ได้พรรณนากสิณวิธีมา 8 วิธีมาโดยลำดับแล้ว คงเหลืออีก 2 วิธี คือ อาโลกกสิณ และ อากาศกสิณ ซึ่งเป็นกสิณวิธีที่มีความประณีตละเอียดอ่อนมากกว่ากสิณวิธีทั้ง 8 วิธีที่ได้แสดงมาแล้ว
นอกจากจะมีความละเอียดอ่อนประณีตแล้ว ยังมีความสับสนในทางทฤษฎีกันอยู่ เพราะในคัมภีร์หลักในพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มีพรรณนาไว้ต่างกัน
ในคัมภีร์วิมุตติมรรคได้แสดงอาโลกกสิณไว้อย่างหนึ่ง แล้วแสดงปริจฉินนากาส กสิณไว้อีกอย่างหนึ่ง โดยในปริจฉินนากาสกสิณนั้นได้จำแนกย่อยออกเป็นอากาศกสิณชนิดหนึ่ง และวิญญาณกสิณอีกชนิดหนึ่ง
ในขณะที่คัมภีร์วิสุทธิมรรคได้แสดงอาโลกกสิณไว้เป็นลำดับที่ 9 และปริจฉินนากาสกสิณไว้เป็นลำดับที่ 10 โดยในปริจฉินนากาสกสิณนั้นได้พรรณนาเฉพาะอากาส กสิณไว้เพียงอย่างเดียว
คัมภีร์ทั้งสองนี้เป็นคัมภีร์หลักของสำนักใหญ่ในลังกามาแต่ก่อน และส่วนนี้ก็คือส่วนที่แตกต่างกันและทำให้มีข้อโต้แย้งทางทฤษฎีระหว่างทั้งสองสำนักนั้นมาแต่โบราณกาล
สำหรับประเทศไทยของเรา ได้รับเอาคัมภีร์วิสุทธิมรรคมาเป็นคัมภีร์หลักในการสอนพระพุทธศาสนา เพิ่งมาเมื่อระยะ 40-50 ปีมานี้ จึงมีการแปลคัมภีร์วิมุตติมรรคเป็นภาษาอังกฤษ และมาแปลเป็นภาษาไทยเมื่อ พ.ศ. 2538 ทำให้เกิดการตื่นเต้นกันเป็นโกลาหลว่าเป็นคัมภีร์ดั้งเดิมแท้ และสามารถเป็นคู่มือปฏิบัติได้แท้จริงยิ่งกว่าคัมภีร์วิสุทธิมรรค
แม้ท่านเจ้าคุณพุทธทาสก็ได้ให้คำรับรองว่าคัมภีร์วิมุตติมรรคนั้นมีความสำคัญยิ่งกว่าคัมภีร์วิสุทธิมรรค
ดังนั้นการศึกษาพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะการปฏิบัติกัมมัฏฐานเกี่ยวกับกสิณวิธีนั้นจึงถือคติตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค โดยนอกจากกสิณวิธี 8 วิธีที่เหมือนกันแล้ว อีก 2 วิธีที่เหลือคงถือเอาอาโลกกสิณและปริจฉินนากาสกสิณหรืออากาสกสิณเท่านั้น
แต่ในที่นี้เพื่อให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์และสอดคล้องกับอัชฌาสัยของเวไนยสัตว์ซึ่งยังมีอยู่มากหลาย จึงจักแสดงให้ครบถ้วนทั้งสองกสิณวิธีหลักที่เหลือ โดยแยกย่อยปริจฉินนากาสกสิณเป็นอากาสกสิณวิธีหนึ่ง และวิญญาณกสิณอีกวิธีหนึ่ง
ความประณีตละเอียดอ่อนของกสิณวิธีที่เหลือดังกล่าวนี้ก็ทำนองเดียวกับที่ได้พรรณนามาเกี่ยวกับวาโยกสิณแล้ว คือ ไม่มีวัตถุธาตุที่จะจับต้องมองเห็นได้ด้วยตา แต่สามารถรับรู้สัมผัสได้ ดังนั้นผู้ที่มีอัชฌาสัยคุ้นเคยชอบพอกับกสิณวิธีดังกล่าวจึงเหมาะสมแก่การที่จะนำไปอบรมศึกษาปฏิบัติในการอบรมบ่มเพาะจิตของตน
