ลำดับแต่นี้ไปจักได้พรรณนากสิณวิธีที่สิบคือปริจฉินนากาสกสิณ ซึ่งโบราณาจารย์ล้วนยอมรับตรงกันว่าจัดเป็นกสิณที่ไม่มีรูป โดยแยกย่อยออกเป็นอีกสองวิธี คืออากาสกสิณวิธีหนึ่ง และวิญญาณกสิณวิธีอีกหนึ่ง และเพราะเหตุที่เป็นกสิณวิธีที่ไม่มีรูปในการใช้กำหนดเพ่งกสิณ ทั้งเป็นอากาศธาตุหรือวิญญาณธาตุ จึงเป็นเรื่องประณีตละเอียดอ่อนยิ่งกว่ากสิณวิธีที่ได้แสดงมาข้างต้นนั้น
แต่ก็นับว่าเป็นกสิณวิธีที่ต้องด้วยอัชฌาสัยของเวไนยสัตว์บางหมู่บางเหล่า ที่มีจิตใจละเอียดอ่อนประณีต นิยมชมชอบความเวิ้งว้างว่างเปล่า ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกร่างกายก็ตาม ดังนั้นการบัญญัติกสิณวิธีปริจฉินนากาสกสิณจึงทำให้กสิณวิธีครบถ้วนสมบูรณ์ สมแล้วกับความเป็นโลกวิทูและความเป็นยอดครูผู้อบรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งหลายของพระบรมศาสดาของเรา
อาโลกกสิณเป็นกสิณที่ถือเอาแสงในการเพ่งหรือกำหนดเป็นอารมณ์ จะว่าไม่มีรูปทีเดียวก็ไม่ใช่เพราะอย่างน้อยที่สุดแสงนั้นก็เห็นได้ด้วยตา เพียงแต่จับต้องไม่ได้เท่านั้น หากจะเทียบกับอากาศธาตุหรือวิญญาณธาตุแล้ว แสงสว่างก็ยังมีความหยาบมากกว่า
แต่อากาศธาตุหรือวิญญาณธาตุนั้นไร้รูป รส กลิ่น เสียง ไม่อาจสัมผัสได้ด้วยอายตนะใด ๆ นอกจากจิต แต่จิตที่จะกำหนดอากาศหรือวิญญาณเป็นอารมณ์ในการเพ่งกสิณจะต้องเป็นจิตที่มีอัชฌาสัยคุ้นเคยกับเรื่องอากาศธาตุหรือวิญญาณธาตุมาก่อน มีความคุ้นเคยหรือชมชอบความเวิ้งว้างว่างเปล่าสงบนิ่งมาก่อน มิฉะนั้นก็จะไม่สามารถกำหนดหรือสัมผัสอากาศธาตุหรือวิญญาณธาตุได้เลย
ในเบื้องต้นจะขอทำความเข้าใจเรื่องอากาศและวิญญาณในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกสิณวิธีเสียก่อน
ดังได้กล่าวไว้ในวาโยกสิณแล้วว่า ลมที่อยู่นิ่ง ๆ นั้นก็คืออากาศ หากเคลื่อนตัวไปก็เรียกว่าลม หากเคลื่อนด้วยความแรงและเร็วก็จะเรียกว่าพายุ หากสูดหายใจเข้าไปในร่างกายก็เรียกว่าปราณ นี่เป็นอาการของลม แต่ก็ยังมีลมในธรรมชาติอยู่อีกอย่างหนึ่งคือลมใต้พิภพซึ่งเรียกว่าแผ่นลม และแผ่นลมนี้รองรับพิภพอยู่คือพิภพอันประกอบด้วยพื้นผิวดินเป็นผิวเปลือกนั้นรองรับด้วยแผ่นน้ำ น้ำรองรับด้วยแผ่นลม ลมรองรับด้วยไฟ ซึ่งอยู่ในศูนย์กลางของพิภพ
