ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - เปิดผลศึกษา "การจัดระเบียบนากุ้งในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา" ระบุต้องใช้งบฯสูงถึงเกือบ 3.7 พันล้านทำ 123 โครงการ เพื่อแก้วิกฤตสิ่งแวดล้อม เผยมีแผนให้ปัดฝุ่นอภิมหาโปรเจกต์ "เขื่อนกั้นทะเลสาบ" ที่มากมายไปด้วยความขัดแย้งยาวนานหลายสิบปี
รศ.ดร.บัญชา สมบูรณ์สุข ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยระบบเกษตร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ในฐานะหัวหน้าโครงการจัดรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการนากุ้งและผู้ได้รับผลกระทบ : กรณีจัดระเบียบนากุ้งในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เปิดเผย "ผู้จัดการรายวัน" ว่า ขณะนี้การทำงานได้เดินมาสู่ขั้นตอนสุดท้าย คือ อยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ และคาดว่าจะส่งมอบได้ภายในเดือน เมษายน
จากการศึกษาพบว่า ขณะนี้พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลากำลังเกิดวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะน้ำทิ้งจากอาคารบ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรม แต่ที่ผ่านมานากุ้งมักจะตกเป็นจำเลยมาโดยตลอด แต่ก็ยอมรับว่า ในความเป็นจริงนากุ้งก็ถือว่ามีส่วนอย่างสำคัญ ในการสร้างปัญหาด้วย โดยเฉพาะสภาพเศรษฐกิจ เป็นตัวเร่งเร้าให้ผู้ประกอบการจำนวนมากมักง่าย ขาดความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม
รอ "บอร์ดทะเลสาบ" พิจารณา
ผอ.ศูนย์วิจัยระบบเกษตร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มอ.กล่าวว่า โครงการนี้ตนได้รับการว่าจ้างจากคณะอนุกรรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของประชาชนและประชาสัมพันธ์ ในคณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (บอร์ด) ในวงเงิน 2 ล้านบาท ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2547 ถึง 15 เมษายน 2548
"ตอนนี้คณะกรรมการพิจารณา ได้ผ่านร่างแผนและโครงการพัฒนาที่นำเสนอแล้ว รอเพียงบอร์ดประชุมรับทราบอีกครั้งก็จะถือว่าสิ้นสุดโครงการ" รศ.ดร.บัญชากล่าวและว่า
โดยได้ศึกษาพื้นที่การเพาะเลี้ยงกุ้งหนาแน่นในเขตลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาใน 8 อำเภอของ 2 จังหวัดคือ จ.สงขลารวม 8 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมือง สิงหนคร สทิงพระ กระแสสินธุ์ ระโนด หาดใหญ่ บางกล่ำ ควนเนียง และ จ.พัทลุงรวม 4 อำเภอคือ อ.เมือง เขาชัยสน บางแก้ว ปากพะยูน
เสนอทำ 123 โครงการ 3.7 พันล้าน
สำหรับกระบวนการทำงาน นอกจากเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์แล้ว ยังเน้นการเปิดเวทีการมีส่วนร่วมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เวทีย่อยที่ลงลึกในปัญหาและเทคนิคต่างๆ และการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งผู้เข้าร่วมล้วนเป็นผู้ประกอบการนากุ้ง ผู้ได้รับผลกระทบ และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการทำนากุ้งรวม 17 เวที 2,286 คน
"จากการศึกษาเราได้สรุปออกมาเป็นยุทธศาสตร์การแก้ปัญหานากุ้ง ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาด้วย โดยมีโครงการที่ควรได้รับการผลักดันอย่างเป็นรูปธรรมทั้งสิ้น 123 โครงการ วงเงินประมาณการที่เสนอ 3,699.5 ล้านบาท ซึ่งตัวเลขนี้ได้จากชาวบ้านที่เข้าร่วมเป็นหลัก หากจะทำโครงการเหล่านี้จริงๆ อาจจะต้องมีการศึกษาให้ละเอียดอีกครั้ง" รศ.ดร.บัญชากล่าว
เม็ดเงินกระจุกตัวอยู่ใน อ.ระโนด
เป็นที่น่าสังเกตว่า แผนและโครงการตามยุทธศาสตร์การแก้ปัญหานากุ้งที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เป็นโครงการที่อยู่ในพื้นที่ของ อ.ระโนดถึง 28 โครงการ วงเงินสูงถึง 3,508.4 ล้านบาท
ตามด้วย อ.ควนเนียง 8 โครงการ 80.9 ล้านบาท, อ.กระแสสินธุ์ 24 โครงการ 50.1 ล้านบาท, อ.หาดใหญ่ 7 โครงการ 27.5 ล้านบาท, อ.บางแก้ว 5 โครงการ 18 ล้านบาท, อ.สิงหนคร 7 โครงการ 15.7 ล้านบาท, อ.สทิงพระ 13 โครงการ 15.5 ล้านบาท, อ.ปากพะยูน 24 โครงการ 10.2 ล้านบาท, อ.เมืองสงขลา 3 โครงการ 7 ล้านบาท และ อ.บางกล่ำ 3 โครงการ 1.2 ล้านบาท
