สังคมโลกทุกสังคมรวมทั้งสังคมไทย จะมีความพลวัตในตัวของมันเอง ทั้งนี้เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่า สังคมมนุษย์ไม่ใช่สังคมซึ่งหยุดแน่นิ่ง การเปลี่ยนแปลงทางปริมาณ เช่น การเพิ่มของประชากร ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของเนื้อหาที่สำคัญ เริ่มต้นจากความจำเป็นในเรื่องอุปโภคบริโภค ซึ่งจะนำไปสู่การผลิตที่เพิ่มขึ้น ปัญหาของสังคมที่ซับซ้อนและความขัดแย้งที่ทวีคูณก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางการเมือง การปกครองและการบริหาร จะเห็นได้ว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทางสังคมย่อมจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทางเศรษฐกิจ การเมืองและการปกครองบริหาร ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทางเศรษฐกิจ เช่น การค้นพบบ่อน้ำมัน การพบวิธีการผลิตโดยใช้เครื่องจักรไอน้ำ ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางสังคม เช่น ผู้ทำงานในโรงงานต้องมีความรู้และทักษะแตกต่างไปจากเดิม ขณะเดียวกันการจัดการทรัพยากร ความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ จะนำไปสู่การตั้งสหภาพ การต่อรองอำนาจทางการเมือง ประเด็นความขัดแย้งในเรื่องภาษีอากร กฎหมาย ฯลฯ ก็อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางการเมือง การปกครองและการบริหาร
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในทางการเมือง การปกครองและการบริหาร เช่น การล้มราชวงศ์ของฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 หรือรัสเซียในปี ค.ศ. 1917 ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางสังคมโดยคนกลุ่มใหม่จะเข้ามาครองอำนาจรัฐ ในกรณีของการปฏิวัติรัสเซียในปี ค.ศ. 1917 นั้น ส่งผลกระทบอย่างแรงต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจและระบบธุรกิจเปลี่ยนจากระบบเดิมไปสู่ระบบสังคมนิยม โดยมีการรวมศูนย์การวางแผนเศรษฐกิจจากส่วนกลาง ซึ่งส่งผลต่อการอุปโภคบริโภคอันเป็นมิติในทางสังคม ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้คือปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ
การเปลี่ยนแปลงในสามมิติดังกล่าวเบื้องต้น ยังมีผลโดยตรงต่อระบบความคิด กล่าวคือ เมื่อคนอยู่ในระบบการเมือง การปกครองบริหาร ระบบเศรษฐกิจและระบบสังคมหนึ่ง ก็จะมีระบบความคิดแบบหนึ่ง แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบดังกล่าวก็จะส่งผลถึงระบบความคิดเดิม และกลับกัน ระบบความคิดที่เปลี่ยนไปอาจจะเป็นแรงผลักดันไปสู่การกระทำที่พยายามเปลี่ยนระบบการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่าก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศสมีงานเขียนของนักคิดวิพากษ์วิจารณ์สังคมฝรั่งเศสภายใต้กษัตริย์หลุยส์ที่ 16 อย่างรุนแรง จนเกิดเป็นขบวนการล้มล้างระบบกษัตริย์ในยุคนั้น หรือในกรณีรัสเซียและจีนก็เริ่มจากการใช้ลัทธิความคิดมาร์กซิสต์มาเป็นตัวจักรสำคัญขับเคลื่อนกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงในสามมิติใหญ่ๆ เบื้องต้น
