฝนช่วงใกล้พรรษาน้ำจะไหลหลากบ่าท่วม
เกณฑ์ธัญญาหารปีนี้ได้เศษ 2 มีชื่อว่าวิบัติ มีคำพยากรณ์ว่า “ข้าวกล้าในภูมินาจะเกิดกมิชาติ หรือด้วงและแมลง จะได้ผลครึ่งหนึ่ง เสียครึ่งหนึ่ง”
เกณฑ์ธาราธิคุณตกราศีธาตุน้ำ แม้ว่าน้ำจะน้อยแต่ปริมาณฝนจะไหลหลั่งมาในครั้งคราวเดียวมาก ดังนั้นจึงเกิดอุทกภัยขึ้น และเกิดความเสียหายแก่ท้องที่ที่อยู่ในที่ราบลุ่ม
เมื่อวันเถลิงศกเป็นวันที่ 16 เมษายน 2548 เป็นจุลศักราช 1367 ดังนั้นกาลโยคประจำปีก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปนับแต่วันดังกล่าว ทำให้คุณสมบัติของวันยามราศีดิถีและฤกษ์เคลื่อนย้ายตามไปด้วย
คือวันจันทร์ ยามอาทิตย์ ราศีกันย์ ดิถีที่ 23 ฤกษ์ 11 เป็นธงชัย
วันเสาร์ ยามอังคาร ราศีมีน ดิถี 11 ฤกษ์ 20 เป็นอธิบดี
วันอาทิตย์ ยามราหู ราศีสิงห์ ดิถี 22 ฤกษ์ 10 เป็นอุบาทว์
วันจันทร์ ยามเสาร์ ราศีกรกฎ ดิถี 27 ฤกษ์ 3 เป็นโลกาวินาศ
ดังนั้นบรรดาผู้เชื่อถือในฤกษ์ผานาทีจึงต้องถือเอาวันยามราศีดิถีและฤกษ์ดังกล่าวเป็นหลักในการพิจารณาคำนวณหรือให้ฤกษ์นับแต่วันที่ 16 เมษายน 2548 เป็นต้นไป
ดูการเข้าเวรของนางสงกรานต์ปีนี้และเกณฑ์ต่างๆ แล้ว ถึงจะหนักหนาสาหัสประการใดก็ยังไม่ถึงกับตายเป็นเบือเหมือนกับเมื่อครั้งพระนางรากษสเทวีเข้าเวรในปีที่ผ่านมา
พูดง่าย ๆ ก็คือแม้จะมีเหตุเภทภัยประการใด ก็เป็นภัยเกี่ยวกับอำนาจทรัพย์สิน ชื่อเสียงเกียรติคุณและเสรีภาพของบุคคล โดยหนักไปทางด้านเศรษฐกิจ การเงิน และการเกษตร แต่ก็ไม่ถึงกับชีวิตมนุษย์สัตว์ต้องล้มหายตายสูญสุดคณานับเหมือนกับเมื่อครั้งพระนางรากษสเทวีเข้าเวร
ดังนั้นในวาระที่เทศกาลสงกรานต์จะมาถึง จึงควรที่จะได้ทำใจโบกมืออำลาและเลี้ยงส่งให้กับพระนางรากษสเทวี ขอพระนางอย่าได้มาเข้าเวรบ่อยนักเลย
และในวาระเดียวกันนี้ก็ควรจะได้ทำใจยินดีต้อนรับพระนางมณฑาเทวีที่จะเข้าเวรนางสงกรานต์ใหม่ในปี 2548
เพื่อความผาสุก เพื่อความมงคล เพื่อความปราศจากทุกข์โศกโรคภัย เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ของชนเผ่าไทย จึงขอประกาศสัตยาธิษฐานว่า
“นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง
ข้าพเจ้าไม่ยึดถือสิ่งอื่นใดเป็นสรณะ พระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ คือสรณะอันเกษมของข้าพเจ้า ด้วยการกล่าวความสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน ความสวัสดีทั้งหลายจงมีแก่ท่าน
เพราะกระทำความเคารพนอบน้อมต่อพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ อันเป็นดังโอสถอันอุดมประเสริฐ เป็นประโยชน์แก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลาย ความจัญไรทั้งหลาย โรคทั้งปวง อันตรายทั้งปวง จงฉิบหายไป ขอทุกข์ทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยสวัสดี ขอท่านจงเป็นผู้มีสุข มีอายุยืน จตุตถธรรมคืออายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญและบังเกิดมีแก่ผู้ที่มีความไหว้ต่อบุคคลผู้ควรไหว้เป็นปกติ แก่ผู้อ่อนน้อมต่อบุคคลผู้อาวุโสเป็นนิตย์”
******
อ่านเรื่องนางสงกรานต์ปี 2547 พระนางรากษสเทวีมาแล้ว!