บรรดานักวิทยาศาสตร์ขี้สงสัยต่างได้พิสูจน์กันมานานแล้ว ถึงกระนั้นในวันนี้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็บอกได้แต่เพียงว่าใต้ดินมีน้ำ ใต้น้ำมีลม ใต้ลมมีไฟ ซึ่งสอดคล้องกับความรู้ในพระพุทธศาสนาที่พระบรมศาสดาทรงค้นพบ
อากาศที่ใช้ในการปฏิบัติอากาศกสิณก็คือลมที่อยู่นิ่งๆ และอากาศที่อยู่นิ่ง ๆ นี้บ้างก็เรียกว่าอากาศธาตุ บ้างก็เรียกว่าวิญญาณธาตุ แม้ในคัมภีร์อสีติธาตุหรือคัมภีร์ทักษาก็กำหนดให้ปูมกลางของทักษาเป็นปูมอากาศธาตุหรือวิญญาณธาตุ ซึ่งล้วนแต่เป็นความเชื่อที่สืบเนื่องกันมาจากความรู้ในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น
อากาศที่ใช้ในการปฏิบัติอากาศกสิณคืออากาศที่อยู่ภายนอกร่างกาย และหมายความรวมถึงความว่างและช่องว่างต่างๆ ด้วย ทั้งอาจหมายความรวมถึงอากาศหรือช่องว่างอันมีอยู่ภายในร่างกายนี้ด้วย เพราะเหตุที่การปฏิบัติอากาศกสิณนั้นไม่สามารถใช้ตาเป็นอายตนะเพ่งเอาได้ หากต้องใช้จิตอย่างเดียว ดังนั้นจะเป็นอากาศหรือความว่างไม่ว่าภายนอกหรือภายในก็ตาม จึงสามารถกำหนดเป็นอารมณ์ในการเพ่งอากาศกสิณได้ทั้งสิ้น
ส่วนวิญญาณในความหมายของวิญญาณกสิณนั้นไม่ได้หมายถึงวิญญาณที่เชื่อกันว่าเป็นภูตผีปีศาจ และไม่ได้ถึงอากาศที่อยู่ภายในร่างกายหรือความว่างที่อยู่ภายในร่างกาย ซึ่งจัดเป็นจำพวกอากาศกสิณ
วิญญาณในความหมายของวิญญาณกสิณนั้นหมายถึงวิญญาณในขันธ์ห้า คือวิญญาณขันธ์ ซึ่งเป็นตัวทำหน้าที่รับรู้บัญชาการอันเป็นหน้าที่ประการสำคัญประการหนึ่งของจิตดังที่ได้แสดงมาโดยลำดับแล้ว
ตาเห็นรูปก็เพราะมีจักษุวิญญาณเป็นตัวรับรู้ เป็นตัวเห็น หูได้ยินเสียงก็เพราะมีโสตวิญญาณเป็นตัวรับรู้ เป็นตัวได้ยิน จมูกได้กลิ่นก็เพราะมีฆานะวิญญาณเป็นตัวรับรู้ เป็นตัวได้กลิ่น ลิ้นได้รับรสก็เพราะมีชิวหาวิญญาณเป็นตัวรับรู้ เป็นตัวได้รับรส ร่างกายได้รู้ความร้อนหนาว ก็เพราะมีกายวิญญาณเป็นตัวรับรู้ เป็นตัวรู้สึกร้อนหนาว จิตรู้สุขรู้ทุกข์และอื่น ๆ ก็เพราะมีมโนวิญญาณเป็นตัวรับรู้ เป็นตัวรู้สึก
วิญญาณซึ่งเป็นหนึ่งในขันธ์ห้าและทำหน้าที่อยู่กับอายตนะภายในทั้งหก หรือประตูทั้งหกที่รับรู้สิ่งต่าง ๆ นี่แหละที่จะใช้กำหนดเป็นอารมณ์ในการเพ่งกสิณของวิญญาณกสิณ