ทั้งคัมภีร์วิมุตติมรรคและคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้พรรณนาอาโลกกสิณเป็นอย่างเดียวกัน คือเป็นกสิณวิธีที่ถือเอาความสว่างเป็นอารมณ์ในการเพ่งกสิณ
ความสว่างดังกล่าวนั้นมีทั้งความสว่างที่จัดเตรียมขึ้นเพื่อการเพ่งกสิณโดยเฉพาะ กับความสว่างที่มีอยู่ในธรรมชาติ สำหรับผู้ศึกษาปฏิบัติใหม่จะต้องใช้ความสว่างที่จัดเตรียมขึ้น แต่เมื่อฝึกฝนจนมีความชำนาญดีแล้ว ก็ย่อมใช้ความสว่างในธรรมชาตินั้นได้ไม่ยากไม่ลำบาก
ในการเพ่งกสิณวิธีนี้ก็เหมือนกับวิธีอื่น ๆ ดังได้แสดงมาแล้ว คือเพ่งเพื่อกำหนดเป็นมโนภาพขึ้นเป็นอุคหนิมิตเป็นขั้นตอนแรก แล้วกระทำเป็นปฏิภาคนิมิตในขั้นตอนที่สอง วิธีการ กระบวนการและภาวะของจิตในการสร้างมโนภาพ ในการกระทำอุคหนิมิต และในการกระทำปฏิภาคนิมิตของอาโลกกสิณก็เป็นอย่างเดียวกันกับกสิณวิธีที่ได้พรรณนามาแต่ก่อนแล้ว
เพราะเหตุที่ความสว่างไร้ขอบเขตและหาปริมณฑลที่แน่นอนได้ยาก ดังนั้นสำหรับผู้ฝึกฝนอบรมปฏิบัติใหม่จึงต้องจัดเตรียมวงกสิณเพื่อให้เห็นความสว่างที่มีขนาดขอบเขตและความชัดเจน ทำนองเดียวกับการจัดเตรียมวงกสิณอื่น ๆ
วิธีจัดเตรียมวงกสิณเพื่อให้เกิดแสงสว่างสุดแท้แต่จะจัดทำตามความสะดวกหรือตามที่จะสามารถจัดทำได้ในแต่ละแห่ง แต่ให้เป็นดังตัวอย่างคือให้มีฝาหรือกำแพงหรือผืนแผ่นอย่างใดอย่างหนึ่งที่สามารถรองรับแสงสว่างได้
ส่วนการทำให้เกิดแสงสว่างนั้นกระทำได้สองวิธี คือ
วิธีแรก การทำให้เกิดแสงสว่างโดยการสะท้อน เช่น การเอาน้ำใส่ในภาชนะที่มีปากขอบเท่ากับวงกสิณอื่น ๆ แล้วตั้งภาชนะที่บรรจุน้ำนั้นไว้ในท่ามกลางแสงอาทิตย์ วางมุมให้เกิดแสงสะท้อนจากน้ำบนขอบปากภาชนะนั้นไปยังกำแพง ผนัง ฝา หรือผืนแผ่นใด ๆ ที่ตั้งรอรับไว้
วิธีที่สอง การเจาะรูที่กำแพง ฝา หรือแผ่นพื้นใด ๆ มีขนาดเท่ากับวงกสิณดังทีได้พรรณนามาแล้ว และให้แสงสว่างโดยเฉพาะแสงสว่างจากดวงอาทิตย์สาดผ่านรูที่เจาะเป็นวงกสิณไว้นั้นไปกระทบกับฝา หรือพื้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะปรากฏเป็นความสว่างเป็นวงกสิณ
พึงตั้งข้อสังเกตว่าวิธีการจัดเตรียมวงกสิณของอาโลกกสิณนั้นเกือบจะเหมือนหรือคล้ายคลึงกับการจัดเตรียมวงกสิณในการทำเตโชกสิณ ซึ่งความต่างตรงนี้ไม่ได้มีความสำคัญแต่ประการใด ความสำคัญอยู่ตรงที่การกำหนดอารมณ์ในการเพ่งที่มีความแตกต่างกัน
