ข่าวการเมืองชิ้นแรกที่ผมได้รับมอบหมายให้ทำในวิชาชีพนักข่าวคืออะไร – ทราบไหมครับ ?
ข่าวพระสงฆ์ !
ตอนนั้นปี 2518 มีการชุมนุมของพระสงฆ์ในนาม “ยุวสงฆ์” ที่วัดมหาธาตุยุวราษฎร์รังสฤษฎ์ ผมยังเรียนหนังสืออยู่ที่ธรรมศาสตร์ แต่ทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมากตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มีตำแหน่งในองค์การนักศึกษาฯ และศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ พอพ้นตำแหน่งตามวาระแทนที่จะเข้าห้องเรียนฟังเล็คเชอร์ กลับติดใจกับกิจกรรมนอกห้องเรียน ไปสมัครเป็นผู้สื่อข่าวพิเศษให้นิตยสาร “จตุรัส” ของคุณพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประชุมข่าววันแรกก็ได้รับมอบหมายข่าวชิ้นแรกเป็นข่าวการชุมนุมของพระสงฆ์เลย
แบกกล้อง แบกเทป เดินตากแดดสนทนาธรรมกับพระสงฆ์อยู่เป็นวัน ๆ ทั้งที่วัดมหาธาตุฯและที่อื่น ๆ
ก็เลยได้รับรู้ตำนานเก่าของท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรมที่โดนการเมืองยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เล่นงานในข้อหาคอมมิวนิสต์
จากข่าวชิ้นแรกว่าด้วยพระสงฆ์ ตลอดปี 2518 – 2519 ผมได้รับมอบหมายให้ทำข่าวเกี่ยวกับพระสงฆ์อีกหลายข่าวด้วยกัน รวมทั้งข่าวเกี่ยวเนื่องประเภทสำนักปู่สวรรค์อะไรทำนองนั้น
จนกระทั่งในช่วงเดือนสิงหาคม 2519 ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษท่านกิตติวุฒโฑภิกขุ ที่มีคำพูดอมตะ “ฆ่าคอมมิวนิสต์ได้บุญมากกว่าบาป” นั่นแหละครับ
จึงเห็นว่าพระสงฆ์กับการเมืองนั้นหลีกหนีกันไม่ค่อยออก
เวลาพระสงฆ์ขัดแย้งกันภายใน ก็มักจะมีฝ่ายหนึ่งไปดึงอำนาจการเมืองเข้ามาเป็น “ตัวช่วย” เสมอ ๆ
หรือบางทีอำนาจการเมืองก็ใช้พระสงฆ์เป็น “ตัวช่วย” ในกระบวนการทำงานความคิดกับประชาชนทั้งประเทศ เพื่อประโยชน์ในการต่อสู้ทางการเมือง
ในช่วงปี 2518 – 2519 มีทั้งพระสงฆ์ฝ่ายขวาและพระสงฆ์ฝ่ายซ้าย
กฎหมายคณะสงฆ์ทุกฉบับล้วนมีทั้งที่มาทางการเมือง และที่มาทางความแตกต่างในหมู่พระสงฆ์ เป็นตัวขับเคลื่อนทั้งนั้น
เหตุการณ์สำคัญจริง ๆ ของประเด็นพระสงฆ์กับการเมืองไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็คือ กรณีเจ้าฟ้ามงกุฎ (ต่อมาคือพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) ทรงผนวชอยู่ต่อไป เพื่อสละราชบัลลังก์ให้แก่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3 เมื่อปี 2356 ระหว่างที่ทรงผนวชนั้น พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎหรือพระวชิรญาณเถระได้ตั้งธรรมยุตินิกายขึ้นมาเมื่อปี 2372
การถือกำเนิดขึ้นของธรรมยุตินิกาย ใครจะปฏิเสธว่าไม่มีเหตุผลทางการเมืองผสมผสานอยู่เลย
ควรทราบไว้นะครับว่าหลังจากนั้นมีธรรมเนียมปฏิบัติว่าพระสังฆราชจะต้องมาจากพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตินิกายเท่านั้น
(ซึ่งก็เหมือนกับธรรมเนียมปฏิบัติว่าจุฬาราชมนตรีจะต้องมาจากมุสลิมชีอะห์เท่านั้น)