ดังนั้นจึงสามารถทำความเข้าใจโดยสรุปได้ว่าอากาศที่ใช้ในการปฏิบัติอากาศกสิณก็คืออากาศหรือช่องว่างทั้งที่อยู่ภายนอกและภายในร่างกาย ส่วนวิญญาณที่ใช้ในการปฏิบัติวิญญาณกสิณก็คือวิญญาณที่เป็นหนึ่งในขันธ์ห้าและทำหน้าที่กำกับประตูแห่งการรับรู้ภายในทั้งหกอย่าง จะเลือกเอาอย่างไหนหรือจะปฏิบัติไปแต่ละอย่าง ๆ ก็ได้ทั้งนั้น
ดังได้พรรณนามาก็พอเป็นทางให้ได้รู้ได้เข้าใจว่า “สิ่ง” ที่ใช้ในการกำหนดอารมณ์ของการปฏิบัติอากาศกสิณและวิญญาณกสิณนั้นเป็นอย่างไร และแตกต่างกันอย่างไร ทั้งจะทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีความแตกต่างกับความสว่างหรือแสงที่ใช้ในการปฏิบัติอาโลกกสิณอย่างไร ดังนี้แล้วก็จะหมดปัญหาโต้เถียงกันในทางปริยัติอีกต่อไป
จะขอเริ่มด้วยการปฏิบัติอากาศกสิณก่อน สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่จะต้องจัดเตรียมวงกสิณภายนอกก่อน โดยการทำวงแล้วตั้งไว้กลางแจ้ง พิจารณาเพ่งถึงความว่างหรือช่องว่างหรืออากาศที่อยู่ในวงกสิณนั้น จะกำหนดเอาตรงที่เป็นช่องว่างก็ได้ หรือจะกำหนดเอาที่เป็นอากาศก็ได้ หรือจะปฏิบัติทั้งสองอย่างต่างวาระกันก็ได้ ที่สำคัญคือการสร้างมโนภาพให้ปรากฏวงกสิณที่เป็นช่องว่างหรือเป็นอากาศในวงกสิณนั้นให้ชัดเจนแล้วกระทำอุคหนิมิตต่อไป โดยวิธีการดังได้พรรณนามาแล้ว
และเมื่อมีความชำนาญแล้วก็สามารถกำหนดช่องว่างหรืออากาศทั้งภายนอกและภายในร่างกายในการเพ่งกสิณได้ดังปรารถนา และเมื่อชำนาญมากขึ้นกว่านั้นก็สามารถกำหนดวงกสิณที่เป็นช่องว่างหรือเป็นอากาศได้ในทุกที่ ทุกกาล ตามความปรารถนา
ในส่วนของการปฏิบัติวิญญาณกสิณนั้นออกจะยากสักหน่อยหนึ่ง เพราะไม่อาจทำเป็นวงกสิณใด ๆ ได้เลย จะต้องใช้จิตกำหนดรับรู้เอาที่ตัววิญญาณโดยตรง คือเลือกเอาประตูภายในอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน ไม่ว่าที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ
แล้วนั่งเพ่งพิจารณาถึงการที่ได้เห็นรูป การได้ยินเสียง การได้กลิ่น การได้รส การรู้สัมผัสและการรู้ทุกข์สุขว่าเกิดขึ้นตรงไหน ตรงนั้นแหละกำหนดเป็นวงกสิณขึ้นภายใน
ดังนั้นการปฏิบัติวิญญาณกสิณจึงต้องใช้จิตกำหนดวงกสิณขึ้นในจิตเอง!
