“ทักษิณ” สั่งเบรก กฎหมายปฎิรูปที่ดิน ที่ “บิ๊กจิ๋ว” ดันเข้า ครม.นัดสุดท้าย เปิดช่องให้นายทุนฮุบที่หลวงเกินพันไร่ต่อไปได้ รื้อนิยามเกษตรกรใหม่ ไม่จำเป็นต้องยากจนอย่างเดียว แค่ปริญญาตรีด้านเกษตร หรือเป็นลูกเกษตรกรก็ครอบชครองที่ สปก.ได้ และยังสามารถโอนให้ได้ภายใน 5 ปีอีกด้วย
นายยุรนันท์ ภมรมนตรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลัการประชุม ครม. นัดสุดท้ายว่า ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ขอให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.)ถอนเรื่อง ร่าง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม และการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ พ.ศ. ฉบับแก้ไขใหม่ที่เสนอให้ ครม.เห็นชอบ โดยให้เหตุผลว่าให้นำไปพิจารณาประกอบกับการจัดทำภาพถ่ายทางอากาศที่ใช้ดาวเทียมสำรวจที่ดินและพื้นที่ป่าด้วย ไม่จำเป็นต้องเร่งรีบทำในขณะนี้
แหล่งข่าวในที่ประชุม ระบุว่าผู้ที่นำร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเข้ามาพิจารณาคือคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายปฏิรูปที่ดินที่มี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกฯเป็นประธาน โดยนายกฯได้กล่าวตัดบทระหว่างนายอดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ เลขาธิการ ส.ป.ก.กำลังชี้แจงเนื้อหาของกฎหมายฉบับดังกล่าว และขอให้ไปทำมาใหม่ เพราะมีหลายประเด็นที่หมิ่นเหม่ต่อการที่จะทำให้ที่ดินหลุดมือจากเกษตรกร หรือการเปิดให้มีการ ซื้อขายได้ รวมทั้งให้มีการโอนได้ภายใน 5 ปีจะทำให้รัฐบาลถูกโจมตีได้ว่า เป็นการทิ้งทวน โดยนายกฯอ้างว่ารัฐบาลกำลังทำเรื่องการจัดรูปที่ดินทั้งระบบอยู่ดังนั้นต้องทำในภาพรวมทั้งหมดเลยทีเดียว
นอกจากนี้นายเนวิน ชิดชอบ รมช.เกษตรฯได้ทักท้วงเช่นกันว่าไม่รู้เรื่องนี้ มาก่อนว่ากระทรวงเกษตรฯจะนำเสนอเรื่องนี้ เข้ามา แต่เคยห้ามก่อนหน้านี้แล้วว่า การแก้ไขกฎหมายฉบับนี้จะมีผลกระทบต่อรัฐบาลได้เพราะมีช่องโหว่ของกฎหมาย มากมาย เช่น การเปิดช่องให้นายทุนครองที่ดินของรัฐพันไร่หรือมากกว่าได้ โดยอ้างว่า ทำการเกษตร ทั้งนี้จะให้อำนาจ ส.ป.ก.ในการปฏิรูปที่ดินได้โดยไม่จำเป็นต้องประกาศเขตปฏิรูปที่ดินด้วย
รายงานข่าวแจ้งว่า ประเด็นสำคัญได้มีการแก้ไขด้วยการเปิดช่องให้นายทุน ที่บุกรุกที่ดินอยู่แล้วสามารถครอบครองที่ดินต่อไปได้ โดยกำหนดไว้ในมาตรา 25 ว่า ถ้าเจ้าของที่ดินรายใดมีความประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเอง ในที่ดินเกินกว่า 50 ไร่ หรือ 100 ไร่ ซึ่งครอบครองอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 กำหนดให้ยื่นคำร้องต่อพนักงาน และให รมว.เกษตรฯสามารถอนุญาตให้ทำการเกษตรต่อไปได้แต่ไม่เกิน 1 พันไร่ แต่หากผู้ครอบครองไม่ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดให้ ส.ป.ก.มีอำนาจจัดซื้อหรือเวนคืนได้