ยุคคณะราษฎร มีการตรากฎหมายคณะสงฆ์ฉบับปี 2484 ในทางการเมืองเท่ากับเป็นการเลียนรูปแบบระบบรัฐสภาเข้าไปใช้ในคณะสงฆ์ เพราะมีนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่าสังฆสภา แต่ในทางเรื่องระหว่างนิกายในคณะสงฆ์ไทยแล้ว ก็เป็นผลมาจากการต่อสู้ผลักดันของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายตั้งแต่ปี 2477 เพราะผลสำคัญของกฎหมายใหม่ฉบับนั้นคือเป็นการเปลี่ยนธรรมเนียมปฏิบัติว่าพระสังฆราชมาได้จากทั้งพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตินิกายและมหานิกาย
(ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่เปลี่ยนธรรมเนียมปฏิบัติให้จุฬาราชมนตรีมาจากมุสลิมสุหนี่)
แต่พอปี 2505 สังฆสภาก็เลิกไปพร้อม ๆ กฎหมายคณะสงฆ์ 2484 เหตุผลส่วนหนึ่งย่อมเป็นการเมืองยุคต่อต้านคอมมิวนิสต์ ที่เห็นว่าขืนปล่อยให้มีสังฆสภาต่อไป พระเถระชั้นผู้ใหญ่บางรูปที่มีความคิดอ่านก้าวหน้าในยุคนั้นอาจจะทำให้แนวทางของรัฐบาลเสียไปได้
ในยุคพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก่อนจะเกิดกรณีหลวงตาบัว ญาณสัมปันโนถวายฎีกา จำได้ไหมครับว่าในปี 2544 ก็เริ่มมีความพยายามที่จะจัดทำกฎหมายคณะสงฆ์ฉบับใหม่ พระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่เห็นด้วยก็คือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมด็จพระสังฆราชในปัจจุบันนี้
ไม่ใช่เหตุผลของการต่อสู้ทางการเมืองในเชิงอุดมการณ์
แต่เพราะต้องการกระชับการบริหารคณะสงฆ์ให้ทันสมัย ไม่ย่อหย่อน อันอาจจะทำให้เกิดผลเสียหายแก่ทรัพย์สินมหาศาลในความดูแลของคณะสงฆ์หลากหลายรูปแบบ
ก็พยายามเลียนรูปแบบทางการปกครองสมัยใหม่เข้ามาใช้
ขอเรียกว่า “กฎหมายคณะสงฆ์ฉบับซีอีโอ” ก็แล้วกัน
คราวนี้มีนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า “มหาคณิสสร” หรืออาจให้ความหมายว่า “คณะรัฐมนตรีพระ” ที่ว่ากันว่าจะประกอบด้วยพระหนุ่ม ๆ ที่ยังมีเรี่ยวแรง ทำหน้าที่บริหาร และบริหารด้วยอำนาจที่กว้างขวาง พระแก่ที่อยู่ใน “มหาเถรสมาคม” จะมีภาระน้อยลง
มีการต่อต้านจากหลากทิศหลายทาง
ไม่ได้แต่จากเฉพาะหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนเท่านั้น
ผมเห็นว่าจะเข้าใจการคัดค้านของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนในวันนี้ ต้องย้อนไปทำความเข้าใจร่างกฎหมายคณะสงฆ์ฉบับใหม่ที่เชื่อว่าร่างโดยบรรดามือกฎหมายชั้นเซียนของรัฐบาลชุดนี้ รวมทั้งท่านอาจารย์วิษณุ เครืองาม และท่านอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ โดยผ่านทางการสนับสนุนเต็มที่ของสมเด็จพระพุฒาจารย์
ในมุมมองของรัฐบาล สมเด็จพระพุฒาจารย์ย่อมเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ทันสมัย ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเข้าใจนวัตกรรมทางกฎหมายใหม่ ๆ ในการบริหารคณะสงฆ์