ตอนเริ่มต้นออกจะยากลำบากมากและละเอียดประณีตมาก แต่ความสงบสงัดและความเพียรไม่ย่อหย่อนจะเป็นบาทฐานของการที่จะกำหนดวงกสิณได้ เพราะในที่สุดก็จะรู้ได้ด้วยตนเองว่าการที่ตาเห็นรูปนั้นเกิดขึ้นตรงจุดที่แสงกระทบวัตถุสะท้อนเข้าสู่ตาเห็นเป็นภาพ และจะรู้ต่อไปว่าการเห็นภาพที่แท้จริงไม่ได้เห็นตรงนัยน์ตา แต่ยังมีอวัยวะอีกอย่างหนึ่งที่เป็นตัวรับรู้การเห็น ตัวนั้นนั่นแหละคือจักษุวิญญาณ
เมื่อรู้และเข้าใจเช่นนี้แล้วก็จะเป็นทางแห่งการรู้และเข้าใจในส่วนของหู จมูก ลิ้น กาย และใจด้วย เพราะทั้งหมดนั้นก็ล้วนมีตัวรับรู้คือวิญญาณด้วยกันทั้งสิ้น เป็นแต่วิญญาณที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นได้ชื่อสมมติที่แตกต่างกันตามอายตนะหรือประตูที่ทำหน้าที่อยู่เท่านั้น
เมื่อจิตสามารถกำหนดวงกสิณที่วิญญาณอันทำหน้าที่ประจำอยู่กับอายตนะแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการเพ่งวงกสิณนั้น ความยุ่งยากจะมีอยู่ในตอนต้น เพราะวงกสิณจะเลือนหายหรือสูญสลายไปหรือขาดตอนไปเป็นเนืองนิตย์ นั่นเพราะความไม่คุ้นเคยและเพราะความใหม่ขาดความชำนาญนั่นเอง
เมื่อฝึกฝนปฏิบัติด้วยความเพียรพยายามโดยกรรมวิธีทั้งหลายดังได้พรรณนามาในการปฏิบัติกสิณวิธีแล้ว ในที่สุดวงกสิณของวิญญาณกสิณก็จะปรากฏแจ่มแจ้งชัดเจนขึ้นในมโนภาพ จากนั้นก็กระทำเป็นอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตต่อไป
การทำอุคหนิมิตของวิญญาณกสิณนั้น มโนภาพที่ปรากฏขึ้นจะไม่มีรูป ไม่มีร่าง ไม่มีสี แสง กลิ่น เสียง และความร้อนหนาวใด ๆ แต่เป็นความว่างแท้ ๆ เป็นความนิ่งแท้ ๆ ที่สัมผัสได้ด้วยความประณีตแห่งจิตเท่านั้น เป็นแต่ระดับของการรับรู้สัมผัสนั้นจะมีความมั่นคงแนบแน่นอุปมาเหมือนกับอยู่ในสุญญากาศฉะนั้น
ความประณีต ความละเอียดอ่อน ความชัดเจน ของวิญญาณกสิณจะเกิดขึ้นเป็นลำดับ และทำให้นามกายก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีสมรรถนะสูงกว่าบรรดากสิณวิธีอื่น
เนื้อแท้ก็เพราะว่าการเพ่งวิญญาณกสิณนั้นก็คือการทำหน้าที่ของนามกายและการทำให้นามกายก่อตัวขึ้น มีสมรรถนะสูงขึ้นโดยตรงนั่นเอง
หากจะไล่ย้อนกลับไป การก่อตัวของนามกายในกสิณวิธีลำดับต้น ๆ จะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นหลังจากการปฏิบัติแล้ว แต่ในการปฏิบัติกสิณวิธีนี้เพียงแค่เริ่มต้นปฏิบัติเท่านั้น นามกายก็ปรากฏแล้วและได้เริ่มทำหน้าที่แล้ว ความแตกต่างใหญ่อยู่ตรงนี้และเป็นเรื่องที่ต้องตั้งความสังเกตให้ยิ่งกว่าในเรื่องอื่น ๆ
เพราะเมื่อกล่าวถึงที่สุดแล้ว วิญญาณกสิณนั้นเป็นกสิณวิธีที่ต้องอาศัยนามกายในการเพ่งนั่นเอง นี่คือความมหัศจรรย์ลับลี้ของกสิณวิธีชนิดนี้