การเพ่งเตโชกสิณนั้นมุ่งเอาไฟเป็นอารมณ์ ไม่ถือเอาแสงสว่างเป็นอารมณ์ ดังที่ได้ตั้งความสังเกตไว้แต่ก่อนแล้ว ส่วนการเพ่งอาโลกกสิณถือเอาความสว่างเป็นอารมณ์ ไม่ถือเอาสีหรือความร้อนเย็นเป็นอารมณ์ ความต่างที่เป็นประการสำคัญอยู่ตรงนี้
เมื่อเตรียมวงกสิณแล้วก็ทำการฝึกฝนปฏิบัติเพ่งกสิณนั้นจนเกิดเป็นอุคหนิมิต แล้วกระทำให้เป็นปฏิภาคนิมิต โดยสามารถสัมผัสรับรู้ได้ถึงภาวะของจิตในประการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
อาโลกกสิณแม้ว่าจะมีความประณีตละเอียดอ่อน แต่ที่หมายปลายทางเบื้องต้นนั้นก็คือการกระทำอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต เช่นเดียวกับกสิณวิธีอื่น ๆ นั่นเอง
สำหรับผู้ที่ฝึกฝนปฏิบัติจนมีความชำนาญดีแล้วก็ไม่จำต้องจัดเตรียมวงกสิณอีกต่อไป สามารถกำหนดเอาแสงสว่างที่มีอยู่ในธรรมชาติกำหนดเป็นอารมณ์ในการเพ่งกสิณกระทำเป็นอุคหนิมิตและกระทำปฏิภาคนิมิตได้
เช่น เมื่อเห็นแสงดวงอาทิตย์ แสงพระจันทร์ แสงไฟ แสงสะท้อนหรือความสว่างใด ๆ ก็สามารถกำหนดเป็นอารมณ์สร้างความสว่างเป็นวงกสิณในมโนภาพ แล้วกระทำเป็นอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตได้
และเมื่อมีความชำนาญมากขึ้นไปอีก ก็สามารถกำหนดความสว่างเป็นอารมณ์ได้ในทุกที่ทุกเวลา แม้ในยามหลับตา
ในการกระทำอุคหนิมิตของอาโลกกสิณนั้น ความสว่างจะเป็นความสว่างที่มีลักษณะนวลตา เย็นใจ ไม่ร้อนแสบ หรือร้อนแบบแผดเผา หรือเคืองนัยน์ตาทั้งนัยน์ตานอกและนัยน์ตาใน เป็นความสว่างเช่นเดียวกับที่ปรากฏในฝันหรือนิมิตของบางกรณี ที่มีแสงสว่างแต่จะเป็นกลางวันก็ไม่ใช่ กลางคืนก็ไม่ใช่
ยิ่งมีความชำนาญมากขึ้นเท่าใด อุคหนิมิตของอาโลกกสิณก็จะยิ่งมีความนวลผ่องเย็นตา สบายอารมณ์มากขึ้นทุกที และจะเกิดความสุขกายสุขใจชนิดที่ไม่เคยพบมาก่อน และอาจก่อเกิดเป็นมายาภาพที่ต้องสละละถอนโดยวิธีการดังที่ได้พรรณนามาแล้ว
ในการกระทำปฏิภาคนิมิตของอาโลกกสิณนั้น ความสว่างที่เป็นวงกสิณในอุคหนิมิตจะถูกแผ่ขยายเป็นปริมณฑลกว้างหาที่สุดมิได้ ทั้งข้างบนก็ดี ทั้งเบื้องล่างก็ดี ทั้งในทิศต่าง ๆ ก็ดี แม้กระทั่งแผ่ปกคลุมไปทั้งจักรวาล หรือแม้กระทั่งจะกำหนดให้ย่อย่นลงเหลือแต่เป็นความสว่างแค่ปลายเข็มก็ได้
กำลังของจิตที่ก่อตัวพัฒนาไปในการปฏิบัติอาโลกกสิณนั้นจะเป็นพลังที่ไร้สภาพ ยิ่งกว่ากำลังของจิตที่ก่อตัวขึ้นจากกสิณวิธีอื่น ๆ คือแม้จะไร้สภาพและบางเบายิ่งนัก แต่กลับมีความหนักหน่วงและมีอานุภาพยิ่งนักด้วย