ว่าไปแล้วก็ออกจะหาญกล้าท้าทายสักหน่อยหนึ่งเพราะแต่โบราณกาลมานั้นการทำหน้าที่บอกกล่าวสงกรานต์ไม่ใช่เรื่องที่ชาวบ้านจะกระทำได้เพราะเป็นหน้าที่ของกรมโหรหลวงที่ต้องทำหน้าที่คำนวณการต่าง ๆ แล้วทำเรื่องกราบบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดิน เพื่อทรงทราบล่วงหน้าถึงความที่จะเป็นไป โดยเฉพาะในเรื่องฤดูกาลฝนฟ้าอากาศ และสุขทุกข์ของอาณาราษฎรตลอดจนราชสำนัก
ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งถือกันว่าทรงเป็นบิดาทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย พระองค์ก็ไม่ได้รังเกียจว่าการบอกกล่าวสงกรานต์เป็นเรื่องงมงายไร้สาระ ทรงถือว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติอย่างหนึ่งที่มีมาสำหรับแผ่นดิน ทั้งยังทรงส่งเสริมให้มีการบอกกล่าวสงกรานต์ ถึงกับทรงรับสั่งให้นำคำบอกกล่าวสงกรานต์ลงตีพิมพ์ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาด้วยซ้ำไป
วันสงกรานต์ปี 2548 นี้ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน 2548 เวลา 0 นาฬิกา 18 นาที 0 วินาที เพราะในปีนี้พระอาทิตย์โคจรย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ตรงกับวันเวลาดังกล่าว จึงต้องถือว่าวันเวลานี้คือวันมหาสงกรานต์ และเป็นการเริ่มต้นปีนักษัตรใหม่เป็นปีระกานับแต่วันเวลาดังกล่าว
สงกรานต์แปลว่าย้ายหรือเปลี่ยน โดยถือเอาการย้ายหรือเปลี่ยนราศีของพระอาทิตย์เป็นเกณฑ์ มีอยู่สามลักษณะคือสงกรานต์เดือนอย่างหนึ่ง อายันสงกรานต์อย่างหนึ่ง และมหาสงกรานต์อีกอย่างหนึ่ง
จักรวาลอันเป็นวงกลมที่กว้างเวิ้งว้างว่างไกลนั้น เมื่อนับรวมองศาเข้าด้วยกันก็จะมีจำนวน 360 องศา แบ่งออกเป็น 12 ราศี ตามกลุ่มดาวที่ประจำอยู่ ดังนั้นในแต่ละราศีจึงมี 30 องศา หากจะแบ่งย่อยลงไปก็จะเป็นลิปดา ฟิลิปดา และตรียางค์ นวางค์
ความจริงนั้นโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่โดยทางกายภาพที่มองเห็นได้ด้วยตา กรณีกลายเป็นว่าดวงอาทิตย์โคจรรอบโลก ผลจากการคำนวณปรากฏว่าดวงอาทิตย์โคจรวันละประมาณ 1 องศา ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือนจึงจะโคจรข้ามราศีหนึ่งไปอีกราศีหนึ่ง
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ทรงรจนาวิถีโคจรของดวงอาทิตย์ไว้ในคัมภีร์จักรทีปนีจรว่า
“ปางองค์อาทิตย์เทพ สถิตที่สถานใด
ราศีละเดือนไถง ก็ละล่าราศีจร”
สงกรานต์เดือนคือวันที่พระอาทิตย์โคจรย้ายจากราศีหนึ่งไปอีกราศีหนึ่งซึ่งมีปกติประมาณ 1 เดือน ส่วนอายันสงกรานต์ก็คือวันเวลาที่พระอาทิตย์โคจรมาถึงจุดเปลี่ยนกึ่งกลางระหว่างขอบฟ้าด้านเหนือหรือด้านใต้ หากโคจรไปกึ่งกลางขอบฟ้าด้านเหนือก็จะเรียกว่าอายันสงกรานต์เหนือ หากโคจรไปกึ่งกลางขอบฟ้าด้านใต้ก็จะเรียกว่าอายันสงกรานต์ใต้ คือเป็นจุดเปลี่ยนระหว่างกลางเหนือกับกลางใต้นั่นเอง