แต่ที่สุดแล้วเป้าหมายเบื้องต้นของอากาศกสิณและวิญญาณกสิณก็คือการกระทำอุคหนิมิต และมีเป้าหมายขั้นที่สองก็คือการกระทำปฏิภาคนิมิตเช่นเดียวกับกสิณวิธีอื่น ๆ นั่นเอง และเมื่อเกิดปฏิภาคนิมิตแล้ว นามกายก็มีความแข็งแกร่ง มีสมรรถนะสูงขึ้น องค์ของปฐมฌานก็ก่อตัวขึ้น
ปริจฉินนากาสกสิณซึ่งรวมอากาศกสิณและวิญญาณกสิณนี้มีอานิสงส์เฉพาะ คือความเป็นใหญ่เหนืออากาศ เหนือความว่าง และความรับรู้สัมผัสทั้งมวล ทำให้เป็นเลิศในการเหาะเหินเดินอากาศด้วยนามกาย การข่มหรือการแปรสภาพความรู้สึกทั้งมวลในขณะที่อานิสงส์ทั่วไปก็มีเช่นเดียวกันกับกสิณวิธีอื่นๆ
จึงเป็นอันว่าได้พรรณนากสิณวิธีมาครบถ้วนทั้งสิบวิธีแล้ว ลำดับแต่นี้ไปจักได้พรรณนาอสุภกัมมัฏฐานต่อไป
แต่ก็นับว่าเป็นกสิณวิธีที่ต้องด้วยอัชฌาสัยของเวไนยสัตว์บางหมู่บางเหล่า ที่มีจิตใจละเอียดอ่อนประณีต นิยมชมชอบความเวิ้งว้างว่างเปล่า ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกร่างกายก็ตาม ดังนั้นการบัญญัติกสิณวิธีปริจฉินนากาสกสิณจึงทำให้กสิณวิธีครบถ้วนสมบูรณ์ สมแล้วกับความเป็นโลกวิทูและความเป็นยอดครูผู้อบรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งหลายของพระบรมศาสดาของเรา
อาโลกกสิณเป็นกสิณที่ถือเอาแสงในการเพ่งหรือกำหนดเป็นอารมณ์ จะว่าไม่มีรูปทีเดียวก็ไม่ใช่เพราะอย่างน้อยที่สุดแสงนั้นก็เห็นได้ด้วยตา เพียงแต่จับต้องไม่ได้เท่านั้น หากจะเทียบกับอากาศธาตุหรือวิญญาณธาตุแล้ว แสงสว่างก็ยังมีความหยาบมากกว่า
แต่อากาศธาตุหรือวิญญาณธาตุนั้นไร้รูป รส กลิ่น เสียง ไม่อาจสัมผัสได้ด้วยอายตนะใด ๆ นอกจากจิต แต่จิตที่จะกำหนดอากาศหรือวิญญาณเป็นอารมณ์ในการเพ่งกสิณจะต้องเป็นจิตที่มีอัชฌาสัยคุ้นเคยกับเรื่องอากาศธาตุหรือวิญญาณธาตุมาก่อน มีความคุ้นเคยหรือชมชอบความเวิ้งว้างว่างเปล่าสงบนิ่งมาก่อน มิฉะนั้นก็จะไม่สามารถกำหนดหรือสัมผัสอากาศธาตุหรือวิญญาณธาตุได้เลย
ในเบื้องต้นจะขอทำความเข้าใจเรื่องอากาศและวิญญาณในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกสิณวิธีเสียก่อน
ดังได้กล่าวไว้ในวาโยกสิณแล้วว่า ลมที่อยู่นิ่ง ๆ นั้นก็คืออากาศ หากเคลื่อนตัวไปก็เรียกว่าลม หากเคลื่อนด้วยความแรงและเร็วก็จะเรียกว่าพายุ หากสูดหายใจเข้าไปในร่างกายก็เรียกว่าปราณ นี่เป็นอาการของลม แต่ก็ยังมีลมในธรรมชาติอยู่อีกอย่างหนึ่งคือลมใต้พิภพซึ่งเรียกว่าแผ่นลม และแผ่นลมนี้รองรับพิภพอยู่คือพิภพอันประกอบด้วยพื้นผิวดินเป็นผิวเปลือกนั้นรองรับด้วยแผ่นน้ำ น้ำรองรับด้วยแผ่นลม ลมรองรับด้วยไฟ ซึ่งอยู่ในศูนย์กลางของพิภพ