อาโลกกสิณมีอานิสงส์ 8 ประการอย่างเดียวกันกับโอทาตกสิณ นี่เป็นอานิสงส์เฉพาะที่มีพรรณนามาในคัมภีร์วิมุตติมรรค แต่สำหรับคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นพรรณนาว่าเป็นอย่างเดียวกันกับนีลกสิณ
ในที่นี้พึงตั้งข้อสังเกตในการรับรู้สัมผัสกับอานิสงส์เฉพาะของอาโลกกสิณว่า การฝึกฝนอบรมปฏิบัติจริงและประสบการณ์ของผู้ที่ฝึกฝนอบรมปฏิบัติอาโลกกสิณแล้ว อานิสงส์เฉพาะจะปรากฏหรือกระทำได้อย่างเดียวกันกับโอทาตกสิณ
อานิสงส์ของอาโลกกสิณในการกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และวิชชา เป็นไปในทางบุญฤทธิ์ ให้ผลมาก และมีอานิสงส์มาก จึงพึงตั้งเป็นข้อสังเกตพิเศษว่าไม่เพียงแต่จะมีอานิสงส์เฉพาะในส่วนที่ทำให้กำลังอำนาจของจิตเพิ่มพูนขึ้นเท่านั้น ยังจะส่งเสริมแรงหนุนของปัญญาให้ก่อตัวเร็ว และเพิ่มพูนมากขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย
เพราะเป็นกสิณวิธีที่เกี่ยวกับแสง เกี่ยวกับความสว่าง ซึ่งมีปริมณฑลมาก มีปริมณฑลกว้าง และมีผลต่อความรู้สึกของคน สัตว์ และพืช จึงสามารถยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นจากอานิสงส์เฉพาะสุดที่จะประมาณได้
ทั้งมีความแคล่วคล่องว่องไว มีความรวดเร็วสุดจะคณานับ อันเป็นผลอานิสงส์เฉพาะ เพราะเกี่ยวเนื่องกับแสงหรือความสว่าง
ในพระสูตรแสดงไว้ว่าเมื่อครั้งที่พระโมกคัลลานะไปโปรดเมืองนรกนั้นก็ได้อาศัยอานิสงส์อาโลกกสิณในการเปิดยมโลกและทำให้พระโมกคัลลานะรู้เห็นความเป็นไปในยมโลกได้กระจ่างแจ้ง
พระอรรถคถาจารย์ทั้งหลายจึงได้สรรเสริญอาโลกกสิณว่ามีอานิสงส์ใหญ่หลวงที่สุด ในการส่งเสริมทิพยจักษุและบรรดาพระสาวกที่เป็นเลิศทางทิพยจักษุนั้นล้วนชำนาญหรือมีอัชฌาสัยในการเจริญอาโลกกสิณทั้งสิ้น
อนึ่ง อาโลกกสิณนี้เป็นกสิณวิธีที่ยังมีความสับสนในทางปริยัติมากมาย ดังที่ได้แสดงมาข้างต้นนั้นส่วนหนึ่งแล้ว นอกจากนั้นยังมีความสับสนถึงขนาดที่บางสำนักหรือครูบาอาจารย์บางท่านวินิจฉัยว่าอาโลกกสิณก็คือวิญญาณกสิณ เพราะเป็นกสิณที่ไม่มีรูปหรืออรูปกสิณ ดังเช่นที่ปรากฏในหนังสือทิพยอำนาจของท่านเจ้าคุณเส็งหรือพระอริยคุณาธารเป็นต้น
ขออย่าได้ให้ความสนใจกับความแตกต่างทางสมมติหรือถ้อยคำในทางปริยัตินั้นเลย จะเกิดความสับสนวุ่นวายไปเปล่า ๆ เอาไว้เมื่อถึงขั้นตอนที่ปฏิบัติไปถึงขั้นนั้นแล้ว ก็จะรู้เห็นได้ด้วยตนเองไม่ยาก ไม่ลำบาก ดังนั้นในชั้นนี้เอาแต่เพียงว่าการฝึกฝนปฏิบัติกสิณวิธีแบบอาโลกกสิณนั้นก็คือการใช้แสงสว่างเป็นตัวกำหนดอารมณ์ในการเพ่งกสิณก็เป็นพอ