สำหรับวันมหาสงกรานต์นั้นก็คือสงกรานต์ปี คือวันเวลาที่พระอาทิตย์โคจรย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ แต่วันเวลาตามปฏิทินที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นแตกต่างกัน สำนักหนึ่งอาจารย์หนึ่งก็คำนวณไปอย่างหนึ่ง จึงทำให้วันเวลาสงกรานต์แตกต่างกันไป แต่ในที่นี้จะถือเอาการคำนวณตามปฏิทินของนายทองเจือ อ่างแก้ว เพราะเป็นการคำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตรที่กรมโหรหลวงใช้เป็นหลักในการคำนวณมาแต่อดีต
จึงถึงเวลาแล้วที่ผู้รับผิดชอบเกี่ยวข้องจะได้ชำระสะสางการจัดทำปฏิทินให้เป็นมาตรฐานอย่างเดียวกันทั่วประเทศ เพราะมิฉะนั้นแล้วก็ต้องมีผู้รับผิดชอบในการที่ทำให้พระสงฆ์ต้องอาบัติทั่วประเทศ เพราะเมื่อการคำนวณวันเวลาออกพรรษาต่างกัน แล้วมีการถือปฏิบัติที่ต่างกันก็มีทั้งถูกและผิด ส่วนที่ผิดก็จะทำให้พระสงฆ์ที่ออกพรรษาตามที่คำนวณไว้ผิดในปฏิทินนั้นต้องออกพรรษาผิดวันเวลาตามพระวินัยและต้องอาบัติไปด้วย การทำให้พระสงฆ์ต้องอาบัติแบบนี้จะเป็นบาปเป็นกรรม ดังนั้นจึงควรที่จะได้ชำระสะสางกันเสียทีหนึ่ง
ตั้งแต่กล่าวเรื่องนี้มาก็หลายปีเต็มทีแล้ว แต่หามีใครได้ยินหรือนำไปปฏิบัติเพื่อความถูกต้องแต่ประการใดไม่
เมื่อถึงวันมหาสงกรานต์คราวหนึ่ง นางสงกรานต์ก็เปลี่ยนเวรคราวหนึ่ง และนางสงกรานต์ที่เข้าเวรในแต่ละปีก็คือบุตรีของท้าวกบิลพรหม ซึ่งจะทำหน้าที่เชิญเศียรท้าวกบิลพรหมออกจากถ้ำคันธธุลี แห่ขบวนเวียนรอบเขาพระสุเมรุ โดยมีเทพธิดาขี่สัตว์ประจำปีนักษัตร เชิญธงประจำปีนักษัตรนำขบวน
บุตรีท้าวกบิลพรหมมีทั้งหมด 7 องค์ คือพระนางทุงษะเทวี พระนางโคราคเทวี พระนางรากษสเทวี พระนางมณฑาเทวี พระนางกาลกิณีเทวี พระนางกิมิทาเทวี และพระนางมโหทรเทวี
แต่ละองค์มีเครื่องประดับ ดอกไม้ อาวุธ และการเสวยอาหาร รวมทั้งทรงพาหนะที่แตกต่างกัน และเสด็จมาในแต่ละปีในอิริยาบถที่แตกต่างกัน คือในอิริยาบถ ยืน นั่ง นอนลืมตา และนอนหลับตา
ในปี 2547 พระนางรากษสเทวีซึ่งชื่อก็บอกอยู่ว่าเป็นยักษ์เป็นนางสงกรานต์เวร นางสงกรานต์พระองค์นี้เสวยโลหิตคือเลือดเป็นภักษาหาร นาน ๆ ทีจะเข้าเวรปีครั้งหนึ่ง แต่เมื่อเข้าเวรครั้งใดความบรรลัยวายวอดกับชีวิตคนและสัตว์จะเกิดขึ้น เภทภัยพิบัติมักเกิดขึ้น
ในปี 2547 พระนางรากษสเทวีได้กระทำย่ำยีกับชีวิตทั้งผองจนหนำใจ ชีวิตมนุษย์นับแสน ๆ ชีวิตสัตว์นับล้าน ๆ พืชพรรณธัญญาหารทั่วสากลโลกถูกทำลายเสียหายย่อยยับ ความโศกาอาดูร ความทุกข์ ความพลัดพราก ความสูญเสีย ความเสียหายเกิดขึ้นทั่วสากลโลก นับเป็นปีหายนะของมวลมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่พระนางว่างเว้นจากการเข้าเวรมาหลายปี รายละเอียดคำบอกกล่าวสงกรานต์ปี 2547 หากท่านผู้ใดสนใจก็ค้นคว้าได้จากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันพุธที่ 7 เมษายน 2547