ร่างกฎหมายฉบับนี้กำหนดไว้อีกว่า ในกรณีที่เจ้าของที่ดินรายใดได้แสดงตนว่า ได้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินตนเองเกินกว่า 1 พันไร่อยู่แล้วไม่ต่ำกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินฯ พ.ศ.2518 ใช้บังคับและมีความประสงค์จะทำเกษตรต่อไป ให้คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตได้ โดยกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องลงทุนในกิจการด้านการเกษตรในจำนวนมากและการลงทุนนั้นเป็นการกระทำไปด้วยการส่งเสริมของรัฐ เป็นการประกอบการเพื่อพัฒนาวิทยาการเกษตรแผนใหม่ หรือเพื่อการใช้ในประเทศหรือส่งออก
นอกจากนั้น ในกรณีนี้กำหนดให้บุคคลนั้นประกอบกิจการในที่ดินเกินพันไร่ต่อไปได้หากมีการช่วยพัฒนาการเกษตร ช่วยเกษตรกรด้านปัจจัยการผลิต เพื่อส่งเสริมผลผลิตด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร และเป็นตลาดรับซื้อผลิตผลการเกษตรจากเกษตรกรโดยตรง แต่เมื่อพ้น 15 ปีไปแล้ว หากสถาบันเกษตรกรมีความต้องการและสามารถที่จะเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการนั้นเจ้าของที่ดิน ต้องยินยอมให้สถาบันเกษตรกรถือหุ้นได้ไม่น้อยกว่า 60 % ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
สำหรับเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้แก้ไขนิยามของคำว่า “เกษตรกรรม” และ “เกษตรกร” ใหม่ โดยระบุว่าเกษตรกรรมหมายถึงการทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำและกิจการอื่นตามที่ รมว.เกษตรฯกำหนด ขณะที่นิยามของเกษตรกร หมายถึงผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และให้หมายความรวมถึงบุคคล ผู้ยากจนหรือผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม หรือผู้เป็นบุตรหลานของเกษตรกร บรรดาซึ่งไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเอง และประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
นอกจากนั้นได้กำหนดให้มีองค์กรเกษตรกรที่หมายถึงกลุ่มหรือคณะของเกษตรกรที่มารวมกันเพื่อวัตถุประสงค์ในการประกอบเกษตรกรรมร่วมกันและเป็นนิติบุคคลเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก.ได้ด้วย ซึ่งประเด็นเหล่านี้ถูกทักท้วง อย่างรุนแรงว่า อาจจะเป็นการเปิดช่องให้รัฐบาลถูกโจมตีได้
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับร่าง พ.ร.บ.ปฏิรูปที่ดินดังกล่าวคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายปฎิรูปที่ดินที่มีพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวและมีความเห็นตั้งข้อสังเกต เพิ่มเติมประกอบการพิจารณาของ ครม. โดยระบุข้อเท็จจริงว่า
“ที่ดินของรัฐส่วนใหญ่ที่นำมาแก้ไขให้กับผู้ที่ขึ้นทะเบียนความยากจน อยู่ในความดูแลของ สปก. แต่บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมีข้อจำกัดเกี่ยวกับคุณสมบัติผู้ที่จะได้รับที่ดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดินเฉพาะ เพื่อการเกษตรกรรม ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของประเทศ นอกจากนั้นยังมีบทบัญญัติห้ามจำหน่าย จ่ายโอน ที่ดินตลอดไป เป็นอุปสรรคกีดกั้นการลงทุนซึ่งเทียบกับที่ดินของรัฐที่หน่วยงานอื่นดูแลและให้สิทธิทำกินแก่ประชาชนโดยมิได้มีข้อจำกัดเข้มงวดมากนัก จำเป็นต้องมีการแก้ไขปรับปรุงโดยด่วน โดยมีหลักการให้มีการแก้ไขกฎหมายปฎิรูปที่ดิน ทั้งฉบับ แยกการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในที่ดินเอกชนและการรับรองสิทธิในที่ดินของรัฐออกจากกันอย่างชัดเจน”
