เอเอฟพี – สิงคโปร์รับอัตราว่างงานมีแนวโน้มพุ่งทะยาน ในจังหวะที่ประเทศเข้าสู่เฟสใหม่ของการพัฒนาเศรษฐกิจ และการหลีกหนีความกดดันด้านต้นทุน ด้วยการขยับขยายไปสู่อุตสาหกรรมมูลค่าเพิ่ม กระนั้นก็ดี ทางการแดนลอดช่องไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่ริเริ่มโครงการสร้างงานใหม่ โดยมุ่งหวังเปลี่ยนความคิดประชาชนให้ยอมรับงานที่ต่ำต้อยและมีค่าตอบแทนน้อยลง
ชาวแดนลอดช่องที่คุ้นเคยกับการจ้างงานตลอดชีพ กำลังก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ที่ซึ่งพวกเขาอาจต้องสูญเสียงานให้กับคนหนุ่มสาว หรือแรงงานในประเทศตลาดเกิดใหม่
เครื่องเตือนใจล่าสุดถึงสถานการณ์ชวนทดท้อนี้ก็คือ การตัดสินใจเมื่อไม่นานมานี้ของแม็กซ์เตอร์ ผู้ผลิตดิสก์ไดรฟ์คอมพิวเตอร์อันดับ 2 ของโลก ที่ประกาศย้ายโรงงาน 2 แห่งในสิงคโปร์ไปยังจีน และปิดโรงงานอีกแห่ง ส่งผลให้มีการลอยแพคนงาน 5,500 คน
ปัญหายิ่งท้าทายมากขึ้น สำหรับชายวัยกลางคนอย่างจักจิต ซิงห์
อดีตพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินวัย 52 ปีผู้นี้ ปลดเกษียณเมื่อปี 1990 และลงทุนทำธุรกิจระหว่างประเทศ แต่ธุรกิจที่ว่าล้มเหลว ซิงห์จึงต้องกลับมาพึ่งสำนักงานพัฒนาแรงงาน ที่รัฐบาลสิงคโปร์ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ตกงานหางานใหม่ และหลังจากเข้ารับการอบรมนาน 120 ชั่วโมงเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ในที่สุดเขาก็ได้งานใหม่เป็นผู้ช่วยครูที่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง
ซิงห์บอกว่า คนอายุเกิน 40 ปีเดี๋ยวนี้หางานทำยากเย็นเหลือเกิน ในภาวะที่ประเทศต้องเผชิญการแข่งขันชนิดไม่เคยมีมาก่อนจากประเทศอย่างจีน
ปัจจุบัน แดนลอดช่องมีแรงงานท้องถิ่น 2.15 ล้านคน อัตราว่างงานเคยอยู่ที่ต่ำกว่า 2% จนกระทั่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียปี 1997
นายกรัฐมนตรีลีเซียนลุงยอมรับว่า สถานการณ์การจ้างงานเข้าขั้นรุนแรง และไม่มีแนวโน้มว่าจะทุเลาลงง่ายๆ ในจังหวะที่ประเทศเคลื่อนเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมมูลค่าเพิ่ม ซึ่งต้องการแรงงานเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และใช้แรงงานคนน้อยลง
ลีเตือนว่า จากเป้าหมายการเติบโตของปีนี้ที่มองไว้ที่ 3-5% เทียบกับ 8.4% เมื่อปีที่แล้ว รวมถึงการที่ประเทศก้าวเข้าสู่กระบวนการใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้คาดได้ว่าอัตราว่างงานกำลังจะพุ่งจาก 3.7% ในปัจจุบัน โดยมีสิทธิ์ไปถึง 5% ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่พบได้ทั่วไปในประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐฯ เทียบกับอัตราว่างงานปัจจุบันอยู่ที่ 3.7%
อย่างไรก็ดี เพื่อผ่อนเพลาปัญหา รัฐบาลได้ผลักดันโครงการสร้างงานใหม่ และช่วยเหลือผู้ว่างงานกลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยโครงการนี้ที่มีสหภาพแรงงานของรัฐเป็นแกนนำ มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับงานที่มีมูลค่าและค่าตอบแทนต่ำ ให้สามารถดึงดูดคนสิงคโปร์ได้
ขณะนี้ มีประชาชนราว 2,000 คนที่สามารถหางานใหม่ผ่านโครงการนี้ ซึ่งมีเป้าหมายสร้างงานให้กับคน 10,000 คนภายใน 12-18 เดือนข้างหน้า