แต่ในมุมมองของพระสงฆ์หลายส่วน โดยเฉพาะหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เห็นว่าไม่ควรนำกฎหมายบ้านเมืองเข้ามาบริหารจัดการคณะสงฆ์มากเกินไป
เพราะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ขัดพระวินัย
ผมเห็นว่ารากฐานอยู่ตรงนั้น
พระสงฆ์ทั่วประเทศจำพรรษาอยู่ในวัดที่ถ้าไม่เป็นวัดแล้ว จะเป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญมหาศาล เพราะมีทำเลที่ตั้งกลางเมืองเป็นส่วนใหญ่ ข้างพระสงฆ์วัดป่าก็มีปัญหาเข้าไปทับซ้อนกับที่ดินที่เป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญอีกเช่นกัน
การจะออกกฎหมายบริหารจัดการจึงไม่ควร “รวบรัด” หรือ “มัดมือชก” โดยถือเสียงข้างมากเป็นสำคัญ
หากแต่ต้องรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย
ขอมองอย่างคนที่ทำข่าวเกี่ยวกับพระสงฆ์มานะครับ ผมว่ารัฐบาลกำลังถูกตั้งข้อสงสัยในเรื่องความสุจริตใจ ย้อนไปตั้งแต่ความพยายามตรากฎหมายคณะสงฆ์ฉบับใหม่เมื่อปี 2544 – 2545 แต่เมื่อต้องถอยทัพไปก็กลับมาใหม่ในรูปแบบอื่น โดยเฉพาะในประเด็นรวบรัดแต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ที่อาจจะเป็นผลให้เป็นการเริ่มต้นนำร่างกฎหมายคณะสงฆ์ฉบับใหม่ฉบับนั้นขึ้นมาพิจารณาอีกทีก็เป็นได้
เพราะร่างกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษก็มีบางลักษณะใกล้เคียงกัน
เรื่องพระสงฆ์กับการเมืองคงแยกกันไม่ออก จะไปโทษพระสงฆ์ท่านฝ่ายเดียวไม่ได้ว่าทำให้หลายเรื่องที่ไม่ใช่กิจของสงฆ์
ก็...ฆราวาสฝ่ายการเมืองมักเข้าไปแทรกแซงท่านก่อนนี่ครับ !
ข่าวพระสงฆ์ !
ตอนนั้นปี 2518 มีการชุมนุมของพระสงฆ์ในนาม “ยุวสงฆ์” ที่วัดมหาธาตุยุวราษฎร์รังสฤษฎ์ ผมยังเรียนหนังสืออยู่ที่ธรรมศาสตร์ แต่ทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมากตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มีตำแหน่งในองค์การนักศึกษาฯ และศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ พอพ้นตำแหน่งตามวาระแทนที่จะเข้าห้องเรียนฟังเล็คเชอร์ กลับติดใจกับกิจกรรมนอกห้องเรียน ไปสมัครเป็นผู้สื่อข่าวพิเศษให้นิตยสาร “จตุรัส” ของคุณพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประชุมข่าววันแรกก็ได้รับมอบหมายข่าวชิ้นแรกเป็นข่าวการชุมนุมของพระสงฆ์เลย
แบกกล้อง แบกเทป เดินตากแดดสนทนาธรรมกับพระสงฆ์อยู่เป็นวัน ๆ ทั้งที่วัดมหาธาตุฯและที่อื่น ๆ
ก็เลยได้รับรู้ตำนานเก่าของท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรมที่โดนการเมืองยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เล่นงานในข้อหาคอมมิวนิสต์
จากข่าวชิ้นแรกว่าด้วยพระสงฆ์ ตลอดปี 2518 – 2519 ผมได้รับมอบหมายให้ทำข่าวเกี่ยวกับพระสงฆ์อีกหลายข่าวด้วยกัน รวมทั้งข่าวเกี่ยวเนื่องประเภทสำนักปู่สวรรค์อะไรทำนองนั้น
จนกระทั่งในช่วงเดือนสิงหาคม 2519 ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษท่านกิตติวุฒโฑภิกขุ ที่มีคำพูดอมตะ “ฆ่าคอมมิวนิสต์ได้บุญมากกว่าบาป” นั่นแหละครับ
