พบศพเหยื่อ"เรือล่ม"ที่พังงาอีก 2 ขณะที่กรมขนส่งทางน้ำแจ้งความ 2 พ่อลูกคนขับเรือ ข้อหาร่วมกันขับเรือโดยประมาททำให้ผู้อื่นเสียชีวิต และบรรทุกเกินที่กำหนด ด้านเจ้าท่าภูเก็ตคุมเข้มเรือโดยสารก่อนออกจากท่าทุกลำต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ล่าสุดปรับเรือทุกเกินน้ำหนักแล้ว 10,000 บาท 1 ลำ
ความคืบหน้าการค้นหาศพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์เรือโดยสารรุ่งโรจน์ล่ม ระหว่างแล่นจาก จ.ภูเก็ต ไปยังเกาะยาว จ.พังงา เมื่อวันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุดวานนี้ (7 มี.ค.) เจ้าหน้าที่พบศพผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีก 2 ราย โดยศพแรกพบเมื่อเวลา 09.30 น. คือ ด.ญ.ทิพรัตน์ ภิญโญ อายุ 14 ปี โดยศพลอยอยู่ในทะเลห่างจากจุดที่เกิดเหตุ 1.2 ไมล์ทะเล และเวลา 18.00น.พบอีก 1 ศพ คือ น.ส.จุรีรัตน์ มัชกุล อายุ 18 ปี โดยศพลอยไปอยู่ห่างบริเวณที่เกิดเหตุประมาณ 1.5 ไมล์ทะเล ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวเพิ่มเป็น 10 คน ส่วนเรือรุ่งโรจน์ หลังจากที่นักประดาน้ำกู้ขึ้นมาได้แล้ว เจ้าหน้าที่ได้ส่งให้ทาง สภ.อ.เกาะยาว จ.พังงาเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีกับเจ้าของและผู้ที่ขับเรือ
ขณะที่ พ.ต.อ.วีระศิลป์ ขวัญเซ่ง ผกก.สภ.อ.เกาะยาว กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินคดีกับคนขับเรือ รุ่งโรจน์ ว่า ขณะนี้กรมขนส่งทางน้ำจังหวัดภูเก็ตได้มาแจ้งความดำเนินคดี กับนายดล เริงสมุทร ในฐานะเจ้าของเรือ และนายวรากร เริงสมุทร คนขับเรือในข้อหาร่วมกันขับเรือโดยประมาททำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก และร่วมกันบรรทุกผู้โดยสารเกินอัตราที่กำหนด
หลังจากรับแจ้งความทางเจ้าหน้าทำรวจได้เชิญตัวคนขับเรือและเจ้าของเรือมารับทราบข้อหาและทำการสอบสวน แต่ทั้ง 2 คนให้การปฏิเสธทั้ง 2 ข้อหาและ ให้การว่าเหตุที่เรือนั้นเกิดจากพายุและคลื่นลมแรงไม่ได้เกิดจากการขับเรือโดยประมาทหรือบรรทุกน้ำหนักเกิน หลังจากนั้นญาติได้มาขอประกันตัวทั้ง 2 คนกลับไป
ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์เรือโดยสารรุ่งโรจน์ล่ม วานนี้สำนักงานขนส่งทางน้ำ ภูมิภาคที่ 5 สาขาภูเก็ต ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบความปลอดภัยการใช้เรือท่องเที่ยวอย่างเข้มงวด โดยเน้นในเรื่องความปลอดภัยทั้งเสื้อชูชีพ เรือยาง อุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารและการต่อใบอนุญาตจดทะเบียนเรือ จากการตรวจสอบพบว่า เรือท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์ในการดูแลความปลอดภัยพร้อมอยู่แล้ว มีเพียงเรือบางประเภทที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวนำมาดัดแปลงยังไม่ได้มาตรฐาน
นายสุรินทร์ ธีระกุลพิศุทธ์ หัวหน้าสำนักงานขนส่งทางน้ำภูมิภาคที่ 5 ภูเก็ต กล่าวว่า ได้จัดเจ้าที่ออกสุ่มตรวจตามท่าเรือต่างๆ เดือนละ 10 วัน จากที่เจ้าหน้าที่มีจำกัดเพียง 8 คน ซึ่งได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบและขอเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ในส่วนของลูกจ้างเพื่อประจำตามท่าเรือต่างๆ ท่าเรือละ 1-2 คน โดยเฉพาะท่าเรือสำคัญ เช่น อ่าวฉลอง บางโรง อ่าวปอ เป็นต้น
"ขอยืนยันว่าที่ผ่านมามีการออกตรวจโดยตลอดและได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์ แนะนำการเดินทางโดยทางเรือทุกท่าเรือ เช่น ต้องสวมเสื้อชูชีพ ไม่บรรทุกเกินน้ำหนักที่กำหนดไว้ เป็นต้น"นายสุรินทร์ กล่าว และว่าหลังจากนี้จะดำเนินการตรวจตราตามท่าเรืออย่างเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งโทษของผู้ฝ่าฝืนบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดมีโทษปรับ 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับในครั้งแรก ครั้งที่ 2 ปรับเพิ่มเป็น 2 เท่า และครั้งที่ 3 จะถอนใบอนุญาต และล่าสุดหลังเกิดเหตุได้มีการสั่งปรับเรือที่บรรทุกน้ำหนักเกินไปแล้ว 1 ลำ ในอัตรา 10,000 บาท