นักเศรษฐศาสตร์มองว่า โครงการดังกล่าวเป็นวิธีหนึ่งในการรับมือกับสถานการณ์การว่างงานในเชิงโครงสร้าง เพื่อทำให้คนสิงคโปร์เต็มใจที่จะเปลี่ยนชุดความคิดของตัวเองเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่ดูต่ำต้อยอย่างเช่น การทำความสะอาด และก่อสร้าง
ไนซัม ไอดริส ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยในสิงคโปร์ของบริษัทการเงินไอเดียโกลบัล ชี้ว่าโครงการของรัฐบาล ทำให้ประชาชนตระหนักว่า หมดโอกาสกลับไปทำงานดีๆ ที่เคยทำมาในอดีต และเริ่มหันมามองงานที่ได้ค่าแรงน้อยกว่าเป็นทางเลือกหนึ่ง
ส่วนวิธีแก้ปัญหาระยะยาวสำหรับสิงคโปร์ ประเทศที่เศรษฐกิจก้าวหน้าที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือ เดินหน้ามาตรการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และขยับขยายสู่อุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่มีการเติบโต ดังที่รัฐบาลริเริ่มมาตั้งแต่ทศวรรษ 1990
โจเซฟ ตัน นักเศรษฐศาสตร์ของสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดในสิงคโปร์ ขานรับว่า หลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลแดนลอดช่องที่มีนโยบายส่งเสริมธุรกิจ ได้ทุ่มทุนจำนวนมากพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ๆ อาทิ ชีวเวชศาสตร์ เพื่อลดการพึ่งพิงภาคอิเล็กทรอนิกส์ ที่เผชิญแรงกดดันด้านต้นทุนอย่างมหาศาลจากจีน
เดวิด โคเฮน ผู้อำนวยการบริษัทวิจัย เอเชียน อิโคโนมิก ฟอร์แคสติ้งในสิงคโปร์ เห็นด้วยว่า สิงคโปร์สามารถมองหาช่องทางเฉพาะตัว ด้วยการเน้นหนักอุตสาหกรรมมูลค่าเพิ่ม แม้ต้องเผชิญความกดดันด้านต้นทุน เช่นเดียวกับที่ญี่ปุ่นและสหรัฐฯเคยเจอมาก่อน ตอนที่เสือเศรษฐกิจเอเชีย ซึ่งรวมถึงแดนลอดช่อง ผงาดขึ้นมาท้าทายความเป็นผู้นำในภาคอิเล็กทรอนิกส์ในทศวรรษ 1990
ชาวแดนลอดช่องที่คุ้นเคยกับการจ้างงานตลอดชีพ กำลังก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ที่ซึ่งพวกเขาอาจต้องสูญเสียงานให้กับคนหนุ่มสาว หรือแรงงานในประเทศตลาดเกิดใหม่
เครื่องเตือนใจล่าสุดถึงสถานการณ์ชวนทดท้อนี้ก็คือ การตัดสินใจเมื่อไม่นานมานี้ของแม็กซ์เตอร์ ผู้ผลิตดิสก์ไดรฟ์คอมพิวเตอร์อันดับ 2 ของโลก ที่ประกาศย้ายโรงงาน 2 แห่งในสิงคโปร์ไปยังจีน และปิดโรงงานอีกแห่ง ส่งผลให้มีการลอยแพคนงาน 5,500 คน
ปัญหายิ่งท้าทายมากขึ้น สำหรับชายวัยกลางคนอย่างจักจิต ซิงห์
อดีตพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินวัย 52 ปีผู้นี้ ปลดเกษียณเมื่อปี 1990 และลงทุนทำธุรกิจระหว่างประเทศ แต่ธุรกิจที่ว่าล้มเหลว ซิงห์จึงต้องกลับมาพึ่งสำนักงานพัฒนาแรงงาน ที่รัฐบาลสิงคโปร์ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ตกงานหางานใหม่ และหลังจากเข้ารับการอบรมนาน 120 ชั่วโมงเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ในที่สุดเขาก็ได้งานใหม่เป็นผู้ช่วยครูที่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง
ซิงห์บอกว่า คนอายุเกิน 40 ปีเดี๋ยวนี้หางานทำยากเย็นเหลือเกิน ในภาวะที่ประเทศต้องเผชิญการแข่งขันชนิดไม่เคยมีมาก่อนจากประเทศอย่างจีน
ปัจจุบัน แดนลอดช่องมีแรงงานท้องถิ่น 2.15 ล้านคน อัตราว่างงานเคยอยู่ที่ต่ำกว่า 2% จนกระทั่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียปี 1997