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ และระบบความคิด ก็ย่อมส่งผลต่อค่านิยม มาตรฐานความถูกความผิด ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อปทัสถานและพฤติกรรม ในส่วนนี้ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สิ่งที่น่าศึกษาก็คือ ตัวแปรใดเป็นตัวแปรนำที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความยากอยู่ที่ว่าจะไม่มีเพียงตัวแปรใดตัวแปรหนึ่ง แต่จะประกอบด้วยปฏิสัมพันธ์ของหลายตัวแปรที่กล่าวมาแล้วเบื้องต้น ในกรณีที่ต่างกันน้ำหนักของตัวแปรจะต่างกัน จึงต้องมองเฉพาะเจาะจงถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคแต่ละที่ จะพูดแบบเหวี่ยงแหว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากตัวแปรใดเป็นหลักนั้น สามารถจะพูดได้เฉพาะกรณีเจาะจงเท่านั้น ถ้าจะกล่าวอย่างกว้างๆ ตัวแปรต่างๆ ที่กล่าวมาล้วนแล้วแต่เป็นตัวแปรที่สำคัญโดยมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน แต่น้ำหนักตัวแปรใดจะมากหรือน้อย ณ สถานที่ใด และกาลเวลาใด ย่อมขึ้นกับกรณีเฉพาะเจาะจงของแต่ละกรณี
ในกรณีของสังคมไทยนั้น จะเห็นได้ว่า เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อปี 2310 นั้นตัวแปรที่สำคัญที่สุดคือตัวแปรที่เกิดจากสงครามนำมาโดยพม่า แต่ขณะเดียวกันตัวแปรที่ดึงสงครามเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาก็คือการเสื่อมทรุดของระบบการปกครองบริหาร ซึ่งมีการแยกชิงอำนาจกันโดยใช้กำลัง การขาดความจงรักภักดีต่อคนเผ่าเดียวกัน การบริหารที่สร้างความแปลกแยกระหว่างกรุงศรีอยุธยาและหัวเมือง ความวิปริตในทางปัญญาของผู้ปกครองบางคนบางกลุ่ม จนทำให้เกิดความอ่อนแอเปิดช่องให้ข้าศึกยกมาโจมตีได้
แต่บางครั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็เกิดจากความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อตัวแปรจากภายนอก ซึ่งท้าทายการอยู่รอดของระบบ เช่น กรณีของลัทธิล่าอาณานิคมในยุคล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะปฏิรูประเบียบบริหารราชการแผ่นดินในปี 2435 และการนำเทคโนโลยีรวมทั้งความคิดในเรื่องการปกครองบริหารแบบตะวันตกมาปรับใช้ ทำให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงจากระบบเดิมไปสู่ระบบใหม่ในระดับหนึ่ง ผลที่ตามมาคือการเปลี่ยนแปลงในทางโครงสร้างและกระบวนการในการปกครองบริหาร รวมทั้งระบบเศรษฐกิจอันเกิดจากการเพิ่มพูนของการส่งออกสินค้า ซึ่งมีผลมาจากการนำรถไฟมาใช้ในประเทศซึ่งเอื้ออำนวยต่อการขนส่งธัญพืชจากที่ต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย
มาในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง กระแสของการพัฒนาเศรษฐกิจจากเกษตรไปสู่อุตสาหกรรม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตเกิดขึ้นในสังคมไทย การเปลี่ยนแปลงในทางเศรษฐกิจดังกล่าวนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในด้านการเกิดชุมชนเมือง ระดับการศึกษาของประชาชน ความตื่นตัวทางการเมือง และผลสุดท้ายก็นำไปสู่เหตุการณ์ที่สำคัญคือเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 อันมีผลมาจนถึงปัจจุบันนี้ และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ยิ่งทวีคูณมากขึ้นเมื่อมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เหตุการณ์เมื่อ 17-20 พฤษภาคม 2535 หรือพฤษภาทมิฬนั้น สะท้อนถึงการแปรเปลี่ยนในทางเศรษฐกิจและสังคม จนทำให้ความพยายามที่จะนำระบบการเมืองแบบเก่าคือเผด็จการหรือกึ่งเผด็จการมาสถาปนาขึ้นในสังคมไทยอีกไม่สามารถจะกระทำได้