รศ.ดร.บัญชา สมบูรณ์สุข ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยระบบเกษตร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ในฐานะหัวหน้าโครงการจัดรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการนากุ้งและผู้ได้รับผลกระทบ : กรณีจัดระเบียบนากุ้งในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เปิดเผย "ผู้จัดการรายวัน" ว่า ขณะนี้การทำงานได้เดินมาสู่ขั้นตอนสุดท้าย คือ อยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ และคาดว่าจะส่งมอบได้ภายในเดือน เมษายน
จากการศึกษาพบว่า ขณะนี้พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลากำลังเกิดวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะน้ำทิ้งจากอาคารบ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรม แต่ที่ผ่านมานากุ้งมักจะตกเป็นจำเลยมาโดยตลอด แต่ก็ยอมรับว่า ในความเป็นจริงนากุ้งก็ถือว่ามีส่วนอย่างสำคัญ ในการสร้างปัญหาด้วย โดยเฉพาะสภาพเศรษฐกิจ เป็นตัวเร่งเร้าให้ผู้ประกอบการจำนวนมากมักง่าย ขาดความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม
รอ "บอร์ดทะเลสาบ" พิจารณา
ผอ.ศูนย์วิจัยระบบเกษตร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มอ.กล่าวว่า โครงการนี้ตนได้รับการว่าจ้างจากคณะอนุกรรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของประชาชนและประชาสัมพันธ์ ในคณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (บอร์ด) ในวงเงิน 2 ล้านบาท ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2547 ถึง 15 เมษายน 2548
"ตอนนี้คณะกรรมการพิจารณา ได้ผ่านร่างแผนและโครงการพัฒนาที่นำเสนอแล้ว รอเพียงบอร์ดประชุมรับทราบอีกครั้งก็จะถือว่าสิ้นสุดโครงการ" รศ.ดร.บัญชากล่าวและว่า
โดยได้ศึกษาพื้นที่การเพาะเลี้ยงกุ้งหนาแน่นในเขตลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาใน 8 อำเภอของ 2 จังหวัดคือ จ.สงขลารวม 8 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมือง สิงหนคร สทิงพระ กระแสสินธุ์ ระโนด หาดใหญ่ บางกล่ำ ควนเนียง และ จ.พัทลุงรวม 4 อำเภอคือ อ.เมือง เขาชัยสน บางแก้ว ปากพะยูน
เสนอทำ 123 โครงการ 3.7 พันล้าน
สำหรับกระบวนการทำงาน นอกจากเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์แล้ว ยังเน้นการเปิดเวทีการมีส่วนร่วมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เวทีย่อยที่ลงลึกในปัญหาและเทคนิคต่างๆ และการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งผู้เข้าร่วมล้วนเป็นผู้ประกอบการนากุ้ง ผู้ได้รับผลกระทบ และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการทำนากุ้งรวม 17 เวที 2,286 คน
"จากการศึกษาเราได้สรุปออกมาเป็นยุทธศาสตร์การแก้ปัญหานากุ้ง ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาด้วย โดยมีโครงการที่ควรได้รับการผลักดันอย่างเป็นรูปธรรมทั้งสิ้น 123 โครงการ วงเงินประมาณการที่เสนอ 3,699.5 ล้านบาท ซึ่งตัวเลขนี้ได้จากชาวบ้านที่เข้าร่วมเป็นหลัก หากจะทำโครงการเหล่านี้จริงๆ อาจจะต้องมีการศึกษาให้ละเอียดอีกครั้ง" รศ.ดร.บัญชากล่าว
เม็ดเงินกระจุกตัวอยู่ใน อ.ระโนด
เป็นที่น่าสังเกตว่า แผนและโครงการตามยุทธศาสตร์การแก้ปัญหานากุ้งที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เป็นโครงการที่อยู่ในพื้นที่ของ อ.ระโนดถึง 28 โครงการ วงเงินสูงถึง 3,508.4 ล้านบาท
ตามด้วย อ.ควนเนียง 8 โครงการ 80.9 ล้านบาท, อ.กระแสสินธุ์ 24 โครงการ 50.1 ล้านบาท, อ.หาดใหญ่ 7 โครงการ 27.5 ล้านบาท, อ.บางแก้ว 5 โครงการ 18 ล้านบาท, อ.สิงหนคร 7 โครงการ 15.7 ล้านบาท, อ.สทิงพระ 13 โครงการ 15.5 ล้านบาท, อ.ปากพะยูน 24 โครงการ 10.2 ล้านบาท, อ.เมืองสงขลา 3 โครงการ 7 ล้านบาท และ อ.บางกล่ำ 3 โครงการ 1.2 ล้านบาท