พระนางรากษสเทวีออกเวรเสียได้ก็ดี มหันตภัยจะได้ห่างไกลมนุษย์โลกเสียคราวหนึ่ง และควรที่คนทั้งปวงจะพึงยินดีที่พระนางรากษสเทวีถึงกาลออกเวรแล้ว
นางสงกรานต์เวรปีที่จะเข้าเวรประจำปี 2548 สืบต่อจากพระนางรากษสเทวีคือพระนางมณฑาเทวี ซึ่งเป็นบุตรีองค์ที่ 4 ของท้าวกบิลพรหม
อาจจะสงสัยว่าท้าวกบิลพรหมเป็นใคร ก็ต้องขอบอกกล่าวว่าเป็นเทพองค์หนึ่งที่บำเพ็ญเพียรจนบรรลุธรรมขั้นสูงถึงชั้นพรหม เช่นเดียวกับพระพรหมองค์ที่เป็นญาติกับท้าวลัสเตียนซึ่งเป็นพ่อของทศกัณฐ์ในรามเกียรติ์ แต่เป็นคนละองค์กับท้าวมหาพรหมที่ประทับนั่งอยู่หน้าโรงแรมเอราวัณ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 มหาเทพ หรือหนึ่งในตรีมูรติ มีศักดิ์ฐานะลำดับเดียวกันกับพระศิวะหรือพระนารายณ์ตามคติของฮินดู
พระนางมณฑาเทวีเสด็จมาเข้าเวรในปีนี้ด้วยการทรงพาหุรัด ทัดดอกจำปา ทรงอาภรณ์แก้วไพฑูรย์ เสวยภักษาหารนม เนย พระหัตถ์ขวาทรงเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จไสยาสน์หลับเนตรมาบนหลังลา
ดังนั้นนางสงกรานต์ประจำปี 2548 คือพระนางมณฑาเทวีจึงจัดเป็นนางสงกรานต์ต่างด้าวเพราะทรงนิยมเสวยภักษาหารเป็นนมและเนย แต่ไม่ถึงกับเป็นยักษ์มารเหมือนกับพระนางรากษสเทวี
พระนางมณฑาเทวีเข้าเวรครั้งล่าสุดเมื่อปี 2542 และถัดขึ้นไปคือปี 2536 เหตุการณ์บ้านเมืองเป็นประการใดก็คงจำกันได้อยู่
ดังนั้นเมื่อนางสงกรานต์ปี 2548 เป็นนางสงกรานต์ต่างด้าว เท้าต่างแดน ฝรั่งตะวันตกจะมากระทำย่ำยีต่อประเทศไทยและคนไทย จะเข้ามาปล้นสดมภ์สิ่งสินและเอารัดเอาเปรียบคนไทยและประเทศไทยอย่างขนานใหญ่อีกครั้งหนึ่ง คำพยากรณ์หลักสำหรับการเข้าเวรของพระนางมณฑาเทวีคือ
“พวกฝรั่งตาน้ำข้าวจะจ้องเข้ายึดครองเศรษฐกิจของประเทศอย่างทั่วด้าน ความรุนแรงภายในประเทศจะเกิดขึ้นถึงขนาดมิคสัญญี จนทำให้ประเทศต้องชำรุดทรุดโทรม ไม่อาจดำรงอยู่ได้โดยลำพัง จำต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุด ทั้งด้านรัฐบาล ระบบราชการ วิถีธุรกิจและการดำรงชีวิตของประชาชน”
คนไทยจะถูกเบียดเบียนจากฝรั่งต่างชาติหนักหนาสาหัสปานไหน ก็ให้ดูเอาจากการที่ฝรั่งมาสมคบกับคนไทยซื้อทรัพย์สินใน ปรส. และเกิดเหตุการณ์ที่คนไทยต้องสูญเสียกิจการ ต้องปิดกิจการ ถูกกดขี่ข่มเหง ถูกรีดนาทาเร้น ในปี 2542 นั้นเถิด
ดังนั้นในปี 2548 นี้ทั้งรัฐบาลและคนไทยจึงพึงต้องระมัดระวังฝรั่งตะวันตกให้มาก การกระทำย่ำยีทางเศรษฐกิจและทางความมั่นคงตลอดจนทางสังคมจะปรากฏให้เห็นเด่นชัด