จึงเห็นว่าพระสงฆ์กับการเมืองนั้นหลีกหนีกันไม่ค่อยออก
เวลาพระสงฆ์ขัดแย้งกันภายใน ก็มักจะมีฝ่ายหนึ่งไปดึงอำนาจการเมืองเข้ามาเป็น “ตัวช่วย” เสมอ ๆ
หรือบางทีอำนาจการเมืองก็ใช้พระสงฆ์เป็น “ตัวช่วย” ในกระบวนการทำงานความคิดกับประชาชนทั้งประเทศ เพื่อประโยชน์ในการต่อสู้ทางการเมือง
ในช่วงปี 2518 – 2519 มีทั้งพระสงฆ์ฝ่ายขวาและพระสงฆ์ฝ่ายซ้าย
กฎหมายคณะสงฆ์ทุกฉบับล้วนมีทั้งที่มาทางการเมือง และที่มาทางความแตกต่างในหมู่พระสงฆ์ เป็นตัวขับเคลื่อนทั้งนั้น
เหตุการณ์สำคัญจริง ๆ ของประเด็นพระสงฆ์กับการเมืองไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็คือ กรณีเจ้าฟ้ามงกุฎ (ต่อมาคือพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) ทรงผนวชอยู่ต่อไป เพื่อสละราชบัลลังก์ให้แก่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3 เมื่อปี 2356 ระหว่างที่ทรงผนวชนั้น พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎหรือพระวชิรญาณเถระได้ตั้งธรรมยุตินิกายขึ้นมาเมื่อปี 2372
การถือกำเนิดขึ้นของธรรมยุตินิกาย ใครจะปฏิเสธว่าไม่มีเหตุผลทางการเมืองผสมผสานอยู่เลย
ควรทราบไว้นะครับว่าหลังจากนั้นมีธรรมเนียมปฏิบัติว่าพระสังฆราชจะต้องมาจากพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตินิกายเท่านั้น
(ซึ่งก็เหมือนกับธรรมเนียมปฏิบัติว่าจุฬาราชมนตรีจะต้องมาจากมุสลิมชีอะห์เท่านั้น)
ยุคคณะราษฎร มีการตรากฎหมายคณะสงฆ์ฉบับปี 2484 ในทางการเมืองเท่ากับเป็นการเลียนรูปแบบระบบรัฐสภาเข้าไปใช้ในคณะสงฆ์ เพราะมีนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่าสังฆสภา แต่ในทางเรื่องระหว่างนิกายในคณะสงฆ์ไทยแล้ว ก็เป็นผลมาจากการต่อสู้ผลักดันของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายตั้งแต่ปี 2477 เพราะผลสำคัญของกฎหมายใหม่ฉบับนั้นคือเป็นการเปลี่ยนธรรมเนียมปฏิบัติว่าพระสังฆราชมาได้จากทั้งพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตินิกายและมหานิกาย
(ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่เปลี่ยนธรรมเนียมปฏิบัติให้จุฬาราชมนตรีมาจากมุสลิมสุหนี่)
แต่พอปี 2505 สังฆสภาก็เลิกไปพร้อม ๆ กฎหมายคณะสงฆ์ 2484 เหตุผลส่วนหนึ่งย่อมเป็นการเมืองยุคต่อต้านคอมมิวนิสต์ ที่เห็นว่าขืนปล่อยให้มีสังฆสภาต่อไป พระเถระชั้นผู้ใหญ่บางรูปที่มีความคิดอ่านก้าวหน้าในยุคนั้นอาจจะทำให้แนวทางของรัฐบาลเสียไปได้
ในยุคพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก่อนจะเกิดกรณีหลวงตาบัว ญาณสัมปันโนถวายฎีกา จำได้ไหมครับว่าในปี 2544 ก็เริ่มมีความพยายามที่จะจัดทำกฎหมายคณะสงฆ์ฉบับใหม่ พระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่เห็นด้วยก็คือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมด็จพระสังฆราชในปัจจุบันนี้
ไม่ใช่เหตุผลของการต่อสู้ทางการเมืองในเชิงอุดมการณ์