ในส่วนของอากาสกสิณและวิญญาณกสิณซึ่งรวมกันอยู่ในกสิณวิธีเรื่องปริจฉินนากาสกสิณซึ่งเนื่องกันอยู่กับเรื่องนี้ จักได้พรรณนาในตอนต่อไป
นอกจากจะมีความละเอียดอ่อนประณีตแล้ว ยังมีความสับสนในทางทฤษฎีกันอยู่ เพราะในคัมภีร์หลักในพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มีพรรณนาไว้ต่างกัน
ในคัมภีร์วิมุตติมรรคได้แสดงอาโลกกสิณไว้อย่างหนึ่ง แล้วแสดงปริจฉินนากาส กสิณไว้อีกอย่างหนึ่ง โดยในปริจฉินนากาสกสิณนั้นได้จำแนกย่อยออกเป็นอากาศกสิณชนิดหนึ่ง และวิญญาณกสิณอีกชนิดหนึ่ง
ในขณะที่คัมภีร์วิสุทธิมรรคได้แสดงอาโลกกสิณไว้เป็นลำดับที่ 9 และปริจฉินนากาสกสิณไว้เป็นลำดับที่ 10 โดยในปริจฉินนากาสกสิณนั้นได้พรรณนาเฉพาะอากาส กสิณไว้เพียงอย่างเดียว
คัมภีร์ทั้งสองนี้เป็นคัมภีร์หลักของสำนักใหญ่ในลังกามาแต่ก่อน และส่วนนี้ก็คือส่วนที่แตกต่างกันและทำให้มีข้อโต้แย้งทางทฤษฎีระหว่างทั้งสองสำนักนั้นมาแต่โบราณกาล
สำหรับประเทศไทยของเรา ได้รับเอาคัมภีร์วิสุทธิมรรคมาเป็นคัมภีร์หลักในการสอนพระพุทธศาสนา เพิ่งมาเมื่อระยะ 40-50 ปีมานี้ จึงมีการแปลคัมภีร์วิมุตติมรรคเป็นภาษาอังกฤษ และมาแปลเป็นภาษาไทยเมื่อ พ.ศ. 2538 ทำให้เกิดการตื่นเต้นกันเป็นโกลาหลว่าเป็นคัมภีร์ดั้งเดิมแท้ และสามารถเป็นคู่มือปฏิบัติได้แท้จริงยิ่งกว่าคัมภีร์วิสุทธิมรรค
แม้ท่านเจ้าคุณพุทธทาสก็ได้ให้คำรับรองว่าคัมภีร์วิมุตติมรรคนั้นมีความสำคัญยิ่งกว่าคัมภีร์วิสุทธิมรรค
ดังนั้นการศึกษาพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะการปฏิบัติกัมมัฏฐานเกี่ยวกับกสิณวิธีนั้นจึงถือคติตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค โดยนอกจากกสิณวิธี 8 วิธีที่เหมือนกันแล้ว อีก 2 วิธีที่เหลือคงถือเอาอาโลกกสิณและปริจฉินนากาสกสิณหรืออากาสกสิณเท่านั้น
แต่ในที่นี้เพื่อให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์และสอดคล้องกับอัชฌาสัยของเวไนยสัตว์ซึ่งยังมีอยู่มากหลาย จึงจักแสดงให้ครบถ้วนทั้งสองกสิณวิธีหลักที่เหลือ โดยแยกย่อยปริจฉินนากาสกสิณเป็นอากาสกสิณวิธีหนึ่ง และวิญญาณกสิณอีกวิธีหนึ่ง
ความประณีตละเอียดอ่อนของกสิณวิธีที่เหลือดังกล่าวนี้ก็ทำนองเดียวกับที่ได้พรรณนามาเกี่ยวกับวาโยกสิณแล้ว คือ ไม่มีวัตถุธาตุที่จะจับต้องมองเห็นได้ด้วยตา แต่สามารถรับรู้สัมผัสได้ ดังนั้นผู้ที่มีอัชฌาสัยคุ้นเคยชอบพอกับกสิณวิธีดังกล่าวจึงเหมาะสมแก่การที่จะนำไปอบรมศึกษาปฏิบัติในการอบรมบ่มเพาะจิตของตน