ใครมีกิจการขนาดใหญ่หรือขนาดกลางที่มีอนาคตหรือที่เรียกว่าธุรกิจแห่งรุ่งอรุณ จึงพึงต้องระมัดระวังและหมายความรวมไปถึงกระทั่งธุรกิจการเงิน ธนาคาร การลงทุน และการพลังงานด้วย ใครระมัดระวังไม่ดีก็จะถูกยึดถูกรวบไปโดยไม่รู้ตัว
การค้าและการส่งออกอัญมณีจะดีขึ้น นักท่องเที่ยวจะเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น แต่ส่วนหนึ่งก็เข้ามาเพื่อการเบียดเบียนและเอาเปรียบคนไทยอยู่นั่นเอง ธุรกิจท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งอาจจะถูกยึดครองหรือตกไปอยู่ในมือของชาวต่างชาติ
การบ่อนทำลาย ทำลายล้างกันเอง รวมทั้งสงครามกลางเมืองในประเทศจะแผ่ วงกว้างออกไป ปัญหาความมั่นคงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และปัญหาเศรษฐกิจรวมทั้งรายได้แผ่นดินจะเป็นปัญหาใหญ่ที่เผชิญหน้าประเทศไทยในปีนี้
อาการใช้เหล็กแหลมเป็นอาวุธและการถือไม้เท้าของนางสงกรานต์นั่นแหละคือลักษณาการอันเป็นภาพรวมที่จะปรากฏในปี 2548 นี้
อิริยาบถของพระนางมณฑาเทวีในครั้งนี้ทรงเสด็จไสยาสน์หลับเนตรมาบนหลังลา พยากรณ์ว่าการดำเนินงานของส่วนราชการในหลายเรื่องจะไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ชนิดที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นได้ ในขณะเดียวกันจะเกิดการพลั้งเผลอหรือความประมาทในหลายสถานการณ์ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้
ก็ได้แต่หวังว่ารัฐบาลจะตระหนักถึงคติโบราณที่จะต้องระมัดระวังตัวและซ่องเสพเสวนาบัณฑิตให้มากขึ้น วางตัวห่างและไม่ให้คนพาลเข้าใกล้ตัวมากขึ้น มีสติในทุกการ ไม่ตั้งอยู่ในความประมาท ตามคำสอนของพระบรมศาสดา
ผลิตผลทางการเกษตรจะตกต่ำ ภัยธรรมชาติและแมลงจะเบียดเบียนภาคการเกษตรอย่างรุนแรง ดินฟ้าอากาศจะเปลี่ยนแปลงมากขึ้น แต่ละวันจะเป็นสามฤดู ราวกับว่าเป็นอาเพศชนิดหนึ่งที่เรียกว่าอุบาทว์พระอินทร์
แม้วันที่ 14 เมษายน 2548 เวลา 0 นาฬิกา 18 นาที 0 วินาที จะเป็นวันพฤหัสบดี แต่ในทางพยากรณ์นั้นวันพฤหัสบดีจะเริ่มต้นตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกา หรือเวลาที่พระอาทิตย์อุทัย ดังนั้นวันมหาสงกรานต์จึงยังคงเป็นวันพุธ มีคำพยากรณ์ว่า “ท้าวพระยาจะได้บรรณาการจากต่างเมือง แต่จะแพ้ลูกอ่อนนัก”
หมายความว่าในวงการราชสำนักจะได้รับความยอมรับนับถือและได้รับบรรณาการทั้งที่เป็นอามิสและไม่เป็นอามิส มีพระเกียรติยศ พระเกียรติคุณ ปรากฏเลื่องลือไกลไปในสากลโลกสถานหนึ่ง และสิ่งที่หาได้ยาก 1 ใน 5 อย่าง จะอุบัติขึ้นในวงการราชสำนักอีกสถานหนึ่ง
ในหนังสือเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ที่มีการจัดพิมพ์เนื่องในมหามงคลสมัยคล้ายวันพระราชสมภพครบ 3 รอบเมื่อปี พ.ศ. 2531 ได้อ้างคติโบราณเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “สิ่งที่หาได้ยากในโลก 5 อย่างคือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมเด็จพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นมหาราช สมเด็จเจ้าฟ้าชาย เพชรสีม่วง และช้างเผือก”
พิเคราะห์การในภาคภูมิดลแล้ว คำพยากรณ์บทนี้เห็นทีว่าในปีนี้ผู้มีบุญญาธิการมากจะมาอุบัติขึ้นในราชสำนัก ในระดับที่เป็นอภิชาตบุตรที่เรืองกฤษดานุภาพและปัญญานุภาพยิ่งนัก ทั้งจะเป็นที่รักห่วงหวงแหนเป็นที่สุด จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นบุตรที่พ่อแม่ลุ่มหลง คือแพ้ลูกอ่อนนักนั่นเอง
วันเถลิงศกปีนี้ตรงกับวันที่ 16 เมษายน 2548 เวลา 4 นาฬิกา 15 นาที 36 วินาที จึงตกวันศุกร์ มีคำพยากรณ์ว่า “พ่อค้าวานิชทั้งหลายไปค้าขายในประเทศต่าง ๆ จะประกอบไปด้วยพัสดุเงินทองและความสุขเป็นอันมาก” ดังนั้นภาคส่งออกจึงจัดว่าเป็นภาคที่จะได้รับผลดีที่สุดในปีนี้
ส่วนวันเนาซึ่งก็คือวันก่อนวันเถลิงศก ในปีนี้จึงตกวันที่ 15 เมษายน 2548 และตกวันศุกร์เช่นเดียวกัน มีคำพยากรณ์ว่า “พริกจะแพง จะเกิดเพลิงกลางเมือง ขุนนางจะต้องโทษ ข้าวจะตายฝอย น้ำจะน้อยกว่าทุกปี ชีพราหมณ์จะร้อนใจ พืชผลมักจะแพงแล”
ดังนั้นพืชผลทางการเกษตรแทบทุกชนิดจะมีราคาสูงขึ้น และได้รับผลผลิตน้อยลง จะเกิดเพลิงหรือระเบิดในเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ รัฐมนตรีขี้ฉ้อหรือข้าราชการที่ขี้ฉ้อจะถูกดำเนินคดีให้เป็นที่ประจักษ์มากขึ้น ข้าวและพืชไร่จะเสียหายตายและตายพรายเพราะขาดน้ำ การละเมิดพระธรรมวินัยและปัญหาในคณะสงฆ์จะสร้างความสังเวชใจและความทุกข์โทมนัสแก่ศาสนิกชนเป็นอันมาก
สำหรับเกณฑ์พิรุณศาสตร์ปรากฏว่าในปีนี้วันอาทิตย์เป็นอธิบดีฝน จะมีฝนตก 400 ห่า มากกว่าปีที่แล้ว 100 ห่า โดยจะตกในเขาจักรวาล 160 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 120 ห่า ตกในมหาสมุทร 80 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 40 ห่า มากกว่าปีที่แล้ว 10 ห่า
แม้ว่าปริมาณฝนจะมีมากกว่าปี 2547 เล็กน้อย แต่ทว่าปริมาณโดยรวมก็ยังน้อยนัก ดังนั้นภัยแล้งในปีนี้คือนับแต่วันมหาสงกรานต์ปีนี้ไปจนถึงวันมหาสงกรานต์ปีหน้าจึงหาได้บรรเทาเบาบางลงแต่ประการใดไม่
ปีนี้นาคให้น้ำ3 ตัว น้อยกว่าปีที่แล้ว 4 ตัว ต้นฤดูฝนจะมีฝนน้อยกว่าปกติ กลางฤดูฝนจะมีฝนพอประมาณ แต่ปลายฝนช่วงใกล้พรรษาน้ำจะไหลหลากบ่าท่วม
เกณฑ์ธัญญาหารปีนี้ได้เศษ 2 มีชื่อว่าวิบัติ มีคำพยากรณ์ว่า “ข้าวกล้าในภูมินาจะเกิดกมิชาติ หรือด้วงและแมลง จะได้ผลครึ่งหนึ่ง เสียครึ่งหนึ่ง”
เกณฑ์ธาราธิคุณตกราศีธาตุน้ำ แม้ว่าน้ำจะน้อยแต่ปริมาณฝนจะไหลหลั่งมาในครั้งคราวเดียวมาก ดังนั้นจึงเกิดอุทกภัยขึ้น และเกิดความเสียหายแก่ท้องที่ที่อยู่ในที่ราบลุ่ม