แต่เพราะต้องการกระชับการบริหารคณะสงฆ์ให้ทันสมัย ไม่ย่อหย่อน อันอาจจะทำให้เกิดผลเสียหายแก่ทรัพย์สินมหาศาลในความดูแลของคณะสงฆ์หลากหลายรูปแบบ
ก็พยายามเลียนรูปแบบทางการปกครองสมัยใหม่เข้ามาใช้
ขอเรียกว่า “กฎหมายคณะสงฆ์ฉบับซีอีโอ” ก็แล้วกัน
คราวนี้มีนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า “มหาคณิสสร” หรืออาจให้ความหมายว่า “คณะรัฐมนตรีพระ” ที่ว่ากันว่าจะประกอบด้วยพระหนุ่ม ๆ ที่ยังมีเรี่ยวแรง ทำหน้าที่บริหาร และบริหารด้วยอำนาจที่กว้างขวาง พระแก่ที่อยู่ใน “มหาเถรสมาคม” จะมีภาระน้อยลง
มีการต่อต้านจากหลากทิศหลายทาง
ไม่ได้แต่จากเฉพาะหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนเท่านั้น
ผมเห็นว่าจะเข้าใจการคัดค้านของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนในวันนี้ ต้องย้อนไปทำความเข้าใจร่างกฎหมายคณะสงฆ์ฉบับใหม่ที่เชื่อว่าร่างโดยบรรดามือกฎหมายชั้นเซียนของรัฐบาลชุดนี้ รวมทั้งท่านอาจารย์วิษณุ เครืองาม และท่านอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ โดยผ่านทางการสนับสนุนเต็มที่ของสมเด็จพระพุฒาจารย์
ในมุมมองของรัฐบาล สมเด็จพระพุฒาจารย์ย่อมเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ทันสมัย ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเข้าใจนวัตกรรมทางกฎหมายใหม่ ๆ ในการบริหารคณะสงฆ์
แต่ในมุมมองของพระสงฆ์หลายส่วน โดยเฉพาะหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เห็นว่าไม่ควรนำกฎหมายบ้านเมืองเข้ามาบริหารจัดการคณะสงฆ์มากเกินไป
เพราะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ขัดพระวินัย
ผมเห็นว่ารากฐานอยู่ตรงนั้น
พระสงฆ์ทั่วประเทศจำพรรษาอยู่ในวัดที่ถ้าไม่เป็นวัดแล้ว จะเป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญมหาศาล เพราะมีทำเลที่ตั้งกลางเมืองเป็นส่วนใหญ่ ข้างพระสงฆ์วัดป่าก็มีปัญหาเข้าไปทับซ้อนกับที่ดินที่เป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญอีกเช่นกัน
การจะออกกฎหมายบริหารจัดการจึงไม่ควร “รวบรัด” หรือ “มัดมือชก” โดยถือเสียงข้างมากเป็นสำคัญ
หากแต่ต้องรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย
ขอมองอย่างคนที่ทำข่าวเกี่ยวกับพระสงฆ์มานะครับ ผมว่ารัฐบาลกำลังถูกตั้งข้อสงสัยในเรื่องความสุจริตใจ ย้อนไปตั้งแต่ความพยายามตรากฎหมายคณะสงฆ์ฉบับใหม่เมื่อปี 2544 – 2545 แต่เมื่อต้องถอยทัพไปก็กลับมาใหม่ในรูปแบบอื่น โดยเฉพาะในประเด็นรวบรัดแต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ที่อาจจะเป็นผลให้เป็นการเริ่มต้นนำร่างกฎหมายคณะสงฆ์ฉบับใหม่ฉบับนั้นขึ้นมาพิจารณาอีกทีก็เป็นได้
เพราะร่างกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษก็มีบางลักษณะใกล้เคียงกัน
เรื่องพระสงฆ์กับการเมืองคงแยกกันไม่ออก จะไปโทษพระสงฆ์ท่านฝ่ายเดียวไม่ได้ว่าทำให้หลายเรื่องที่ไม่ใช่กิจของสงฆ์
ก็...ฆราวาสฝ่ายการเมืองมักเข้าไปแทรกแซงท่านก่อนนี่ครับ !