บรรดานักวิทยาศาสตร์ขี้สงสัยต่างได้พิสูจน์กันมานานแล้ว ถึงกระนั้นในวันนี้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็บอกได้แต่เพียงว่าใต้ดินมีน้ำ ใต้น้ำมีลม ใต้ลมมีไฟ ซึ่งสอดคล้องกับความรู้ในพระพุทธศาสนาที่พระบรมศาสดาทรงค้นพบ
อากาศที่ใช้ในการปฏิบัติอากาศกสิณก็คือลมที่อยู่นิ่งๆ และอากาศที่อยู่นิ่ง ๆ นี้บ้างก็เรียกว่าอากาศธาตุ บ้างก็เรียกว่าวิญญาณธาตุ แม้ในคัมภีร์อสีติธาตุหรือคัมภีร์ทักษาก็กำหนดให้ปูมกลางของทักษาเป็นปูมอากาศธาตุหรือวิญญาณธาตุ ซึ่งล้วนแต่เป็นความเชื่อที่สืบเนื่องกันมาจากความรู้ในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น
อากาศที่ใช้ในการปฏิบัติอากาศกสิณคืออากาศที่อยู่ภายนอกร่างกาย และหมายความรวมถึงความว่างและช่องว่างต่างๆ ด้วย ทั้งอาจหมายความรวมถึงอากาศหรือช่องว่างอันมีอยู่ภายในร่างกายนี้ด้วย เพราะเหตุที่การปฏิบัติอากาศกสิณนั้นไม่สามารถใช้ตาเป็นอายตนะเพ่งเอาได้ หากต้องใช้จิตอย่างเดียว ดังนั้นจะเป็นอากาศหรือความว่างไม่ว่าภายนอกหรือภายในก็ตาม จึงสามารถกำหนดเป็นอารมณ์ในการเพ่งอากาศกสิณได้ทั้งสิ้น
ส่วนวิญญาณในความหมายของวิญญาณกสิณนั้นไม่ได้หมายถึงวิญญาณที่เชื่อกันว่าเป็นภูตผีปีศาจ และไม่ได้ถึงอากาศที่อยู่ภายในร่างกายหรือความว่างที่อยู่ภายในร่างกาย ซึ่งจัดเป็นจำพวกอากาศกสิณ
วิญญาณในความหมายของวิญญาณกสิณนั้นหมายถึงวิญญาณในขันธ์ห้า คือวิญญาณขันธ์ ซึ่งเป็นตัวทำหน้าที่รับรู้บัญชาการอันเป็นหน้าที่ประการสำคัญประการหนึ่งของจิตดังที่ได้แสดงมาโดยลำดับแล้ว
ตาเห็นรูปก็เพราะมีจักษุวิญญาณเป็นตัวรับรู้ เป็นตัวเห็น หูได้ยินเสียงก็เพราะมีโสตวิญญาณเป็นตัวรับรู้ เป็นตัวได้ยิน จมูกได้กลิ่นก็เพราะมีฆานะวิญญาณเป็นตัวรับรู้ เป็นตัวได้กลิ่น ลิ้นได้รับรสก็เพราะมีชิวหาวิญญาณเป็นตัวรับรู้ เป็นตัวได้รับรส ร่างกายได้รู้ความร้อนหนาว ก็เพราะมีกายวิญญาณเป็นตัวรับรู้ เป็นตัวรู้สึกร้อนหนาว จิตรู้สุขรู้ทุกข์และอื่น ๆ ก็เพราะมีมโนวิญญาณเป็นตัวรับรู้ เป็นตัวรู้สึก
วิญญาณซึ่งเป็นหนึ่งในขันธ์ห้าและทำหน้าที่อยู่กับอายตนะภายในทั้งหก หรือประตูทั้งหกที่รับรู้สิ่งต่าง ๆ นี่แหละที่จะใช้กำหนดเป็นอารมณ์ในการเพ่งกสิณของวิญญาณกสิณ
ดังนั้นจึงสามารถทำความเข้าใจโดยสรุปได้ว่าอากาศที่ใช้ในการปฏิบัติอากาศกสิณก็คืออากาศหรือช่องว่างทั้งที่อยู่ภายนอกและภายในร่างกาย ส่วนวิญญาณที่ใช้ในการปฏิบัติวิญญาณกสิณก็คือวิญญาณที่เป็นหนึ่งในขันธ์ห้าและทำหน้าที่กำกับประตูแห่งการรับรู้ภายในทั้งหกอย่าง จะเลือกเอาอย่างไหนหรือจะปฏิบัติไปแต่ละอย่าง ๆ ก็ได้ทั้งนั้น