รายงานข่าวแจ้งว่า ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้พิจารณา ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวและได้เสนอความเห็นเพื่อพิจารณาดังนี้ กระทรวงการคลังเห็นชอบด้วยในหลักการและเห็นควรให้จัดตั้งกองทุนการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมขึ้น ใน สปก. และให้มีหน้าที่เก็บรักษาและเบิกจ่ายเงินกองทุน
ขณะที่กระทรวงมหาดไทยเห็นชอบในหลักการและพิจารณาเห็นว่า 1.การจัดที่ดินให้เกษตรกร สถาบันเกษตรกรได้เช่าซื้อ เช่า หรือเข้าทำประโยชน์โดยรัฐให้ความช่วยเหลือแล้วยังจัดให้บุคคลอื่นดำเนินการดังกล่าวได้ด้วยตามร่างม.37 และร่างม.53 และเมื่อครบกำหนด 5 ปี ก็สามารถโอนไปยังบุคคลอื่นได้ ตามร่างม.63 กรณีอาจเป็นการเอื้อประโยชน์แก่นายทุน หรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่เกษตรกร ทำให้ที่ดินของรัฐหมดไป
2.ตามร่างม.46 ของพ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นกรณที่จะมีผลกระทบต่อพลเมือง ที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน และหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลตาม กฎหมาย สมควรให้ใช้หลักการเดิมตามม.26(1) แห่งพ.ร.บ.ปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518
3.ก่อนที่สปก.จะนำที่ดินบริเวณที่มีพ.ร.ฎ.กำหนดเขตไว้เดิมมาดำเนินการ บริหาร จัดการ ตามร่างม.74 ควรจะได้มีการผ่านกระบวนการพิจารณาต่างๆร่างม.45 ก่อน
อย่างไรก็ตาม การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอ ครม.ชุดที่ 7 ที่นายวิษณุเป็นประธาน ได้มีมติว่าได้มีมติและมีข้อสังเกตดังนี้
1.การกำหนดคำนิยามตามร่างม.4 ให้ “องค์กรเกษตรกร” ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของเกษตรกรเป็นนิติบุคคลนั้นควรพิจารณาด้วยว่า เป็นนิติบุคคลรูปแบบใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เนื่องจากมิได้เป็น องค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยผลของกฎหมายและการกำหนดนิยามตามนัยดังกล่าว จะเป็นปัญหาในการพิจารณา เนื่องจากนิติบุคคลจะต้องมีการกำหนดวิธีการจัดตั้งและกฎหมายที่รองรับ
2.ร่าง ม.45 เปรียบเทียบกับ ม.26 แห่งพ.ร.บ.ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน เห็นว่าแนวคิดในการร่างต่างกันหากกำหนด ให้นำที่ดินของรัฐมาให้ประชาชนใช้ประโยชน์ตามแนวทางของม.45 จะเป็นปัญหา เนื่องจากการที่จะนำที่ดินของรัฐไปให้ประชาชนใช้ประโยชน์จะต้องดำเนินการ ตามที่ประชาชนใช้ประโยชน์ ซึ่งบทบัญญัติม.26 แห่งพ.ร.บ.การปฎิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มีความชัดเจนดีอยู่แล้ว
3.การกำหนดให้สปก.มีอำนาจย้ายผู้ถือครองที่ดินจากเขตหนึ่งไปอีกเขตหนึ่ง ตามร่าง ม.54 อาจเป็นปัญหาในทางปฎิบัติทำได้ลำบาก เนื่องจากจะเป็นการขัดแย้งกับการดำรงชีวิตของผู้ถือครองที่ดินในแต่ละพื้นที่ 4.การกำหนดให้ องค์กรปกครองท้องถิ่นร่วมดูแลบำรุงรักษา แสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ตามร่าง ม.56ควรคำนึงถึงความพร้อมขององค์กรปกครองท้องถิ่นด้วย