ทั้งคัมภีร์วิมุตติมรรคและคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้พรรณนาอาโลกกสิณเป็นอย่างเดียวกัน คือเป็นกสิณวิธีที่ถือเอาความสว่างเป็นอารมณ์ในการเพ่งกสิณ
ความสว่างดังกล่าวนั้นมีทั้งความสว่างที่จัดเตรียมขึ้นเพื่อการเพ่งกสิณโดยเฉพาะ กับความสว่างที่มีอยู่ในธรรมชาติ สำหรับผู้ศึกษาปฏิบัติใหม่จะต้องใช้ความสว่างที่จัดเตรียมขึ้น แต่เมื่อฝึกฝนจนมีความชำนาญดีแล้ว ก็ย่อมใช้ความสว่างในธรรมชาตินั้นได้ไม่ยากไม่ลำบาก
ในการเพ่งกสิณวิธีนี้ก็เหมือนกับวิธีอื่น ๆ ดังได้แสดงมาแล้ว คือเพ่งเพื่อกำหนดเป็นมโนภาพขึ้นเป็นอุคหนิมิตเป็นขั้นตอนแรก แล้วกระทำเป็นปฏิภาคนิมิตในขั้นตอนที่สอง วิธีการ กระบวนการและภาวะของจิตในการสร้างมโนภาพ ในการกระทำอุคหนิมิต และในการกระทำปฏิภาคนิมิตของอาโลกกสิณก็เป็นอย่างเดียวกันกับกสิณวิธีที่ได้พรรณนามาแต่ก่อนแล้ว
เพราะเหตุที่ความสว่างไร้ขอบเขตและหาปริมณฑลที่แน่นอนได้ยาก ดังนั้นสำหรับผู้ฝึกฝนอบรมปฏิบัติใหม่จึงต้องจัดเตรียมวงกสิณเพื่อให้เห็นความสว่างที่มีขนาดขอบเขตและความชัดเจน ทำนองเดียวกับการจัดเตรียมวงกสิณอื่น ๆ
วิธีจัดเตรียมวงกสิณเพื่อให้เกิดแสงสว่างสุดแท้แต่จะจัดทำตามความสะดวกหรือตามที่จะสามารถจัดทำได้ในแต่ละแห่ง แต่ให้เป็นดังตัวอย่างคือให้มีฝาหรือกำแพงหรือผืนแผ่นอย่างใดอย่างหนึ่งที่สามารถรองรับแสงสว่างได้
ส่วนการทำให้เกิดแสงสว่างนั้นกระทำได้สองวิธี คือ
วิธีแรก การทำให้เกิดแสงสว่างโดยการสะท้อน เช่น การเอาน้ำใส่ในภาชนะที่มีปากขอบเท่ากับวงกสิณอื่น ๆ แล้วตั้งภาชนะที่บรรจุน้ำนั้นไว้ในท่ามกลางแสงอาทิตย์ วางมุมให้เกิดแสงสะท้อนจากน้ำบนขอบปากภาชนะนั้นไปยังกำแพง ผนัง ฝา หรือผืนแผ่นใด ๆ ที่ตั้งรอรับไว้
วิธีที่สอง การเจาะรูที่กำแพง ฝา หรือแผ่นพื้นใด ๆ มีขนาดเท่ากับวงกสิณดังทีได้พรรณนามาแล้ว และให้แสงสว่างโดยเฉพาะแสงสว่างจากดวงอาทิตย์สาดผ่านรูที่เจาะเป็นวงกสิณไว้นั้นไปกระทบกับฝา หรือพื้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะปรากฏเป็นความสว่างเป็นวงกสิณ
พึงตั้งข้อสังเกตว่าวิธีการจัดเตรียมวงกสิณของอาโลกกสิณนั้นเกือบจะเหมือนหรือคล้ายคลึงกับการจัดเตรียมวงกสิณในการทำเตโชกสิณ ซึ่งความต่างตรงนี้ไม่ได้มีความสำคัญแต่ประการใด ความสำคัญอยู่ตรงที่การกำหนดอารมณ์ในการเพ่งที่มีความแตกต่างกัน
การเพ่งเตโชกสิณนั้นมุ่งเอาไฟเป็นอารมณ์ ไม่ถือเอาแสงสว่างเป็นอารมณ์ ดังที่ได้ตั้งความสังเกตไว้แต่ก่อนแล้ว ส่วนการเพ่งอาโลกกสิณถือเอาความสว่างเป็นอารมณ์ ไม่ถือเอาสีหรือความร้อนเย็นเป็นอารมณ์ ความต่างที่เป็นประการสำคัญอยู่ตรงนี้