ในยุคโลกาภิวัตน์อันเป็นยุคของสังคมข่าวสารข้อมูล สังคมไทยไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงได้ การปฏิรูปการเมืองที่เกิดขึ้น การปรับตัวของระบบราชการ ความพยายามในการปฏิรูปการศึกษา ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นความพยายามที่จะตอบสนองต่อความพลวัตของสังคมโลกในยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสังคมไทยโดยตรง ผลกระทบดังกล่าวนี้ไม่มีทางที่ประเทศไทยและคนไทยจะหลีกเลี่ยงได้ ความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการปรับตัวย่อมขึ้นอยู่กับระบบและคุณภาพของคนในสังคม นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้นำ คุณภาพของการศึกษา ความสามารถที่จะเรียนรู้เพื่อการปรับตัว การเปลี่ยนแปลงจุดด้อยของวัฒนธรรม ฯลฯ แต่สิ่งที่แน่ๆ ก็คือ จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ในสังคมไทย อันเนื่องมาจากกระบวนการปรับตัวดังกล่าว
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในทางการเมือง การปกครองและการบริหาร เช่น การล้มราชวงศ์ของฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 หรือรัสเซียในปี ค.ศ. 1917 ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางสังคมโดยคนกลุ่มใหม่จะเข้ามาครองอำนาจรัฐ ในกรณีของการปฏิวัติรัสเซียในปี ค.ศ. 1917 นั้น ส่งผลกระทบอย่างแรงต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจและระบบธุรกิจเปลี่ยนจากระบบเดิมไปสู่ระบบสังคมนิยม โดยมีการรวมศูนย์การวางแผนเศรษฐกิจจากส่วนกลาง ซึ่งส่งผลต่อการอุปโภคบริโภคอันเป็นมิติในทางสังคม ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้คือปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ
การเปลี่ยนแปลงในสามมิติดังกล่าวเบื้องต้น ยังมีผลโดยตรงต่อระบบความคิด กล่าวคือ เมื่อคนอยู่ในระบบการเมือง การปกครองบริหาร ระบบเศรษฐกิจและระบบสังคมหนึ่ง ก็จะมีระบบความคิดแบบหนึ่ง แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบดังกล่าวก็จะส่งผลถึงระบบความคิดเดิม และกลับกัน ระบบความคิดที่เปลี่ยนไปอาจจะเป็นแรงผลักดันไปสู่การกระทำที่พยายามเปลี่ยนระบบการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่าก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศสมีงานเขียนของนักคิดวิพากษ์วิจารณ์สังคมฝรั่งเศสภายใต้กษัตริย์หลุยส์ที่ 16 อย่างรุนแรง จนเกิดเป็นขบวนการล้มล้างระบบกษัตริย์ในยุคนั้น หรือในกรณีรัสเซียและจีนก็เริ่มจากการใช้ลัทธิความคิดมาร์กซิสต์มาเป็นตัวจักรสำคัญขับเคลื่อนกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงในสามมิติใหญ่ๆ เบื้องต้น
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ และระบบความคิด ก็ย่อมส่งผลต่อค่านิยม มาตรฐานความถูกความผิด ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อปทัสถานและพฤติกรรม ในส่วนนี้ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สิ่งที่น่าศึกษาก็คือ ตัวแปรใดเป็นตัวแปรนำที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความยากอยู่ที่ว่าจะไม่มีเพียงตัวแปรใดตัวแปรหนึ่ง แต่จะประกอบด้วยปฏิสัมพันธ์ของหลายตัวแปรที่กล่าวมาแล้วเบื้องต้น ในกรณีที่ต่างกันน้ำหนักของตัวแปรจะต่างกัน จึงต้องมองเฉพาะเจาะจงถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคแต่ละที่ จะพูดแบบเหวี่ยงแหว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากตัวแปรใดเป็นหลักนั้น สามารถจะพูดได้เฉพาะกรณีเจาะจงเท่านั้น ถ้าจะกล่าวอย่างกว้างๆ ตัวแปรต่างๆ ที่กล่าวมาล้วนแล้วแต่เป็นตัวแปรที่สำคัญโดยมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน แต่น้ำหนักตัวแปรใดจะมากหรือน้อย ณ สถานที่ใด และกาลเวลาใด ย่อมขึ้นกับกรณีเฉพาะเจาะจงของแต่ละกรณี