5.ตามร่างม.64 ที่กำหนดเกี่ยวกับการละทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน ควรจะต้องพิจารณากระบวนการดำเนินการในกรณีดังกล่าวอย่างรอบคอบ เนื่องจากที่ดินนั้นอยู่ในความดูแลของสปก.มิใช่การดำเนินการกับที่ดินทั่วไปตามนัยประมวลกฎหมายที่ดิน
นายยุรนันท์ ภมรมนตรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลัการประชุม ครม. นัดสุดท้ายว่า ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ขอให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.)ถอนเรื่อง ร่าง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม และการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ พ.ศ. ฉบับแก้ไขใหม่ที่เสนอให้ ครม.เห็นชอบ โดยให้เหตุผลว่าให้นำไปพิจารณาประกอบกับการจัดทำภาพถ่ายทางอากาศที่ใช้ดาวเทียมสำรวจที่ดินและพื้นที่ป่าด้วย ไม่จำเป็นต้องเร่งรีบทำในขณะนี้
แหล่งข่าวในที่ประชุม ระบุว่าผู้ที่นำร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเข้ามาพิจารณาคือคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายปฏิรูปที่ดินที่มี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกฯเป็นประธาน โดยนายกฯได้กล่าวตัดบทระหว่างนายอดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ เลขาธิการ ส.ป.ก.กำลังชี้แจงเนื้อหาของกฎหมายฉบับดังกล่าว และขอให้ไปทำมาใหม่ เพราะมีหลายประเด็นที่หมิ่นเหม่ต่อการที่จะทำให้ที่ดินหลุดมือจากเกษตรกร หรือการเปิดให้มีการ ซื้อขายได้ รวมทั้งให้มีการโอนได้ภายใน 5 ปีจะทำให้รัฐบาลถูกโจมตีได้ว่า เป็นการทิ้งทวน โดยนายกฯอ้างว่ารัฐบาลกำลังทำเรื่องการจัดรูปที่ดินทั้งระบบอยู่ดังนั้นต้องทำในภาพรวมทั้งหมดเลยทีเดียว
นอกจากนี้นายเนวิน ชิดชอบ รมช.เกษตรฯได้ทักท้วงเช่นกันว่าไม่รู้เรื่องนี้ มาก่อนว่ากระทรวงเกษตรฯจะนำเสนอเรื่องนี้ เข้ามา แต่เคยห้ามก่อนหน้านี้แล้วว่า การแก้ไขกฎหมายฉบับนี้จะมีผลกระทบต่อรัฐบาลได้เพราะมีช่องโหว่ของกฎหมาย มากมาย เช่น การเปิดช่องให้นายทุนครองที่ดินของรัฐพันไร่หรือมากกว่าได้ โดยอ้างว่า ทำการเกษตร ทั้งนี้จะให้อำนาจ ส.ป.ก.ในการปฏิรูปที่ดินได้โดยไม่จำเป็นต้องประกาศเขตปฏิรูปที่ดินด้วย
รายงานข่าวแจ้งว่า ประเด็นสำคัญได้มีการแก้ไขด้วยการเปิดช่องให้นายทุน ที่บุกรุกที่ดินอยู่แล้วสามารถครอบครองที่ดินต่อไปได้ โดยกำหนดไว้ในมาตรา 25 ว่า ถ้าเจ้าของที่ดินรายใดมีความประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเอง ในที่ดินเกินกว่า 50 ไร่ หรือ 100 ไร่ ซึ่งครอบครองอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 กำหนดให้ยื่นคำร้องต่อพนักงาน และให รมว.เกษตรฯสามารถอนุญาตให้ทำการเกษตรต่อไปได้แต่ไม่เกิน 1 พันไร่ แต่หากผู้ครอบครองไม่ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดให้ ส.ป.ก.มีอำนาจจัดซื้อหรือเวนคืนได้
ร่างกฎหมายฉบับนี้กำหนดไว้อีกว่า ในกรณีที่เจ้าของที่ดินรายใดได้แสดงตนว่า ได้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินตนเองเกินกว่า 1 พันไร่อยู่แล้วไม่ต่ำกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินฯ พ.ศ.2518 ใช้บังคับและมีความประสงค์จะทำเกษตรต่อไป ให้คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตได้ โดยกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องลงทุนในกิจการด้านการเกษตรในจำนวนมากและการลงทุนนั้นเป็นการกระทำไปด้วยการส่งเสริมของรัฐ เป็นการประกอบการเพื่อพัฒนาวิทยาการเกษตรแผนใหม่ หรือเพื่อการใช้ในประเทศหรือส่งออก