เมื่อเตรียมวงกสิณแล้วก็ทำการฝึกฝนปฏิบัติเพ่งกสิณนั้นจนเกิดเป็นอุคหนิมิต แล้วกระทำให้เป็นปฏิภาคนิมิต โดยสามารถสัมผัสรับรู้ได้ถึงภาวะของจิตในประการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
อาโลกกสิณแม้ว่าจะมีความประณีตละเอียดอ่อน แต่ที่หมายปลายทางเบื้องต้นนั้นก็คือการกระทำอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต เช่นเดียวกับกสิณวิธีอื่น ๆ นั่นเอง
สำหรับผู้ที่ฝึกฝนปฏิบัติจนมีความชำนาญดีแล้วก็ไม่จำต้องจัดเตรียมวงกสิณอีกต่อไป สามารถกำหนดเอาแสงสว่างที่มีอยู่ในธรรมชาติกำหนดเป็นอารมณ์ในการเพ่งกสิณกระทำเป็นอุคหนิมิตและกระทำปฏิภาคนิมิตได้
เช่น เมื่อเห็นแสงดวงอาทิตย์ แสงพระจันทร์ แสงไฟ แสงสะท้อนหรือความสว่างใด ๆ ก็สามารถกำหนดเป็นอารมณ์สร้างความสว่างเป็นวงกสิณในมโนภาพ แล้วกระทำเป็นอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตได้
และเมื่อมีความชำนาญมากขึ้นไปอีก ก็สามารถกำหนดความสว่างเป็นอารมณ์ได้ในทุกที่ทุกเวลา แม้ในยามหลับตา
ในการกระทำอุคหนิมิตของอาโลกกสิณนั้น ความสว่างจะเป็นความสว่างที่มีลักษณะนวลตา เย็นใจ ไม่ร้อนแสบ หรือร้อนแบบแผดเผา หรือเคืองนัยน์ตาทั้งนัยน์ตานอกและนัยน์ตาใน เป็นความสว่างเช่นเดียวกับที่ปรากฏในฝันหรือนิมิตของบางกรณี ที่มีแสงสว่างแต่จะเป็นกลางวันก็ไม่ใช่ กลางคืนก็ไม่ใช่
ยิ่งมีความชำนาญมากขึ้นเท่าใด อุคหนิมิตของอาโลกกสิณก็จะยิ่งมีความนวลผ่องเย็นตา สบายอารมณ์มากขึ้นทุกที และจะเกิดความสุขกายสุขใจชนิดที่ไม่เคยพบมาก่อน และอาจก่อเกิดเป็นมายาภาพที่ต้องสละละถอนโดยวิธีการดังที่ได้พรรณนามาแล้ว
ในการกระทำปฏิภาคนิมิตของอาโลกกสิณนั้น ความสว่างที่เป็นวงกสิณในอุคหนิมิตจะถูกแผ่ขยายเป็นปริมณฑลกว้างหาที่สุดมิได้ ทั้งข้างบนก็ดี ทั้งเบื้องล่างก็ดี ทั้งในทิศต่าง ๆ ก็ดี แม้กระทั่งแผ่ปกคลุมไปทั้งจักรวาล หรือแม้กระทั่งจะกำหนดให้ย่อย่นลงเหลือแต่เป็นความสว่างแค่ปลายเข็มก็ได้
กำลังของจิตที่ก่อตัวพัฒนาไปในการปฏิบัติอาโลกกสิณนั้นจะเป็นพลังที่ไร้สภาพ ยิ่งกว่ากำลังของจิตที่ก่อตัวขึ้นจากกสิณวิธีอื่น ๆ คือแม้จะไร้สภาพและบางเบายิ่งนัก แต่กลับมีความหนักหน่วงและมีอานุภาพยิ่งนักด้วย
อาโลกกสิณมีอานิสงส์ 8 ประการอย่างเดียวกันกับโอทาตกสิณ นี่เป็นอานิสงส์เฉพาะที่มีพรรณนามาในคัมภีร์วิมุตติมรรค แต่สำหรับคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นพรรณนาว่าเป็นอย่างเดียวกันกับนีลกสิณ