ในกรณีของสังคมไทยนั้น จะเห็นได้ว่า เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อปี 2310 นั้นตัวแปรที่สำคัญที่สุดคือตัวแปรที่เกิดจากสงครามนำมาโดยพม่า แต่ขณะเดียวกันตัวแปรที่ดึงสงครามเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาก็คือการเสื่อมทรุดของระบบการปกครองบริหาร ซึ่งมีการแยกชิงอำนาจกันโดยใช้กำลัง การขาดความจงรักภักดีต่อคนเผ่าเดียวกัน การบริหารที่สร้างความแปลกแยกระหว่างกรุงศรีอยุธยาและหัวเมือง ความวิปริตในทางปัญญาของผู้ปกครองบางคนบางกลุ่ม จนทำให้เกิดความอ่อนแอเปิดช่องให้ข้าศึกยกมาโจมตีได้
แต่บางครั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็เกิดจากความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อตัวแปรจากภายนอก ซึ่งท้าทายการอยู่รอดของระบบ เช่น กรณีของลัทธิล่าอาณานิคมในยุคล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะปฏิรูประเบียบบริหารราชการแผ่นดินในปี 2435 และการนำเทคโนโลยีรวมทั้งความคิดในเรื่องการปกครองบริหารแบบตะวันตกมาปรับใช้ ทำให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงจากระบบเดิมไปสู่ระบบใหม่ในระดับหนึ่ง ผลที่ตามมาคือการเปลี่ยนแปลงในทางโครงสร้างและกระบวนการในการปกครองบริหาร รวมทั้งระบบเศรษฐกิจอันเกิดจากการเพิ่มพูนของการส่งออกสินค้า ซึ่งมีผลมาจากการนำรถไฟมาใช้ในประเทศซึ่งเอื้ออำนวยต่อการขนส่งธัญพืชจากที่ต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย
มาในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง กระแสของการพัฒนาเศรษฐกิจจากเกษตรไปสู่อุตสาหกรรม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตเกิดขึ้นในสังคมไทย การเปลี่ยนแปลงในทางเศรษฐกิจดังกล่าวนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในด้านการเกิดชุมชนเมือง ระดับการศึกษาของประชาชน ความตื่นตัวทางการเมือง และผลสุดท้ายก็นำไปสู่เหตุการณ์ที่สำคัญคือเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 อันมีผลมาจนถึงปัจจุบันนี้ และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ยิ่งทวีคูณมากขึ้นเมื่อมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เหตุการณ์เมื่อ 17-20 พฤษภาคม 2535 หรือพฤษภาทมิฬนั้น สะท้อนถึงการแปรเปลี่ยนในทางเศรษฐกิจและสังคม จนทำให้ความพยายามที่จะนำระบบการเมืองแบบเก่าคือเผด็จการหรือกึ่งเผด็จการมาสถาปนาขึ้นในสังคมไทยอีกไม่สามารถจะกระทำได้
ในยุคโลกาภิวัตน์อันเป็นยุคของสังคมข่าวสารข้อมูล สังคมไทยไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงได้ การปฏิรูปการเมืองที่เกิดขึ้น การปรับตัวของระบบราชการ ความพยายามในการปฏิรูปการศึกษา ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นความพยายามที่จะตอบสนองต่อความพลวัตของสังคมโลกในยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสังคมไทยโดยตรง ผลกระทบดังกล่าวนี้ไม่มีทางที่ประเทศไทยและคนไทยจะหลีกเลี่ยงได้ ความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการปรับตัวย่อมขึ้นอยู่กับระบบและคุณภาพของคนในสังคม นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้นำ คุณภาพของการศึกษา ความสามารถที่จะเรียนรู้เพื่อการปรับตัว การเปลี่ยนแปลงจุดด้อยของวัฒนธรรม ฯลฯ แต่สิ่งที่แน่ๆ ก็คือ จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ในสังคมไทย อันเนื่องมาจากกระบวนการปรับตัวดังกล่าว