ความคืบหน้าการค้นหาศพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์เรือโดยสารรุ่งโรจน์ล่ม ระหว่างแล่นจาก จ.ภูเก็ต ไปยังเกาะยาว จ.พังงา เมื่อวันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุดวานนี้ (7 มี.ค.) เจ้าหน้าที่พบศพผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีก 2 ราย โดยศพแรกพบเมื่อเวลา 09.30 น. คือ ด.ญ.ทิพรัตน์ ภิญโญ อายุ 14 ปี โดยศพลอยอยู่ในทะเลห่างจากจุดที่เกิดเหตุ 1.2 ไมล์ทะเล และเวลา 18.00น.พบอีก 1 ศพ คือ น.ส.จุรีรัตน์ มัชกุล อายุ 18 ปี โดยศพลอยไปอยู่ห่างบริเวณที่เกิดเหตุประมาณ 1.5 ไมล์ทะเล ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวเพิ่มเป็น 10 คน ส่วนเรือรุ่งโรจน์ หลังจากที่นักประดาน้ำกู้ขึ้นมาได้แล้ว เจ้าหน้าที่ได้ส่งให้ทาง สภ.อ.เกาะยาว จ.พังงาเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีกับเจ้าของและผู้ที่ขับเรือ
ขณะที่ พ.ต.อ.วีระศิลป์ ขวัญเซ่ง ผกก.สภ.อ.เกาะยาว กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินคดีกับคนขับเรือ รุ่งโรจน์ ว่า ขณะนี้กรมขนส่งทางน้ำจังหวัดภูเก็ตได้มาแจ้งความดำเนินคดี กับนายดล เริงสมุทร ในฐานะเจ้าของเรือ และนายวรากร เริงสมุทร คนขับเรือในข้อหาร่วมกันขับเรือโดยประมาททำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก และร่วมกันบรรทุกผู้โดยสารเกินอัตราที่กำหนด
หลังจากรับแจ้งความทางเจ้าหน้าทำรวจได้เชิญตัวคนขับเรือและเจ้าของเรือมารับทราบข้อหาและทำการสอบสวน แต่ทั้ง 2 คนให้การปฏิเสธทั้ง 2 ข้อหาและ ให้การว่าเหตุที่เรือนั้นเกิดจากพายุและคลื่นลมแรงไม่ได้เกิดจากการขับเรือโดยประมาทหรือบรรทุกน้ำหนักเกิน หลังจากนั้นญาติได้มาขอประกันตัวทั้ง 2 คนกลับไป
ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์เรือโดยสารรุ่งโรจน์ล่ม วานนี้สำนักงานขนส่งทางน้ำ ภูมิภาคที่ 5 สาขาภูเก็ต ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบความปลอดภัยการใช้เรือท่องเที่ยวอย่างเข้มงวด โดยเน้นในเรื่องความปลอดภัยทั้งเสื้อชูชีพ เรือยาง อุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารและการต่อใบอนุญาตจดทะเบียนเรือ จากการตรวจสอบพบว่า เรือท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์ในการดูแลความปลอดภัยพร้อมอยู่แล้ว มีเพียงเรือบางประเภทที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวนำมาดัดแปลงยังไม่ได้มาตรฐาน
นายสุรินทร์ ธีระกุลพิศุทธ์ หัวหน้าสำนักงานขนส่งทางน้ำภูมิภาคที่ 5 ภูเก็ต กล่าวว่า ได้จัดเจ้าที่ออกสุ่มตรวจตามท่าเรือต่างๆ เดือนละ 10 วัน จากที่เจ้าหน้าที่มีจำกัดเพียง 8 คน ซึ่งได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบและขอเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ในส่วนของลูกจ้างเพื่อประจำตามท่าเรือต่างๆ ท่าเรือละ 1-2 คน โดยเฉพาะท่าเรือสำคัญ เช่น อ่าวฉลอง บางโรง อ่าวปอ เป็นต้น
"ขอยืนยันว่าที่ผ่านมามีการออกตรวจโดยตลอดและได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์ แนะนำการเดินทางโดยทางเรือทุกท่าเรือ เช่น ต้องสวมเสื้อชูชีพ ไม่บรรทุกเกินน้ำหนักที่กำหนดไว้ เป็นต้น"นายสุรินทร์ กล่าว และว่าหลังจากนี้จะดำเนินการตรวจตราตามท่าเรืออย่างเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งโทษของผู้ฝ่าฝืนบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดมีโทษปรับ 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับในครั้งแรก ครั้งที่ 2 ปรับเพิ่มเป็น 2 เท่า และครั้งที่ 3 จะถอนใบอนุญาต และล่าสุดหลังเกิดเหตุได้มีการสั่งปรับเรือที่บรรทุกน้ำหนักเกินไปแล้ว 1 ลำ ในอัตรา 10,000 บาท