ดังได้พรรณนามาก็พอเป็นทางให้ได้รู้ได้เข้าใจว่า “สิ่ง” ที่ใช้ในการกำหนดอารมณ์ของการปฏิบัติอากาศกสิณและวิญญาณกสิณนั้นเป็นอย่างไร และแตกต่างกันอย่างไร ทั้งจะทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีความแตกต่างกับความสว่างหรือแสงที่ใช้ในการปฏิบัติอาโลกกสิณอย่างไร ดังนี้แล้วก็จะหมดปัญหาโต้เถียงกันในทางปริยัติอีกต่อไป
จะขอเริ่มด้วยการปฏิบัติอากาศกสิณก่อน สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่จะต้องจัดเตรียมวงกสิณภายนอกก่อน โดยการทำวงแล้วตั้งไว้กลางแจ้ง พิจารณาเพ่งถึงความว่างหรือช่องว่างหรืออากาศที่อยู่ในวงกสิณนั้น จะกำหนดเอาตรงที่เป็นช่องว่างก็ได้ หรือจะกำหนดเอาที่เป็นอากาศก็ได้ หรือจะปฏิบัติทั้งสองอย่างต่างวาระกันก็ได้ ที่สำคัญคือการสร้างมโนภาพให้ปรากฏวงกสิณที่เป็นช่องว่างหรือเป็นอากาศในวงกสิณนั้นให้ชัดเจนแล้วกระทำอุคหนิมิตต่อไป โดยวิธีการดังได้พรรณนามาแล้ว
และเมื่อมีความชำนาญแล้วก็สามารถกำหนดช่องว่างหรืออากาศทั้งภายนอกและภายในร่างกายในการเพ่งกสิณได้ดังปรารถนา และเมื่อชำนาญมากขึ้นกว่านั้นก็สามารถกำหนดวงกสิณที่เป็นช่องว่างหรือเป็นอากาศได้ในทุกที่ ทุกกาล ตามความปรารถนา
ในส่วนของการปฏิบัติวิญญาณกสิณนั้นออกจะยากสักหน่อยหนึ่ง เพราะไม่อาจทำเป็นวงกสิณใด ๆ ได้เลย จะต้องใช้จิตกำหนดรับรู้เอาที่ตัววิญญาณโดยตรง คือเลือกเอาประตูภายในอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน ไม่ว่าที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ
แล้วนั่งเพ่งพิจารณาถึงการที่ได้เห็นรูป การได้ยินเสียง การได้กลิ่น การได้รส การรู้สัมผัสและการรู้ทุกข์สุขว่าเกิดขึ้นตรงไหน ตรงนั้นแหละกำหนดเป็นวงกสิณขึ้นภายใน
ดังนั้นการปฏิบัติวิญญาณกสิณจึงต้องใช้จิตกำหนดวงกสิณขึ้นในจิตเอง!
ตอนเริ่มต้นออกจะยากลำบากมากและละเอียดประณีตมาก แต่ความสงบสงัดและความเพียรไม่ย่อหย่อนจะเป็นบาทฐานของการที่จะกำหนดวงกสิณได้ เพราะในที่สุดก็จะรู้ได้ด้วยตนเองว่าการที่ตาเห็นรูปนั้นเกิดขึ้นตรงจุดที่แสงกระทบวัตถุสะท้อนเข้าสู่ตาเห็นเป็นภาพ และจะรู้ต่อไปว่าการเห็นภาพที่แท้จริงไม่ได้เห็นตรงนัยน์ตา แต่ยังมีอวัยวะอีกอย่างหนึ่งที่เป็นตัวรับรู้การเห็น ตัวนั้นนั่นแหละคือจักษุวิญญาณ
เมื่อรู้และเข้าใจเช่นนี้แล้วก็จะเป็นทางแห่งการรู้และเข้าใจในส่วนของหู จมูก ลิ้น กาย และใจด้วย เพราะทั้งหมดนั้นก็ล้วนมีตัวรับรู้คือวิญญาณด้วยกันทั้งสิ้น เป็นแต่วิญญาณที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นได้ชื่อสมมติที่แตกต่างกันตามอายตนะหรือประตูที่ทำหน้าที่อยู่เท่านั้น