นายกรัฐมนตรีลีเซียนลุงยอมรับว่า สถานการณ์การจ้างงานเข้าขั้นรุนแรง และไม่มีแนวโน้มว่าจะทุเลาลงง่ายๆ ในจังหวะที่ประเทศเคลื่อนเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมมูลค่าเพิ่ม ซึ่งต้องการแรงงานเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และใช้แรงงานคนน้อยลง
ลีเตือนว่า จากเป้าหมายการเติบโตของปีนี้ที่มองไว้ที่ 3-5% เทียบกับ 8.4% เมื่อปีที่แล้ว รวมถึงการที่ประเทศก้าวเข้าสู่กระบวนการใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้คาดได้ว่าอัตราว่างงานกำลังจะพุ่งจาก 3.7% ในปัจจุบัน โดยมีสิทธิ์ไปถึง 5% ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่พบได้ทั่วไปในประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐฯ เทียบกับอัตราว่างงานปัจจุบันอยู่ที่ 3.7%
อย่างไรก็ดี เพื่อผ่อนเพลาปัญหา รัฐบาลได้ผลักดันโครงการสร้างงานใหม่ และช่วยเหลือผู้ว่างงานกลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยโครงการนี้ที่มีสหภาพแรงงานของรัฐเป็นแกนนำ มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับงานที่มีมูลค่าและค่าตอบแทนต่ำ ให้สามารถดึงดูดคนสิงคโปร์ได้
ขณะนี้ มีประชาชนราว 2,000 คนที่สามารถหางานใหม่ผ่านโครงการนี้ ซึ่งมีเป้าหมายสร้างงานให้กับคน 10,000 คนภายใน 12-18 เดือนข้างหน้า
นักเศรษฐศาสตร์มองว่า โครงการดังกล่าวเป็นวิธีหนึ่งในการรับมือกับสถานการณ์การว่างงานในเชิงโครงสร้าง เพื่อทำให้คนสิงคโปร์เต็มใจที่จะเปลี่ยนชุดความคิดของตัวเองเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่ดูต่ำต้อยอย่างเช่น การทำความสะอาด และก่อสร้าง
ไนซัม ไอดริส ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยในสิงคโปร์ของบริษัทการเงินไอเดียโกลบัล ชี้ว่าโครงการของรัฐบาล ทำให้ประชาชนตระหนักว่า หมดโอกาสกลับไปทำงานดีๆ ที่เคยทำมาในอดีต และเริ่มหันมามองงานที่ได้ค่าแรงน้อยกว่าเป็นทางเลือกหนึ่ง
ส่วนวิธีแก้ปัญหาระยะยาวสำหรับสิงคโปร์ ประเทศที่เศรษฐกิจก้าวหน้าที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือ เดินหน้ามาตรการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และขยับขยายสู่อุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่มีการเติบโต ดังที่รัฐบาลริเริ่มมาตั้งแต่ทศวรรษ 1990
โจเซฟ ตัน นักเศรษฐศาสตร์ของสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดในสิงคโปร์ ขานรับว่า หลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลแดนลอดช่องที่มีนโยบายส่งเสริมธุรกิจ ได้ทุ่มทุนจำนวนมากพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ๆ อาทิ ชีวเวชศาสตร์ เพื่อลดการพึ่งพิงภาคอิเล็กทรอนิกส์ ที่เผชิญแรงกดดันด้านต้นทุนอย่างมหาศาลจากจีน
เดวิด โคเฮน ผู้อำนวยการบริษัทวิจัย เอเชียน อิโคโนมิก ฟอร์แคสติ้งในสิงคโปร์ เห็นด้วยว่า สิงคโปร์สามารถมองหาช่องทางเฉพาะตัว ด้วยการเน้นหนักอุตสาหกรรมมูลค่าเพิ่ม แม้ต้องเผชิญความกดดันด้านต้นทุน เช่นเดียวกับที่ญี่ปุ่นและสหรัฐฯเคยเจอมาก่อน ตอนที่เสือเศรษฐกิจเอเชีย ซึ่งรวมถึงแดนลอดช่อง ผงาดขึ้นมาท้าทายความเป็นผู้นำในภาคอิเล็กทรอนิกส์ในทศวรรษ 1990