นอกจากนั้น ในกรณีนี้กำหนดให้บุคคลนั้นประกอบกิจการในที่ดินเกินพันไร่ต่อไปได้หากมีการช่วยพัฒนาการเกษตร ช่วยเกษตรกรด้านปัจจัยการผลิต เพื่อส่งเสริมผลผลิตด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร และเป็นตลาดรับซื้อผลิตผลการเกษตรจากเกษตรกรโดยตรง แต่เมื่อพ้น 15 ปีไปแล้ว หากสถาบันเกษตรกรมีความต้องการและสามารถที่จะเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการนั้นเจ้าของที่ดิน ต้องยินยอมให้สถาบันเกษตรกรถือหุ้นได้ไม่น้อยกว่า 60 % ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
สำหรับเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้แก้ไขนิยามของคำว่า “เกษตรกรรม” และ “เกษตรกร” ใหม่ โดยระบุว่าเกษตรกรรมหมายถึงการทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำและกิจการอื่นตามที่ รมว.เกษตรฯกำหนด ขณะที่นิยามของเกษตรกร หมายถึงผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และให้หมายความรวมถึงบุคคล ผู้ยากจนหรือผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม หรือผู้เป็นบุตรหลานของเกษตรกร บรรดาซึ่งไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเอง และประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
นอกจากนั้นได้กำหนดให้มีองค์กรเกษตรกรที่หมายถึงกลุ่มหรือคณะของเกษตรกรที่มารวมกันเพื่อวัตถุประสงค์ในการประกอบเกษตรกรรมร่วมกันและเป็นนิติบุคคลเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก.ได้ด้วย ซึ่งประเด็นเหล่านี้ถูกทักท้วง อย่างรุนแรงว่า อาจจะเป็นการเปิดช่องให้รัฐบาลถูกโจมตีได้
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับร่าง พ.ร.บ.ปฏิรูปที่ดินดังกล่าวคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายปฎิรูปที่ดินที่มีพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวและมีความเห็นตั้งข้อสังเกต เพิ่มเติมประกอบการพิจารณาของ ครม. โดยระบุข้อเท็จจริงว่า
“ที่ดินของรัฐส่วนใหญ่ที่นำมาแก้ไขให้กับผู้ที่ขึ้นทะเบียนความยากจน อยู่ในความดูแลของ สปก. แต่บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมีข้อจำกัดเกี่ยวกับคุณสมบัติผู้ที่จะได้รับที่ดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดินเฉพาะ เพื่อการเกษตรกรรม ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของประเทศ นอกจากนั้นยังมีบทบัญญัติห้ามจำหน่าย จ่ายโอน ที่ดินตลอดไป เป็นอุปสรรคกีดกั้นการลงทุนซึ่งเทียบกับที่ดินของรัฐที่หน่วยงานอื่นดูแลและให้สิทธิทำกินแก่ประชาชนโดยมิได้มีข้อจำกัดเข้มงวดมากนัก จำเป็นต้องมีการแก้ไขปรับปรุงโดยด่วน โดยมีหลักการให้มีการแก้ไขกฎหมายปฎิรูปที่ดิน ทั้งฉบับ แยกการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในที่ดินเอกชนและการรับรองสิทธิในที่ดินของรัฐออกจากกันอย่างชัดเจน”