เมื่อจิตสามารถกำหนดวงกสิณที่วิญญาณอันทำหน้าที่ประจำอยู่กับอายตนะแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการเพ่งวงกสิณนั้น ความยุ่งยากจะมีอยู่ในตอนต้น เพราะวงกสิณจะเลือนหายหรือสูญสลายไปหรือขาดตอนไปเป็นเนืองนิตย์ นั่นเพราะความไม่คุ้นเคยและเพราะความใหม่ขาดความชำนาญนั่นเอง
เมื่อฝึกฝนปฏิบัติด้วยความเพียรพยายามโดยกรรมวิธีทั้งหลายดังได้พรรณนามาในการปฏิบัติกสิณวิธีแล้ว ในที่สุดวงกสิณของวิญญาณกสิณก็จะปรากฏแจ่มแจ้งชัดเจนขึ้นในมโนภาพ จากนั้นก็กระทำเป็นอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตต่อไป
การทำอุคหนิมิตของวิญญาณกสิณนั้น มโนภาพที่ปรากฏขึ้นจะไม่มีรูป ไม่มีร่าง ไม่มีสี แสง กลิ่น เสียง และความร้อนหนาวใด ๆ แต่เป็นความว่างแท้ ๆ เป็นความนิ่งแท้ ๆ ที่สัมผัสได้ด้วยความประณีตแห่งจิตเท่านั้น เป็นแต่ระดับของการรับรู้สัมผัสนั้นจะมีความมั่นคงแนบแน่นอุปมาเหมือนกับอยู่ในสุญญากาศฉะนั้น
ความประณีต ความละเอียดอ่อน ความชัดเจน ของวิญญาณกสิณจะเกิดขึ้นเป็นลำดับ และทำให้นามกายก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีสมรรถนะสูงกว่าบรรดากสิณวิธีอื่น
เนื้อแท้ก็เพราะว่าการเพ่งวิญญาณกสิณนั้นก็คือการทำหน้าที่ของนามกายและการทำให้นามกายก่อตัวขึ้น มีสมรรถนะสูงขึ้นโดยตรงนั่นเอง
หากจะไล่ย้อนกลับไป การก่อตัวของนามกายในกสิณวิธีลำดับต้น ๆ จะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นหลังจากการปฏิบัติแล้ว แต่ในการปฏิบัติกสิณวิธีนี้เพียงแค่เริ่มต้นปฏิบัติเท่านั้น นามกายก็ปรากฏแล้วและได้เริ่มทำหน้าที่แล้ว ความแตกต่างใหญ่อยู่ตรงนี้และเป็นเรื่องที่ต้องตั้งความสังเกตให้ยิ่งกว่าในเรื่องอื่น ๆ
เพราะเมื่อกล่าวถึงที่สุดแล้ว วิญญาณกสิณนั้นเป็นกสิณวิธีที่ต้องอาศัยนามกายในการเพ่งนั่นเอง นี่คือความมหัศจรรย์ลับลี้ของกสิณวิธีชนิดนี้
แต่ที่สุดแล้วเป้าหมายเบื้องต้นของอากาศกสิณและวิญญาณกสิณก็คือการกระทำอุคหนิมิต และมีเป้าหมายขั้นที่สองก็คือการกระทำปฏิภาคนิมิตเช่นเดียวกับกสิณวิธีอื่น ๆ นั่นเอง และเมื่อเกิดปฏิภาคนิมิตแล้ว นามกายก็มีความแข็งแกร่ง มีสมรรถนะสูงขึ้น องค์ของปฐมฌานก็ก่อตัวขึ้น
ปริจฉินนากาสกสิณซึ่งรวมอากาศกสิณและวิญญาณกสิณนี้มีอานิสงส์เฉพาะ คือความเป็นใหญ่เหนืออากาศ เหนือความว่าง และความรับรู้สัมผัสทั้งมวล ทำให้เป็นเลิศในการเหาะเหินเดินอากาศด้วยนามกาย การข่มหรือการแปรสภาพความรู้สึกทั้งมวลในขณะที่อานิสงส์ทั่วไปก็มีเช่นเดียวกันกับกสิณวิธีอื่นๆ
จึงเป็นอันว่าได้พรรณนากสิณวิธีมาครบถ้วนทั้งสิบวิธีแล้ว ลำดับแต่นี้ไปจักได้พรรณนาอสุภกัมมัฏฐานต่อไป