เมื่อวันเถลิงศกเป็นวันที่ 16 เมษายน 2548 เป็นจุลศักราช 1367 ดังนั้นกาลโยคประจำปีก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปนับแต่วันดังกล่าว ทำให้คุณสมบัติของวันยามราศีดิถีและฤกษ์เคลื่อนย้ายตามไปด้วย
คือวันจันทร์ ยามอาทิตย์ ราศีกันย์ ดิถีที่ 23 ฤกษ์ 11 เป็นธงชัย
วันเสาร์ ยามอังคาร ราศีมีน ดิถี 11 ฤกษ์ 20 เป็นอธิบดี
วันอาทิตย์ ยามราหู ราศีสิงห์ ดิถี 22 ฤกษ์ 10 เป็นอุบาทว์
วันจันทร์ ยามเสาร์ ราศีกรกฎ ดิถี 27 ฤกษ์ 3 เป็นโลกาวินาศ
ดังนั้นบรรดาผู้เชื่อถือในฤกษ์ผานาทีจึงต้องถือเอาวันยามราศีดิถีและฤกษ์ดังกล่าวเป็นหลักในการพิจารณาคำนวณหรือให้ฤกษ์นับแต่วันที่ 16 เมษายน 2548 เป็นต้นไป
ดูการเข้าเวรของนางสงกรานต์ปีนี้และเกณฑ์ต่างๆ แล้ว ถึงจะหนักหนาสาหัสประการใดก็ยังไม่ถึงกับตายเป็นเบือเหมือนกับเมื่อครั้งพระนางรากษสเทวีเข้าเวรในปีที่ผ่านมา
พูดง่าย ๆ ก็คือแม้จะมีเหตุเภทภัยประการใด ก็เป็นภัยเกี่ยวกับอำนาจทรัพย์สิน ชื่อเสียงเกียรติคุณและเสรีภาพของบุคคล โดยหนักไปทางด้านเศรษฐกิจ การเงิน และการเกษตร แต่ก็ไม่ถึงกับชีวิตมนุษย์สัตว์ต้องล้มหายตายสูญสุดคณานับเหมือนกับเมื่อครั้งพระนางรากษสเทวีเข้าเวร
ดังนั้นในวาระที่เทศกาลสงกรานต์จะมาถึง จึงควรที่จะได้ทำใจโบกมืออำลาและเลี้ยงส่งให้กับพระนางรากษสเทวี ขอพระนางอย่าได้มาเข้าเวรบ่อยนักเลย
และในวาระเดียวกันนี้ก็ควรจะได้ทำใจยินดีต้อนรับพระนางมณฑาเทวีที่จะเข้าเวรนางสงกรานต์ใหม่ในปี 2548
เพื่อความผาสุก เพื่อความมงคล เพื่อความปราศจากทุกข์โศกโรคภัย เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ของชนเผ่าไทย จึงขอประกาศสัตยาธิษฐานว่า
“นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง
ข้าพเจ้าไม่ยึดถือสิ่งอื่นใดเป็นสรณะ พระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ คือสรณะอันเกษมของข้าพเจ้า ด้วยการกล่าวความสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน ความสวัสดีทั้งหลายจงมีแก่ท่าน
เพราะกระทำความเคารพนอบน้อมต่อพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ อันเป็นดังโอสถอันอุดมประเสริฐ เป็นประโยชน์แก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลาย ความจัญไรทั้งหลาย โรคทั้งปวง อันตรายทั้งปวง จงฉิบหายไป ขอทุกข์ทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยสวัสดี ขอท่านจงเป็นผู้มีสุข มีอายุยืน จตุตถธรรมคืออายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญและบังเกิดมีแก่ผู้ที่มีความไหว้ต่อบุคคลผู้ควรไหว้เป็นปกติ แก่ผู้อ่อนน้อมต่อบุคคลผู้อาวุโสเป็นนิตย์”
******
อ่านเรื่องนางสงกรานต์ปี 2547 พระนางรากษสเทวีมาแล้ว!