ในที่นี้พึงตั้งข้อสังเกตในการรับรู้สัมผัสกับอานิสงส์เฉพาะของอาโลกกสิณว่า การฝึกฝนอบรมปฏิบัติจริงและประสบการณ์ของผู้ที่ฝึกฝนอบรมปฏิบัติอาโลกกสิณแล้ว อานิสงส์เฉพาะจะปรากฏหรือกระทำได้อย่างเดียวกันกับโอทาตกสิณ
อานิสงส์ของอาโลกกสิณในการกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และวิชชา เป็นไปในทางบุญฤทธิ์ ให้ผลมาก และมีอานิสงส์มาก จึงพึงตั้งเป็นข้อสังเกตพิเศษว่าไม่เพียงแต่จะมีอานิสงส์เฉพาะในส่วนที่ทำให้กำลังอำนาจของจิตเพิ่มพูนขึ้นเท่านั้น ยังจะส่งเสริมแรงหนุนของปัญญาให้ก่อตัวเร็ว และเพิ่มพูนมากขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย
เพราะเป็นกสิณวิธีที่เกี่ยวกับแสง เกี่ยวกับความสว่าง ซึ่งมีปริมณฑลมาก มีปริมณฑลกว้าง และมีผลต่อความรู้สึกของคน สัตว์ และพืช จึงสามารถยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นจากอานิสงส์เฉพาะสุดที่จะประมาณได้
ทั้งมีความแคล่วคล่องว่องไว มีความรวดเร็วสุดจะคณานับ อันเป็นผลอานิสงส์เฉพาะ เพราะเกี่ยวเนื่องกับแสงหรือความสว่าง
ในพระสูตรแสดงไว้ว่าเมื่อครั้งที่พระโมกคัลลานะไปโปรดเมืองนรกนั้นก็ได้อาศัยอานิสงส์อาโลกกสิณในการเปิดยมโลกและทำให้พระโมกคัลลานะรู้เห็นความเป็นไปในยมโลกได้กระจ่างแจ้ง
พระอรรถคถาจารย์ทั้งหลายจึงได้สรรเสริญอาโลกกสิณว่ามีอานิสงส์ใหญ่หลวงที่สุด ในการส่งเสริมทิพยจักษุและบรรดาพระสาวกที่เป็นเลิศทางทิพยจักษุนั้นล้วนชำนาญหรือมีอัชฌาสัยในการเจริญอาโลกกสิณทั้งสิ้น
อนึ่ง อาโลกกสิณนี้เป็นกสิณวิธีที่ยังมีความสับสนในทางปริยัติมากมาย ดังที่ได้แสดงมาข้างต้นนั้นส่วนหนึ่งแล้ว นอกจากนั้นยังมีความสับสนถึงขนาดที่บางสำนักหรือครูบาอาจารย์บางท่านวินิจฉัยว่าอาโลกกสิณก็คือวิญญาณกสิณ เพราะเป็นกสิณที่ไม่มีรูปหรืออรูปกสิณ ดังเช่นที่ปรากฏในหนังสือทิพยอำนาจของท่านเจ้าคุณเส็งหรือพระอริยคุณาธารเป็นต้น
ขออย่าได้ให้ความสนใจกับความแตกต่างทางสมมติหรือถ้อยคำในทางปริยัตินั้นเลย จะเกิดความสับสนวุ่นวายไปเปล่า ๆ เอาไว้เมื่อถึงขั้นตอนที่ปฏิบัติไปถึงขั้นนั้นแล้ว ก็จะรู้เห็นได้ด้วยตนเองไม่ยาก ไม่ลำบาก ดังนั้นในชั้นนี้เอาแต่เพียงว่าการฝึกฝนปฏิบัติกสิณวิธีแบบอาโลกกสิณนั้นก็คือการใช้แสงสว่างเป็นตัวกำหนดอารมณ์ในการเพ่งกสิณก็เป็นพอ
ในส่วนของอากาสกสิณและวิญญาณกสิณซึ่งรวมกันอยู่ในกสิณวิธีเรื่องปริจฉินนากาสกสิณซึ่งเนื่องกันอยู่กับเรื่องนี้ จักได้พรรณนาในตอนต่อไป