รายงานข่าวแจ้งว่า ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้พิจารณา ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวและได้เสนอความเห็นเพื่อพิจารณาดังนี้ กระทรวงการคลังเห็นชอบด้วยในหลักการและเห็นควรให้จัดตั้งกองทุนการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมขึ้น ใน สปก. และให้มีหน้าที่เก็บรักษาและเบิกจ่ายเงินกองทุน
ขณะที่กระทรวงมหาดไทยเห็นชอบในหลักการและพิจารณาเห็นว่า 1.การจัดที่ดินให้เกษตรกร สถาบันเกษตรกรได้เช่าซื้อ เช่า หรือเข้าทำประโยชน์โดยรัฐให้ความช่วยเหลือแล้วยังจัดให้บุคคลอื่นดำเนินการดังกล่าวได้ด้วยตามร่างม.37 และร่างม.53 และเมื่อครบกำหนด 5 ปี ก็สามารถโอนไปยังบุคคลอื่นได้ ตามร่างม.63 กรณีอาจเป็นการเอื้อประโยชน์แก่นายทุน หรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่เกษตรกร ทำให้ที่ดินของรัฐหมดไป
2.ตามร่างม.46 ของพ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นกรณที่จะมีผลกระทบต่อพลเมือง ที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน และหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลตาม กฎหมาย สมควรให้ใช้หลักการเดิมตามม.26(1) แห่งพ.ร.บ.ปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518
3.ก่อนที่สปก.จะนำที่ดินบริเวณที่มีพ.ร.ฎ.กำหนดเขตไว้เดิมมาดำเนินการ บริหาร จัดการ ตามร่างม.74 ควรจะได้มีการผ่านกระบวนการพิจารณาต่างๆร่างม.45 ก่อน
อย่างไรก็ตาม การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอ ครม.ชุดที่ 7 ที่นายวิษณุเป็นประธาน ได้มีมติว่าได้มีมติและมีข้อสังเกตดังนี้
1.การกำหนดคำนิยามตามร่างม.4 ให้ “องค์กรเกษตรกร” ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของเกษตรกรเป็นนิติบุคคลนั้นควรพิจารณาด้วยว่า เป็นนิติบุคคลรูปแบบใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เนื่องจากมิได้เป็น องค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยผลของกฎหมายและการกำหนดนิยามตามนัยดังกล่าว จะเป็นปัญหาในการพิจารณา เนื่องจากนิติบุคคลจะต้องมีการกำหนดวิธีการจัดตั้งและกฎหมายที่รองรับ
2.ร่าง ม.45 เปรียบเทียบกับ ม.26 แห่งพ.ร.บ.ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน เห็นว่าแนวคิดในการร่างต่างกันหากกำหนด ให้นำที่ดินของรัฐมาให้ประชาชนใช้ประโยชน์ตามแนวทางของม.45 จะเป็นปัญหา เนื่องจากการที่จะนำที่ดินของรัฐไปให้ประชาชนใช้ประโยชน์จะต้องดำเนินการ ตามที่ประชาชนใช้ประโยชน์ ซึ่งบทบัญญัติม.26 แห่งพ.ร.บ.การปฎิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มีความชัดเจนดีอยู่แล้ว
3.การกำหนดให้สปก.มีอำนาจย้ายผู้ถือครองที่ดินจากเขตหนึ่งไปอีกเขตหนึ่ง ตามร่าง ม.54 อาจเป็นปัญหาในทางปฎิบัติทำได้ลำบาก เนื่องจากจะเป็นการขัดแย้งกับการดำรงชีวิตของผู้ถือครองที่ดินในแต่ละพื้นที่ 4.การกำหนดให้ องค์กรปกครองท้องถิ่นร่วมดูแลบำรุงรักษา แสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ตามร่าง ม.56ควรคำนึงถึงความพร้อมขององค์กรปกครองท้องถิ่นด้วย
5.ตามร่างม.64 ที่กำหนดเกี่ยวกับการละทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน ควรจะต้องพิจารณากระบวนการดำเนินการในกรณีดังกล่าวอย่างรอบคอบ เนื่องจากที่ดินนั้นอยู่ในความดูแลของสปก.มิใช่การดำเนินการกับที่ดินทั่วไปตามนัยประมวลกฎหมายที่ดิน